วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า (4)

กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า (4)
一次迟到的论证 (四)



บุคคลสำคัญที่พวกเราต้องจารึกและจดจำ

        กระทำการพิสูจน์ต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่านปังหวายเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์ใบชาของโลก หลังจากนั้นเทศกาลชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 ที่จัดขึ้นมีผลต่อวงการใบชาของเมืองจีน โดยเฉพาะต่อการเฟื่องฟูของชาผูเอ๋อร์ในภายภาคหลังก็เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ยิ่งใหญ่ ต้องการบ่งบอกให้ชัดเจนก็คือ ไม่ว่าเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เรื่องใดล้วนเชื่อมโยงกับบุคคลสำคัญที่มีส่วนร่วมกับเหตุการณ์สำคัญครั้งนั้น เป็นที่ประจักษ์ ถ้าปราศจากความสุขุมเยือกเย็นและความกล้าหาญของพวกเขา บวกกับการทะลวงกฏข้อระเบียบของดั้งเดิม พวกเราก็ยากที่จะคาดคิดถึงผลสัมฤทธิ์ที่ชาผูเอ๋อร์ได้รับในทุกวันนี้ กระทั่งเป็นของระดับสูงที่ใหม่ถอดด้าม

        พวกเขาเป็นประชาคมหนึ่ง ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านชาและนักธุรกิจชา แม้ว่าพวกเราไม่สามารถนำพวกเขามากล่าวถึงเป็นรายบุคคลได้ แต่บุคคลสำคัญที่เพียบพร้อมทางเชิงตัวแทนมากที่สุดที่พวกเราต้องจารึกและจดจำ

หลี่ซือเฉิน (李师程)



        บุคคลสำคัญแรกที่พวกเราให้ความสนใจคือ หลี่ซือเฉิน ในช่วงเวลานั้น เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนพื้นที่ซือเหมาหยินหนาน ก่อนหน้าเป็นนักศึกษาดีเด่นสำเร็จการศึกษาจากคณะวิชาฟิสิกส์มหาวิทยาลัยหยินหนาน ถ้าหากไม่เข้ารับราชการแล้ว จะเป็นนักวิทยสศาสตร์ที่โดดเด่นผู้หนึ่งได้เช่นกัน จากบทความมากมายที่เขาได้เผยแพร่ออกมาในภายหลัง พวกเราจะรับรู้ได้ถึงความตรงไปตรงมาต่อการงานของเขาและความสามารถทางสังเกตการณ์อย่างละเอียดรอบคอบ เขาเป็นคนถ่อมตน และไม่โอ้อวด พูดจาเสียงไม่ดังแต่ชัดถ้อยชัดคำ เขาเป็นผู้จัดงานเทศกาลชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 และก็เป็นผู้นำ เหตุการณ์สำคัญครั้งยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 90 ศตวรรษที่แล้ว ล้วนมีเงาร่างของเขา มีภูมิปัญญาของเขา มีกุลยุทธของเขา พรรณนาให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เขาคือผู้บุกเบิกชาผูเอ๋อร์ยุคสมัยใหม่ เหตุที่พวกเราให้คำจำกัดความเช่นนี้ ยังสืบเนื่องจากอีกเหตุผลหนึ่ง นั่นก็คือเมืองจีนเมื่อทศวรรษที่ 90 ศตวรรษที่แล้ว โดยเฉพาะเขตพื้นที่ซือเหมาหยินหนาน ซึ่งจัดอยู่ในช่วงต้นของการปฏิรูปแบบเปิด วิถีความคิดเชื่อมโยงของผู้คนและวิธีการผลิตที่ล้าหลังต่างมีผลกระทบซึ่งกันและกัน ทำให้การอนุรักษ์นิยมและการแช่แข็งอันเป็นของเดิมยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง ช่วงเวลานั้น เสียงของผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการบอบบางมาก ถ้าหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงสุดของเขตพื้นที่(ก็คือผู้นำ)แล้ว โครงการที่แม้จะดีเพียงใดก็จะถูกปฏิเสธ

        ประจวบเหมาะที่ในช่วงเวลานั้นคุณหลี่ซือเฉินคือเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงสุด(เลขาธิการพรรคมิวนิสต์จีนพื้นที่ซือเหมา)ของซือเหมาหยินหนาน ในปีนั้น ช่วงที่พวกเขาทำการพิจารณาเชื้อเชิญแขกผู้มีเกียรติจากต่างประเทศเพื่อให้มาร่วมงานประชุมสัมนานานาชาติก็พบปัญหาหนึ่ง ถ้าหากดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อเสนอขออนุมัติเช่นวิธีการที่ปฏิบัติกันมา ไม่เพียงต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน ยังจะประสบกับการดุลยภาพและการต่อต้านจากหน่วยงานเบื้องบนต่างๆ กระทั่งอาจเป็นเพราะว่าเกิดการโต้เถียงมากมาย เช่น สถานที่จัดงาน “เทศกาลชาผูเอ๋อร์” ควรจะกำหนดจัดที่ใด? ที่ซือเหมา? ที่หลินชาง? หรือที่เหมิงไห่? ข้อโต้แย้งทำนองลักษณะแบบนี้ทำให้ตายก่อนคลอด

        นี่คือโจทย์ที่ยากมากที่สุดที่สร้างความลำบากใจให้แก่คุณหลี่ซือเฉินในปีนั้น ด้านหนึ่งเขาสั่งให้ทีมงานจัดเตรียมงานใช้วิธีการโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญเชิญผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหลีกเลี่ยงขั้นตอนการายงานตามลำดับขั้น อีกด้านหนึ่งก็ได้รับความเห็นพ้องต้องกันและการสนับสนุนจากเลขาธิการพรรคคอมมิวนีสต์จีนมณฑลหยินหนาน

        วิธีดำเนินการแบบนี้ ซึ่งจะต้องแบกรับความเสี่ยงทางการเมืองของเมืองจีนในช่วงเวลานั้น ถ้าหากไม่มีความกล้าทางการเมืองและทางนโยบาย ไม่มีวิสัยทัศน์เชิงนานาชาติ งานประชุมสัมนานานาชาติชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 และเทศกาลชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 มีความเป็นไปได้ที่แผนการมากมายแต่ถูกเก็บไว้บนหิ้ง

        เกี่ยวกับคุณหลี่ซือเฉิน มีภูมิหลังที่พิเศษที่พวกเราจะต้องกล่าวถึง เขาเกิดที่หมู่บ้านเล็กๆในยี่หวู่หยินหนาน ซึ่งสถานที่แห่งนี้ประจวบเหมาะเป็นพื้นที่ที่ชาผูเอ๋อร์เจริญรุ่งเรืองอย่างสุดขีดที่สุดเป็นครั้งแรกในยุคราชวงศ์ชิง จากการบันทึกประวัติศาสตร์ เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิของทุกปี ผู้คนที่ขึ้นเขาเพื่อเด็ดชาและผลิตชาได้รวมพลเป็นมวลชนที่หมู่บ้านเล็กมีจำนวนถึงหนึ่งแสนคน บรรพบุรุษของเขาอาศัยการเด็ดชาผลิตชามาประทังชีวิต ความเป็นจริงเขาก็คือชนรุ่นหลังของตระกูลใบชา

จางซุ่นเกา (张顺高)



