วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

ประเมินค่าชาไร่ (4)

ประเมินค่าชาไร่อย่างไร (4)
如何评价台地茶 (四)




        การปรับปรุงสายพันธุ์ชาไร่สร้างสีสันดั่ง “ดอกไม้บานสะพรั่ง”

        สิ่งที่พวกเราเชื่อมั่นเมื่อนำต้นชาไร่มาเทียบเคียงกับต้นชาโบราณแล้วไม่ถือเป็นการถดถอย ยังมีอีกหนึ่งเหตุผลที่สำคัญมากกว่า นั่นก็คือชาไร่จะพุ่งเข้าไปที่สายพันธุ์อันโดดเด่น มีเฉพาะที่เหมาะสมสำหรับทำชาเขียว มีเฉพาะที่เหมาะสมสำหรับทำชาแดง แน่นอน ก็มีเฉพาะที่เหมาะสมสำหรับทำชาผูเอ๋อร์

        สิ่งที่สมควรหยิบยกขึ้นมาคือ มีชาไร่พันธุ์ใหม่ที่ปรากฏลักษณะประจำทาง “สรรพคุณทางยา” อย่างเด่นชัด พันธุ์คลาสสิคที่สุดคือชาจื่อเจียน(紫鹃茶)

        เดิมใบชาสดของต้นชาจะมีสีเขียวเป็นหลัก แต่ต้นชาที่อยู่ในระดับน้ำทะเลสูง โดยเฉพาะภายใต้ร้อนแดดแผดเผาในฤดูร้อน ต้นชาจะเกิดการปกป้องโดยตัวของมันเอง ใบชาจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง แรกเริ่มนักวิชาการทางชาจำนวนมากคิดว่าสาเหตุมาจากยีนของต้นชากลายพันธุ์ ต่อมาจึงยืนยันได้ว่าเป็นปฏิกิริยา “ปฏิปักษ์(Antagonism:拮抗)” ที่เกิดขึ้นภายในจากระบบภูมิคุ้มกันโดยตัวของมันเองของต้นชาที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายใต้สภาวะอย่างยิ่งยวด หรือเรียกว่า “Over Reaction(过激反应)” ตราบเท่าถึงทุกวันนี้ เขตพื้นที่ผลิตชาในหยินหนานซึ่งพวกเราจะพบเห็นใบชาสดสีม่วงเป็นดาวกระจายงอกอยู่บนยอดต้นชา โดยเฉพาะในฤดูร้อนจะเด่นชัดมาก

        เป็นสิ่งที่มีความหมายอย่างยิ่งคือ ปราฏกการณ์เช่นนี้มิใช่เพิ่งพบเห็นในยุคปัจจุบัน แต่อยู่ในยุคสมัยราชวงค์ถังของจีน ยุคสมัยราชวงค์ถังได้นำใบชาสีม่วงนี้มาผลิตเป็นใบชาเรียกว่า “ชายอดม่วง(紫芽茶)” และถือเป็นชาชั้นดีในบรรดาชาทั้งหลาย ลู่หยี่(陆羽)ในยุคสมัยราชวงค์ถัง หนังสือ《คัมภีย์ชา (茶经)》 ที่เขาเขียนขึ้นก็ได้บ่งชี้ออกมาอย่างชัดเจนว่า : “ตัวม่วงบน ตัวเขียวล่าง(紫者上,绿者下)” ทำไม “ชายอดม่วง” จึงได้รับความนิยมชมชอบในยุคสมัยราชวงค์ถัง เหตุผลมีเพียงหนึ่งเดียว : มีความเป็นฤทธิ์ทางยา คุณค่าทางยานี้จนถึงปัจจุบันที่ใช้วิธีการตรวจสอบทางเคมีจึงถอดรหัสสารตัวหลักของมันได้ คือ  : Anthocyanin(花青素)

        ตามข้อเท็จจริง ใบชาเกือบทั้งหมดล้วนประกอบด้วย Anthocyanin เพียงแต่เป็นองค์ประกอบที่ปริมาณน้อยประมาณ 0.01% ของใบชาแห้ง แต่ชายอดม่วงมีถึง 0.5-1.0%

