《เส้นทางใบชา》ตอนที่ (1) : ประตูแห่งจักรวรรดิ
《茶叶之路》 第一集 : 帝国之门
เมืองจีนคือถิ่นกำเนิดของชา จากบันทึกประวัติศาสตร์ ในยุคราชวงศ์โจว(周朝) ประมาณ 3000 กว่าปีก่อน ชนเผ่าบา(巴人)ในมณฑลซื่อชวนก็ได้ริเริ่มใช้ชากันแล้ว หลังยุคสมัยถัง(唐代) การดื่มชาถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไป ใบชาจากการเป็นของหรูหราล้ำค่ากลายเป็นเครื่องดื่มธรรมดาของสามัญชนทั่วไป การชิมดื่มชาของคนจีนไม่แม้เพียงเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่ง ยังเป็นภูมิปัญญาสะสมอย่างหนึ่งของประวัติศาสตร์วัฒนธรรม วัฒนธรรมแบบนี้ได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องมาหลายพันปีแล้ว
เขตพื้นที่หวู่หยีซานตั้งอยู่ทางแถบเหนือของมณฑลฝูเจี๋ยน ภูมิอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น ภูมิประเทศภูเขาเขียวหุบเขาหยก เริ่มตั้งแต่ยุคสมัยถังก็เป็นพื้นที่ผลิตชาที่สำคัญของเมืองจีน เกษตรกรชาวชาของหวู่หยีซานที่ทรงภูมิปัญญาและขยันขันแข็ง ไม่เพียงช่วยเพาะขยายพันธุ์ต้นชาที่มีชื่อเสียงหลากหลายชนิด และยังไม่ลดละในการค้นคว้าหากรรมวิธีการผลิตชาแบบใหม่ๆ สร้างสรรค์ “ชาแดง” ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก และชา “หวู่หยีเหยียนฉา” ที่ดึงดูดความสนใจของผู้คน
เมื่อมาถึงยุคปลายสมัยหมิงต้นสมัยชิง หวู่หยีซานก็กลายเป็นต้นทางที่สำคัญของชาเมืองจีน แพร่ออกไปสู่ตะวันตก จวบจนปัจจุบัน ที่นี้ก็ยังคงอนุรักษ์กรรมวิธีการผลิตใบชาแบบดั้งเดิม
ทุกๆปี พวกพ่อค้าชาจะลำเลียงขนส่งใบชาที่ผลิตจากหวู่หยีซาน เริ่มต้นการเดินทางจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า “เซี่ยเหมย”(下梅) มุ่งไปทางทิศเหนือ ผ่านแม่น้ำลำธารและเทือกเขาของเมืองจีนครั้งแล้วครั้งเล่า ผ่านทะเลทรายโกบี(戈壁) เข้าสู่ที่ราบสูงมองโกเลีย จนไปถึงเมือง “Kyakhta”(恰克图) บนเขตแดนของรัสเซีย หลังจากนั้นต่อเนื่องไปทางเหนือ ต่อจากนั้นมุ่งไปทางตะวันตกผ่านดินแดนไกลปืนเที่ยงของรัสเซีย จนถึงมอสโกและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กริมฝั่งทะเลบอลติก เป็นเส้นทางอันเลี้ยวลดคดเคี้ยวต่อเนื่องกันถึง 20000 กิโลเมตร เป็นที่โด่งดังในประวัติศาสตร์ซึ่งก็คือ “เส้นทางใบชา”(The Tea Road : 茶叶之路)
ก่อนที่จะปรากฏเป็น “เส้นทางใบชา” ของจีน-รัสเซีย ใบชาเมืองจีนได้แพร่เข้าไปในยุโรปแล้ว ชาวยุโรปเริ่มที่ได้สัมผัสใบชาเมืองจีนคือเหตุการณ์ในกลางศตวรรษที่ 16 ปี 1550 ชาวยุโรปได้ยินเป็นครั้งแรกแล้วว่า เมืองจีนอันไกลโพ้นมีใบต้นไม้ที่วิเศษชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาชงดื่มได้ ซึ่งเรียกกันว่า “ชา”(茶)
