ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
ประวัติของชาผูเอ๋อร์
ประวิติศาสตร์ของชาจีนมีความเป็นมาอย่างยาวนาน มีหนังสือมากมายที่ได้บันทึกไว้แล้ว แต่ชาผูเอ๋อร์ที่ได้จากการหมักของจุลินทรีย์ถูกค้นพบตั้งแต่เมื่อไร และเข้าสู่ทำเนียบประวัติศาสตร์เมื่อไร? เคยเห็นตัวหนังสือที่เรียบเรียงอย่างกล่าวเสียมิได้ บังเอิญไม่สนใจมาบันทึกทางชายแดน จึงได้ละเลยปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ของความจริงที่ได้อุบัติขึ้นมา
ดังนั้น ขออนุญาตเล่าเรื่องประวัติของชาผูเอ๋อร์อย่างสรุปโดยย่อสักนิด
โบราณกาลของเมืองจีน จะมุ่งเน้นสนใจแต่ประวัติความเจริญรุ่งเรืองและการล่มสลายของราชวงค์ ละเลยประวัตินิเวศของพลเมือง ยิ่งไม่ต้องมาพูดถึงหยินหนาน(云南)ที่อยู่ไกลปืนเที่ยงแถวชายแดน แทบไม่มีนักปราชญ์สำคัญท่านใดมาบันทึกความเป็นไปของชาผูเอ๋อร์ได้อย่างทันการ หนังสือบันทึกในยุคสมัยถัง(唐代) ซ่ง(宋代) หมิง(明代) ต่างได้เอ่ยถึงพื้นที่ผูเอ๋อร์ผลิตชา แต่ดูจากการบันทึก วิธีการเด็ดและการต้มดื่มใบชายังโบราณมาก เชิงกล่าวโดยไม่มีรายละเอียด(语焉不详) ซึ่งไม่สามารถถือเป็นชาผูเอ๋อร์ที่เราพูดถึงทุกวันนี้ได้ ทำนองเดียวกันกับ ไม่ใช่อาหารการกินทุกอย่างในเขตกวางตุ้งแล้วสามารถเรียกเป็นอาหารกวางตุ้งได้ ชาผูเอ๋อร์ถูกจัดเข้าไปในระนาบของประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในยุคสมัยชิง(清代)
เป็นความโชคดีที่เป็นสมัยชิง วันเดือนปีเวลาช่วงนั้น เหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบ ปัญญาชนมีไม่มาก ชาผูเอ๋อร์จึงสามารถรอดพ้นกับดักจากการการบันทึกเป็นตัวหนังสือได้ จาก"วัฒนธรรมเรื่องราว(文本文化)"ยกระดับเป็น"วัฒนธรรมนิเวศ(生态文化)" ตลอกระยะเวลาที่ผ่านมาชาผูเอ๋อร์ถูกนักปราชญ์ว่ากล่าวนินทาถึงน้อยมาก เริ่มแรกเสมือนเป็นเรื่องร้าย ที่แท้เป็นเรื่องดี จากจุดนี้ชาผูเอ๋อร์จึงสามารถเข้าไปในประวัติศาสตร์อย่างสะอาดสดใสโดยไม่ถูกพวกบทกวีตื้นๆมาทำให้สับสนวุ่นวาย กินก็คือกิน ดื่มก็คือดื่ม ถ้าให้ความสนใจกับตัวหนังสือมากเกินไป(咬文嚼字) ทำให้ภาพความจริงหายไป
เนื่องจากฮ่องเต้และบรรดาอ๋องทั้งหลายในยุคสมัยชิง นิยมชมชอบดื่มชาผูเอ๋อร์เพื่อช่วยในระบบการย่อย ชาผูเอ๋อร์จึงเป็นเครื่องบรรณาการต้องถวายเข้าพระราชวัง ทำให้พวกขุนนางทั้งใหญ่เล็กต้องเสาะแสวงหาชาที่ถูกปากพระราชวงค์ ทำใเกิดกระแสนิยมชาผูเอ๋อร์ในหมู่ขุนนางและชนชั้นสูงตามมา ขุนนางฝ่ายจัดหาในพระราชวัง ต้องรีบปล่อยม้าเร็ววิ่งพันลี้ ลุยน้ำข้ามเขา ร่วมกับขุนนางท้องถิ่นภายใต้ความเกรงกลัวต่อพระบารมี ทุกๆปีจะทำการคัดเลือกชาคุณภาพและห้างชาอย่างพิถีพิถันเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ใครก็ไม่กล้าที่จะละเลยและเลินเล่อในหน้าที่นี้ นับจากนี้ไป ชาผูเอ๋อร์ก็กลายเป็นสิ่งประกอบชั้นสูงของชีวิต
ตั้งแต่ คังซี(康熙) ยุงเจิ้น(雍正) เฉียนหลง(乾隆) มาถึง เจียชิ่ง(嘉庆) ต้าวกวง(道光) เสียนฟง(咸丰) ในรัชกาลสมัยเหล่านี้เป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของชาแล้ว แต่จะมาให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือ ในรัชกาลสมัยกวงซี่ว(光绪 : 1875-1909) เพราะมีสัญลักษณ์สำคัญ คือ "ชาเกรดห้าง(号级茶)"ทั้งหลายได้ปรากฏตัวขึ้น
"ชาเกรดห้าง" คือ รุ่นชาที่มีตราสินค้าจากห้างชาเพื่อถวายเข้าพระราชวังและขายส่งออก การกระตุ้นเตือนให้ตระหนักรู้ถึงตราสินค้า ทำให้ชาผูเอ๋อร์ตั้งแต่เริ่มต้นก็เข้าสู่"ยุคคลาสสิค(经典时代)" นับจากนี้ไปกิจกรรมทุกอย่างก็ขับเคลื่อนด้วยมาตรฐาน
ก่อนรัชกาลสมัยกวงซี่ว ในรัชกาลสมัยเฉียนหลงก็มีห้างถงชิ่ง(同庆号) รัชกาลสมัยต้าวกวงมีห้างเฌอซุ้น(车顺号) รัชกาลสมัยถงเจื้อ(同治)มีห้างฝูชาง(福昌号) เป็นปรากฏการณ์แห่งการบุกเบิกที่ไม่ธรรมดา แต่ผู้เขียนไม่มีวาสนาที่ได้ชิมลิ้มลองผลิตภัณฑ์ชายุคสมัยนั้นของห้างเหล่านี้ ทุกวันนี้ห้างชายุคคลาสสิคที่เรายังสามารถ"เรียกหาดื่มสะใจ"ได้ เช่น ห้างซ่งหยิน(宋云号) ห้างเหยียนชาง(元昌号) และห้างซ่งพิ้น(宋聘号)ที่มีชื่ออันโด่งดัง ล้วนก่อตั้งในต้นรัชกาลสมัยกวงซี่ว
ต่อจากนี้ก็ผลักดันให้หมู่บ้านชา ห้างชา เกิดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด ถือเป็นสิ่งที่ไม่แปลก
