ปริมาณชาชงและการควบคุมความเข้มจาง
ชา 1 จอก ถ้าหากชงออกมาจางจะรู้สึกจืดชืดสนิท แต่ถ้าชงออกมาเข้มเกินไป ทำให้อารมณ์ในการดื่มชาที่ขมฝาดเกินไปเหมือนถูกต้อนให้เข้าไปอยู่ในมุมอับ ดังนั้น「สัดส่วนความเข้มข้น」ของการชงชาจะต้องจับให้มั่นคั้นให้ได้จุดเหมาะสมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่ว่าพวกเราจะชงชาเป็นหรือไม่ ต่างก็เข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักการนี้ แต่พวกเราเริ่มจาก「ปริมาณชาชง」ก้าวแรกของการชงชา ซึ่งจะต้องใส่ปริมาณใบชาเท่าไรจึงจะสอดคล้องกับปั้นชาหรือเหยือกบนมือ แต่จากต้นจนจบล้วนไม่มีอะไรที่มั่นใจ ทุกสิ่งล้วนกระทำด้วยอารมณ์หรือโดยสัญชาตญาณ ตามความพึงพอใจของตนเอง
แตกต่างจาก「การสกัดเชิงครั้งเดียว」ของกาแฟ วิธีการชงชาที่พวกเราคุ้นเคยคือ「แนวความคิดการชงย้อนแบบการชงมากครั้ง」ทว่า แม้ว่าวิธีการชงใบชาและกาแฟจะแตกต่างกัน แต่กล่าวสำหรับตุ่มรับรสในปากของพวกเราแล้ว การผัสสะได้ถึงความเข้มจางจะเหมือนกัน ดังนั้น หากพวกเราสามารถนำ「สัดส่วนความเข้มข้น」ของการสกัดเชิงครั้งเดียวมากำหนดเป็นแนวความคิดของ「ปริมาณชาชง g」แล้ว ถ้าอย่างนั้นต่อจากนี้ไปทุกครั้งที่พวกเราคิดที่จะชงชา ไม่ว่าเป็นการให้สอดคล้องกับ「ความจุ ml」ของปั้นจื่อซาหรือเหยือก จำนวนครั้งของการชงหรือปริมาตรทั้งหมด ml ของน้ำชาที่ปรารถนา แล้วมาใช้ดุลพินิจการใส่「ปริมาณชาชง g」ของใบชาที่เหมาะสม น่าจะเป็นแนวทางการอ้างอิงที่ไม่เลวทีเดียว
สัดส่วนความเข้มข้นของการดื่มชา ก็คือสัดส่วนความเข้มจางของน้ำชาจากการสกัดเชิงครั้งเดียว พวกเราสามารถอ้างอิงจากแนวความคิด「สัดส่วนความเข้ม」ของการดื่มชาที่กำหนดจากความเข้มข้นที่สกัดจากใบชาส่งเข้าประกวดประจำปีของเขตชาต่างๆ ส่วน「สัดส่วนความจาง」พวกเราสามารถพิจารณาค่า g ที่กำหนดของปริมาณชาถุงทั่วไปมาอ้างอิงได้
สัดส่วนความเข้ม 1g : 50ml
แนวความคิดการสกัดของใบชาประกวดคือการสกัดให้น้ำชามีความเข้มข้นสูงเล็กน้อย แล้วจึงนำมาทำการประเมินความรู้สึกของประสาทสัมผัสโดยการลิ้มชิมรส น้ำชาที่มีความเข้มข้นสูงจะช่วยขยายจุดเด่นจุดด้อยทางกลิ่นหอม รสชาติและความรู้สึกในปากของชาที่เข้าประกวดทุกตัว จะช่วยในการประเมินความรู้สึกของประสาทสัมผัสจากกการผัสสะ「รูป สี กลิ่น รส」
