“กลิ่นหอมที่คงอยู่ถึงเจ็ดน้ำ/七泡有余香” เป็นคำกล่าวที่ชื่นชมชาวูหลงเถี่ยกวนยินจากอานซีมาโดยตลอด ส่วนชาวูหลงที่มีกลิ่นหอมแรงที่สุดของจีน เฟิ้งหวงตานฉงที่ถูกยกย่องให้เป็น “น้ำหอมแห่งชา/茶中香水” เมื่อเทียบกันแล้วเป็นที่เหนือกว่า
ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกที่เยือน“จีน” เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ หลังได้ชิมลิ้มรสชาเฟิ่งหวงแล้ว ได้กล่าวชื่นชมจนติดปากว่า “ทำให้กระปรี้กระเปร่ายิ่งกว่าธงชาติสหรัฐเสียอีก”
เฟิ่งหวงตานฉง---เป็นชาที่ใช้ในพิธีเลี้ยงน้ำชา ในการพบปะหารือแบบไม่เป็นทางการของประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง กับประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ณ สวนซง เมืองกว่างโจว มณฑกว่างตง
| ทำไมถึงเรียกว่าเฟิ่งหวงตานฉง
“เฟิ่งหวงตายฉง/凤凰单丛” เป็นคำเรียกทั่วไปของบรรดาต้นเดี่ยวที่ดีเด่นทั้งหลายพันธุ์เฟิ่งหวงสุ่ยเซียน
“ตานฉง/单丛” ก็หมายถึง “ตานจู/单株 (ต้นเดียว)”
เฟิ่งหวงตานฉงเริ่มจากรัชสมัยถงจื้อ-กวังซวี่ราชวงศ์ชิง (ปี1875-1908) ได้ดำเนินการวิธีแบบทำการเด็ดเก็บจากต้นเดียว ทำการผลิตจากต้นเดียว ทำการซื้อขายจากต้นเดียว นำต้นเดียวที่ดีเด่นแยกออกมาผสมขยายพันธุ์ แล้วตั้งชื่อต้นชาสายพันธุ์ใหม่ และก็เป็นเพราะผลิตจากตำบลเฟิ่งหวง จึงเรียนขานเป็น “เฟิ่งหวงตานฉง”
| ความเป็นมาของเฟิ่งหวงตานฉง
เฟิ่งหวงตานฉงจัดอยู่ในหมวดชาวูหลงจากกว่างตง พื้นที่ผลิตอยู่ที่ตำบลเฟิ่งหวงอำเภอฉาวอานเมืองฉาวโจวมณฑลกว่างตง
การเพาะปลูกต้นชาและการทำใบชาของเขตพื้นที่ฉาวโจว สามารถสืบย้อนหลังไปถึงปลายยุคซ่งใต้เกือบพันปีมาแล้ว ตอนช่วงเวลานั้นก็มีเพียงต้นชา “วูหลง” และ “หงยิน”
ต้นชาวูหลงที่หลงเหลืออยู่ในเฟิ่งหวงปัจจุบัน มีใบใหญ่และใบเล็ก 2 สายพันธุ์
หงยินเป็นต้นชาพันธุ์ป่า เมื่อผ่านการผสมพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์โดยมนุษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า จนวิวัฒนาการเป็น “ชาปากนก” ซึ่งประกอบด้วย 100 กว่าสายพันธุ์
ปี 1956 ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการเรียนว่า “เฟิ่งหวงสุ่ยเซียน”
ปี 1984 ถูกจัดประเภทเป็นต้นชาพันธุ์ลักษณะดีเด่นแห่งชาติ เลขอนุกรม : “หวาฉาเบอร์ 17/华茶17号”
ต้นชากลุ่มสายพันธุ์สุ่ยเซียนจัดเป็นลำต้นเล็ก การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการเพาะเมล็ด ยีนคุณลักษณะเด่นของต้นชาแต่ละต้นล้วนไม่เหมือนกัน ดั่งพี่น้องจากพ่อแม่เดียวกัน แต่อุปนิสัยแตกต่างกัน