ปี 1612 บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลอลนด์ได้นำใบชาจำนวนเพียงเล็กน้อยกลับไปยังประเทศ นี่เป็นครั้งแรกที่ชาวยุโรปไห้พบเห็นใบชา หลังจากนั้น ปี 1662 พระราชินีแคทเธอรินได้แนะนำชาเข้าไปในพระราชวังอังกฤษ ทันทีทันใด การดื่มชาในพระราชวังอังกฤษกลายเป็นแฟชั่นทันสมัย บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสอันดี จึงตั้งใจที่จะแย่งการค้าใบชาจากมือคนฮอลแลนด์หรือจัดซื้อนำเข้าใบชาจากเมืองจีนโดยตรง
หลังศตวรรษที่ 16 ประเทศทางยุโรปเช่น ฮอลแลนด์ อังกฤษ เป็นต้น เริ่มเจริญรุ่งเรือง ช่วงเวลานั้น เนื่องจาก “ยุคแห่งการค้นพบ”(Age of Discovery) เส้นทางเดินเรือมหาสมุทรที่เดินทางสู่อินเดียและเมืองจีนได้เปิดทางแล้ว อังกฤษและฮอลแลนด์ล้วนคิดจะไปค้าขายทางตะวันออก แต่เนื่องจากเส้นทางที่ต้องผ่านมหาสมุทรอินเดียมุ่งสู่เอเชียใต้และเมืองจีนถูกสเปนและโปรตุเกส ควบคุมไว้หมดแล้ว คนอังกฤษในภาวะการณ์ที่เส้นทางเดินเรือไม่เปิด ถูกบังคับต้องหันมาทางเหนือ โดยขอให้รัสเซียอนุญาตพวกเขาผ่านแคว้นไซบีเรียเพื่อค้นหาเส้นทางไปอินเดียและเมืองจีน พระเจ้าอีวานที่ 4 แห่งรัสเซียทรงเป็นพระประมุขในช่วงเวลานั้นได้ปฏิเสธคำขอของอังกฤษ แต่ได้ตัดสินใจทำการส่งคนไปค้นหาเส้นทางที่ทะลุผ่านเข้าไปเมืองจีนก่อน
ปี 1608 Volynskyi ผู้บัญชาการทหารของรัฐ Tomsk ได้ส่งคนมุ่งหน้าไปค้นหาเมืองจีน นี่คือการค้นหาของรัสเซียโดยลำพัง ได้ลิ้มรสในเส้นทางมุ่งสู่เมืองจีนเป็นครั้งแรก 32 ปีต่อมา Starkov ทูตของรัสเซียได้เดินทางมาถึง Kalmyks ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ยึดครองของมองโกเลีย เมื่ออยู่ที่นี้ คนรัสเซียไม่เพียงได้รับฟังข่าวสารจำนวนมากเกี่ยวกับเมืองจีน พวกเขายังได้พบเห็นชา ในงานเลี้ยงรับรองมื้อค่ำท่านข่านมองโกลได้สั่งให้คนยกเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ไม่รู้จักชื่อให้คนรัสเซีย เมื่อคนรัสเซียได้พินิจพิเคราะห์เครื่องดื่มชนิดนี้แล้ว แรงเข้มข้นแต่ขมฝาด สีออกเขียว แต่รสกลิ่นหอมรัญจวน เครื่องดื่มชนิดนี้ก็คือ “ใบชา”
เป็นที่น่าเสียดายในตอนนั้นก็คือทูต Starkov ไม่ได้ให้ความสนใจ “ใบชา” แต่แสดงออกอย่างชัดเจนโดยคาดหวังว่าของที่ระลึกที่ท่านข่านมองโกลจะมอบให้ดีที่สุดคือหนังสัตว์ Sable(黑貂皮) จำนวนมาก ไม่ใช่ใบชาที่ไม่มีราคาในรัสเซียในช่วงเวลานั้น ท่านข่านได้ปฏิเสธการขอของ Starkov เมื่อเป็นเช่นนี้ Starkov จำต้องนำใบชา 200 หีบกลับไปรัสเซียอย่างไม่เต็มใจ แล้วนำไปถวายพระเจ้าซาร์
เป็นที่ประจักษ์ว่าคนรัสเซียแรกเริ่มเดิมทีมีทีท่าเฉยๆต่อใบชา แต่เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 17 สถานการณ์ได้เปลี่ยนไป ในยุคต้นราชวงศ์ชิง อิทธิพลของรัสเซียได้คืบเข้าไปในบริเวณลุ่มแม่น้ำไฮหลงเจียง(黑龙江) ได้ไปตั้งรกรากใน Transbaikalia(外贝加尔) แล้ว พระเจ้าซาร์ได้ริเริ่มส่งคณะทูตไปเบ่ยจิงโดยตรง เพื่อต้องการหาทางทำการค้ากับจีน เหล่านักการทูตที่มาเมืองจีนได้นำใบชาที่เป็นเครื่องพระราชทานกลับไปรัสเซีย แต่ทว่า ณ เวลานั้นจีนและรัสเซียยังไม่มีการค้าต่อกัน การบริโภคใบชาในรัสเซียยังมีปริมาณน้อยมาก เพียงจำกัดอยู่ในชนชั้นสูงและผู้มีฐานะร่ำรวย
