ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
ความสุขที่คุณดื่มได้
การชิมดื่มเพื่อให้รับรู้รสชาติของน้ำชาโดยเฉพาะชาผูเอ๋อร์ ต้องอาศัยเทคนิคและศิลปะบ้างพอสมควร ถ้าหากดื่มแบบ"กรอกน้ำ"อย่างดื่มเครื่องดื่มทั่วไปยังไม่ทันได้ลิ้มรสชาติอะไรออกมากลัวจะอิ่มท้องเสียก่อน
กลักการทั่วไป : ค่อยๆดื่มแต่คำเล็ก ให้น้ำชาหมุนเวียนภายในปาก แล้วกลืนลงอย่างช้าๆ เมื่อดื่มน้ำชาเข้าปาก ให้บนและล่างของโพรงปากเปิดมากที่สุดแล้วปิดด้วยริมฝีปาก ฟันบนและล่างแยกออกเพื่อขยายช่องปากให้ใหญ่ขึ้น แล้วผ่อนคลายกล้ามเนื้อภานในโพรงปาก เพื่อให้ลิ้นกับขากรรไกรมีช่องว่างมากขึ้น ให้น้ำชาจุ่มแช่ในเหงือกฟันล่างและใต้ลิ้น กลืนลงไปโดยการหุบโพรงปากให้เล็กลง น้ำชาจะถูกกดดันกลืนลงลำคอ ในขณะที่ทำการหุบโพรงปากให้เล็กลง น้ำชาและอากาศที่อยู่ใต้ลิ้นถูกดันออกมาแล้ว ใต้ลิ้นจะมีความรู้สึกมีฟองแพร่กระจาย เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "เซินจิน(生津 : น้ำลายสอ)"
"ลิ้น" อวัยวะประสาทสัมผัสรสชาติที่ประกอบด้วยตุ่มรับรสมากมาย และแต่ละส่วนจะมีศักยภาพในการรับรสไม่เหมือนกัน ตรงส่วนปลายลิ้นจะกระทบ"รสหวาน(甜味)" สองข้างด้านหน้าของลิ้นจะกระทบ"รสเค็ม(咸味)"หรือวัดระดับความ"นุ่มนวล(醇和)"ของน้ำชาผูเอ๋อร์ สองข้างด้านหลังของลิ้นจะกระทบ"รสเปรี้ยว(酸味)" ตรงส่วนโคนลิ้นจะกระทบ"รสขม(苦味)" ตรงกลางลิ้นจะรับความรู้สึกของ"รสฝาด(涩味)" เนื่องจากแต่ละส่วนของลิ้นรับรสไม่เหมือนกัน ดังนั้น เวลาชิมสิ้มลองรสชาติของน้ำชา เมื่อน้ำชาเข้าปากแล้ว ควรให้น้ำชากระเพื่อมวนเวียน เพื่อให้รสชาติทุกอย่างเกิดการกระทบโดยลิ้น (ความร้อนของน้ำชาที่เหมาะสมต่อการชิมดื่ม โดยทั่วไปประมาณ 50ºC)
ความรู้สึกจากการดื่มน้ำชาเข้าปากเป็นเพียงความรู้สึกฉากหน้า สิ่งสำคัญคือ ความรู้สึกหลังจากดื่มจบ รสขมฝาดมีการละลายหายไปทันทีหรือไม่ หุยกาน(回甘) ความหวานย้อนกลับ(回甜) เซินจิน(生津) และกลิ่นหอมของชาแพร่ขึ้นมาจากลำคอ จะเกิดขึ้นเร็วและนานหรือไม่ โดยทั่วไป ชาดิบผูเอ๋อร์ที่อายุใหม่ๆหรือที่ผ่านพัฒนาการไม่เกิน 30 ปี จะมีรสขมฝาดที่กระตุ้นให้เกิดน้ำลายสอ ต่อมน้ำลายในแก้มสองข้างจะหลั่งน้ำลายออกมามาก(两颊生津) เกิดความรู้สึกเปียกชุ่มบนลิ้นที่เป็นความรู้สึกพิเศษเฉพาะ
น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและเชิงซ้อนที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ที่เกิดจากการแปรเปลี่ยนของสารคาร์โบไฮเดรตในขบวนพัฒนาการ จะมีผลต่อระดับความหนืดข้น(粘稠度)ของน้ำชาและทำให้รู้สึกมีรสหวานย้อนกลับแล้วค้างติดอยู่ในปากอย่างยาวนาน ทำให้ลำคอสุดชื่นดับกระหายน้ำให้มลายไป
"มีชาดีดื่ม ดื่มชาดีเป็น เป็นความสุขที่สดใส"(有好茶喝,会喝好茶,是一种清福) ชาทุกชนิดล้วนมีคุณประโยชน์ทางโภชนาการอาจมากหรือน้อยแล้วแต่คุณสมบัติของชานั้นๆ และชาแทบทุกชนิดต่างก็มีสี กลิ่น รส ที่เป็นลักษณะเฉพาะของตนเองทำให้คนดื่มมีความดื่มด่ำเฉพาะจากชานั้นๆ การดื่มชาถือเป็น"ปัจเจกนิยม" ต่างมีความรู้ ประสบกาณ์ แนวความคิด สภาพแวดล้อม พฤติกรรม ความเชื่อ และรสนิยมไม่เหมือนกัน และทุกวันนี้ชามีหลากหลายมากมายจนจำชื่อไม่หมด ในการเลือกดื่มชา สิ่งสำคัญอย่าดื่มเพราะ"สตอรี่"ของชาหรือพิจารณาจากลักษณะภายนอกอย่างผิวเผิน ดีที่สุดมีการชิมลิ้มลองก่อน ชาที่ถูกปากถูกใจที่สุดก็คือ"ชาดี" อาจจะมีตัวเดียวหรือหลายๆตัวก็ได้ ชาดีตัวนี้ในวันนี้อาจถูกแทนที่ด้วยชาตัวอื่นในวันหน้าก็ได้ สิ่งสำคัญ มีชาดีดื่มและดื่มชาดีเป็น ก็จะมีความสุขทั้งกายและใจ ทำให้การดื่มชาทุกครั้งจะมีคุณค่าที่คุณจะสัมผัส "ความสุขที่คุณดื่มได้" !!
(อ่าน-แปล จากหลายบทความ เรียบเรียง-ย่อ-เขียน ลงบนบทความนี้)
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2557 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
เพื่อเผยแพร่บทความแปลเกี่ยวกับความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ โลกทัศน์ แนวความคิด และความคิดเห็นด้านชาผูเอ๋อร์
วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558
วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของเครื่องหมายการค้า"ชาผูเอ๋อร์"
ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
จุดประสงค์ของการบังคับใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของเครื่องหมายการค้า"ชาผูเอ๋อร์"
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indication : GI) คือ การใช้ชื่อสถานที่ในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งของประเทศสมาชิกประกอบกับสินค้า เพื่อแสดงให้ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้าว่า คุณภาพ ชื่อเสียง หรือลักษณะอื่นของสินค้า มีส่วนสำคัญมาจากแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของสินค้านั้น
GI ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้การคุ้มครองตาม"ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า(Trade-Related Intellectual Property Rights : TRIPS) โดย WTO ร่วมมือกับ WIPO นำหลักการทั่วไปและอนุสัญญาเข้ามาไว้ในความตกลงเดียว
TRIPS ให้ความคุ้มครอง GI ในสองระดับ คือ การคุ้มครอง GI แบบทั่วไป (มาตรา 22) และการคุ้มครอง GI แบบเข้มงวด (มาตรา 23) กล่าวคือ
(1) การคุ้มครอง GI แบบทั่วไป กล่าวถึงวิธีการระบุสินค้าที่มีแหล่งที่มาจากภาคีสมาชิก ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี มีชื่อเสียง หรือลักษณะพิเศษอื่นๆ ที่เป็นลักษณะจำเพาะของแหล่งที่มานั้นๆ โดยประเทศภาคีสมาชิกจะต้องออกกฏหมายเพื่อป้องกันมิให้มีการใช้ชื่อที่มี GI กับสินค้าที่มิได้มีแหล่งในทางภูมิศาสตร์ ณ ที่นั้นจริง เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้บริโภคหลงเชื่อการโฆษณาของสินค้าชนิดนั้น รวมทั้งการกระทำใดๆที่ขัดต่อการค้าเสรีภายใต้ความหมายของมาตรา 10 (ทวิ : การกระทำใดๆที่ก่อให้เกิดความสับสน ทำลายภาพลักษณ์ และชื่อเสียงของสินค้าของคู่แข่ง ทั้งในแง่ของตัวสินค้า กระบวนการทางอุตสาหกรรม หรือกระบวนการทางการค้าของคู่แข่ง) แห่งอนุสัญญากรุงปารีส (Paris Convention) ที่ตราขึ้นในปี 1967 อีกทั้งภาคีสมาชิกจะต้องไม่รับขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้าของสินค้าที่มีการละเมิด GI หากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจะส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ผู้บริโภค
(2) การคุ้มครอง GI แบบเข้มงวด เป็นการคุ้มครองเพิ่มเติม GI สำหรับไวน์และสุราเป็นพิเศษ โดยเพิ่มกฏเกณฑ์นอกเหนือจากการออกกฏหมายเพื่อป้องกันมิให้มีการใช้ชื่อที่มี GI กับสินค้าที่มิได้มีแหล่งในทางภูมิศาสตร์ ณ ที่นั้นจริง ให้รวมถึงการห้ามมิให้ใช้ GI ในคำแปล หรือมีสิ่งแสดงประกอบ เช่น ชนิด ประเภท แบบ และการเลียนแบบ เป็นต้น (เช่น การระบุว่า "ผลิตแบบแชมเปญ" หรือ "ผลิตเลียนแบบแชมเปญ" ซึ่งต้องบอกให้สาธารณชนทราบว่ามิใช่แชมเปญแท้ แต่ผลิตแบบเดียวกับแชมเปญ เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยเช่นกัน)
การบังคับใช้ GI ของเครื่องหมายการค้า"ชาผูเอ๋อร์"
การบังคับใช้ GI ของเครื่องหมายการค้า"ชาผูเอ๋อร์" เป็นพัฒนาการครั้งยิ่งใหญ่ของธุรกิจชาหยินหนาน เป็นการเปิดศักราชใหม่ของธุรกิจชาหยินหนาน มันได้บ่งชี้ถึงธุรกิจชาหยินหนานกำลังพัฒนา ความได้เปรียบทางทรัพยากรธรรมชาติ ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ความได้เปรียบทางมนุษยธรรม ความได้เปรียบทางชนเผ่าพันธุ์ เป็นต้นรวมเข้าด้วยกัน เป็นผลสำเสร็จที่ยิ่งใหญ่จากการคุ้มครองทางทรัพย์สินที่เป็นเอกสิทธิ์ของธุรกิจชาหยินหนาน เป็นหลักสำคัญใหม่ของพัฒนาการธุรกิจชาหยินหนาน
อุตสาหกรรมชาผูเอ๋อร์เป็นอุตสาหกรรมเสาหลักของเขตพื้นที่หยินหนาน ผู้คนทุกวงการในหยินหนานจึงควรที่จะมาปกป้องดั่งเช่นสวนบ้านอันสวยงาม พิทักษ์รักษารากเหง้าที่เป็นความอยู่รอดของชาผูเอ๋อร์ กิจอันเร่งด่วน "ชาผูเอ๋อร์(普洱茶)" เครื่องหมายการค้าที่ขึ้นชื่อของหยินหนานสมควรได้รับการคุ้มครองอย่างที่ควรจะเป็น
ภายใต้รวบรวมพลังการผลักดันหลายๆด้านของสมาคมชาผูเอ๋อร์แห่งหยินหนาน เริ่มตั้งแต่ปี 1999 จากความพยายามอย่างไม่ย่อท้อเป็นระยะเวลา 8 ปี สุดท้ายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "ชาผูเอ๋อร์" สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้สำเร็จ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2007 เป็นปฏิบัติการทางกลยุทธ์ตราสินค้าดังของใบชาหยินหนาน การเข้าสู่นานาประเทศของใบชาหยินหนาน เป็นเครื่องหมายรับประกันที่สำคัญเพื่อการเป็นตราสินค้าที่มีชื่อของนานาชาติ
เพื่อค้นหาเชิงลึกจุดประสงค์ที่สำคัญในการบังคับใช้ GI ของเครื่องหมายการค้า"ชาผูเอ๋อร์" เพื่อเป็นการใช้เครื่องหมายฯนี้อย่างถูกต้อง มีความจำเป็นที่จะต้องมาทำความเข้าใจถึงเครื่องหมายการค้า GI
เครื่องหมายการค้า GI :
1. เป็นสัญลักษณ์เพื่อบ่งชี้แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของสินค้า
GI ทั่วๆไปที่พบมากคือจะใช้"ชื่อสถานที่"มาประกอบ อย่างเช่น "จิ่งเตอะเจิ้น(景德镇)"-(เครื่องปั้นดินเผา) "หลู่อัน(六安)"-(กวาเพี่ยน : ชาเขียวชนิดหนึ่ง) "ต้งถิงซาน(洞庭山)"-(ปิหลอชุน : เป็นชื่อทั่วไปของชาเขียวชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ชื่อสถานที่ที่เป็นเครื่องหมายการค้าอย่าง"ต้งถิงซาน" ดังนั้น ถ้าหยินหนานจะปลูกและผลิตแล้วตั้งชื่อเรียก"เตียนปิหลอชุน"มีสิทธิ์ทำได้ แต่จะไปตั้งชื่อเรียก"ต้งถิงซานปิหลอชุน"ไม่ได้เพราะไปละเมิด GI) เป็นต้น มี่เครื่องหมายการค้าส่วยน้อยที่ใช้ภาพที่มีความหมายสัญลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ เช่น "ชาผูเอ๋อร์"
2. เพื่อบ่งชี้ถึงคุณภาพที่พิเศษเฉพาะ ชื่อเสียง หรือลักษณะอื่นของสินค้า
3. คุณภาพที่พิเศษเฉพาะ ชื่อเสียง หรือลักษณะอื่นของสินค้าที่กำหนดจากปัจจัยทางธรรมชาติหรือปัจจัยทางมนุษยธรรม
ปัจจัยทางธรรมชาติที่สำคัญประกอบด้วย คุณภาพน้ำ พื้นดิน ภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ เป็นต้นที่ต้นชาผูเอ๋อร์เจริญเติบโตขึ้นมา แต่เมื่อพันธุ์ชนิดเดียงกันต้องจากไปจากภูมิศาสตร์และสภาพอากาศที่กำหนดเฉพาะแล้ว คุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยทั่วไปจะแตกต่างกันมาก ปัจจัยทางมนุษยธรรมคือปัจจัยด้านการใช้วัตถุดิบ สูตร วิธีการผลิต ขนบธรรมเนียมทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น คุณภาพหรือลักษณะอื่นของสินค้าบางชนิดกำหนดจากปัจจัยทางธรรมชาติหรือปัจจัยทางมนุษยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่คุณภาพหรือลักษณะอื่นของสินค้าบางชนิดเป็นผลลัพธ์ของปฏิบัติการร่วมทั้งสองของปัจจัยทางธรรมชาติและปัจจัยทางมนุษยธรรม อย่างเช่น ชาผูเอ๋อร์ เครื่องปั้นดินเผาจิ่งเตอะเจิ้น เป็นต้น
จุดประสงค์สำคัญต่ออุตสาหกรรมชาหยินหนานจากการบังคับใช้ GI ของเครื่องหมายการค้าชาผูเอ๋อร์
๑. สามารถคุ้มครองตำแหน่งทางแหล่งต้นกำเนิดชาผูเอ๋อร์---หยินหนานและทางอุตสาหกรรมชาหยินหนาน
๒. สามารถยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชาผูเอ๋อร์และเพิ่มจุดแข็งทางบริหารการจัดการอุตสาหกรรมชาผูเอ๋อร์
๓. เกิดภาพลักษณ์ที่เป็นด้านบวกในใจของผู้บริโภคแล้วพิทักษ์รักษาอุตสาหกรรมชาผูเอ๋อร์
๔. มีผลดีต่อการสร้างตราสินค้าของชาผูเอ๋อร์ที่เป็นชาดังทางประวัติศาสตร์
๕. มีผลดีต่อการเป็นสินค้านานาชาติของชาผูเอ๋อร์
๖. เป็นผลประโยชน์ต่อความมั่นคงแข็งแรงของอุตสาหกรรมชาหยินหนาน แล้วมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและมีแบบแผน
เอกสารอ้างอิง :
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
จุดประสงค์ของการบังคับใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของเครื่องหมายการค้า"ชาผูเอ๋อร์"
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indication : GI) คือ การใช้ชื่อสถานที่ในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งของประเทศสมาชิกประกอบกับสินค้า เพื่อแสดงให้ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้าว่า คุณภาพ ชื่อเสียง หรือลักษณะอื่นของสินค้า มีส่วนสำคัญมาจากแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของสินค้านั้น
GI ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้การคุ้มครองตาม"ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า(Trade-Related Intellectual Property Rights : TRIPS) โดย WTO ร่วมมือกับ WIPO นำหลักการทั่วไปและอนุสัญญาเข้ามาไว้ในความตกลงเดียว
TRIPS ให้ความคุ้มครอง GI ในสองระดับ คือ การคุ้มครอง GI แบบทั่วไป (มาตรา 22) และการคุ้มครอง GI แบบเข้มงวด (มาตรา 23) กล่าวคือ
(1) การคุ้มครอง GI แบบทั่วไป กล่าวถึงวิธีการระบุสินค้าที่มีแหล่งที่มาจากภาคีสมาชิก ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี มีชื่อเสียง หรือลักษณะพิเศษอื่นๆ ที่เป็นลักษณะจำเพาะของแหล่งที่มานั้นๆ โดยประเทศภาคีสมาชิกจะต้องออกกฏหมายเพื่อป้องกันมิให้มีการใช้ชื่อที่มี GI กับสินค้าที่มิได้มีแหล่งในทางภูมิศาสตร์ ณ ที่นั้นจริง เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้บริโภคหลงเชื่อการโฆษณาของสินค้าชนิดนั้น รวมทั้งการกระทำใดๆที่ขัดต่อการค้าเสรีภายใต้ความหมายของมาตรา 10 (ทวิ : การกระทำใดๆที่ก่อให้เกิดความสับสน ทำลายภาพลักษณ์ และชื่อเสียงของสินค้าของคู่แข่ง ทั้งในแง่ของตัวสินค้า กระบวนการทางอุตสาหกรรม หรือกระบวนการทางการค้าของคู่แข่ง) แห่งอนุสัญญากรุงปารีส (Paris Convention) ที่ตราขึ้นในปี 1967 อีกทั้งภาคีสมาชิกจะต้องไม่รับขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้าของสินค้าที่มีการละเมิด GI หากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจะส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ผู้บริโภค
(2) การคุ้มครอง GI แบบเข้มงวด เป็นการคุ้มครองเพิ่มเติม GI สำหรับไวน์และสุราเป็นพิเศษ โดยเพิ่มกฏเกณฑ์นอกเหนือจากการออกกฏหมายเพื่อป้องกันมิให้มีการใช้ชื่อที่มี GI กับสินค้าที่มิได้มีแหล่งในทางภูมิศาสตร์ ณ ที่นั้นจริง ให้รวมถึงการห้ามมิให้ใช้ GI ในคำแปล หรือมีสิ่งแสดงประกอบ เช่น ชนิด ประเภท แบบ และการเลียนแบบ เป็นต้น (เช่น การระบุว่า "ผลิตแบบแชมเปญ" หรือ "ผลิตเลียนแบบแชมเปญ" ซึ่งต้องบอกให้สาธารณชนทราบว่ามิใช่แชมเปญแท้ แต่ผลิตแบบเดียวกับแชมเปญ เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยเช่นกัน)
การบังคับใช้ GI ของเครื่องหมายการค้า"ชาผูเอ๋อร์"
การบังคับใช้ GI ของเครื่องหมายการค้า"ชาผูเอ๋อร์" เป็นพัฒนาการครั้งยิ่งใหญ่ของธุรกิจชาหยินหนาน เป็นการเปิดศักราชใหม่ของธุรกิจชาหยินหนาน มันได้บ่งชี้ถึงธุรกิจชาหยินหนานกำลังพัฒนา ความได้เปรียบทางทรัพยากรธรรมชาติ ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ความได้เปรียบทางมนุษยธรรม ความได้เปรียบทางชนเผ่าพันธุ์ เป็นต้นรวมเข้าด้วยกัน เป็นผลสำเสร็จที่ยิ่งใหญ่จากการคุ้มครองทางทรัพย์สินที่เป็นเอกสิทธิ์ของธุรกิจชาหยินหนาน เป็นหลักสำคัญใหม่ของพัฒนาการธุรกิจชาหยินหนาน
อุตสาหกรรมชาผูเอ๋อร์เป็นอุตสาหกรรมเสาหลักของเขตพื้นที่หยินหนาน ผู้คนทุกวงการในหยินหนานจึงควรที่จะมาปกป้องดั่งเช่นสวนบ้านอันสวยงาม พิทักษ์รักษารากเหง้าที่เป็นความอยู่รอดของชาผูเอ๋อร์ กิจอันเร่งด่วน "ชาผูเอ๋อร์(普洱茶)" เครื่องหมายการค้าที่ขึ้นชื่อของหยินหนานสมควรได้รับการคุ้มครองอย่างที่ควรจะเป็น
ภายใต้รวบรวมพลังการผลักดันหลายๆด้านของสมาคมชาผูเอ๋อร์แห่งหยินหนาน เริ่มตั้งแต่ปี 1999 จากความพยายามอย่างไม่ย่อท้อเป็นระยะเวลา 8 ปี สุดท้ายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "ชาผูเอ๋อร์" สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้สำเร็จ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2007 เป็นปฏิบัติการทางกลยุทธ์ตราสินค้าดังของใบชาหยินหนาน การเข้าสู่นานาประเทศของใบชาหยินหนาน เป็นเครื่องหมายรับประกันที่สำคัญเพื่อการเป็นตราสินค้าที่มีชื่อของนานาชาติ
เพื่อค้นหาเชิงลึกจุดประสงค์ที่สำคัญในการบังคับใช้ GI ของเครื่องหมายการค้า"ชาผูเอ๋อร์" เพื่อเป็นการใช้เครื่องหมายฯนี้อย่างถูกต้อง มีความจำเป็นที่จะต้องมาทำความเข้าใจถึงเครื่องหมายการค้า GI
เครื่องหมายการค้า GI :
1. เป็นสัญลักษณ์เพื่อบ่งชี้แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของสินค้า
GI ทั่วๆไปที่พบมากคือจะใช้"ชื่อสถานที่"มาประกอบ อย่างเช่น "จิ่งเตอะเจิ้น(景德镇)"-(เครื่องปั้นดินเผา) "หลู่อัน(六安)"-(กวาเพี่ยน : ชาเขียวชนิดหนึ่ง) "ต้งถิงซาน(洞庭山)"-(ปิหลอชุน : เป็นชื่อทั่วไปของชาเขียวชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ชื่อสถานที่ที่เป็นเครื่องหมายการค้าอย่าง"ต้งถิงซาน" ดังนั้น ถ้าหยินหนานจะปลูกและผลิตแล้วตั้งชื่อเรียก"เตียนปิหลอชุน"มีสิทธิ์ทำได้ แต่จะไปตั้งชื่อเรียก"ต้งถิงซานปิหลอชุน"ไม่ได้เพราะไปละเมิด GI) เป็นต้น มี่เครื่องหมายการค้าส่วยน้อยที่ใช้ภาพที่มีความหมายสัญลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ เช่น "ชาผูเอ๋อร์"
2. เพื่อบ่งชี้ถึงคุณภาพที่พิเศษเฉพาะ ชื่อเสียง หรือลักษณะอื่นของสินค้า
3. คุณภาพที่พิเศษเฉพาะ ชื่อเสียง หรือลักษณะอื่นของสินค้าที่กำหนดจากปัจจัยทางธรรมชาติหรือปัจจัยทางมนุษยธรรม
ปัจจัยทางธรรมชาติที่สำคัญประกอบด้วย คุณภาพน้ำ พื้นดิน ภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ เป็นต้นที่ต้นชาผูเอ๋อร์เจริญเติบโตขึ้นมา แต่เมื่อพันธุ์ชนิดเดียงกันต้องจากไปจากภูมิศาสตร์และสภาพอากาศที่กำหนดเฉพาะแล้ว คุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยทั่วไปจะแตกต่างกันมาก ปัจจัยทางมนุษยธรรมคือปัจจัยด้านการใช้วัตถุดิบ สูตร วิธีการผลิต ขนบธรรมเนียมทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น คุณภาพหรือลักษณะอื่นของสินค้าบางชนิดกำหนดจากปัจจัยทางธรรมชาติหรือปัจจัยทางมนุษยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่คุณภาพหรือลักษณะอื่นของสินค้าบางชนิดเป็นผลลัพธ์ของปฏิบัติการร่วมทั้งสองของปัจจัยทางธรรมชาติและปัจจัยทางมนุษยธรรม อย่างเช่น ชาผูเอ๋อร์ เครื่องปั้นดินเผาจิ่งเตอะเจิ้น เป็นต้น
จุดประสงค์สำคัญต่ออุตสาหกรรมชาหยินหนานจากการบังคับใช้ GI ของเครื่องหมายการค้าชาผูเอ๋อร์
๑. สามารถคุ้มครองตำแหน่งทางแหล่งต้นกำเนิดชาผูเอ๋อร์---หยินหนานและทางอุตสาหกรรมชาหยินหนาน
๒. สามารถยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชาผูเอ๋อร์และเพิ่มจุดแข็งทางบริหารการจัดการอุตสาหกรรมชาผูเอ๋อร์
๓. เกิดภาพลักษณ์ที่เป็นด้านบวกในใจของผู้บริโภคแล้วพิทักษ์รักษาอุตสาหกรรมชาผูเอ๋อร์
๔. มีผลดีต่อการสร้างตราสินค้าของชาผูเอ๋อร์ที่เป็นชาดังทางประวัติศาสตร์
๕. มีผลดีต่อการเป็นสินค้านานาชาติของชาผูเอ๋อร์
๖. เป็นผลประโยชน์ต่อความมั่นคงแข็งแรงของอุตสาหกรรมชาหยินหนาน แล้วมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและมีแบบแผน
เอกสารอ้างอิง :
- 对启用 "普洱茶" 地理标志证明商标意义的探讨 : 周红杰 , 张春花 , 单治国
- Geographical Indication : ศิรยา เลาหเพียงศักดิ์
- GI สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ : อังคณา สุวรรณกุฏ
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
คำนิยามของ"ชาผูเอ๋อร์"ที่เป็นทางการ
ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
คำนิยามของ"ชาผูเอ๋อร์"ที่เป็นทางการ
ตามมาตรฐานแห่งชาติของประเทศจีน《GB/T 22111-2008 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์》 ได้จำกัดความหรือนิยามชาผูเอ๋อร์ว่า :
"ชาผูเอ๋อร์เป็นผลิตภัณฑ์ที่บ่งบอกทางภูมิศาสตร์ที่มีเฉพาะในหยินหนาน วัตถุดิบเป็นใบชาพันธุ์ใบใหญ่ตากเขียวของหยินหนานที่สอดคล้องกับสภาวะสภาพแวดล้อมของพื้นที่ผลิตชาผูเอ๋อร์ ทำการผลิตตามวิธีการที่กำหนดเฉพาะ เป็นใบชาที่มีคุณภาพลักษณะพิเศษเฉพาะ ชาผูเอ๋อร์แบ่งออกเป็น ชาผูเอ๋อร์(ชาดิบ) ชาผูเอ๋อร์(ชาสุก) สองกลุ่มใหญ่........"