        ปี 1985 นักวิทยาศาสตร์ของสำนักวิจัยวิทยาสาสตร์ทางใบชาของมณฑลหยินหนานได้พบเห็นต้นชาต้นหนึ่งที่มียอด ใบ ก้าน ล้วนเป็นสีม่วงอยู่ในสวนชา200หมู่ของสำนักฯที่ปลูกต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนาน ภายหลังจากผ่านการเพาะผสมพันธุ์ ได้ต้นชาไม้เล็กพันธุ์ใหม่ ขนานนามเป็นพิเศษว่า “จื่อเจียน(紫鹃)” ที่มีลักษณะเด่นคือมี Anthocyanin ประกอบอยู่ในปริมาณสูงเช่นกัน จากปี 1999 ถึง 2000 นักวิทยาศาสตร์ของสำนักวิจัยใบชาของมณฑลหยินหนานได้ดำเนิน “การวิจัยชาม่วงพันธุ์พิเศษ(ชาจื่อเจียน) สารที่มีฤทธิ์ลดความดันตามธรรมชาติ” ผลงานวิจัยสรุปได้ว่า : Flavonoids(黄酮类) ในปริมาณสูงและ Anthocyanin ในปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ประกอบอยู่ใน “ชาจื่อเจียน” เป็นสารตัวหลักที่สำคัญที่มีผลทางลดความดันอย่างเด่นชัด

        การพัฒนาชาไร่ตราบจนถึงทุกวันนี้ ร่วมกับต้นชาโบราณได้ก่อสร้างพงศาวลีวงค์ตระกูลของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่และไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่มากของหยินหนาน ชาไร่มิใช่เป็นการถดถอยของต้นชาโบราณ แต่เป็นการแยกย่อยละเอียดที่มีคุณสมบัติค่อนไปทางชามากของต้นชาโบราณ พวกเราค้นหาจากคำบรรยายวงค์ตระกูลของต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ใน Baidu Online Encyclopedia (百度百科) ค้นพบว่าวงการวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้นำต้นชาโบราณและชาไร่แยกขาดออกจากกัน แม้กระทั่งไม่ได้ใช้คำศัพย์เช่นต้นชาโบราณหรือชาไร่ ที่เป็นตัวแทนได้ดีที่สุดคือ  《พงศาวลีวงค์ตระกูลของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่และไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่มากของหยินหนาน》

......จบบริบูรณ์......


แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ประเมินค่าชาไร่อย่างไร》 ตอนที่ 4---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

ประเมินค่าชาไร่ (3)

ประเมินค่าชาไร่อย่างไร (3)
如何评价台地茶 (三)




        กลับคืนสู่ลักษณะประจำของ “ชา” ชาไร่ยังคงเป็นใบชาคุณภาพเด่น

        ปี 2004 อันเนื่องจากการวิจัยพัฒนาชาเกาผูเอ๋อร์ทำให้พวกเราต้องเผชิญกับทางเลือก : จะใช้ชาต้นโบราณหรือชาไร่?

        พวกเราได้ทำการเปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีของวัตถุดิบ 2 ชนิดนี้ ได้ผลลัพธ์ซึ่งทำให้คนสับสน เป็นไปตามรายการที่ทำการตรวจวัดและวิธีการตรวจสอบตามมาตรฐานของใบชา ดัชนีชี้วัดทุกรายการของชาไร่ทั่วไปแล้วสูงกว่าชาต้นโบราณ โดยเฉพาะทีโพลิฟีนอล ทีโพลิแซคคาไรด์ วิตามิน เป็นต้น พวกเรารวมเรียกเป็นสารอาหารพืชที่มีเหนือกว่าอย่างเด่นชัดมาก นี้เป็นเหตุผลที่ทำไมองค์กรวิจัยทางวิทยาศาสตร์บางส่วนของหยินหนานยืนยันมาโดยตลอดเวลาว่าคุณภาพของชาไร่สูงกว่าชาต้นโบราณ