ช่วงปลายๆของศตวรรษที่ 17 ระหว่างจักรวรรดิรัสเซียราชวงศ์ซาร์และจักรวรรดิจีนราชวงศ์ชิงล้วนมีนัยสำคัญพิเศษ สองประเทศที่มีขนาดใหญ่ต่างเผชิญกับทางเลือกที่ไม่เหมือนกัน พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 เป็นจักรพรรดิที่ทรงเชี่ยวชาญการรบ ทรงครองราชย์ 43 ปี ได้ทำศึกสงครามภายนอก 53 ครั้ง เป็นเหตุให้ท้องพระคลังของประเทศว่างเปล่า และจากการสำรวจของคณะทูตที่ไปเมืองจีนที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า พื้นที่เมืองจีนกว้างใหญ่ไพศาล ผลิตธาตุเงินธาตุทองและสินค้ามูลค่าสูง จะกลายเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพของรัสเซีย จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 ได้เขียนจดหมายให้สภาองคมนตรีว่า ต้องพยายามรวบรวมเงินทองไว้ เนื่องจากเงินทองเป็นเส้นเลือดของสงคราม เพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ทรงรับสั่งให้ติดต่อกับเมืองจีนอย่างแข็งขัน เจรจาทำสัญญาการค้า ประจวบตรงกันข้ามกับเมืองจีน จักรพรรดิคังซีที่มีอายุมากกว่าพระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 ถึง 20 ปี ไม่มีความสนใจที่จะทำการค้ากับรัสเซีย สิ่งที่พระองค์ทรงเป็นห่วงมากกว่าคือความขัดแย้งในลุ่มแม่น้ำไฮหลงเจียง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาพิพากทางชายแดนของสองประเทศ
ปี 1685-1686 เกิดสงราม Sino-Russian Border Conflicts (雅克萨之战) ถึง 2 ครั้ง ทำให้รัสเซียประจักษ์ชัดได้ทันทีว่า สิ่งที่ต้องผจัญอยู่ซึ่งหน้าคือประเทศใหญ่ที่ทรงพลัง ต้องการรบให้ชนะจะเป็นการยากมาก ประกอบกับแทบจะในเวลาเดียวกัน ทางรัสเซียก็ได้เปิดศึกสงครามกับตุรกี ค่าใช้จ่ายสงครามที่มากมายมหาศาล ได้ล้างผลาญทรัพยากรภายในของรัสเซีย สงบศึกแล้วทำการค้ากับเมืองจีนกลายเป็นทางเลือกลำดับต้น ด้านราชวงศ์ชิง ก็เพิ่งสงบจากศึกสงคราม Revott of the Three Feudation (三藩之乱 : ปราบ 3 อ๋อง) ประเทศชาติจำเป็นต้องหยุดพักเพื่อซ่อมบำรุงอย่างยิ่ง จักรพรรดิคังซีจึงใช้วิธีการที่เฉียบแหลมโดยตกลงรูปแบบการเซ็นสัญญา