จากคำนิยามอย่างเป็นทางการดังกล่าวข้างต้น แน่นอน มีจุดประสงค์หนึ่งและเป็นจุดประสงค์ข้อแรกเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมชาของหยินหนานที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดของชาผูเอ๋อร์ แต่ทำให้เกิดข้อโต้แย้งมากมายในวงการชาผุเอ๋อร์ โดยเฉพาะแนวความคิด 2 ด้าน :
1. มณฑลหยินหนาน
แน่นอน หยินหนานถือเป็นแหล่งที่ผลิตชาผูเอ๋อร์ที่ดีที่สุด แต่จากตั้งแต่อดีตกาลมีชาผูเอ๋อร์ที่ใช้วัตถุดิบและผลิตนอกเขตหยินหนานมากมาย แม้ปัจจุบันยังดำรงอยู่ เมื่อนิยามว่าชาผูเอ๋อร์จะต้องใช้วัตถุดิบเฉพาะในหยินหนานเท่านั้นผลิตเป็นชาผูเอ๋อร์ ดังนั้น ชาผูเอ๋อร์นอกเขตหยินหนาน และชาผูเอ๋อร์แนวเขตชายแดน จะจัดชาเหล่านี้ไปไว้ที่ไหน?
2. ใบชาพันธุ์ใบใหญ่
ใบชาพันธุ์ใบใหญ่ประกอบด้วยสารประกอบอุดมสมบูรณ์ เข้มข้น ถือเป็นวัตถุดิบชั้นดีของผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์ ถ้าหากกำหนดใช้เพียงใบชาพันธุ์ใบใหญ่เท่านั้นผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์ แล้วใบชาพันธุ์ใบเล็กที่เคยนำมาผลิตชาผูเอ๋อร์แล้วถวายเข้าพระราชวังสมัยราชวงค์ชิง และเป็นชาที่มีชื่อในโพ้นทะเล ปัจจุบัน ยังมีเขตพื้นที่ชาบางส่่วนในหยินหนานที่ยังมีใบชาพันธุ์ใบเล็กและใช้ผลิตชาผูเอ๋อร์อยู่ แล้วผลิตภัณฑ์ชาที่ผลิตจากใบชาพันธุ์ใบเล็กถือเป็นชาผูเอ๋อร์หรือไม่?
เพื่อเป็นข้อมูลย่อๆอีกด้านที่ให้ผู้สนใจศึกษาพิจารณา ถ้าอยากศึกษาฉบับเต็ม《GB/T 22111-2008 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์》(ฉบับภาษาจีน)คลิกเข้าไปใน : http://blog.sina.cn/dpool/blog/s/blog_a226da480100ygh8.html
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
คำนิยามของ"ชาผูเอ๋อร์"ที่เป็นทางการ
ตามมาตรฐานแห่งชาติของประเทศจีน《GB/T 22111-2008 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์》 ได้จำกัดความหรือนิยามชาผูเอ๋อร์ว่า :
"ชาผูเอ๋อร์เป็นผลิตภัณฑ์ที่บ่งบอกทางภูมิศาสตร์ที่มีเฉพาะในหยินหนาน วัตถุดิบเป็นใบชาพันธุ์ใบใหญ่ตากเขียวของหยินหนานที่สอดคล้องกับสภาวะสภาพแวดล้อมของพื้นที่ผลิตชาผูเอ๋อร์ ทำการผลิตตามวิธีการที่กำหนดเฉพาะ เป็นใบชาที่มีคุณภาพลักษณะพิเศษเฉพาะ ชาผูเอ๋อร์แบ่งออกเป็น ชาผูเอ๋อร์(ชาดิบ) ชาผูเอ๋อร์(ชาสุก) สองกลุ่มใหญ่........"
จากคำนิยามอย่างเป็นทางการดังกล่าวข้างต้น แน่นอน มีจุดประสงค์หนึ่งและเป็นจุดประสงค์ข้อแรกเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมชาของหยินหนานที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดของชาผูเอ๋อร์ แต่ทำให้เกิดข้อโต้แย้งมากมายในวงการชาผุเอ๋อร์ โดยเฉพาะแนวความคิด 2 ด้าน :
1. มณฑลหยินหนาน
แน่นอน หยินหนานถือเป็นแหล่งที่ผลิตชาผูเอ๋อร์ที่ดีที่สุด แต่จากตั้งแต่อดีตกาลมีชาผูเอ๋อร์ที่ใช้วัตถุดิบและผลิตนอกเขตหยินหนานมากมาย แม้ปัจจุบันยังดำรงอยู่ เมื่อนิยามว่าชาผูเอ๋อร์จะต้องใช้วัตถุดิบเฉพาะในหยินหนานเท่านั้นผลิตเป็นชาผูเอ๋อร์ ดังนั้น ชาผูเอ๋อร์นอกเขตหยินหนาน และชาผูเอ๋อร์แนวเขตชายแดน จะจัดชาเหล่านี้ไปไว้ที่ไหน?
2. ใบชาพันธุ์ใบใหญ่
ใบชาพันธุ์ใบใหญ่ประกอบด้วยสารประกอบอุดมสมบูรณ์ เข้มข้น ถือเป็นวัตถุดิบชั้นดีของผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์ ถ้าหากกำหนดใช้เพียงใบชาพันธุ์ใบใหญ่เท่านั้นผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์ แล้วใบชาพันธุ์ใบเล็กที่เคยนำมาผลิตชาผูเอ๋อร์แล้วถวายเข้าพระราชวังสมัยราชวงค์ชิง และเป็นชาที่มีชื่อในโพ้นทะเล ปัจจุบัน ยังมีเขตพื้นที่ชาบางส่่วนในหยินหนานที่ยังมีใบชาพันธุ์ใบเล็กและใช้ผลิตชาผูเอ๋อร์อยู่ แล้วผลิตภัณฑ์ชาที่ผลิตจากใบชาพันธุ์ใบเล็กถือเป็นชาผูเอ๋อร์หรือไม่?
เพื่อเป็นข้อมูลย่อๆอีกด้านที่ให้ผู้สนใจศึกษาพิจารณา ถ้าอยากศึกษาฉบับเต็ม《GB/T 22111-2008 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์》(ฉบับภาษาจีน)คลิกเข้าไปใน : http://blog.sina.cn/dpool/blog/s/blog_a226da480100ygh8.html
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ปั้นชาและชา (ร้านชาทีดี): วิธีการชงชาผูเอ่อร์ที่นิยม
ปั้นชาและชา (ร้านชาทีดี): วิธีการชงชาผูเอ่อร์ที่นิยม
http://teadezhang.blogspot.com/2011/10/blog-post.html?m=1
หมายเหตุ : เป็นบทความที่ Khun Zhang โพสต์เมื่อ 19 ตุลาคม 2554 เผยแพร่ลงในบล็อค teadezhang
http://teadezhang.blogspot.com/2011/10/blog-post.html?m=1
หมายเหตุ : เป็นบทความที่ Khun Zhang โพสต์เมื่อ 19 ตุลาคม 2554 เผยแพร่ลงในบล็อค teadezhang
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์
ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
ความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์
韵(yun : หยิ้น) มาจากการประสมของ 音(yin : ยิน) + 匀(yun : หยิน) เดิมหมายถึง เสียงต่างๆที่แตกต่างกันมาประสานเสียงทับซ้อนกลมกลืนกัน ฟังแล้วไพเราะเสนาะหู ทำให้เกิดความรู้สึกที่เป็นระดับขั้นของการฟัง เบิกบานฤทัย ต่อมานำความหมายมาขยาย หมายถึง ภาวะอารมณ์สุนทรียภาพที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของอวัยวะประสาทสัมผัสจากการรับรู้ได้
ความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์(普洱茶之韵) คือ ความรู้สึกที่พิเศษเฉพาะที่รับรู้สัมผัสได้จากการชิมดื่มชาผูเอ๋อร์ เป็นน้ำชาที่คุณภาพดี สีสดใสที่ยั่วหยวน กลิ่นหอมที่รัญจวน รสชาติที่กลมกล่อม ความรู้สึกของรสชาติ(口感)แบบ "ขมสิ้นหวานตาม(苦尽甘来)" "ฝาดแล้วน้ำลายสอ(涩而生津)" เกิดความดื่มด่ำที่ลำคอ(喉韵) คือ ความรู้สึกชุ่มชื่นลื่นคอ แล้วลึกลงไปชุ่มฉ่ำอุรา มิติทั้งหมดนี้ก็เหมือนเสียงเครื่องดนตรีต่างๆมาประสานเป็นท่วงทำนองที่เสนาะไพเราะ ก่อให่เกิดความรู้สึกทางร่างกาย(体感)ที่ รื่นรมย์ เบิกบาน ผ่อนคลาย ยิ่งถ้าหากได้ชิมดื่มน้ำชาผูเอ๋อร์ที่คุณภาพระดับชั้นดี ประกอบกับผู้ชิมดื่มมีสภาพร่างกายที่มีความอ่อนไหวตอบสนองต่อความรู้สึกไว จะเกิดความดื่มด่ำแห่งพลัง(气韵) คือ มีความรู้สึกของพลัง(气感)ไหลเวียนอยู่ภายในร่างกาย แล้วขับเคลื่อนให้เหงื่อค่อยๆซึมออกมาจากรูขุมขนที่ผิวหนัง ดังนั้น การได้ชิมดื่มชาผูเอ๋อร์ที่มีความดื่มด่ำซึ่งเป็นสิ่งที่ถวิลหา จะทำให้เกิดการระลึกถึง(回味)อย่างมิรู้ลืม แล้วโหยหาดื่มแล้วจะดื่มอีก...จนวางจอกไม่ลง !!!
ความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์เป็นภาวะการณ์ที่รวมเอา ความรู้สึกของรสชาติ ความรู้สึกของร่างกาย ความรู้สึกของพลัง ผสานกันก่อให้เกิดความรู้สึก 3 มิติ เป็นความรู้สึกที่พิเศษเฉพาะที่ยากจะพรรณา แต่ถ้าจะให้อธิบายก็คงใกล้เคียงกับทำนองของ《บทเพลงชา 7 ถ้วย》 ที่หลูถง(卢仝)ได้เขียนบทกลอนท่อนนี้เมื่อประมาณ 1200 ปีมาแล้ว...
หมายเหตุ : โดยประมาณครึ่งปีที่ผ่านมา ได้แปลแล้วเขียนเรื่องเกี่ยวกับชาผูเอ๋อร์หลายๆบทความ โพสต์ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย(ต้องขอขอบคุณสมาคมฯที่ให้ใช้พื้นที่เพจนี้ ณ โอกาสนี้ด้วย) ด้วยข้อจำกัดของความรู้ด้านภาษาจีนและความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ทำให้บทความมีเนื้อหาอาจไม่สมบูรณ์และมีข้อผิดพลาดมากมาย อันอาจเกิดจากเนื้อหาผิดพลาดจากบทความต้นฉบับ สิ่งสำคัญเกิดจากเนื่องจากผู้แปลเองเริ่มจากมีประสบการณ์ด้านชาผูเอ๋อร์น้อยมาก ซึ่งเพิ่งเริ่มศึกษาเรียนรู้ก็ประมาณครึ่งปีนี้เอง แล้วแปลเขียนตามความเข้าใจและสนใจของตนเอง อาจมีความเข้าใจผิดจากจับแพะชนแกะโดยการอ่านแปลจากหลายๆบทความ แล้วเรียบเรียงเขียนย่อลงในบทความเดียวเพื่อการเชื่อมโยงเนื้อหาเป็นระบบมากขึ้น ต้องขอให้ผู้สนใจอ่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วย และมีความยินดีมากรับการติชมและข้อเสนอแนะหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติม จุดประสงค์ก็เพื่อเป็นแหล่งความรู้หรือข้อมูลที่แบ่งปัน และขอเป็นฟันเฟืองหนึ่งทีร่วมด้วยช่วยกันขับเคลื่อนให้วงการชาผูเอ๋อร์ของเมืองไทยพัฒนายิ่งๆขึ้น เหมือนกับชาผูเอ๋อร์ที่ต้องมีขบวนพัฒนาการตามกาลเวลา
ท้ายนี้...ก่อนอื่นขอ Merry Christmas ครับ แสดงว่า ชาผูเอ๋อร์ที่ถือเป็นสิ่งมีชีวิตก็จะก้าวข้ามอีกปี เช่นเดียวกับชีวิตคนเราก็จะก้าวเข้าสู่ปีใหม่ ชาผูเอ๋อร์จะไม่หยุดพัฒนาการเพื่อให้คุณภาพชาดียิ่งขึ้นไปในปีใหม่ที่จะถึงนี้ ในเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่อันใกล้นี้ ขอให้มิตรรักนักชิมดื่มชาผูเอ๋อร์มีสุขภาพกายแข็งแรงจากสรรพคุณของชาผูเอ๋อร์ มีสุขภาพจิตแจ่มใสจากความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์ และขอให้มีความสุขทั้งกายและใจจากการดื่มชาผูเอ๋อร์ตลอดไป...
(อ่าน-แปล จากหลายบทความ เรียบเรียง-ย่อ-เขียน ลงบนบทความนี้)
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2557 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
ความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์
韵(yun : หยิ้น) มาจากการประสมของ 音(yin : ยิน) + 匀(yun : หยิน) เดิมหมายถึง เสียงต่างๆที่แตกต่างกันมาประสานเสียงทับซ้อนกลมกลืนกัน ฟังแล้วไพเราะเสนาะหู ทำให้เกิดความรู้สึกที่เป็นระดับขั้นของการฟัง เบิกบานฤทัย ต่อมานำความหมายมาขยาย หมายถึง ภาวะอารมณ์สุนทรียภาพที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของอวัยวะประสาทสัมผัสจากการรับรู้ได้
ความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์(普洱茶之韵) คือ ความรู้สึกที่พิเศษเฉพาะที่รับรู้สัมผัสได้จากการชิมดื่มชาผูเอ๋อร์ เป็นน้ำชาที่คุณภาพดี สีสดใสที่ยั่วหยวน กลิ่นหอมที่รัญจวน รสชาติที่กลมกล่อม ความรู้สึกของรสชาติ(口感)แบบ "ขมสิ้นหวานตาม(苦尽甘来)" "ฝาดแล้วน้ำลายสอ(涩而生津)" เกิดความดื่มด่ำที่ลำคอ(喉韵) คือ ความรู้สึกชุ่มชื่นลื่นคอ แล้วลึกลงไปชุ่มฉ่ำอุรา มิติทั้งหมดนี้ก็เหมือนเสียงเครื่องดนตรีต่างๆมาประสานเป็นท่วงทำนองที่เสนาะไพเราะ ก่อให่เกิดความรู้สึกทางร่างกาย(体感)ที่ รื่นรมย์ เบิกบาน ผ่อนคลาย ยิ่งถ้าหากได้ชิมดื่มน้ำชาผูเอ๋อร์ที่คุณภาพระดับชั้นดี ประกอบกับผู้ชิมดื่มมีสภาพร่างกายที่มีความอ่อนไหวตอบสนองต่อความรู้สึกไว จะเกิดความดื่มด่ำแห่งพลัง(气韵) คือ มีความรู้สึกของพลัง(气感)ไหลเวียนอยู่ภายในร่างกาย แล้วขับเคลื่อนให้เหงื่อค่อยๆซึมออกมาจากรูขุมขนที่ผิวหนัง ดังนั้น การได้ชิมดื่มชาผูเอ๋อร์ที่มีความดื่มด่ำซึ่งเป็นสิ่งที่ถวิลหา จะทำให้เกิดการระลึกถึง(回味)อย่างมิรู้ลืม แล้วโหยหาดื่มแล้วจะดื่มอีก...จนวางจอกไม่ลง !!!
ความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์เป็นภาวะการณ์ที่รวมเอา ความรู้สึกของรสชาติ ความรู้สึกของร่างกาย ความรู้สึกของพลัง ผสานกันก่อให้เกิดความรู้สึก 3 มิติ เป็นความรู้สึกที่พิเศษเฉพาะที่ยากจะพรรณา แต่ถ้าจะให้อธิบายก็คงใกล้เคียงกับทำนองของ《บทเพลงชา 7 ถ้วย》 ที่หลูถง(卢仝)ได้เขียนบทกลอนท่อนนี้เมื่อประมาณ 1200 ปีมาแล้ว...
หมายเหตุ : โดยประมาณครึ่งปีที่ผ่านมา ได้แปลแล้วเขียนเรื่องเกี่ยวกับชาผูเอ๋อร์หลายๆบทความ โพสต์ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย(ต้องขอขอบคุณสมาคมฯที่ให้ใช้พื้นที่เพจนี้ ณ โอกาสนี้ด้วย) ด้วยข้อจำกัดของความรู้ด้านภาษาจีนและความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ทำให้บทความมีเนื้อหาอาจไม่สมบูรณ์และมีข้อผิดพลาดมากมาย อันอาจเกิดจากเนื้อหาผิดพลาดจากบทความต้นฉบับ สิ่งสำคัญเกิดจากเนื่องจากผู้แปลเองเริ่มจากมีประสบการณ์ด้านชาผูเอ๋อร์น้อยมาก ซึ่งเพิ่งเริ่มศึกษาเรียนรู้ก็ประมาณครึ่งปีนี้เอง แล้วแปลเขียนตามความเข้าใจและสนใจของตนเอง อาจมีความเข้าใจผิดจากจับแพะชนแกะโดยการอ่านแปลจากหลายๆบทความ แล้วเรียบเรียงเขียนย่อลงในบทความเดียวเพื่อการเชื่อมโยงเนื้อหาเป็นระบบมากขึ้น ต้องขอให้ผู้สนใจอ่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วย และมีความยินดีมากรับการติชมและข้อเสนอแนะหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติม จุดประสงค์ก็เพื่อเป็นแหล่งความรู้หรือข้อมูลที่แบ่งปัน และขอเป็นฟันเฟืองหนึ่งทีร่วมด้วยช่วยกันขับเคลื่อนให้วงการชาผูเอ๋อร์ของเมืองไทยพัฒนายิ่งๆขึ้น เหมือนกับชาผูเอ๋อร์ที่ต้องมีขบวนพัฒนาการตามกาลเวลา
ท้ายนี้...ก่อนอื่นขอ Merry Christmas ครับ แสดงว่า ชาผูเอ๋อร์ที่ถือเป็นสิ่งมีชีวิตก็จะก้าวข้ามอีกปี เช่นเดียวกับชีวิตคนเราก็จะก้าวเข้าสู่ปีใหม่ ชาผูเอ๋อร์จะไม่หยุดพัฒนาการเพื่อให้คุณภาพชาดียิ่งขึ้นไปในปีใหม่ที่จะถึงนี้ ในเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่อันใกล้นี้ ขอให้มิตรรักนักชิมดื่มชาผูเอ๋อร์มีสุขภาพกายแข็งแรงจากสรรพคุณของชาผูเอ๋อร์ มีสุขภาพจิตแจ่มใสจากความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์ และขอให้มีความสุขทั้งกายและใจจากการดื่มชาผูเอ๋อร์ตลอดไป...
(อ่าน-แปล จากหลายบทความ เรียบเรียง-ย่อ-เขียน ลงบนบทความนี้)
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2557 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558
《บทเพลงชา 7 ถ้วย》
ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
《บทเพลงชา 7 ถ้วย》
ในกระบวนการชิมดื่มชา ประสาทสัมผัสทั้ง 5 : การได้ยิน การเห็น การได้กลิ่น การรับรส การรู้สึก โดยผ่านอวัยวะ หู ตา จมูก ลิ้น ร่างกาย ที่รับรู้ความรู้สึกของเสียง สี กลิ่น รส และสัมผัส แล้วส่งผลผ่านไปที่จิตใจ ก่อให้เกิดความรู้สึกรื่นรมย์ เพริศพริ้ง ตกอยู่ในภาวะการณ์เพ้อฝันและมโนภาพ นี้ก็คือ ความดื่มด่ำของชา
ความดื่มด่ำของชาเป็นความรู้สึกที่เมื่อได้กระทบรสที่พิเศษเฉพาะ เป็นรสเหนือรสชาติของชา เป็นความรู้สึกที่ยากจะอธิบายออกมาได้ แต่มันเป็นภาวะการณ์ที่ดำรงอยู่จริง ถ้าจะหาตัวหนังสือที่มีการเขียนบันทึกไว้เพื่อพรรณาถึงความดื่มด่ำของชา แม้จะเป็นความรู้สึกเชิงแคบ เช่น《บทเพลงชา 7 ถ้วย》ของ หลูถง(盧仝 : คศ. 795-835) นักกวียุคสมัยราชวงค์ถัง ได้เขียนบทกลอนท่อนหนึ่งว่า :
《七碗茶歌》
一碗喉吻潤
二碗破孤悶
三碗搜枯腸 , 惟有文字五千卷
四碗發輕汗 , 生平不生事 , 盡向毛孔散
五碗肌骨清
六碗通仙靈
七碗吃不得也 , 唯覺兩腋習習清風生 .
《บทเพลงชา 7 ถ้วย》
ความดื่มด่ำของชาเป็นสิ่งอัศจรรย์แต่ไม่เร้นลับ รู้สึกสัมผัสได้แต่จะแตกต่างกันของแต่ละบุคคล ชาทุกชนิดต่างมีความดื่มด่ำของชาที่เฉพาะของตนเอง แต่อย่าลืมก่อนอื่นต้องเป็นชาดีจึงจะมีความดื่มด่ำได้ ชาผูเอ๋อร์ถือเป็นตัวแทนทางศิลปะและวัฒนธรรมของชาจีนได้ดีที่สุด เพราะเป็นชาที่มีความลึกลับซับซ้อนมากกว่าชาชนิดอื่นๆ เป็นชาที่มีชีวิตตามวิถีกาลเวลา
การชิมดื่มชาไม่เฉพาะเพียงเพื่อกลิ่นหอมและรสชาติเข้มข้นของชา แต่เพื่อค้นหาความดื่มด่ำของชาที่เลี่ยมฝังอยู่ในชีวิตแล้ว ความดื่มด่ำของชาก็คือมนุษย์และธรรมชาติได้หลอมรวมเป็นหนึ่งโดยธรรมชาติ(天人合一)...
(อ่าน-แปล จากหลายบทความ เรียบเรียง-ย่อ-เขียน ลงบนบทความนี้)
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2557 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
《บทเพลงชา 7 ถ้วย》
ในกระบวนการชิมดื่มชา ประสาทสัมผัสทั้ง 5 : การได้ยิน การเห็น การได้กลิ่น การรับรส การรู้สึก โดยผ่านอวัยวะ หู ตา จมูก ลิ้น ร่างกาย ที่รับรู้ความรู้สึกของเสียง สี กลิ่น รส และสัมผัส แล้วส่งผลผ่านไปที่จิตใจ ก่อให้เกิดความรู้สึกรื่นรมย์ เพริศพริ้ง ตกอยู่ในภาวะการณ์เพ้อฝันและมโนภาพ นี้ก็คือ ความดื่มด่ำของชา
ความดื่มด่ำของชาเป็นความรู้สึกที่เมื่อได้กระทบรสที่พิเศษเฉพาะ เป็นรสเหนือรสชาติของชา เป็นความรู้สึกที่ยากจะอธิบายออกมาได้ แต่มันเป็นภาวะการณ์ที่ดำรงอยู่จริง ถ้าจะหาตัวหนังสือที่มีการเขียนบันทึกไว้เพื่อพรรณาถึงความดื่มด่ำของชา แม้จะเป็นความรู้สึกเชิงแคบ เช่น《บทเพลงชา 7 ถ้วย》ของ หลูถง(盧仝 : คศ. 795-835) นักกวียุคสมัยราชวงค์ถัง ได้เขียนบทกลอนท่อนหนึ่งว่า :
《七碗茶歌》
一碗喉吻潤
二碗破孤悶
三碗搜枯腸 , 惟有文字五千卷
四碗發輕汗 , 生平不生事 , 盡向毛孔散
五碗肌骨清
六碗通仙靈
七碗吃不得也 , 唯覺兩腋習習清風生 .
《บทเพลงชา 7 ถ้วย》
- ชาถ้วยแรก รู้สึกชุ่มปากลื่นคอ ความกระหายน้ำมลายไป
- ชาถ้วยที่สอง เมื่อตกถึงท้อง ความเหงาหงอยก็สิ้นสุดลง
- ชาถ้วยที่สาม สติปัญญาเพิ่มทวี เต็มไปด้วยตัวหนังสือที่จะร้อยกรองเป็นบทกวี
- ชาถ้วยที่สี่ ร่างกายจะค่อยๆขับเหงื่อซึมออกมา ความโศกเศร้าที่ประสบมาก็ถูกขับออกตาม
- ชาถ้วยที่ห้า เต็มไปด้วยความรู้สึก สดชื่น...สบาย...ผ่อนคลาย
- ชาถ้วยที่หก เสมือนได้ขึ้นไปอยู่ในวิมานสุขาวดี
- ชาถ้วยที่เจ็ด รู้สึกได้ใต้รักแร้ทั้งสองมีลมปลิวไหวๆพยุงปีกลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า...
ความดื่มด่ำของชาเป็นสิ่งอัศจรรย์แต่ไม่เร้นลับ รู้สึกสัมผัสได้แต่จะแตกต่างกันของแต่ละบุคคล ชาทุกชนิดต่างมีความดื่มด่ำของชาที่เฉพาะของตนเอง แต่อย่าลืมก่อนอื่นต้องเป็นชาดีจึงจะมีความดื่มด่ำได้ ชาผูเอ๋อร์ถือเป็นตัวแทนทางศิลปะและวัฒนธรรมของชาจีนได้ดีที่สุด เพราะเป็นชาที่มีความลึกลับซับซ้อนมากกว่าชาชนิดอื่นๆ เป็นชาที่มีชีวิตตามวิถีกาลเวลา
การชิมดื่มชาไม่เฉพาะเพียงเพื่อกลิ่นหอมและรสชาติเข้มข้นของชา แต่เพื่อค้นหาความดื่มด่ำของชาที่เลี่ยมฝังอยู่ในชีวิตแล้ว ความดื่มด่ำของชาก็คือมนุษย์และธรรมชาติได้หลอมรวมเป็นหนึ่งโดยธรรมชาติ(天人合一)...
(อ่าน-แปล จากหลายบทความ เรียบเรียง-ย่อ-เขียน ลงบนบทความนี้)
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2557 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์-จุดกำเนิดของรสชาติพิเศษเฉพาะ
ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
ความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์-จุดกำเนิดของรสชาติพิเศษเฉพาะ
ความดื่มด่ำ(韵)เหมือนดั่ง สตรี จริตจะก้าน รสชาติ ความรู้สึก ความงดงามของรูปโฉม หลอมรวมอยู่ในร่างคนเดียว เป็นความรู้สึกที่ดีเลิศหาที่เปรียบมิได้
ความดื่มด่ำของชาผู่เอ๋อร์(普洱茶之韵)
รสแห่งความดื่มด่ำ(韵味)เป็นความรู้สึกชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างเลื่อนลอย ความเข้าใจของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน แต่มีดำรงอยู่จริง
โค้วตาน(寇丹)ในหนังสือ《หลักการความดื่มด่ำของชา(茶韵说)》ท่อนหนึ่งได้กล่าวไว้เช่นนี้ : ความดื่มด่ำเกิดขึ้นจากการสะสมของกาลเวลา ต้องรับรู้และยอมรับของคนสิบล้านคน ความดื่มด่ำของชา ในภาพใหญ่คือชาและประวัติศาสตร์ของจีน ขนบธรรมเนียมท้องถิ่น มาตรฐานความงาม และการพัฒนาตนเอง ประกอบกันขึ้นมา ไม่ใช่บ่งชี้ถึงรูป สี กลิ่น รสของชา เป็นการบ่งบอกถึงขอบเขตทางจิตวิญญาณ เป็นรสนอกชา ในภาพเล็กคือหลังผู้คนได้ชิมดื่มน้ำชาแล้วก่อใด้เกิดขอบเขตของความสุขใจ เพริศพริ้ง เพ้อคลั่งชั่วขณะ และมโนภาพ ก็ยังเป็นรสนอกชา เพราะเป็นสิ่งที่ชาประทานให้มา จึงเป็น ความดื่มด่ำของชา
จะเห็นได้ว่า ความดื่มด่ำของชาไม่ใช่สิ่งที่เป็นรูปธรรม เป็นความรู้สึกที่สัมผัสได้เชิงคตินิยมแบบหนึ่ง แฝงด้วยสีสรรค์อย่างแรงกล้าของอวัยวะประสาทสัมผัสของแต่ละคน ทั่วๆไปเพียงสามารถพรรณนาได้แต่นิยามออกมาไม่ได้ เพียงแค่หยั่งรู้ได้แต่พูดออกเป็นคำพูดไม่ได้
ถึงแม้ความดื่มด่ำของชาจะแผ่วเบาอย่างไรจนไม่สามารถเจียระไนได้ แต่จะแนบติดอยู่บนกลิ่นและรสชาติของชาอย่างเป็นรูปธรรมเสมอ การรับรู้ของแต่ละคนเช่น ชามีเพียงกลิ่นแต่ไม่มีพลัง(气 : ชี่) มีเพียงความใส(清)แต่ไม่สงบนิ่ง(幽) น้ำชามีเพียงความนุ่มลื่น(柔滑)แต่ไม่มีกระดูก(骨) แล้วจะเกิดความดื่มด่ำของชาได้ยาก พลังและความดื่มด่ำมีความเชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่น มีความดื่มด่ำของพลัง(气韵) ชาก็มีชีวิตชีวา ความดื่มด่ำของพลังเกิดการขับเคลื่อนแล้ว ก็เกิดความรู้สึกความดื่มด่ำของชาได้ ความใสของชายังค้างอยู่ที่อวัยวะสัมผัส เมื่อมีความสงบนิ่งก็ยกระดับเป็นความรู้สึกทางจิตวิญญาณ แล้วมาตอกย้ำความรู้สึกทางกระดูก ซึ่งก็คือการตอกย้ำเอกลักษณ์ของเอกบุรุษ เน้นย้ำหนานุ่มคงที่ ก่อให้ผู้คนมีความรู้สึกทางหนาหนัก(厚重感)
ความเห็นส่วนตัว การจะทำความเข้าใจความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์ ก่อนอื่น ขอแยกออกเป็น 2 ด้าน : หนึ่งคือความดื่มด่ำของขุนเขา(山韵) หนึ่งคือความดื่มด่ำของบอดี้(体韵)
ทำความรู้จักคุณลักษณะทางชา(茶性)ของชาผูเอ๋อร์ ก่อนอื่นต้องเข้าใจและเข้าถึงความดื่มด่ำของเขตชา(茶区之韵)ที่พิเศษเฉพาะ ซึ่งทั่วๆไปมักพูดกันว่า"พลังของขุนเขา(山头气)"
จางเทียนฝู(张天福)กล่าวไว้ว่า : กลิ่นหอมของชานานาชนิด เช่น กลิ่นหอมทางชนิดพันธุ์ กลิ่นหอมทางท้องที่ กลิ่นหอมทางการผลิต
ชาดิบผูเอ๋อร์จะมีกลิ่นทางท้องที่(风土香) หรือเรียกว่ากลิ่นทางเขตพื้นที่(地域香)เป็นตัวนำ ดังนั้นเราจึงสามารถใช้กลิ่นหอมและรสชาติมาประเมินตัดสินเชิงหยาบว่าชานี้มาจากเขตพื้นที่ไหน :
ความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์-จุดกำเนิดของรสชาติพิเศษเฉพาะ
ความดื่มด่ำ(韵)เหมือนดั่ง สตรี จริตจะก้าน รสชาติ ความรู้สึก ความงดงามของรูปโฉม หลอมรวมอยู่ในร่างคนเดียว เป็นความรู้สึกที่ดีเลิศหาที่เปรียบมิได้
ความดื่มด่ำของชาผู่เอ๋อร์(普洱茶之韵)
รสแห่งความดื่มด่ำ(韵味)เป็นความรู้สึกชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างเลื่อนลอย ความเข้าใจของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน แต่มีดำรงอยู่จริง
โค้วตาน(寇丹)ในหนังสือ《หลักการความดื่มด่ำของชา(茶韵说)》ท่อนหนึ่งได้กล่าวไว้เช่นนี้ : ความดื่มด่ำเกิดขึ้นจากการสะสมของกาลเวลา ต้องรับรู้และยอมรับของคนสิบล้านคน ความดื่มด่ำของชา ในภาพใหญ่คือชาและประวัติศาสตร์ของจีน ขนบธรรมเนียมท้องถิ่น มาตรฐานความงาม และการพัฒนาตนเอง ประกอบกันขึ้นมา ไม่ใช่บ่งชี้ถึงรูป สี กลิ่น รสของชา เป็นการบ่งบอกถึงขอบเขตทางจิตวิญญาณ เป็นรสนอกชา ในภาพเล็กคือหลังผู้คนได้ชิมดื่มน้ำชาแล้วก่อใด้เกิดขอบเขตของความสุขใจ เพริศพริ้ง เพ้อคลั่งชั่วขณะ และมโนภาพ ก็ยังเป็นรสนอกชา เพราะเป็นสิ่งที่ชาประทานให้มา จึงเป็น ความดื่มด่ำของชา
จะเห็นได้ว่า ความดื่มด่ำของชาไม่ใช่สิ่งที่เป็นรูปธรรม เป็นความรู้สึกที่สัมผัสได้เชิงคตินิยมแบบหนึ่ง แฝงด้วยสีสรรค์อย่างแรงกล้าของอวัยวะประสาทสัมผัสของแต่ละคน ทั่วๆไปเพียงสามารถพรรณนาได้แต่นิยามออกมาไม่ได้ เพียงแค่หยั่งรู้ได้แต่พูดออกเป็นคำพูดไม่ได้
ถึงแม้ความดื่มด่ำของชาจะแผ่วเบาอย่างไรจนไม่สามารถเจียระไนได้ แต่จะแนบติดอยู่บนกลิ่นและรสชาติของชาอย่างเป็นรูปธรรมเสมอ การรับรู้ของแต่ละคนเช่น ชามีเพียงกลิ่นแต่ไม่มีพลัง(气 : ชี่) มีเพียงความใส(清)แต่ไม่สงบนิ่ง(幽) น้ำชามีเพียงความนุ่มลื่น(柔滑)แต่ไม่มีกระดูก(骨) แล้วจะเกิดความดื่มด่ำของชาได้ยาก พลังและความดื่มด่ำมีความเชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่น มีความดื่มด่ำของพลัง(气韵) ชาก็มีชีวิตชีวา ความดื่มด่ำของพลังเกิดการขับเคลื่อนแล้ว ก็เกิดความรู้สึกความดื่มด่ำของชาได้ ความใสของชายังค้างอยู่ที่อวัยวะสัมผัส เมื่อมีความสงบนิ่งก็ยกระดับเป็นความรู้สึกทางจิตวิญญาณ แล้วมาตอกย้ำความรู้สึกทางกระดูก ซึ่งก็คือการตอกย้ำเอกลักษณ์ของเอกบุรุษ เน้นย้ำหนานุ่มคงที่ ก่อให้ผู้คนมีความรู้สึกทางหนาหนัก(厚重感)
ความเห็นส่วนตัว การจะทำความเข้าใจความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์ ก่อนอื่น ขอแยกออกเป็น 2 ด้าน : หนึ่งคือความดื่มด่ำของขุนเขา(山韵) หนึ่งคือความดื่มด่ำของบอดี้(体韵)
ทำความรู้จักคุณลักษณะทางชา(茶性)ของชาผูเอ๋อร์ ก่อนอื่นต้องเข้าใจและเข้าถึงความดื่มด่ำของเขตชา(茶区之韵)ที่พิเศษเฉพาะ ซึ่งทั่วๆไปมักพูดกันว่า"พลังของขุนเขา(山头气)"
จางเทียนฝู(张天福)กล่าวไว้ว่า : กลิ่นหอมของชานานาชนิด เช่น กลิ่นหอมทางชนิดพันธุ์ กลิ่นหอมทางท้องที่ กลิ่นหอมทางการผลิต
ชาดิบผูเอ๋อร์จะมีกลิ่นทางท้องที่(风土香) หรือเรียกว่ากลิ่นทางเขตพื้นที่(地域香)เป็นตัวนำ ดังนั้นเราจึงสามารถใช้กลิ่นหอมและรสชาติมาประเมินตัดสินเชิงหยาบว่าชานี้มาจากเขตพื้นที่ไหน :
- ซือเหมา(思茅) ชาจะมีความรู้สึกรสนุ่มและมีกลิ่นหอมเต็มอัตรา แต่รสชาติค่อนข้างอ่อน ขาดความหนาหนัก
- สิบสองปันนา(版纳) ชาจะมีความรู้สึกหนาหนัก เข้มหนืด กลิ่นหอมโชย รสหลังออกทางขม
- หลินชาง(临沧) ชาจะมีกลิ่นแรง รสชาติเต็ม แต่ขาดความนุ่มนวล ออกทางฝาด
ชาผูเอ๋อร์นอกจากมีรสแห่งความดื่มด่ำของขุนเขาแล้ว ชาผูเอ๋อร์ที่คุณภาพดียังปรากฏความดื่มด่ำของบอดี้ที่ยืดยาวนานออกไป กล่าวเพื่อสำหรับการชิมดื่มแล้ว ความดื่มด่ำยังแยกออกเป็น : ความดื่มด่ำของโพรงปาก(腔韵) ความดื่มด่ำของลำคอ(喉韵) และความดื่มด่ำของความรู้สึกทางร่างกาย(身体的意韵) รวมเรียกว่า ความดื่มด่ำของบอดี้(体韵) ซึ่งก็คือสิ่งที่ทำให้ชาผูเอ๋อร์ดำรงไว้ซึ่งความมีเสน่ห์แตกต่างจากชาชนิดอื่นๆ ชาผูเอ๋อร์ที่มีความดื่มด่ำของขุนเขาอย่างเข้มข้นที่ทำให้ผู้คนใหลหลง ก็คือชาหยินหนานสามารถแสดงตนออกมาทางรสชาติที่พิเศษเฉพาะ รสชาติของชาผุเอ๋อร์ : ยืดยาว(延伸) มิลืมเลือน(难忘) รสยังกรุ่นอยู่(回味) เปลี่ยนแปลง(变化) สดชื่น(舒畅) เป็นต้นล้วนเป็นปัจจัยก่อให้เกิดความดื่มด่ำได้ทั้งสิ้น มีผู้คนคิดว่าการหุยกาน(回甘)ก็คือความดื่มด่ำของชาแล้ว การกล่าวเช่นนี้เชิงผิวเผินเกินไป ความดื่มด่ำของบอดี้แห่งชา ควรที่รสชาติยืดยาวออกไปเมื่อเกิดการรับรู้ ความดื่มด่ำของบอดี้ ความจริงขึ้นกับปัจเจกบุคคล ระดับของความรู้สึกเบื้องแรกจะเกี่ยวข้องกับคุณภาพของชา ขณะเดียวกันก็เกี่ยวข้องกับสภาพทางร่างกายและระดับขั้นในการรับรู้ของผู้ชิมดื่ม การที่มาทำความเข้าใจความดื่มด่ำของบอดี้ที่ค่อนข้างบางเบานั้น สิ่งสำคัญลำดับแรกคือต้องมีประสบการณ์อันหลากหลาย ดังนั้น จะต้องลิ้มลองดื่มและเปรียบเทียบชาผูเอ๋อร์ให้มาก เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นแล้ว ความดื่มด่ำของขุนเขาชาและความดื่มด่ำของบอดี้ของผู้ชิมก็จะค่อยๆปรากฏเด่นชัดขึ้น
เข้าทำนองที่ว่า :
คนไร้กระดูก มิอาจยืนบนโลกได้ฉันใด
ชาไร้ความดื่มด่ำ จะขาดซึ่งวิญญาณฉันนั้น
สุดท้าย การไล่ล่าตามหาชาผูเอ๋อร์ ก็คือการค้นหาความดื่มด่ำแห่งชา ความดื่มด่ำของกลิ่นลึกลับหนาแน่น(暗香厚韵) ซึ่งก็คือภาพที่แท้จริงของชาผูเอ๋อร์...