ห้างเหยียนชางหลังก่อตั้งในในต้นรัชกาลสมัยกวงซี่วแล้ว พอถึงกลางรัชกาลสมัยกวงซี่วได้ไปเปิดสาขาห้างที่ถนนสายหลักในเมืองยี่หวู่(易武)ก่อตั้งห้างฝูเหยียนชาง(福元昌号) ดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงและต่อเนื่องมาถึงศตวรรษที่ 20 กลายเป็น"ตระกุลราชัน(王者一族)"แห่งชาผูเอ๋อร์ หมู่บ้านชานี้ภายหลังมีหัวหน้าที่มีชื่อเสียงคือ หยี่ฝู(余福) ซึ่งเป็นผู้ได้ใช้"ฉลากใน(内票)"ในแผ่นชาผูเอ๋อร์ เพื่อประกาศข้อความป้องกันการปลอมแปลงสินค้า
การปลอมแปลงห้างชา แสดงให้เห็นถึงตลาดใหญ่โตมาก การแข่งขันรุนแรง ห้างชามีมากมาย ตราสินค้ามีค่า ความมีชื่อเสียงของตราสินค้า โดยหลักการแล้วควรมาจากคุณภาพเป็นตัวตัดสิน แต่เนื่องจากคุณภาพของชาผูเอ๋อกว่าครึ่งเป็นผลมาจากระบบนิเวศของกลุ่มจุลินทรีย์ ประจวบเหมาะเป็นสิ่งที่ยากจะอธิบายให้เข้าใจได้ ดังนั้น จึงต้องสงสารพวกที่ต้องการป้องกันการปลอมแปลงไม่รู้จะต้องทำอย่างไร จึงจำเป็นต้องขอยืมใช้วิธี"โฆษณาภาพพจน์(好茶印象)"มาละเลงตราสินค้าของตัวเอง
เหตุการณ์เช่นนี้ เข้าทำนองที่ว่า เห็ด Truffle(松露) ที่บ้านถูกขโมยไป แต่ไม่รู้จะอธิบาย Truffle คืออะไร? จึงต้องบอกว่าเห็ด Mushroom(蘑菇) ของที่บ้านหายไปเป็นเห็ดที่ดีกว่าของชาวบ้าน ผลลัพธ์กลายเป็น Mushroom ถูกขโมยไป พวกหัวหน้าหมู่บ้านชาผูเอ๋อร์ได้พยายที่ยืนยันชาของพวกตนมีคุณภาพดีที่ผู้อื่นไม่สามารถผลิตลอกเลียนแบบได้ แต่ไปใช้มาตรฐานของชาเขียว
อย่างเช่น เจ้านี้บอกว่าชาตัวเองคือ "ยอดขาวอ่อนนุ่มใต้แสงแดดฤดูใบไม้ผลิ" เจ้านั้นบอกว่าชาตัวเองคือ "ยอดชาอ่อนนุ่มผลิตปราณีต" ต่างๆนานา การยืมเอามาตรฐานแบบนี้มานิยามชาผูเอ๋อร์ กลับเป็นการ "จำกัดตนเองให้แคบลง แสดงจุดด้อยตนเองให้เด่น(扬已之短 , 避已之长)" ผิดที่ผิดทางไปหมด
จากเรื่องดังกล่าวสามารถยืนยันได้ว่า จนถึงก่อนหน้าร้อยปีที่แล้ว ชาผูเอ๋อร์ยังไม่รู้วิธีที่จะอธิบายตัวเองได้อย่างไร ปรากฏการณ์เช่นนี้ กล่าวเชิงทางวิชาการได้ว่า มันยังขาด"การตระหนักรู้ทางเหตุผลต่อความเป็นตัวตนของตัวเอง"
คุณภาพของชาผูเอ๋อร์เป็นความลับของฟ้าดิน ก่อนที่จะได้รับการตระหนักรู้ทางเหตุผล ต้องอาศัยการรับรู้ทางลิ้นปาก กายใจ กาลเวลา เวลาช่วงนั้น พ่อค้าชาแม้รู้ความลับนี้อย่างลึกซึ้งแต่ไม่สามารถอธิบายออกมาได้ แต่พวกเขารู้ว่า รสชาติที่ตนเองสร้างขึ้นมาเป็นไปตามขบวนพัฒนาการของกาลเวลาวันแล้ววันเล่าผ่านไปจึงจะเสร็จสวยงาม แล้วเสร็จสวยงามในระดับขั้นไหน พวกเขายังไม่สารถยืนยันได้ในช่วงตอนนั้น การได้เสพสิ่งสวยงามแบบนี้ เป็นเรื่องของคนรุ่นหลัง
ถ้าจะกล่าวว่า ต้นรัชกาลสมัยกวงซี่วเป็นปีที่ห้างชาคลาสสิคในหยินหนานก่อตั้งขึ้นมา ถ้าเช่นนั้น ปลายรัชกาลสมัยกวงซี่วก็เป็นปีที่ห้างชาทั้งหมดในหยินหนานเกิดการล่มสลาย เป็นเพราะโจรผู้ร้ายชุกชุมและเกิดโรคระบาด ห้างชาเกือบทั้งหมดต้องปิดตัวลง การเปิดและปิดเกิดขึ้นในต้นและปลายของรัชกาลสมัยเดียวกัน ทำให้ต้องมาให้ความสนใจชะตาชีวิตของกวงซี่วและธุรกิจชา
(ต่อ...คลิก "อ่านเพิ่มเติม")
เพื่อเผยแพร่บทความแปลเกี่ยวกับความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ โลกทัศน์ แนวความคิด และความคิดเห็นด้านชาผูเอ๋อร์
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558
"ความลับสุดยอด"ของชาผูเอ๋อร์
ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
"ความลับสุดยอด"ของชาผูเอ๋อร์
อะไรคือ"ความลับสุดยอด"ของชาผูเอ๋อร์? คำถามเช่นนี้ไม่ใช่ให้นักดื่มชาแฟนพันธุ์แท้เป็นคนมาตอบ บุคคลที่สามารถอธิบายได้ชัดเจนมากกว่า ส่วนใหญ่จะรักษาระยะห่างและจากมุมมองที่เป็นกลาง
ในขอบเขตที่รู้จัก ทั่วๆไปยิ่งเป็นผู้ศึกษาวิจัยอายุน้อยยิ่งสามารถพูดใด้ค่อนข้างชัดเจนกว่า อย่างเช่น ผู้เชี่ยวชาญชาผูเอ๋อร์ไท่จิ้นลิน(太俊林)ที่เกิดปี 1974 ในด้านนี้จะดีกว่านักดื่มชาอาววุโสมาก หรือผู้ที่อาศัยอยู่ห่างจากหยินหนานผูเอ๋อร์ระยะไกล อย่างเช่นนักวิทยาศาสตร์ชาวอีสาน 2 ท่าน คือ เซิ้นจิน(盛军)และเฉินเจี๋ย(陈杰) ที่ได้ทำการศึกษาด้านชาผูเอ๋อร์อย่างน่ายกย่องสรรเสริญ
เพราะฉะนั้น จึงหวังว่านักดื่มชาทั้งหลายควรมารับฟังภาษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องจากการศึกษาด้านชาผูเอ๋อร์ แม้อาจพบกับแนวความคิดที่ไม่คุ้นเคย แต่ก็ขอความกรุณาให้วางจอกชาลงชั่วคราว แล้วกล้ำกลืนฝืนทนฟังต่อไป