        แต่ถ้าเป็นไปตามหลักการทางการหมักของเวชศาสตร์ชีวภาพ(生物医药) จะค้นพบว่าชาต้นโบราณเพียบพร้อมไปด้วย “คลังสำรองแหล่งกำเนิดยา(药源储备)” โดยสารกลุ่มไขมันเป็นตัวอย่าง เข่น Phospholipid(磷脂) Sterol(甾醇) Terpenes(萜类) Wax() และ Fat-Soluble Pigment(脂溶性色素) จะสูงกว่าชาไร่ โดยเฉพาะ Fatty Acid(脂肪酸) คุณภาพดีเช่น คาร์บอน-16 คาร์บอน-18 กรดไขมันไม่อิ่มตัว เป็นองค์ประกอบเกินกว่า 50% สารต่างๆเหล่านี้ภายใต้สภาวะกึ่งอับออกซิเจนก่อให้เกิดสารทุติยภูมิในกระบวนการสลายและการสังเคราะห์(Secondary Metabolites:SMs) ซึ่งSMsนี้ประกอบด้วยสารเชิงซ้อนของ “ยา” ยิ่งเพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะเฉพาะของ “ยาอาหารแหล่งกำเนิดเดียวกัน(药食同源)” นี้จึงเป็นเหตุผลที่นักเภสัชวิทยาในสมัยราชวงค์ชิงของจีน จ้าวเสหมิ่น(赵学敏) ได้จัดชาผูอ๋อร์เข้าไปอยู่ใน《A Supplement of the Compendium of Materia Medica (本草纲目拾遗)》ในขณะที่พวกเราชิมดื่มผูเอ๋อร์ “ชาเกรดห้าง” และ “ชาเกรดพิมพ์” ได้พบเห็นคุณลักษณะเฉพาะของพวกมันที่มีร่วมกัน : คือกลิ่นโสม(กลิ่นหอมของโสมจีน) และกลิ่นยา(กลิ่นยาจีนที่บางเบา) การปรากฏของกลิ่นหอมชนิดนี้ ที่แท้เกิดจากสารประกอบที่มีฤทธิ์ทางยา(SMs)ของชาเก่าถูกความร้อนแล้วระเหยออกมา ปราศจากข้อสงสัยใดๆ พวกมันล้วนถือเป็นผลงานชิ้นเอกของชาต้นโบราณ ด้วยเหตุประการฉะนี้ พวกเรายิ่งจะโน้มเอียงในทิศทางที่ชาต้นโบราณมีคุณลักษณะเฉพาะทาง “แหล่งกำเนิดยา(药源)”

        ไม่เพียงเท่านี้ จากการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องของพวกเราในภายหลัง ได้ประสบปัญหาหลายข้อด้วยกัน :

        1. คือ ชาเขียว(เตียนลวี่:滇绿) ชาแดง ที่ผลิตจากชาไร่ จะมีคุณภาพดีกว่าจากชาต้นโบราณอย่างเด่นชัด

        2. คือ แผ่นดิบผูเอ๋อร์(ทั่วไปเรียกชาดิบ)ที่ผลิตจากชาไร่คัดเลือกพิเศษ เมื่อนำมาชงดื่มภายในระยะเวลายังสั้นอยู่ ความเงาของสีเหลือง ความโปร่งใส รสชาติ กลิ่นหอม ของน้ำชาและความรู้สึกสดชื่นหลังการดื่มล้วนดีกว่าชาต้นโบราณ ส่วนชาต้นโบราณ โดยเฉพาะชาต้นโบราณจากเขตผลิตพื้นที่เดี่ยวโดดๆ เมื่อหลังจากแผ่นดิบถูกอัดขึ้นรูปแล้ว นำมาชงดื่มช่วงยังใหม่อยู่ น้ำชาแสดงออกทางด้อยกว่าอย่างเด่นชัด ความรู้สึกสดชื่นหลังการดื่มยังดีไม่เพียงพอ พวกเราเคยใช้วิธีการทดลองบอด(โดยไม่แจ้งแหล่งที่มาของใบชา) โดยกระจายที่เสิ่นหยาง ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ คุนหมิง เป็นต้น กระทำการทดลองในวงแคบ(กลุ่มคนที่เข้าร่วมการทดลองไม่มีประสบการณ์การดื่มชามาอย่างยาวนาน ยิ่งไม่มีความโน้มเอียงในการชิมดื่มชาชนิดใดชนิดหนึ่ง) ผลการทดลอง การยอมรับชาไร่ดีกว่าชาต้นโบราณ

        3. คือ ชาสุกผูเอ๋อร์ที่ผลิตจากการใช้วิธีการหมักกอง(การเร่งการหมักโดยมนุษย์) คุณภาพของชาไร่ดีกว่าชาต้นโบราณ

