เพื่อเผยแพร่บทความแปลเกี่ยวกับความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ โลกทัศน์ แนวความคิด และความคิดเห็นด้านชาผูเอ๋อร์
วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561
เครื่องเคลือบเขียนสีเมืองจีน (ตอนที่3)
ในวงการนักสะสมมีคำฮิตติดปากว่า “ถ้าเป็นเครื่องเคลือบต้องเล่นของยุค3จักรพรรดิต้าชิง” ยุค3จักรพรรดิต้าชิงคือการบ่งชี้ถึง คังซี ยุงเจิ้ง เฉียนหลง ซึ่งก็คือ「ยุครุ่งเรืองคัง-ยุง-เฉียน」(康乾盛世) ที่พวกเรานิยมใช้พูดกัน
ยุคต้าชิงถือเป็นยุคทองในประวัติศาสตร์การผลิตเครื่องเคลือบของเมืองจีน โดยเฉพาะในช่วงรัชศกคัง-ยุง-เฉียน อันเนื่องจากพัฒนาการของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเคลือบของโรงงานเตาหลวงที่จิ่งเต๋อเจิ้นเป็นไปอย่างมั่นคง นักผลิตเครื่องเคลือบได้รวบรวมฟริต(สีเคลือบ)ชนิดต่างๆทั้งจากภายในและต่างประเทศบรรดามี บนพื้นฐานที่มีมาแต่ก่อนได้ทำการวิจัยพัฒนาสีเคลือบหลากหลายที่ไม่เคยมีมาก่อน การคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเหล่านี้ทำให้อุตสาหกรรมเครื่องเคลือบของจิ่งต๋อเจิ้นในยุค3จักรพรรดิต้าชิงเป็นไปอย่างเฟื่องฟู ได้สร้างประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ในการลงหลักปักฐานอย่างมั่นคง
▲清代御窑厂图 ภาพโรงงานเตาหลวงที่จิ่งเต๋อเจิ้น·ยุคสมัยต้าชิง
1. นิยามของเครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้า
“เครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้า” (混合彩瓷) คือการบ่งชี้ถึงเครื่องเคลือบเขียนสีที่นำ “สีใต้เคลือบ” “สีกลางเคลือบ” “สีบนเคลือบ” เป็นต้นมาเผาประดิษฐ์ร่วมกัน ในบรรดาเครื่องเคลือบของเตาหลวงยุคสมัยก่อน สีใต้เคลือบส่วนใหญ่จะใช้สารโคบอลท์(ลายคราม) หรือสารคอปเปอร์(ลายไฟ)เป็นรงควัตถุสี เนื่องจากสีใต้เคลือบเป็นการเขียนสีก่อนการขึ้นเคลือบแก้วปกคลุมผิวหน้า ดังนั้น อุณหภูมิของการเผาประดิษฐ์ของสีใต้เคลือบและเคลือบแก้วจะเหมือนกัน ส่วนใหญ่ใช้สีเคลือบชนิดอุณหภูมิสูง ; สีกลางเคลือบคือบ่งชี้ถึงสีแบบการนำรงควัตถุสีผสมลงในน้ำเคลือบ ในการขึ้นน้ำเคลือบบนผิวแล้วขณะเดียวกันทำการเขียนสีพร้อมกัน สีกลางเคลือบแบบนี้ที่พบเห็นบ่อยๆก็มีจี้ชิง (霁青) จี้หง (霁红) ผงใบชา (茶叶末) แดงคาร์มีน (胭脂红) เคลือบจิน (钧釉) เป็นต้น ; สีบนเคลือบจะใช้บนเครื่องเคลือบอู๋ไฉ่ ฝ้าหลางไฉ่ เฝินไฉ่เป็นหลัก จะมีสีหลากหลาย อาทิเช่น สีแดง(เกลือซัลเฟตของเหล็ก) สีทองเป็นต้น เนื่องจากสีบนเคลือบเป็นการเขียนสีบนผิวเคลือบที่เผาเสร็จแล้วทำการเผาอบอีกครั้ง ดังนั้น โดยทั่วไปจะใช้สีเคลือบชนิดอุณหภูมิต่ำ
▲混合彩瓷 เครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้า