พวกเราน่าจะเริ่มจากการหมัก
การหมักหมายถึงอะไร? กล่าวโดยทั่วไป คือการที่มนุษย์อาศัยจุลินทรีย์มาเปลี่ยนแปลงและยกระดับคุณลักษณะเซลล์ของอาหาร เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดรสชาติที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ อาหารที่ทำให้เรารำลึกถึงเสมอๆ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการหมัก อาทิเช่น เหล้าชั้นดีต่างๆ นมเปรี้ยว เนย เต้าหู้ยี้ กิมจิ ซีอิ้ว น้ำส้มสายชู เป็นต้น แม้เป็นของกิน อย่างขนมบังที่ผ่านการหมักจะหอมนุ่มและคุณค่าอาหารมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งเฉยๆ ทางการแพทย์ การผลิตวิตามิน กรดอะมิโน อินซูลิน วัคซีน ยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมน เป็นต้น ก็หนีไม่พ้นจากกระบวนการหมัก
จะเห็นได้ว่า ถ้าหากไม่มีการหมัก ชีวิตของคนเราจะเรียบง่ายไม่มีสีสันและจืดชืดเพียงใด ความรู้สึกทางรสชาติของเราก็จะน่าเบื่อหน่ายและน่าสงสารเพียงนั้น
พระเอกของการหมัก คือ จุลินทรีย์
เมื่อกล่าวถึงจุลินทรีย์ทีใด หัวข้อก็ใหญ่ขึ้นมาทันที นักวิทยสศาสตร์ได้กล่าวกับเราว่า มนุษย์กำเนิดบนโลกนี้เพียงหลายล้านปี แต่จุลินทรีย์ได้ดำรงอยู่มา 35 ร้อยล้านปีแล้ว สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ นอกจากสัตว์ พืช "สองอาณาจักร" นี้แล้ว "อาณาจักรที่สาม" ก็คือจุลินทรีย์ นำไปสู่การเกิดทฤษฎี"สิ่งมีชีวิต 3 โดเมน" "ไอ้ตัวเล็ก(小东西)"ที่มีขนาดเล็กมากและจำนวนหนาแน่นอย่างไร้ขีดจำกัด มี่อายุยืนยาวและลึกลับซับซ้อนอย่างหาที่เปรียบไม่ได้เหล่านี้ เรายังมีความเข้าใจเข้าถึงน้อยมากจนถึงทุกวันนี้ เป็นการเชิงบังคับที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์นานาชาติต้องมาก่อตั้งเทคโนโลยีชีวภาพที่ประกอบด้วยพันธุวิศวกรรม วิศวกรรมทางเซลล์ วิศวกรรมทางเอนไซม์ เป็นต้นมารวมศึกษาร่วมกัน แม้เป็นเพียงการเริ่มต้นการศึกษาวิจัย แต่มีผลงานออกมาทำให้ตะลึงอย่างน่าประหลาดใจ
คราวนี้ก็มาพูดถึงชาผูเอ๋อร์ได้แล้ว มันคือผลลัพธ์จากการปรนนิบัติตามลำดับของกลุ่มจุลินทรีย์สองผลัด
กลุ่มจุลินทรีย์ผลัดแรกซึ่งมีชีวิตชีวามาอย่างยาวนานในขุนเขาชาของหยินหนาน ทำการปรนนิบัติต้นชาโบราณพันธุ์ใบใหญ่มาตลอด ทำให้พวกมันสามารถรักษาและเพิ่มจำนวนสารประกอบของฟีนอล เช่นทีโพลิฟีนอลส์ ธีโอฟิลลีน คาเทชิน เป็นต้น และเพิ่มจำนวนของเอนไซม์ออกซิเดชั่น กลายเป็นวัตถุดิบชั้นดีสำหรับการผลิตชาผูเอ๋อร์
กลุ่มจุลินทรีย์ผลัดที่สองจะไม่เหมือนกัน รวมกันอยู่ในท่ามกลางกระบวนการผลิต พวกมันจะอึกทึกครึกโครมและเกาะติดอยู่บนใบชาจากการที่"เหมาฉาตากเขียว"หลังจากการเด็ดแล้วเกิด"เปลี่ยนแดงออกซิเดชั่น(氧化红变)"ภายใต้สภาวะร้อนชื้น จากการนำใบชามาฆ่าเขียวที่อุณหภูมิต่ำ นวดด้วยแรงไม่หนักมาก ตากแดดให้แห้งแล้ว ต่อจากนี้ไปก็จะค่อยๆกลายเป็นเจ้าบ้านแห่งการหมัก พวกมันจะผลักดันกระบวนการหมักทีละก้าวๆ ไม่หยุดที่เจริญเติบโต หายใจ คายพลังงานความร้อน กลืนกิน แปรเปลี่ยน ปลดปล่อย สุดท้ายสำเร็จได้เป็นชาผูเอ่อร์
เมื่อกล่าวถึงตรงจุดนี้ พวกเราสามารถใช้วิธีการหมักที่ไม่เหมือนกัน มาทำการจัดแยกความแตกต่างโดยพื้นฐานของชาผูเอ๋อร์และชาชนิดอื่นๆได้แล้ว
การผลิตชาเขียวต้องนำใบชาสดมาฆ่าเขียวโดยการคั่วพลิกกลับไปมาอย่างต่อเนื่องบนกระทะเหล็ก จนกว่าจะได้ผลของการเพิ่มกลิ่น คงรูป และคงความเป็นสีเขียวไว้ ลักษณะเช่นนี้จึงต้องใช้ความร้อนสูงเพื่อถอดถอนฤทธิ์ของจุลินทรีย์ ไม่ให้ทีโพลิฟีนอลส์เกิดการออกซิเดชั่น แล้วดำรงไว้ซึ่งไม่เกิดการหมักอีกต่อไป
ชาอูหลงจะไม่เหมือนกัน ตอนการผลิตจะต้องส่งเสริมให้เอนไซม์ชีวภาพมีฤทธิ์ ซึ่งก็คือหลังการหมักระดับต่ำเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและรสชาติ แล้วผ่านการคั่วเขียวอบแห้ง ทำให้การหมักสิ้นสุดลง
ชาแดงเป็นการให้ระดับการหมักลากยาวออกไป เพื่อให้ได้กลิ่นและสีตามที่ต้องการอย่างเต็มที่จุใจ แล้วทำนองเดียวกันใช้ความร้อนมาหยุดการหมักอย่างทันที
(ต่อ...คลิก "อ่านเพิ่มเติม")
"ความลับสุดยอด"ของชาผูเอ๋อร์
อะไรคือ"ความลับสุดยอด"ของชาผูเอ๋อร์? คำถามเช่นนี้ไม่ใช่ให้นักดื่มชาแฟนพันธุ์แท้เป็นคนมาตอบ บุคคลที่สามารถอธิบายได้ชัดเจนมากกว่า ส่วนใหญ่จะรักษาระยะห่างและจากมุมมองที่เป็นกลาง