        บุคคลสำคัญที่สองที่ดึงดูดให้พวกเราสนใจคือผู้เชี่ยวชาญด้านใบชาที่โด่งดังของหยินหนาน จางซุ่นเกา เขาไม่ใช่คนหยินหนาน แต่เป็นคนรุ่นหลังของ Wufeng Tujia Autonomous Country (五峰土家族) มณฑลหูเบ่ย ปี 1960 เขาได้สำเร็จการศึกษาวิชาใบชาเฉพาะจากสถาบันการเกษตรหูหนาน เขาไม่ต้องการที่จะอยู่ต่อในสถาบัน แต่ต้องการไปทำงานในเขตพื้นที่ชายแดนที่ยากลำบากมากที่สุด หลังจากนั้น เขาถูกกำหนดให้ไปที่หน่วยงานการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ทางใบชาของหยินหนาน และในปีที่ 2 ของการทำงานของเขา เขาได้ไปที่บาต๋าต้าไฮซาน(巴达大黑山)ในเหมิงไห่หยินหนานเพื่อทำการสำรวจ ได้ค้นพบต้นชาไม้ใหญ่พันธุ์ป่า แล้วในปี 1963 ได้เผยแพร่รายงานการสำรวจลงใน《การสื่อสารใบชา》ของหูหนาน นี่ถือเป็นรายงานที่ประกาศออกมาเป็นครั้งแรกของเมืองจีนที่ในประเทศได้ค้นพบต้นชาไม้ใหญ่พันธุ์ป่าที่มีอายุปียาวนานที่สุด(ต่อมาถูกขนานนามว่า “ราชาต้นชาแบบพันธุ์ป่า”) แต่สิ่งที่ทำให้ผู้คนต้องผิดหวังก็คือ ช่วงเวลาที่เขาค้นพบต้นชาไม้ใหญ่พันธุ์ป่านี้ ตรงกับยุคที่เมืองจีนเกิดความอดอยากมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ได้ดึงดูดวงการวิทยาศาสตร์และวงการวิชาการชามาให้ความสนใจ ในเดือนตุลาคม 1992 เขาได้เป็นสมาชิกหนึ่งในคณะผู้เชี่ยวชาญ ได้เข้าร่วมการประชุมการสำรวจกระทำการพิสูจน์ต้นชาไม้ใหญ่ปังหวายหลานชางเขตพื้นที่ซือเหมา เดือนเมษายน 1993 ในงานประชุมสัมนาวิชาการนานาชาติชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 และงานประชุมสัมนาการอนุรักษ์ต้นชาโบราณของเมืองจีน เขาและเหลียงฟุ่งหมิง(梁凤铭 : ภรรยาของจางซุ่นเกา ผู้เชี่ยวชาญด้านชา) ได้ร่วมกันเขียนบทความ《ระบบการคาดการณ์ของนิเวศวิทยาโบราณและวิวัฒนาการการแพร่ขยายการกำเนิดต้นชา》เผยแพร่ออกมา

        บทความนี้สามารถบันทึกลงในเอกสารแบบฉบับของประวัติศาสตร์การพัฒนาใบชาของโลก คุณค่าทางวิชาการของมันไม่ธรรมดา เป็นเอกสารฉบับหนึ่งตราบจนถึงทุกวันนี้ที่วงการวิชาการชานานาชาติด้านการศึกษาการกำเนิดต้นชาจะต้องอ่าน เป็นเพราะก่อนหน้านี้ แม้ว่าวงการวิชาการชาโดยผ่านกระทำการพิสูจน์ต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่านปังหวาย รับรองแล้วว่าแหล่งต้นกำเนิดต้นชาของโลกอยู่ที่เมืองจีน แต่ยังดำรงอีกปัญหาหนึ่งที่ไม่มีคำเฉลย นั่นก็คือ : ทำไมถึงอยู่ที่เมืองจีน? อยู่ที่หยินหนานของเมืองจีน? วงการทางวิชาการไม่แม้เพียงอยากรู้แหล่งต้นกำเนิดของต้นชา “อยู่ที่ไหน” ยิ่งอยากจะรู้ว่า “เพราะเหตูใด” ?

        เอกสารฉบับนี้ใช้หลักการทางภูมิประเทศโบราณ ภูมิอากาศโบราณ นิเวศวิทยาโบราณ มาอธิบายอย่างเป็นระบบต่อการกำเนิด การแพร่ขยายพันธุ์ กระบวนการวิวัฒนาการของต้นชา และได้นำเสนอทฤษฎี “ระบบการคาดการณ์”(猜测系统) มันไม่แม้เพียงอธิบายภูมิประเทศก่อนหน้าของการกำเนิดต้นชาได้อย่างละเอียดหมดจด พร้อมทั้งนำเสนอเงื่อนไขพื้นฐาน 3 ข้อของการกำเนิดต้นชา

        ถ้าจะกล่าวกันว่าการประชุมกระทำการพิสูจน์ต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่านคือการผ่านวิธีการของหลักฐานทางวัตถุแล้วรับรองแหล่งต้นกำเนิดของต้นชาอยู่ที่เมืองจีนแล้วไซร้ ถ้งยังงั้นเอกสารฉบับของคุณจางซุ่นเกาคือการนำการกำเนิดต้นชาไปวางไว้ในพื้นที่ของภูมิประเทศและพฤกษศาตร์ที่ใหญ่กว่า เพื่อกระทำการพิสูจน์หลายระดับ สิ่งที่เหนือกว่าก็คือการตอบข้อสงสัยที่ว่าทำไมการกำเนิดต้นชาอยู่ที่เมืองจีน สิ่งที่ต้องการเตือนความจำก็คือ “ระบบการคาดการณ์” ชุดที่คุณจางซุ่นเกานำเสนอนั้น ต่อมาภายหลังในระหว่างการสำรวจประชาคมต้นชาโบราณธรรมชาติแบบดั้งเดิมในพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลของฮายหลาวซาน(哀牢山)และต้นชาพันธุ์ป่าในหวูเหลี่ยงซาน(无量山)ของหยินหนาน ได้รับการยืนยันจากหลักฐานที่พิสูจน์เป็นความจริง รับรองทฤษฎี “ระบบการคาดการณ์” ยึดถือได้ เมื่อเป็นประการฉะนี้ ตอนที่พวกเราแนะนำ《ระบบการคาดการณ์ของนิเวศวิทยาโบราณและวิวัฒนาการการแพร่ขยายการกำเนิดต้นชา》ไม่ได้ใช้ “Paper”(论文 : บทความ)  สองคำนี้ แต่จะใช้ “Document”(文献 : เอกสาร) เป็นชื่อเรียกครั้งแล้วครั้งเล่า ก็เป็นเพราะมันซึ่งไม่เหมือนกับบทความทั่วไป แต่เป็นเอกสารที่เพียบพร้อมด้วยคุณค่าทางวิทยาสาสตร์อย่างสูง

        ไม่เพียงแค่นี้ ยังมีอีกหนึ่งผลงานของคุณจางซุ่นเกาต่อต้นชาโบราณหยินหนาน นั่นก็คือในเดือนพฤศจิกายน 1996 เขาได้นำเสนอวิธีการคิดคำนวณอายุปีของต้นชาโบราณโดยหลักทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้นอย่างเป็นทางการ คือ “Net Photosynthesis Method”(净光合值法) ซึ่งได้ใช้วิธีการนี้ไปอนุมานอายุปีของต้นชาโบราณเชียนเจียจ้าย(千家寨古茶树)ได้อย่างแม่นยำ แล้วก็สั่นสะเทือนโลกอีกครั้ง ต้นชาโบราณเชียนเจียจ้ายอันเนื่องจากอายุปียาวนานที่สุด(2700ปี)และลำต้นแข็งแรงกำยำจึงได้ขึ้นอยู่บนแสตมป์ของเมืองจีน กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ ดึงดูดความสนใจและการเทิดทูนจากคนชาทั่วโลก

เติ้งสือไห่ (邓时海)



        บุคคลสำคัญที่สามที่ดึงดูดความสนใจของพวกเราคือ เติ้งสือไห่ เขาเป็นอาจารย์วิชาพละศึกษาของมหาวิทยาลัย National Taiwan Normal University ก่อนที่เขาจะเข้ามาสู่วงการชาผูเอ๋อร์ ผู้คนรู้จักตัวเขาน้อยมาก เพียงรู้ว่าเขาคือผู้สืบทอดรุ่นที่ 6 ของไทเก๊กตระกูลหยางและหนังสือ《การศึกษารากเหง้าหมัดไทเก๊ก》ที่เขาเผยแพร่ในปี 1990

        เดือนเมษายน 1993 ในงานประชุมสัมนาวิชาการนานาชาติชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 มีภาพเงาที่ผอมบอบบางร่างหนึ่งปรากฏขึ้นมา เขาก็คือเติ้งสือไห่ บทความที่เขาได้นำเสนอประจวบเหมาะเกี่ยวข้องกับชาผูเอ๋อร์ มีชื่อว่า “ยิ่งเก่ายิ่งหอม”(愈陈愈香) แต่บทความฉบับนี้ไม่ได้รับการตอบสนองมากนักในช่วงเวลานั้น แม้กระทั่งผู้คนจำนวนมากอันสืบเนื่องจากตัวเขาไม่มีภูมิหลังของผู้เชี่ยวชาญด้านชามาเกี่ยวข้อง เพียงมองเขาเป็นคนชาธรรมดาคนหนึ่ง ไม่ใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ในปี 1995 สถานการณ์เช่นนี้กลับตาลปัตร เนื่องจากในปีนั้น หนังสือเรื่องเกี่ยวกับชาผูเอ๋อร์โดยเฉพาะเล่มหนึ่งได้ออกเผยแพร่ในเกาะใต้หวัน ชื่อหนังสือคือ《ชาผูเอ๋อร์(普洱茶)》ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ก็คือ เติ้งสือไห่

