「 ประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ที่จริงแท้ จะมีความรู้สึกที่น่าเหนียมอายมาก」เป็นคำพูดของนักเขียนกวีที่มีชื่อเสียงชาวอาร์เจนตินา ฆอร์เก ลุยส์ บอร์เกส(Jorge Luis Borges)
ความเป็นจริงมักถูกนำเข้าไปในวังวนแห่งความสับสนเสมอ การแตกกิ่งก้านสาขาที่ทำให้ผู้คนสับสนอาจโดยตั้งใจหรือโดยไม่ตั้งใจ บ้างเป็นการทำให้หลงเชื่อ บ้างเป็นการคาดเดาที่ไม่สมเหตุผลหรือเป็นการครอบงำซึ่งเป็นความคิดส่วนตัว กระทั่งเป็นคำโกหกสีขาวด้วยความหวังดี ดังคำกล่าว “เต๋าที่อธิบายได้ มิใช่เต๋าอันอมตะ” (道可道,非常道.) เมื่อข้อเท็จจริงของวัตถุที่ไม่สอดคล้องกับหลักเหตุผลได้ปรากฏต่อหน้าต่อตาพวกเรา มิใช่พวกเราจะต้องยอมรับหรือยอมจำนนด้วยการขาดความรู้
เนื่องจากข้อเท็จจริงอันมากมายเมื่อไม่สามารถโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำและไม่สามารถเป็นไปตามกระแส สิ่งที่พวกเราต้องการคือจิตวิญญาณที่กล้าผจญกับข้อสงสัยและเสาะหาตรวจสอบองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แม้ว่ามันจะต้องแบกรับกับประสบการณ์ที่เป็นตำนานและเกียรติยศที่สูงส่ง นี่ก็เป็นความปรารถนาอย่างแรงกล้าของมวลมนุษยชาติในการเสาะแสวงหาข้อเท็จจริงและตามล่าหาความจริง บนทางเดินที่เต็มไปด้วยขวากหนามที่ต้องเดินซัดโซเซ แต่ด้วยใจที่มุ่งมั่นและความเห็นพ้องต้องกันที่ไม่โดดเดี่ยวและไม้กลัวต่อความยากลำบาก
ปั้นกงชุนปุ่มต้นแปะก๊วย(供春树瘿壶) ที่ถูกยกย่องให้เป็นต้นตระกูลแห่งปั้นจื่อซา เมื่อถูกซื้ออย่างบังเอิญโดย ฉวู่หนานเฉียง(储南强) บุรุษผู้รักชาติแห่งเมืองหยีซิงในปี1928 ข้อสงสัยและข้อโต้แย้งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปั้นใบนี้ก็เคียงข้างกับตำนานของมันตลอดมาอย่างไม่ขาดสาย...
▲อนุสาวรีย์ ฉวู่หนานเฉียง(储南强)
แรกเริ่มจากในปี1928 ฉวู่หนานเฉียงได้ไปพบเห็นปั้นเก่าลายปุ่มต้นไม้ใบหนึ่งที่แผงแบกะดินเมืองซูโจว เมื่อพินิจพิเคราะห์ได้สังเกตเห็นใต้หูปั้นมีอักษรจ้วน「供春」(กงชุน) และใต้ปั้นมี「大明正德八年供春」(กงชุนรัชศกเจิ้นเต๋อปี่ที่8ราชวงศ์หมิง) แกะสลักอยู่ ฉวู่หนานเฉียงเกิดความฉงนว่านี่ใช่ปั้นกงชุนที่สาบสูญนานมาแล้วหรือไม่? จึงรีบตัดสินใจซื้อปั้นเก่าใบนี้โดยไม่ลังเล
หลังจากได้ทำการสืบประวัติที่มาที่ไปและให้ผู้เชี่ยวชาญหลายๆท่านเพื่อพิสูจน์ยืนยันปั้นเก่าลายปุ่มต้นไม้ ทำให้ฉวู่หนานเฉียงมีความเชื่อมั่นว่าปั้นเก่าใบนี้เป็นปั้นกงชุนของแท้แน่นอน ดังตามที่ โจวเกาฉี่ว์(周高起) นักวิจารณ์ด้านวงการชาและจื่อซาในปลายยุคสมัยหมิง ซึ่งเป็นคนแรกที่บันทึกถึงกงชุนว่า : กงชุน(供春) ซึ่งเป็นคนในยุครัชศกเจิ้นเต๋อเจียจิ้งราชวงศ์หมิง(明正德嘉靖·ปี1522-1566) เป็นเด็กรับใช้ของบัณฑิต หวูหยีซาน(吴颐山) ได้เรียนรู้วิธีการปั้นจากหลวงพี่ในวัดหนึ่ง ถือเป็นบุคคลแรกที่มีความกล้าริเริ่มสร้างสรรค์ในการปั้นปั้นจื่อซาโดยผิวปั้นเลียนแบบปุ่มต้นแปะก๊วยพันปี ได้รับคำชื่นชมเป็นปั้นจื่อซาที่ทรงคุณค่าทางศิลปกรรมอย่างยิ่ง จึงได้รับเกียรติเรียกขานว่า「ปั้นกงชุน」ถือเป็นปั้นจื่อซาใบแรกในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเรียก แต่เนื่องจากปั้นที่กงชุนทำขึ้นมามีจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่จะถูกลืมเลือนไปแล้วและหาชมได้ยากยิ่ง
