วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568

ชาดีจำเป็นต้องชงทนหรือไม่?


        “การชงทน” ของชาตัวหนึ่ง แม้นกล่าวกันว่ามันเป็นดัชนีชี้วัดตัวสำคัญตัวหนึ่งของการประเมินคุณภาพดีเลว แต่มันมิใช่ดัชนีชี้วัดการประเมินที่สำคัญที่สุด


        ทำไมพวกเราพูดว่า“ชอบดื่มชาต้นโบราณ” ก็เป็นเพราะมันมีสารองค์ประกอบภายในที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ร่างกายรู้สึกได้ถึงฉาชี่ (茶气/พลังชา) ที่เต็มเปี่ยม ไม่เคยมีใครกล่าวว่าอันเนื่องจากชาต้นโบราณชงทนจึงชอบดื่มชาต้นโบราณ


        กล่าวต่อคนชาอาวุโสแล้ว พวกเค้าไม่เคยกล่าวว่าได้ทำการดื่มชากาหนึ่งตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเพราะว่าร่างกายจะรู้สึกได้ดีที่สุดเพียงน้ำชาจากการชงต้นๆไม่กี่น้ำ แล้วน้ำชาที่ชงต่อจากนี้ละ ก็เพียงมีรสน้ำชาที่มากกว่าน้ำเปล่าเพียงเล็กน้อย


        ดังนั้น สิ่งที่คนชาอาวุโสดื่มคือ“ซุปชา/茶汤” มิใช่“น้ำชา/茶水” ซุปชาต้องมีฉาชี่ ต้องมีความรู้สึกทางกาย ชาที่ไม่มีฉาชี่ ยิ่งดื่มร่างกายจะยิ่งเกิดความตึงเครียด โดยทั่วไปฉาชี่จะถูกรวบรวมอยู่ในน้ำชาที่ชงต้นๆไม่กี่น้ำ เมื่อถึงน้ำปลายๆก็จะไม่ดื่มแล้ว


        ฉาชี่จะทำการทะลุทะลวงร่างกายทั้งภายในภายนอกให้เปิดโล่งออก แล้วทำให้พวกเราเกิดความรู้สึกหนึ่ง คืออะไรเล่า? เกิดการปลุกเร้า แต่ก็เป็นเพราะว่าถูกเปิดออกมาแล้ว การดื่มต่อเนื่องต่อไปก็จะเกิดความรู้สึกร่างกายเย็นตัวลง เนื่องจากสิ่งที่ดื่มหลังๆนี้ล้วนเป็นน้ำ น้ำนั้นจะมีธาตุเย็น ดังนั้น ก็จะมีความรู้สึกยิ่งดื่มยิ่งเย็น


        จึงกล่าวกันว่า : การดื่มน้ำชาจาการชงต้นๆไม่กี่น้ำก็เพียงพอแล้ว นอกจากนี้ พวกเราคอชาดื่มชาเพื่อมชิมลิ้มรสชา มิใช่เป็นการดื่มเพื่อแก้กระหายน้ำ การดื่มน้ำชายิ่งมากจะเป็นการเพิ่มภาระต่อร่างกาย นี้คงมิใช่การชิมดื่มชาที่พวกเราถวิลหา



เอกสารอ้างอิง :

1. 好茶需不需要耐泡呢http://xhslink.com/a/ulTjzV1lmGN4复制本条信息,打开【小红书】App查看精彩内容!

การชงทนของชาผูเอ่อร์




        “การชงทน” คืออะไร? การชงทนจะเกี่ยวข้องกับอะไร?

        ชาผูเอ่อร์สามารถชงได้ทั้งหมดกี่น้ำ?

        จริงเท็จแค่ไหนที่มีชาสามารถชงได้ถึงสี่ห้าสิบน้ำ?

        ทำไมถึงมีชาต้นโบราณบางตัวเสมือนชงทนไม่สู้ชาไร่?

        การชงทนสามารถเชื่อมโยงกับคุณภาพได้หรือไม่?


        ก่อนอื่น ต้องมาทำความเข้าใจสักนิดกับอะไรคือ “การชงทน

        มันสามารถแยกแยะออกได้ 2 ด้าน :


        1) การชงทนซึ่งขึ้นกับบุคคล (Subjective)


        ที่แท้คืออยู่บนเนื้อหาสาระทางเทคติก

        การปรับเปลี่ยนน้ำ ศิลปะการชงชา ปริมาณใบชาล้วนมีผลกระทบต่อการชงทน อย่างเช่นการใช้น้ำที่มีค่าความเป็นด่างและมีแร่ธาตุมาก การใส่ใบชาในปริมาณมาก การชงด้วยน้ำอุ่นๆ การรินน้ำชาที่ชงออกมาโดยเร็ว ก็จะสามารถชงออกมาได้สามสี่สิบน้ำโดยปริยาย


        2) การชงทนที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง (Objective)


        มันเกี่ยวข้องกับดัชนีชี้วัดเพียงตัวเดียว คือสารที่ชงออกมา

        สารที่ชงออกมายิ่งมาก ชาก็จะยิ่งชงทน ปริมาณทั้งหมดของสารที่ชงออกมาก็จะเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง?


        ๑/ พันธุ์ชา 

        พันธุ์ชาเป็นตัวกำหนดปริมาณองค์ประกอบของสารที่ชงออกมาโดยธรรมชาติ 

        พันธุ์ชาบางชนิดมีสารที่ชงออกมาน้อยมาก อย่างเช่นชาเขียวพันธุ์ใบเล็กที่เหมาะกับการชงด้วยแก้วน้ำทรงสูง สารที่ชงออกมาจะมีเพียงประมาณ 35%

        พันธุ์ชาบางชนิดมีสารที่ชงออกมามาก อย่างเช่นชาใบใหญ่อวิ๋นหนานพันธุ์หม่างสุ่ย (漭水大叶种) สารที่ชงออกมาโดยทั่วไปจะเกินกว่า 50 % นี้ก็จะชงทนมาก 


        ๒/ สภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโต 

        ภาวะที่น้ำปุ๋ยสมบูรณ์ สภาพดินที่มีสารอินทรีย์เป็นจำนวนมาก ต้นชาที่เติบโตเต็มที่ ระหว่างต้นชามีระยะห่างกันมาก ใบชาจะรับการแบ่งปันสารอาหารยิ่งครบบริบูรณ์ ก็คือเพียบพร้อมด้วยสารที่ชงออกมายิ่งมาก 


        ๓/ ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 

        ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลยิ่งสูง อุณหภูมิที่แตกตต่างกันระหว่างกลางคืนและกลางวันยิ่งมาก เกิดผลดีทางด้านการสะสมสารอาหาร

        ขณะเดียวกันที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลที่สูง แรงดันออสโมซิสของต้นไม้ที่ต้องดำรงไว้จะยิ่งสูง ความเข้มข้นของของเหลวในเซลล์ก็จะยิ่งสูง ผลสุดท้ายก็จะสะท้อนอยู่บนสารที่ชงออกมา


        ๔/ กรรมวิธีการผลิต 

        วัตถุดิบภายใต้สภาวะที่เหมือนกัน กรรมวิธีการผลิตก็สามารถมีผลกกระทบต่อการชงทน

        ด้านชาดิบ : ชาที่มีมาตรฐานการผลิตที่การนวดเต็มที่ สามารถรับประกันการละลายออกมาอย่างเต็มที่ของสารที่ชงออกมา แสดงออกถึงกการชงที่ค่อนข้างทน ส่วนชาที่กรรมวิธีการผลิตไม่เต็มที่ อาจเกิดการละลายอย่างช้าๆอันเป็นการแสดงถึงไม่ชงทน

        ด้านชาสุก : การหมักที่เต็มที่ สารที่ชงออกมาจะค่อนข้างสูง การหมักไม่เต็มที่ เกิดการออสซิเดชั่นมากเกินไป ก็จะแสดงออกถึงค่อนข้างจาง

        จากการดูรายงานผลการทดสอบเป็นจำนวนมาก สารที่ชงออกมาของชาดิบต้นโฏบราณโดยทั่วไปจะสูงกว่าชาสุกต้นโบราณ ดังนั้น ชาดิบจะชงทนกว่าชาสุก 