ในขอบเขตที่รู้จัก ทั่วๆไปยิ่งเป็นผู้ศึกษาวิจัยอายุน้อยยิ่งสามารถพูดใด้ค่อนข้างชัดเจนกว่า อย่างเช่น ผู้เชี่ยวชาญชาผูเอ๋อร์ไท่จิ้นลิน(太俊林)ที่เกิดปี 1974 ในด้านนี้จะดีกว่านักดื่มชาอาววุโสมาก หรือผู้ที่อาศัยอยู่ห่างจากหยินหนานผูเอ๋อร์ระยะไกล อย่างเช่นนักวิทยาศาสตร์ชาวอีสาน 2 ท่าน คือ เซิ้นจิน(盛军)และเฉินเจี๋ย(陈杰) ที่ได้ทำการศึกษาด้านชาผูเอ๋อร์อย่างน่ายกย่องสรรเสริญ
เพราะฉะนั้น จึงหวังว่านักดื่มชาทั้งหลายควรมารับฟังภาษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องจากการศึกษาด้านชาผูเอ๋อร์ แม้อาจพบกับแนวความคิดที่ไม่คุ้นเคย แต่ก็ขอความกรุณาให้วางจอกชาลงชั่วคราว แล้วกล้ำกลืนฝืนทนฟังต่อไป
พวกเราน่าจะเริ่มจากการหมัก
การหมักหมายถึงอะไร? กล่าวโดยทั่วไป คือการที่มนุษย์อาศัยจุลินทรีย์มาเปลี่ยนแปลงและยกระดับคุณลักษณะเซลล์ของอาหาร เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดรสชาติที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ อาหารที่ทำให้เรารำลึกถึงเสมอๆ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการหมัก อาทิเช่น เหล้าชั้นดีต่างๆ นมเปรี้ยว เนย เต้าหู้ยี้ กิมจิ ซีอิ้ว น้ำส้มสายชู เป็นต้น แม้เป็นของกิน อย่างขนมบังที่ผ่านการหมักจะหอมนุ่มและคุณค่าอาหารมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งเฉยๆ ทางการแพทย์ การผลิตวิตามิน กรดอะมิโน อินซูลิน วัคซีน ยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมน เป็นต้น ก็หนีไม่พ้นจากกระบวนการหมัก
จะเห็นได้ว่า ถ้าหากไม่มีการหมัก ชีวิตของคนเราจะเรียบง่ายไม่มีสีสันและจืดชืดเพียงใด ความรู้สึกทางรสชาติของเราก็จะน่าเบื่อหน่ายและน่าสงสารเพียงนั้น
พระเอกของการหมัก คือ จุลินทรีย์
เมื่อกล่าวถึงจุลินทรีย์ทีใด หัวข้อก็ใหญ่ขึ้นมาทันที นักวิทยสศาสตร์ได้กล่าวกับเราว่า มนุษย์กำเนิดบนโลกนี้เพียงหลายล้านปี แต่จุลินทรีย์ได้ดำรงอยู่มา 35 ร้อยล้านปีแล้ว สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ นอกจากสัตว์ พืช "สองอาณาจักร" นี้แล้ว "อาณาจักรที่สาม" ก็คือจุลินทรีย์ นำไปสู่การเกิดทฤษฎี"สิ่งมีชีวิต 3 โดเมน" "ไอ้ตัวเล็ก(小东西)"ที่มีขนาดเล็กมากและจำนวนหนาแน่นอย่างไร้ขีดจำกัด มี่อายุยืนยาวและลึกลับซับซ้อนอย่างหาที่เปรียบไม่ได้เหล่านี้ เรายังมีความเข้าใจเข้าถึงน้อยมากจนถึงทุกวันนี้ เป็นการเชิงบังคับที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์นานาชาติต้องมาก่อตั้งเทคโนโลยีชีวภาพที่ประกอบด้วยพันธุวิศวกรรม วิศวกรรมทางเซลล์ วิศวกรรมทางเอนไซม์ เป็นต้นมารวมศึกษาร่วมกัน แม้เป็นเพียงการเริ่มต้นการศึกษาวิจัย แต่มีผลงานออกมาทำให้ตะลึงอย่างน่าประหลาดใจ
คราวนี้ก็มาพูดถึงชาผูเอ๋อร์ได้แล้ว มันคือผลลัพธ์จากการปรนนิบัติตามลำดับของกลุ่มจุลินทรีย์สองผลัด
กลุ่มจุลินทรีย์ผลัดแรกซึ่งมีชีวิตชีวามาอย่างยาวนานในขุนเขาชาของหยินหนาน ทำการปรนนิบัติต้นชาโบราณพันธุ์ใบใหญ่มาตลอด ทำให้พวกมันสามารถรักษาและเพิ่มจำนวนสารประกอบของฟีนอล เช่นทีโพลิฟีนอลส์ ธีโอฟิลลีน คาเทชิน เป็นต้น และเพิ่มจำนวนของเอนไซม์ออกซิเดชั่น กลายเป็นวัตถุดิบชั้นดีสำหรับการผลิตชาผูเอ๋อร์
กลุ่มจุลินทรีย์ผลัดที่สองจะไม่เหมือนกัน รวมกันอยู่ในท่ามกลางกระบวนการผลิต พวกมันจะอึกทึกครึกโครมและเกาะติดอยู่บนใบชาจากการที่"เหมาฉาตากเขียว"หลังจากการเด็ดแล้วเกิด"เปลี่ยนแดงออกซิเดชั่น(氧化红变)"ภายใต้สภาวะร้อนชื้น จากการนำใบชามาฆ่าเขียวที่อุณหภูมิต่ำ นวดด้วยแรงไม่หนักมาก ตากแดดให้แห้งแล้ว ต่อจากนี้ไปก็จะค่อยๆกลายเป็นเจ้าบ้านแห่งการหมัก พวกมันจะผลักดันกระบวนการหมักทีละก้าวๆ ไม่หยุดที่เจริญเติบโต หายใจ คายพลังงานความร้อน กลืนกิน แปรเปลี่ยน ปลดปล่อย สุดท้ายสำเร็จได้เป็นชาผูเอ่อร์
เมื่อกล่าวถึงตรงจุดนี้ พวกเราสามารถใช้วิธีการหมักที่ไม่เหมือนกัน มาทำการจัดแยกความแตกต่างโดยพื้นฐานของชาผูเอ๋อร์และชาชนิดอื่นๆได้แล้ว
การผลิตชาเขียวต้องนำใบชาสดมาฆ่าเขียวโดยการคั่วพลิกกลับไปมาอย่างต่อเนื่องบนกระทะเหล็ก จนกว่าจะได้ผลของการเพิ่มกลิ่น คงรูป และคงความเป็นสีเขียวไว้ ลักษณะเช่นนี้จึงต้องใช้ความร้อนสูงเพื่อถอดถอนฤทธิ์ของจุลินทรีย์ ไม่ให้ทีโพลิฟีนอลส์เกิดการออกซิเดชั่น แล้วดำรงไว้ซึ่งไม่เกิดการหมักอีกต่อไป