ก่อนยุคปี 80 ศตวรรษที่แล้ว เนื่องจากคุณลักษณะพิเศษต่างๆของกลุ่มสานพันธุ์สุ่ยเซียน คนท้องถิ่นจึงได้ดำเนินการจัดการต้นชาโดยลำพังต้นเดียว ทำการเด็ดเก็บจากต้นเดียว ทำการผลิตจากต้นเดียว ทำการซื้อขายจากต้นเดียว จึงขนานนามว่า “เฟิ่งหวงตานฉง”
ในยุคปี 90 ศตวรรษที่แล้ว เมื่อเทคนิคการขยายพันธุ์โดยการปักชำและการตอนกิ่งได้พัฒนาขึ้นมา ปัจจุบันเฟิ่งหวงตานฉงจึงบ่งชี้ถึงกลุ่มของสายพันธ์หนึ่ง มิใช่บ่งชี้ถึงต้นชาต้นเดียวต้นหนึ่ง
เฟิ่งหวงตานฉงจึงเป็นชื่อของพันธุ์ต้นชากลุ่มหนึ่ง ขณะเดียวกันก็เป็นชื่อของผลิตภัณฑ์ชาชนิดหนึ่ง ละก็เป็นชื่อทางการค้าชื่อหนึ่ง
| การจัดแบ่งเกรดของเฟิ่งหวงตานฉง
ยุคปี 50-80 ศตวรรษที่แล้ว เป็นช่วงของยุคการผูกขาดซื้อขายโดยรัฐในเมืองจีน ช่วงเวลานั้นชาเฟิ่งหวงได้แบ่งออกเป็น 3 เกรดใหญ่ๆ :
- ตานฉง ใบชาที่จัดอยู่ในระดับเกรดนี้ต้องอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 600 ม. ขึ้นไป ทำชาโดยลำพังจากต้นเดียว เป็นต้นชาแก่ที่มีกลิ่นหอมและรสชาติที่มีเอกลักษณ์ ถือเป็นชาเกรดสูง
- ล่างไช่ เป็นชาที่ผ่านขั้นตอน“ทำเขียว/做青” (ใบชาเกิดการกระทบกัน) แต่ไม่มีกลิ่นหอม ถือเป็นชาเกรดระดับกลาง
- สุ่ยเซียน เป็นชาที่ไม่ผ่านขั้นตอน“ทำเขียว/做青” ถือเป็นชาเกรดต่ำ
| การตั้งชื่อของเฟิ่งหวงตานฉง
เฟิ่งหวงตานฉงมีคุณลักษณะพิเศษที่“หนึ่งต้นหนึ่งกลิ่น” ดังนั้น ชาวสวนชาเพื่อเป็นการแยกแยะพวกมันจึงได้ตั้งชื่อพวกมัน ซึ่งวิธีการตั้งชื่อร้อยแปดพันเก้า จนไม่เคยพบเห็นว่ามีความสลับซับซ้อนเช่นนี้มาก่อน ขอยกตัวอย่างการตั้งชื่อไม่กี่วิธีที่พบเห็นบ่อย เช่น :
• การตั้งชื่อตามสัณฐานของต้นชา
- จีหลงคาน/鸡笼刊 : รูปลักษณะต้นคล้ายสุ่มไก่ของเกษตรกรใช้สำหรับครอบขังไก่
- เหนียงจื่อซ่าน/娘仔伞 : รูปลักษณะต้นคล้ายร่มที่กางออกถืออยู่บนมือแม่นาง
• การตั้งชื่อตามรูปลักษณะของใบ
- ซานเจี๋ยเย่ว/山茄叶 : ดั่งใบของใบต้นมะเขือยาวสีม่วง
- จู๋เย่ว/竹叶 : เรียวยาวดั่งใบไผ่
• การตั้งชื่อตามเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
- ตงฟางหง/东方红 : “ตะวันแดง” ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม
- ซ่งจ่ง/宋种 : พอเห็นชื่อก็คิดโยงไปถึงความหมายของมัน เป็นการบ่งชี้ถึงพันธุ์พืชรุ่นหลังของต้นชาเฟิ่งหวงตานฉงที่กำเนิดขึ้นในยุคซ่งเมื่อ 700 กว่าปีที่แล้ว
• การตั้งชื่อตามสภาพดินที่ต้นชาเจริญเติบโต
- ยาสื่อเซียง/鸭屎香 : ดินจะออกสีเหลืองคล้ายขี้เป็ด จึงเรียกขานเป็นชา “กลิ่นขี้เป็ด”
| 10 รูปแบบกลิ่นหอมของเฟิ่งหวงตานฉง
การตั้งชื่อร้อยแปดพันเก้าวิธีซึ่งเป็นไปอย่างตามใจฉัน เฟิ่งหวงตานฉงปัจจุบันพูดในทางน้อยก็มีถึง 100 กว่าสายพันธุ์แล้ว
หลังยุคปี 80 ศตวรรษที่แล้ว เพื่อเป็นการทำให้ง่ายขึ้น วิธีการตั้งชื่อเฟิ่งหวงตานฉงจะตั้งชื่อตามกลิ่นหอมของผลิตภัณฑ์ชาที่แตกต่างกัน จึงมีการจัดเป็นกลุ่มของ “10 รูปแบบกลิ่นหอม” ของเฟิ่งหวงตานฉง