        ๕/ ความชื้น 

        ชาที่เพิ่งอัดขึ้นรูปออกมามีความชื้นสูง ก็จะปรากฏออกมาค่อนข้างจาง เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง ความชื้นลดล่ำลง ก็จะปรากฏออกมาค่อนข้างเข้ม


        ๖/ การเปลี่ยนแปลงในระหว่างการจัดเก็บ

        ชาผูเอ่อร์ในกระบวนการจัดเก็บ การสุกในการหมักภายหลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงแบบไดนามิกของสารที่ชงออกมา แต่ละวงจรของการเปลี่ยนแปลงที่ทับซ้อนกันเป็นชั้นๆ เกิดความผันผวนของสารที่ชงออกมา


        ๗/ ระดับความอ่อนแก่ของวัตถุดิบที่ใช้ 

        สารที่ชงออกมาของวัตถุดิบอ่อนโดยรวมจะมากกว่าหน่อย แต่เนื่องจากละลายออกมาได้เร็ว ปกติการชงน้ำแรกๆจะเข้มข้น น้ำหลังๆก็จะไม่มีรสแล้ว ทำให้เกิดการเข้าใจผิดต่อการชงทน ความจริงสามารถผ่านวิธีการชง โดยการชง2-3น้ำแรกให้รินน้ำชาออกมาให้เร็วก็เพียงพอ

        สารที่ชงออกมาของวัตถุดิบที่เกรดค่อนข้างแก่โดยรวมจะน้อยกว่าหน่อย แต่การละลายจะคงที่ เลยแสดงถึงการชงทน



เอกสารอ้างอิง : 

1.普洱茶的耐泡度http://xhslink.com/a/zutlcTNYJFN4复制本条信息,打开【小红书】App查看精彩内容!

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2568

ยกระดับการบริโภคชาผูเอ่อร์

 


        “ยกระดับการบริโภค” เป็นคำที่กลายเป็นวลียอดฮิตทางเศรษฐกิจในไม่กี่ปีมานี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจดั้งเดิมหรือเป็นวิสาหกิจเริ่มต้น กระทั่งเป็นธุรกิจการบริการ ยกระดับการบริโภคนำพาสู่การยกระดับธุรกิจ การยกระดับบริการ การยกระดับวัฒนธรรมซึ่งมาเป็นระลอกๆ

        แม้กระทั่งในธุรกิจชาผูเอ่อร์ ยกระดับการบริโภคนำพามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ล้วนเป็นการรีโนเวททางกรอบความคิดและการเห็นและรับฟังของพวกเราอย่างต่อเนื่อง


        1) “ยกระดับการบริโภค”คืออะไร


        “ยกระดับการบริโภค” บ่งชี้ถึงผู้บริโภคยินดีที่จ่ายเงินมากขึ้น แลกด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มมากกว่า(อย่างเช่นประสบการณ์ บรรยากาศ ตราสินค้า การเข้าถึงได้สะดวกรวดเร็ว)

        ที่ผ่านมาพวกเราซื้อของหลักใหญ่ใจความเพื่อจ่ายมูลค่าของตัวผลิตภัณฑ์ ยกระดับการบริโภคก็คือการจ่ายเพื่อมูลค่าเพิ่ม

        นอกจากโฟกัสไปที่อรรถประโยชน์และคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคยังสนใจถึงประสบการณ์การใช้จะมีตวามสบายใจหรือไม่ จะนำพามาซึ่งความพึ่งพอใจทางจิตวิญญาณและสุนทรียภาพหรือไม่

        แน่นอน ปัจจุบันยังไม่มีคำนิยามมาตรฐานเกี่ยวกับ“ยกระดับการบริโภค”ที่เป็นที่ยอมรับ แต่พวกเราจำต้องยอมรับนี้เป็นสิ่งที่ต้องประจันหน้าในโลกใหม่

        ตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจของสังคม ชนชั้นกลางในเมืองจีนเกิดขึ้นอย่างฉับพลันรวดเร็ว เมื่อคนจีนซื้อของไม่“ดูราคา”อีกแล้ว เป็นตัวแทนที่แสดงว่าการยกระดับบริโภคได้เกิดขึ้นแล้ว

        การบริโภครูปแบบตวามต้องการอยู่รอดเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบตวามต้องการชีวิตที่ดีกว่า การบริโภครูปแบบวัตถุนิยมเปลี่ยนไปในทิศทางรูปแบบการบริการ การบริโภครูปแบบใหม่ๆก็ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ


        โดยเฉพาะคนรุ่น Gen Y ; Gen Z เมื่อกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคตัวหลัก ชีวิตที่พวกเค้าต้องการมิใช่ “อิ่มท้องอุ่นกาย/吃饱穿暖” อีกแล้ว ยังต้องมี “สุนทรียภาพและอนาคต/诗和远方” พวกเค้าแสวงหาวัสดุวัตถุที่คุณภาพยิ่งสูง การประสบกับชีวิตที่ดีกว่ายิ่งมีสีสันมากกว่า กลายเป็นชีวิตที่เรียกร้องของคนรุ่นนี้ พวกเค้าเป็นชนพื้นเมืองของอินเตอร์เน็ต รับรู้ข้อมูลข่าวสารอันหลากหลายตั้งแต่เล็ก ทัศนวิสัยกว้างไกล

        มาตรฐานระดับจิตวิญญาณทางบริโภคของพวกเค้าได้ขึ้นสู่ระดับบนไปแล้ว แต่มาตรฐานทางวัตถุการบริโภคของพวกเค้ายังตามไม่ทัน การยกระดับบริโภคประจวบเหมาะเข้าไปในกิเลสความอยากพอดี

        และก็ ความรู้ทางสินค้าบริโภคของพวกเค้าได้เพิ่มพูนมากขึ้น การตระหนักถึงตราสินค้ายิ่งแรง ยังมีทัศนียภาพ+ช่องทาง(ตัวแทนการจัดซื้อและขายต่างประเทศ)จากทั่วโลก พวกเค้ามีความต้องการต่อการบริโภคสูงมาก ปัจจัยที่สามารถมีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการซื้อของพวกเค้ายิ่งมายิ่งมาก พวกเค้าก็หวังว่าในกระบวนการบริโภคจะมี“ความรู้สึกได้รับ (Sense of gain)” ยิ่งมาก


        ในวงการธุรกิจชาผูเอ่อร์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้บริโภคหรือผู้มากปรสบการณ์ ล้วนไหลทะลักเข้าไปในกลุ่มคนรุ่น Gen Y , Z ในขณะที่การตรวจสอบโดยอยู่บนมุมมองของพวกเค้ากระทั่งมีผลกระทบต่อวงการธุรกิจนี้ ทำให้ธุรกิจแบบดั้งเดิมนี้ปลดปล่อยพลังของหนุ่มสาวและทันสมัยอย่างต่อเนื่อง 

▲ลักษณะเด่นทางการบริโภคของคนรุ่น Gen X ; Gen Y ; Gen Z ในเมืองจีน


        2) “ยกระดับการบริโภค” สุดท้าย “ยก” อะไรกันแน่


        “ยกระดับการบริโภค” คือการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดทางการบริโภคและการแสวงหาผลิตภัณฑ์ การบริการที่ดี พูดให้เข้าใจง่ายเข้า ผู้เขียนเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิทยาการบริโภคของยกระดับการบริโภคมีอยู่ 4 ด้านด้วยกัน :


        ๑/ จากอรรถประโยชน์ถึงจิตวิญญาณ (ตามหาจิตวิญญาณ/精神追求)

        การแสวงหาของผู้คนต่อการบริโภคกำลังล้ำหน้าเกินระดับชั้นอรรถประโยขน์ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งยิ่งให้น้ำหนักกับความรื่นรมย์ทางอวัยวะสัมผัสและความสุขทางจิตวิญญาณ

        ทุกวันนี้ช่องว่างแห่งชา(ห้องชิมดื่มชาที่โอ่อ่ารโหฐาน)อยู่ในกระแสนิยม ผู้คนยินดีอยู่ในพื้นที่ว่างสงบที่ทำให้สุขกายสบายใจเพื่อการชิมดื่มชา การมีปฏิสัมพันธ์ บ่อยครั้ง สิ่งที่ดื่มมิใช่ชาตัวมันแล้ว กลับกลายเป็นชาจอกนั้นที่นำพามาซึ่งการเสพสมของอวัยวะสัมผัสและความสุขทางกายและใจ 