ชาอูหลงจะไม่เหมือนกัน ตอนการผลิตจะต้องส่งเสริมให้เอนไซม์ชีวภาพมีฤทธิ์ ซึ่งก็คือหลังการหมักระดับต่ำเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและรสชาติ แล้วผ่านการคั่วเขียวอบแห้ง ทำให้การหมักสิ้นสุดลง
ชาแดงเป็นการให้ระดับการหมักลากยาวออกไป เพื่อให้ได้กลิ่นและสีตามที่ต้องการอย่างเต็มที่จุใจ แล้วทำนองเดียวกันใช้ความร้อนมาหยุดการหมักอย่างทันที
(ต่อ...คลิก "อ่านเพิ่มเติม")
3 คุณลักษณะเด่นของชาผูเอ๋อร์
ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
3 คุณลักษณะเด่นของชาผูเอ่อร์
ผู้คนส่วนใหญ่เมื่อเริ่มหันมาดื่มชาผูเอ๋อร์ มักจะประสบอุปสรรคเล็กน้อย
อุปสรรคนี้มาจากการเปรียบเทียบ โดยไปเปรียบเทียบกับผู้ยิ่งใหญ่...ชาเขียว
ชาเขียวคุณภาพดีๆแก้วหนึ่ง กลิ่นหอมใสอันทรงพลัง(浩荡清香)สามารถฟุ้งขจรกระจายระหว่างริมฝีปากและฟัน ใบชาที่ยังดำรงไว้สีเขียว ตั้งตรงและคลี่แผ่ออกเริงระบำท่วงทำนองลอยและจมอย่างช้าๆภายในน้ำอุ่นๆ เป็นภาพที่ตราตรึงใจเป็นยิ่งนัก เมื่อได้จิบดื่มสักคำ รสฝาดเล็กน้อยแบบสมุมไพร ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นความหอมกรุ่นของกลิ่นฤดูใบไม้ผลิของปีนี้ ความสดใหม่ดั่งเช่นได้ยินเสียงนกร้องในขณะที่ยืนอยู่ที่ราบบนภูเขาที่เต็มไปด้วยเมฆหมอก
หลงจิ่ง(龙井) หรือ เหาขุย(猴魁) ล้วนเป็นชาเขียวที่มีเวทมนตร์ ภายหลังเมื่อได้มาดื่มชาอูหลง "เถี่ยกวนอิน(铁观音)" และเหยียนฉา"ต้าหงผาว(大红袍)"แล้ว มีความรู้สึกว่าชาเขียวแม้จะดีแต่ค่อนไปทาง"อ่อนนุ่ม(轻盈)" ขณะกำลังชิมลิ้มได้รสชาติออกมาแล้วก็ต้องจืดจางหายไป รวดเร็วปานกามนิตหนุ่มจนหาเงาไม่เจอ
ชาอูหลงมีความหนาลึกมากกว่า แม้จะไม่มีความสดหอมใสแบบชาเขียว แต่เป็นการซ่อนกลิ่นอยู่ภายใน ทำให้ผู้ที่เสพดื่มอายุมั่นขวัญยืน(年岁陡长) ภายใต้การเทียบเคียง "เถี่ยกวนอิน"---เข้มข้นดึงดูด(浓郁清奇) "ต้าหงผาว"---อิ่มเอิบสงบนิ่ง(饱满沉着) ผู้เขียนจะชอบตัวหลังมากกว่า แล้วมีชาแดงที่มาจากแหล่งใกล้ๆกัน "จินจวิ้นใหม(金骏眉)" ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวมันเอง วันเดือนปีที่ผ่านมาดื่มไปไม่น้อยเช่นกัน
ในขณะที่ชิมดื่มทำนองนี้ ได้มาเจอะเจอชาผูเอ๋อร์อย่างปัจจุบันทันด่วน เห็นรูปลักษณ์แลัวรู้สึกแปลก ก้อนดำๆ"ใบใหญ่ก้านหยาบ(粗枝大叶)" อัดขึ้นรูปเป็นแผ่นอย่างยุ่งเหยิง เมื่อนำมาดมใกล้จมูกก็ไม่รู้สึกมีกลิ่นหอมใส แซะออกมาชงด้วยน้ำเดือด น้ำกระเพื่อมออกมาเป็นสีน้ำตาลอ่อน จิบดื่มหนึ่งคำ ความรู้สึกมีรสชาติที่เก่าเก็บ
คนเรากับอาหารการกิน มักคุ้นที่จะเลือกความสดใหม่ ดังนั้น สำหรับรสชาติที่เก่าเก็บจะทำให้รู้สึกหวาดระแวงเสมอ ยิ่งกว่านั้น ความจริงที่มีชาผูเอ๋อร์ผลิตแบบคุณภาพต่ำ และที่จัดเก็บไม่ดีซึ่งมีกลิ่นใกล้เคียงกับ"อาหารบูด(霉锅盖)"วางขายในท้องตลาด ทำให้นักดื่มชาที่คิดจะลองเข้ามาต้องเมินหน้าหนีจากไป
แต่ถึงอย่างไร นักดื่มชาที่หันตัวเพื่อจะจากไปต้องชะงักและลังเลใจ เพราะพวกเขารู้ดีว่า ในโลกนี้มีผู้คนที่นิยมชมชอบชาผูเอ๋อร์จำนวนไม่น้อยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี หรืออาจเป็นเพราะว่า พวกเขาทั้งหลายนิยมชมชอบ"อาหารบูด"อย่างไม่ลืมหูลืมตากระนั้นหรือ? ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ต่างก็มีอาชีพการงานที่ประสบความสำเร็จของตนเอง ไม่ได้ดำรงจาก"การปั่น(炒作)"และ"เล่ห์เหลี่ยม(忽悠)"เพื่อมาขับเคลื่อนชาผูเอ๋อร์ ดังนั้น นักดื่มชาที่หันตัวเพื่อตีจากไปเริ่มสงสัยตัวเอง แล้วกลับมาสู่จุดเริ่มต้นใหม่ ลองคบหาผู้คนที่เข้าใจ และชิมดื่มชาผูเอ๋อร์ที่มีมาตรฐาน
การกลับมาใหม่ครั้งนี้ เดิมพันถึงชีวิต ถ้าหากพวกเขายังพร้อมที่จะเปิดใจรับความยืดหยุ่นทางสรีระของอุปนิสัยการกินการดื่มของตนเอง ถ้าหากพวกเขายังคงไว้ซึ่งความตื่นเต้นของชีวิตในการได้ค้นพบความรู้สึกทางลิ้นและปากที่เหนือชั้น ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว สถานการณ์จะเปลี่ยนมาทางค่อนข้างรุนแรง นักดื่มชาที่มีความลังเลใจเหล่านี้จะดื่มขึ้นมาทันที แล้วจะวางไม่ลงอีกต่อไป
นี่มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่?
