ผู้ปกครองสูงสุดทั้งราชวงศ์หมิงและชิงต่างให้ความสำคัญระดับสูงกับการผลิตเครื่องเคลือบในจิ่งเต๋อเจิ้น ซึ่งเป็นศูนย์รวมกำลังคนที่มีความสามารถและกำลังทรัพย์เป็นจำนวนมาก เพื่อประกันคุณภาพเครื่องเคลือบจากเตาหลวงราชสำนักในจิ่งเต๋อเจิ้น แต่ทว่า หน้าที่ของเหล่าช่างทำเครื่องเคลือบก็เพื่อบริการราชสำนัก ไม่มีความเป็นอิสระในสถานะภาพและความคิดริเริ่ม เนื่องจากอำนาจสิทธิ์ขาดเป็นของราชสำนัก จึงมีผลกระทบต่อความสามารถในการสร้างนวัตกรรมที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตนของเหล่าศิลปินเครื่องเคลือบจิ่งเต๋อเจิ้น
▲瓷器圆面青花《清代御窑厂图》瓷板 / ภาชนะแผ่นกลมเครื่องเคลือบลายคราม《โรงงานเตาหลวงราชสำนักสมัยชิง》: ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 72.5 cm. โดยภาพวาดใช้โรงงานเตาหลวงราชสำนักเป็นศูนย์กลางของจิ่งเต๋อเจิ้น เผาผลิตขึ้นในสมัยชิงตอนปลาย แต่จะถือเป็นของรัชสมัยเต้ากวงหรือถงจื้อยังหาข้อสรุปไม่ได้
โรงงานเตาหลวงราชสำนักเป็นสถานที่เป็นการเฉพาะเผาผลิตเครื่องเคลือบราชสำนักทั้งราชวงศ์หมิงและชิง ก่อตั้งขึ้นในรัชศกหงหวู่ปีที่ 2 (ปี1369) ตราบจนถึงรัชศกเซวียนถ่ง(จักรพรรดิองค์สุดท้าย)ปีที่ 3 (ปี1911) เป็นอันสิ้นสุดประวัติศาสตร์การเผาผลิต รวมเป็นระยะเวลายาวนาน 542 ปี
ภายหลังจากสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 ในปี 1840 พลังประเทศของราชวงศ์ชิงก็ค่อยๆอ่อนแอลง เตาหลวงราชสำนักก็ตกต่ำเป็นเงาตามตัว ตราบจนการปกครองแบบอำนาจสิทธิ์ขาดได้ล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง และแล้ววันหนึ่งในฤดูใบไม้ร่วงปี 1928 ศิลปินพื้นบ้านผลิตเครื่องเคลือบที่โดดเด่นกลุ่มหนึ่งได้ปรากฏตัวออกมาในจิ่งเต๋อเจิ้น โดยรวมตัวกันก่อตั้งเป็นกลุ่มนักวาดภาพมีนามว่า “
สมาคมเดือนเต็ม/
月圆会” อันประกอบด้วย : หวังฉี ; หวังต้าฝาน ; วังแหย่ถิง ; เติ้งบี้ซาน ; บี้โบ๋วเทา ; เหอสวี่เหริน ; เฉินยี่ถิง ; หลิวหยี่เฉิน เป็นต้น เนื่องจากโรงงานเตาหลวงจิ่งเต๋อเจิ้นตั้งอยู่ในบริเวณ
เชิงเขาจูซาน(
