วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2562

บทเพลงชา 7 ถ้วยของหลูถง



        ผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรมชาในบรรดาดาวจรัสแสงสมัยถัง ลู่อวี่ (陆羽 ; ปี733-804) ผู้ประพันธ์《คัมภีร์ชา/茶经》ได้รับเกียรติสูงสุดให้เป็น “เทพแห่งชา/茶圣” ลำดับรองลงมาคือ หลูถง (卢仝 ; ปี795-835) ที่แต่งบทกวี《บทเพลงชา 7 ถ้วย/七碗茶歌》อันถือเป็นบทเพลงอมตะที่ได้ร้องบรรเลงตั้งแต่สมัยถังต่อเนื่องถึงสมัยซ่ง-หยวน-หมิง-ชิง ตราบจนถึงปัจจุบัน ได้รับการยกย่องให้เป็น “เซียนชา/茶仙

元·赵原丨《陆羽烹茶图》/《ภาพลู่อวี่ต้มชา》ผลงานของจ้าวหยวน-สมัยหยวน 

卢仝丨简介 / ชีวประวัติของหลูถง

宋·钱选丨《卢仝烹茶图》/《ภาพหลูถงต้มชา》ผลงานของเฉียนเสวี่ยน-สมัยซ่ง

      《บทเพลงชา 7 ถ้วย》เป็นบทกวีท่อนหนึ่งใน《เขียนขอบคุณเมิ้งเจี่ยนที่ส่งชาใหม่มาให้ลิ้มลอง/走笔谢孟谏议寄新茶》ที่โดดเด่นและซึ่งแสดงอารมณ์ความรู้สึกของผู้แต่ง มีความสละสลวยแหวกแนว ทำให้ผู้อ่านสามารถเกิดจินตนาการไร้ขอบเขต ได้รับการกล่าวขานอย่างกว้างขวาง ยังคงอยู่ชั่วกาลนาน ถูกแปลออกเป็นหลายภาษาเผยแพร่สู่ทั่วโลก จึงสามารถที่จะกล่าวได้ว่า ที่ใดนิยมการดื่มชา ที่นั่นย่อมจะมีการกระจายเสียง《บทเพลงชา 7 ถ้วย》:

         一碗喉吻润,/  ถ้วยที่1 ลื่นคล่องคอ น้ำชาที่นำมาซึ่งหวานย้อนกลับและกระตุ้นน้ำลาย ทำให้ชุ่มปากคล่องคอ
         二碗破孤闷。/  ถ้วยที่2 ซึมเศร้ามลาย เมื่อน้ำชาอุ่นๆลงคอ กลิ่นหอมแตะโพรงจมูก แม้เพียงต้องอยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย แต่ก็มีชาเป็นเพื่อนข้างกาย
         三碗搜枯肠,唯有文字五千卷。/  ถ้วยที่3 ตื้นตันใจ เป็นเพราะชาจึงกระตุ้นความคิดที่เต็มไปด้วยตัวอักษรแล้วเรียงร้อยออกมาเป็นบทกวี
         四碗发轻汗,平生不平事,尽向毛孔散。/ ถ้วยที่4 ขับถ่ายเหงื่อ พลังชี่ของน้ำชาขจัดจิตฟุ้งซ่านออกตามรูขุมขน
         五碗肌骨清,/  ถ้วยที่5 ชำระกาย เมื่อกายใจผ่อนคลาย ก็สุขกายเจริญใจ
         六碗通仙灵。/  ถ้วยที่6 ความเป็นเซียน อิสรภาพแห่งจิตวิญญาณ บรรลุเอกภาพแห่งทวินิยม
         七碗吃不得也,唯觉两腋习习清风生。/  ถ้วยที่7 สายลมพัด รู้สึกได้ใต้รักแร้ทั้งสองมีสายลมพัดปลิวให้ลอยขึ้นบนท้องฟ้า

      《บทเพลงชา 7 ถ้วย》ของหลูถง นอกจากการแปลตีความตามตัวอักษรข้างต้นแล้ว จากชาถ้วยแล้วถ้วยเล่า ทุกถ้วยเป็นการสร้าง【สภาวะ】ทาง『ฌาน/』:

          ชาถ้วยที่1)【กิเลสทางกาย】 | เริ่มต้นจากความต้องการทางกายภาพในการดับกระหายน้ำ
          ชาถ้วยที่2)【จากกายสู่จิต】 | คนกับโลกก็จะค่อยๆแยกห่างจากกัน วิญญาณคืนสู่ร่าง
          ชาถ้วยที่3)【จากจิตเข้าฌาน】 | เจริญสมาธิ ปัญญาบังเกิด
          ชาถ้วยที่4)【จากฌานพ้นทุกข์】 | สงบสติอารมณ์ ขจัดบ่วงกรรม
          ชาถ้วยที่5)【ขัดเกลากายใจ】 | ชำระกายใจให้บริสุทธิ์ ไม่ยึดติด
          ชาถ้วยที่6)【บรรลุมรรคผล】 | สู่ความเป็นเซียนในพลังยินหยางอย่างสมดุล
          ชาถ้วยที่7)【อมตภาพ】 | ความเป็นเซียนล่องลอยในอากาศสู่แดนสุขาวดี