การประกวดชา จะใช้แก้วทดสอบที่เป็นเครื่องเคลือบสีขาวขนาดความจุ 150ml ใส่ชา 3g แล้วใช้น้ำเดือดในการสกัด เวลาการแช่ตามรูปลักษณะของใบชา เช่น : 「ชาเส้น 5 นาที」「ชารูปเม็ด 6 นาที่」จะได้น้ำชาที่เข้มข้นแล้วทิ้งให้เย็นตัวลงจนถึงอุณหภูมิอุ่นพอเหมาะกับการดื่มเข้าปากได้ แล้วให้คณะกรรมการทำการประเมินความรู้สึกของประสาทสัมผัสเพื่อเลือกชาที่โดดเด่นที่สุดและตามลำดับ
สัดส่วนความจาง 1g : 100ml
ในปี ค.ศ. 1908 พ่อค้าชาชาวสหรัฐผู้มีนามว่า Thomas Sullivanr ได้นำใบชาแต่ละรูปแบบมาแยกใส่ในถุงผ้าไหมแล้วส่งให้ลูกค้าเพื่อลองชิม เดิมถุงผ้าไหมเพียงเพื่อใช้แยกใส่ใบชาเท่านั้น ผลสุดท้ายเมื่อลูกค้าได้รับชาตัวอย่างแล้วคิดว่าจะต้องชงชาพร้อมถุงผ้าไหม และก็รู้สึกพึงพอใจต่อการออกแบบลักษณะเช่นนี้ ด้วยประการฉะนี้ ชาถุงจึงได้เป็นประดิษฐกรรมที่จุติเกิดขึ้นมาภายใต้ภาวะลองผิดลองถูก เริ่มตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ชาถุงที่สะดวกง่ายต่อการดื่มชาก็ค่อยๆทดแทนวิธีการดื่มชาแบบดั้งเดิมที่ใช้กาในการชงชา กลายเป็นรูปแบบการดื่มชาที่เป็นกระแสนิยมไปทั่วโลก ตราบจนถึงปัจจุบัน
ชาถุงที่นำมาซึ่งความสะดวกและง่ายต่อการดื่มชา บนหลักการของการกำหนดน้ำหนักทั่วๆไปจะค่อนไปทางสัดส่วนความจาง แล้วให้ผู้บริโภคเป็นผู้ใช้ดุลพินิจปริมาณน้ำที่ใช้ ปรับให้ได้ความเข้มข้นตามความชอบส่วนบุคคล ชาตราสินค้าดังส่วนใหญ่ใช้ชาแดงผงเป็นหลัก โดยกำหนดน้ำหนักชาทุกถุงระหว่าง 2-2.8g ดังนั้น พวกเราก็น่าจะใช้สัดส่วนความเข้มข้น 1g : 100ml มาเป็นค่าอ้างอิงของสัดส่วนความจางในการชงชาของพวกเรา
「บันทึกเรื่องชา」| คุณภาพน้ำ และ เวลาการชงแช่ และ สัดส่วนความเข้มข้น
จะต้องทำอย่างไรโดยนำสัดส่วนความเข้มข้นของการชงเชิงครั้งเดียวมาคำนวณ「ปริมาณชาชง g」ของการชงมากครั้งโดยการชงด้วยปั้น ? ก่อนอื่นพวกเราต้องกำหนดความเข้มข้นของน้ำชาที่ตนเองปรารถนา แล้วนำค่าความจุ ml ของปั้นชาและจำนวนครั้งของการชงที่ปรารถนามาคำนวณปริมาณของ「ปริมาณชาชง g」ที่เหมาะสม