ช่วงเวลาที่เป็นจุดกำเนิดของเครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้ายังยากที่จะพิสูจน์ยืนยัน ในรัชศกเซวียนเต๋อราชวงศ์หมิงได้เริ่มทำการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก เครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้าเช่น ลายครามพื้นเหลือง ลายครามแดง และอู๋ไฉ่ลายคราม(ต้นแบบของโต้วไฉ๋) เป็นต้นล้วนถูกโรงงานราชสำนักผลิตออกอย่างมากมาย โต้วไฉ่ที่ต่อมาได้พัฒนาอย่างรวดเร็วก็เป็นตัวแทนของเครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้ายุคสมัยหมิง
2. กรรมวิธีการผลิตเครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้า
มองจากด้านขั้นตอนของศิลปหัตถกรรมการผลิตแล้ว เครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้ามีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆและสลับซับซ้อนมากกว่าเครื่องเคลือบเขียนสีทั่วไป ดังนั้นความยากในการผลิตก็สูงกว่าเครื่องเคลือบเขียนสีมาก ในการที่จะผลิตเครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้าที่ผสมผสานสีใต้เคลือบกับสีบนเคลือบนั้น ก่อนอื่นต้องเขียนวาดสีใต้เคลือบบนเนื้อดินดิบ หลังจากนั้นชุบเคลือบแก้วปกคลุมผิวหน้าชั้นหนึ่ง นำเข้าเตาเผาด้วยอุณหภูมิสูงออกมาเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป ทำการคัดเลือกใบที่มีคุณภาพผ่านเกณฑ์เพื่อทำการเขียนสีบนเคลือบ สุดท้ายนำไปเผาผลิตอีกครั้งที่อุณหภูมิต่ำ จากรงควัตถุสีแต่ละชนิดต่างมีอุณหภูมิการเผาผลิตแตกต่างกัน ในส่วนที่เป็นสีบนเคลือบอาจต้องดำเนินการผลิตหลายๆครั้งจนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์
3. เครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้ายุค3จักรพรรดิต้าชิง
เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตเครื่องเคลือบในต้นสมัยต้าชิงมีพัฒนาการจนเชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง นักการเครื่องเคลือบของโรงงานเตาหลวงที่จิ่งเต๋อเจิ้นได้หยิบยืมเครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้าที่มีมาแต่ก่อน(อย่างเช่นลายครามพื้นเหลือง โต้วไฉ่ อู๋ไฉ่ลายครามเป็นต้น) มาทำการพัฒนาเครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้าออกมามากมายที่มีลักษณะสีสดเป็นพิเศษซึ่งเป็นสีที่สามารถหาได้ในขณะนั้น
กลุ่มที่1 :【การผสมผสานลายไฟกับอู๋ไฉ่】
ในยุคสมัยหมิงและต้าชิง เนื่องจากรงควัตถุสีคอปเปอร์(ลายไฟ)จะปรากฏสีออกมาอย่างไม่เสถียร การเผาผลิตจะยุ่งยากมาก เป็นเหตุให้ทางโรงงานเตาหลวงต้องมาใช้ลายสีแดง(รงควัตถุสีเกลือซัลเฟตของเหล็ก)ซึ่งเป็นสีบนเคลือบที่สามารถควบคุมการเผาผลิตภายใต้สภาวะต่างๆมาทดแทนลายไฟ(เห็นเด่นชัดในเครื่องเคลือบอู๋ไฉ่หลังยุคสมัยหมิง) ในยุคคังซีสมัยต้าชิง เนื่องจากช่างสามารถทำการเผาผลิตภาชนะลายไฟได้อย่างแม่นยำและลายไฟก็ปรากฏสีออกมาโดดเด่นกว่าลายสีแดง เครื่องเคลือบลายไฟจึงถูกโรงงานเตาหลวงผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันบนพื้นฐานของการผลิตเครื่องเคลือบลายครามไฟที่มีอยู่เดิม ได้สร้างสรรค์นำลายไฟแทนที่ลายสีแดงมาผสมผสานกับสีบนเคลือบอื่นๆชนิดอุณหภูมิต่ำ
▲清康熙·釉里紅龍紋大缸 กระถางลายมังกรไฟ·สมัยจักรพรรดิคังซีราชวงศ์ชิง (ปี1661-1722)