        การเผยแพร่ของ《ชาผูเอ๋อร์(普洱茶)》ทำให้ทั่วเกาะใต้หวันเกิดการสั่นสะเทือน และก็นำมาซึ่งความมีชื่อเสียงส่วนบุคคลอย่างใหญ่หลวงให้แก่เติ้งสือไห่ หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงนำคนชาใต้หวันจำนวนมากเข้าสู่ตลาดชาผูเอ๋อร์ ขณะเดียวกันก็เขยื้อนเกาหลี มาเลเซีย ไทย เป็นต้น การค้าใบชาในประเทศอาเซียนได้ค่อยๆเปลี่ยนมาทางชาผูเอ๋อร์ เมื่อเป็นประการฉะนี้ ผู้คนจำนวนมากได้ตั้งฉายาแบบขบขันให้เติ้งสือไห่คือ “บุคคลหมายเลข 1 ของชาผูเอ๋อร์”(普洱茶第一人) ของเมืองจีน

        แต่ทว่า ก็มีข้อสงสัยต่อเติ้งสือไห่ โดยเฉพาะหลังจากหนังสือ《ชาผูเอ๋อร์(普洱茶)》ของเขาได้เข้ามาเผยแพร่ในเมืองจีน ในขณะที่เคียงข้างกับหนังสือเล่มนี้ต้องทำการพิมพ์ครั้งแล้วครั้งเล่า เสียงข้อสงสัยก็จะยิ่งมายิ่งแรง สิ่งที่ทำให้ผู้คนประหลาดใจก็คือ เสียงข้อสงสัยเหล่านี้ไม่ใช่มาจากเขตชาพื้นที่อื่น แต่คืออยู่ในหยินหนาน คือวงการชาผูเอ๋อร์หยินหนาน ตราบจนถึงทุกวันนี้พวกเราก็ยังไม่เข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของข้อสงสัยเหล่านี้ หรือเบื้องหลังของ “การประณามของความโกรธเคือง”(愤怒的声讨) พวกเราได้ทำการอ่านหนังสือเรื่องเฉพาะเล่มนี้หลายครั้งโดยละเอียด เพียงแต่พบเห็นข้อบกพร่องของข้อมูลทางประวัติศาสตร์บางส่วนหรือวิธีการใช้คำเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเป็นการแนะนำความรู้ทั่วไป《ชาผูเอ๋อร์(普洱茶)》ถือเป็นผลงานระดับเบื้องต้นที่โดดเด่นที่สุด แม้กระทั่งจวบจนทุกวันนี้ก็ยังเป็นเช่นนี้

        ถ้าจะกล่าวกันว่าเทศกาลชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 เป็นการเปิดม่านของการเฟื่องฟูครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ชาผูเอ๋อร์ และกลายเป็นเชื้อปะทุจุดความบ้าคลั่งชาผูเอ๋อร์อย่างต่อเนื่อง ถ้ายังงั้นหนังสือเรื่องเฉพาะเล่มนี้คือ “เครื่องกระตุ้น”(助推器) ของมันอย่างไม่ต้องสงสัย

        พูดจากความหมายเช่นนี้ เติ้งสือไห่ไม่แม้เพียงเป็นผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการด้านชาผูเอ๋อร์ในระดับปรมาจารย์ ยิ่งเป็น “นักแสดงธรรม”(布道者) ของชาผูเอ๋อร์ที่ไม่มีใครเหนือกว่าได้ตราบเท่าทุกวันนี้

        ในบทความนี้ที่พวกเรายกตัวอย่างเพียงบุคคลสำคัญ 3 ท่านนี้เป็นตัวแทน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเป็นตัวแทนทั้งหมดของการเพิ่งเริ่มต้นของชาผูเอ๋อร์ในศตวรรษที่แล้ว และไม่คิดที่จะทำให้ท่านผู้อ่านมีความเข้าใจผิดว่า “วีรบุรุษสร้างประวัติศาสตร์” อันที่จริง ข้างกายของพวกเขาแต่ละคนล้วนมีคนกลุ่มหนึ่ง ชาผูเอ๋อร์ก็เหมาะเจาะจากพลังของคนกลุ่มนี้ ก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นดาวรุ่งแห่งวงการชาอย่างทันท่วงที

        ชาผูเอ๋อร์เป็นไฟที่จุดติดแล้ว ไม่เพียงแค่เป็นไฟ แต่เป็นไฟที่โชติช่วงชัชวาล แน่นอน จะไม่ตัดอีกมุมมองหนึ่งทิ้งไป ก็คือผู้คนจำนวนมากที่มองด้วยสายตาอันเย็นชาที่เชื่อว่าเป็นไฟแห่งความโกลาหล

        ในช่วงกลางทศวรรษที่ 90 ศตวรรษที่แล้วเกาะใต้หวันปรากฏชาผูเอ๋อร์ร้อนแรงขึ้นมาก่อน ตามมาคือฮ่องกง ต่อจากนั้นคือกว่างตง มาถึงต้นศตวรรษนี้ โดยมีกว่างตงเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้า แพร่ขยายออกไปทั่วเมืองจีนอย่างรวดเร็ว ราวกับความเร็วในการบุกโจมตียึดเมือง แทบจะบัดกวาดสิ่งกีดขว้างในพริบตาเดียว ทำให้ผู้คนถึงกับมหัศจรรย์ใจอ้าปากค้าง ได้กลายเป็นสิ่งน่าพิศวงทางเศรษฐกิจที่เป็นอัตลักษณ์ พวกเราสามารถที่เรียกขานมันว่า “ปราฏกการณ์ชาผูเอ๋อร์” กุญแจสำคัญคือปรากฏการณ์นี้เกิดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน ความร้อนไม่ลดลง ซึ่งหาได้ยากมากในธุรกิจอื่นๆ

        ผู้คนจำนวนมากภายใต้ความประหลาดใจและไม่แน่ใจ จึงหันเหจุดสนใจกลับมาที่ตัวชาผูเอ๋อร์ ได้ทำการถามซ้ำคำถามหนึ่ง : ชาผูเอ๋อร์คืออะไรกันแน่ ?

        อันที่จริง ตอนที่พวกเราเข้ามาสู่ท่ามกลางธุรกิจชาผูเอ๋อร์ คำถามแรกก็คือคำถามนี้---ชาผูเอ๋อร์คืออะไรกันแน่ ?

........จบบริบูรณ์........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า》ตอนที่ 4---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า (3)

กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า (3)
一次迟到的论证 (三)



แหล่งต้นกำเนิดต้นชาของโลก---หยินหนานเมืองจีน

        การค้นพบต้นชาไม้ใหญ่ปังหวายได้รับรองข้อเท็จจริง 2 เรื่อง :

        1. แหล่งต้นกำเนิดต้นชาของโลกอยู่ที่เมืองจีน อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองจีน บริเวณฝั่งลุ่มแม่น้ำหลานชางของหยินหนานคืออาณาเขตศูนย์กลางของแหล่งต้นกำเนิดต้นชาของโลก

        2. กระบวนวิวัฒนาการของต้นชาจากพันธุ์ป่าเปลี่ยนเป็นเพาะปลูกเสร็จสิ้นสมบูรณ์อยู่ที่หยินหนาน ใบชาบนโลกถ้าหากไม่มีต้นชาโบราณพันธุ์ป่า ต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่านของเมืองจีนก็จะไม่มีต้นชาโบราณแบบเพาะปลูก
        “ลูกหลาน” ที่พัฒนาเจริญเติบโตจากปังหวาย มีสวนชาโบราณหนานนั่วซาน(南糯山古茶园) สวนชาโบราณว่านหมู่จิ่งหม้ายซาน(景迈山万亩古茶园)ของหยินหนาน และแพร่ขยายพันธุ์ไปถึงพื้นที่ซื่อชวน กุ๊ยโจว เจียงซู เจ้อเจียง หูหนาน หูเบ่ย กว่างตง กว่างซี ฝูเจี๋ยน อันฮุย เป็นต้น และแผ่ขยายไปถึงประเทศเวียตนาม พม่า อินเดีย ศรีลังกา เป็นต้น