( แปล-เรียบเรียง-ย่อ จากบทความ "ความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์-จุดกำเนิดของรสชาติพิเศษเฉพาะ"...ของ หยีชิวหยี่ )
โพสต์นี้เคยแบ่งออกเป็น 2 ตอนย่อยเผยแพร่เมื่อวันที่ 17 และ 19 ต.ค. 2557 ตามลำดับลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
เข้าทำนองที่ว่า :
คนไร้กระดูก มิอาจยืนบนโลกได้ฉันใด
ชาไร้ความดื่มด่ำ จะขาดซึ่งวิญญาณฉันนั้น
สุดท้าย การไล่ล่าตามหาชาผูเอ๋อร์ ก็คือการค้นหาความดื่มด่ำแห่งชา ความดื่มด่ำของกลิ่นลึกลับหนาแน่น(暗香厚韵) ซึ่งก็คือภาพที่แท้จริงของชาผูเอ๋อร์...
( แปล-เรียบเรียง-ย่อ จากบทความ "ความดื่มด่ำของชาผูเอ๋อร์-จุดกำเนิดของรสชาติพิเศษเฉพาะ"...ของ หยีชิวหยี่ )
โพสต์นี้เคยแบ่งออกเป็น 2 ตอนย่อยเผยแพร่เมื่อวันที่ 17 และ 19 ต.ค. 2557 ตามลำดับลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558
โพสต์แห่งการรำลึกถึง เดือน มิ.ย. 15
27 Jun 15 : Ty Pip Timeline
บรรยากาศครึ้มฟ้า ครึ้มฝน ชวนง่วงเช่นนี้ทำให้นึกถึงชาตัวนึงที่ไม่ค่อยได้ชงดื่ม... ชาป่าภมรรุ้ง... เมื่อคิดแล้วก็ต้องชง หลังจากได้ชง แรกจิบ... รู้สึกเหมือนได้ดื่มแม่น้ำสายหนึ่งที่ไหลเชี่ยวทรงพลัง ไหลแผ่ไปทุกทิศทุกทาง ความหวานแบบพอดีที่มีมาตั้งแต่น้ำชาโดนลิ้นและค่อยๆมากขึ้นๆ หลังจากน้ำชาไหลผ่านลงคอ ทำให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย... เยี่ยม ^__^
25 Jun 15 : Ty Pip Timeline
เสียงพิณที่พรรณนาในวันนี้ หากเทียบเมื่อได้ยิน เมื่อปีก่อนก็ต้องนับว่าแตกต่าง พัฒนาไป... ท่วงทำนองที่ไพเราะลื่นไหลต่อเนื่องเหมือนสายน้ำ แลยังแฝงไว้ด้วยความอ่อนหวาน แลนุ่มนวลชวนฝัน เมื่อนั่งหลับตาฟังก็นับว่าทำให้เสมือนตกอยู่ในภวังค์ลึก เหมือนเวลารอบตัวจะหยุดเดิน... ^__^ แลเช่นเดิมรสชาติบรรยายด้วยภาพ
23 Jun 15 : ทีดี คุณจาง
ดื่มชาก็เหมือนคบเพื่อน...เมื่อเจอแล้ว มันจะอยู่คู่เราไปยาวนาน...( ชาทุกตัวมีเอกลักษณ์ของตนเอง อย่าเพิ่งตัดสินใจเค้าก่อนที่ยังไม่เคยลองดื่ม หรือจากที่ได้ฟังมา )
22 Jun 15 : Ty Pip Timeline
http://www.krobkruakao.com/…/…/Good-Morning-Family-News.html
สนใจไปชมกันเลยจ้า ย้อนหลัง
20 Jun 15 : สมเด็จพระจักรพรรดินีฉือสี่ พระพันปีหลวง
มีน้องมาถามชาเขานูนเขานี้ อัดแบบนูนอัดแบบนี่ดีอย่างไร น้องจะได้ไปหาซื้อมาเก็บ เดี้ยนก็ตอบไปว่า " ถ้าดื่มแล้วยังแยกแยะไม่ได้ว่าชาไหนดี ชาไหนเลว จะเสียเวลาไปหาชาตามที่คนอื่นพูดทำไม สู้เอาเวลาที่ไปนั่งหา มาหัดดื่มชาให้รู้ว่าชาไหนดีชาไหนเลวสะก่อนแล้วค่อยไปศึกษาลงลึกในรายละเอียด " ดื่มชาเยอะไม่ได้แปลว่าดื่มชาเก่ง ดื่มชามาน้อยปีไม่ได้แปลว่าดื่มชาไม่เก่ง อยู่ที่ว่าแนวทางของแต่ละคนจะไปทางไหน ..... สำหรับผม ดืมชาที่ชอบ แล้วรู้ว่าเป็นชาดี ผมก็มีความสุขแล้ว ดื่มชาแล้วไม่มีความสุขก็อย่าดืมเลยครับ... สำหรับเพือนๆๆเลือกดื่มชากันอย่างไรครับ
20 Jun 15 : Soroj Wongsiri
สวัสดี วันเสาร์ครับ
คาราวะเพื่อนทุกท่านค้วย ชาป่าไตรสมมาตรปี 2014
ความรู้สึกของผมนะ.
ไตร แปลว่า. สาม
สมมาตรแปลว่า. ความลงตัวพอดีพอเหมาะ...
ทำให้นึกถึง 3 ส
ส1 = สติคือทำอะไรให้รู้อยู่รับรู้ถึงกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของชาขนิดนั้นๆ.
ส2= สงบคือเมื่อเริ่มดื่มชาทำให้เรามีควารู้สึกผ่อนคลายดื่มด่ำอยู่ในโลกส่วนตัว.
ส3=สุข . ...................
ขอให้มีความสุขกันในทุกวันของการดื่มชาครับ
19 Jun 15 : สมเด็จพระจักรพรรดินีฉือสี่ พระพันปีหลวง
เค้าบอกว่า ... ชาดีน้ำท้ายๆๆจะบอก... เหมือนดังเช่นชาตัวนี่ ... ... แต่ชาบางตัว น้ำแรกก็ทำให้รู้ว่า อนาคตของเค้าไปไม่ไกล ... บางตัวน้ำแรกก็รู้เช่นกันว่าอนาคตของเค้าจะรุ้งโรจน์ .... แต่เราจะรุ้หรือไม่ ก็อยู่กับประสบการณ์ของผู้ดื่ม
20 Jun 15 : Soroj Wongsiri
วันนี้ต่อเนื่องจากเมื่อคราวที่ไปดื่มชาร่วมกันเพื่อนผู้ชมชอบชาป่า
กลับมาบ้านเลยมาลองชงเทียบกันครับ
ฐานจากชาป่าผลิตปีเดียวกัน
ราคาใกล้เคียงกัน
จากพื้นที่คนละเขา...
มาจากมณฑลเดียวกัน
ผลออกมาได้เห็นภาพชัดเจน
ได้ความรู้เพิ่มเป็นภูมิคุ้มกัน
ลองดูกันได้นะครับเป็นอีกทางเลือกเพื่อเพิ่มประสพการณ์ของพี่ๆเพื่อนๆทุกท่านครับ.
15 Jun 15 : Nutthawut Nurat
เอาปันตง 2013 ให้อากงชง มียิ้มเล็กยิ้มน้อย ^^
05 Jun 15 : Ty Pip Timeline
ตำนานโบราณ.. ชาป่าที่มีท่วงท่าลีลาสมชื่อ " ลึกลับน่าค้นหา " บอดี้ที่แผ่กว้าง กลิ่นในน้ำที่เฉพาะตัว ความหวานในลำคอที่ลงลึกชุ่มฉ่ำ... และเช่นเดิมรสชาตินั้น.. บรรยายด้วยภาพ
02 Jun 15 : ทีดี คุณจาง
การชงชาหนึ่งกา สำหรับผม...ก็เหมือนเล่นหรือฟังเพลงดีๆหนึ่งเพลง...เข้าใจเนื้อร้อง ทำนอง นักร้อง เครื่องดนตรี อารมณ์ เห็นไหม...สนุกมากมาย แล้วคุณหล่ะ...
เป็นโพสต์ที่เผยแพร่ในเดือน มิ.ย. 15 ลงในเฟสเพจ"สมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย" : https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
บรรยากาศครึ้มฟ้า ครึ้มฝน ชวนง่วงเช่นนี้ทำให้นึกถึงชาตัวนึงที่ไม่ค่อยได้ชงดื่ม... ชาป่าภมรรุ้ง... เมื่อคิดแล้วก็ต้องชง หลังจากได้ชง แรกจิบ... รู้สึกเหมือนได้ดื่มแม่น้ำสายหนึ่งที่ไหลเชี่ยวทรงพลัง ไหลแผ่ไปทุกทิศทุกทาง ความหวานแบบพอดีที่มีมาตั้งแต่น้ำชาโดนลิ้นและค่อยๆมากขึ้นๆ หลังจากน้ำชาไหลผ่านลงคอ ทำให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย... เยี่ยม ^__^
25 Jun 15 : Ty Pip Timeline
เสียงพิณที่พรรณนาในวันนี้ หากเทียบเมื่อได้ยิน เมื่อปีก่อนก็ต้องนับว่าแตกต่าง พัฒนาไป... ท่วงทำนองที่ไพเราะลื่นไหลต่อเนื่องเหมือนสายน้ำ แลยังแฝงไว้ด้วยความอ่อนหวาน แลนุ่มนวลชวนฝัน เมื่อนั่งหลับตาฟังก็นับว่าทำให้เสมือนตกอยู่ในภวังค์ลึก เหมือนเวลารอบตัวจะหยุดเดิน... ^__^ แลเช่นเดิมรสชาติบรรยายด้วยภาพ
23 Jun 15 : ทีดี คุณจาง
ดื่มชาก็เหมือนคบเพื่อน...เมื่อเจอแล้ว มันจะอยู่คู่เราไปยาวนาน...( ชาทุกตัวมีเอกลักษณ์ของตนเอง อย่าเพิ่งตัดสินใจเค้าก่อนที่ยังไม่เคยลองดื่ม หรือจากที่ได้ฟังมา )
22 Jun 15 : Ty Pip Timeline
http://www.krobkruakao.com/…/…/Good-Morning-Family-News.html
สนใจไปชมกันเลยจ้า ย้อนหลัง
20 Jun 15 : สมเด็จพระจักรพรรดินีฉือสี่ พระพันปีหลวง
มีน้องมาถามชาเขานูนเขานี้ อัดแบบนูนอัดแบบนี่ดีอย่างไร น้องจะได้ไปหาซื้อมาเก็บ เดี้ยนก็ตอบไปว่า " ถ้าดื่มแล้วยังแยกแยะไม่ได้ว่าชาไหนดี ชาไหนเลว จะเสียเวลาไปหาชาตามที่คนอื่นพูดทำไม สู้เอาเวลาที่ไปนั่งหา มาหัดดื่มชาให้รู้ว่าชาไหนดีชาไหนเลวสะก่อนแล้วค่อยไปศึกษาลงลึกในรายละเอียด " ดื่มชาเยอะไม่ได้แปลว่าดื่มชาเก่ง ดื่มชามาน้อยปีไม่ได้แปลว่าดื่มชาไม่เก่ง อยู่ที่ว่าแนวทางของแต่ละคนจะไปทางไหน ..... สำหรับผม ดืมชาที่ชอบ แล้วรู้ว่าเป็นชาดี ผมก็มีความสุขแล้ว ดื่มชาแล้วไม่มีความสุขก็อย่าดืมเลยครับ... สำหรับเพือนๆๆเลือกดื่มชากันอย่างไรครับ
20 Jun 15 : Soroj Wongsiri
สวัสดี วันเสาร์ครับ
คาราวะเพื่อนทุกท่านค้วย ชาป่าไตรสมมาตรปี 2014
ความรู้สึกของผมนะ.
ไตร แปลว่า. สาม
สมมาตรแปลว่า. ความลงตัวพอดีพอเหมาะ...
ทำให้นึกถึง 3 ส
ส1 = สติคือทำอะไรให้รู้อยู่รับรู้ถึงกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของชาขนิดนั้นๆ.
ส2= สงบคือเมื่อเริ่มดื่มชาทำให้เรามีควารู้สึกผ่อนคลายดื่มด่ำอยู่ในโลกส่วนตัว.
ส3=สุข . ...................
ขอให้มีความสุขกันในทุกวันของการดื่มชาครับ
19 Jun 15 : สมเด็จพระจักรพรรดินีฉือสี่ พระพันปีหลวง
เค้าบอกว่า ... ชาดีน้ำท้ายๆๆจะบอก... เหมือนดังเช่นชาตัวนี่ ... ... แต่ชาบางตัว น้ำแรกก็ทำให้รู้ว่า อนาคตของเค้าไปไม่ไกล ... บางตัวน้ำแรกก็รู้เช่นกันว่าอนาคตของเค้าจะรุ้งโรจน์ .... แต่เราจะรุ้หรือไม่ ก็อยู่กับประสบการณ์ของผู้ดื่ม
20 Jun 15 : Soroj Wongsiri
วันนี้ต่อเนื่องจากเมื่อคราวที่ไปดื่มชาร่วมกันเพื่อนผู้ชมชอบชาป่า
กลับมาบ้านเลยมาลองชงเทียบกันครับ
ฐานจากชาป่าผลิตปีเดียวกัน
ราคาใกล้เคียงกัน
จากพื้นที่คนละเขา...
มาจากมณฑลเดียวกัน
ผลออกมาได้เห็นภาพชัดเจน
ได้ความรู้เพิ่มเป็นภูมิคุ้มกัน
ลองดูกันได้นะครับเป็นอีกทางเลือกเพื่อเพิ่มประสพการณ์ของพี่ๆเพื่อนๆทุกท่านครับ.
15 Jun 15 : Nutthawut Nurat
เอาปันตง 2013 ให้อากงชง มียิ้มเล็กยิ้มน้อย ^^
05 Jun 15 : Ty Pip Timeline
ตำนานโบราณ.. ชาป่าที่มีท่วงท่าลีลาสมชื่อ " ลึกลับน่าค้นหา " บอดี้ที่แผ่กว้าง กลิ่นในน้ำที่เฉพาะตัว ความหวานในลำคอที่ลงลึกชุ่มฉ่ำ... และเช่นเดิมรสชาตินั้น.. บรรยายด้วยภาพ
02 Jun 15 : ทีดี คุณจาง
การชงชาหนึ่งกา สำหรับผม...ก็เหมือนเล่นหรือฟังเพลงดีๆหนึ่งเพลง...เข้าใจเนื้อร้อง ทำนอง นักร้อง เครื่องดนตรี อารมณ์ เห็นไหม...สนุกมากมาย แล้วคุณหล่ะ...
เป็นโพสต์ที่เผยแพร่ในเดือน มิ.ย. 15 ลงในเฟสเพจ"สมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย" : https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558
4 คุณลักษณะเด่นของชาผูเอ่อร์
ทักทายทุกท่าน วันพุธ สะดุดชาผูเอ่อร์!!!