ลำดับแรก คือ คุณประโยชน์ (功效)
นักดื่มชาเกือบทุกคนจะมีประสบการณ์เช่นนี้ : หลังดื่มชาผูเอ๋อร์ชั้นยอดไปหลายจอก ความรู้สึกทางรสชาติยังพูดออกมาไม่ถูกเลย แต่ด้านหลังกายจะมีเหงื่อซึมออกมาเล็กน้อย แล้วช่องท้องเกิดการบีบตัว ทรวงอกจะรู้สึกเบิกบาน ใต้ลิ้นเกิดการน้ำลายสอ(生津) เคยใช้คำ"อ่อนนุ่ม"มาอธิบายชาเขียว สำหรับชาผูเอ๋อร์แล้ว แม้รูปลักษณ์จะดูไม่อ่อนนุ่ม แต่สิ่งที่ได้ทดแทนกลับมาคือทำให้ร่างกายนักดื่มชา"อ่อนนุ่ม"
นี้เป็นสิ่งสุดยอด คิดย้อนกลับไปประวัติศาสตร์สมัยราชวงค์ชิง ฮ่องเต้ทั้งหลายลงจากหลังอานม้ามาเสพชีวิตในพระราชวัง พระราชกรณียกิจที่หนักที่สุดก็คือพระวรกายที่ยิ่งมายิ่งอ้วน ดังนั้น เมื่อพระองค์ท่านได้มาดื่มชาผูเอ๋อร์โดยไม่ตั้งใจ ทรงชื่นพระราชหฤทัยเป็นยิ่งนัก
รัชกาลยุงเจิ้น(雍正)ชาผูเอ๋อร์จำนวนไม่น้อยเป็นเครื่องบรรณาการถวายเข้าไปในพระราชวังแล้ว ฮ่องเต้เฉียนหลง(乾隆)เมื่อได้ดื่มก้านใบสีน้ำตาลทำให้พระองค์ทรงรู้สึกผ่อนคลาย จึงไปค้นหาใน《คัมภีร์ชา(茶经)》แต่ไม่พบอะไร จึงได้หัวเราะเยาะเย้ยลู่หยี่(陆羽)ก็"เด๋อ(拙)"เช่นกัน พระองค์จึงได้เขียนบทกลอนท่อนหนึ่งว่า : "点成一碗金茎露,品泉陆羽应惭拙" ปกติพระองค์จะเขียนกลอนได้ไม่ดีนัก จะไม่ไปสืบสาวราวเรื่อง แต่ถ้าใช้"หยดน้ำก้านใบทอง(金茎露)"แทนชาผูเอ๋อร์ ถือว่าใช้ได้ทีเดียว
ในบันทึกช่วยจำของพระราชวังได้กล่าวไว้ว่า : "การต้อรรับด้วยชาควรต้อนรับด้วยชาผูเอ๋อร์หนึ่งจอกก่อน เพราะว่ามันทั้งอุ่นและละลายไขมันได้" จากเมืองหลวงคิดย้อนกลับไปเส้นทางชา-ม้าโบราณ เส้นทางแต่ละเส้นเริ่มจากเมืองผูเอ๋อร์แล้วทอดยาวออกไป ส่วนใหญ่มุ่งสู่ไปพื้นที่สูงอันหนาวเหน็บที่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นหลักพืชผักจะน้อย พื้นที่เหล่านี้น่าจะเกิดโรคภัยทางระบบการย่อยอาหารและระบบหลอดเลือดหัวใจ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ผู้คนได้ค้นพบสาเหตุจากแผ่นชาผูเอ๋อร์ที่ลำเลียงบนหลังม้าในกองคาราวานม้า
ทุกวันนี้พวกเรายังสามารถค้นหาตัวหนังสือบันทึกที่เกี่ยวข้องจากพงศาวดาร อาทิเช่น : "ชาผูเอ๋อร์รสจะขมชั่วครู่ ละลายไขมัน แก้พิษวัวแพะ" ; "ชาเป็นวัตถุ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ธิเบตชนเผ่าเร่ร่อนทิศตะวันตก ทานเนื้อเป็นอาหาร ขาดชาแล้วจะไม่เกิดการย่อย" ; "ขาดชาวันเดียวจะท้องเสีย ขาดชาสามวันจะเป็นไข้" ........