▲清康熙·釉里红五彩折枝月季花纹苹果尊 กระถางแอปเปิ้ลลายไฟกับอู๋ไฉ่·สมัยจักรพรรดิคังซีราชวงศ์ชิง (ปี1661-1722)
▲清康熙·釉里红五彩折枝月季花纹苹果尊 กระถางแอปเปิ้ลลายไฟกับอู๋ไฉ่·สมัยจักรพรรดิคังซีราชวงศ์ชิง : ดอกกุหลาบหนูเขียนสีลายไฟ(สีใต้เคลือบ) ใบไม้เขียนสีอู๋ไฉ่(สีบนเคลือบ)
กลุ่มที่2 :【การผสมผสานโต้วไฉ่กับเฝินไฉ่】
เป็นไปตามที่เทคโนโลยีของเครื่องเคลือบเขียนสีในยุคคังซีพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โรงงานราชสำนักที่จิ่งเต๋อเจิ้นช่วงปลายยุคคังซีได้ทำการผลิตเครื่องเคลือบเฝินไฉ่แบบดั้งเดิมออกมาได้แล้ว ช่วงเวลาเดียวกัน ได้เขียนสีเฝินไฉ่ลงบนเครื่องเคลือบโต้วไฉ่ ทำให้ผลิตภัณฑ์โต้วไฉ่ในยุคสมัยนั้นมีกลิ่นอายคลุมเครือของเฝินไฉ่ ตั้งแต่ปลายยุคคังซีเป็นต้นมา ลักษณะพิเศษของเฝินไฉ่ในเครื่องเคลือบโต้วไฉ่แสดงออกที่การละเลงสีบนกลีบดอกไม้
▲清雍正·斗彩花卉纹双耳扁瓶 แจกัน2หูโต้วไฉ่ลายต้นดอกไม้·สมัยจักรพรรดิยุงเจิ้นราชวงศ์ชิง (ปี1723-1735)
▲清雍正·斗彩花卉纹双耳扁瓶 แจกัน2หูโต้วไฉ่ลายต้นดอกไม้·สมัยจักรพรรดิยุงเจิ้นราชวงศ์ชิง : กลีบดอกเขียนสีเฝินไฉ่(สีบนเคลือบ) ต้นดอกไม้เขียนสีโต้วไฉ่(ผสมกลมกลืนสีใต้เคลือบกับสีบนเคลือบ)
กลุ่มที่3 :【การผสมผสานลายไฟกับโต้วไฉ่】
การพัฒนาเครื่องเคลือบเขียนสีในยุคเฉียนหลงเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในบรรดาผลิตภัณฑ์ของยุคสมัยนี้ เครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้าที่เป็นการผสมผสานลายไฟกับโต้วไฉ่ได้ปรากฏตัวออกมาเป็นครั้งแรก เนื่องจากมีตัวอย่างของการผสมผสานลายไฟกับอู๋ไฉ่ในยุคคังซี ดังนั้นการเขียนสีคละเคล้าแบบการผสมผสานลายไฟกับโต้วไฉ๋ก็เป็นที่ยอมรับโดยง่าย ไม่เห็นจะเป็นเรื่องแปลก
▲清乾隆·斗彩釉里红梵文莲纹 จานลายไฟกับโต้วไฉ่ลายดอกบัวสันสกฤต·สมัยจักรพรรดิเฉียนหลงราชวงศ์ชิง (ปี1735-1796)
▲清乾隆·斗彩釉里红梵文莲纹 จานลายไฟกับโต้วไฉ่ลายดอกบัวสันสกฤต·สมัยจักรพรรดิเฉียนหลงราชวงศ์ชิง : ด้านหลัง
▲清乾隆·斗彩釉里红梵文莲纹 จานลายไฟกับโต้วไฉ่ลายดอกบัวสันสกฤต·สมัยจักรพรรดิเฉียนหลงราชวงศ์ชิง : ดอกบัวเขียนสีลายไฟ(สีใต้เคลือบ)
กลุ่มที่4 :【การผสมผสานลายครามกับเฝินไฉ่】
อู๋ไฉ่กำเนิดขึ้นในต้นรัชศกเซวียนเต๋อยุคสมัยหมิง ในยุคคังซีต้นสมัยต้าชิงได้ดำเนินการสานต่อ เป็นไปตามที่การพัฒนาจนเชี่ยวชาญของอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบเฝินไฉ่ของจิ่งเต๋อเจิ้น ลายครามเฝินไฉ่ที่ได้จากการผสมผสานลายครามกับเฝินไฉ่ก็เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แล้วก็ทำการผลิตออกมาเป็นจำนวนมากหลังยุคเฉียนหลง
▲清乾隆·青花粉彩凤凰牡丹瓶 แจกันลายครามกับเฝินไฉ่ลายหงส์ดอกโบตั๋น·สมัยจักรพรรดิเฉียนหลงราชวงศ์ชิง (ปี1735-1796)
▲清乾隆·青花粉彩凤凰牡丹瓶 แจกันลายครามกับเฝินไฉ่ลายหงส์ดอกโบตั๋น·สมัยจักรพรรดิเฉียนหลงราชวงศ์ชิง : ใบไม้เขียนสีลายคราม(สีใต้เคลือบ) หงส์ดอกโบตั๋นเขียนสีเฝินไฉ่(สีบนเคลือบ)
▲清乾隆·青花粉彩九龙橄榄瓶 แจกันลายครามกับเฝินไฉ่ลาย9มังกรเมฆ·สมัยจักรพรรดิเฉียนหลงราชวงศ์ชิง (ปี1735-1796)