ตัวอย่างเช่น : ใช้ปั้นชาขนาดความจุ 135ml ประมาณการชง 5 ครั้ง และความเข้มข้นของน้ำชาที่พวกเราปรารถนา 1g : 80ml ถ้าเช่นนั้นน้ำชารวมที่ต้องการ 135ml x 5 = 675ml และหารด้วยความเข้มข้น 80 ที่ปรารถนา 675ml / 80 = 8.4375 ตัวเลข 8.4 ที่ได้ก็คือ「ปริมาณชาชง g」ที่สมเหตุผล แน่นอน จะต้องทำอย่างไรในการรักษาความเข้มข้นของน้ำชาอย่างสม่ำเสมอในการชงแต่ละครั้ง หรือคิดที่จะให้รสชาติมีการขึ้นๆลงๆเพื่อแสดงถึงฝีมือในการชงชาแล้วละก็ ต้องหมั่นฝึกฝนตนเองเป็นประจำ
เมื่อมีตรรกะของสัดส่วนความเข้มข้นแล้ว ก้าวแรกของการมีความคิดที่จะนำปั้นมาชงชา ใช้ตัวช่วยในการกำหนด「ปริมาณชาชง g」มิใช่กระทำโดยการกะประมาณหรือทำตามใจฉันล้วนๆ นอกจากนั้น ใบชาโดยตัวมันเองก็ดูดซับน้ำบางส่วน ทำให้ใบชาคลี่คลายและบุคลิกถูกละลายออกมา พูดโดยคร่าวๆ ใบชา 1g จะดูดซับน้ำได้ประมาณ 4ml ซึ่งเป็นส่วนที่พวกเราดื่มไม่ได้
จาก「EP1 | ต้นชาและบุคลิก」และ「EP2 | ประเภทชาและการแปรรูปชา」ที่ได้อธิบายไปแล้ว เช่น ชาพันธุ์ใบใหญ่เล็ก ฤดูกาลเด็ดแปรรูป ความสูงระดับน้ำทะเลและกรรมวิธีการแปรรูปประเภทชา...เป็นต้นซึ่งเป็น「เอกลักษณ์ของใบชา」ที่แตกต่างกัน เป็นตัวกำหนด「สัดส่วนความเข้มข้น」ที่เหมาะสมของน้ำชา แล้วจึงนำมาคำนวณ「ปริมาณชาชง g」ของการชงชาให้สอดคล้องกัน
การชงชาเชิงผสมผสานของ「อุณหภูมิน้ำ」「เวลาการชงแช่」และ「สัดส่วนความเข้มข้น」สำหรับชาแต่ละประเภทตามรูปข้างล่าง ที่แนะนำสำหรับมือใหม่หัดชง โดยยึดลักษณะนี้เป็นมาตรฐานสำหรับฝึกฝนชงชา แล้วอิงตามความรู้สึกทางรสที่ตนเองชื่นชอบมาปรับแต่งแต่ละรายละเอียดและแต่ละขั้นตอนของการชงชา
จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ช่วยให้พวกเรากำหนด「ตรรกะการชงชา」ที่เป็นรูปธรรม เมื่อมีหลักการพื้นฐานนี้แล้วจะช่วยให้พวกเราเดินหน้าไปอีกก้าวในการนำชามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน
▲「อุณหภูมิน้ำชงชา」&「เวลาการชงแช่」& [สัดส่วนความเข้มข้น]
(บน)〖ชารูปเม็ด〗การชงสูง --- ชาอูหลง-เกาซานอูหลง/ต้งติ่งอูหลง [1g : 80ml] >>「อุณหภูมิน้ำชงชา」100ºC | ครั้ง1「1นาที」ครั้ง2「0.5นาที」ครั้ง3「1นาที」ครั้ง4「1.5นาที」...(ล่าง)〖ชาเส้น〗การชงต่ำ --- ชาเขียว [1g : 80ml] ชาอูหลง-ตงฟางเหม่ยเหริน [1g : 80ml] ชาแดงพันธุ์ใบใหญ่ [1g : 100ml] >>「85ºC - 90ºC」; ชาแดงพันธุ์ใบเล็ก [1g : 80ml] ชาอูหลง-เหวินซานเปาจ่ง [1g : 80ml] >>「95ºC - 100ºC」| ครั้ง1「0.5นาที」ครั้ง2「0.5นาที」ครั้ง3「1นาที」ครั้ง4「1.5นาที」...
