วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ก้ายหว่าน ปั้นจื่อซา ปั้นดินม่วง แก้วชงชา : อุปกรณ์ชงชาที่คุณใช้อย่างถูกต้องหรือไม่?



        การชงชามีอยู่ 3 ปัจจัยพื้นฐาน : อุณหภูมิน้ำ ระยะเวลาการชงแช่ อัตราส่วนของใบชาต่อน้ำ 

▲3 ปัจจัยพื้นฐานของการชงชา : อุณหภูมิน้ำ/水温 , ระยะเวลาการชงแช่/浸泡时间 , อัตราส่วนของใบชาต่อน้ำ/茶水比

▲อุณหภูมิน้ำสำหรับชงชาชนิดแตกต่างกัน


        ทุกปัจจัยล้วนเกี่ยวข้องกับการเลือกใช้อุปกรณ์ชา อุปกรณ์ชงชาที่ใช้บ่อย : ก้ายหว่าน ปั้นจื่อซา ปั้นดินม่วง แก้วชงชา 

        ความแตกต่างระหว่างพวกมันคืออะไร? พวกมันเหมาะที่ใช้ชงชาอะไรบ้าง? ท่ามกลางพวกมันมีข้อดีข้อเสียหรือไม่?


        1/ ความแตกต่างทางวัสดุและสัณฐาน


        การเลือกใช้อุปกรณ์ชา โดยทั่วไปอยู่บนพื้นฐานของการประยุกต์ใช้ นั่นก็คืออุปกรณ์ชาลักษณะนี้สามารถนำมาชงชาได้ดีหรือไม่

        ผลกระทบที่สำคัญของอุปกรณ์ชาที่มีต่อน้ำชาอยู่ที่การระบายความร้อน(การเก็บรักษาอุณหภูมิ) วัสดุ รูปร่างสัณฐานของอุปกรณ์ชาจะสัมพันธ์กับการระบายความร้อนอย่างใกล้ชิด


        • วัสดุ

        ก้ายหว่านโดยส่วนใหญ่เป็นเครื่องเคลือบเซรามิก ปั้นจื่อซาและปั้นดินม่วงล้วนทำจากดินเผา แก้วชงชาเป็นแก้วหรือพลาสติก

        วัสดุเป็นเพียงลักษณะภายนอก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการระบายความร้อน

        ความหนาแน่นของเนื้อวัสดุที่แตกต่างกัน เรียงตามลำดับจากหนาแน่นมากไปน้อย : แก้ว > เครื่องเคลือบเนื้อละเอียด > เครื่องดินเผาเนื้อหยาบ

        โครงสร้างที่มีความหนาแน่ยิ่งน้อยการระบายความร้อนยิ่งช้า ในทางกลับกันก็จะยิ่งเร็ว การระบายความร้อนช้า ก็มีผลทางการเก็ษรักษาอุณหภูมิได้ดี

        ดังนั้น ในแง่ของการเก็ษรักษาอุณหภูมิ ปั้นจื่อซาจะดีกว่าปั้นดินม่วงเพราะมีโครงสร้างที่หนาแน่นน้อยกว่า ปั้นดินเผาจะดีกว่าปั้นเครื่องเคลือบ 

        ลงรายละเอียดอีกนิด ปั้นจื่อซามีความแตกต่างกันอันเนื่องจากวัตถุดิบดินที่ไม่เหมือนกัน : ดินจื่อหนีจะมีเนื้อค่อนข้างหยาบ ความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ ดังนั้นดีต่อการเก็บรักษาอุณหภูมิ ดินจูหนีมีเนื้อดินค่อนข้างละเอียด การระบายความร้อนโดยเทียบเคียงจะเร็ว ดินต้วนหนีจะอยู่ระหว่างกลาง


        • สัณฐาน

        กล่าวโดยทั่วๆไป อัตราส่วนของปริมาตรต่อพื้นที่ผิวยิ่งมาก นั่นก็คือรูปร่างสัณฐานของอุปกรณ์จะยิ่งกลม การเก็บรักษาอุณหภูมิก็จะยิ่งดี ขณะเดียวกันปริมาตรมากก็เป็นปัจจัยข้อดีในการเก็บรักษาอุณหภูมิ

        ดังนั้น สัณฐานอุปกรณ์ชายิ่งใหญ่ ยิ่งกลม ยิ่งเก็บรักษาอุณหภูมิ


        2/ อุปกรณ์ชาที่แตกต่างกันเหมาะกับการชงชาอะไร?