        การประกาศผลลัพธ์ครั้งนี้เป็นข่าวเกรียวกราวไปทั้งโลก การค้นพบและกระทำการพิสูจน์ของต้นชาไม้ใหญ่ปังหวาย ไม่เพียงเฉพาะยุติการโต้แย้งที่ดำเนินมาร้อยกว่าปีเกี่ยวกับแหล่งต้นกำเนิดของต้นชา สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือการเปิดเผยประชาคมต้นชาโบราณที่ดำรงอยู่ในพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลที่เป็นระบบนิเวศดั้งเดิมของหยินหนานต่อชาวโลก

        มีผลลัพธ์หนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนร่วมกระทำการพิสูจน์ในปีนั้นคาดคิดไม่ถึง นั่นก็คือกระทำการพิสูจน์ครั้งนี้ทำให้เกิดผลเป็นเชื้อปะทุจุดประกาย “บ้าคลั่ง”(热潮) ชาผูเอ๋อร์อย่างต่อเนื่องในภายภาคหลัง

        พูดอีกนัยหนึ่ง ในปีนั้นที่เหล่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านชาเมื่อทำการทบทวนความหมายของกระทำการพิสูจน์ครั้งนี้ เพียงแต่หยิบยกคุณค่าทางวิทยาสาสตร์ที่มีต่อประวัติการพัฒนาของใบชา วิวัฒนาการของวัฒนธรรมชา การเจริญพันธุ์ของใบชา การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การเพาะปลูกและการใช้ประโยชน์ทางตรง เป็นต้น แต่ไม่รู้ว่ากระทำการพิสูจน์ครั้งนี้ถือเป็นการเปิดม่านของการเฟื่องฟูครั้งที่ 2 ของชาผูเอ๋อร์แบบเงียบๆอย่างไม่คิดไม่ฝัน(บนประวัติศาสตร์ชาผูเอ๋อร์การเฟื่องฟูครั้งแรกควรจะอยู่ในช่วงรัชสมัยยุงเจิ้นและเฉียนหลงของราชวงศ์ชิง)

        ชาผูเอ๋อร์แม้ว่ามีประวัติการผลิตมากว่าพันปีในเมืองจีน แต่หยินหนานถิ่นกำเนิดของมัน ในประวัติศาสตร์จัดอยู่ในเขตชายแดนตลอดมา ถือเป็นเขตพื้นที่ปิด คนนอกเขตพื้นที่เข้าใจน้อยมาก นี่จึงทำให้ชาผูเอ๋อร์ในประวัติศาสตร์เคยอยู่ในอาณาเขตที่ยากจะทำการติดต่อได้ แม้ว่ามีประวัติศาสตร์อันยาวนาน แต่ผู้คนภายนอกรับรู้น้อยมาก แม้ว่าชาผูเอ๋อร์เคยเฟื่องฟูปรากฏขึ้นมาครั้งหนึ่งในยุคสมัยราชวงศ์ชิงของเมืองจีน แต่มันก็เพียงเตร็ดเตร่อยู่ในพระราชวังของนครเบ่ยจิงและเป็น “ของหรูหรา” ของบรรดาชนชั้นสูงในเมืองหลวง ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักของชาวบ้านทั่วไป ดังนั้น การพัฒนาภายใต้ประวัติศาสตร์ที่ยืดยาว ชาผูเอ๋อร์จึงเพียงแค่อยู่ใต้อาณัติของชนชั้นปกครอง กลายเป็นสินค้าชาประจำท้องถิ่น ไม่สามารถเข้าไปอยู่ในกระแสหลักของวงการใบชาเมืองจีนตลอดมา

        ระยะเวลาครึ่งปีอันสั้นหลังจาก “การประชุมการสำรวจกระทำการพิสูจน์ต้นชาไม้ใหญ่ปังหวายหลานชาง” ได้สิ้นสุดลง คือวันที่ 4 ถึง 11 เมษายน 1993 เมืองซือเหมาหยินหนานได้จัด “งานประชุมสัมนานานาชาติชาผูเอ๋อร์เมืองจีนครั้งที่ 1 และ งานประชุมสัมนาการอนุรักษ์ต้นชาโบราณเมืองจีน” ตัวขับเคลื่อนที่เคียงข้าง “2 งาน” นี้คิดไม่ถึงจะเป็น “เทศกาลชาผูเอ๋อร์เมืองจีนครั้งที่ 1

        ปรากฏการณ์ที่มีนัยความหมาย เกือบทั้งหมดของแขกผู้มีเกียรติทั้งภายในและต่างประเทศที่มาร่วมเทศกาลชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 นี้ในช่วงเวลานั้นยังไม่เข้าใจชาผูเอ๋อร์ กระทั่งมีผู้คนจำนวนมากยังดื่มชาเขียวในสถานที่ประชุม นี่ก็คือ “ภาพหนึ่ง” ที่พิเศษในเทศกาลชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 อันที่จริง สิ่งที่มีพลังมากที่สุดที่ดึงดูดแขกผู้มีเกียรติมาร่วมงานก็ยังคงเป็นหัวข้อ “แหล่งต้นกำเนิดต้นชาของโลกอยู่ที่เมืองจีน

        พวกเราสามารถเห็นการรายงานข่าวภายหลังจากสื่อสิ่งพิมพ์ :

   【เหวินฮุยเดลิ】 ของฮ่องกง ฉบับวันที่ 15 เมษายน 1993 พาดหัวข่าวว่า《แหล่งต้นกำเนิดใบชาของโลก ผู้เชี่ยวชาญยืนยันซือเหมาหยินหนาน》

   【ซินจงเหยียนเป้า】 ของเมืองไทย ฉบับวันที่ 15 เมษายน 1993 พาดหัวข่าวว่า《หยินหนานคือแหล่งต้นกำเนิดใบชาของโลก ผู้เชี่ยวชาญจีนเทศในงานประชุมสัมนายืนยัน》

   【ซื่อเจี้ยเยื่อเป้า】 ของฟิลิปปินส์ ฉบับวันที่ 16 เมษายน 1993 พาดหัวข่าวว่า《เขตซือเหมาหยินหนาน คือถิ่นกำเนิดใบชาของโลก》

   【เหรินหมิงเยื่อเป้า】 ของเมืองจีน ฉบับต่างประเทศวันที่ 17 เมษายน 1993 ฉบับที่ได้พาดหัวข่าวจากสำนักข่างซินหวา《บ้านเกิดใบชาอยู่แห่งหนใด ผู้เชี่ยวชาญยืนยันอยู่ซือเหมา》

        ในการรายงานข่าวของสื่อสิ่งพิมพ์อันมีชื่อเสียงเหล่านี้ เป็นการแนะนำชาผูเอ๋อร์หยินหนานที่สดใหม่ ถึงกระนั้น พวกเรายังเชื่อว่าเทศกาลชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 ประสบความสำเร็จ

        อันดับแรก ความสำเร็จที่มากที่สุดคือ “เชิงนานาชาติ” จากตัวแทนที่เชื้อเชิญพวกเราจะพบเห็นได้ไม่ยาก นักวิชาการทั้งหมด 181 ท่านที่เข้าร่วมประชุมสัมนามีญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย จีนและใต้หวัน ฮ่องกง เป็นต้น พวกเขาได้นำเสนอ 47 บทความ การประชุมสัมนาที่มีมาตรฐานสูงเช่นนี้ไม่แม้เพียงในหยินหนาน แม้แต่ในวงการวิทยาศาสตร์เมืองจีน นี้ถือเป็นงานแรก

        อันดับรอง งานที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้ทำให้จุดสนใจของผู้คนจากหัวข้อ “แหล่งต้นกำเนิดของต้นชาอยู่ที่เมืองจีน” เบี่ยงเบนมาทางต้นชาโบราณที่ยังดำรงอยู่อย่างมากมายและขุนเขาชาโบราณ การเร่ร่อนของสวนชาโบราณ ภายใต้การแซ่ซ้องและการตกตะลึงของผู้คน ทันใดนั้นได้มาเจอะเจอชาผูเอ๋อร์ การเชื่อมต่ออย่างชาญฉลาดแบบนี้ และเป็นการผูกมัดด้วยปัญญา ทำให้ผู้คนเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องของชาผูเอ๋อร์และต้นชาโบราณโดยทันที

        ต้นชาโบราณพันธุ์ป่า-----ต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่าน-----ต้นชาโบราณแบบเพาะปลูก----ชาผูเอ๋อร์