珠山) และอาจารย์จิตรกร 8 ท่านนี้จะนัดกันมาประชุมสังสรรค์ทุกวันเพ็ญของเดือนที่เชิงเขาจูซานแห่งนี้ ซึ่งเขาจูซานเป็นสัญลักษณ์และเป็นอีกชื่อหนึ่งของจิ่งเต๋อเจิ้น ภายหลังชนรุ่นหลังจึงให้เกียรติ 8 ท่านนี้โดยขนานนามใหม่ว่า『
แปดสหายจูซาน/
珠山八友 』 “
แปดสหาย/
八友” เป็นตัวเลขบุคคลสมมุติขึ้นเพื่อการอ้างถึงทั่วๆไป เป็นกลุ่มคณะศิลป์ที่เกาะกลุ่มกันอย่างหลวมๆซึ่งยังประกอบด้วย เถียนเฮ้อเซียน ; สวีจ้งหนาน รวมกันเป็น 10 คน
▲『珠山八友/แปดสหายจูซาน』จากซ้ายไปขวา : หวังต้าฝาน ; หวังฉี ; หลิวหยี่เฉิน ; เติ้งบี้ซาน
▲『珠山八友/แปดสหายจูซาน』จากซ้ายไปขวา : เฉินยี่ถิง ; เหอสวี่เหริน ; วังแหย่ถิง ; เถียนเฮ้อเซียน
『
แปดสหายจูซาน』ได้ทลายกำแพงกั้นของเตาหลวงราชสำนักสมัยหมิงและชิง โดยยึด “
แปดประหลาดหยางโจว/
杨州八怪” เป็นแม่แบบ โดยถือ “
ศิลปินกลุ่มเซี่ยงไฮ้/
海派艺术家” เป็นแบบอย่าง ไม่เพียงสืบทอดแก่นสารของศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาจีนและศิลปะจิตรกรรมจีน ขณะเดียวกันก็ซึมซับศิลปะเพนท์ติ้งจากตะวันตกและเทคนิคการวาดภาพจากญี่ปุ่น นำจิตวิญญาณรักชาติอันแรงกล้าใส่ลงในการสร้างสรรค์ศิลปะเครื่องเคลือบ กลายมาเป็นรูปแบบอันเป็นอัตลักษณ์จีนยุคใหม่
▲“杨州八怪” · 黄慎 |《钟进士图轴》/《ภาพม้วนราชบัณฑิตจง》: วาดโดยหวางเซิ้น (ปี1687-1770) ศิลปินหนึ่งใน “แปดประหลาดหยางโจว” เป็นนักวาดที่ครบเครื่องทุกรูปแบบ มีความชำนาญในการวาดภาพตัวละคร ทิวทัศน์ ดอกไม้นก และยังโดดเด่นด้านอักษรวิจิตรหวัดและสามารถแต่งบทกวี
▲“海派艺术家” · 钱慧安 |《富贵寿考》/《ยศทรัพย์ทวีอายุยืน》: เป็นภาพวาดที่เป็นตัวแทนของเฉียนฮุ้ยอัน (ปี1833-1911) หนึ่งใน “ศิลปินกลุ่มเซี่ยงไฮ้” สมัยชิงตอนปลาย เป็นภาพที่สวยงามคลาสสิคที่แฝงด้วยอารมณ์ของประเพณีเมืองและชนบท สอดคล้องกับสุนทรียภาพนิยมของชาวบ้านในช่วงสมัยนั้น
นอกเหนือจากนั้น『
แปดสหายจูซาน』จะคิดคำนึงถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมจีนและศึกษาตัดสินบนประวัติศาสตร์ ทำให้ผลงานที่สร้างสรรค์ออกมาเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ พวกเขาไม่เพียงแต่ยอมรับแนวคิดสุนทรียภาพของ “
ภาพวาดแบบปัญญาชน/
文人画” ทั้งยังอาจหาญใช้ศิลปะการวาดภาพแบบปัญญาชนมาแทนที่ “
เฝินไฉ่แบบคังซีหยงเจิ้ง/
康雍粉彩” นี่เข้าทำนอง “
บังอาจยิ่งนัก/