การผัสสะชาและการบรรยายบุคลิก
ถ้าหากพิจารณาดูเส้นใบของใบชาแต่ละใบอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว คุณก็จะค้นพบว่า「ใบชาที่แท้เกิดจากหัวใจแห่งความรักจำนวนมากร่วมประสานกันขึ้นมา」นี่เหมือนกับใบชาพูดเป็นนัยกับพวกเราว่า ชาดี 1 จอกต้องผ่านขั้นตอนมากมายที่ต้องเอาใจใส่จึงจะสามารถทำปรากฏให้เป็นจริงและสัมฤทธิ์ผล ความเป็นจริง สารของใบชาเริ่มต้นโดยการบ่มเตรียมจากต้นชาและช่องว่างระหว่างฟ้า-ดิน ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ด้วยใจรักของผู้เพาะปลูก ต่อจากนั้นสารเหล่านี้อันเนื่องจากกระบวนการแปรรูปชาจึงค่อยๆเปลี่ยนเป็นสี/กลิ่น/รสที่เข้มข้นน่าหลงใหล นั่นต้องอาศัยความตั้งใจของอาจารย์ทำชาและความอดทนของอาจารย์ปิ้งชา สุดท้าย ใบชาที่ผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้วยังต้องการความละเมียดละไมในการชงชาและการลิ้มชิมรสของคนดื่มจึงไม่เป็นการทรยศต่อ「หยดน้ำทิพย์เลิศรสที่บ่มเตรียมมาจากช่องว่างระหว่างฟ้า-ดิน-คน」
▲「ใบชาที่แท้เกิดจากหัวใจแห่งความรักจำนวนมากร่วมประสานกันขึ้นมา」
เพียงแต่ว่า เมื่อพวกเราดื่มชา 1 จอกแล้วจะมีความรู้สึกเช่นไร ต้องทำอย่างไรจึงจะนำบุคลิกที่ผัสสะได้ทำการบรรยายออกมาได้ ? นี่ต้องอาศัยการฝึกฝน! ก่อนอื่น พวกเราน่าที่จะนำ「บุคลิก (風味/Flavor)」มาทำการแยกออกเป็นส่วนๆ เช่น : 「กลิ่นหอม」「รสชาติ」และ「ความรู้สึกในปาก」...เป็นต้น แล้วแบ่งเป็นกลิ่นหอมที่จำแนกได้จากการดม รสชาติที่ผัสสะได้จากตุ่มรับรสบนลิ้น และ เนื้อสัมผัสที่เยื่อบุช่องปากผัสสะได้ วิธีการบรรยายบุคลิกลักษณะแบบนี้ ไม่เพียงเหมาะสำหรับใช้ในการบรรยายบุคลิกของชาเท่านั้น ยังเหมาะที่จะใช้กับเครื่องดื่มหรืออาหารเลิศรสจากกการบ่มหมักที่ทรงคุณค่าให้คุณปลดปล่อยเวลามาลิ้มชิมรสย่างละเมียดละไม
〖กลิ่นหอม〗(香氣/Aroma)
ไม่มีสารใดๆบนโลกนี้ที่จะมีกลิ่นพื้นฐานสารเดียว กลิ่นเดียว นั่นก็คือว่า กลิ่นหอมทั้งหลายที่แท้ล้วนเกิดจากกลิ่นหอมอื่นๆมากมายประกอบกันขึ้นมา อาทิเช่น : บนดอกกุหลาบ คุณอาจกระทบได้ถึงกลิ่นลิ้นจี่ กลิ่นน้ำผึ้งและกลิ่นเวอร์จินของมะเขือเทศ...เป็นกลิ่นที่ดำรงอยู่ในดอกกุหลาบ ดังนั้น ครั้งต่อไปเมื่อคุณคิดที่จะลองเขียนบรรยายกลิ่นหอมของใบชาแล้ว ควรที่จะมีความมั่นใจมากขึ้นที่จะพูดจากความรู้สึกที่คุณผัสสะได้จริง (มิใช่จากมโนคติ)
ด้านกลิ่นหอม ระดับการหมักและการอบปิ้งของใบชามีผลกระทบต่อลักษณะกลิ่นหอมที่แสดงออกเป็นไปเชิงทางเดียวที่ไม่สามารถย้อนกลับ ตามความตื้นลึกของการหมักและการอบปิ้งของใบชา กลิ่นชาจะเปลี่ยนแปลงไปในบริบทของกลิ่นหอมที่แตกต่างกันในแต่ละระดับ
▲ผลกระทบของระดับการหมักและการอบปิ้งของใบชาต่อลักษณะกลิ่นหอมที่แสดงออกเป็นไปเชิงทางเดียวที่ไม่สามารถย้อนกลับ