เนื่องจากปั้นกงชุนใบนี้ ตัวปั้นเลียนแบบปุ่มต้นแปะก๊วย แต่ฝาปั้นเป็นรูปทรงฝักทองที่สลักอักษรจ้วน「玉麟」[เป็นเพราะว่าฝาปั้นเดิมได้หายไป ถูกทดแทนด้วยฝาปั้นรูปฝักทองเมื่อปลายยุคสมัยชิงโดยช่างปั้นผู้ยิ่งใหญ่ หวางยี่หลิน(黄玉麟)] เมื่อองค์รวมของปั้นดูแล้วรู้สึกผิดฝาผิดตัว ฉวู่หนานเฉียงจึงได้ขอ ไผสือหมิน(裴石民) ช่างปั้นที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นให้ทำฝาปั้นขึ้นมาใหม่โดยให้มีลายเลียนแบบปุ่มต้นไม้ สุดท้ายก็ได้ปั้นกงชุนใบที่ปัจจุบันได้มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีนเก็บรักษาไว้ตราบจนถึงทุกวันนี้
▲ปั้นกงชุนปุ่มต้นแปะก๊วย
▲ปั้นกงชุนเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน
กู้จิ่งโจว(顾景舟) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็น “ศิลปินแห่งศิลปะปั้น” ยุคสมัยใหม่ ตั้งแต่ต้นรู้สึกกังขาและปฏิเสธอย่างแน่วแน่ต่อจุดกำเนิดของปั้นกงชุนใบนี้ เขาได้ตรวจสอบพิเคราะห์ออกมาว่า ปั้นกงชุนใบนี้ไม่ว่าทางด้านคุณภาพของเนื้อดิน วิธีการผลิต ขนาดใหญ่เล็กของปั้นและด้านการเผาผนึก ล้วนไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ได้บันทึกไว้ในบันทึกประวัติศาสตร์ และเมื่อพิจารณาอัตชีวประวัติของหวางยี่หลินประกอบกันแล้ว ก่อนตายจากไปเขาได้ยืนยันกับลูกศิษย์โดยชี้ชัดว่า “ปั้นกงชุนไม่ได้ผลิตโดยกงชุน แต่เป็นผลงานของหวางยี่หลิน”
▲กู้จิ่งโจว (顾景舟)---ปรมาจารย์แห่งปั้นจื่อซา
พานฉือผิง(潘持平) นักศิลปะเครื่องปั้นดินเผาและผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบรับรองจื่อซา โดยเป็นลูกศิษย์ของกู้จิ่งโจว ได้ข้อพิสูจน์ที่สืบเนื่องต่อจากความคิดเบื้องต้นของอาจารย์ :
1. ปั้นใบนี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะ เด็กที่มีสถานะเป็นคนรับใช้บัณฑิตและก็เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ประดิษฐ์ปั้นจื่อซา เป็นไปไม่ได้ที่จะเพียบพร้อมด้วยมาตรฐานระดับนี้ ; 2. คุณภาพเนื้อดินของปั้นละเอียดมากเกินไป นี่ก็เพราะเทคโนโลยีการบดเนื้อดินให้ละเอียดในยุคสมัยหมิงยังไม่สามารถถึงขั้นนี้ได้ ; 3. ชื่อจารึกบนปั้นนี้เป็นตัวอักษรจ้วน(篆书) ซึ่งไม่เคยพบเห็นในปั้นจื่อซาทั้งหมดของยุคสมัยหมิง ; 4. เนื้อดินของปั้นใบนี้น่าจะเป็นต้วนหนีที่มีสีน้ำตาลเหลือง เนื้อดินชนิดนี้ไม่พบเห็นมีการใช้ในปั้นจื่อซายุคสมัยหมิง เป็นเนื้อดินที่เพิ่งปรากฏหลังยุคสมัยชิง
ประกอบกันกับการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างหวางยี่หลินกับตระกูลหวู(吴家 : ตระกูลที่เคยเก็บรักษาปั้นใบนี้) พานฉือผิงก็เชื่อว่า “ปั้นกงชุนใบนี้ที่แท้เป็นของทำเลียนแบบของหวางยี่หลิน”