        นี่คือตรรกะที่คล้อยตามสถานการณ์แบบหนึ่ง ในตรรกะนี้ ผู้คนไม่เพียงได้ค้นพบความโบราณของชาผูเอ๋อร์(จุดสำคัญกำเนิดจากความโบราณของต้นชา) สิ่งที่สำคัญกว่านี้ก็คือการพยายามค้นหาความหมายโดยนัยอื่นๆที่แยกออกมาจากความโบราณแบบนี้ รวมทั้งการถ่ายทอดทางพันธุกรรม รวมทั้งคุณลักษณะของชา รวมทั้งแหล่งกำเนิดยา แน่นอนยังรวมทั้งวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของมัน

        ชาผูเอ๋อร์ ก็คือการอาศัยปัจจัยเหล่านี้ เสริมด้วยความอยากรู้อยากเห็นของสังคมนานาชาติที่มีต่อต้นชาโบราณจำนวนมากที่ยังดำรงอยู่ในหยินหนาน แล้วจึงได้ยกฐานะของตนเองให้สูงขึ้น เห็นได้ชัดว่า นี่เป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ที่เต็มไปด้วยภูมิปัญญา

        แน่นอน ยังมีอีกวิธีการหนึ่งที่ควรได้รับการนับถือจากคนรุ่นหลัง นั่นก็คือในงานประชุมสัมนาครั้งนี้ได้เผยแพร่《หนังสือข้อเสนอการอนุรักษ์ต้นชาโบราณเมืองจีน》ไปทั่วโลก ไม่ต้องสงสัย มันเป็นจุดเด่นที่มีคุณค่ามากที่สุดของงานประชุมสัมนาครั้งนี้ ต่อมาปรากฏการอุปถัมภ์ต้นชาโบราณก็มาจากการเริ่มต้นครั้งนี้ มันยับยั้งการโค่นต้นชาโบราณตามอำเภอใจ หยินหนานยังคงเก็บรักษาสวนชาโบราณและต้นชาโบราณไว้ได้เป็นจำนวนมากจวบจนปัจจุบันซึ่งเป็นผลจากการประชาสัมพันธ์และการอนุรักษ์ที่ดีเยี่ยม มีอยู่จุดหนึ่งอยากที่จะเพิ่มเติม ครึ่งปีก่อนที่《หนังสือข้อเสนอ》จะเผยแพร่ ก็คือเดือนตุลาคม 1992 หลานชางเมืองที่ต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่านได้ถูกค้นพบได้นำหน้าออก《กฏข้อบังคับในการอนุรักษ์ต้นชาโบราณ》แล้ว และมันเป็นกฏหมายข้อบังคับฉบับท้องถิ่นฉบับแรก

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า》ตอนที่ 3---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า (2)

กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า (2)
一次迟到的论证 (二)



        ตั้งแต่โบราณกาลเป็นต้นมา ทั่วโลกยอมรับว่าการกำเนิดใบชาอยู่ที่เมืองจีน ใบชาชงดื่ม พันธุ์ชานานาชนิด เทคนิคการเพาะปลูก กรรมวิธีการผลิต วิธีการชงดื่ม ธรรมเนีนมปฏิบัติเรื่องชา เป็นต้นที่ประเทศต่างๆทั่วโลกได้เริ่มต้นขึ้น ล้วนเผยแพร่ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมมาจากเมืองจีน เมืองจีนไม่เพียงแค่คือถิ่นกำเนิดของชา ยังได้รับการยกย่องให้เป็น “มาตุภูมิแห่งชา” แน่นอน หลักฐานที่สำคัญที่สุดที่จะสนับสนุนมุมมองด้านนี้ นั่นก็คือแหล่งต้นกำเนิดของต้นชาอยู่ที่เมืองจีน

        แต่ทว่า ในปี 1824 ข้อสรุปนี้ได้ถูกพิพากษาว่าผิด เป็นเพราะว่านาวาตรี R. Bruce ชาวอังกฤษประจำการอยู่ที่อินเดียได้ค้นพบต้นชาพันธุ์ป่าที่พื้นที่ Sadiya รัฐอัสสัมของอินเดีย ต่อจากนั้นในปี 1838 ได้ทำการเผยแพร่จุลสารที่เขาเป็นคนเขียนเอง โดยแจกแจงว่าเขาได้ค้นพบต้นชาพันธุ์ป่าบนหลายพื้นที่ในรัฐอัสสัมของอินเดีย บรรดาต้นชาพันธุ์ป่าเหล่านี้มีอยู่ต้นหนึ่งที่ค้นพบใน Sadiya มีความสูงของต้น 43 ฟุต เส้นรอบวง 3 ฟุต ตั้งแต่บัดนั้น Bruce ได้ทำการตัดสินว่า อินเดียจึงเป็นแหล่งต้นกำเนิดของต้นชา ในปี 1877 ชาวอังกฤษ S. Baidond ผู้เดินตามหลัง R. Bruce อย่างกระชั้นชิด ได้เผยแพร่《ใบชาแห่งอัสสัม(阿萨姆之茶叶)》ทำให้มุมมองนี้เกิดการโต้แย้งขึ้น ต่อจากนั้นผู้เชี่ยวชาญบางส่วนผู้ซึ่งพูดแล้วมีน้ำหนัก อย่างเช่นนักวิชาการชาวอังกฤษ J.H. Blake (1903), E.A. Blown (1912), A. Ibbetson, Lindley และชาวญี่ปุ่น Shigeru Katou เป็นต้นซึ่งเป็นกลุ่มที่ผลักดันมุมมองนี้อย่างสุดขั้ว พวกเขาไม่เพียงแต่ถือว่าอินเดียคือแหล่งต้นกำเนิดของต้นชา กระทั่งยังเชื่อว่าชาพันธุ์ใบเล็กและพันธุ์ใบกลางในเจ้อเจียงและฝูเจี๋ยนของจีนล้วนผ่านวิวัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาจากพันธุ์อินเดียแล้วกลายเป็นชาพันธุ์ต้นเตี้ยอย่างเช่นปัจจุบันนี้

        มุมมองเช่นนี้ทำให้เกิดเสียงสะท้อนอย่างใหญ่หลวงจากสังคมนานาชาติในช่วงเวลานั้น และเป็นที่ยอมรับจากนักวิชาการด้านชาจำนวนมาก สิ่งที่ต้องบ่งบอกให้ชัดเจนคือ เหล่านักวิชาการที่เข้าร่วมการโต้เถียงทั้งหมดล้วนเป็นชาวต่างชาติ เมืองจีนในช่วงเวลานั้น แม้ว่าปริมาณการผลิตใบชาเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่ทั่วโลกยอมรับดำรงอยู่ และในวงการวิชาการนานาชาติก็ไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไร อันที่จริงการโต้แย้งครั้งนี้เกิดขึ้นภายนอกประเทศ เมืองจีนแม้ว่าเป็นจุดหนึ่งของการโต้เถียง แต่ก็ถูกแยกออกมาอยู่วงนอกของการโต้แย้ง ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงการโต้แย้งครั้งนี้

        มีข้อเท็จจริงหนึ่งที่เป็นรูปธรรมที่พวกเราเพิ่งรับทราบในทุกวันนี้ นั่นก็คือการโต้แย้งเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน ไม่มีบุคคลใดกล่าวได้กล่าวถึงหยินหนานของเมืองจีน หยินหนานในช่วงเวลานั้นอยู่ในสถานะระบบปิด ต้นชาโบราณพันธุ์ป่าจำนวนมากที่ดำรงอยู่ในพื้นที่ต่างๆซึ่งไม่เป็นที่รับรู้ของภายนอก ในช่วงเวลานั้นเขตผลิตชาเจียงเจ้อ(เจียงซูและเจ้อเจียง) กว่างตงและฝูเจี๋ยนล้วนเป็นต้นชาเตี้ยเล็กพันธุ์ใบกลางและพันธุ์ใบเล็ก ดังนั้น การค้นพบต้นชาพันธุ์ป่าในอินเดียอย่างปัจจุบันทันด่วน ซ้ำยังเป็นต้นชาไม้ใหญ่ แน่นอนย่อมดึงดูดความสนใจจากสังคมนานาประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านชา นักพฤกษศาตร์จึงยิ่งโน้มเอียงไปทางหลักฐานทางวัตถุนี้ โน้มเอียงไปทางต้นชาพันธุ์ป่าปรากฏอยู่ที่แห่งใด แห่งนั้นก็ย่อมมีความเป็นได้คือแหล่งต้นกำเนิดของต้นชา