ปัจจุบันประเทศจีน อาหารอุดมสมบูรณ์ ไขมันเกินความต้องการ ผู้คนยิ่งมายิ่งมากที่ประสบปัญหาเฉกเช่นเดียวกับพระราชวังชิงและคนพื้นเมืองที่ราบสูง โดยเฉพาะ วิธีการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้รับรองและยืนยันแล้วว่า ชาผูเอ๋อร์มีคุณประโยชน์ในการลดน้ำตาลและไขมันในเลือดอย่างเด่นชัดมาก ดังนั้น กรแสนิยมดื่มชาผูเอ๋อร์ มีเหตุผลที่พิสูจน์ให้เห็นแล้ว
ไม่เพียงแค่นี้ ชาผูเอ๋อร์ยังมีอีกหนึ่งจุดเด่น ก็คือดื่มแล้วไม่มีผลกระทบต่อการนอนหลับ แม้จะดื่มในช่วงเวลากลางคืน ก็ยังสามารถล้มหมอนนอนหลับฝันดี ข้อดีเช่นนี้ มีเฉพาะหนึ่งเดียวในผลิตภัณฑ์ชาทุกชนิด
ลองคิดดู ชีวิตผู้คนส่วนใหญ่ต้องดำเนินอย่างเร่งรีบ จึงมักเป็นช่วงเวลากลางคืนที่คิดจะดื่มชาในบรรยากาศที่สร้างความรู้สึกสุขสบายผ่อนคลาย ชาชนิดอื่น เป็นการยากที่จะดื่มได้อย่างสบายใจในช่วงกลางคืน ดังนั้น ชาผูเอ๋อร์จึงเป็นเจ้าพ่อในยามราตรีกาล ใครคิดที่จะมาท้าทายอำนาจ ก็คงได้แค่แหกปากร้องตะโกนในช่วงกลางวัน เมื่อถึงยามพลบค่ำ การตะเบ็งเสียงต้องหยุดลง
(ต่อ...คลิก "อ่านเพิ่มเติม")
3 คุณลักษณะเด่นของชาผูเอ่อร์
ผู้คนส่วนใหญ่เมื่อเริ่มหันมาดื่มชาผูเอ๋อร์ มักจะประสบอุปสรรคเล็กน้อย
อุปสรรคนี้มาจากการเปรียบเทียบ โดยไปเปรียบเทียบกับผู้ยิ่งใหญ่...ชาเขียว
ชาเขียวคุณภาพดีๆแก้วหนึ่ง กลิ่นหอมใสอันทรงพลัง(浩荡清香)สามารถฟุ้งขจรกระจายระหว่างริมฝีปากและฟัน ใบชาที่ยังดำรงไว้สีเขียว ตั้งตรงและคลี่แผ่ออกเริงระบำท่วงทำนองลอยและจมอย่างช้าๆภายในน้ำอุ่นๆ เป็นภาพที่ตราตรึงใจเป็นยิ่งนัก เมื่อได้จิบดื่มสักคำ รสฝาดเล็กน้อยแบบสมุมไพร ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นความหอมกรุ่นของกลิ่นฤดูใบไม้ผลิของปีนี้ ความสดใหม่ดั่งเช่นได้ยินเสียงนกร้องในขณะที่ยืนอยู่ที่ราบบนภูเขาที่เต็มไปด้วยเมฆหมอก
หลงจิ่ง(龙井) หรือ เหาขุย(猴魁) ล้วนเป็นชาเขียวที่มีเวทมนตร์ ภายหลังเมื่อได้มาดื่มชาอูหลง "เถี่ยกวนอิน(铁观音)" และเหยียนฉา"ต้าหงผาว(大红袍)"แล้ว มีความรู้สึกว่าชาเขียวแม้จะดีแต่ค่อนไปทาง"อ่อนนุ่ม(轻盈)" ขณะกำลังชิมลิ้มได้รสชาติออกมาแล้วก็ต้องจืดจางหายไป รวดเร็วปานกามนิตหนุ่มจนหาเงาไม่เจอ
ชาอูหลงมีความหนาลึกมากกว่า แม้จะไม่มีความสดหอมใสแบบชาเขียว แต่เป็นการซ่อนกลิ่นอยู่ภายใน ทำให้ผู้ที่เสพดื่มอายุมั่นขวัญยืน(年岁陡长) ภายใต้การเทียบเคียง "เถี่ยกวนอิน"---เข้มข้นดึงดูด(浓郁清奇) "ต้าหงผาว"---อิ่มเอิบสงบนิ่ง(饱满沉着) ผู้เขียนจะชอบตัวหลังมากกว่า แล้วมีชาแดงที่มาจากแหล่งใกล้ๆกัน "จินจวิ้นใหม(金骏眉)" ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวมันเอง วันเดือนปีที่ผ่านมาดื่มไปไม่น้อยเช่นกัน
ในขณะที่ชิมดื่มทำนองนี้ ได้มาเจอะเจอชาผูเอ๋อร์อย่างปัจจุบันทันด่วน เห็นรูปลักษณ์แลัวรู้สึกแปลก ก้อนดำๆ"ใบใหญ่ก้านหยาบ(粗枝大叶)" อัดขึ้นรูปเป็นแผ่นอย่างยุ่งเหยิง เมื่อนำมาดมใกล้จมูกก็ไม่รู้สึกมีกลิ่นหอมใส แซะออกมาชงด้วยน้ำเดือด น้ำกระเพื่อมออกมาเป็นสีน้ำตาลอ่อน จิบดื่มหนึ่งคำ ความรู้สึกมีรสชาติที่เก่าเก็บ
คนเรากับอาหารการกิน มักคุ้นที่จะเลือกความสดใหม่ ดังนั้น สำหรับรสชาติที่เก่าเก็บจะทำให้รู้สึกหวาดระแวงเสมอ ยิ่งกว่านั้น ความจริงที่มีชาผูเอ๋อร์ผลิตแบบคุณภาพต่ำ และที่จัดเก็บไม่ดีซึ่งมีกลิ่นใกล้เคียงกับ"อาหารบูด(霉锅盖)"วางขายในท้องตลาด ทำให้นักดื่มชาที่คิดจะลองเข้ามาต้องเมินหน้าหนีจากไป
แต่ถึงอย่างไร นักดื่มชาที่หันตัวเพื่อจะจากไปต้องชะงักและลังเลใจ เพราะพวกเขารู้ดีว่า ในโลกนี้มีผู้คนที่นิยมชมชอบชาผูเอ๋อร์จำนวนไม่น้อยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี หรืออาจเป็นเพราะว่า พวกเขาทั้งหลายนิยมชมชอบ"อาหารบูด"อย่างไม่ลืมหูลืมตากระนั้นหรือ? ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ต่างก็มีอาชีพการงานที่ประสบความสำเร็จของตนเอง ไม่ได้ดำรงจาก"การปั่น(炒作)"และ"เล่ห์เหลี่ยม(忽悠)"เพื่อมาขับเคลื่อนชาผูเอ๋อร์ ดังนั้น นักดื่มชาที่หันตัวเพื่อตีจากไปเริ่มสงสัยตัวเอง แล้วกลับมาสู่จุดเริ่มต้นใหม่ ลองคบหาผู้คนที่เข้าใจ และชิมดื่มชาผูเอ๋อร์ที่มีมาตรฐาน
การกลับมาใหม่ครั้งนี้ เดิมพันถึงชีวิต ถ้าหากพวกเขายังพร้อมที่จะเปิดใจรับความยืดหยุ่นทางสรีระของอุปนิสัยการกินการดื่มของตนเอง ถ้าหากพวกเขายังคงไว้ซึ่งความตื่นเต้นของชีวิตในการได้ค้นพบความรู้สึกทางลิ้นและปากที่เหนือชั้น ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว สถานการณ์จะเปลี่ยนมาทางค่อนข้างรุนแรง นักดื่มชาที่มีความลังเลใจเหล่านี้จะดื่มขึ้นมาทันที แล้วจะวางไม่ลงอีกต่อไป
นี่มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่?