胆大包天” ! แต่ทว่า ถ้าหากปราศจากจิตสำนึกทางความคิดริเริ่มและจิตวิญญาณทางการสร้างสรรค์ของพวกเขาแล้ว ก็คงจะไม่เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วของศิลปะการวาดภาพแบบปัญญาชนบนเครื่องเคลือบดินเผา “
เฝินไฉ่ใหม่/
新粉彩” ก็คงไม่สามารถกลายเป็นเสาหลักของยุคสมัยนั้น และศิลปะการตกแต่งเครื่องเคลือบดินเผาก็จะสร้างไมล์สโตนใหม่ขึ้นมาไม่สำเร็จ
『
แปดสหายจูซาน』ทุกคนต่างมีอิสรภาพและเสมอภาพ นี่จึงเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับแต่ละคนที่ต่างมีความคิดสร้างสรรค์ ต่างมีเอกลักษณ์ ต่างมีรูปแบบเฉพาะตน : “
ภาพวาดตัวละคร/
人物画” โดยผลงานของหวังฉีและหวังต้าฝานจะสัมฤทธิภาพที่สุด ; “
ภาพวาดทิวทัศน์/
山水画” โดยผลงานของเหอสวี่เหรินและวังแหย่ถิงจะมีลักษณะพิเศษที่สุด ; ส่วนเถียนเฮ้อเซียนเชี่ยวชาญทาง “
ดอกเหมย/
梅花” ; เติ้งบี้ซานถนัดทาง “
ปลาสาหร่าย/
渔藻” ; เฉินยี่ถิงตกหลุมรักใน “
ดอกไม้นก/
花鸟” ; บี้โบ๋วเทาโหยหาทาง “
ขนนกดอกไม้พืชพรรณ/
翎毛花卉” ; หลิวหยี่เฉินหลงรักใน “
หยดน้ำดอกท้อ/
水点桃花” ; สวี่จ้งหนานมีประสบการณ์ทาง “
ต้นสนไผ่/
松竹”
▲民国·『珠山八友』名家绘 | 粉彩《山水人物花鸟》瓷板 (一套十二件) / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ทิวทัศน์-ตัวละคร-ดอกไม้นก》ชิ้นผลงานของเหล่าศิลปิน『แปดสหายจูซาน』สมัยสาธารณรัฐ (1 ชุด 12 ชิ้น)
1)【
หวังฉี/
王琦】(ปี1884-1937) |《ภาพวาดตัวละคร/
人物画》
แรกเริ่มหวังฉีศึกษารูปแบบการวาดภาพของ เฉียนฮุ้ยอัน(
钱慧安) ซึ่งเป็นหนึ่งศิลปินชื่อดังใน “กลุ่มเซี่ยงไฮ้” ต่อมาเรียนรู้แนวของ หวางเซิ้น(
黄慎) หนึ่งใน “แปดประหลาดหยางโจว” ประกอบกับการซึมซับศิลปะเพนท์ติ้งของภาพวาดสีน้ำมันตะวันตก ได้สร้างสรรค์รูปแบบการวาดภาพที่เป็นแบบฉบับของตนเอง : “
การเสริมสวยเฝินไฉ่/
粉彩涂脂” คือการใช้เฝินไฉ่มาแต่งเติมลงบนใบหน้า ใบหน้าของตัวละครที่เขียนสีเฝินไฉ่สามารถทำให้ใบหน้าของตัวละครเกิดมีมิติขึ้นมา อดีตภาพวาดแบบปัญญาชนดั้งเดิมจะเป็นแบบใบหน้าราบเรียบ แต่ใบหน้าตัวละครของหวังฉีจะเป็นภาพ 3 มิติ
▲王琦 | 粉彩《糊涂即是仙》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ฟั่นเฝือก็คือเซียน》ผลงานของหวังฉี : ขนาด 39.5x25.8 cm.