        4. คือ ชาผูเอ๋อร์คลาสสิคบางรุ่นที่เฉิดฉายปรากฏกายออกมาโดยใช้วัตถุดิบชาไร่ แม้พวกเรากล่าวว่าต้นชาโบราณโดดเด่นกว่าชาไร่ แต่ว่าชาผูเอ๋อร์บางส่วนที่ผลิตจากวัตถุดิบชาไร่ในทศวรรตที่ 90 ศตวรรตที่แล้ว อย่างเช่น กลุ่ม 88 ชิง ที่ผลิตจากโรงงานเมิ้งไห่(ปี 1989 ถึง 1992) 8653 แผ่นเหล็กไร้กระดาษผลิตจากโรงงานเซี่ยกวนในปี 1992 แผ่นดิบต้าอี้ม่วงผลิตจากโรงงานเมิ้งไห่ในปี 1996 เป็นต้น ซึ่งมีคุณภาพดีไม่แพ้ชาผูเอ๋อร์จากต้นชาโบราณในต้นยุคของปี 80 การปรากฏของปรากฏการณ์เช่นนี้ก่อเกิดจากเหตุปัจจัยอื่น คือ เนื้อผสม(拼配) พวกเราค้นพบว่าชาผูเอ๋อร์ที่ผลิตจากการใช้ชาไร่จากต่างเขตพื้นที่ผลิตมาผสมกัน หลังจากผ่านพัฒนาการมาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว คุณภาพเกือบจะถึงสถานภาพระดับสูงสุด ผลิตภัณฑ์ 7542 ของโรงงานเมิ้งไห่ ถูกวงการยกย่องให้เป็น “ราชันแห่งเนื้อผสม” ซึ่งได้รับความนิยมชมชอบจากผู้บริโภคตลอดมา และยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายดีที่สุดตัวหนึ่งในท้องตลาด เหตุผลสำคัญ ไม่ใช่ชาต้นโบราณ แต่เป็นเนื้อผสม นี้จึงนำไปสู่อีกปัญหาหนึ่ง การคัดเลือกวัตถุดิบของชาผูเอ๋อร์มิใช่กระบวนการธรรมดา และยังต้องมีวิธีการผสมที่ดี “ศิลปกรรมแบบโบราณ(古法技艺)” ของชาผูเอ๋อร์จากโบราณกาลสืบต่อเนื่องกันมา จะต้องมีภาคที่เป็นส่วนเชื่อมโยงนี้ประกอบอยู่ในนั้นด้วย

        ผลสรุป 4 ข้อดังกล่าวข้างต้นของพวกเรา เพื่อมิใช่เป็นการรับรองว่าชาไร่ดีกว่าชาต้นโบราณ กลับกัน พวกเรามีความเชื่อโดยตลอดว่าเฉพาะทางด้านชาผูเอ๋อร์แล้วต้นชาโบราณเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ชาไร่จะด้อยกว่าชาต้นโบราณ เป็นเพราะว่ากลุ่มเอนไซม์และแอลคาลอยด์ของชาต้นโบราณสูงกว่าชาไร่ เอนไซม์จากแหล่งกำเนิดภายในสูงกว่าชาไร่หลายสิบเท่า “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์ ซึ่งก็คือพัฒนาการจากการสั่งการของกระบวน “การหมักโดยเอนไซม์(酶促发酵)” นี้ก็คือเหตุผลที่ชาต้นโบราณหลังการจัดเก็บมาหลายสิบปีโดยทั่วไปจะดีกว่าชาไร่ที่มีอายุปีเท่ากัน

        ต้นชาไร่แม้ถือเป็นไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ และก็กำเนิดจากต้นชาโบราณ มียีนลักษณะเหมือนกัน แต่เนื่องจากการตัดแต่งกิ่งให้เตี้ยและปลูกอย่างหนาแน่น ทำให้สารประกอบสะสมของมันยิ่งค่อนข้างไปทางลักษณะประจำของ “ชา”