หวางจือเซียง/黄栀香 (กลิ่นพุดซ้อน) อยู่กระจัดกระจานเป็นบริเวณที่กว้างที่สุด
มี่หลานเซียง/蜜兰香 (กลิ่นกล้วยไม้) ครอบคลุมพื้นที่การปลูกมากที่สุด
แน่นอน เฟิ่งหวงตานฉงยังมีกลิ่นหอมรูปแบบอื่นๆอีกมากมาย อย่างเช่น “ยาสื่อเซียง” ซึ่งเป็นตานฉงที่อยู่ในกระแสนิยมในไม่กี่ปีมานี้ ได้รับการยกย่องว่า “น้ำหอมที่คุณดื่มได้”
| ความแตกต่างของเฟิ่งหวงตานฉงที่ระดับเขาสูงกลางต่ำ
พื้นที่ผลิตของเขาเฟิ่งหวงซานที่จริงจะไม่ใหญ่มาก ครอบครองทั้งหมด 8 หมื่นหมู่ (亩 ; 2.4หมู่ = 1ไร่) เขตพื้นที่ผลิตที่เป็นแก่นแท้ก็มีเพียงตำบลวูตุง (乌岽) ที่มีพื้นที่ 5 พันหมู่ ปริมาณการผลิตมีจำนวนจำกัด ข้อจำกัดของสภาวะทางภูมิศาสตร์ ทำให้ตานฉงกลายเป็นชาที่มีน้อยแล้วมีมูลค่า ประกอบกับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลาที่ประมาณ 1400 ม. อุณหภูมิที่ยอดเขาและตีนเขาจะแตกต่างกันมาก นำไปสู่คุณภาพของชาแยกออกจากกัน
- เขาต่ำ : ความสูง 400 ม. ลงมา เนื่องจากสภาพอากาศอบอุ่นทั้งปี ต้นชาไม่มีการพักตัว หลังการใส่ปุ๋ยแบบหมุนเวียน สามารถเด็ดใบชาได้ทั้ง 4 ฤดู
- เขากลาง : ความสูงระหว่าง 400-800 ม. สามารเด็ดใบชาได้ 3-4 ครั้งใน 1 ปี
- เขาสูง : ความสูง 800 ม. ก็คือชาเขาสูง จะมีเพียงชาฤดูใบไม้ผลิเพียงฤดูเดียวของทุกปี คุณภาพดีที่สุด
▲รูปที่12-1 : ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลของเฟิ่งหวงตานฉง---เขาต่ำ/低山 ; เขากลาง/中山 ; เขาสูง/高山| การจัดแบ่งเฟิ่งหวงตานฉงตามอายุต้น
ป่าต้นชาที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองจีนมีอยู่ 2 แหล่ง หนึ่งอยู่ที่ผูเอ่อร์อวิ๋นหนาน อีกหนึ่งอยู่ที่เฟิ่งหวงซาน ที่ซึ่งมีต้นชาโบราณราว 15000 ต้น ต้นที่อ่อนที่สุดก็มีอายุ 100 กว่าปี
- ต้นชาโบราณ : อายุต้น 100 ปีขึ้นไป
- ชาเหล่าชง : อายุต้นประมาณ 50-100 ปี
- ชาซินฉง : อายุต้น 50 ปีลงมา
ไม่ว่ากลิ่นหอมจะเป็นรูปแบบใด ไม่ว่าวิธีการตั้งชื่อจะสลับซับซ้อนเพียงใด การดื่มชาเฟิ่งหวงตานฉงสำคัญที่สุดจะต้องมีความดื่มด่ำ 2 แบบ :
- ความดื่มด่ำแห่งขุนเขา/山韵 : เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ต้นชาเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน รสและกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ที่ก่อเกิดขึ้นจากการดูดซับองค์ประกอบของธาตุอาหารที่ ไม่เหมือนกัน
- ความดื่มด่ำแห่งต้นชา/枞韵 : บ่งชี้ถึงรสชาติของต้นชาหลังมีอายุถึงจุดๆหนึ่งแล้ว บุคลิกเฉพาะของสายพันธุ์
เอกสารอ้างอิง :
1. 凤凰单丛分类 : http://xhslink.com/a/TRY2IXeFsX05