วันนี้ขออนุญาตโพสต์วิชาการเล็กๆ น้อยๆ หรือ นำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ ครับ
4 คุณลักษณะของชาผูเอ่อร์ที่ดี
1. ลักษณะใบชาผูเอ่อร์ จะต้องเป็นชาใบใหญ่พันธุ์ยูนานเท่านั้น “ดังนั้นหากเป็นชาที่อื่น และนำมาอัดแผ่นเหมือนชาผูเอ่อร์ ถึงแม้ว่าจะปลูกชาจากถิ่นอื่นและนำไปอัดแผ่น ก็ไม่ใช่ชาผูเอ่อร์ หรือ ถ้าจะเรียกว่า “เป็นชาผูเอ่อร์ปลอมก็ได้ครับ” ควรจะสะอาด คือไม่มีสิ่งปรกปลอมปน เช่น ไม้จิ้มฟัน หรือ สแลน และอื่นๆ เป็นต้น สำหรับเกรดของใบชาผูเอ่อร์มีตั้งแต่ ...1-10 ซึ่งหมายถึง ขนาดของใบชา และจะเป็นตัวชี้วัดความนุ่ม ขม และฝาด ของชาผูเอ่อร์)
2. ไม่ว่าจะเป็นชาเก่าหรือชาใหม่ กลิ่นและรสชาติควรเป็นธรรมชาติ (ไม่ควรจะมีรสชาติอื่นๆ มาปลอมปน หรือมีกลิ่นเหม็น เช่น กลิ่นเชื้อรา กลิ่นกระสอบป่านเก่าๆ เป็นต้น)
3. สีของใบชา ควรจะเป็นสีที่สม่ำเสมอ แต่ไม่ควรเป็นสีของใบไม้เน่าเสีย
4. ชาผูเอ่อร์ควรมีรสชาติกลมกล่อม (คือ เวลาดื่มแล้วลื่นคอ ไม่สะดุด และไม่ระคายเคือง) แต่ถ้ามีความรู้สึกผิดปกติ ควรมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแหล่งที่มาของชาผูเอ่อร์
ข้อสังเกตมี 2 ประการ คือ
1) ลักษณะภายนอกที่สามารถสังเกตได้ มี 4 ประการคือ
1.1) รสชาติต้องมีเอกลักษณ์และกลิ่นไม่เหม็นอับ
1.2) น้ำชาต้องสีบริสุทธิ์ หรือ ถ้าสีแดงหรือสีดำ (เข้ม) สดใส
1.3) ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คือ ต้องเก็บไว้โกดังแห้ง และความชื้นที่เหมาะสม
1.4) เมื่อดื่มแล้วรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข
2) ลักษณะภายในที่ต้องใช้วิจารณญานร่วมกับการตัดสินใจก่อนจะซื้อชา มี 6 ประการคือ
2.1) ไม่เป็นไปตามลักษณะชาผูเอ่อร์ที่ดี
2.2) พยายามสังเกตว่า มีการปลอมบรรจุภัณฑ์หรือไม่
2.3) ระมัดระวังข้ออ้างที่ว่า “ชาผูเอ่อร์ไม่ให้เฉดสีน้ำตาล” และสีของชาเป็นอย่างนี้เอง
2.4) ไม่มีรสชาติหรือกลิ่นเชิงวรรณกรรม
2.5) ร้านขายไม่ให้ดูใบชาผูเอ่อร์ (ดูกากชา) เพื่อพิจารณาอายุและชนิดของชาผูเอ่อร์
2.6) หากยังไม่ได้ชิมและไม่มั่นใจอย่าโทรหรือสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ต
ข้อผิดพลาดจากการซื้อชาผูเอ่อร์
ชา Pu'er ไม่ได้พิสูจน์คุณภาพว่าปีเก่าจะดีกว่าปีใหม่เสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ภายใต้สภาพการเก็บรักษาที่เหมาะสมและในเวลาที่แน่นอนผลิตภัณฑ์ชา รวมถึงวัตถุดิบ ซึ่งก่อให้เกิดทิศทางการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
ถ้าคุณภาพหรือการเก็บรักษาอยู่ในสภาพวาดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือ การนำชามาเร่งเวลาให้เป็นชาเก่า หรือ การจัดเก็บในโกดังเปียก เพื่อเร่งอายุของชา หรือ จะทำบรรจุภัณฑ์ชาเก่าเพื่อที่จะแสดงความรู้สึกเก่า ๆ เพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่า “ชาเก่า” ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้อเสียและไม่ควรที่จะซื้อชาผูเอ่อร์ชนิดนี้มาดื่ม
โพสต์นี้โดย Peter Huang เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
มาตรฐาน"ชาดี"ของชาผูเอ๋อร์
ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
มาตรฐาน"ชาดี"ของชาผูเอ๋อร์
เป็นที่ทราบและยอมรับกันแล้วว่า ชาผูเอ๋อร์มีความสลับซับซ้อนมากกว่าชาขนิดอื่นๆ เนื่องจากคุณภาพของชาขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยด้วยกัน เช่น
มาตรฐาน"ชาดี"ของชาผูเอ๋อร์
เป็นที่ทราบและยอมรับกันแล้วว่า ชาผูเอ๋อร์มีความสลับซับซ้อนมากกว่าชาขนิดอื่นๆ เนื่องจากคุณภาพของชาขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยด้วยกัน เช่น
- แหล่งที่ปลูกของต้นชา สภาพภูมิประเทศ สภาวะอากาศ ระบบนิเวศแบบป่าธรรมชาติหรือแบบชาไร่
- พันธุ์และอายุของต้นชา เป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่มเตี้ย เป็นไม้ต้นโบราณ ไม้ต้นใหญ่ ไม้ต้นเล็ก
- พันธุ์ใบชา เป็นใบใหญ่ ใบกลาง ใบเล็ก เป็นยอดใบชาอ่อนหรือใบชาแก่
- ฤดูกาลเด็ดเก็บใบชา ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง
- กระบวนการและกรรมวิธีการผลิต
- สูตรใบชาผสม หรือ สูตรเนื้อเดียว
- สภาวะแวดล้อมและวิธีการจัดเก็บ(ขบวนพัฒนาการ)
ชาผูเอ๋อร์จะต้องมีมาตรฐานและคูณลักษณะเฉพาะอย่างไรจึงถือเป็น"ชาดี"? "ชาดี"ของแต่ละบุคคลอาจตัดสินจากความรู้สึกที่รับรู้ทางนามธรรมเป็นส่วนใหญ่ ในที่นี้ ขอเสนอ 7 คุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญของ"ชาดี" มาให้เพื่อพิจารณา
1. คุณลักษณะทางระบบนิเวศแท้
คือ เป็นระบบนิเวศแบบป่าธรรมชาติ ไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมีและใช้สารเคมีเกษตร ซึ่งมีเพียงใบชาพันธุ์ใบใหญ่จากชาไม้ต้นที่ขึ้นตามไร่ชาดั้งเดิมจึงปรากฏคุณลักษณะทางระบบนิเวศแท้ ส่วนชาจากไม้พุ่มหรือชาไร่หลีกหนีไม่พ้นการใช้สารเคมีเกษตร ซึ่งอาจจะมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพร่างกาย และมีผลต่อรสชาติของชา คือทำให้เกิดรสขมและรู้สึกฝาดแบบไม่ละลายแล้วค้างอยู่ในปากนาน ทำให้รู้สึกอาการคันแสบคอ
2. รสชาติธรรมชาติ
การดื่มชาก็เพื่อการได้เสพรสชาติที่อร่อย จึงต้องไม่มีรสแปลกปลอมและกลิ่นที่ไม่ดีที่ทำให้ดื่มแล้วเกิดความรู้สึกที่ไม่สบายทั้งกายและใจ เป็นชาที่ไม่เกิดเชื้อราและปนเปื้อนสารมลพิษจากาภาวะแวดล้อม
3. คุณสมบัติทางกระตุ้นน้ำลายลื่นคอ(生津润喉性强)
จุดประสงค์ของการดื่มชาก็เพื่อกระตุ้นให้น้ำลายสอ ทำให้ชุ่มปากลื่นคอ เกิดความรู้สึกสดชื่น เบิกบาน
4. รสขมฝาดเมื่อเข้าปากจะต้องละลายหายไปเร็ว
ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดว่าความหนักเบาของรสขมฝาดเป็นระดับของ"ฉาชี่(茶气)" แล้วยกย่องชาที่มีรสขมฝาดหนักมี"พลังดุดัน(霸气)" ชาทั่วไปหลีกหนีไม่พ้นที่มีรสขมฝาด ความรู้สึกทางรสชาติของมนุษย์สามารถกระทบรสขมฝาดได้ในระดับที่เหมาะสม น้อยคนมากที่สามารถทนต่อรสขมฝาดที่หนักเกินไปแล้วค้างอยู่ในลำคอเป็นระยะเวาลานาน ผู้คนดื่มชาก็เพื่อชิมลิ้มและเสพสิ่งที่เป็นเฉพาะจาก"รสชาติของชา" รสชาติที่แท้จริงของชาไม่ใช่รสขมฝาด แต่เป็นสิ่งที่แฝงซ่อนอยู่ข้างหลังของรสขมฝาด โดย ขม ฝาด หวาน สามรสนี้ผสมกลมกลืนกันก่อให้เกิดรสชาติหวานนุ่มที่เข้มข้นชุ่มปากและความรู้สึกที่เฉพาะจากชานั้นๆ โดยทั่วไปเมื่อรสขมฝาดละลายในปากจะเกิด"หุยกาน(回甘)"ตามมา ซึ่งจะช้าจะเร็าขึ้นกับคุณภาพของชา
5. รสชาติชาหนานุ่ม
รสชาติหนานุ่มของชาประกอบด้วยรสชาติที่เฉพาะและกลิ่นหอมเข้มแรง เมื่อกลืนน้ำชาลงลำคอ ขม ฝาด หวาน สามรสประสานกันเกิดความรู้สึกกลมกล่อมลึกลงไปในลำคอ เป็นสัญลักษณ์แรกที่สำคัญของรสชาติหนานุ่มของชา "รสหวาน"ในที่นี้ ไม่ใช่"หุยกาน"ที่สะท้อนออกมาหลังรสขมฝาดของน้ำชาละลายหายไปเมื่อดื่มเข้าปาก แต่เป็นรสหวานที่รูสึกได้เมื่อน้ำชาอยู่ในโพรงปากและลำคอ
6. ชงทน
ชาที่มีคุณสมบุัติสามารถชงทน ซึ่งก็หมายถึงชานั้นมีคุณลักษณะ"รสหนา"
7. มีคุณค่าในการเก็บ
ชาผูเอ๋อร์แตกต่างจากชาชนิดอื่นๆ ไม่มีระยะเวลาการรับประกันคุณภาพ สามารถจัดเก็บได้ ยิ่งนานยิ่งดี เพราะดำรงไว้ซึ่ง"ยิ่งเก่ายิ่งหอม"
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2557 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
คือ เป็นระบบนิเวศแบบป่าธรรมชาติ ไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมีและใช้สารเคมีเกษตร ซึ่งมีเพียงใบชาพันธุ์ใบใหญ่จากชาไม้ต้นที่ขึ้นตามไร่ชาดั้งเดิมจึงปรากฏคุณลักษณะทางระบบนิเวศแท้ ส่วนชาจากไม้พุ่มหรือชาไร่หลีกหนีไม่พ้นการใช้สารเคมีเกษตร ซึ่งอาจจะมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพร่างกาย และมีผลต่อรสชาติของชา คือทำให้เกิดรสขมและรู้สึกฝาดแบบไม่ละลายแล้วค้างอยู่ในปากนาน ทำให้รู้สึกอาการคันแสบคอ
2. รสชาติธรรมชาติ
การดื่มชาก็เพื่อการได้เสพรสชาติที่อร่อย จึงต้องไม่มีรสแปลกปลอมและกลิ่นที่ไม่ดีที่ทำให้ดื่มแล้วเกิดความรู้สึกที่ไม่สบายทั้งกายและใจ เป็นชาที่ไม่เกิดเชื้อราและปนเปื้อนสารมลพิษจากาภาวะแวดล้อม
3. คุณสมบัติทางกระตุ้นน้ำลายลื่นคอ(生津润喉性强)
จุดประสงค์ของการดื่มชาก็เพื่อกระตุ้นให้น้ำลายสอ ทำให้ชุ่มปากลื่นคอ เกิดความรู้สึกสดชื่น เบิกบาน
4. รสขมฝาดเมื่อเข้าปากจะต้องละลายหายไปเร็ว
ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดว่าความหนักเบาของรสขมฝาดเป็นระดับของ"ฉาชี่(茶气)" แล้วยกย่องชาที่มีรสขมฝาดหนักมี"พลังดุดัน(霸气)" ชาทั่วไปหลีกหนีไม่พ้นที่มีรสขมฝาด ความรู้สึกทางรสชาติของมนุษย์สามารถกระทบรสขมฝาดได้ในระดับที่เหมาะสม น้อยคนมากที่สามารถทนต่อรสขมฝาดที่หนักเกินไปแล้วค้างอยู่ในลำคอเป็นระยะเวาลานาน ผู้คนดื่มชาก็เพื่อชิมลิ้มและเสพสิ่งที่เป็นเฉพาะจาก"รสชาติของชา" รสชาติที่แท้จริงของชาไม่ใช่รสขมฝาด แต่เป็นสิ่งที่แฝงซ่อนอยู่ข้างหลังของรสขมฝาด โดย ขม ฝาด หวาน สามรสนี้ผสมกลมกลืนกันก่อให้เกิดรสชาติหวานนุ่มที่เข้มข้นชุ่มปากและความรู้สึกที่เฉพาะจากชานั้นๆ โดยทั่วไปเมื่อรสขมฝาดละลายในปากจะเกิด"หุยกาน(回甘)"ตามมา ซึ่งจะช้าจะเร็าขึ้นกับคุณภาพของชา
5. รสชาติชาหนานุ่ม
รสชาติหนานุ่มของชาประกอบด้วยรสชาติที่เฉพาะและกลิ่นหอมเข้มแรง เมื่อกลืนน้ำชาลงลำคอ ขม ฝาด หวาน สามรสประสานกันเกิดความรู้สึกกลมกล่อมลึกลงไปในลำคอ เป็นสัญลักษณ์แรกที่สำคัญของรสชาติหนานุ่มของชา "รสหวาน"ในที่นี้ ไม่ใช่"หุยกาน"ที่สะท้อนออกมาหลังรสขมฝาดของน้ำชาละลายหายไปเมื่อดื่มเข้าปาก แต่เป็นรสหวานที่รูสึกได้เมื่อน้ำชาอยู่ในโพรงปากและลำคอ
6. ชงทน
ชาที่มีคุณสมบุัติสามารถชงทน ซึ่งก็หมายถึงชานั้นมีคุณลักษณะ"รสหนา"
7. มีคุณค่าในการเก็บ
ชาผูเอ๋อร์แตกต่างจากชาชนิดอื่นๆ ไม่มีระยะเวลาการรับประกันคุณภาพ สามารถจัดเก็บได้ ยิ่งนานยิ่งดี เพราะดำรงไว้ซึ่ง"ยิ่งเก่ายิ่งหอม"
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2557 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ประวัติของชาผูเอ๋อร์
ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
ประวัติของชาผูเอ๋อร์
ประวิติศาสตร์ของชาจีนมีความเป็นมาอย่างยาวนาน มีหนังสือมากมายที่ได้บันทึกไว้แล้ว แต่ชาผูเอ๋อร์ที่ได้จากการหมักของจุลินทรีย์ถูกค้นพบตั้งแต่เมื่อไร และเข้าสู่ทำเนียบประวัติศาสตร์เมื่อไร? เคยเห็นตัวหนังสือที่เรียบเรียงอย่างกล่าวเสียมิได้ บังเอิญไม่สนใจมาบันทึกทางชายแดน จึงได้ละเลยปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ของความจริงที่ได้อุบัติขึ้นมา
ดังนั้น ขออนุญาตเล่าเรื่องประวัติของชาผูเอ๋อร์อย่างสรุปโดยย่อสักนิด
โบราณกาลของเมืองจีน จะมุ่งเน้นสนใจแต่ประวัติความเจริญรุ่งเรืองและการล่มสลายของราชวงค์ ละเลยประวัตินิเวศของพลเมือง ยิ่งไม่ต้องมาพูดถึงหยินหนาน(云南)ที่อยู่ไกลปืนเที่ยงแถวชายแดน แทบไม่มีนักปราชญ์สำคัญท่านใดมาบันทึกความเป็นไปของชาผูเอ๋อร์ได้อย่างทันการ หนังสือบันทึกในยุคสมัยถัง(唐代) ซ่ง(宋代) หมิง(明代) ต่างได้เอ่ยถึงพื้นที่ผูเอ๋อร์ผลิตชา แต่ดูจากการบันทึก วิธีการเด็ดและการต้มดื่มใบชายังโบราณมาก เชิงกล่าวโดยไม่มีรายละเอียด(语焉不详) ซึ่งไม่สามารถถือเป็นชาผูเอ๋อร์ที่เราพูดถึงทุกวันนี้ได้ ทำนองเดียวกันกับ ไม่ใช่อาหารการกินทุกอย่างในเขตกวางตุ้งแล้วสามารถเรียกเป็นอาหารกวางตุ้งได้ ชาผูเอ๋อร์ถูกจัดเข้าไปในระนาบของประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในยุคสมัยชิง(清代)
เป็นความโชคดีที่เป็นสมัยชิง วันเดือนปีเวลาช่วงนั้น เหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบ ปัญญาชนมีไม่มาก ชาผูเอ๋อร์จึงสามารถรอดพ้นกับดักจากการการบันทึกเป็นตัวหนังสือได้ จาก"วัฒนธรรมเรื่องราว(文本文化)"ยกระดับเป็น"วัฒนธรรมนิเวศ(生态文化)" ตลอกระยะเวลาที่ผ่านมาชาผูเอ๋อร์ถูกนักปราชญ์ว่ากล่าวนินทาถึงน้อยมาก เริ่มแรกเสมือนเป็นเรื่องร้าย ที่แท้เป็นเรื่องดี จากจุดนี้ชาผูเอ๋อร์จึงสามารถเข้าไปในประวัติศาสตร์อย่างสะอาดสดใสโดยไม่ถูกพวกบทกวีตื้นๆมาทำให้สับสนวุ่นวาย กินก็คือกิน ดื่มก็คือดื่ม ถ้าให้ความสนใจกับตัวหนังสือมากเกินไป(咬文嚼字) ทำให้ภาพความจริงหายไป
เนื่องจากฮ่องเต้และบรรดาอ๋องทั้งหลายในยุคสมัยชิง นิยมชมชอบดื่มชาผูเอ๋อร์เพื่อช่วยในระบบการย่อย ชาผูเอ๋อร์จึงเป็นเครื่องบรรณาการต้องถวายเข้าพระราชวัง ทำให้พวกขุนนางทั้งใหญ่เล็กต้องเสาะแสวงหาชาที่ถูกปากพระราชวงค์ ทำใเกิดกระแสนิยมชาผูเอ๋อร์ในหมู่ขุนนางและชนชั้นสูงตามมา ขุนนางฝ่ายจัดหาในพระราชวัง ต้องรีบปล่อยม้าเร็ววิ่งพันลี้ ลุยน้ำข้ามเขา ร่วมกับขุนนางท้องถิ่นภายใต้ความเกรงกลัวต่อพระบารมี ทุกๆปีจะทำการคัดเลือกชาคุณภาพและห้างชาอย่างพิถีพิถันเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ใครก็ไม่กล้าที่จะละเลยและเลินเล่อในหน้าที่นี้ นับจากนี้ไป ชาผูเอ๋อร์ก็กลายเป็นสิ่งประกอบชั้นสูงของชีวิต
ตั้งแต่ คังซี(康熙) ยุงเจิ้น(雍正) เฉียนหลง(乾隆) มาถึง เจียชิ่ง(嘉庆) ต้าวกวง(道光) เสียนฟง(咸丰) ในรัชกาลสมัยเหล่านี้เป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของชาแล้ว แต่จะมาให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือ ในรัชกาลสมัยกวงซี่ว(光绪 : 1875-1909) เพราะมีสัญลักษณ์สำคัญ คือ "ชาเกรดห้าง(号级茶)"ทั้งหลายได้ปรากฏตัวขึ้น
"ชาเกรดห้าง" คือ รุ่นชาที่มีตราสินค้าจากห้างชาเพื่อถวายเข้าพระราชวังและขายส่งออก การกระตุ้นเตือนให้ตระหนักรู้ถึงตราสินค้า ทำให้ชาผูเอ๋อร์ตั้งแต่เริ่มต้นก็เข้าสู่"ยุคคลาสสิค(经典时代)" นับจากนี้ไปกิจกรรมทุกอย่างก็ขับเคลื่อนด้วยมาตรฐาน