(แกนตั้ง) ระดับการอบปิ้งของใบชา --- เมื่ออบปิ้งถึงกลิ่นโน้ตของช็อคโกแลตแล้วก็ไม่มีวิธีที่จะเอาคืนกลับมาที่กลิ่นโน้ตของถั่วเปลือกแข็งหรือโน้ตเดิมของชากึ่งสำเร็จรูป ทว่า ยิ่งอบปิ้งความแรงของกลิ่นจะยิ่งเข้มยิ่งแรง(แกนนอน) ระดับการหมักของใบชา --- การหมักถึงกลิ่นโน้ตของบ่มหมักแล้วก็ไม่มีวิธีที่จะเอาคืนกลับไปที่กลิ่นของพืชผักได้ ความเข้มข้นของกลิ่นจะยิ่งมายิ่งเข้มขึ้นตามระดับการหมักที่เพิ่มขึ้น
〖รสชาติ〗(滋味/Taste)
ตุ่มรับรสในปากของพวกเราหลักๆกระจายอยู่บนผิวลิ้นและแก้มสองข้าง ตุ่มรับรสเหล่านี้สามารถรับรู้ถึงรส เปรี้ยว หวาน ขม เค็ม อันเป็น 4 รสชาติพื้นฐาน แม้ว่าพวกเราสามารถจำแนกรสชาติและบรรยายออกมาได้ แต่ชาที่ไม่ใส่น้ำตาลควรที่จะต้องทำอย่างไรที่จะสามารถผัสสะได้ถึงรสหวานในน้ำชา ? ความเป็นจริง พวกเราสามารถแบ่งลิ้นออกเป็นบริเวณของตุ่มรับรสที่มีความอ่อนไหวต่อ 4 รสชาตินี้ แล้วมาผัสสะแต่ละรสชาติที่ดำรงอยู่
ตัวอย่างเช่น : ตุ่มรับรสบนปลายลิ้นจะมีความอ่อนไหวต่อ「รสหวาน」เมื่อตุ่มรับรสบนปลายลิ้นผัสสะได้ถึงรสหวานแล้วจะเกิดการกระตุ้นน้ำลาย (生津) โดยธรรมชาติ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาของน้ำลายสอ ตุ่มรับรสบนโคนลิ้นจะอ่อนไหวต่อ「รสขม」เป็นพิเศษ ดังนั้นทุกครั้งที่คุณดื่มยาจีนที่ขมมากๆแล้ว รู้สึกความขมเต็มปาก คุณจึงคิดที่จะเอาบ๊วยเค็มหรือลูกอมอัดใส่ลงบนโคนลิ้นเพื่อระงับความขม กรณี「รสเปรี้ยว」ตุ่มรับรสบนบริเวณโคนลิ้นทั้งสองครั้งจะมีความสามารถในการรับรู้รสเปรี้ยวค่อนข้างดี ลองบรรเจิดให้เกิดจิตนาการว่าจะใช้มะนาวมาดับกระหายน้ำ แล้วมาสังเกตปฏิกิริยาตอบโต้ของตุ่มรับรสบนหลังลิ้นสองครั้ง ส่วน「รสเค็ม」คงอาจเป็นรสชาติที่คนส่วนใหญ่มีความสามารถในการรับรู้ต่ำ อาจทดสอบโดยการใส่เกลือบนลิ้นแล้วค่อยๆเกลี่ยออกไปสองข้างของลิ้นส่วนหน้าเพื่อฝึกการผัสสะรสเค็ม
▲บริเวณของตุ่มรับรสบนลิ้นที่มีความอ่อนไหวต่อรส「เปรี้ยว/酸 หวาน/甜 ขม/苦 เค็ม/鹹」อันเป็น 4 รสชาติพื้นฐาน
〖ความรู้สึกในปาก〗(口感/Mouth Feel)
ความรู้สึกในปากคือความรู้สึกทางประสาทสัมผัสในปาก ความฝาดของชาเป็นความรู้สึกในปาก ไม่ใช่รสชาติ คุณจะบรรยายความฝาดอย่างไร ? ความฝาดคือ「ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสที่เยื่อบุช่องปากเกิดการย่นรัดผิว」ซึ่งก็คือเยื่อบุช่องปากมีความรู้สึกลักษณะ「ฝาดแห้ง หยาบกร้าน」ทีโพลิฟีนอลส์/คาเทชินส์ในน้ำชาก็คือสารให้รสชาติตัวหลักที่ก่อเกิดความฝาด นอกจากความฝาดที่ผัสสะได้เมื่อดื่มน้ำชาแล้ว ใบชาที่มีภูมิหลังของการเจริญเติบโตและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน สัดส่วนของสารที่ละลายน้ำและองค์ประกอบที่อยู่ในใบชาจะไม่เหมือนกัน ดังนั้น การบรรยายความรู้สึกในปากของชายังมี : ความสดชื่น ความเนียนนุ่ม(ดั่งผ้าไหม) ความกลมกล่อม ความละมุ่น ความหยาบกร้าน ความมีชีวิตชีวา ความเข้มข้น หรือความหนาแน่น...เป็นต้น อันเป็นความรู้สึกซึ่งผสมผสาน