        ยังมีอีก กล่าวถึงทางด้านชาไร่แล้ว พวกเรามิกล้าที่จะพูดพล่ามมากเกินไป ยิ่งกว่านั้นอายุการกำเนิดของชาไร่ยังสั้นนัก การนับเริ่มจากปี 1986 ที่หยินหนานส่งเสริมชาไร่ 1 ล้านหมู่ ถึงวันนี้ก็ยังไม่ถึง 30 ปี แม้กระทั่งพวกเราล้วนไม่รู้ว่าอายุจำกัดของพวกมันจะยาวนานแค่ไหน ยิ่งไม่สามารถอนุมานชาไร่โดยไร้เหตุผลเช่นนี้ว่า : นี้คือการถดถอยของชาไร่

        ถ้ามองจากมุมทางวิวัฒนาการของพืช จากต้นชาพันธุ์ป่า(สูง) ถึงต้นชาแบบส่งผ่าน(สูงรองลงมา) แล้วถึงต้นชาโบราณเพาะปลูกโดยมนุษย์(ค่อนข้างสูง) จนถึงต้นชาไร่(เตี้ย)ยุคปัจจุบัน กระบวนการนี้โดยตัวของมันเองก็คือกระบวนการอย่างต่อเนื่องเพื่อลักษณะเตี้ย ผลลัพธ์ของมันก็เพื่อการเด็ดเก็บและการดูแลรักษาง่ายยิ่งขึ้น การสำรวจเป็นไปตามหลักของพืชเศรษฐกิจ คือวิวัฒนาการชนิดหนึ่ง และก็คือเป็นความเจริญก้าวหน้าแบบหนึ่ง แต่กระนั้น พวกเราควรที่จะเห็นได้ว่า จุดประสงค์ของชาไร่คือการทำให้หนาแน่นขึ้น(Intensify:集约化) มีเงาของลักษณะการทำให้เป็นอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ ถือเป็นแนวความคิดของ “สวนชายุคสมัยใหม่” เขตพื้นที่ผลิตชาจำนวนมากในจีน เช่นเจียงเจ้อ อันฮุย เหอหนาน ซื่อชวน รวมทั้งสวนชาในอินเดีย ศรีลังกา ล้วนเป็นรูปแบบนี้ทั้งสิ้น แต่ต้นชาโบราณและสวนชาโบราณของหยินหนานถือเป็น “สวนชานิเวศ(生态茶园)” ยิ่งยืนหยัดถึงความหลากหลายทางลักษณะของสปีชีส์และความอิสระทางการเจริญแผ่ขยายของพืชพรรณ ดังนั้น ถ้าจะกล่าวว่าชาไร่คือวิวัฒนาการหรือความเจริญก้าวหน้าทางพืชรูปแบบหนึ่งของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่แล้วไซร์ ยังต้องอ้างอิงรูปแบบของสวนชาโบราณ สู่ความใกล้เคียงกับ “สวนชานิเวศ” มีปรากฏการณ์ที่น่ายินดีคือ เขตพื้นที่ผลิตชาในหยินหนานจำนวนมากรับรู้ถึงปัญหานี้แล้ว โดยการถอนต้นชาบางส่วนทิ้ง ทำให้ระยะห่างของต้นชามีมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำการปลูกพืชพรรณไม้ต้นอื่นผสมผสานในสวนชา สร้างสภาพแวดล้อมนิเวศใหม่ขึ้นมา...

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ประเมินค่าชาไร่อย่างไร》 ตอนที่ 3---เขียนโดย เฉินเจี๋ย
http://chuansong.me/n/1499462

ประเมินค่าชาไร่อย่างไร (2)
ประเมินค่าชาไร่อย่างไร (4)

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

ประเมินค่าชาไร่ (2)

ประเมินค่าชาไร่อย่างไร (2)
如何评价台地茶 (二)




        เบื้องหลังและสถานภาพที่พิเศษของการปรากฏตัว “ชาไร่”

        ก่อนการปรากฏตัวของชาไร่ หยินหนานมีต้นชาโบราณและสวนชาโบราณแล้ว ประวัติศาสตร์ทางการเพาะปลูกและการผลิตชามีความเป็นมาอย่างต่อเนื่องกว่าพันปี การปรากฏตัวของชาไร่ คือ เรื่องราวเมื่อทศวรรตที่ 70-80 ศตวรรตที่แล้ว ช่วงเวลานั้นถือเป็นสิ่งเกิดใหม่ การปรากฏตัวของมัน ตามมูลเหตุก็มีส่วนเกี่ยงเนื่องกับต้นชาโบราณและสวนชาโบราณ