▲ช่องว่างแห่งชา/茶空间


        ๒/ จากคุณภาพถึงวิจิตรศิลป์ (ถ่ายทอดสุนทรียภาพ/审美表达)

        ในยุคสมัยที่ดูดัชนีการดึงดูด (Attractiveness Index) นอกจากอรรถประโยชน์และคุณภาพแล้ว ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกของสินค้า

        ชาผูเอ่อร์ที่พวกเราพบเห็นได้ในปัจจุบันได้หลุดพ้นจากภาพลักษณ์ “ไอ้เทอะทะ/傻大粗” ไปแล้ว การหีบห่อภายนอกที่ดูทันยุคทันสมัย การบรรจุหีบห่อขนาดเล็กอิสระที่สวยงามวิจิตร การบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์ชารูปแบบต่างๆที่มีความสร้างสรรค์วิลิศมาหรา ล้วนเป็นสุนทรียภาพที่สอดรับกับยุคยกระดับการบริโภค 

▲การหีบห่อที่วิลิศมาหรา บรรจุหีบห่อขนาดเล็กอิสระที่สวยงามวิจิตร


        ๓/ จากความต้องการถึงความอยากได้ (โหยหาอารมณ์/心灵呼声)

        ผลิตภัณฑ์ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงยกระดับการบริโภคอย่างแท้จริง แต่ไหนแต่ไรมาล้วนไม่ใช่สิ่งของจำเป็นสำหรับชีวิต แต่เป็นการจ่ายเพื่อความสนใจและความชื่นชอบ

        อย่างเช่นชอบชา คูณจำเป็นต้องเข้าคิว2ชม.เพื่อชานมแก้วนึงหรือไม่? สิ่งที่คุณไม่ต้องการ แต่คุณอยากได้

        ปัจจุบันในทุกปีเพื่อนชาที่มาอวิ๋นหนาน เข้าไปในเขาชาโบราณยิ่งมายิ่งมาก การท่องเที่ยวเขาชาได้กลายเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งไปแล้ว เพื่อนชาจำนวนมากทนกับสภาพการเดินทางที่เหน็ดเหนื่อยมาก ขึ้นเขาลงห้วย ก็เพื่อได้อยู่ใกล้ชิดกับต้นชาโบราณในตำนาน เพื่อดูซิว่าใบชาในจอกเจริญเติบโตขึ้นมาบนสภาพพื้นที่อย่างไร?

        นี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตหรือไม่? มิใช่! แต่มาจากการคร่ำครวญหาของอารมณ์


        ๔/ จากคล้อยตามฝูงชนถึงเฉพาะบุคคล (ปัจเจกนิยม/自我风格)

        ทุกวันนี้ในขณะที่ผู้บริโภคซื้อของ จะยิ่งให้น้ำหนักกับการซื้อผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงความเป็นตัวตน ซึ่งไม่ใช่เป็นที่ยอมรับของฝูงชน “การผลิตตามสั่ง/私人定制” ก็จะยิ่งมายิ่งได้ความนิยม เป็นเพราะในส่วนลึกใต้จิตสำนึกของคน แต่ละคนล้วนหวังได้รับการนับถือและการมีความพึ่งพอใจส่วนบุคคล

        ชาผูเอ่อร์ก็สามารถรองรับการผลิตตามสั่งได้อย่างหลากหลาย อย่างเช่นชาสั่งผลิตเป็นที่ระลึกในวันที่พิเศษ ชาสั่งผลิตเฉพาะจากเขาชาหรือสูตรพิเศษที่ระบุตามความชื่นชอบของตัวเอง ชาสั่งผลิตในวาระที่ไปท่องเที่ยวเขาชากับคนพิเศษ กระทั่งยังสามารถสั่งกำหนดพิธีการแต่งงานที่เกี่ยวกับชาในพื้นที่ว่างแห่งชา.....ฯลฯ

         ในยุคของยกระดับการบริโภค ความต้องการความเป็นปัจเจกนิยมยิ่งมายิ่งมาก การบริการความเป็นปัจเจกนิยมก็ควรที่ตามทันกันมาไม่ขาดสาย 



เอกสารอ้างอิง :

1. 进入一个时代 消费升级下的普洱茶整合服务https://m.sohu.com/a/714558995_121124774/?pvid=000115_3w_a

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2568

จากปวงชนถึงส่วนบุคคล เนื้อผสมและก็เนื้อผสม

 


        กล่าวสำหรับกรรมวิธีการผลิตชาผูเอ่อร์ เนื้อผสมไม่เพียงเป็นหัวข้อที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว ยังเป็นเทคนิคแขนงหนึ่งที่ล้ำลึกและก็ลึกลับ


        ภายใต้บริบทของกรรมวิธีการผลิคชาผูเอ่อร์แบบดั้งเดิม จะเป็นเนื้อผสมหรือไม่จะไม่มีข้อโต้แย้งใดๆดำรงอยู่ เป็นเพราะว่านี้เป็นแก่นแท้ของกรรมวิธีโบราณของชาผูเอ่อร์ บรรดาชาเกรดห้างในประวัติศาสตร์ที่สามารถโดดเด่นเหนือชาอื่น หลักใหญ่ก็คือการอาศัยสูตรลับของเนื้อผสมที่ไม่เปิดเผย


        ตราบจนถึงก่อนและหลังปี2008 ตลาดชาผูเอ่อร์ต้องเผชิญกับตรรกะทางธุรกิจยุคสมัยใหม่ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แนวความคิดที่พูดถึง“ยอดเขา/山头” พูดถึง“เนื้อเดียว/纯料”ได้ปรากฏขึ้นมาอย่างเงียบๆ ไม่ว่าจะมีจุดประสงค์เพื่อเสาะหาตลาดใหม่ที่ซอยย่อยออกไป แสวงหาโอกาสมากยิ่งขึ้นของผลิตภัณฑ์ หรือเพื่อเป็นการยกระดับสไตล์ของชาผูเอ่อร์ให้สูงขึ้น กระทั่งการ“ยกให้เป็นเทพเจ้า/神化”ของผลิตภัณฑ์ แนวความคิดนี้มีผลกระทบต่อตลาดการบริโภคอย่างลึกซึ้ง ตราบจนถึงทุกวันนี้ ก็ยังมีผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจจำนวนมาก ภายใต้ทางสองแพร่งนี้ยังเอาแน่เอานอนไม่ได้


        สิบกว่าปีที่ผ่านมา ตลาดก็ยังเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ไม่เฉพาะเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ผลัดรุ่นกัน รูปแบบทางพฤติกรรมการบริโภคก็ไม่เหมือนกับอดีตที่ผ่านมา

        การเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจ การเข้ามาของอินเตอร์เน็ต การปรับทางความคิดใหม่ของผู้บริโภค การกลับคืนสู่ความเป็นตัวตนของผลิตภัณฑ์ การสร้างสรรค์แนวความคิดของผลิตภัณฑ์ของผู้มาใหม่ที่มีส่วนร่วมในตลาด การเปลี่ยนรูปแบบและการยกระดับตราสินค้าที่มีอยู่เดิม เป็นต้น ปรากฏการณ์เหล่านี้ล้วนมีการปรากฏให้เห็นในตลาดชาผูเอ่อร์

        ตลาดผู้บริโภคใหม่ยิ่งมายิ่งต้องการผลิคภัณฑ์ที่วิจิตรประณีตและมีอัตภาพ ขณะเดียวกันก็จะพูดถึงสไตล์ของตราสินค้า พูดถึงการเห็นด้วยทางความคิด พูดถึงกลยุทธที่แตกต่าง เป็นต้นซึ่งเป็นแนวโน้มที่ค่อยๆปรากฏเด่นชัดขึ้นมา