▲【สภาวะอมตภาพ】 | ความเป็นเซียนล่องลอยในอากาศสู่แดนสุขาวดี

        การดื่มชา 7 ถ้วยของหลูถง เชิงเป็นการฝึกตนไต่ลำดับขั้นให้สูงขึ้นจากสภาวะ【กิเลสทางกาย】 จนถึง【อมตภาพ】 ซึ่ง 7 สภาวะแห่งการดื่มชานี้ ลึกซึ้งจนเกินความเข้าใจของคนโบราณและคนยุคปัจจุบัน ทำให้นักการชายุคหลังหลงระเริงกับโลกของชาบนความชื่นชอบจนได้มองข้ามและหลงลืมสภาวะทั้งทางโลกและทางธรรม เชิงทำนอง “ฌานชารสเดียว (禅茶一味)”

《禅茶一味》/《ฌานชารสเดียว》

      《บทเพลงชา 7 ถ้วย》ของหลูถง นอกจากเป็นบทกวีที่โดดเด่นในวัฒนธรรมชาจีน ยังบินลัดฟ้าข้ามทะเลไปญี่ปุ่น กลายเป็นแรงบันดาลวัฒนธรรมเซนฉะของญี่ปุ่น ผู้ที่ทำการผลักดันคือ Kō Yūgai (高遊外 ; ปี1675-1763) ผู้มีสมญานามว่า “Baisaō (คนแก่ขายชา/賣茶翁)” มีชื่อเดิมว่า “Shibayama Genshō (柴山元昭)” ซึ่งเคยบวชเป็นพระนิกายเซนฉายา “Gekkai Genshō (月海元昭)” เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง『พิธีชงชาเซนฉะ/煎茶道』ในยุคเอโดะ(江户时代 ปี1603-1868) ทำให้การดื่มเซนฉะเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่มวลชนทั่วไปในญี่ปุ่น ในญี่ปุ่น มีเซนฉะมาก่อนมัทฉะ 500 ปี แต่กลับกลายเป็นพิธีชงชาช้ากว่า 200 ปี

伊藤若冲丨《賣茶翁像》/《ภาพคนแก่ขายชา/Baisaō》ผลงานของ Itō Jakuchū (ปี1716-18004)   

狩野秀賴丨《楓圖》/《ต้นเมเปิล》ผลงานของ Kano Show Lai (เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว)

狩野秀賴丨《楓圖》(局部)  / (ภาพบางส่วน)《ต้นเมเปิล》ผลงานของ Kano Show Lai : บนภาพจะสังเกตเห็นเหตุการณ์การขายชาของคนแก่ขายชา 

        พระเซนโนะริคิว (Sen no Rikyu/千利休 ; ปี1522-1591 ) ผู้ซึ่งพัฒนา『พิธีชงชาวาบิฉะ/侘茶道』ที่นิยมกันในวัง ชนชั้นสูงและพระในสมัยนั้น จนกลายมาเป็นรูปแบบ『พิธีชงชามัทฉะ/抹茶道』ที่ผู้คนส่วนใหญ่คุ้นเคยและรู้จักเป็นพิธีชงชาที่เป็นแก่นสารทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในปัจจุบัน.....

《千利休》创立的日本『抹茶道』/《พระเซนโนะริคิว/Sen no Rikyu》ผู้ก่อตั้ง『พิธีชงชามัทฉะ』ของญี่ปุ่น

▲(ซ้าย)『煎茶道/พิธีชงชาเซนฉะ』vs.『抹茶道/พิธีชงชามัทฉะ』(ขวา)


หมายเหตุ : การนำเสนอบทความฯนี้เห็นการสอดคล้องกันของ “ฌานชา” และ “กินเจ” เนื่องใน “เทศกาลกินเจ” ช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 7 ต.ค. 62 ซึ่งการกินเจเพื่อ :-
     1)  เพื่อสุขภาพ---กินเจช่วยปรับสภาพร่างกายให้สมดุล จากการงดทานเนื้อสัตว์ (ยิน/) แล้วทานพวกพืชผักผลไม้ (หยาง/) เป็นการปรับพลังยินหยางในร่างกายให้สมดุลมากขึ้น
     2)  เพื่อจิตเมตตา---เพื่อชำระล้างจิตใจให้สะอาด ไม่เบียดเบียนสัตว์โลก จิตใจผ่องใส หัวใจเบิกบาน เป็นสุขมากขึ้น
     3)  เพื่อละเว้นกรรม---การละเว้นฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ขจัดบ่วงกรรมได้มากขึ้น 





เอกสารอ้างอิง :
1. 卢仝的《七碗茶歌》https://kknews.cc/culture/2lj553e.html
2. 茶人必背的《七碗茶诗》https://kknews.cc/other/jb64426.html
3. 日本茶神“学不会的禅” 以中国茶神卢㒰为师http://www.epochtimes.com/gb/16/1/2/n4608491.htm