        สงครามการโต้แย้งสนามนี้เกิดจุดเปลี่ยนในทศวรรษที่ 80 ศตวรรษที่แล้ว

        คู่ขนานไปกับการเข้าสู่ยุคปฏิรูปแบบเปิดของเมืองจีน หยินหนานของเมืองจีนได้ดำรงไว้ซึ่งเป็นราชาแห่งพรรณพืช(植物王国)เริ่มเป็นที่รับรู้ของทั่วโลก ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ทำการสำรวจพรรณพืชอันหลากหลายก็ได้ค้นพบต้นชาโบราณพันธุ์ป่าดำรงอยู่

        แต่ทว่า การค้นพบต้นชาไม้ใหญ่พันธุ์ป่าในหยินหนานไม่ได้นำมาซึ่งความปิติยินดีและตื่นเต้นให้แก่วงการวิชาการชาของเมืองจีน กลับกลายเป็นการนำไปสู่การอภิปราย “ทฤษฎี 2 แหล่งกำเนิด” ก็คือแหล่งต้นกำเนิดของต้นชาดำรงไว้ซึ่ง 2 เขตพื้นที่ : หนึ่งคืออัสสัมของอินเดีย อีกหนึ่งคือหยินหนานของเมืองจีน ซึ่งเหตุผลก็คือทั้งสองเขตพื้นที่นี้ค้นพบต้นชาพันธุ์ป่า

        แต่ในวงการวิทยาสาตร์ โดยเฉพาะบรรดานักพฤกษศาสตร์ยุคใหม่เริ่มที่มีข้อสงสัยต่อสมมุติฐานนี้

        พวกเขาเชื่อว่าถ้าเพียงการปรากฏของต้นชาพันธุ์ป่าก็ถือเป็นแหล่งต้นกำเนิด เป็นการขาดซึ่งหลักฐานทางวิทยาสาสตร์ พวกเขาเสนอว่า วิวัฒนาการของพรรณพืชที่ทานได้จำนวนมากมีรูปแบบที่ร่วมกัน : ประวัติการสืบทอดต่อเนื่องของพรรณพืชที่ทานได้เกือบทั้งหมด(รวมดอก ผล แกน เปลือกของพืชพรรณ)ล้วนต้องผ่าน 3 กระบวนการ วิวัฒนาการจากแบบพันธุ์ป่า(野生型)ไปทางแบบเปลี่ยนผ่าน(过渡型) แล้วผ่านการเปลี่ยนแปลงจากแบบเปลี่ยนผ่านไปทางแบบเพาะปลูกโดยมนุษย์(人工栽培型) เนื่องจากภายในของต้นชาแบบพันธุ์ป่าและต้นชาแบบเพาะปลูกไม่มีความเชื่อมโยงของสัณฐานทางวิวัฒนาการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และโครโมโซมของเซลล์ก็มีความแตกต่างกัน เนื่องจากใบของต้นชาพันธุ์ป่าไม่สามารถผลิตเป็นใบชา ไม่ถือเป็นพืชทางเศรษฐกิจได้ แต่ต้นชาแบบเพาะปลูกถือเป็นพืชทางเศรษฐกิจ ใบและผลของมันหลังผ่านกรรมวิธีการผลิตแล้วสามารถทาน(ดื่ม)ได้ ดังนั้น เพียงแค่ยึดต้นชาพันธุ์ป่าเป็นสัญลักษณ์ของแหล่งต้นกำเนิดต้นชาแล้ว ยังดำรงไว้ซึ่งหลักฐานที่ไม่ครบถ้วน หลักฐานที่สามารถรับรองว่าเขตพื้นที่ใดเป็นแหล่งต้นกำเนิดของต้นชาจะต้องเป็นสายโซ่ของหลักฐานทางวัตถุที่สมบูรณ์ ซึ่งก็คือต้นชาโบราณพันธุ์ป่า ต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่าน ต้นชาแบบเพาะปลูก ซึ่งหลักฐานทางวัตถุ 3 อย่างนี้จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

        การเสนอมุมมองเช่นนี้ของวงการวิทยาศาสตร์ ไม่เฉพาะทำให้การโต้เถียงอย่างอึกทึกถึงแหล่งต้นกำเนิดของต้นชาที่ดำเนินมาเป็นเวลาร้อยปีตกเข้าไปสู่ความเงียบสงบ ขณะเดียวกัน เหล่าบรรดานักประวัติศาสตร์ใบชายังค้นพบว่า ไม่ว่าที่เมืองจีนหรือที่อินเดียล้วนมีเพียงต้นชาพันธุ์ป่าและต้นชาแบบเพาะปลูก ต่างก็ยังขาดหลักฐานทางวัตถุที่สำคัญอย่างหนึ่ง : ต้นชาแบบเปลี่ยนผ่าน

        ดังนั้น เหล่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญที่อยู่แวดล้อมต้นชาไม้ใหญ่ปังหวายต้นนั้นซึ่งอยู่ในบริเวณบนทุ่งนาของคุณเว่ยจ้วงเหอ ก็เพื่อที่จะมากระทำการพิสูจน์ต้นชาไม้ใหญ่ต้นนี้คือต้นชาโบราณแบบพันธุ์ป่า หรือเป็นแบบเปลี่ยนผ่าน หรือเป็นแบบเพาะปลูก ?


การประชุมเพื่อกระทำการพิสูจน์ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ถึง 14 ตุลาคม 1992
การประชุมเรียกขานกันว่า : การประชุมการสำรวจกระทำการพิสูจน์ต้นชาไม้ใหญ่ปังหวายหลานชาง
สถานที่ประชุม : เขตปกครองตนเองของชนเผ่าลาหู้หลานชางหยินหนานของเมืองจีน
ผลสรุปของการประชุมกระทำการพิสูจน์ (ที่ถูกต้องควรถือเป็นความคิดเห็นของคณะผู้เชี่ยวชาญ) คือ :

        ต้นชาไม้ใหญ่ในหมู่บ้านปังหวาย รูปลักษณะของดอกและผลมีเอกลักษณ์ของต้นชาพันธุ์ป่าที่เด่นชัด ส่วนเอกลักษณ์ทางยอด ใบ กิ่งก้าน ก็เหมือนกับต้นชาแบบเพาะปลูก ซึ่งเป็นตัวอย่างของต้นชาแบบเปลี่ยนผ่านที่อยู่ระหว่างแบบพันธุ์ป่าและแบบเพาะปลูก และมันก็เป็นต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่านต้นแรกที่ถูกค้นพบในประวัติศาสตร์ใบชาของโลก

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า》ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า (1)

กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า (1)
一次迟到的论证 (一)



        ตอนเช้าของวันที่ 12 ตุลาคม 1992

        รถจี๊ปเก่าปะผุหลายคันบรรทุกผู้โดยสารสิบกว่าคนค่อยๆขับเคลื่อนไปตามทางที่ขรุขระบนภูเขา เส้นทางทำให้เกิดการส่ายโคลงเคลงเล็กน้อย สองข้างทางเป็นป่าทึบ มีคนเปิดหน้าต่างรถ กลิ่นของความเปียกชื้นอย่างเข้มข้นมาเตะจมูก ยังมีกลิ่นเลื่อนๆที่คล้ายกับกลิ่นหวานชื้นที่บูดเน่าของใบดอกและผลไม้

        บนรถมีศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยหลายท่าน มีนักศึกษาวิจัยจากสถาบันด้านชาหลายท่าน ยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านใบชาของท้องที่และเจ้าหน้าที่ประจำท้องถิ่นบางส่วนนั่งอยู่ จุดหมายปลายทางของพวกเขาคือหมู่บ้านปังหวาย(邦崴)ตำบลฟู่ตง(富东)อำเภอหลานชาง(澜沧)มณฑลหยินหนาน พูดให้ตรงเป้า ก็คือต้นชาโบราณต้นหนึ่งในหมู่บ้านปังหวาย

        นี่ไม่ใช่ต้นชาโบราณแบบทั่วไป มันเจริญเติบโตบนพื้นที่ไร่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1900 ม. ถือเป็นต้นชาแบบต้นไม้ใหญ่ ลักษณะลำต้นของมันตั้งตรง แผ่กิ่งก้านอย่างหนาแน่น ความสูงต้น 12 ม. เรือนยอดที่กว้างที่สุดถึง 7.8 ม. มันห่างจากผิวพื้นดิน 40 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 156 ซม. ยังมีรากแขนงโผล่ออกมาจากผิวดิน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 24 ซม. ต้นชาบนชั้นผิวดินสามารถที่จะเห็นกลุ่มรากอย่างหนาแน่น จากการคำนวณโดยทางวิทยาศาสตร์ อายุปีต้นของมันอยู่ที่ 1000 ปีขึ้นไป