วันที่ 9 กรกฎาคม 1689 ทูตของสองประเทศจีนและรัสเซียได้ร่วมลงนามใน《Treaty of Nerchinsk》(尼布楚条约) สนธิสัญญานี้นอกจากว่าด้วยการปักปันเขตแดนระหว่างจีน-รัสเซียแล้ว ยังบรรจุข้อตกลงทางการค้าที่รัสเซียร้องขอเขียนเข้าไปในสนธิสัญญานี้ด้วย ซึ่งระบุว่า ต่อจากนี้ไปการดินทางไปมาหาสู่กัน ไม่ว่าบุคคลใดที่มีตั๋วเดินทาง สามารถข้ามเขตแดนไปมาได้ และทำการค้าตามแนวชายแดนได้ สนธิสัญญานี้ทำให้รัสเซียนอกจากได้ดินแดนผืนใหญ่จากจีนแล้ว สุดท้ายยังได้รับสิทธิทำการค้ากับจีนตามที่ใฝ่ฝันถึง เหตุที่จักรวรรดิชิงยินยอมให้รัสเซียมาทำการค้าที่เมืองจีน หลักใหญ่ใจความเป็นเพราะผลของแรงกดดันที่รัสเซียรุกล้ำดินแดนแมนจูเรีย
หลังการลงนามในสนธิสัญญา《Treaty of Nerchinsk》รัสเซียกลายเป็นประเทศแรกของยุโรปที่ได้สิทธิมาทำการค้าที่เมืองจีน ในช่วงเวลานั้น อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นต้นเข้ามาทำการค้าที่กว่างโจวเมืองท่าของจีนโดยการเดินเรือมหาสมุทร ต้องประสบกับภาวะการณ์ต่างๆที่ไม่เป็นไปตามความต้องการ รัสเซียอาศัยสนธิสัญญาฯนี้กลายเป็นประเทศหนึ่งเดียวเฉพาะของประเทศทางยุโรปที่เข้ามาทำการค้ากับจีนโดยทางบก
เมื่อ 300 ปีก่อน “ประตูแห่งจักวรรดิ” ได้ถูกกะเทาะออกเป็นรอยบิ แม้ผู้ปกครองของทั้งสองประเทศต่างก็มีความในใจ แต่ทั้งสองจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ก็ได้เริ่มย่างก้าวทางการค้าที่ต่างเสริมข้อได้เปรียบซึ่งกันและกัน มีผลประโยขน์ร่วมกัน ตามการขับเคลื่อนของการค้าจีนรัสเซีย โดยการเชื่อมต่อ “เส้นทางใบชา” ของสองประเทศ เริ่มต้นกระบวนการฟูมฟักต่อเนื่องเป็นระยะเวลาถึง 250 ปี
ปี 1693 จักรพรรดิคังซีได้กำหนดไว้ว่า ทุกๆ 3 ปี อนุญาตให้พ่อค้ารัสเซียเข้ามาทำการค้าที่เบ่ยจิง 1 ครั้ง ทุกครั้งไม่เกิน 200 คน จำกัด 80 วันต้องกลับประเทศ นี่ก็คือการเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ “การค้าเบ่ยจิง”(北京贸易) ของจีนรัสเซีย สินค้าที่พ่อค้ารัสเซียนำเข้ามาส่วนใหญ่คือหนังขนสัตว์ที่ทำจากไซบีเรีย สินค้าที่จัดซื้อจากเมืองจีนเช่น ทอง เงิน ผ้าฝ้ายดิบ ผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผา เป็นหลัก เนื่องจากภายในประเทศรัสเซีย กลุ่มคนที่บริโภคใบชามีเพียงผู้ที่อาศัยอยู่ในไซบีเรียและริมฝั่งทะเลดำ ดังนั้น คณะพ่อค้ารัสเซียที่มาเบ่ยจิงจึงไม่ได้จัดซื้อใบชาเป็นจำนวนมาก อันเนื่องจากกระบวนการแลกเปลี่ยนการค้าทุกครั้ง ล้วนมีทหารราชวงศ์ชิงคอยมาสังเกตการณ์อย่างเข้มงวด พ่อค้ารัสเซียมักจะบ่นเสมอว่าการแลกเปลี่ยนการค้าไม่อิสระเสรี ดังนั้น ทางรัสเซียจึงได้ค้นพบช่องทางการค้าที่มีผลประโยขน์มากกว่าสำหรับพวกเขา
ปี 1725 จักรพรรดิปีเตอร์มหาราชเสด็จสวรรคต จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 1 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระประมุขของรัสเซีย พระองค์ได้ทรงแจ้งให้ทางพระราชวังราชวงศ์ชิงว่า จะส่งคณะทูตไปเบ่ยจิงในไม่ช้านี้ เพื่อเจราจาปัญหาการปักปันเขตแดนระหว่างจีน-รัสเซีย สิ่งสำคัญคือความไม่พอใจของพระเจ้าซาร์ที่มีต่อข้อจำกัดต่างๆนานาของ “การค้าเบ่ยจิง” เป็นอย่างยิ่ง หวังผ่านการเจราจาสามารถจัดตั้งรูปแบบและสถานที่การค้าที่สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