ลำดับแรก คือ คุณประโยชน์ (功效)
นักดื่มชาเกือบทุกคนจะมีประสบการณ์เช่นนี้ : หลังดื่มชาผูเอ๋อร์ชั้นยอดไปหลายจอก ความรู้สึกทางรสชาติยังพูดออกมาไม่ถูกเลย แต่ด้านหลังกายจะมีเหงื่อซึมออกมาเล็กน้อย แล้วช่องท้องเกิดการบีบตัว ทรวงอกจะรู้สึกเบิกบาน ใต้ลิ้นเกิดการน้ำลายสอ(生津) เคยใช้คำ"อ่อนนุ่ม"มาอธิบายชาเขียว สำหรับชาผูเอ๋อร์แล้ว แม้รูปลักษณ์จะดูไม่อ่อนนุ่ม แต่สิ่งที่ได้ทดแทนกลับมาคือทำให้ร่างกายนักดื่มชา"อ่อนนุ่ม"
นี้เป็นสิ่งสุดยอด คิดย้อนกลับไปประวัติศาสตร์สมัยราชวงค์ชิง ฮ่องเต้ทั้งหลายลงจากหลังอานม้ามาเสพชีวิตในพระราชวัง พระราชกรณียกิจที่หนักที่สุดก็คือพระวรกายที่ยิ่งมายิ่งอ้วน ดังนั้น เมื่อพระองค์ท่านได้มาดื่มชาผูเอ๋อร์โดยไม่ตั้งใจ ทรงชื่นพระราชหฤทัยเป็นยิ่งนัก
รัชกาลยุงเจิ้น(雍正)ชาผูเอ๋อร์จำนวนไม่น้อยเป็นเครื่องบรรณาการถวายเข้าไปในพระราชวังแล้ว ฮ่องเต้เฉียนหลง(乾隆)เมื่อได้ดื่มก้านใบสีน้ำตาลทำให้พระองค์ทรงรู้สึกผ่อนคลาย จึงไปค้นหาใน《คัมภีร์ชา(茶经)》แต่ไม่พบอะไร จึงได้หัวเราะเยาะเย้ยลู่หยี่(陆羽)ก็"เด๋อ(拙)"เช่นกัน พระองค์จึงได้เขียนบทกลอนท่อนหนึ่งว่า : "点成一碗金茎露,品泉陆羽应惭拙" ปกติพระองค์จะเขียนกลอนได้ไม่ดีนัก จะไม่ไปสืบสาวราวเรื่อง แต่ถ้าใช้"หยดน้ำก้านใบทอง(金茎露)"แทนชาผูเอ๋อร์ ถือว่าใช้ได้ทีเดียว
ในบันทึกช่วยจำของพระราชวังได้กล่าวไว้ว่า : "การต้อรรับด้วยชาควรต้อนรับด้วยชาผูเอ๋อร์หนึ่งจอกก่อน เพราะว่ามันทั้งอุ่นและละลายไขมันได้" จากเมืองหลวงคิดย้อนกลับไปเส้นทางชา-ม้าโบราณ เส้นทางแต่ละเส้นเริ่มจากเมืองผูเอ๋อร์แล้วทอดยาวออกไป ส่วนใหญ่มุ่งสู่ไปพื้นที่สูงอันหนาวเหน็บที่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นหลักพืชผักจะน้อย พื้นที่เหล่านี้น่าจะเกิดโรคภัยทางระบบการย่อยอาหารและระบบหลอดเลือดหัวใจ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ผู้คนได้ค้นพบสาเหตุจากแผ่นชาผูเอ๋อร์ที่ลำเลียงบนหลังม้าในกองคาราวานม้า
ทุกวันนี้พวกเรายังสามารถค้นหาตัวหนังสือบันทึกที่เกี่ยวข้องจากพงศาวดาร อาทิเช่น : "ชาผูเอ๋อร์รสจะขมชั่วครู่ ละลายไขมัน แก้พิษวัวแพะ" ; "ชาเป็นวัตถุ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ธิเบตชนเผ่าเร่ร่อนทิศตะวันตก ทานเนื้อเป็นอาหาร ขาดชาแล้วจะไม่เกิดการย่อย" ; "ขาดชาวันเดียวจะท้องเสีย ขาดชาสามวันจะเป็นไข้" ........
ปัจจุบันประเทศจีน อาหารอุดมสมบูรณ์ ไขมันเกินความต้องการ ผู้คนยิ่งมายิ่งมากที่ประสบปัญหาเฉกเช่นเดียวกับพระราชวังชิงและคนพื้นเมืองที่ราบสูง โดยเฉพาะ วิธีการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้รับรองและยืนยันแล้วว่า ชาผูเอ๋อร์มีคุณประโยชน์ในการลดน้ำตาลและไขมันในเลือดอย่างเด่นชัดมาก ดังนั้น กรแสนิยมดื่มชาผูเอ๋อร์ มีเหตุผลที่พิสูจน์ให้เห็นแล้ว
ไม่เพียงแค่นี้ ชาผูเอ๋อร์ยังมีอีกหนึ่งจุดเด่น ก็คือดื่มแล้วไม่มีผลกระทบต่อการนอนหลับ แม้จะดื่มในช่วงเวลากลางคืน ก็ยังสามารถล้มหมอนนอนหลับฝันดี ข้อดีเช่นนี้ มีเฉพาะหนึ่งเดียวในผลิตภัณฑ์ชาทุกชนิด
ลองคิดดู ชีวิตผู้คนส่วนใหญ่ต้องดำเนินอย่างเร่งรีบ จึงมักเป็นช่วงเวลากลางคืนที่คิดจะดื่มชาในบรรยากาศที่สร้างความรู้สึกสุขสบายผ่อนคลาย ชาชนิดอื่น เป็นการยากที่จะดื่มได้อย่างสบายใจในช่วงกลางคืน ดังนั้น ชาผูเอ๋อร์จึงเป็นเจ้าพ่อในยามราตรีกาล ใครคิดที่จะมาท้าทายอำนาจ ก็คงได้แค่แหกปากร้องตะโกนในช่วงกลางวัน เมื่อถึงยามพลบค่ำ การตะเบ็งเสียงต้องหยุดลง
(ต่อ...คลิก "อ่านเพิ่มเติม")