        นักข่าวท่านหนึ่งที่ติดตามไปถึงกับร้องอุทานออกมา : คิดไม่ถึงจะมีต้นชาสูงขนาดนี้ได้ ! เนื่องจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของเขา ต้นชาที่ฉายอยู่บนสายตาของเขาเกือบทั้งหมดล้วนสูงประมาณ 1 ม. ส่วนต้นชาไม้ใหญ่ที่เสมือนกับไม้โบราณที่ยื่นขึ้นไปท้องฟ้า ถือเป็นการพบเห็นครั้งแรกในชั่วชีวิตของเขา

        มีความรู้สึกแปลกใจเช่นกันที่เจ้าของต้นชาไม้ใหญ่ต้นนี้ ผู้มีนามว่าเว่ยจ้วงเหอ(魏壮和) ซึ่งเป็นคนใบ้ ในวันนั้น เขาและภรรยานามว่าจ้าวหยินหวา(赵云花)ก็ได้ถูกผู้ใหญ่บ้านเรียกไปที่ข้างต้นชาอีกครั้ง คุณเว่ยจ้วงเหอได้พบเห็นคนที่คุ้นเคยหลายคนในท่ามกลางสิบกว่าคนกลุ่มนี้ คนที่คุ้นเคยเหล่านี้แม้ว่าไม่สามารถเอ่ยนามออกมา แต่เขารู้ว่าพวกเขาเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเขตพื้นที่ซือเหมา(思茅: ปัจจุบันคือเมืองผูเอ๋อร์(普洱)มณฑลหยินหนาน) เจ้าหน้าที่รัฐเหล่านี้เริ่มตั้งแต่เดือน มี.ค. 1991 ก่อนหน้านี้ได้ไปหาเขาหลายครั้งเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ของต้นชาไม้ใหญ่ต้นนี้ ไม่ว่าจะมาทำการวัด ไม่ว่าจะมาเด็ดเก็บดอก ผล ใบ เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัย

        ดั้งเดิม ถ้ากหากไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐเหล่านี้ปรากฏตัว คุณเว่ยจ้วงเหอได้ตัดสินใจหลังการเด็ดเก็บใบชาฤดูใบไม้ผลิปี 1991 นี้แล้วก็จะทำการโค่นต้นชาไม้ใหญ่ต้นนี้ทิ้ง เป็นเพราะว่าต้นชาต้นนี้ต้นใหญ่จนบังแดด บริเวณล้อมรอบต้นไม้ไม่สามารถเพาะปลูกธัญพืชได้ และก็ต้นชาในปีหนึ่งสามารถเด็ดเก็บใบชาได้เพียงสิบกว่าชั่ง ในยุคสมัยนั้น ชนบทในเมืองจีนยังล้าหลังมาก ผู้คนยังมีความทรงจำฝังใจมิรู้ลืมต่อภาพแห่งความหิวโหย จึงให้ความสำคัญต่อธัญพืชมากกว่าใบชา

        ผลสุดท้ายต้นชาไม้ใหญ่ต้นนี้ยังคงเก็บรักษาไว้ได้ คุณเว่ยจ้วงเหอก็ได้รับเงินอุดหนุนจากหมู่บ้านและเขตซือเหมา แต่เขาก็ยังไม่เข้าใจว่า ทำไมผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่รัฐจากในเมืองเหล่านี้ถึงสนอกสนใจต่อต้นชาไม้ใหญ่ต้นนี้ของบ้านเขาเป็นอย่างมาก? ในสายตาของคุณเว่ยจ้วงเหอ ต้นชาไม้ใหญ่ต้นนี้ของบ้านเขายังไม่ใช่ต้นที่ใหญ่ที่สุด เขารู้ว่ายังมีต้นชาไม้ใหญ่ในบางพื้นที่ยังใหญ่กว่าต้นชาต้นนี้ของบ้านเขา แล้วทำไมผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ถึงได้หลงใหลรักใคร่ต้นชาไม้ใหญ่ต้นนี้ของบ้านเขาได้ถึงขนาดนี้?

        อันที่จริง ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้ที่อยู่แวดล้อมต้นชาโบราณปังหวายไม่ใช่เพื่อค้นหาต้นชาที่ใหญ่ที่สุด และก็ไม่ใช่เพื่อค้นหาต้นชาที่มีอายุปียืนยาวที่สุด เหตุที่พวกเขาให้ความสนใจต่อต้นชาไม้ใหญ่ปังหวายต้นนี้ เหตุผลมีเพียงหนึ่งเดียว : มันคือต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่านต้นแรกที่ถูกค้นพบในหยินหนานหรือในเมืองจีนกระทั่งในโลกนี้ตราบเท่าถึงทุกวันนี้

        จุดสำคัญของมันอยู่ที่ “แบบเปลี่ยนผ่าน

        “แบบเปลี่ยนผ่าน” อาจมีผู้คนจำนวนน้อยที่จะเข้าใจ มันไม่ใช่สายพันธุ์ชนิดหนึ่งของต้นชาและใบชา และไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆต่อคุณภาพที่จะดีหรือเลวของใบชา ผู้เชี่ยวชาญด้านชาให้ความสนใจต่อมันไม่ใช่เพราะมันเพียบพร้อมด้วยคุณค่าทางธุรกิจใดๆ(อย่างน้อยเบื้องต้นคือความคิดแบบนี้) แต่คือการนำมันไปวางไว้บนประวัติวิวัฒนาการของใบชาเพื่อสืบค้นหาความจริง เพื่อแก้ปัญหาการโต้แย้งครั้งใหญ่ที่ได้ดำเนินมาเป็นร้อยปีแล้วในวงการวิชาการชาของโลก :

        แหล่งต้นกำเนิดต้นชาของโลกอยู่ที่เมืองจีน ? หรืออยู่ที่อินเดีย ?

        นี่คือเหตุการณ์ตอนหนึ่งของ “คดีดำ”(公案) ที่โด่งดังที่สุดในประวัติวิวัฒนาการใบชาของโลก

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า》ตอนที่ 1---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ความยั่วยวนใจของการเก็บชา(ภาค II) --- (5)

การเก็บฉาเกาผูเอ๋อร์ --- การปลดปล่อย “ทองคำแห่งชา” อย่างค่อยเป็นค่อยไป
普洱茶膏的存茶 --- 渐次释放“茶中黄金”



        ฉาเกาผูเอ๋อร์ถือเป็นผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์ที่ผ่านการผลิตเชิงลึก มันเพิ่มอีกหลายสิบขั้นตอนการผลิตเมื่อเทียบกับชาผูเอ๋อร์แบบดั้งเดิม เป็นแนวทางหนึ่งที่ยืนอยู่บนไหล่ของชาผูเอ๋อร์เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพที่สูงขึ้น ดังนั้น มันยิ่งค่อนหนักไปทางเชิงสรรพคุณ(พวกหมอยุคโบราณของเมืองจีนจึงเห็นมันเป็นยา) แต่ทว่า เมื่อมันเสร็จสิ้นจากสถานะของแข็ง(ใบชา)เปลี่ยนเป็นสถานะของเหลว(ของเหลวชา) แล้วจากสถานะของเหลวกลับคืนสู่สถานะของแข็ง(ฉาเกา) มันเป็นเพียงการบรรลุในการขจัดโครงสร้างสารเส้นใยและสิ่งแปลกปลอมในใบชา หลังจากนั้นนำส่วนประกอบเคมีจำนวนมากของใบชาที่ใช้วิธีการทำให้เข้มข้นขึ้นรวบรวมเข้าด้วยกัน แล้วยังต้องมีกระบวนพัฒนาการ

        ฉาเกาก่อนพัฒนาการ ตัวเนื้อครีม(สถานะของแข็ง)หลังเสร็จจากการผลิตเบื้องต้น สีน้ำชาจะค่อนไปทางมืด ขาดคุณลักษณะของความโปร่งใส รสชาติก็จะแย่ รสกลิ่นน้ำเต็มที่ แต่หลังผ่านพัฒนาการ 2 ปี รสกลิ่นน้ำหายไป กลิ่นหอมชาจะเริ่มล้นออกมา 3 ถึง 5 ปี สีน้ำชาจะปรากฏเป็นแดงทับทิม มีความหนาลื่นอย่างเด่นชัด