วันที่ 18 มิถุนายน 1725 Savoy Earl ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัคราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม มาร่วมแสดงความยินดีที่จักรพรรดิยุงเจิ้นขึ้นครองราชย์และมาเจราจา ในระหว่างการเดินทางมาเมืองจีน ได้ผ่านชายแดนจีนรัสเซียในช่วงเวลานั้น มีสถานที่หนึ่งชื่อว่า Kyakhta(恰克图) หลังผ่านการสำรวจช่วงสั้นๆ เขามีความมั่นใจว่าที่นี้จะเป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการค้าจีนรัสเซียในอนาคต ที่นี้ไม่เพียงเป็นสถานที่ที่เส้นทางจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กไปเบ่ยจิงที่สั้นที่สุดที่ต้องผ่าน และยังเป็นเขตแดนของชนเผ่ามองโกล ที่ถูกรัฐบาลชิงยึดครองไปแล้ว จีนรัสเซีย 2 ฝ่ายหลังผ่านการเจราจาอันยุ่งยากทั้งที่เบ่ยจิงและที่เขตแดนนี้ พร้อมใจตกลงกันว่านำการค้าของทั้ง 2 ประเทศย้ายไปดำเนินการที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ Kyakhta บนเขตแดนของรัสเซีย
วันที่ 14 มิถุนายน 1728 ได้ทำการลงนามในสนธิสัญญา《Treaty of Kyakhta》(恰克图条约) นับจากนี้ไปการค้าจีนรัสเซียได้เข้าสู่ขั้นตอนใหม่
Kyakhta เป็นภาษามองโกล ความหมายคือ “บริเวณที่วัชพืชขึ้นอย่างหนาแน่น” ตั้งอยู่ทางแถบตอนใต้ของทะเลสาบไบคาล(贝加尔湖) ช่วงเวลานั้นอยู่ทางฝั่งรัสเซียในเขตชายแดนจีนรัสเซีย 1 ปีก่อนการลงนาม《Treaty of Kyakhta》Savoy ก็ได้ตัดสินใจเลือกที่นี้ไว้แล้ว เพื่อเป็นสถานที่การค้าชายแดนจีนรัสเซียในอนาคต หลังผ่านการก่อสร้าง 1 ปี เมืองโฉมหน้าใหม่ก็ได้เกิดขึ้นมาบนหุบเขาแม่น้ำ Kyakhta เมืองใหม่นี้จะสร้างชื่อเสียงอันโด่งดังเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ในไม่ช้านี้ ในระยะเวลาประมาณ 200 ปีหลังจากนี้ ที่นี้ได้ครอบคลุมผลสำเร็จทางการค้าบรรดามีระหว่างจีนและรัสเซีย ที่นี้ก็ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางแลกเปลี่ยนการค้าของ “เส้นทางใบชา”
ปี 1730 พ่อค้าจีนที่เข้ามาทำการค้าที่นี้เพิ่มขึ้นไม่ขาดสาย พระราชวังชิงจึงได้ตัดสินใจก่อสร้าง “เมืองซื้อขาย”(买卖城) บนฝั่งจีนที่อยู่ติดกับ Kyakhta เพื่อเป็นที่พำนักของพ่อค้าจีน ส่วนพ่อค้ารัสเซียก็จะพักอาศัยที่ Kyakhta ฝั่งของรัสเซีย ระหว่างเมืองซื้อขายและ Kyakhta กั้นด้วยพื้นที่ว่างเปล่าผืนหนึ่ง ช่วงเวลาที่ดำเนินการค้า 2 ฝ่ายสามารถข้ามแดนไปมาหาสู่กันได้ แต่ชีวิตความเป็นอยู่ของพ่อค้าจีนรัสเซีย 2 ประเทศแยกขาดออกจากกันโดยสิ้นเชิง เจ้าหน้าที่ดูแลจัดการที่ทางพระราชวังชิงส่งมาและเจ้าพนักงานควบคุมที่ทางรัสเซียส่งมาจะพบปะกันเสมอ เจราจาต่อรองถึงปัญหาทางการค้า
