วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568

การชงทนของชาผูเอ่อร์




        “การชงทน” คืออะไร? การชงทนจะเกี่ยวข้องกับอะไร?

        ชาผูเอ่อร์สามารถชงได้ทั้งหมดกี่น้ำ?

        จริงเท็จแค่ไหนที่มีชาสามารถชงได้ถึงสี่ห้าสิบน้ำ?

        ทำไมถึงมีชาต้นโบราณบางตัวเสมือนชงทนไม่สู้ชาไร่?

        การชงทนสามารถเชื่อมโยงกับคุณภาพได้หรือไม่?


        ก่อนอื่น ต้องมาทำความเข้าใจสักนิดกับอะไรคือ “การชงทน

        มันสามารถแยกแยะออกได้ 2 ด้าน :


        1) การชงทนซึ่งขึ้นกับบุคคล (Subjective)


        ที่แท้คืออยู่บนเนื้อหาสาระทางเทคติก

        การปรับเปลี่ยนน้ำ ศิลปะการชงชา ปริมาณใบชาล้วนมีผลกระทบต่อการชงทน อย่างเช่นการใช้น้ำที่มีค่าความเป็นด่างและมีแร่ธาตุมาก การใส่ใบชาในปริมาณมาก การชงด้วยน้ำอุ่นๆ การรินน้ำชาที่ชงออกมาโดยเร็ว ก็จะสามารถชงออกมาได้สามสี่สิบน้ำโดยปริยาย


        2) การชงทนที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง (Objective)


        มันเกี่ยวข้องกับดัชนีชี้วัดเพียงตัวเดียว คือสารที่ชงออกมา

        สารที่ชงออกมายิ่งมาก ชาก็จะยิ่งชงทน ปริมาณทั้งหมดของสารที่ชงออกมาก็จะเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง?


        ๑/ พันธุ์ชา 

        พันธุ์ชาเป็นตัวกำหนดปริมาณองค์ประกอบของสารที่ชงออกมาโดยธรรมชาติ 

        พันธุ์ชาบางชนิดมีสารที่ชงออกมาน้อยมาก อย่างเช่นชาเขียวพันธุ์ใบเล็กที่เหมาะกับการชงด้วยแก้วน้ำทรงสูง สารที่ชงออกมาจะมีเพียงประมาณ 35%

        พันธุ์ชาบางชนิดมีสารที่ชงออกมามาก อย่างเช่นชาใบใหญ่อวิ๋นหนานพันธุ์หม่างสุ่ย (漭水大叶种) สารที่ชงออกมาโดยทั่วไปจะเกินกว่า 50 % นี้ก็จะชงทนมาก 


        ๒/ สภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโต 

        ภาวะที่น้ำปุ๋ยสมบูรณ์ สภาพดินที่มีสารอินทรีย์เป็นจำนวนมาก ต้นชาที่เติบโตเต็มที่ ระหว่างต้นชามีระยะห่างกันมาก ใบชาจะรับการแบ่งปันสารอาหารยิ่งครบบริบูรณ์ ก็คือเพียบพร้อมด้วยสารที่ชงออกมายิ่งมาก 


        ๓/ ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 

        ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลยิ่งสูง อุณหภูมิที่แตกตต่างกันระหว่างกลางคืนและกลางวันยิ่งมาก เกิดผลดีทางด้านการสะสมสารอาหาร

        ขณะเดียวกันที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลที่สูง แรงดันออสโมซิสของต้นไม้ที่ต้องดำรงไว้จะยิ่งสูง ความเข้มข้นของของเหลวในเซลล์ก็จะยิ่งสูง ผลสุดท้ายก็จะสะท้อนอยู่บนสารที่ชงออกมา


        ๔/ กรรมวิธีการผลิต 

        วัตถุดิบภายใต้สภาวะที่เหมือนกัน กรรมวิธีการผลิตก็สามารถมีผลกกระทบต่อการชงทน

        ด้านชาดิบ : ชาที่มีมาตรฐานการผลิตที่การนวดเต็มที่ สามารถรับประกันการละลายออกมาอย่างเต็มที่ของสารที่ชงออกมา แสดงออกถึงกการชงที่ค่อนข้างทน ส่วนชาที่กรรมวิธีการผลิตไม่เต็มที่ อาจเกิดการละลายอย่างช้าๆอันเป็นการแสดงถึงไม่ชงทน

        ด้านชาสุก : การหมักที่เต็มที่ สารที่ชงออกมาจะค่อนข้างสูง การหมักไม่เต็มที่ เกิดการออสซิเดชั่นมากเกินไป ก็จะแสดงออกถึงค่อนข้างจาง

        จากการดูรายงานผลการทดสอบเป็นจำนวนมาก สารที่ชงออกมาของชาดิบต้นโฏบราณโดยทั่วไปจะสูงกว่าชาสุกต้นโบราณ ดังนั้น ชาดิบจะชงทนกว่าชาสุก 


        ๕/ ความชื้น 

        ชาที่เพิ่งอัดขึ้นรูปออกมามีความชื้นสูง ก็จะปรากฏออกมาค่อนข้างจาง เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง ความชื้นลดล่ำลง ก็จะปรากฏออกมาค่อนข้างเข้ม


        ๖/ การเปลี่ยนแปลงในระหว่างการจัดเก็บ

        ชาผูเอ่อร์ในกระบวนการจัดเก็บ การสุกในการหมักภายหลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงแบบไดนามิกของสารที่ชงออกมา แต่ละวงจรของการเปลี่ยนแปลงที่ทับซ้อนกันเป็นชั้นๆ เกิดความผันผวนของสารที่ชงออกมา


        ๗/ ระดับความอ่อนแก่ของวัตถุดิบที่ใช้ 

        สารที่ชงออกมาของวัตถุดิบอ่อนโดยรวมจะมากกว่าหน่อย แต่เนื่องจากละลายออกมาได้เร็ว ปกติการชงน้ำแรกๆจะเข้มข้น น้ำหลังๆก็จะไม่มีรสแล้ว ทำให้เกิดการเข้าใจผิดต่อการชงทน ความจริงสามารถผ่านวิธีการชง โดยการชง2-3น้ำแรกให้รินน้ำชาออกมาให้เร็วก็เพียงพอ

        สารที่ชงออกมาของวัตถุดิบที่เกรดค่อนข้างแก่โดยรวมจะน้อยกว่าหน่อย แต่การละลายจะคงที่ เลยแสดงถึงการชงทน



เอกสารอ้างอิง : 

1.普洱茶的耐泡度http://xhslink.com/a/zutlcTNYJFN4复制本条信息,打开【小红书】App查看精彩内容!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น