        เมื่อมีความกระจ่างกับการระบายความร้อนได้ช้าเร็วของอุปกรณ์ชาแล้ว ก็สามารถนำอุปกรณ์ชาที่แตกต่างกันมาประยุกต์ใช้ในภาวการณ์ที่ไม่เหมือนกัน


        • ชาสุกผูเอ่อร์

        ชาสุกผูเอ่อร์เหมาะที่ชงกับปั้นจื่อซา โดยเฉพาะปั้นจื่อซาที่เนื้อดินค่อนข้างหยาบ เนื่องจากปั้นจื่อซามีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนที่ค่อนข้างต่ำ ประสิทธิภาพในการเก็บรักษาอุณหภูมิได้ดี

        จุดสำคัญของการชิมประเมินชาสุกก็คือความรู้สึกทางปากที่หนานุ่ม ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับปริมาณสารโพลิแซ็กคาไรด์ที่ละลายได้ในน้ำในน้ำชาชาสุก :

        อุณหภูมิน้ำในช่วงการชงชายิ่งสูง สารโพลิแซ็กคาไรด์ก็จะสามารถละลายได้ยิ่งมาก อุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้น1องศา สารโพลิแซ็กคาไรด์ก็จะละลายในน้ำได้มากขึ้นอีกนิด


        • ชาดิบผูเอ่อร์ (ชาดิบใหม่)

        ชาดิบผูเอ่อร์เหมาะที่ชงกับก้ายหว่าน เนื่องจากชาดิบประกอบด้วยสารโพลิฟีนอลส์เป็นจำนวนมาก ในการชงชาจำเป็นต้องควบคุมให้ดี มิฉะนั้นจะชงน้ำชาออกมาเข้มและขมได้ง่าย

        ในการชงชาดิบมีความต้องการทางการระบายความร้อน(การเก็บรักษาอุณหภูมิ)ไม่มาก แต่จะมีความต้องการอย่างสูงต่อการชงชาที่ควบคุมได้ ลักษณะพิเศษของกระบวนการชงชาด้วยก้ายหว่านคือเข้าเร็วออกเร็วที่ทำให้นักชงชาควบคุมความเข้มจางของน้ำชาได้ง่าย

        นี่เป็นเหตุผลที่เลือกใช้ก้ายหว่านเวลาทำการชงเหมาเลี่ยว(毛料) ชาดิบใหม่


        • ชาดิบเก่าผูเอ่อร์ 

        ชาดิบเก่าผูเอ่อร์อยู่ระหว่างชาดิบใหม่กับชาสุก กระบวนการชงไม่เพียงต้องประกันระดับความหนานุ่มทางความรู้สึกทางปาก แล้วก็ต้องไม่เข้มเกินไป การปฏิบัติการตามหลักการข้างต้น เหมาะที่จะเลือกใช้ปั้นดินม่วงและปั้นจูหนี


        3/ สถานการณ์และความรู้สึกของพิธีกรรม


        ในบรรดาอุปกรณ์ชา คุณลักษณะที่ควบคุมการชงชาได้ของแก้วชงชาอยู่ในระดับดี ถือเป็นอุปกรณ์ชาที่มี“ประโยชน์”อย่างมาก

        แต่แก้วชงชาถูกดูถูกดูแคลนจัดเป็นอุปกรณ์ชาเกรดต่ำ เป็นเพราะเหตุอันใด?

        เนื่องจากการชงชามิใช่เพียงแค่ดื่ม ความรู้สึกของพิธีกรรม(仪式感)จะมีความสำคัญมาก การปรากฏตัวของแก้วชงชา จะเป็นการทำลายบรรยากาศแห่งความรู้สึกของพิธีกรรมของสถานการณ์

        แต่ทว่า ความรู้สึกของพิธีกรรมดำรงอยู่ได้อันเนื่องจากสภาวะการณ์

        การได้ดื่มชาสักคำจากแก้วเก็บรักษาอุณหภูมิในช่วงการเดินทางท่องเที่ยว การใช้แก้วชงชามาชงชาหนึ่งจอกในช่วงการงานยุ่งเหยิง นี่มิใช่ความรู้สึกของพิธีกรรมในชีวิตง่ายๆของคนเราหรอกเหรอ?

        ดังนั้น การจะเลือกใช้อุปกรณ์ชาอย่างไร? ควรดูสถานการณ์ที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และต้องดูคุณค่าซึ่งขึ้นกับบุคคล การให้เกิดสภาวะสมดุล ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง



เอกสารอ้างอิง :

1. 盖碗,紫砂壶,紫陶壶,飘逸杯 : 泡茶的器具你用对了吗?https://m.ipucha.com/show-167-2237.html

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ริจะเป็นนักชงชา ก่อนอื่นต้องเข้าถึงชา

 


        ใบชาใบหนึ่ง ดูเสมือนเล็ก-บอบบาง แต่ทันทีเมื่อผสมกับน้ำ ก็จะปลดปล่อยเนื้อหาที่บ่มเพาะอยู่ในตัวมันเองออกมา ชี่พลังงานและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่สามารถแจกแจงรายละเอียดถูกรวบรวมอยู่ในน้ำชาจอกนี้ 


        ก่อนที่จะชงชาอย่างเป็นทางการ ต้องชัดเจนในหลักการพื้นฐานของการชงชา : กระขวนการยักย้ายที่สกัดสารสำคัญจากใบชาโดยใช้น้ำเป็นตัวละลาย


        ก็เป็นเพราะหลักการข้างต้น ในการชงชาจะต้องกระจ่างชัดเจน ปัจจัยใดที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและผลลัพธ์ของการยักย้าย เมื่อทราบถึงปัจจัยเหล่านี้แล้ว พวกเราก็ควรที่จะใช้วิธีการอย่างไรที่ทำให้เกิดผลในการรับประกันความรู้สึกทางปากของน้ำชาจากการชง