        ยุคทศวรรตที่ 70-80 ศตวรรตที่แล้ว ผู้คนได้ประเมินค่าของต้นชาโบราณและสวนชาโบราณซึ่งแตกต่างกับปัจจุบันราวฟ้ากับดิน ตัดสินโดยสังเขป ดังนี้ :

        1. เหตุเนื่องจากความสูงต้นของต้นชาโบราณ ประกอบกับการยืนต้นอย่างกระจัดกระจายของต้นชา ดำรงไว้ซึ่งมูลเหตุของความไม่สะดวกในการเด็ดเก็บ
        2. ผลผลิตใบชาสดต่อหน่วยพื้นที่เทียบไม่ได้กับเขตพื้นที่ผลิตชาในเจียงเจ้อ(เจียงซู และ เจ้อเจียง)
        3. ช่วงเวลานั้นโรงงานชาในเขตพื้นที่ผลิตชาหยินหนานมีจำนวนน้อยมาก โดยพื้นฐานจะผลิตชาเขียว ชาแดงเป็นหลัก ชาเขียว(เตียนลวี่:滇绿)ที่ผลิตจากใบชาสดของต้นชาโบราณจะมีรสขมฝาดหนักมาก ซึ่งคงความด้อยกว่าชาเขียวจากเจียงเจ้อ ถ้าเช่นนั้นชาผูเอ๋อร์ล่ะเป็นไง? เนื่องจากผลผลิตน้อย เหมาะที่ค้าขายทางเขตแดน(ก็เรียกเป็นชาเขตแดน(边销茶)) และปริมาณเล็กน้อยสำหรับการส่งออก ธุรกิจการผลิตที่เกี่ยวโยงกันมีน้อย และธุรกิจเหล่านี้ก็ผลิตแต่ชาเขียวและชาแดงเป็นหลัก ผลผลิตของชาผูเอ๋อร์ก็เพียงประมาณ 20% ของธุรกิจเหล่านี้ โรงงานผลิตชาส่วนใหญ่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าชาผูเอ๋อร์คืออะไรจนถึงทศวรรตที่ 90 ศตวรรตที่แล้ว

        เพียงคำเดียว ตั้งแต่ทศวรรตที่ 70-80 ศตวรรตที่แล้วเป็นต้นมา วงการชาหยินหนานปรากฏเป็นกระแสที่ไปศึกษาและลอกเลียนแบบเขตพื้นที่ผลิตชาในเจียงซู เจ้อเจียง การทดลองต้นชาโบราณให้ทรงเตี้ยลง การเพาะพันธุ์โดยการติดตาต่อกิ่งต้นอ่อน การเพาะปลูกโดยมนุษย์ เป็นต้น จากการทดลองต่างๆเหล่านี้ ทำให้ชาไร่ราวกับโผล่ออกมาจากฟากฟ้า(横空出世) แล้วเปลี่ยนเป็นแนวความคิด “ชาไร่ยุคสมัยใหม่(现代茶园)”

        มีอยู่หนึ่งเหตุการณ์ที่ดังมากเกิดขึ้นในปี 1986 มณฑลหยินหนานอาศัยเงินกู้จากธนาคารโลก ได้ทำการเพาะปลูกชาไร่ 1 ล้านหมู่(1หมู่() = 666.67 ตร.เมตร) นับจากนั้นเป็นต้นมา พื้นที่ใหม่ที่ทำการเพาะปลูกชาไร่ในหยินหนานได้เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง จนถึงจุดสูงสุดเมื่อต้นศตวรรตนี้ นี้เป็นกระแสหลักของวงการชาหยินหนานในการสร้างสวนชาไร่ภายในระยะเวลาอันสั้น 20 ปี