        นี่เป็นเพราะว่าในกระบวนพัฒนาการช่วงหลัง ทำให้ส่วนประกอบเคมีที่รวบรวมอยู่ด้วยกันประกอบกันขึ้นมาโดยการจัดลำดับใหม่ ภายใต้การกำหนดของรูปแบบการหมักที่ไม่เหมือนกัน สร้างความสัมพันธ์ของต้นน้ำปลายน้ำของส่วนประกอบเคมีต่างๆใหม่ ก่อให้เกิดสารอนุพันธ์(ก็คือสารประกอบทุติยภูมิ)จำนวนมากซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายคนเรา โดยทั่วไปพวกเราคุ้นเคยเรียกขานพวกมันว่า “ทองคำแห่งชา” ถือเป็นผลิตภัณฑ์ชามีระดับคุณภาพที่สูงยิ่งขึ้น เช่น “มังกรหยกหิมะ”(玉龙胜雪) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ Modern Tea ผิวเนื้อครีมปกคลุมด้วยชั้น “แม่คะนิ้ง”(白霜) พวกเราเรียกมันเป็นปรากฏการณ์ “คราบแม่คะนิ้ง”(泛霜) คือสารประกอบเชิงซ้อนของสารอาหารจากพืชหลายชนิดเช่น ทีโพลิแซคคาไรด์ คาเทชินและคาแฟอินเป็นต้นที่ประกอบกันขึ้นมาในระหว่างพัฒนาการภายหลัง มันปรากฏขึ้นมาจากผลึกรูปเข็มแต่ละผลึกทับซ้อนกัน ทำนองเดียวกับ “คราบแม่คะนิ้ง” บนผิวของ “ชาแก่” “แม่คะนิ้ง” นั่นเล่าล้วนมีคุณค่าทางอาหารอย่างมหาศาล และการได้มาซึ่งต้องพัฒนาการในระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร ยังมีอีกชนิดหนึ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์ยกระดับของมัน คือชนิดที่จากในสู่นอก หรือเป็นส่วนๆ หรือเป็นส่วนใหญ่ กระทั่งทั้งหมดที่เนื้อครีม “ขาวโพลน”(变白) ภายในของมันได้สะสมเอนไซม์ชีวภาพและสารผลิตผลของกระบวนการสันดาป(Metabolites)เป็นจำนวนมาก สามารถตรวจสอบสารอาหารจากพืชมีเป็นจำนวนมากซึ่งถือเป็น “ทองคำแห่งชา” ฉาเกาชนิดนี้มีชื่อว่า “ศิลาชา”(茶石) ซึ่งมีความหมายบอกเป็นนัยๆว่า “ศิลาของชีวิต”(生命之石) เป็นการบรรลุระดับขั้นสูงขั้นใหม่ในบรรดารูปแบบการหมักอันมากมายของชาผูเอ๋อร์

        ยังมีการหมักภายหลังอีกรูปแบบหนึ่ง(วิธีการพัฒนาการ) คือการไม่ให้ฉาเกาเกิด “คราบแม่คะนิ้ง” แต่ให้ปรากฏ “ดำแล้วมัน”(黑又亮) ราวกับถ่านหินดำก็ไม่ปาน มีส่วนที่คล้ายคลึงกับกราไฟท์ พวกเราเรียกขานมันว่า “ผูเอ๋อร์ทองคำดำ”(普洱黑金) รูปแบบที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงของรูปแบบการหมักนี้ทำให้การได้มา “ไข่มุกดำ”(黑珍珠) ผลิตภัณฑ์เลอค่าและหาได้ยากยิ่ง สีน้ำชาของมันสำแดงออกเป็นแดงทับทิม ความหนาลื่นสูงกว่าฉาเกาทั่วไป และประกอบด้วยกลิ่นยาบางๆ ถือเป็นผลิตภัณฑ์ล้ำค่าของฉาเกาที่ผ่านพัฒนาการแล้ว เพียงแต่ผลผลิตจะออกมาน้อยมาก



        อันที่จริง วิธีการพัฒนาการ 2 รูปแบบของฉาเกาที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้น พวกเราน่าจะเข้าใจได้ว่า ฉาเกาก็ต้องการ “เก็บชา” ซึ่งก็คือกระบวนพัฒนาการ ถึงกระนั้น เงื่อนไขพัฒนาการของฉาเกามีความต้องการที่สูงกว่าของชาผูเอ๋อร์แบบดั้งเดิม ต้องมีความเป็นมืออาชีพที่สูงกว่า

        พัฒนาการของฉาเกาและชาผูเอ๋อร์แบบดั้งเดิมมีความแตกต่างกัน คือระยะเวลา “เก็บชา” ของมัน(ก็คือระยะเวลาพัฒนาการ)จะสั้น ฉาเกาผูเอ๋อร์ระดับคุณภาพสูงสุดต้องการเพียง 5 ปี

        สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนคือ ฉาเกาผูเอ๋อร์ที่บทความนี้เชื่อมโยงคือการบ่งชี้ถึงผลิตภัณฑ์ของรูปแบบการผลิตครีมที่อุณหภูมิต่ำ ผลิตภัณฑ์ของการผลิตครีมที่อุณหภูมิสูง เช่นการเคี่ยวบนกะทะใหญ่ การเคี่ยวบนกะทะเล็ก ผงชาของการอบแห้งแบบพ่นฝอย ต่างไม่เหมาะสมวิธีการของ “เก็บชา” การบังคับให้พัฒนาการ จะปรากฏการเกิดเชื้อรา ส่งผลให้คุณภาพผลิตภัณฑ์เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุคือผลจากการทำให้แข็งตัวโดยอุณหภูมิสูง ขาดแคลนเอนไซม์ชีวภาพ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการมีฤทธิ์ของเอนไซม์ ถ้านำผลิตภัณฑ์ประเภทนี้เปลือยในอากาศ ภายในระยะเวลาอันสั้นผิวเนื้อครีมจะเกิดเป็นจุดเชื้อรา นี่คือสิ่งที่สายตาสามารถสังเกตเห็นได้ ส่วนที่มองไม่เห็นจะมีมากกว่า นี่ก็คือเหตุผลที่พวกเราเสนอมาตลอดเวลาว่าให้ยกเลิกวิธีการผลิตครีมที่ล้าสมัย เนื่องจากมันไม่ถือเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยแล้ว

        ถึง ณ ปัจจุบัน การอภิปรายเกี่ยวกับ “เก็บชา” ของพวกเรายังไม่ยุติ เนื่องจากมีปัญหาสำคัญ 2 ข้อที่ยังไม่ได้รับการเชื่อมโยง :

        1. คือ “เก็บชา” นอกจากการเปลี่ยนแปลงที่รับรู้ได้ผ่านวิธีการทดสอบประเมินโดยอวัยวะรับความรู้สึกโดยการเห็น การดม การชิมลิ้มลอง ยังมีสสารที่ตา จมูก ปากของเราสัมผัสไม่ถึง พวกมันอาจจะไม่มีสีไม่มีรส กระทั่งมีโมเลกุลเล็กมาก ปริมาณที่เป็นองค์ประกอบก็ต่ำมาก แต่ “พลังงานจลน์” ของมันมีเต็มเปี่ยม มีความเป็นฤทธิ์อย่างมาก นำเสนอผลประโยชน์แก่ร่างกายพวกเราที่คาดคิดไม่ถึง เป็นสารกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่งที่มีอิทธิพลในขอบเขตด้านสรรพคุณทางบำรงร่างกายของชาผูเอ๋อร์ พวกเราสามารถเรียกขานพวกมันว่าสารอนุพันธ์ใหม่หรือสารประกอบทุติยภูมิ และก็สามารถเรียกขานพวกมันว่าสารอาหารจากพืช ปัญหานี้จะวิเคราะห์อย่างละเอียดในบทความ《นอกจากสรรพคุณ ก็ยังเป็นสรรพคุณ

        2. คือ “เก็บชา” มีรูปแบบอันหลากหลาย มีการเก็บชาที่บ้านอยู่อาศัย มีรูปแบบ “โกดัง” ของการเก็บชาในคลังสินค้า มีรูปแบบ “ห้องใต้ดินชา”(茶窖) ของการเก็บชาแบบมืออาชีพ “เก็บชา” ในรูปแบบไหนเล่าจึงสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ?

........   โปรดติตาม《ความยั่วยวนใจของการเก็บชา(ภาค III)》........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ความยั่วยวนใจของการเก็บชา(ภาค II)》ตอนที่ 5---เขียนโดย เฉินเจี๋ย

ความยั่วยวนใจของการเก็บชา(ภาค 3) --- (1)