หัวเม็ดปั้นของปั้นจื่อซาครอบครองอัตราส่วนที่เล็กมากในสัญฐานของปั้นจื่อซา แม้มีรายละเอียดเพียงเล็กน้อย แต่ถือเป็นเล็กพริกขี้หนู ออกแบบมาเพื่อสะดวกในการจับยกฝาปั้น เป็นส่วนที่คล้ายนัยน์ตา นัยน์ตาคือการประดับขั้นสุดท้าย คือการทำให้กลมกลืนกับอัตราส่วนขององค์ประกอบอื่นๆของตัวปั้น และยังเป็นศิลปกรรมที่มีคุณลักษณะทางการตกแต่งอย่างสูง กลายเป็นการจุดแต้มนัยน์ตาของ “เบิกเนตรมังกร” (画龙点睛)
หัวเม็ดปั้นที่พบเห็นบ่อยมากมีอยู่ 7 รูปแบบ :
1. หัวเม็ดรูปลูกบอล (球形钮) : มีรูปทรงกลมไข่มุก รูปทรงกลมแบน ซึ่งสอดคล้องกันกับปั้นทรวดทรงกลม
▲ปั้นตัวฉิวผลงานของเฉินโซ่วเจิน(程寿珍掇球壶) ฝาปั้นเป็นลูกบอลครึ่งลูก หัวเม็ดปั้นเป็นลูกบอลอีกลูก พวยและหูปั้นก็ตัดจากส่วนโค้งมนบนลูกบอล ซึ่งตัวปั้นเป็นสัญฐานที่ประกอบขึ้นด้วยเส้นโค้งมนอ่อนช้อยสวยงาม เส้นสายไหลลื่น ทำให้รู้สึกสบายตา โดยองค์รวมของปั้นทั้งใบจากสามรวมเป็นหนึ่งอย่างมั่นคงมั่นคั่ง
2. หัวเม็ดรูปทรงเหลี่ยม (方形钮) : ส่วนใหญ่ออกแบบบนปั้นทรงเหลี่ยม มีความหมายในนัยต้องเป็นคนที่จริงจังตรงไปตรงมา
▲ปั้นสี่เหลี่ยม(四方壶) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานศิลปเอเชียแห่งชิคาโก
3. หัวเม็ดรูปสะพาน (桥梁钮) : เป็นไปตามชื่อ มีรูปร่างคล้ายสะพานโค้ง ซึ่งต่อมาได้สวมวงแหวนเข้าไปบนพื้นฐานเดิมของหัวเม็ดสะพานโค้ง พัฒนาการเป็นหัวเม็ดห่วง
▲หัวเม็ดปั้นสะพานโค้ง
▲ปั้นน้ำเต้า(葫芦壶) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานศิลปะเอเชียแห่งชิคาโก
4. หัวเม็ดลายซี่โครง (筋纹钮) : รูปแบบเป็นไปตามตัวปั้นลายซี่โครง โดยเป็นการย่ออัตราส่วนลงมา ทั่วไปจะเป็นเส้นสายเดียวถึงพื้น เช่นปั้นกลีบดอกเก็กฮวย ตลอดทั้งตัวจากหัวเม็ด ฝา ถึงตัวปั้นประกอบด้วยดอกเก็กฮวย12กลีบ
▲ปั้นกลีบดอกเก็กฮวย(菊瓣壶)
5. หัวเม็ดรูปพืชพรรณ (植物形钮) : เป็นหัวเม็ดรูปแบบที่ใช้บ่อยในปั้นทรงลวดลาย เช่น ต้นฟักทอง ต้นแตงโม ก้านใบดอกเหมย เป็นต้น
▲ปั้นรังไหมผลงานของไผสือหมิน(裴石民制紫砂豆荚壶)
▲เลียบแบบปั้นสายหิ้วไผ่ผลงานของโจวติ่งฝาง(周定芳仿竹提梁)
6. หัวเม็ดรูปสัตว์เสมือน (动物肖钮) : มีจุดกำเนิดมาจากตราประทับโบราณ มีแบบเสมือนจริง มีแบบจินตภาพนามธรรม ควบคู่เลียนแบบวิธีการโบราณ
▲หัวเม็ดปั้นรูปกบ
▲ปั้นพวยคู่(双流壶) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานศิลปเอเชียแห่งชิคาโก
7. หัวเม็ดรูปแบบนิยามเอง (自定义钮) : มิใช่เพิ่งสร้างสรรค์ขึ้นมาในยุคสมัยนี้ ในยุคสมัยหมิงกระทั่งก่อนหน้านี้ก็มีอาจารย์ใหญ่ทำปั้นได้สร้างสรรค์รูปลักษณ์ของหัวเม็ดขึ้นมาอย่างมากมาย
▲ปั้นจื่อซาฝารูปหม้อทรงเตี้ย3ขาผลงานของสือต้าปิง(时大彬制扁鼎足紫砂壶·1573-1648) ถูกขุดพบจากสุสานหลูเหวยเจินเมืองจางผู่ฝูเจี้ยน(福建漳浦卢维祯墓)ในปี1987 ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ศูนย์วัฒนธรรมจางผู่ บนฝาปั้นโดยการนำขายึดของแท่นกลับตาลปัตรทำเป็นหัวเม็ด ขาแท่น3ขารูปโค้งยกขึ้นค่อยๆบานออก เมื่อพลิกฝาปั้นให้หงายขึ้นทำเป็นจอกชา3ขาได้
ผู้คนทั่วไปเวลาชื่นชมปั้นจื่อซา โดยทั่วไปจะให้ความสนใจตรงรูปแบบปั้นและงานแกะสลัก ส่วนใหญ่จะละเลยมโนคติและเจตคติในการทำหัวเม็ดปั้นของศิลปินจื่อซา เพราะในการออกแบบทำหัวเม็ดปั้นล้วนกระทำด้วยความพิถีพิถัน แปรเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบปั้นจื่อซา อ้างอิงการแสดงเจตนาโดยนัยของปั้นแล้วทำให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ รูปแบบของหัวเม็ดปั้นเฉกเช่นเดียวกันกับรูปแบบของปั้นจื่อซา ซึ่งล้วนเปลี่ยนแปลงได้ไร้ขีดจำกัด แต่สอดคล้องกับรูปแบบปั้น อาทิเช่น ปั้นทรวดทรงกลม หัวเม็ดปั้นทั่วไปก็เป็นรูปทรงกลม ปั้นทรงเหลี่ยมทั่วไปก็ประกอบกับหัวเม็ดปั้นรูปทรงเหลี่ยม แต่ไม่ตายตัวสามารถเปลี่ยนแปลงได้
▲หัวเม็ดปั้นแบบนี้เป็นการแหวกแนวจากแบบดั้งเดิม กลายเป็นศิลปะเครื่องดินเผารูปแบบใหม่ ฝาและหัวเม็ดหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน
-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----
เอกสารอ้างอิง :
1. 看大师如何“钮”转乾坤(壶钮): https://zhuanlan.zhihu.com/p/28776265
2. 紫砂壶壶钮型不型?看完再评断!: http://m.btime.com/item/router?gid=42f8eorgr3e8hnoq2tdljlpdu3v