ซ่งบั๋วยิ้น(宋伯胤) รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานหนานจิน ในสถานะที่ทำงานด้านพิพิธภัณฑสถานมา60ปี ได้ทำการศึกษาวิจัยเชิงลึกด้านเครื่องเคลือบดินเผาโบราณและเครื่องปั้นจื่อซา ได้เสนอแนวคิดเชิงวิชาการโดยเป็นคนชี้ชัดครั้งแรกว่า “กงชุนไม่ใช่คนริเริ่มประดิษฐ์ปั้นจื่อซา” ซึ่งภายหลังจากทางโบราณคดีและบันทึกประวัติศาสตร์ได้ทำการขุดพบปั้นจื่อซาซึ่งเป็นหลักฐานที่พิสูจน์ยืนยันประวัติศาสตร์อันแท้จริงว่า “จุดกำเนิดของปั้นจื่อซาไม่ใช่เริ่มต้นจากกงชุน”
▲ซ่งบั๋วยิ้น (宋伯胤)
▲ปั้นจื่อซาที่ขุดพบครั้งแรกทางโบราณคดี---ปี1965 พิพิธภัณฑสถานหนานจินได้ทำการขุดหลุมฝังศพของ หวูจิง(吴经) ซึ่งเป็นขันทีในยุคสมัยหมิง ถูกฝังเมื่อรัชศกเจียจิ้งปีที่12(ปี ค.ศ.1533) ได้ขุดพบปั้นจื่อซาใบนี้ นั่นแสดงว่าปั้นใบนี้อยู่ในยุคสมัยเดียวกันและอายุใกล้เคียงกันกับปั้นกงชุน(ตามตำนาน) ถือเป็นปั้นชาจื่อซาหยีซิงยุคแรกของเมืองจีนเพียงใบเดียวที่สามารถตรวจสอบจากบันทึกเหตุการณ์ในอดีตได้ เพียงแต่ไม่ทราบชื่อคนทำ
สวีอ๋าวรุ่น(徐鳌润) นักประวัติศาสตร์วรรณคดีชาวใต้หวัน บั้นปลายชีวิตได้มุ่งเน้นศึกษาวิจัยวัฒนธรรมจื่อซา บนพื้นฐานจากการศึกษาวิจัยต้นฉบับบันทึกประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและรวบรวมความคิดเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ ได้นำเสนอข้อโต้แย้งที่สะท้านโลกว่า “เด็กรับใช้ของบัณฑิตหวูหยีซานมีนามว่า จูชาง(朱昌) มิใช่กงชุน กงชุนที่แท้เป็นรูปแบบปั้นไม่ใช่ชื่อคน” ถือเป็นอีกหนึ่งเสียงที่มีนัยการล้มล้างมากที่สุดต่อข้อสงสัยความเป็นมาของปั้นกงชุน
▲หนังสือรวบรวมวิทยานิพนธ์เรื่องเครื่องปั้นจื่อซาของ สวีอ๋าวรุ่น (徐鳌润)
วิถีทางตามล่าหาความจริงยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ข้อโต้แย้งที่เกี่ยวข้องกับกงชุนก็ยังไม่สิ้นสุด ตามวัตถุประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน พวกเรายังไม่สามารถให้ข้อสรุปที่เด่นชัดได้ ดังนั้นตำนานที่เกี่ยวข้องกับมันก็ยังจะสืบเนื่องต่อๆกันมา สิ่งที่เคียงข้างกับมันก็ยังเป็นปริศนาที่ลี้ลับซับซ้อน ความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการที่จะไขรหัสปริศนานี้ การตามล่าหาความจริงทางประวัติศาสตร์เป็นความมุ่งมั่นของคนจื่อซายุคต่อมาที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าบุคคลที่ชื่อกงชุนจะมีตัวตนจริงหรือไม่ หรือปั้นกงชุนจะทำโดยกงชุนตามตำนานหรือไม่ สิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับมันได้กลายเป็นประวัติศาสตร์แห่งสีสันตำนานตอนหนึ่งที่ถูกไว้วางใจให้บันทึกลงในหน้าประวัติศาสตร์แล้ว กล่าวจากความหมายบางแง่ จริงเท็จของกงชุนดูเหมือนว่าไม่มีความสำคัญแล้ว เนื่องจากมันได้กลายเป็นหลักฐานชนิดหนึ่ง สัญลักษณ์วัฒนธรรมหนึ่งของจุดตั้งต้นทางวัฒนธรรมจื่อซาของเมืองจีนไปแล้ว ถูกพวกเราสืบสานต่อเนื่องกันมา ถูกพวกเรากล่าวสรรเสริญเยินยอตลอดมา
-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----
เอกสารอ้างอิง :
1. 国宝档案|悬疑百年的紫砂传奇:供春(一): https://kknews.cc/collect/krbyx68.html
2. 国宝档案|悬疑百年的紫砂传奇:供春(二): https://kknews.cc/culture/l2qjj4b.html
3. 紫砂壶之最,令人叹为观止!: https://kknews.cc/collect/655ol4v.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น