        ภายใต้บริบทลักษณะนี้ วงการชาผู้เอ่อร์จึงมาโฟกัสใหม่กับ“เนื้อผสม/拼配” อาจเป็นกรรมวิธีของภาวะจำยอมทำตามสถานการณ์ ในฐานะที่เป็นผู้บริโภค การทำความเข้าใจใหม่กับกรรมวิธีเนื้อผสมและคุณค่าของชาผูเอ่อร์ จะสามารถชี้นำพวกเราในการจัดซื้อได้ดียิ่งขึ้น 


        • มามาพูดถึง“เนื้อผสม”อีกครั้ง


        ในขั้นตอนการผลิตใบชาอย่างละเอียดประณีตแบบดั้งเดิม ต้องมีพื้นที่สำหรับเนื้อผสม มันเป็นกรรมวิธีหนึ่งที่ในวงการใช้เป็นประจำ โดยผ่านการนำชาจากพื้นที่ต่างๆ ผลิตจากต่างฤดูกาลกัน เกรดชาต่างกันที่แยกแยะออกมา นำมาดำเนินการผสมตามหลักทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้บรรลุถึงรสชาติที่กลมกล่อมสมดุล คุณภาพของผลิตภัณฑ์ของล็อตต่างๆกันมีความคงที่ ก่อเกิดทางเป้าหมายที่เป็นผลิตภัณฑ์พิเศษเฉพาะ 

▲กรอบความคิดพื้นฐานของเนื้อผสมชาผูเอ่อร์


         สามารถที่จะกล่าวได้ว่า จากโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เนื้อผสมเป็นแก่นสารของกรรมวิธีการผลิตชาผูเอ่อร์ กรรมวิธีเนื้อผสมในการผลิตชาแบบดั้งเดิม มีความสัมพันธ์กับแนวความคิดแพทย์แผนจีนที่ลึกซึ้งมาก มีผู้ชำนาญการบางส่วนยังเชื่อว่าเนื้อผสมในการผลิตชาผูเอ่อร์แบบดั้งเดิมอิงอยู่บนพื้นฐานทางเภสัชวิทยาของยาจีนในระดับหนึ่ง


        การใช้ส่วนผสมยาตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมาทำยา แพทย์แผนจีนจะเรียกขานเป็นวิธี“การเข้ากันได้/配伍” โดยปกติจะนำมาตอบสนองกับโรคภัยที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน

        คนโบราณให้ความสำคัญกับ“ยาอาหารจากแหล่งเดียวกัน/药食同源” ใบชาถูกจัดเป็นวัสดุยาหนึ่งที่มีคุณลักษณะทางรักษาสุขภาพ 

        ส่วนคุณลักษณะของวัตถุดิบเหมาฉาที่ไม่เหมือนกัน สารองค์ประกอบที่แตกต่างกัน รสชาติที่แตกต่างกัน ทำให้ช่างทำชาต้องทำชาให้มีคาแรคเตอร์ที่สมดุล เสริมเต็มอรรถประโยชน์โดยกรรมวิธีเนื้อผสม ซึ่งทำให้คุณลักษณะเฉพาะทางเภสัชวิทยาของวัตถุดิบแสดงออกมา และก็สามารถหลีกเลี่ยงความเกินพอดี


        ทั่วๆไป กรรมวิธีเนื้อผสมที่ในวงการใช้ทั่วไปสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน : 


        1/ เป็นเนื้อผสมของเกรดแตกต่างกัน ชาเกรด7พื้นฐาน ชาเกรด5ปูล่าง ชาเกรด3โรยหน้า กรรมวิธีนี้จะพบเห็นและชำนาญการมากที่สุด


        2/ เป็นเนื้อผสมของต่างเขาชา ผ่านการเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อวัตถุดิบที่มาจากยอดเขาต่างๆกันของนักทำชา โดยใช้ประสบการณ์หรือเทคนิคมาทำการผสม กรรมวิธีนี้มีความต้องการต่อนักทำชาสูงที่สุด ไม่เพียงเป็นเทคโนโลยีแขนงหนึ่ง ยังเป็นศิลปกรรมสาขาหนึ่ง เป็นกรรมวิธีที่ถูกใช้ทั่วไปอย่างกว้างขว้าง 

▲เนื้อผสมของต่างเขาชา/不同茶山的拼配


        3/ เป็นเนื้อผสมของชาต้นโบราณกับชาไร่ เป็นที่นิยมในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ไม่เพียงสามารถสมดุลลักษณะเด่นของชาต้นโบราณและชาไร่ ยังสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะชาครบถ้วนและคุณภาพก็ไม่ต่ำชั้น มีอัตราส่วนความคุ้มค่าต่อราคา (Price Performance Ration/性价比) ก็ค่อนข้างสูง 

▲เนื้อผสมของชาต้นโบราณกับชาไร่/古树茶与台地茶的拼配


        4/ เป็นเนื้อผสมของวัตถุดิบผลิตจากต่างฤดูกัน มีนักทำชาบางคนนำวัตถุดิบจากใบไม้ผลิ-ร้อน-ใบไม้ร่วงรวม3ฤดูมาดำเนินการผสม กรรมวิธนี้มีความต้องการทางเทคนิคไม่สูงนัก 


        5/ เป็นเนื้อผสมของชาอายุปีต่างกัน ชาใหม่รสเรียบบาง ชาเก่ามีระดับหนา กรรมวิธีนี้สามารถยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว 

▲เนื้อผสมของชาอายุปีต่างกัน/年份茶的拼配

 

        6/ เป็นเนื้อผสมของระดับการหมักไม่เท่ากัน เป็นกรรมวิธีใหม่ของเนื้อผสมในวงการชาสุก อย่างเนื้อผสมของการหมักระดับหนักกับการหมักระดับกลาง สามารถแก้ไขจุดด้อยบางอย่างที่เด่นชัดและเห็นได้ง่าย แต่วิธีการนี้จะมีข้อเสียที่มีช่องว่างต่อนข้างแตบสำหรับคุณภาพที่ยกระดับสูงขึ้นของพัฒนาการภายหลัง 

▲เนื้อผสมของระดับการหมักไม่เท่ากัน/发酵度的拼配


        7/ เป็นเนื้อผสมของชาดิบกับชาสุก นับว่าเป็นการทดลองที่น่าสนใจกรรมวิธีหนึ่ง จุดสำคัญเพื่อขจัด“กลิ่นหมักกอง/堆味”บางส่วนได้อย่างรวดเร็วที่ผู้บริโภคยากที่จะยอมรับได้ 

▲เนื้อผสมของชาดิบกับชาสุก/生茶与熟茶的拼配


        สุดท้ายเป็นเนื้อผสมของชากับดอกไม้ใบหญ้า เช่น เก๊กผู(菊普 ; เก๊กฮวย+ชาผูเอ่อร์) กานผู(柑普 ; เปลือกส้ม+ชาผูเอ่อร์) เป็นต้น 

▲กานผู/柑普


        ดังนั้น เมื่อพวกเรานำกรรมวิธีเนื้อผสมมาทำให้ชัดเจนใหม่ จะค้นพบว่าเนื้อผสมที่แท้ก็คือกรรมวิธีหนึ่งที่รวบรวมเภสัชวิทยา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ประสบการณ์ ศิลปกรรม โดยเปรียบเทียบกับเนื้อเดียวแล้ว เนื้อผสมมิใช่ตัวแทนแห่งความต่ำชั้น และก็ไม่ใช่ตัวแทนของคุณภาพต่ำ ค่าตัวของกรรมวิธีเนื้อผสมที่ชำนาญการแล้ว ก็สามารถล้ำหน้ากว่าชาผูเอ่อร์เนื้อเดียว

        แน่นอน ก็ต้องระมัดระวังกับแนวความคิดทางการใช้ในทางที่ผิดขององค์กรธุรกิจหรือนักธุรกิจบางส่วน อย่างเช่น“ชายัดใส้/夹心茶” ที่ปรากฏอยู่ในท้องตลาดปัจจุบัน คือการนำวัตถุดิบที่ไม่ดีมาปนผสมเชิงการย้อมแม้วขาย หรือที่แท้แล้วเป็นการผสมวัตถุดิบหลายชนิดแต่หลอกผู้บริโภคว่านี้คือชายอดเขาเนื้อเดียว ชาตานจูต้นเดี่ยว เป็นต้นที่เป็นพฤติกรรมไม่ดี นี้จะห่างไกลกันมากกับเนื้อผสมบนความหมายดั้งเดิม