▲清乾隆·青花粉彩九龙橄榄瓶 แจกันลายครามกับเฝินไฉ่ลาย9มังกรเมฆ·สมัยจักรพรรดิเฉียนหลงราชวงศ์ชิง : เมฆเขียนสีลายคราม(สีใต้เคลือบ) มังกรเขียนสีเฝินไฉ่(สีบนเคลือบ)—ด้วยสีแดง(เกลือซัลเฟตของเหล็ก)และสีทอง
กลุ่มที่5 :【การผสมผสานโต้วไฉ่กับฝ้าหลางไฉ่】
โต้วไฉ่ที่ผลิตในยุคคัง-ยุง-เฉียนมีความงามวิจิตรมาก นอกจากจะแฝงด้วยลักษณะพิเศษของเฝินไฉ่แล้ว ยังมีโต้วไฉ่ที่มีเอกลักษณ์ของฝ้าหลางไฉ่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด เครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้าแบบนี้และเครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้าแบบการผสมผสานลายไฟกับโต้วไฉ่จะพบเห็นได้น้อยมาก สิ่งที่อยากจะกล่าวเพิ่มเติมก็คือ เฝินไฉ่และฝ้าหลางไฉ่เมื่อทำการเผาออกมาแล้วจะมีมิตินูนที่เป็นเอกลักษณ์ปรากฏออกมา
▲清乾隆·斗彩珐琅彩瓜蝶纹三多婴儿一团和气杯 จอกโต้วไฉ่กับฝ้าหลางไฉ่ลายเด็กถือลูกท้อ·สมัยจักรพรรดิเฉียนหลงราชวงศ์ชิง (ปี1735-1796)
▲清乾隆·斗彩珐琅彩瓜蝶纹三多婴儿一团和气杯 จอกโต้วไฉ่กับฝ้าหลางไฉ่ลายเด็กถือลูกท้อ·สมัยจักรพรรดิเฉียนหลงราชวงศ์ชิง : สังเกตเห็นมิตินูนและสภาพส่วนที่สึกหรอของฝ้าหลางไฉ่(สีบนเคลือบ)
กลุ่มที่6 :【การผสมผสานลายคราม โต้วไฉ่ สีเคลือบจิน และเฝินไฉ่】
ในบรรดาเครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้าที่สลับซับซ้อนมากที่สุดคงหนีไม่พ้น #แจกันยักษ์หลากผิวเคลือบเฉียนหลง เครื่องเคลือบนี้รวบสีใต้เคลือบ(ลายคราม) สีกลางเคลือบ(สีเคลือบจิน สีเคลือบถั่วเขียว) และสีบนเคลือบ(เฝินไฉ่ สีทอง) เป็นต้นรวมอยู่บนร่างเดียวกัน ถือเป็นเครื่องเคลือบเขียนสีคละเคล้าเชิงตัวแทนมากที่สุด
▲清乾隆·各种釉彩大瓶 แจกันยักษ์หลากผิวเคลือบ·สมัยจักรพรรดิเฉียนหลงราชวงศ์ชิง : ได้เคยเผยแพร่บทความที่กล่าวถึงแจกันยักษ์นี้โดยเฉพาะ สนใจโปรดคลิกลิงค์ https://puerthaiblog.blogspot.com/2018/02/blog-post.html
4. สรุป
เนื่องจากนักการเครื่องเคลือบของโรงงานเตาหลวงที่จิ่งเต๋อเจิ้นในยุคคังซีค่อยๆทำความเข้าใจเข้าถึงฝ้าหลางไฉ่ที่นำเข้ามา พวกช่างเครื่องเคลือบประสบความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาให้เหมาะกับวิถีแห่งตน เฝินไฉ่ของโรงงานเตาหลวงที่มีสีประกายแวววาว การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ครั้งนี้ได้ผลักดันให้เครื่องเคลือบเขียนสีของโรงงานเตาหลวงพัฒนาอย่างรวดเร็ว แล้วก็ขับเคลื่อนการสร้างสรรค์เครื่องเคลือบเขียนสีใหม่ๆเป็นลูกโซ่ เมื่อช่างเตาเผาโรงงานขะมักเขม้นในการผลิตเครื่องเคลือบเขียนสีที่มีกลิ่นอายเข้มข้นของต้าชิง เป็นการนำการผลิตเครื่องเคลือบเขียนสีเข้าสู่จุดสุดยอดของประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งอย่างไม่รู้ตัว
........ จบบริบูรณ์........
เอกสารอ้างอิง :
1. 清康雍乾三代混合彩瓷的六种组合 : https://www.jianshu.com/p/36ada1ff7779
2. 清康熙,雍正,乾隆时期混合彩瓷 : https://blog.artron.net/space-1220784-do-blog-id-1315289.html