ก่อนรัชกาลสมัยกวงซี่ว ในรัชกาลสมัยเฉียนหลงก็มีห้างถงชิ่ง(同庆号) รัชกาลสมัยต้าวกวงมีห้างเฌอซุ้น(车顺号) รัชกาลสมัยถงเจื้อ(同治)มีห้างฝูชาง(福昌号) เป็นปรากฏการณ์แห่งการบุกเบิกที่ไม่ธรรมดา แต่ผู้เขียนไม่มีวาสนาที่ได้ชิมลิ้มลองผลิตภัณฑ์ชายุคสมัยนั้นของห้างเหล่านี้ ทุกวันนี้ห้างชายุคคลาสสิคที่เรายังสามารถ"เรียกหาดื่มสะใจ"ได้ เช่น ห้างซ่งหยิน(宋云号) ห้างเหยียนชาง(元昌号) และห้างซ่งพิ้น(宋聘号)ที่มีชื่ออันโด่งดัง ล้วนก่อตั้งในต้นรัชกาลสมัยกวงซี่ว
ต่อจากนี้ก็ผลักดันให้หมู่บ้านชา ห้างชา เกิดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด ถือเป็นสิ่งที่ไม่แปลก
ห้างเหยียนชางหลังก่อตั้งในในต้นรัชกาลสมัยกวงซี่วแล้ว พอถึงกลางรัชกาลสมัยกวงซี่วได้ไปเปิดสาขาห้างที่ถนนสายหลักในเมืองยี่หวู่(易武)ก่อตั้งห้างฝูเหยียนชาง(福元昌号) ดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงและต่อเนื่องมาถึงศตวรรษที่ 20 กลายเป็น"ตระกุลราชัน(王者一族)"แห่งชาผูเอ๋อร์ หมู่บ้านชานี้ภายหลังมีหัวหน้าที่มีชื่อเสียงคือ หยี่ฝู(余福) ซึ่งเป็นผู้ได้ใช้"ฉลากใน(内票)"ในแผ่นชาผูเอ๋อร์ เพื่อประกาศข้อความป้องกันการปลอมแปลงสินค้า
การปลอมแปลงห้างชา แสดงให้เห็นถึงตลาดใหญ่โตมาก การแข่งขันรุนแรง ห้างชามีมากมาย ตราสินค้ามีค่า ความมีชื่อเสียงของตราสินค้า โดยหลักการแล้วควรมาจากคุณภาพเป็นตัวตัดสิน แต่เนื่องจากคุณภาพของชาผูเอ๋อกว่าครึ่งเป็นผลมาจากระบบนิเวศของกลุ่มจุลินทรีย์ ประจวบเหมาะเป็นสิ่งที่ยากจะอธิบายให้เข้าใจได้ ดังนั้น จึงต้องสงสารพวกที่ต้องการป้องกันการปลอมแปลงไม่รู้จะต้องทำอย่างไร จึงจำเป็นต้องขอยืมใช้วิธี"โฆษณาภาพพจน์(好茶印象)"มาละเลงตราสินค้าของตัวเอง
เหตุการณ์เช่นนี้ เข้าทำนองที่ว่า เห็ด Truffle(松露) ที่บ้านถูกขโมยไป แต่ไม่รู้จะอธิบาย Truffle คืออะไร? จึงต้องบอกว่าเห็ด Mushroom(蘑菇) ของที่บ้านหายไปเป็นเห็ดที่ดีกว่าของชาวบ้าน ผลลัพธ์กลายเป็น Mushroom ถูกขโมยไป พวกหัวหน้าหมู่บ้านชาผูเอ๋อร์ได้พยายที่ยืนยันชาของพวกตนมีคุณภาพดีที่ผู้อื่นไม่สามารถผลิตลอกเลียนแบบได้ แต่ไปใช้มาตรฐานของชาเขียว
อย่างเช่น เจ้านี้บอกว่าชาตัวเองคือ "ยอดขาวอ่อนนุ่มใต้แสงแดดฤดูใบไม้ผลิ" เจ้านั้นบอกว่าชาตัวเองคือ "ยอดชาอ่อนนุ่มผลิตปราณีต" ต่างๆนานา การยืมเอามาตรฐานแบบนี้มานิยามชาผูเอ๋อร์ กลับเป็นการ "จำกัดตนเองให้แคบลง แสดงจุดด้อยตนเองให้เด่น(扬已之短 , 避已之长)" ผิดที่ผิดทางไปหมด
จากเรื่องดังกล่าวสามารถยืนยันได้ว่า จนถึงก่อนหน้าร้อยปีที่แล้ว ชาผูเอ๋อร์ยังไม่รู้วิธีที่จะอธิบายตัวเองได้อย่างไร ปรากฏการณ์เช่นนี้ กล่าวเชิงทางวิชาการได้ว่า มันยังขาด"การตระหนักรู้ทางเหตุผลต่อความเป็นตัวตนของตัวเอง"
คุณภาพของชาผูเอ๋อร์เป็นความลับของฟ้าดิน ก่อนที่จะได้รับการตระหนักรู้ทางเหตุผล ต้องอาศัยการรับรู้ทางลิ้นปาก กายใจ กาลเวลา เวลาช่วงนั้น พ่อค้าชาแม้รู้ความลับนี้อย่างลึกซึ้งแต่ไม่สามารถอธิบายออกมาได้ แต่พวกเขารู้ว่า รสชาติที่ตนเองสร้างขึ้นมาเป็นไปตามขบวนพัฒนาการของกาลเวลาวันแล้ววันเล่าผ่านไปจึงจะเสร็จสวยงาม แล้วเสร็จสวยงามในระดับขั้นไหน พวกเขายังไม่สารถยืนยันได้ในช่วงตอนนั้น การได้เสพสิ่งสวยงามแบบนี้ เป็นเรื่องของคนรุ่นหลัง
ถ้าจะกล่าวว่า ต้นรัชกาลสมัยกวงซี่วเป็นปีที่ห้างชาคลาสสิคในหยินหนานก่อตั้งขึ้นมา ถ้าเช่นนั้น ปลายรัชกาลสมัยกวงซี่วก็เป็นปีที่ห้างชาทั้งหมดในหยินหนานเกิดการล่มสลาย เป็นเพราะโจรผู้ร้ายชุกชุมและเกิดโรคระบาด ห้างชาเกือบทั้งหมดต้องปิดตัวลง การเปิดและปิดเกิดขึ้นในต้นและปลายของรัชกาลสมัยเดียวกัน ทำให้ต้องมาให้ความสนใจชะตาชีวิตของกวงซี่วและธุรกิจชา
(ต่อ...คลิก "อ่านเพิ่มเติม")
ประวัติของชาผูเอ๋อร์
ประวิติศาสตร์ของชาจีนมีความเป็นมาอย่างยาวนาน มีหนังสือมากมายที่ได้บันทึกไว้แล้ว แต่ชาผูเอ๋อร์ที่ได้จากการหมักของจุลินทรีย์ถูกค้นพบตั้งแต่เมื่อไร และเข้าสู่ทำเนียบประวัติศาสตร์เมื่อไร? เคยเห็นตัวหนังสือที่เรียบเรียงอย่างกล่าวเสียมิได้ บังเอิญไม่สนใจมาบันทึกทางชายแดน จึงได้ละเลยปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ของความจริงที่ได้อุบัติขึ้นมา
ดังนั้น ขออนุญาตเล่าเรื่องประวัติของชาผูเอ๋อร์อย่างสรุปโดยย่อสักนิด
โบราณกาลของเมืองจีน จะมุ่งเน้นสนใจแต่ประวัติความเจริญรุ่งเรืองและการล่มสลายของราชวงค์ ละเลยประวัตินิเวศของพลเมือง ยิ่งไม่ต้องมาพูดถึงหยินหนาน(云南)ที่อยู่ไกลปืนเที่ยงแถวชายแดน แทบไม่มีนักปราชญ์สำคัญท่านใดมาบันทึกความเป็นไปของชาผูเอ๋อร์ได้อย่างทันการ หนังสือบันทึกในยุคสมัยถัง(唐代) ซ่ง(宋代) หมิง(明代) ต่างได้เอ่ยถึงพื้นที่ผูเอ๋อร์ผลิตชา แต่ดูจากการบันทึก วิธีการเด็ดและการต้มดื่มใบชายังโบราณมาก เชิงกล่าวโดยไม่มีรายละเอียด(语焉不详) ซึ่งไม่สามารถถือเป็นชาผูเอ๋อร์ที่เราพูดถึงทุกวันนี้ได้ ทำนองเดียวกันกับ ไม่ใช่อาหารการกินทุกอย่างในเขตกวางตุ้งแล้วสามารถเรียกเป็นอาหารกวางตุ้งได้ ชาผูเอ๋อร์ถูกจัดเข้าไปในระนาบของประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในยุคสมัยชิง(清代)
เป็นความโชคดีที่เป็นสมัยชิง วันเดือนปีเวลาช่วงนั้น เหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบ ปัญญาชนมีไม่มาก ชาผูเอ๋อร์จึงสามารถรอดพ้นกับดักจากการการบันทึกเป็นตัวหนังสือได้ จาก"วัฒนธรรมเรื่องราว(文本文化)"ยกระดับเป็น"วัฒนธรรมนิเวศ(生态文化)" ตลอกระยะเวลาที่ผ่านมาชาผูเอ๋อร์ถูกนักปราชญ์ว่ากล่าวนินทาถึงน้อยมาก เริ่มแรกเสมือนเป็นเรื่องร้าย ที่แท้เป็นเรื่องดี จากจุดนี้ชาผูเอ๋อร์จึงสามารถเข้าไปในประวัติศาสตร์อย่างสะอาดสดใสโดยไม่ถูกพวกบทกวีตื้นๆมาทำให้สับสนวุ่นวาย กินก็คือกิน ดื่มก็คือดื่ม ถ้าให้ความสนใจกับตัวหนังสือมากเกินไป(咬文嚼字) ทำให้ภาพความจริงหายไป
เนื่องจากฮ่องเต้และบรรดาอ๋องทั้งหลายในยุคสมัยชิง นิยมชมชอบดื่มชาผูเอ๋อร์เพื่อช่วยในระบบการย่อย ชาผูเอ๋อร์จึงเป็นเครื่องบรรณาการต้องถวายเข้าพระราชวัง ทำให้พวกขุนนางทั้งใหญ่เล็กต้องเสาะแสวงหาชาที่ถูกปากพระราชวงค์ ทำใเกิดกระแสนิยมชาผูเอ๋อร์ในหมู่ขุนนางและชนชั้นสูงตามมา ขุนนางฝ่ายจัดหาในพระราชวัง ต้องรีบปล่อยม้าเร็ววิ่งพันลี้ ลุยน้ำข้ามเขา ร่วมกับขุนนางท้องถิ่นภายใต้ความเกรงกลัวต่อพระบารมี ทุกๆปีจะทำการคัดเลือกชาคุณภาพและห้างชาอย่างพิถีพิถันเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ใครก็ไม่กล้าที่จะละเลยและเลินเล่อในหน้าที่นี้ นับจากนี้ไป ชาผูเอ๋อร์ก็กลายเป็นสิ่งประกอบชั้นสูงของชีวิต
ตั้งแต่ คังซี(康熙) ยุงเจิ้น(雍正) เฉียนหลง(乾隆) มาถึง เจียชิ่ง(嘉庆) ต้าวกวง(道光) เสียนฟง(咸丰) ในรัชกาลสมัยเหล่านี้เป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของชาแล้ว แต่จะมาให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือ ในรัชกาลสมัยกวงซี่ว(光绪 : 1875-1909) เพราะมีสัญลักษณ์สำคัญ คือ "ชาเกรดห้าง(号级茶)"ทั้งหลายได้ปรากฏตัวขึ้น
"ชาเกรดห้าง" คือ รุ่นชาที่มีตราสินค้าจากห้างชาเพื่อถวายเข้าพระราชวังและขายส่งออก การกระตุ้นเตือนให้ตระหนักรู้ถึงตราสินค้า ทำให้ชาผูเอ๋อร์ตั้งแต่เริ่มต้นก็เข้าสู่"ยุคคลาสสิค(经典时代)" นับจากนี้ไปกิจกรรมทุกอย่างก็ขับเคลื่อนด้วยมาตรฐาน
ก่อนรัชกาลสมัยกวงซี่ว ในรัชกาลสมัยเฉียนหลงก็มีห้างถงชิ่ง(同庆号) รัชกาลสมัยต้าวกวงมีห้างเฌอซุ้น(车顺号) รัชกาลสมัยถงเจื้อ(同治)มีห้างฝูชาง(福昌号) เป็นปรากฏการณ์แห่งการบุกเบิกที่ไม่ธรรมดา แต่ผู้เขียนไม่มีวาสนาที่ได้ชิมลิ้มลองผลิตภัณฑ์ชายุคสมัยนั้นของห้างเหล่านี้ ทุกวันนี้ห้างชายุคคลาสสิคที่เรายังสามารถ"เรียกหาดื่มสะใจ"ได้ เช่น ห้างซ่งหยิน(宋云号) ห้างเหยียนชาง(元昌号) และห้างซ่งพิ้น(宋聘号)ที่มีชื่ออันโด่งดัง ล้วนก่อตั้งในต้นรัชกาลสมัยกวงซี่ว
ต่อจากนี้ก็ผลักดันให้หมู่บ้านชา ห้างชา เกิดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด ถือเป็นสิ่งที่ไม่แปลก
ห้างเหยียนชางหลังก่อตั้งในในต้นรัชกาลสมัยกวงซี่วแล้ว พอถึงกลางรัชกาลสมัยกวงซี่วได้ไปเปิดสาขาห้างที่ถนนสายหลักในเมืองยี่หวู่(易武)ก่อตั้งห้างฝูเหยียนชาง(福元昌号) ดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงและต่อเนื่องมาถึงศตวรรษที่ 20 กลายเป็น"ตระกุลราชัน(王者一族)"แห่งชาผูเอ๋อร์ หมู่บ้านชานี้ภายหลังมีหัวหน้าที่มีชื่อเสียงคือ หยี่ฝู(余福) ซึ่งเป็นผู้ได้ใช้"ฉลากใน(内票)"ในแผ่นชาผูเอ๋อร์ เพื่อประกาศข้อความป้องกันการปลอมแปลงสินค้า
การปลอมแปลงห้างชา แสดงให้เห็นถึงตลาดใหญ่โตมาก การแข่งขันรุนแรง ห้างชามีมากมาย ตราสินค้ามีค่า ความมีชื่อเสียงของตราสินค้า โดยหลักการแล้วควรมาจากคุณภาพเป็นตัวตัดสิน แต่เนื่องจากคุณภาพของชาผูเอ๋อกว่าครึ่งเป็นผลมาจากระบบนิเวศของกลุ่มจุลินทรีย์ ประจวบเหมาะเป็นสิ่งที่ยากจะอธิบายให้เข้าใจได้ ดังนั้น จึงต้องสงสารพวกที่ต้องการป้องกันการปลอมแปลงไม่รู้จะต้องทำอย่างไร จึงจำเป็นต้องขอยืมใช้วิธี"โฆษณาภาพพจน์(好茶印象)"มาละเลงตราสินค้าของตัวเอง
เหตุการณ์เช่นนี้ เข้าทำนองที่ว่า เห็ด Truffle(松露) ที่บ้านถูกขโมยไป แต่ไม่รู้จะอธิบาย Truffle คืออะไร? จึงต้องบอกว่าเห็ด Mushroom(蘑菇) ของที่บ้านหายไปเป็นเห็ดที่ดีกว่าของชาวบ้าน ผลลัพธ์กลายเป็น Mushroom ถูกขโมยไป พวกหัวหน้าหมู่บ้านชาผูเอ๋อร์ได้พยายที่ยืนยันชาของพวกตนมีคุณภาพดีที่ผู้อื่นไม่สามารถผลิตลอกเลียนแบบได้ แต่ไปใช้มาตรฐานของชาเขียว
อย่างเช่น เจ้านี้บอกว่าชาตัวเองคือ "ยอดขาวอ่อนนุ่มใต้แสงแดดฤดูใบไม้ผลิ" เจ้านั้นบอกว่าชาตัวเองคือ "ยอดชาอ่อนนุ่มผลิตปราณีต" ต่างๆนานา การยืมเอามาตรฐานแบบนี้มานิยามชาผูเอ๋อร์ กลับเป็นการ "จำกัดตนเองให้แคบลง แสดงจุดด้อยตนเองให้เด่น(扬已之短 , 避已之长)" ผิดที่ผิดทางไปหมด
จากเรื่องดังกล่าวสามารถยืนยันได้ว่า จนถึงก่อนหน้าร้อยปีที่แล้ว ชาผูเอ๋อร์ยังไม่รู้วิธีที่จะอธิบายตัวเองได้อย่างไร ปรากฏการณ์เช่นนี้ กล่าวเชิงทางวิชาการได้ว่า มันยังขาด"การตระหนักรู้ทางเหตุผลต่อความเป็นตัวตนของตัวเอง"
คุณภาพของชาผูเอ๋อร์เป็นความลับของฟ้าดิน ก่อนที่จะได้รับการตระหนักรู้ทางเหตุผล ต้องอาศัยการรับรู้ทางลิ้นปาก กายใจ กาลเวลา เวลาช่วงนั้น พ่อค้าชาแม้รู้ความลับนี้อย่างลึกซึ้งแต่ไม่สามารถอธิบายออกมาได้ แต่พวกเขารู้ว่า รสชาติที่ตนเองสร้างขึ้นมาเป็นไปตามขบวนพัฒนาการของกาลเวลาวันแล้ววันเล่าผ่านไปจึงจะเสร็จสวยงาม แล้วเสร็จสวยงามในระดับขั้นไหน พวกเขายังไม่สารถยืนยันได้ในช่วงตอนนั้น การได้เสพสิ่งสวยงามแบบนี้ เป็นเรื่องของคนรุ่นหลัง
ถ้าจะกล่าวว่า ต้นรัชกาลสมัยกวงซี่วเป็นปีที่ห้างชาคลาสสิคในหยินหนานก่อตั้งขึ้นมา ถ้าเช่นนั้น ปลายรัชกาลสมัยกวงซี่วก็เป็นปีที่ห้างชาทั้งหมดในหยินหนานเกิดการล่มสลาย เป็นเพราะโจรผู้ร้ายชุกชุมและเกิดโรคระบาด ห้างชาเกือบทั้งหมดต้องปิดตัวลง การเปิดและปิดเกิดขึ้นในต้นและปลายของรัชกาลสมัยเดียวกัน ทำให้ต้องมาให้ความสนใจชะตาชีวิตของกวงซี่วและธุรกิจชา
(ต่อ...คลิก "อ่านเพิ่มเติม")
"ความลับสุดยอด"ของชาผูเอ๋อร์
ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
"ความลับสุดยอด"ของชาผูเอ๋อร์
อะไรคือ"ความลับสุดยอด"ของชาผูเอ๋อร์? คำถามเช่นนี้ไม่ใช่ให้นักดื่มชาแฟนพันธุ์แท้เป็นคนมาตอบ บุคคลที่สามารถอธิบายได้ชัดเจนมากกว่า ส่วนใหญ่จะรักษาระยะห่างและจากมุมมองที่เป็นกลาง
ในขอบเขตที่รู้จัก ทั่วๆไปยิ่งเป็นผู้ศึกษาวิจัยอายุน้อยยิ่งสามารถพูดใด้ค่อนข้างชัดเจนกว่า อย่างเช่น ผู้เชี่ยวชาญชาผูเอ๋อร์ไท่จิ้นลิน(太俊林)ที่เกิดปี 1974 ในด้านนี้จะดีกว่านักดื่มชาอาววุโสมาก หรือผู้ที่อาศัยอยู่ห่างจากหยินหนานผูเอ๋อร์ระยะไกล อย่างเช่นนักวิทยาศาสตร์ชาวอีสาน 2 ท่าน คือ เซิ้นจิน(盛军)และเฉินเจี๋ย(陈杰) ที่ได้ทำการศึกษาด้านชาผูเอ๋อร์อย่างน่ายกย่องสรรเสริญ
เพราะฉะนั้น จึงหวังว่านักดื่มชาทั้งหลายควรมารับฟังภาษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องจากการศึกษาด้านชาผูเอ๋อร์ แม้อาจพบกับแนวความคิดที่ไม่คุ้นเคย แต่ก็ขอความกรุณาให้วางจอกชาลงชั่วคราว แล้วกล้ำกลืนฝืนทนฟังต่อไป
พวกเราน่าจะเริ่มจากการหมัก
การหมักหมายถึงอะไร? กล่าวโดยทั่วไป คือการที่มนุษย์อาศัยจุลินทรีย์มาเปลี่ยนแปลงและยกระดับคุณลักษณะเซลล์ของอาหาร เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดรสชาติที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ อาหารที่ทำให้เรารำลึกถึงเสมอๆ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการหมัก อาทิเช่น เหล้าชั้นดีต่างๆ นมเปรี้ยว เนย เต้าหู้ยี้ กิมจิ ซีอิ้ว น้ำส้มสายชู เป็นต้น แม้เป็นของกิน อย่างขนมบังที่ผ่านการหมักจะหอมนุ่มและคุณค่าอาหารมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งเฉยๆ ทางการแพทย์ การผลิตวิตามิน กรดอะมิโน อินซูลิน วัคซีน ยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมน เป็นต้น ก็หนีไม่พ้นจากกระบวนการหมัก
จะเห็นได้ว่า ถ้าหากไม่มีการหมัก ชีวิตของคนเราจะเรียบง่ายไม่มีสีสันและจืดชืดเพียงใด ความรู้สึกทางรสชาติของเราก็จะน่าเบื่อหน่ายและน่าสงสารเพียงนั้น
พระเอกของการหมัก คือ จุลินทรีย์
เมื่อกล่าวถึงจุลินทรีย์ทีใด หัวข้อก็ใหญ่ขึ้นมาทันที นักวิทยสศาสตร์ได้กล่าวกับเราว่า มนุษย์กำเนิดบนโลกนี้เพียงหลายล้านปี แต่จุลินทรีย์ได้ดำรงอยู่มา 35 ร้อยล้านปีแล้ว สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ นอกจากสัตว์ พืช "สองอาณาจักร" นี้แล้ว "อาณาจักรที่สาม" ก็คือจุลินทรีย์ นำไปสู่การเกิดทฤษฎี"สิ่งมีชีวิต 3 โดเมน" "ไอ้ตัวเล็ก(小东西)"ที่มีขนาดเล็กมากและจำนวนหนาแน่นอย่างไร้ขีดจำกัด มี่อายุยืนยาวและลึกลับซับซ้อนอย่างหาที่เปรียบไม่ได้เหล่านี้ เรายังมีความเข้าใจเข้าถึงน้อยมากจนถึงทุกวันนี้ เป็นการเชิงบังคับที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์นานาชาติต้องมาก่อตั้งเทคโนโลยีชีวภาพที่ประกอบด้วยพันธุวิศวกรรม วิศวกรรมทางเซลล์ วิศวกรรมทางเอนไซม์ เป็นต้นมารวมศึกษาร่วมกัน แม้เป็นเพียงการเริ่มต้นการศึกษาวิจัย แต่มีผลงานออกมาทำให้ตะลึงอย่างน่าประหลาดใจ