〖ปัจจัย X〗(X 因子/X factors)
ในการบรรยายบุคลิก เป็นความรู้สึกภายในที่ยากจะพรรณนามากที่สุดและจะไม่ยินยอมให้ใครมาท้าทายมากที่สุด เหตุผลคือคุณอาจเนื่องจากความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีภูมิหลังการเจริญเติบโต อุปนิสัย ประสบการณ์ ความชอบ หรือกระทั่งคู่ขาในการดื่มชา แสง อุณหภูมิ และอารมณ์ทางสภาวะแวดล้อม...ซึ่งมีอิทธิพลต่อคุณในการบรรยายบุคลิก (ที่เสมือน)
การประกอบกันขึ้นของ 4 ส่วนข้างต้นก็คือการบรรยายบุคลิกที่สมบูรณ์แบบ
「บุคลิก = กลิ่นหอม + รสชาติ + ความรู้สึกในปาก + ปัจจัย X」
จำให้ขึ้นใจถึงสูตรของการบรรยายบุคลิกนี้ มันสามารถช่วยให้พวกเราใช้ในการบรรยายบุคลิกองค์รวมของน้ำชาหรือเครื่องดื่มชั้นดีจาการบ่มหมัก
ถ้าหากมีความรู้เรื่องชาที่เป็นรูปธรรมแล้วจะช่วยในการตัดสินใจ การชื่นชอบก็จะไม่มีเหตุผลที่ยากในการพรรณนาหรือพูดไม่ออก การดื่มชาของพวกเราก็จะยิ่งมั่นใจตนเองมากยิ่งขึ้น
〖การดื่มน้ำชาหนึ่งคำ สิ่งที่ได้ลิ้มรสมิใช่เพียงแค่รสชาติ ในนั้นยังประกอบด้วยเรื่องราวและความรู้อันลึกซึ้งอีกมากมาย〗
ปัจฉิมลิขิต
《ความรู้ที่ซ่อนแอบอยู่ในรสชาติของชา》เป็นสมุดบันทึกจากการเรียนรู้เรื่องชาในตลอดระยะ 10 ปีที่ผ่านมาของหวังหมิงเสียง (王明祥) ที่ได้รวบรวมแนวความคิดและความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชา นำจิ๊กซอว์ความรู้ที่กักเก็บอยู่ในใบชาและถูกสกัดออกมากระจัดกระจายอยู่ในน้ำชามาประกอบเข้าด้วยกัน โดยการนำเสนอแบ่งออกเป็น 5 บท แต่ทางผู้แปลขอจบการแปลเป็นบทความเพื่อเผยแพร่เพียง 3 Episode นี้เท่านั้น โดยข้าม「Chapter3 : กลิ่นหอมของชาใต้หวัน | ชาที่มีเอกลักษณ์พิเศษของใต้หวัน」และ「Chapter5 : จริตจะก้านของชา | การซื้อชาและการเก็บชา」
เนื้อหาใจความซึ่งแปลไม่ครบถ้วนกระบวนความและไม่สามารถทำให้สมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับ และข้อผิดพลาดใดๆที่ปรากฏจาการแปล ต้องขออภัยต่อผู้เขียนต้นฉบับและท่านผู้อ่านไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
สุดท้าย ขอนำข้อความที่ผู้เขียนได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ในท้ายสุดของเล่มว่า :「We believe that a perfect day begins with a simple cup of tea./ พวกเราเชื่อว่าวันที่สมบูรณ์พูนสุขเริ่มจากชาที่เรียบง่ายหนึ่งจอก」
▼เอกสารอ้างอิง : 王明祥 , 2019.《茶味裡的隱知識》