        • “เนื้อผสม”สามารถนำพาอะไรมาสู่พวกเรา


        กรรมวิธีเนื้อผสมมาจากโบราณ ชาเก่าคลาสสิกส่วนใหญ่ ล้วนมีการใช้กรรมวิธีเนื้อผสมขั้นสูงสุด ไม่เฉพาะเพียงชาเกรดห้าง ชาเกรดพิมพ์เป็นต้นที่เป็นชาเก่าอันลือชื่อที่ได้ใช้กรรมวิธีนี้ในการผลิต ในวงการชาผูเอ่อร์ที่พัฒนาจนถึงทุกวันนี้ กรรมวิธีนี้ก็ยังเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญที่สุดในการผลิตชาผูเอ่อร์ 

▲ชาผูเอ่อร์เกรดห้างล้วนเป็นเนื้อผสม


        ชาเวอร์ชั่นคลาสสิกที่ถูกยอมรับในวงการชาผูเอ่อร์จำนวนมาก ล้วนมีความใกล้ชิดที่แยกไม่ออกจากกรรมวิธีเนื้อผสม อย่างเช่น “7542ของต้ายี่” แม้นทุกปีมีการปล่อยออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องหลายๆล็อต แต่ด้านคุณภาพ รสชาติล้วนสามารถรักษาให้คงที่ได้ตลอด นี้ต้องอาศัยกรรมวิธีเนื้อผสมที่สืบทอดกันมา 

▲แผ่นชาดิบผูเอ่อร์เวอร์ชั่น 7542 ของต้ายี่


        อีกหนึ่งความเป็นตัวแทนก็คือ“รสเซี่ยกวน/下关味”ที่มีความเป็นลักษณะเฉพาะอย่างแรง รสชาติลักษณะนี้มาจากถว๋อฉาเซี่ยกวนที่สืบทอดมาเป็นร้อยปีแล้ว มีผู้ติดตามอยู่เป็นจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีรสชาติเดียวที่รักษาไว้ได้คงที่ในช่วงร้อยปี ที่พึ่งพาก็ยังเป็นเนื้อผสม 


        จากการเริ่มก่อสร้างโรงงาน เนื่องจากสภาวะทางธรรมชาติ เซี่ยกวนที่เป็นที่อยู่ของถว๋อฉาเซี่ยกวนมิใช่เป็นเขตพื้นที่ผลิตใบชา วัตถุดิบผลิตชาจำต้องอาศัยมาจากภายนอก แหล่งวัตถุดิบเหมาฉาและคุณลักษณะที่ไม่เหมือนกัน แล้วต้องให้บรรลุถึงคาแรคเตอร์และรสชาติที่กำหนดไว้ในระดับหนึ่ง นี่จึงทำให้เนื้อผสมกลายเป็นพื้นฐานของกรรมวิธีแบบดั้งเดิมของถว๋อฉาเซี่ยกวน 


        ถว๋อฉาเซี่ยกวนขนาด100กรัมที่มีความเป็นอัตลักษณ์ จะประกอบด้วยวัตถุดิบที่มาจากกว่า30เขตท้องที่อำเภอ เป็นที่น่าประหลาดใจยิ่งนัก 

▲ถว๋อฉาเซี่ยกวน/下关沱茶


        ในภารกิจการผลิตขององค์กรธุรกิจจำนวนมากจะพบเห็นได้ไม่ยาก ตราบจนถึงทุกวันนี้ กรรมวิธีเนื้อผสมยังมีความหมายเป็นที่ประจักษ์ ก่อนอื่น ผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติสมดุล จำต้องเป็นเนื้อผสม

        คาแรคเตอร์ของวัตถุดิบต่างล็อตกันและต่างเขตพื้นที่ผลิตจะแตกต่างกัน กลิ่นหอม หนาบาง ขมหวาน ต้องรับประกันรสชาติ ก็ต้องผ่านการผสมโดยดำเนเการเสริมให้สมดุลซึ่งกันและกัน


        ลำดับต่อมา คุณภาพของผลิตภัณฑ์ชาคงที่ ก็ต้องเป็นเนื้อผสม ใบชาเกิดตามธรรมชาติ ได้รับการเลี้ยงดูจากสายฝนแสงแดด แต่สภาพอากาศธรรมชาติในแต่ละปีจะไม่เหมือนกัน วัตถุดิบจากต่างฤดูและต่างปีจึงมีตวามแตกต่างโดยธรรมชาติ ต้องประกันคุณภาพให้คงที่ จำต้องขอยืมเนื้อผสมมาช่วยปรับปรุง

        กับการเป็นองค์กรธุรกิจชาขนาดใหญ่บางแห่ง ถ้าหากต้องมารับประกันผลิตภัณฑ์ในสเกลใหญ่ ยิ่งต้องการเนื้อผสม เพราะว่าปริมาณการผลิตของเนื้อเดียวในล็อตเดียวมีจำนวนจำกัดมาก


        แน่นอน เมื่อต้องการลดต้นทุนและรับประกันคาแรคเตอร์ เนื้อผสมเป็นกรรมวิธีที่ดีที่สุด ชาผูเอ่อร์เนื้อผสมส่วนใหญ่จะมีอัตราความคุ้มค่าต่อราคาค่อนข้างสูง ไม่เพียงแค่เช่นนี้ เป็นไปตามการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของชาผูเอ่อร์ที่ดีวันดีคืน แล้วก็ค่อยๆค้นพบพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเนื้อผสม

        เฉินเจี๋ย/陈杰 เคยนำเสนอว่า เนื้อผสมเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงแบบขั้นบันไดของการหมักภายหลังของชาผูเอ่อร์ ซึ่งพัฒนาการภายหลังโดยทั่วไปก็คือคุณค่าของชาผูเอ่อร์ที่ดำรงอยู่  


        เนื่องจากชาผูเอ่อร์จากการหมักต้องให้มีความรู้สึกเป็นระดับขั้น ดังนั้น ในการผลิตแผ่นชาผูเอ่อร์จำต้องให้มีความแน่นหลวมที่พอเหมาะ ซึ่งเนื้อผสมของชาเกรดต่างๆกัน ก็จะสามารถก่อร่างเป็นโครงสร้างที่พอเหมาะ---วัตถุดิบที่หยาบละเอียดต่างกันก่อตัวเป็นโครงร่างตาข่าย ก่อเกิดช่องว่างที่ดีสำหรับพัฒนาการภายหลัง ดังนั้น เพื่อนชาที่ให้ความสำคัญต่อพัฒนาการภายหลัง จะต้องชำเลืองตามาที่เนื้อผสม


        โจวปิ่งเหลียง/邹炳良 ก็มีความเชื่อว่า เนื้อผสมสามารถเน้นจุดเด่นเลี่ยงจุดด้อย ให้คุณลักษณะพิเศษเฉพาะของเหมาฉาตากเขียวของใบใหญ่อวิ๋นหนานปรากฏเด่นชัดออกมา  

        เติ้งสือไห่/邓时海 ก็เคยกล่าวไว้ว่า แก่นสารของชาผูเอ่อร์อยู่ที่ความดื่มด่ำของผูเอ่อร์(普洱韵) รสแห่งความดื่มด่ำที่ยังอยู่ในชาเก่า พวกเราควรที่จะเสาะแสวงหากรรมวิธีเนื้อผสมที่เป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างไม่หยุดยั้ง แล้วถ่ายทอดพวกมันอย่างไม่หยุดหย่อน


        จะเห็นได้ว่า ต้องการค้นหารสแห่งอวิ๋นหนาน ความดื่งด่ำของผูเอ่อร์ที่บริสุทธิ์ที่สุด จะต้องเข้าไปในโลกของเนื้อผสม


        • ทุกวันนี้ ทำไมพวกเรายิ่งต้องการ“เนื้อผสม”