▲王琦 | 粉彩《渔翁图》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ชาวประมง》ผลงานของหวังฉี
▲王琦 | 粉彩《十八罗汉》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《18 อรหันต์》ผลงานของหวังฉี : ประมูลเมื่อปี 2015 ราคาประมูลได้ RMB17,825,000
2)【
หวังต้าฝาน/
王大凡】(ปี1888-1961) |《ภาพวาดตัวละคร/
人物画》
เริ่มต้นหวังต้าฝานได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากอาจารย์ วังเสี่ยวถัง(
汪晓棠) เริ่มศึกษาแนวการวาดภาพของ เฝ่ยเสี่ยวเหลา(
费晓楼) ซาซานชุน(
沙山春) ต่อมาก็ศึกษาแนวของ หลอผิ้ง(
罗聘) หม่าเทา(
马涛) เป็นการเรียนรู้จุดเด่นต่างๆของเหล่าศิลปินอาวุโส แล้วค่อยๆมาก่อเกิดภาพวาดควบอักษรศิลป์ที่เป็นรูปแบบของตนเอง เป็นรูปแบบที่ต้องการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกออกมา ฉะนั้น ภาพวาดของหวังต้าฝานจึงมีลักษณะพิเศษมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ยุคปีที่ 40 เขาได้สร้างสรรค์ภาพวาดเฝินไฉ่ในรูปแบบ “
ลั่วตี้เฝินไฉ่/
落地粉彩/เฝินไฉ่ตกพื้น)” : คือไม่ใช้
ฟริต(Frit/เคลือบแก้วขาว)ลงพื้นก่อน จะนำสารสีเขียนลงบนเคลือบโดยตรง แล้วป้ายทับด้วยเคลือบขาว(
雪白)หรือเคลือบน้ำเขียว(
水绿)อีกชั้น จึงนำไปเผาอบให้สีแห้ง ทำให้ภาพวาดตัวละครดูยิ่งมีชีวิตชีวา สละสลวยยิ่งขึ้น
▲王大凡 | 粉彩《禹王治水图》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《อ๋องอวี่บริหารจัดการน้ำท่วม》ผลงานของหวังต้าฝาน : ประมูลเมื่อปี 2011 ราคาประมูลได้ RMB9,200,000
▲王大凡 | 粉彩《浮搓寻源》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ล่องลอยบนคลื่นค้นหาต้นกำเนิด》ผลงานของหวังต้าฝาน
▲王大凡 | 粉彩《百寿图》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《อายุมั่นขวัญยืน》ผลงานของหวังต้าฝาน
3)【
วังแหย่ถิง/
汪野亭】(ปี1884-1942) |《ภาพวาดทิวทัศน์/
山水画》
ภาพวาดน้ำใสเขาเขียวของวังแหย่ถิงมีลักษณะเด่นและเป็นที่ชื่นชอบของผู้คน เขาเรียนรู้แนวศิลปะวาดภาพของ “
สี่หวังยุคชิง/
清四王” เขามีความตั้งใจมากในการลอกแบบผลงานของสี่หวังยุคชิงเป็นจำนวนมาก เพื่อดูดซับแก่นสารศิลปะจิตรกรรม ขณะเดียวกันก็ศึกษาแนวของ สือเทา(
石涛) ซึ่งมีอิทธิพลต่อเขาอย่างมาก กล่าวได้ว่าวังแหย่ถิงโดยมีสายน้ำภูเขาเป็นอาจารย์ ใช้สภาพแวดล้อมธรรมชาติสร้างจินตนาการวาดออกมาเป็นภาพ ก่อร่างออกมาเป็นภาพน้ำใสเขาเขียวในรูปแบบเฉพาะตน โดยเฉพาะในการวาดภาพรูปแบบทิวทัศน์เต็มภาพบนเครื่องเคลือบ เนื่องจากที่ผ่านมาภาพวาดแบบปัญญาชาดั้งเดิมบนผ้าไหมไม่สามารถวาดภาพเต็มภาพได้ “
ภาพวาดทิวทัศน์เต็มภาพ/
通景山水” ของวังแหย่ถิงยังมีอิทธิพลต่อการวาดภาพบนเคลือบในจิ่งเต๋อเจิ้นตราบจนถึงปัจจุบัน
▲汪野亭 | 粉彩《竹篱茅舍风光好》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ทัศนวิสัยกระท่อมหลังคามุงจากรั้วไม้ไผ่》ผลงานของวังแหย่ถิง : ขนาด 39.0x25.5 cm.
▲汪野亭 | 粉彩《山水》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ทิวทัศน》ผลงานของวังแหย่ถิง
▲汪野亭 | 粉彩《山水图》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ทิวทัศน》ผลงานของวังแหย่ถิง
▲王琦·汪野亭 | 粉彩《人物山水》瓷板(六件) / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ตัวละครทิวทัศน》ผลงานของหวังฉีและวังแหย่ถิง (6 ชิ้น) : ประมูลเมื่อปี 2012 ราคาประมูลได้ RMB32,775,000
เอกสารอ้างอิง :
1.
珠山八友的瓷画作品不能不看 :
https://kknews.cc/culture/re4anbv.html
2.
珠山八友瓷板画收藏与鉴赏 :
http://art.people.com.cn/n/2015/1019/c206244-27715234.html
3.
《珠山八友》那鲜为人知的故人往事! :
https://www.sohu.com/a/276512869_100156435