คราวนี้ก็มาพูดถึงชาผูเอ๋อร์ได้แล้ว มันคือผลลัพธ์จากการปรนนิบัติตามลำดับของกลุ่มจุลินทรีย์สองผลัด
กลุ่มจุลินทรีย์ผลัดแรกซึ่งมีชีวิตชีวามาอย่างยาวนานในขุนเขาชาของหยินหนาน ทำการปรนนิบัติต้นชาโบราณพันธุ์ใบใหญ่มาตลอด ทำให้พวกมันสามารถรักษาและเพิ่มจำนวนสารประกอบของฟีนอล เช่นทีโพลิฟีนอลส์ ธีโอฟิลลีน คาเทชิน เป็นต้น และเพิ่มจำนวนของเอนไซม์ออกซิเดชั่น กลายเป็นวัตถุดิบชั้นดีสำหรับการผลิตชาผูเอ๋อร์
กลุ่มจุลินทรีย์ผลัดที่สองจะไม่เหมือนกัน รวมกันอยู่ในท่ามกลางกระบวนการผลิต พวกมันจะอึกทึกครึกโครมและเกาะติดอยู่บนใบชาจากการที่"เหมาฉาตากเขียว"หลังจากการเด็ดแล้วเกิด"เปลี่ยนแดงออกซิเดชั่น(氧化红变)"ภายใต้สภาวะร้อนชื้น จากการนำใบชามาฆ่าเขียวที่อุณหภูมิต่ำ นวดด้วยแรงไม่หนักมาก ตากแดดให้แห้งแล้ว ต่อจากนี้ไปก็จะค่อยๆกลายเป็นเจ้าบ้านแห่งการหมัก พวกมันจะผลักดันกระบวนการหมักทีละก้าวๆ ไม่หยุดที่เจริญเติบโต หายใจ คายพลังงานความร้อน กลืนกิน แปรเปลี่ยน ปลดปล่อย สุดท้ายสำเร็จได้เป็นชาผูเอ่อร์
เมื่อกล่าวถึงตรงจุดนี้ พวกเราสามารถใช้วิธีการหมักที่ไม่เหมือนกัน มาทำการจัดแยกความแตกต่างโดยพื้นฐานของชาผูเอ๋อร์และชาชนิดอื่นๆได้แล้ว
การผลิตชาเขียวต้องนำใบชาสดมาฆ่าเขียวโดยการคั่วพลิกกลับไปมาอย่างต่อเนื่องบนกระทะเหล็ก จนกว่าจะได้ผลของการเพิ่มกลิ่น คงรูป และคงความเป็นสีเขียวไว้ ลักษณะเช่นนี้จึงต้องใช้ความร้อนสูงเพื่อถอดถอนฤทธิ์ของจุลินทรีย์ ไม่ให้ทีโพลิฟีนอลส์เกิดการออกซิเดชั่น แล้วดำรงไว้ซึ่งไม่เกิดการหมักอีกต่อไป
ชาอูหลงจะไม่เหมือนกัน ตอนการผลิตจะต้องส่งเสริมให้เอนไซม์ชีวภาพมีฤทธิ์ ซึ่งก็คือหลังการหมักระดับต่ำเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและรสชาติ แล้วผ่านการคั่วเขียวอบแห้ง ทำให้การหมักสิ้นสุดลง
ชาแดงเป็นการให้ระดับการหมักลากยาวออกไป เพื่อให้ได้กลิ่นและสีตามที่ต้องการอย่างเต็มที่จุใจ แล้วทำนองเดียวกันใช้ความร้อนมาหยุดการหมักอย่างทันที
(ต่อ...คลิก "อ่านเพิ่มเติม")
"ความลับสุดยอด"ของชาผูเอ๋อร์
อะไรคือ"ความลับสุดยอด"ของชาผูเอ๋อร์? คำถามเช่นนี้ไม่ใช่ให้นักดื่มชาแฟนพันธุ์แท้เป็นคนมาตอบ บุคคลที่สามารถอธิบายได้ชัดเจนมากกว่า ส่วนใหญ่จะรักษาระยะห่างและจากมุมมองที่เป็นกลาง
ในขอบเขตที่รู้จัก ทั่วๆไปยิ่งเป็นผู้ศึกษาวิจัยอายุน้อยยิ่งสามารถพูดใด้ค่อนข้างชัดเจนกว่า อย่างเช่น ผู้เชี่ยวชาญชาผูเอ๋อร์ไท่จิ้นลิน(太俊林)ที่เกิดปี 1974 ในด้านนี้จะดีกว่านักดื่มชาอาววุโสมาก หรือผู้ที่อาศัยอยู่ห่างจากหยินหนานผูเอ๋อร์ระยะไกล อย่างเช่นนักวิทยาศาสตร์ชาวอีสาน 2 ท่าน คือ เซิ้นจิน(盛军)และเฉินเจี๋ย(陈杰) ที่ได้ทำการศึกษาด้านชาผูเอ๋อร์อย่างน่ายกย่องสรรเสริญ
เพราะฉะนั้น จึงหวังว่านักดื่มชาทั้งหลายควรมารับฟังภาษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องจากการศึกษาด้านชาผูเอ๋อร์ แม้อาจพบกับแนวความคิดที่ไม่คุ้นเคย แต่ก็ขอความกรุณาให้วางจอกชาลงชั่วคราว แล้วกล้ำกลืนฝืนทนฟังต่อไป
พวกเราน่าจะเริ่มจากการหมัก
การหมักหมายถึงอะไร? กล่าวโดยทั่วไป คือการที่มนุษย์อาศัยจุลินทรีย์มาเปลี่ยนแปลงและยกระดับคุณลักษณะเซลล์ของอาหาร เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดรสชาติที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ อาหารที่ทำให้เรารำลึกถึงเสมอๆ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการหมัก อาทิเช่น เหล้าชั้นดีต่างๆ นมเปรี้ยว เนย เต้าหู้ยี้ กิมจิ ซีอิ้ว น้ำส้มสายชู เป็นต้น แม้เป็นของกิน อย่างขนมบังที่ผ่านการหมักจะหอมนุ่มและคุณค่าอาหารมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งเฉยๆ ทางการแพทย์ การผลิตวิตามิน กรดอะมิโน อินซูลิน วัคซีน ยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมน เป็นต้น ก็หนีไม่พ้นจากกระบวนการหมัก
จะเห็นได้ว่า ถ้าหากไม่มีการหมัก ชีวิตของคนเราจะเรียบง่ายไม่มีสีสันและจืดชืดเพียงใด ความรู้สึกทางรสชาติของเราก็จะน่าเบื่อหน่ายและน่าสงสารเพียงนั้น
พระเอกของการหมัก คือ จุลินทรีย์
เมื่อกล่าวถึงจุลินทรีย์ทีใด หัวข้อก็ใหญ่ขึ้นมาทันที นักวิทยสศาสตร์ได้กล่าวกับเราว่า มนุษย์กำเนิดบนโลกนี้เพียงหลายล้านปี แต่จุลินทรีย์ได้ดำรงอยู่มา 35 ร้อยล้านปีแล้ว สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ นอกจากสัตว์ พืช "สองอาณาจักร" นี้แล้ว "อาณาจักรที่สาม" ก็คือจุลินทรีย์ นำไปสู่การเกิดทฤษฎี"สิ่งมีชีวิต 3 โดเมน" "ไอ้ตัวเล็ก(小东西)"ที่มีขนาดเล็กมากและจำนวนหนาแน่นอย่างไร้ขีดจำกัด มี่อายุยืนยาวและลึกลับซับซ้อนอย่างหาที่เปรียบไม่ได้เหล่านี้ เรายังมีความเข้าใจเข้าถึงน้อยมากจนถึงทุกวันนี้ เป็นการเชิงบังคับที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์นานาชาติต้องมาก่อตั้งเทคโนโลยีชีวภาพที่ประกอบด้วยพันธุวิศวกรรม วิศวกรรมทางเซลล์ วิศวกรรมทางเอนไซม์ เป็นต้นมารวมศึกษาร่วมกัน แม้เป็นเพียงการเริ่มต้นการศึกษาวิจัย แต่มีผลงานออกมาทำให้ตะลึงอย่างน่าประหลาดใจ
คราวนี้ก็มาพูดถึงชาผูเอ๋อร์ได้แล้ว มันคือผลลัพธ์จากการปรนนิบัติตามลำดับของกลุ่มจุลินทรีย์สองผลัด
กลุ่มจุลินทรีย์ผลัดแรกซึ่งมีชีวิตชีวามาอย่างยาวนานในขุนเขาชาของหยินหนาน ทำการปรนนิบัติต้นชาโบราณพันธุ์ใบใหญ่มาตลอด ทำให้พวกมันสามารถรักษาและเพิ่มจำนวนสารประกอบของฟีนอล เช่นทีโพลิฟีนอลส์ ธีโอฟิลลีน คาเทชิน เป็นต้น และเพิ่มจำนวนของเอนไซม์ออกซิเดชั่น กลายเป็นวัตถุดิบชั้นดีสำหรับการผลิตชาผูเอ๋อร์
กลุ่มจุลินทรีย์ผลัดที่สองจะไม่เหมือนกัน รวมกันอยู่ในท่ามกลางกระบวนการผลิต พวกมันจะอึกทึกครึกโครมและเกาะติดอยู่บนใบชาจากการที่"เหมาฉาตากเขียว"หลังจากการเด็ดแล้วเกิด"เปลี่ยนแดงออกซิเดชั่น(氧化红变)"ภายใต้สภาวะร้อนชื้น จากการนำใบชามาฆ่าเขียวที่อุณหภูมิต่ำ นวดด้วยแรงไม่หนักมาก ตากแดดให้แห้งแล้ว ต่อจากนี้ไปก็จะค่อยๆกลายเป็นเจ้าบ้านแห่งการหมัก พวกมันจะผลักดันกระบวนการหมักทีละก้าวๆ ไม่หยุดที่เจริญเติบโต หายใจ คายพลังงานความร้อน กลืนกิน แปรเปลี่ยน ปลดปล่อย สุดท้ายสำเร็จได้เป็นชาผูเอ่อร์
เมื่อกล่าวถึงตรงจุดนี้ พวกเราสามารถใช้วิธีการหมักที่ไม่เหมือนกัน มาทำการจัดแยกความแตกต่างโดยพื้นฐานของชาผูเอ๋อร์และชาชนิดอื่นๆได้แล้ว
การผลิตชาเขียวต้องนำใบชาสดมาฆ่าเขียวโดยการคั่วพลิกกลับไปมาอย่างต่อเนื่องบนกระทะเหล็ก จนกว่าจะได้ผลของการเพิ่มกลิ่น คงรูป และคงความเป็นสีเขียวไว้ ลักษณะเช่นนี้จึงต้องใช้ความร้อนสูงเพื่อถอดถอนฤทธิ์ของจุลินทรีย์ ไม่ให้ทีโพลิฟีนอลส์เกิดการออกซิเดชั่น แล้วดำรงไว้ซึ่งไม่เกิดการหมักอีกต่อไป
ชาอูหลงจะไม่เหมือนกัน ตอนการผลิตจะต้องส่งเสริมให้เอนไซม์ชีวภาพมีฤทธิ์ ซึ่งก็คือหลังการหมักระดับต่ำเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและรสชาติ แล้วผ่านการคั่วเขียวอบแห้ง ทำให้การหมักสิ้นสุดลง
ชาแดงเป็นการให้ระดับการหมักลากยาวออกไป เพื่อให้ได้กลิ่นและสีตามที่ต้องการอย่างเต็มที่จุใจ แล้วทำนองเดียวกันใช้ความร้อนมาหยุดการหมักอย่างทันที
(ต่อ...คลิก "อ่านเพิ่มเติม")
3 คุณลักษณะเด่นของชาผูเอ๋อร์
ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
3 คุณลักษณะเด่นของชาผูเอ่อร์
ผู้คนส่วนใหญ่เมื่อเริ่มหันมาดื่มชาผูเอ๋อร์ มักจะประสบอุปสรรคเล็กน้อย
อุปสรรคนี้มาจากการเปรียบเทียบ โดยไปเปรียบเทียบกับผู้ยิ่งใหญ่...ชาเขียว
ชาเขียวคุณภาพดีๆแก้วหนึ่ง กลิ่นหอมใสอันทรงพลัง(浩荡清香)สามารถฟุ้งขจรกระจายระหว่างริมฝีปากและฟัน ใบชาที่ยังดำรงไว้สีเขียว ตั้งตรงและคลี่แผ่ออกเริงระบำท่วงทำนองลอยและจมอย่างช้าๆภายในน้ำอุ่นๆ เป็นภาพที่ตราตรึงใจเป็นยิ่งนัก เมื่อได้จิบดื่มสักคำ รสฝาดเล็กน้อยแบบสมุมไพร ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นความหอมกรุ่นของกลิ่นฤดูใบไม้ผลิของปีนี้ ความสดใหม่ดั่งเช่นได้ยินเสียงนกร้องในขณะที่ยืนอยู่ที่ราบบนภูเขาที่เต็มไปด้วยเมฆหมอก
หลงจิ่ง(龙井) หรือ เหาขุย(猴魁) ล้วนเป็นชาเขียวที่มีเวทมนตร์ ภายหลังเมื่อได้มาดื่มชาอูหลง "เถี่ยกวนอิน(铁观音)" และเหยียนฉา"ต้าหงผาว(大红袍)"แล้ว มีความรู้สึกว่าชาเขียวแม้จะดีแต่ค่อนไปทาง"อ่อนนุ่ม(轻盈)" ขณะกำลังชิมลิ้มได้รสชาติออกมาแล้วก็ต้องจืดจางหายไป รวดเร็วปานกามนิตหนุ่มจนหาเงาไม่เจอ
ชาอูหลงมีความหนาลึกมากกว่า แม้จะไม่มีความสดหอมใสแบบชาเขียว แต่เป็นการซ่อนกลิ่นอยู่ภายใน ทำให้ผู้ที่เสพดื่มอายุมั่นขวัญยืน(年岁陡长) ภายใต้การเทียบเคียง "เถี่ยกวนอิน"---เข้มข้นดึงดูด(浓郁清奇) "ต้าหงผาว"---อิ่มเอิบสงบนิ่ง(饱满沉着) ผู้เขียนจะชอบตัวหลังมากกว่า แล้วมีชาแดงที่มาจากแหล่งใกล้ๆกัน "จินจวิ้นใหม(金骏眉)" ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวมันเอง วันเดือนปีที่ผ่านมาดื่มไปไม่น้อยเช่นกัน
ในขณะที่ชิมดื่มทำนองนี้ ได้มาเจอะเจอชาผูเอ๋อร์อย่างปัจจุบันทันด่วน เห็นรูปลักษณ์แลัวรู้สึกแปลก ก้อนดำๆ"ใบใหญ่ก้านหยาบ(粗枝大叶)" อัดขึ้นรูปเป็นแผ่นอย่างยุ่งเหยิง เมื่อนำมาดมใกล้จมูกก็ไม่รู้สึกมีกลิ่นหอมใส แซะออกมาชงด้วยน้ำเดือด น้ำกระเพื่อมออกมาเป็นสีน้ำตาลอ่อน จิบดื่มหนึ่งคำ ความรู้สึกมีรสชาติที่เก่าเก็บ
คนเรากับอาหารการกิน มักคุ้นที่จะเลือกความสดใหม่ ดังนั้น สำหรับรสชาติที่เก่าเก็บจะทำให้รู้สึกหวาดระแวงเสมอ ยิ่งกว่านั้น ความจริงที่มีชาผูเอ๋อร์ผลิตแบบคุณภาพต่ำ และที่จัดเก็บไม่ดีซึ่งมีกลิ่นใกล้เคียงกับ"อาหารบูด(霉锅盖)"วางขายในท้องตลาด ทำให้นักดื่มชาที่คิดจะลองเข้ามาต้องเมินหน้าหนีจากไป
แต่ถึงอย่างไร นักดื่มชาที่หันตัวเพื่อจะจากไปต้องชะงักและลังเลใจ เพราะพวกเขารู้ดีว่า ในโลกนี้มีผู้คนที่นิยมชมชอบชาผูเอ๋อร์จำนวนไม่น้อยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี หรืออาจเป็นเพราะว่า พวกเขาทั้งหลายนิยมชมชอบ"อาหารบูด"อย่างไม่ลืมหูลืมตากระนั้นหรือ? ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ต่างก็มีอาชีพการงานที่ประสบความสำเร็จของตนเอง ไม่ได้ดำรงจาก"การปั่น(炒作)"และ"เล่ห์เหลี่ยม(忽悠)"เพื่อมาขับเคลื่อนชาผูเอ๋อร์ ดังนั้น นักดื่มชาที่หันตัวเพื่อตีจากไปเริ่มสงสัยตัวเอง แล้วกลับมาสู่จุดเริ่มต้นใหม่ ลองคบหาผู้คนที่เข้าใจ และชิมดื่มชาผูเอ๋อร์ที่มีมาตรฐาน
การกลับมาใหม่ครั้งนี้ เดิมพันถึงชีวิต ถ้าหากพวกเขายังพร้อมที่จะเปิดใจรับความยืดหยุ่นทางสรีระของอุปนิสัยการกินการดื่มของตนเอง ถ้าหากพวกเขายังคงไว้ซึ่งความตื่นเต้นของชีวิตในการได้ค้นพบความรู้สึกทางลิ้นและปากที่เหนือชั้น ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว สถานการณ์จะเปลี่ยนมาทางค่อนข้างรุนแรง นักดื่มชาที่มีความลังเลใจเหล่านี้จะดื่มขึ้นมาทันที แล้วจะวางไม่ลงอีกต่อไป
นี่มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่?
ลำดับแรก คือ คุณประโยชน์ (功效)
นักดื่มชาเกือบทุกคนจะมีประสบการณ์เช่นนี้ : หลังดื่มชาผูเอ๋อร์ชั้นยอดไปหลายจอก ความรู้สึกทางรสชาติยังพูดออกมาไม่ถูกเลย แต่ด้านหลังกายจะมีเหงื่อซึมออกมาเล็กน้อย แล้วช่องท้องเกิดการบีบตัว ทรวงอกจะรู้สึกเบิกบาน ใต้ลิ้นเกิดการน้ำลายสอ(生津) เคยใช้คำ"อ่อนนุ่ม"มาอธิบายชาเขียว สำหรับชาผูเอ๋อร์แล้ว แม้รูปลักษณ์จะดูไม่อ่อนนุ่ม แต่สิ่งที่ได้ทดแทนกลับมาคือทำให้ร่างกายนักดื่มชา"อ่อนนุ่ม"
นี้เป็นสิ่งสุดยอด คิดย้อนกลับไปประวัติศาสตร์สมัยราชวงค์ชิง ฮ่องเต้ทั้งหลายลงจากหลังอานม้ามาเสพชีวิตในพระราชวัง พระราชกรณียกิจที่หนักที่สุดก็คือพระวรกายที่ยิ่งมายิ่งอ้วน ดังนั้น เมื่อพระองค์ท่านได้มาดื่มชาผูเอ๋อร์โดยไม่ตั้งใจ ทรงชื่นพระราชหฤทัยเป็นยิ่งนัก
รัชกาลยุงเจิ้น(雍正)ชาผูเอ๋อร์จำนวนไม่น้อยเป็นเครื่องบรรณาการถวายเข้าไปในพระราชวังแล้ว ฮ่องเต้เฉียนหลง(乾隆)เมื่อได้ดื่มก้านใบสีน้ำตาลทำให้พระองค์ทรงรู้สึกผ่อนคลาย จึงไปค้นหาใน《คัมภีร์ชา(茶经)》แต่ไม่พบอะไร จึงได้หัวเราะเยาะเย้ยลู่หยี่(陆羽)ก็"เด๋อ(拙)"เช่นกัน พระองค์จึงได้เขียนบทกลอนท่อนหนึ่งว่า : "点成一碗金茎露,品泉陆羽应惭拙" ปกติพระองค์จะเขียนกลอนได้ไม่ดีนัก จะไม่ไปสืบสาวราวเรื่อง แต่ถ้าใช้"หยดน้ำก้านใบทอง(金茎露)"แทนชาผูเอ๋อร์ ถือว่าใช้ได้ทีเดียว
ในบันทึกช่วยจำของพระราชวังได้กล่าวไว้ว่า : "การต้อรรับด้วยชาควรต้อนรับด้วยชาผูเอ๋อร์หนึ่งจอกก่อน เพราะว่ามันทั้งอุ่นและละลายไขมันได้" จากเมืองหลวงคิดย้อนกลับไปเส้นทางชา-ม้าโบราณ เส้นทางแต่ละเส้นเริ่มจากเมืองผูเอ๋อร์แล้วทอดยาวออกไป ส่วนใหญ่มุ่งสู่ไปพื้นที่สูงอันหนาวเหน็บที่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นหลักพืชผักจะน้อย พื้นที่เหล่านี้น่าจะเกิดโรคภัยทางระบบการย่อยอาหารและระบบหลอดเลือดหัวใจ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ผู้คนได้ค้นพบสาเหตุจากแผ่นชาผูเอ๋อร์ที่ลำเลียงบนหลังม้าในกองคาราวานม้า
ทุกวันนี้พวกเรายังสามารถค้นหาตัวหนังสือบันทึกที่เกี่ยวข้องจากพงศาวดาร อาทิเช่น : "ชาผูเอ๋อร์รสจะขมชั่วครู่ ละลายไขมัน แก้พิษวัวแพะ" ; "ชาเป็นวัตถุ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ธิเบตชนเผ่าเร่ร่อนทิศตะวันตก ทานเนื้อเป็นอาหาร ขาดชาแล้วจะไม่เกิดการย่อย" ; "ขาดชาวันเดียวจะท้องเสีย ขาดชาสามวันจะเป็นไข้" ........