        การเจริญเติบโตทางตลาดในหลายปีที่ผ่านมา ลักษณะเด่นบางอย่างที่แท้จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง อาทิเช่นผลิตภัณฑ์ชาเวอร์ชั่นหนึ่งจัดเป็นเนื้อผสมหรือเนื้อเดียว กล่าวต่อผู้บริโภคชาผูเอ่อร์ส่วนใหญ่แล้วอาจไม่ใช่เป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญ สิ่งที่พวกเราต้องให้ความสนใจมากกว่า ที่แท้ก็คือรสชาติดีหรือเลวและอัตราความคุ้มค่าต่อราคาจะสูงหรือต่ำ หลังมีความพึ่งพอใจต่อเงื่อนไขพื้นฐานเหล่านี้แล้ว จึงทำการเลือกในลำดับต่อไป 

        ดังนั้น การควบคุมคุณภาพและการกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ชาตัวหนึ่ง จึงเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจ ถ้ายังงั้นเนื้อผสมก็เป็นเส้นทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพของการหล่อหลอมพื้นฐาน


         แต่ยิ่งควรทำความเข้าใจลึกซึ้งคือการเปลี่ยนแปลงทางการตลาด คือทุกวันนี้ผู้บริโภคได้ผลัดเปลี่ยนรุ่นไปแล้ว ผลข้างเคียงคือนำมาซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ตัวหลักของการบริโภคในยุคใหม่คือคนรุ่นGen Y ; Gen Z พวกเค้าจะไม่ค่อยแคร์กับแนวความคิดที่สูงส่งหรือเก๋ากึ๊กลี้ลับ นอกจากอรรถประโยชน์จากการใช้จริง สิ่งที่พวกเค้าจะยิ่งให้ตวามสนใจคือผลิตภัณฑ์และตราสินค้าหนึ่งจะถูกโฉลกกับความชื่นชอบหรือความเป็นตัวตนของเค้าหรือไม่ และก็สามารกล่าวได้ว่าสไตล์ของมันเป็นที่ยอดรับของคนกลุ่มนี้หรือไม่ 


         จากมุมมองทางธุรกิจ ยี่ห้อเก่าแก่จะดำรงสไตล์ของตัวเองไม่เปลี่ยนแปลง ก็คือจับกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างยั้งยืน หากต้องดำเนินการแสวงหาลูกค้าใหม่ หรือกล่าวต่อตราสินค้าใหม่ที่พึ่งเข้ามาในตลาด ถ้าหากคิดที่จะตามใจความชื่นชอบของกลุ่มผู้บริโภคเกิดใหม่ที่มีความเป็นปัจเจกนิยมกลุ่มนี้ ก็ต้องสร้างสรรค์เนื้อผสมที่พิเศษเฉพาะของตัวเอง 


        เศรษฐกิจอินเตอร์เน็ตที่พัฒนาเฟื่องฟูยิ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ ข้อมูลข่าวสารสนเทศที่มากมายมหาศาล พวกเรายิ่งต้องมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มรายละเอียดปลีกย่อย ความเป็นอัตภาพ ความแตกต่าง เป็นต้นที่เป็นกลยุทธของผลิตภัณฑ์ จึจะสามารถยืนอยู่ในตลาดได้


        การแสวงหาแต่เพียงเนื้อเดียว แล้วคิดที่จะทำผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นลักษณะเฉพาะและความแตกต่าง ทำคราสินค้าที่มีเอกลักษณ์ แม้ว่าจะเป็นไปได้แต่ก็จะยากมาก

        แน่นอน เนื้อผสมจัดเป็นเทคโนโลยีสายน้ำ กรรมวิธีเนื้อผสมที่ดีมีความต้องการต่อเทคโนโลยีที่ตกตะกวนของตัวธุรกิจชาเองเป็นอย่างสูง ตัวผลิตภัณฑ์ก็ผ่านการทดสอบที่หนักจากคลาด

        การสืบทอดและสร้างสรรค์จำต้องมีต้นทุนสูง แต่พวหมันกำลังเป็นที่ต้องการของยุคสมัยนี้



เอกสารอ้างอิง :

1. 从大众化到个性化 , 拼配再拼配https://m.ipucha.com/show-25-5158.html

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2568

“สมดุลทางปรัชญา”ของอนุมูลอิสระ | พูดคุยอย่างบันเทิงใจต่อสรรพคุณทางการต้านอนุมูลอิสระของชาสุกผูเอ่อร์



        มาจะกล่าวบทไป ต่อเพื่อนชาทั้งหลายที่เสพสมการดื่มชา และที่ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพ แต่เมื่อทำการ“เบิร์น”อย่างหักโหมมิใช่ว่าจะดีต่อสุขภาพ

        ในขณะที่ทำการ“เบิร์น”ในทิศทางที่เหมาะสม ผ่อนคลายการเดินให้ช้าลงแล้วถามหาความตั้งใจ รักษาสมดุลของร่างกายและจิตใจ บางทีจึงเป็นแก่นแท้ของการมีสุขภาพดี

        ชาสุกผูเอ่อร์ผ่านเทคโนโลยีการหมักกองประดิษฐ์ ชาพันธุ์ใบใหญ่อวิ๋นหนานที่ห้าวหาญเข้มข้นได้รับปรับสมดุลให้หนานุ่มหนืดลื่น ภูมิฐานอ่อนโยน หลังชาสุกคำหนึ่งไหลลื่นลงคอเข้าไปในร่างกายพวกเรา ฉากหนึ่งของ“สมดุลทางปรัชญา”ของอนุมูลอิสระก็ได้เริ่มขึ้นแล้ว


        • อนุมูลอิสระกับการเผาผลาญและการออกซิไดซ์


        ผู้คนที่พอมีความรู้ทางเคมีล้วนต้องเข้าใจว่า : ปรากฏการณ์การเผาผลาญ โดยเนื้อแท้เป็นกระบวนการออกซิเดชั่นที่รุนแรง การเผาผลาญนำพามาซึ่งความร้อนและแสงสว่างที่ให้ความอบอุ่นต่อผู้คน แต่สารตั้งต้นก็จะถูกทำให้สูญเสีย กระทั่งถูกกลืนกินอย่างรวดเร็ว

        อันโคลงกลอน “ตัวไหมสิ้นใจจึ่งสิ้นสุดสายใย/春蚕到死丝方尽. เปลวเทียนดับมอดน้ำตาจึ่งแห้งเหือด/蜡炬成灰泪始干” ที่นักกวียุคสมัยถัง หลี่ซางเหยิ่น(李商隐 , C 813-858) ได้บ่นเศร้าโศกไว้ ก็คือการเผาไหม้เป็นปรากฏการณ์ที่ปกติทั่วไป : บั้นปลายชีวิตของเทียนเล่มหนึ่งที่กำลังเผาไหม้ ก็คือการกลายเป็นเถ้าธุลีหายเข้าไปในฝุ่นละออง

        แล้วย้อนกลับมาดูพวกเราทุกๆคน ที่แท้ก็คือเทียนเล่มหนึ่งที่กำลังเผาไหม้ เผาไหม้อย่างไม่หยุดหย่อน และก็เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นอย่างไม่หยุดหย่อน


        กระบวนการออกซิเดชั่นโดยทั่วๆไปเป็นปรากฏการณ์ทางสรีรวิทยาที่ปกติของร่างกายคนเรา แต่ถ้าหากการออกกำลังกายมากเกินไป อุปนิสัยการกินอาหารและการดำเนินชีวิตที่ไม่ดี และสภาพแวดล้อมภายนอกที่เลวร้าย ก็จะก่อเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่มากและเร็วเกินไป นำไปสู่ร่างกายเกิดการแก่ก่อนวัย โรคอัลไซเมอร์ การกลายพันธุ์ของยีน เป็นต้น

        อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการเผาไหม้ของเทียน ไม้ ก๊าซหุงต้ม กระดาษ เป็นต้นที่เป็นเชื้อเพลิง หรือเป็น“การเผาผลาญ”ทางการสันดาป (Metabolism) ทั่วไปในร่างกายคนเรา ที่แท้ล้วนมีการเกี่ยวข้องที่แยกกันไม่ออกกับสารที่เรียกขานว่าอนุมูลอิสระ


        อนุมูลอิสระ อาจมีคนเป็นจำนวนมากเคยได้ยินมาแล้ว โดยเฉพาะได้ถูกค้นพบในการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในร่างกายคนเราก็คือต้นเหตุแห่งความชราภาพของพวกเรา ถ้าอย่างงั้น อนุมูลอิสระคืออะไร?