        แท้จริงแล้วการที่จะทำการชงขาได้ดี กลายเป็นนักชงชามือฉมังนั้น ซึ่งทั่วๆไปยังข้องแวะถึงการรับรู้เรื่องชา การรู้ซึ้งถึงคุณลักษณะชา การใช้อุปกรณ์ชาที่ยืดหยุ่นได้ การเลือกใช้น้ำชงชา เป็นต้น ซึ่งจะต้องผ่าน “เข้าถึงบุคลิกชา ; ไปตามบุคลิกชา ; บังคับบุคลิกชา” 3ขอบเขตใหญ่นี้มาก่อน มิใช่กรุงโรมสร้างเสร็จในวันเดียว


        “เข้าถึงบุคลิกชา/识茶性” ก็คือต้องเข้าใจถึงอายุแต่ละปี วัตถุดิบแต่ละชนิด กรรมวิธีการผลิตแต่ละรูปแบบ และคุณภาพอันเป็นอัตลักษณ์ของชาที่จัดเก็บ แล้วก็เข้าใจคุณค่าทางความงามในท่ามกลางเหล่านี้อย่างลึกซึ้ง

        ชาที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งอายุปี วัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต และการจัดเก็บที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งคุณภาพที่แสดงออกมามีเอกลักษณ์ที่ระบุไม่เหมือนกัน คุณค่าทางความงามที่สะท้อนกลับในกระบวนการชิมดื่มก็มีความแตกต่างอย่างเด่นชัด

        อาจารย์ชงชาผูเอ่อร์ระดับสูงท่านใดๆ ล้วนต้องผ่าน“เข้าถึงบุคลิกชา” จึงอาจสามารถนำคุณภาพเฉพาะของชาและคุณค่าทางความงามแสดงออกมาได้ ก็มีเพียงต้องใส่ใจหมั่นฝึกฝนและลองผิดลองถูกเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะการได้สัมผัสเป็นจำนวนมากใน“สารบัญชา/茶谱”ที่กว้างใหญ่ไพศาล จึงจะสามารถเข้าใกล้สู่“เข้าถึงบุคลิกชา” ถึงเป็นการสร้างฐานรากสำหรับ“ไปตามบุคลิกชา”และ“บังคับบุคลิกชา”ที่ตามหลังมา


        “ไปตามบุคลิกชา/顺茶性” มีความหมายตามชื่อก็คือให้เป็นไปตาม“สันดาน/脾气”ของชา ชาจะมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ผ่อนปรนหรือกล่าวได้ว่าเป็นคุณลักษณะตามธรรมชาติ อย่างเช่นระยะเวลาการชงแช่นาน น้ำชาก็จะเข้มมากขึ้น อุณหภูมิน้ำสูงจะออกรสขมฝาดได้ง่าย สารที่ละลายออกมาของชาที่จัดเก็บแบบดั้งเดิมจะเร็วกว่าชาที่จัดเก็บแบบธรรมชาติเล็กน้อยภายใต้เวลาและปริมาณที่เหมือนกัน เป็นต้น ดังนั้นเวลาพวกเราทำการชงชาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เหล่านี้


        “บังคับบุคลิกชา/驾驭茶性” ตามที่เข้าใจก็คือการบ่งชี้ถึง : กระบวนการที่จัดการสภาวะการณ์(สภาพแวดล้อม)ที่แตกต่างกันอย่างยืดหยุ่น อาศัยเงื่อนไขภายนอก(เช่นอุปกรณ์ชา)มาปรับปรุงคุณภาพที่แสดงออกมาของชา อาศัยความไม่เป็นเชิงเส้นและการโอนอ่อนผ่อนตามของบุคลิกชา(เช่นชงชาที่การชงแช่30วินาทีจะออกรสไม่ฝาด เป็นไปได้ที่50วินาทีก็จะไม่ฝาดมาก)

        “บังคับบุคลิกชา”ฟังดูไปทางอุดมคตินิยมเล็กน้อย ความเป็นจริง เป็นการตั้งอยู่บนรากฐานของ“เข้าถึงบุคลิกชา”และ“ไปตามบุคลิกชา” เป็นจุดหมายปลายทางที่นักชงชาที่ได้มุ่งมั่นศึกษาอย่างพิถีพิถันและพยายามมาเป็นระยะเวลายาวนาน

        “บังคับบุคลิกชา”คือขอบเขตที่สูงที่สุดของการชงชา เป็นการสะท้อนถึง“พลิกแพลง/”อีกด้านหนึ่งของการชงชา ดูเหมือนทำตามใจตนแต่แท้จริงก็มีเงื่อนไขข้อบังคับ



เอกสารอ้างอิง :

1. 善泡者 , 必先识茶https://m.ipucha.com/show-172-1572.html

2. 日常泡茶 , 容易在哪个环节出现失误?https://m.ipucha.com/show-171-5917.html 

3. 看茶泡茶 , 看什么 , 怎么看?https://m.ipucha.com/show-25-8693.html