ปัจจุบันประเทศจีน อาหารอุดมสมบูรณ์ ไขมันเกินความต้องการ ผู้คนยิ่งมายิ่งมากที่ประสบปัญหาเฉกเช่นเดียวกับพระราชวังชิงและคนพื้นเมืองที่ราบสูง โดยเฉพาะ วิธีการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้รับรองและยืนยันแล้วว่า ชาผูเอ๋อร์มีคุณประโยชน์ในการลดน้ำตาลและไขมันในเลือดอย่างเด่นชัดมาก ดังนั้น กรแสนิยมดื่มชาผูเอ๋อร์ มีเหตุผลที่พิสูจน์ให้เห็นแล้ว
ไม่เพียงแค่นี้ ชาผูเอ๋อร์ยังมีอีกหนึ่งจุดเด่น ก็คือดื่มแล้วไม่มีผลกระทบต่อการนอนหลับ แม้จะดื่มในช่วงเวลากลางคืน ก็ยังสามารถล้มหมอนนอนหลับฝันดี ข้อดีเช่นนี้ มีเฉพาะหนึ่งเดียวในผลิตภัณฑ์ชาทุกชนิด
ลองคิดดู ชีวิตผู้คนส่วนใหญ่ต้องดำเนินอย่างเร่งรีบ จึงมักเป็นช่วงเวลากลางคืนที่คิดจะดื่มชาในบรรยากาศที่สร้างความรู้สึกสุขสบายผ่อนคลาย ชาชนิดอื่น เป็นการยากที่จะดื่มได้อย่างสบายใจในช่วงกลางคืน ดังนั้น ชาผูเอ๋อร์จึงเป็นเจ้าพ่อในยามราตรีกาล ใครคิดที่จะมาท้าทายอำนาจ ก็คงได้แค่แหกปากร้องตะโกนในช่วงกลางวัน เมื่อถึงยามพลบค่ำ การตะเบ็งเสียงต้องหยุดลง
(ต่อ...คลิก "อ่านเพิ่มเติม")
3 คุณลักษณะเด่นของชาผูเอ่อร์
ผู้คนส่วนใหญ่เมื่อเริ่มหันมาดื่มชาผูเอ๋อร์ มักจะประสบอุปสรรคเล็กน้อย
อุปสรรคนี้มาจากการเปรียบเทียบ โดยไปเปรียบเทียบกับผู้ยิ่งใหญ่...ชาเขียว
ชาเขียวคุณภาพดีๆแก้วหนึ่ง กลิ่นหอมใสอันทรงพลัง(浩荡清香)สามารถฟุ้งขจรกระจายระหว่างริมฝีปากและฟัน ใบชาที่ยังดำรงไว้สีเขียว ตั้งตรงและคลี่แผ่ออกเริงระบำท่วงทำนองลอยและจมอย่างช้าๆภายในน้ำอุ่นๆ เป็นภาพที่ตราตรึงใจเป็นยิ่งนัก เมื่อได้จิบดื่มสักคำ รสฝาดเล็กน้อยแบบสมุมไพร ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นความหอมกรุ่นของกลิ่นฤดูใบไม้ผลิของปีนี้ ความสดใหม่ดั่งเช่นได้ยินเสียงนกร้องในขณะที่ยืนอยู่ที่ราบบนภูเขาที่เต็มไปด้วยเมฆหมอก
หลงจิ่ง(龙井) หรือ เหาขุย(猴魁) ล้วนเป็นชาเขียวที่มีเวทมนตร์ ภายหลังเมื่อได้มาดื่มชาอูหลง "เถี่ยกวนอิน(铁观音)" และเหยียนฉา"ต้าหงผาว(大红袍)"แล้ว มีความรู้สึกว่าชาเขียวแม้จะดีแต่ค่อนไปทาง"อ่อนนุ่ม(轻盈)" ขณะกำลังชิมลิ้มได้รสชาติออกมาแล้วก็ต้องจืดจางหายไป รวดเร็วปานกามนิตหนุ่มจนหาเงาไม่เจอ
ชาอูหลงมีความหนาลึกมากกว่า แม้จะไม่มีความสดหอมใสแบบชาเขียว แต่เป็นการซ่อนกลิ่นอยู่ภายใน ทำให้ผู้ที่เสพดื่มอายุมั่นขวัญยืน(年岁陡长) ภายใต้การเทียบเคียง "เถี่ยกวนอิน"---เข้มข้นดึงดูด(浓郁清奇) "ต้าหงผาว"---อิ่มเอิบสงบนิ่ง(饱满沉着) ผู้เขียนจะชอบตัวหลังมากกว่า แล้วมีชาแดงที่มาจากแหล่งใกล้ๆกัน "จินจวิ้นใหม(金骏眉)" ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวมันเอง วันเดือนปีที่ผ่านมาดื่มไปไม่น้อยเช่นกัน
ในขณะที่ชิมดื่มทำนองนี้ ได้มาเจอะเจอชาผูเอ๋อร์อย่างปัจจุบันทันด่วน เห็นรูปลักษณ์แลัวรู้สึกแปลก ก้อนดำๆ"ใบใหญ่ก้านหยาบ(粗枝大叶)" อัดขึ้นรูปเป็นแผ่นอย่างยุ่งเหยิง เมื่อนำมาดมใกล้จมูกก็ไม่รู้สึกมีกลิ่นหอมใส แซะออกมาชงด้วยน้ำเดือด น้ำกระเพื่อมออกมาเป็นสีน้ำตาลอ่อน จิบดื่มหนึ่งคำ ความรู้สึกมีรสชาติที่เก่าเก็บ
คนเรากับอาหารการกิน มักคุ้นที่จะเลือกความสดใหม่ ดังนั้น สำหรับรสชาติที่เก่าเก็บจะทำให้รู้สึกหวาดระแวงเสมอ ยิ่งกว่านั้น ความจริงที่มีชาผูเอ๋อร์ผลิตแบบคุณภาพต่ำ และที่จัดเก็บไม่ดีซึ่งมีกลิ่นใกล้เคียงกับ"อาหารบูด(霉锅盖)"วางขายในท้องตลาด ทำให้นักดื่มชาที่คิดจะลองเข้ามาต้องเมินหน้าหนีจากไป
แต่ถึงอย่างไร นักดื่มชาที่หันตัวเพื่อจะจากไปต้องชะงักและลังเลใจ เพราะพวกเขารู้ดีว่า ในโลกนี้มีผู้คนที่นิยมชมชอบชาผูเอ๋อร์จำนวนไม่น้อยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี หรืออาจเป็นเพราะว่า พวกเขาทั้งหลายนิยมชมชอบ"อาหารบูด"อย่างไม่ลืมหูลืมตากระนั้นหรือ? ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ต่างก็มีอาชีพการงานที่ประสบความสำเร็จของตนเอง ไม่ได้ดำรงจาก"การปั่น(炒作)"และ"เล่ห์เหลี่ยม(忽悠)"เพื่อมาขับเคลื่อนชาผูเอ๋อร์ ดังนั้น นักดื่มชาที่หันตัวเพื่อตีจากไปเริ่มสงสัยตัวเอง แล้วกลับมาสู่จุดเริ่มต้นใหม่ ลองคบหาผู้คนที่เข้าใจ และชิมดื่มชาผูเอ๋อร์ที่มีมาตรฐาน
การกลับมาใหม่ครั้งนี้ เดิมพันถึงชีวิต ถ้าหากพวกเขายังพร้อมที่จะเปิดใจรับความยืดหยุ่นทางสรีระของอุปนิสัยการกินการดื่มของตนเอง ถ้าหากพวกเขายังคงไว้ซึ่งความตื่นเต้นของชีวิตในการได้ค้นพบความรู้สึกทางลิ้นและปากที่เหนือชั้น ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว สถานการณ์จะเปลี่ยนมาทางค่อนข้างรุนแรง นักดื่มชาที่มีความลังเลใจเหล่านี้จะดื่มขึ้นมาทันที แล้วจะวางไม่ลงอีกต่อไป
นี่มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่?
ลำดับแรก คือ คุณประโยชน์ (功效)
นักดื่มชาเกือบทุกคนจะมีประสบการณ์เช่นนี้ : หลังดื่มชาผูเอ๋อร์ชั้นยอดไปหลายจอก ความรู้สึกทางรสชาติยังพูดออกมาไม่ถูกเลย แต่ด้านหลังกายจะมีเหงื่อซึมออกมาเล็กน้อย แล้วช่องท้องเกิดการบีบตัว ทรวงอกจะรู้สึกเบิกบาน ใต้ลิ้นเกิดการน้ำลายสอ(生津) เคยใช้คำ"อ่อนนุ่ม"มาอธิบายชาเขียว สำหรับชาผูเอ๋อร์แล้ว แม้รูปลักษณ์จะดูไม่อ่อนนุ่ม แต่สิ่งที่ได้ทดแทนกลับมาคือทำให้ร่างกายนักดื่มชา"อ่อนนุ่ม"
นี้เป็นสิ่งสุดยอด คิดย้อนกลับไปประวัติศาสตร์สมัยราชวงค์ชิง ฮ่องเต้ทั้งหลายลงจากหลังอานม้ามาเสพชีวิตในพระราชวัง พระราชกรณียกิจที่หนักที่สุดก็คือพระวรกายที่ยิ่งมายิ่งอ้วน ดังนั้น เมื่อพระองค์ท่านได้มาดื่มชาผูเอ๋อร์โดยไม่ตั้งใจ ทรงชื่นพระราชหฤทัยเป็นยิ่งนัก
รัชกาลยุงเจิ้น(雍正)ชาผูเอ๋อร์จำนวนไม่น้อยเป็นเครื่องบรรณาการถวายเข้าไปในพระราชวังแล้ว ฮ่องเต้เฉียนหลง(乾隆)เมื่อได้ดื่มก้านใบสีน้ำตาลทำให้พระองค์ทรงรู้สึกผ่อนคลาย จึงไปค้นหาใน《คัมภีร์ชา(茶经)》แต่ไม่พบอะไร จึงได้หัวเราะเยาะเย้ยลู่หยี่(陆羽)ก็"เด๋อ(拙)"เช่นกัน พระองค์จึงได้เขียนบทกลอนท่อนหนึ่งว่า : "点成一碗金茎露,品泉陆羽应惭拙" ปกติพระองค์จะเขียนกลอนได้ไม่ดีนัก จะไม่ไปสืบสาวราวเรื่อง แต่ถ้าใช้"หยดน้ำก้านใบทอง(金茎露)"แทนชาผูเอ๋อร์ ถือว่าใช้ได้ทีเดียว
ในบันทึกช่วยจำของพระราชวังได้กล่าวไว้ว่า : "การต้อรรับด้วยชาควรต้อนรับด้วยชาผูเอ๋อร์หนึ่งจอกก่อน เพราะว่ามันทั้งอุ่นและละลายไขมันได้" จากเมืองหลวงคิดย้อนกลับไปเส้นทางชา-ม้าโบราณ เส้นทางแต่ละเส้นเริ่มจากเมืองผูเอ๋อร์แล้วทอดยาวออกไป ส่วนใหญ่มุ่งสู่ไปพื้นที่สูงอันหนาวเหน็บที่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นหลักพืชผักจะน้อย พื้นที่เหล่านี้น่าจะเกิดโรคภัยทางระบบการย่อยอาหารและระบบหลอดเลือดหัวใจ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ผู้คนได้ค้นพบสาเหตุจากแผ่นชาผูเอ๋อร์ที่ลำเลียงบนหลังม้าในกองคาราวานม้า
ทุกวันนี้พวกเรายังสามารถค้นหาตัวหนังสือบันทึกที่เกี่ยวข้องจากพงศาวดาร อาทิเช่น : "ชาผูเอ๋อร์รสจะขมชั่วครู่ ละลายไขมัน แก้พิษวัวแพะ" ; "ชาเป็นวัตถุ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ธิเบตชนเผ่าเร่ร่อนทิศตะวันตก ทานเนื้อเป็นอาหาร ขาดชาแล้วจะไม่เกิดการย่อย" ; "ขาดชาวันเดียวจะท้องเสีย ขาดชาสามวันจะเป็นไข้" ........
ปัจจุบันประเทศจีน อาหารอุดมสมบูรณ์ ไขมันเกินความต้องการ ผู้คนยิ่งมายิ่งมากที่ประสบปัญหาเฉกเช่นเดียวกับพระราชวังชิงและคนพื้นเมืองที่ราบสูง โดยเฉพาะ วิธีการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้รับรองและยืนยันแล้วว่า ชาผูเอ๋อร์มีคุณประโยชน์ในการลดน้ำตาลและไขมันในเลือดอย่างเด่นชัดมาก ดังนั้น กรแสนิยมดื่มชาผูเอ๋อร์ มีเหตุผลที่พิสูจน์ให้เห็นแล้ว
ไม่เพียงแค่นี้ ชาผูเอ๋อร์ยังมีอีกหนึ่งจุดเด่น ก็คือดื่มแล้วไม่มีผลกระทบต่อการนอนหลับ แม้จะดื่มในช่วงเวลากลางคืน ก็ยังสามารถล้มหมอนนอนหลับฝันดี ข้อดีเช่นนี้ มีเฉพาะหนึ่งเดียวในผลิตภัณฑ์ชาทุกชนิด
ลองคิดดู ชีวิตผู้คนส่วนใหญ่ต้องดำเนินอย่างเร่งรีบ จึงมักเป็นช่วงเวลากลางคืนที่คิดจะดื่มชาในบรรยากาศที่สร้างความรู้สึกสุขสบายผ่อนคลาย ชาชนิดอื่น เป็นการยากที่จะดื่มได้อย่างสบายใจในช่วงกลางคืน ดังนั้น ชาผูเอ๋อร์จึงเป็นเจ้าพ่อในยามราตรีกาล ใครคิดที่จะมาท้าทายอำนาจ ก็คงได้แค่แหกปากร้องตะโกนในช่วงกลางวัน เมื่อถึงยามพลบค่ำ การตะเบ็งเสียงต้องหยุดลง
(ต่อ...คลิก "อ่านเพิ่มเติม")
วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558
"เล่าเรื่องใหม่" การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 3/3)
ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
“เล่าเรื่องใหม่”
การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์
ตอนที่ 3/3 : ชาผูเอ๋อร์ คือ ชา GABA ที่บริสุทธิ์ที่สุด
กลางทศวรรษที่ 80 เป็นช่วงเวลาที่นักวิชาการของญี่ปุ่นรู้สึก”ปีติยินดี(欢呼雀跃)”อย่างมากกับชา GABA ที่พัฒนาออกมาใหม่ ชาผูเอ๋อร์จากหยินหนานในเมืองจีน---ผลิตภัณฑ์ชาที่มีกรรมวิธีการผลิตสืบทอดกันมากว่าพันปี
ก็ได้เริ่มการ”เดินทาง(征程)”ใหม่
ความเป็นจริง
มีอยู่เรื่องหนึ่งที่เราไม่เคยรับรู้มาก่อน ก็คือ
ชาผูเอ๋อร์จากหยินหนานประกอบด้วยองค์ประกอบเคมีมากมายในนั้นมี GABA ปริมาณมากร่วมอยู่ด้วย หลังจากเราได้แยกแยะวิเคราะห์กรรมวิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์อย่างละเอียดแล้ว
ค้นพบว่า “Road Map(路径)” ของการเกิด GABA ในชาผูเอ๋อร์แสดงให้เห็นถึงเป็นหลักทางวิทยาศาสตร์มากกว่า
สมเหตุสมผลมากกว่า มันไม่เพียงเป็นชา GABA แบบคลาสสิค ยังเป็นชา GABA ที่บริสุทธิ์ที่สุด
ทำไมถึงกล่าวเช่นนี้?
ลำดับแรก
จุดเด่นของชาผูเอ๋อร์คือประกอบด้วยสารที่มีคุณภาพ GABA แม้ว่ามีกระจายอยู่ตามพืชหลายชนิด
แต่เส้นทางของการก่อกำเนิดที่สำคัญคือเกิดจาก L-Glutamic Acid
Decarboxylation (L-谷氨酸脱羧反应) ปฏิกิริยานี้โดยมีเอนไซม์ Glutamic
Acid Decarboxylase (GDC : L-谷氨酸脱羧酶) เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
บางสถานการณ์ GABA สามารถแปรเปลี่ยนจาก Ornithine (乌氨酸) และ Putrescine (丁二胺) ซึ่งสารเหล่านี้ก็ได้มาจาก Glutamic Acid (GA ;谷氨酸) ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า GA เป็นวัตถุดิบตัวเดียวเฉพาะของ GABA ใบชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานจะมี GA
ประกอบอยู่สูงกว่าใบชาเล็กของชาเขียวและใบชากลางของชาอูหลง
ในญี่ปุ่น ใบชาพันธุ์เขต Yabukita (薮北) เหมาะที่จะนำมาทำชา GABA รูปแบบชาเขียว ส่วนใบชาเขตอื่นๆจะมี GABA ประกอบอยู่ต่ำ ส่วนชา GABA ในรูปแบบชาอูหลงและชาแดงจะใช้ใบชาพันธุ์ฟูจิแดง(红富士) แต่ GABA ที่ได้จะอยู่ในสถานะไม่ค่อยเสถียร อาจเป็นเพราะคุณภาพของวัตถุดิบมีส่วนเกี่ยวข้อง
ดังนั้น ใบชาใหญ่ของหยินหนานมีข้อดีที่เด่นชัดในด้านนี้
ใบชาใหญ่ที่ใช้ผลิตชาผูเอ๋อร์มี“Road Map”ของการแปรเปลี่ยนเป็น GABA จาก Enzymatic Catalysis (酶催化) ของ Theanine (茶氨酸) แปรเปลี่ยนเป็น GA แล้ว GA ผ่าน Enzymatic Catalysis แปรเปลี่ยนเป็น GABA
ลำดับต่อมา Anaerobic Fermentation
(AAF : 厌氧发酵)
ของชาผูเอ๋อร์ที่ทำให้เกิด GABA มีข้อดีกว่าวิธีแบบ Anaerobic (嫌气方法) ของญี่ปุ่นมากมาย
การผลิตชาผูเอ๋อร์แบบดั้งเดิมของหยินหนาน คือ นำเหมาฉา(毛茶)ที่ผ่านการตากแดดมาผ่านไอน้ำร้อนอัดขึ้นรูป
เป็นรูปก้อน แผ่นกลม ถ่อ แผ่นสี่เหลี่ยม เป็นต้น เมื่อกระบวนการได้สิ้นสุด ณ
ขั้นตอนนี้ ชาผูเอ๋อร์จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนหลังของการหมักแห่งกาลเวลาอันยาวนาน
ซึ่งในขั้นตอนนี้ครึ่งแรกเป็นขั้นตอนของ AAF ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ GABA ก่อเกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมากและรวบรวมอยู่ในชาผูเอ๋อร์
AAF ของชาผูเอ๋อร์และกระบวนการไม่ใช้ออกซิเจนของชา GABA ของญี่ปุ่นมีความเหมือนแม้จะแตกต่าง(异曲同工)อย่างน่าฉงน ข้อแตกต่างคือของญี่ปุ่นใช้ภาชนะที่ไม่มีออกซิเจน
โดยการอัดก๊าซไนโตรเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในภาชนะแทนที่อากาศ
ทำให้ภายในภาชนะอยู่ในภาวะไม่มีออกซิเจน
แต่ชาผูเอ๋อร์จากหยินหนานใช้วิธีการกดอัดขึ้นรูปทำให้อากาศภายในชาอัดขึ้นรูปถูกไล่ออกไปจนหมด(หรือเหลืออากาศอยู่น้อยที่สุด)
ทำให้ส่วนด้านในของชาอัดขึ้นรูปอยู่ในภาวะไม่มีออกซิเจนเช่นกัน
มีสิ่งหนึ่งที่ต้องกล่าวถึง คือ “วิธีการหมักกอง(渥堆法)” ของชาสุกจากหยินหนาน
ยิ่งถือเป็นแบบคลาสสิคของ AAF ภายใต้ภาวะไม่มีออกซิเจนจะได้ GABA มีปริมาณไม่เฉพาะสูงกว่าชา GABA ของญี่ปุ่นและยังสูงกว่าชาดิบอัดขึ้นรูปแบบดั้งเดิม
ใบชาสุกที่ออกจากกองใหม่ๆที่เราจะได้กลิ่นผสมของรสเปรี้ยวเสมอ
ทั่วไปเรียกว่า”กลิ่นกอง(堆味)” ที่แท้เป็นผลจาก GABA ที่มีปริมาณมาก ดังนั้น ชาผูเอ๋อร์ที่เพิ่งออกจากกองจะมีปริมาณ GABA สูง แต่เมื่อ”ออกจากคลัง(退仓)”ผ่านไปสองถึงสามปี”กลิ่นกอง”จะเริ่มหายไปหรือเจือจางลง
ปริมาณของ GABA ก็เริ่มลดลงจนถึงจุดระดับที่คงที่ ดังนั้น เราสามารถที่จะกล่าวเช่นนี้ได้ว่า
เมื่อพูดถึงชา GABA กรรมวิธีการผลิตของญี่ปุ่นเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย
วิธี AAF ของชาผูเอ๋อร์จากหยินหนานยังคงมีร่องรอยของการทำงานแบบดั้งเดิมมาก
แต่ผลลัพธ์สุดท้าย ชาผูเอ๋อร์จากหยินหนานเบื้องหน้าวิธีการล้าสมัย
แต่ผลลัพธ์ออกมาได้ดีกว่า มันเป็นกระบวนการที่ไม่เฉพาะแบบเรียบง่าย ต้นทุนต่ำ
แล้วสามารถควบคุมผลได้เหนือกว่า
แน่นอน มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้าม
วิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์ของหยินหนานจากโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน
รวมทั้งวิธี”หมักกอง”ที่ได้คิดค้นพัฒนาตามมาทีหลัง
ล้วนไม่ใช่พุ่งเป้าเพื่อการให้ได้ GABA เพราะชาผูเอ๋อร์ครอบคลุมถึงสารอาหารที่กว้างขวางกว่ามาก เกินกว่าที่ GABA ตัวเดียวจะมารวบรัดไว้ได้
ขออุปมาอุปไมยดังนี้ GABA คือ 1 หมู่ทหารประจัญบาน ส่วนชาผูเอ๋อร์เป็น
1 กองทัพ ซึ่งประกอบด้วย หมู่ทหารประจัญบาน
กองพันทหารม้า กรมทหารปืนใหญ่ เป็นต้น สิ่งสำคัญคือศักยภาพของการร่วมกันรบ”ทำศึก(作战)” ไกลเกินกว่าที่ชา GABA ที่มีคุณสมบัติด้านเดียวมาเทียบเคียงได้
เราเริ่มต้นจากการรู้จักชาผูเอ๋อร์ คือ
เริ่มจาก”ละลายไขมัน(解油腻)” ต่อมาจากข้อมูลข่าวสารที่ผู้บริโภคสะท้อนกลับมา
จึงเข้าใจชาผูเอ๋อร์มีสรรพคุณในการลดความดันโลหิต เพียงแต่อดีตเราไม่ทราบว่าสารประกอบตัวไหนที่มีผลทางยาและกลไกในการลดความดันโลหิต
หลังจากได้ค้นพบ GABA---สารประกอบเคมีที่เป็นองค์ประกอบในชาผูเอ๋อร์
คำกล่าวที่ว่า ชาผูเอ๋อร์ลดความดันโลหิต
สุดท้ายก็หาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เจอแล้วครับท่าน...
........จบบริบูรณ์........
(แปล-เรียบเรียง-ย่อ
จากบทความ 《”เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์》 ...เขียนโดย เฉินเจี๋ย ปี 2011)
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 06 มี.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 06 มี.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)