        อนุมูลอิสระ (Free Radicals) เป็นสารที่มีโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนโดดเดี่ยวไม่ครบคู่อยู่ 1 ตัว ทำให้เป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียร พร้อมที่จะทำปฏิกิริยาด้วยการไปดึงอิเล็กตรอนจากโมเลกุลอื่น ๆ เพื่อให้ตัวมันเองเสถียรอยู่เสมอ ซึ่งเมื่อมันอยู่ในร่างกายของเรามันจะไปดึงเอาอิเล็กตรอนจากเซลล์หรือโมเลกุลอื่น ๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดความเสียหาต่อเซลล์ที่สูญเสียอิเล็กตรอนไป

▲อนุมูลอิสระแย่งชิงอิเล็กตรอนจากเซลล์ทั่วไป 

        ภายในร่างกายคนเรา สาเหตุการสูญเสียอิเล็กตรอนของสารมีมากมาย แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือถูกอนุมูลอิสระตัวอื่นแย่งชิงไป ซึ่งกระบวนการแย่งชิงอิเล็กตรอนแบบนี้ก็คือการออกซิไดซ์ 

▲เซลล์สุขภาพดีถูกอนุมูลอิสระทำร้ายแล้วเกิดการออกซิไดซ์ (氧化作用)


        • ชาสุกผูเอ่อร์กับการขจัดอนุมูลอิสระกับการต้านอนุมูลอิสระ


        ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นภายในร่างกายคนเราจะเกิดขึ้นตลอดเวลา การหายใจทุกครั้ง การออกกำลังกายทุกครั้ง การรับประทานอาหารทุกครั้งของคนเราล้วนส่งเสริมกระตุ้นปรากฏการณ์ออกซิไดซ์

        เมื่อเป็นเช่นนี้ ไฉนพวกเราจึงต้องมาทำการต้านอนุมูลอิสระ? แล้วทำไมชาสุกผูเอ่อร์สามารถต้านอนุมูลอิสระได้เล่า?


        จากการอธิบายตามข้างต้น สามารถพบเห็นได้ว่า อนุมูลอิสระที่ก่อเกิดขึ้นที่แท้ก็คือสภาวะของอิเล็กตรอนที่มีเสถียรภาพและสมดุลแล้วถูกทำลาย


        จุดกำเนิดที่สำคัญของอนุมูลอิสระในร่างกานคนเรามีอยู่ 2 ด้าน :


        1/ อนุมูลอิสระที่เกิดในร่างกายคนเราเอง เป็นผลจากกระบวนการการเผาผลาญอาหารที่ปกติในร่างกายคนเรา


        2/ อนุมูลอิสระที่มาจากภายนอกร่างกาย ซึ่งก็คืออนุมูลอิสระที่ก่อเกิดขึ้นจากผลกระทบของปัจจัยภายนอก อาทิเช่นเมื่อพวกเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีรังสี ไอเสียรถยนต์ หมอกควัน ฝุ่น PM2.5 เป็นต้นที่เป็นโทษต่อร่างกาย หรืออาหารผ่านการทอดด้วยน้ำมัน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และควันบุหรี่ที่เสพเข้าร่างกายในปริมาณมาก ที่ล้วนทำให้ร่างกายคนเราเกิดอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมาก

        โดยเฉพาะควันบุหรี่ จากการศึกษาของนักวิชาการ เป็นจุดกำเนิดภายนอกที่ก่อเกิดอนุมูลอิสระมากที่สุดสาเหตุหนึ่ง 

▲จุดกำเนิดของอนุมูลอิสระ


        ในสภาวะที่ปกติ ในร่างกายคนเราจะเกิดอนุมูลอิสระ และก็ดำรงไว้ซึ่งสารต่างๆที่สามารถขจัดอนุมูลอิสระหรือยับยั้งปฏิกิริยาของอนุมูลอิสระ โดยทั่วไปเรียนขานกันว่าสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เอนไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวทาส (Superoxide Dismutase ; SOD) เอนไซม์กูลตาไธโอนเพอร์ออกซิเดส (Glutathione Peroxidase) เมลาโทนิน  (Melatonin) กรดยูริก เป็นต้น 

▲สารต้านอนุมูลอิสระให้อิเล็กตรอนแก่อนุมูลอิสระแล้วครบคู่จึงกลายเป็นโมเลกุลที่มีความเสถียร

▲ปฏิกิริยาการต้านอนุมูลอิสระของ SOD


        เพราะฉะนั้น การเกิดขึ้นและดับไปของอนุมูลอิสระในร่างกายคนเราปกติดำรงอยู่ในสภาวะสมดุลแบบไดนามิก ซึ่งปริมาณของอนุมูลอิสระที่เหมาะสมสามารถปรับการเจริญเติบโตและการเพิ่มของเซลล์ กระตุ้นให้เซลล์กลืนกินเชื้อโรค ยังสามารถทำเป็นโมเลกุลถ่ายทอดสัญญาณของระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ การหมุนเวียน ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายคนเรา เป็นต้นที่เป็นกิจกรรมทางสรีรวิทยาในร่างกายคนเรา สามารถที่จะกล่าวได้ว่ามีประโยชน์มากมาย


        แต่แล้ว เมื่ออนุมูลอิสระในร่างกายคนเราเพิ่มขึ้นโดยไม่คาดคิด สมดุลแบบไดนามิกลักษณะการเกิดขึ้นและดับไปที่ได้อธิบายข้างต้นก็จะถูกทำลาย อนุมูลอิสระ ณ ขณะนี้อันเนื่องจาก“ภาวะที่ถูกครอบงำ”จึงไปแย่งอิเล็กตรอนของสารอื่นในร่างกาย ต่อจากนี้ก็จะปรากฏการโจมตีอย่างรุนแรง สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของโมเลกุลขนาดใหญ่ของโปรตีน DNA น้ำตาล ไขมัน เป็นต้น 

▲การก่อเกิดอนุมูลอิสระที่มากเกินแล้วไปทำลายโครงสร้างของ DNA

        ความเสียหายของโมเลกุลขนาดใหญ่ค่อยๆสะสม จนทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะของร่างกายเกิดความเสียหาย แล้วนำไปสู่ความผิดทางพยาธิสภาพ เช่น การแก่ก่อนวัย โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน ต้อกระจก เป็นต้น


        นับจากนี้ไป “สมดุลทางปรัชญา”ของอนุมูลอิสระในร่างกายคนเราก็ปรากฏตัวออกมาแล้ว

        อนุมูลอิสระแม้ว่าไปทำลายภาวะสมดุลของอะตอมหรือโมเลกุล แต่มิใช่ว่าไม่มีอะไรดีสักอย่าง เพราะยังแบกรับบทบาทที่มีประโยชน์โดยช่วยเหลือร่างกายในการเผาผลาญอาหาร

        อนุมูลอิสระที่มากเกินไปจะทำลายสมดุลทางสุขภาพของร่างกาย แล้วร่างกายคนเราก็จะทำการขจัดอนุมูลอิสระที่เป็นส่วนเกิน เข้าสู่ปฏิบัติการต้านอนุมูลอิสระ ต่อแต่นี้ไปทำให้ร่างกายคนเรารักษาสมดุลทางสุขภาพในอีกภาวะหนึ่ง


        แน่นอน เป็นไปตามความกดดันของชีวิตที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับในยุคสมัยนี้ ทั่วๆไปผู้คนบ่มเพาะนิสัยในการดื่มกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ภาวะจิตใจที่ยิ่งหงุดหงิดใจร้อน และอาจต้องไปปรากฏอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ต่างๆนานาเหล่านี้ล้วนเป็นการเพิ่มปริมาณอนุมูลอิสระในร่างกาย

        ทันทีที่สารต้านอนุมูลอิสระตัวเดิมในร่างกายคนเรา“ยุ่งเกินไป” ไม่สามารถขจัดอนุมูลอิสระที่เป็นส่วนเกิน นี่จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคของพวกเรา

        ณ เวลานี้ พวกเราจำต้องแสวงหา“ความช่วยเหลือจากภายนอก” ซึ่งก็คือสารต้านอนุมูลอิสระจากภายนอก อย่างเช่นวิตามิน สารโพลิฟีนอลส์ สารแคโรทีนนอยด์ สารฟลาโวนอยด์ สารซาโปนิน เป็นต้น


        • ดื่มชาสุกคำหนึ่งสมดุลกายใจ


        เป็นไปตามการพัฒนาของชีวการแพทย์ทางอนุมูลอิสระในยุคปัจจุบัน การเกี่ยวข้องกันของอนุมูลอิสระกับโรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ และอีกหลายๆโรคยิ่งมายิ่งได้รับความสนใจ เสาะหาสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพและมีความเป็นพิษต่ำ---สารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ การศึกษาวิจัยทางชีวเคมีและเภสัชวิทยาการแพทย์กลายเป็นที่แพร่หลาย

        ชาสุกผูเอ่อร์ที่เพียบพร้อมด้วยศักยภาพของสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่โดดเด่น ทำให้กลายเป็นเป้าหมายที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากบรรดานักศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์


        ในไม่กี่ปีมานี้ นักศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มเจาะลึกการมีฤทธิ์ทางการต้านอนุมูลอิสระของชาสุกผูเอ่อร์ พวกเค้าค้นพบว่า ชาสุกผูเอ่อร์ที่หลังผ่านเทคนิคพัลส์สนามไฟฟ้า (Pulsed Electric Field) สามารถแสดงผลทางการต้านอนุมูลอิสระได้ดียิ่งขึ้น

        ภายใต้สนามไฟฟ้าสูงหมื่นโวลท์ บนผนังเซลล์ของชาสุกผูเอ่อร์จะปรากฏรูพรุนเล็กๆ ทำให้ปริมาณสารที่ชงออกมาในน้ำชาสุกผูเอ่อร์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ความสามารถในการขจัดอนุมูลอิสระของสารทีโพลิแซ็คคาไรด์และสารทีโพลิฟีนอลส์เพิ่มสูงขึ้นเด่นชัดในภาวะสนามไฟฟ้าที่เหมาะสม 


        ด้านการวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุในแนวตั้ง มีนักวิชาการทำการศึกษาวิจัยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสารองค์ประกอบของชาสุกผูเอ่อร์ที่อายุปีไม่เหมือนกัน และการมีฤทธิ์ทางการต้านอนุมูลอิสระ ค้นพบว่า : ตามอายุปีที่มากขึ้น ปริมาณองค์ประกอบของสารทีโพลิฟีนอลส์ กรดอะมิโนอิสระ สารสีแดงชา (Thearubigins) และ สารสีน้ำตาลชา (Theabrownins) ของชาสุกผูเอ่อร์ที่ชงออกมาล้วนปรากฏแนวโน้มที่ลดลง การเปลี่ยนแปลงปริมาณองค์ประกอบของ สารสีเหลืองชา (Theaflavins) จะไม่เด่นชัด ส่วนปริมาณองค์ประกอบของคาแฟอินแสดงการเปลี่ยนแปลงในลักษณะคลื่น


        นี่ก็หมายความว่า ชาสุกผูเอ่อร์หลังผ่านการจัดเก็บมาเป็นแรมปีแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการของสารองค์ประกอบจะมีความสลับซับซ้อน แม้ว่าสารองค์ประกอบของสารทีโพลิฟีนอลส์ กรดอะมิโน สารสีแดงชา ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญแสดงแนวโน้มที่ลดลง แต่ก็ไม่สามารถอ้างอิงตามนี้แล้วสรุปชาสุกผูเอ่อร์ที่อายุปียิ่งมากยิ่งมีความสามารถขจัดอนุมูลอิสระก็ยิ่งอ่อน


        ด้านการวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุในแนวนอน มีนักวิชาการผ่านการทดสอบผลการต้านอนุมูลอิสระของชาแดง ชาเขียวและชาสุกผูเอ่อร์ ผลชี้ชัดว่า : ชาต่างชนิดกันชนิดอนุมูลอิสระไม่เหมือนกันจะมีประสิทธิ์ภาพในการขจัดในระดับที่แตกต่างกัน

        แม้นปริมาณสารองค์ประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระของชาสุกผูเอ่อร์จะน้อยกว่าชาเขียว แต่ชาสุกผูเอ่อร์ก็ยังมีความสามารถขจัดอนุมูลอิสระซุปเปอร์ออกไซด์ได้ค่อนข้างแรง


        การศึกษาวิจัยรายการนี้ยังบอกกล่าวแก่พวกเราว่า ความเข้มจางของน้ำชาก็มีผลกระทบต่อการต้านอนุมูลอิสระ มิใช่ว่าน้ำชายิ่งเข้ม ปริมาณองค์ประกอบของสารทีโพลิฟีนอลส์จะยิ่งสูง แล้วมีความสามารถในการขจัดอนุมูลอิสระจะยิ่งแรง กลับกันทันใดที่ความเข้มข้นน้ำชาสูงกว่าระดับหนึ่ง ไม่เฉพาะความสามารถขจัดอนุมูลอิสระจะลดลงยังช่วยผลักดันการออกซิไดซ์เพิ่มมากขึ้น 


        พูดให้สั้นเข้า ชาสุกผูเอ่อร์เป็นเครื่องดื่มประจำวันที่มากด้วยสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติชนิดต่างๆ มีคุณค่าทางสุขภาพที่เด่นชัดมากและโอกาสทางการบริโภคกว้างขวางมาก

        กล่าวสำหรับพวกเราทุกคนแล้ว สรรพคุณทางต้านอนุมูลอิสระของชาสุกผูเอ่อร์นำมาซึ่งสมดุลทางปรัชญารูปแบบหนึ่ง การขาดสมดุลในชีวิตจริง ทั่วๆไปจะนำพามาซึ่งไม่สมดุลทางสุขภาพของร่างกาย ซึ่งไม่สมดุลทางสุขภาพของร่างกายที่แท้ก็แอบซ่อนอนุมูลอิสระที่ไม่สมดุลไว้


        เป็นความโชคดีก็คือ พวกเรามีชาสุกที่อ่อนโยน ดื่มชาสุกคำหนึ่ง รับรู้ได้ถึงน้ำชาที่หอมเข้มนุ่มหนาไหลลื่นลงลำคอเข้าไปในช่องท้อง นำพามาซี่งความอบอุ่นที่ถูกห่อหุ้มอยู่ในกลิ่นชามาเป็นระลอกๆ แล้วก็ในโลกของจุลกายวิภาคศาสตร์ที่พวกเรายากที่จะสัมผัสได้ ชาสุกคำนี้ที่แท้กำลังช่วยพวกเราขจัดอนุมูลอิสระที่มากเกิน ทำให้ร่างกายพวกเรากลับสู่สมดุล

        ทีละเล็กทีละน้อย พวกเราบางทีจะรู้สึกถึงร่างกายผ่อนคลายขึ้นมา มีความกระปรี้กระเปร่า สิ่งรอบตัวก็น่าเอ็นดูขึ้นมา

        พวกเราก็ยังคงเป็นเทียนเล่มที่เผาไหม้อยู่ตลอดเวลา ในเมื่อเปลวไฟเทียนนี้ท้ายสุดต้องดับมอด งั้นทำไงจึงสามารถทำให้พวกเราเผาไหม้ได้ตราบนานเท่านานและก็มีความกระฉับกระเฉงได้เล่า มันจะเป็นการดีมาเติมชาสุกด้วยกันเถอะ

▲ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระของชาในปริมาณ 300 มล. 
1/ เทียบเท่าไวน์แดงขวดครึ่ง 
2/ เทียบเท่าไวน์ขาว 12 ขวด

▲ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระของชาในปริมาณ 300 มล. 
3/ เทียบเท่าแอปเปิล 4 ลูก  
4/ เทียบเท่าหอมแดงหัวใหญ่ 5 ลูก

▲ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระของชาในปริมาณ 300 มล. 
5/ เทียบเท่าน้ำส้มคั้นสด 7 แก้
6/ เทียบเท่าเบียร์ 12 แก้ว



เอกสารอ้างอิง :

1. “自由基的“平衡哲学”|趣谈普洱熟茶抗氧化功效https://m.ipucha.com/show-25-14642.html