การค้า Kyakhta หลังเปิดดำเนินการมา 30 ปี พระราชวังชิงได้จัดส่งเสนาบดีไปเพิ่มเติมที่เมืองคู่หลุน(库伦) เพื่อความสะดวกต่อการควบคุมจัดการทางการค้าชายแดนจีนรัสเซีย ตั้งแต่หลังจากจีนรัสเซีย 2 ประเทศนำ Kyakhta เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษการค้าชายแดนแล้วใบชาที่มาจากเมืองจีน ค่อยๆกลายเป็นสินค้าที่ใหญ่ที่สุดที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนระหว่าง 2 ประเทศ
ใบชาจำนวนมากเริ่มเข้าไปในรัสเซีย คนรัสเซียทั่วไปก็เริ่มที่จะยอมรับและชื่นชอบใบชาที่มาจากเมืองจีน ในหนังสือ《ประวัติศาสตร์โลกของชา》ของนักวิชาการชาวญี่ปุ่น Tsunoyama ได้อธิบายไว้ว่า การพึ่งพาชาของคนรัสเซียทั่วไป ทุกวันคนรัสเซียจะดื่มชา 5-6 ครั้ง โดยเฉพาะชุมชนชั้นล่างจะพึ่งพาชาและขนมปังประทังชีวิตไป 1 วันนั่นเป็นเรื่องปกติ มีคำพังเพยท้องถิ่นกล่าวไว้ว่า “ที่ที่มีคนรัสเซียอยู่ ล้วนขาดชาไม่ได้” ความต้องการชา ผลักดันให้การค้าชายแดน Kyakhta เจริญรุ่งเรืองขึ้นทุกวัน แล้วก็ดึงดูดพ่อค้ารัสเซียยิ่งมายิ่งมาก
จากที่ซึ่งรกร้างว่างเปล่าบนเขตพื้นที่ Transbaikal ที่เงียบสงบ และ Kyakhta ชื่อที่ไม่เคยได้ยิน นำมาซึ่งภาพที่มีชีวิตชีวาที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน ปริมาณการค้าที่กลืนคายอย่างมหาศาล ทำให้ Kyakhta ก้าวกระโดดเป็นท่าการค้านานาชาติในดินแดนไกลปืนเที่ยงของเอเชีย
เส้นทางใบชาที่เคยลือลั่นของโลก หลังเส้นทางสายไหมเสื่อมสลายลง เส้นทางการค้านานาชาติเส้นใหม่ก็เกิดขึ้นบนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ของยูเรเชีย จากปลายศตวรรษที่ 17 ถึงศตวรรษที่ 20 เป็นระยะเวลา 200 กว่าปี ระยะเวลาที่ยาวนานเช่นนี้ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าในขนาดที่ใหญ่มหึมา มีผลขับเคลื่อนต่อความก้าวหน้าทางสังคมและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีนรัสเซียอย่างใหญ่หลวง มันผลักดันให้วัฒนธรรมจีนดั้งเดิมโดยใช้วัฒนธรรมชาเป็นตัวหลักเผยแพร่เข้าไปรัสเซียและยุโรปอย่างกว้างขวาง การติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนของอารยธรรมจีนกับอารยธรรมโลก เกิดผลกระทบต่อเนื่องจวบจนถึงทุกวันนี้ ไม่มีข้อสงสัยใดๆ เส้นทางใบชาได้ทำการเปิดประตูบานใหญ่ที่เคยปิดมิดชิดของจักรวรรดิโบราณ ตกทอดให้ชนรุ่นหลังคือความทรงจำทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่ายิ่ง
........จบ《เส้นทางใบชา》ตอนที่ (1) : ประตูแห่งจักรวรรดิ........
สารคดีโทรทัศน์มินิซีรีส์ 6 ตอน《茶叶之路》ตอนที่ (1) :《帝国之门》
《เส้นทางใบชา》ตอนที่ (2) : เซี่ยเหมยกระเพื่อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น