        กล่าวทางด้านการผลิตชาผูเอ๋อร์แล้ว ก่อนปี 1989 วัตถุดิบหลักของมันคือจากต้นชาโบราณเป็นหลัก แต่หลังจากปี 1990 ชาไร่เข้าสู่ระยะของผลผลิตเต็มที่ เสริมด้วยการผลักดันจากภาครัฐบาลและประชาชนให้แพร่หลาย ทั่วบริเวณในเขตพื้นที่ผลิตชาของหยินหนานไม่ว่าจะเป็นชาเขียว ชาแดง รวมทั้งชาผูเอ๋อร์ ล้วนริเริ่มการใช้ชาไร่เป็นวัตถุดิบหลัก แม้กระนั้นในตอนนั้นกลายเป็นสิ่งที่รับรู้ร่วมกันว่า คุณภาพของชาไร่ดีกว่าชาต้นโบราณ  ในช่วงระยะเวลานั้นโรงงานชาจำนวนมากรับแต่ชาไร่ ปฏิเสธชาต้นโบราณ ต้นชาโบราณช่วงเวลานั้นเหมือนเมียที่ถูกทอดทิ้ง ไม่มีใครเหลียวแล สถานการณ์หลังจากนั้นคือ เป็นไปตามการเฟืองฟูของชาผูเอ๋อร์ในใต้หวัน ประกอบกับการเพิ่มปริมาณเก็บเข้าคลังในฮ่องกง(พื้นที่หลักในการบริโภคชาผูเอ๋อร์ยุคผ่านมา) โรงงานชาจำนวนมากในหยินหนานเนื่องจากความต้องการชาผูเอ๋อร์ในตลาดค่อยๆขยายตัวมากขึ้นจึงค่อยๆลดหดตัวปริมาณการผลิตของชาเขียวและชาแดงลง เพิ่มกำลังการผลิตของชาผูเอ๋อร์ ธุรกิจที่ไม่เคยผลิตชาผูเอ๋อร์มาก่อนแต่เป็นเพราะว่าความต้องการที่ร้อนแรงของตลาดจึงต้องเริ่มย่างเท้าเข้ามาทำการผลิตชาผูเอ๋อร์ โรงงานที่ก่อตั้งใหม่บางโรงงานปรากฏเป็นธุรกิจเฉพาะที่ผลิตแต่ชาผูเอ๋อร์ ต่อจากนั้นมาชาผูเอ๋อร์ก็เริ่มกลายเป็นรูปแบบทางอุตสาหกรรม ในท่ามกลางเบื้องหลังที่ยิ่งใหญ่นี้ ความต้องการปริมาณวัตถุดิบของชาผูเอ๋อร์เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ที่ขับร้องเป็นตัวเอกยังเป็นชาไร่ ต้นชาโบราณก็ยังถูกให้โดดเดี่ยวอยู่

        การกลับมาอีกครั้งของต้นชาโบราณ คือหลังจากปี 2004 ที่ค่อยๆเกิดแนวความคิดเนื้อเดียว(纯料)ของขุนเขา มันร้องดังเข้ามาบนเวทีได้โดยอาศัยตราประทับทางประวัติศาสตร์ของเขาชาโบราณและสวนชาโบราณ สมทบด้วยการปั่นทางธุรกิจที่ทำให้ผู้คนตะลึงงัน ราคาปรับขึ้นตามลำดับ ทำให้ชาต้นโบราณได้รับการสรรเสริญในตลาด กลายเป็น “ขุนนางใหม่(新贵)” ในผลิตภัณฑ์หลากหลายของชาผูเอ๋อร์

        เมื่อเป็นประการฉะนี้ ชาไร่ก็ตกลงไปในจุดต่ำ แต่นี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ภายนอก การตกลงไปในจุดต่ำของชาไร่หลายปีมานี้จะแตกต่างจากการถูกทอดทิ้งในยุคปีที่ 90 ของชาต้นโบราณ เพียงแค่ดำรงความเป็นจุดอ่อนตามความคิดเห็นทางสาธารณะ แต่ไม่มีผลกระทบต่อตำแหน่งกระแสหลักของชาผูเอ๋อร์ อัตราส่วนการเป็นวัตถุดิบของตลาดยังสูงเกิน 90%

........ยังมีต่อ........


 แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ประเมินค่าชาไร่อย่างไร》 ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย
http://chuansong.me/n/1496962

ประเมินค่าชาไร่อย่างไร (1)
ประเมินค่าชาไร่อย่างไร (3)

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

ประเมินค่าชาไร่ (1)

ประเมินค่าชาไร่อย่างไร (1)
如何评价台地茶 (一)




        เมื่อพวกเราวางจุดสนใจโดยโฟกัสไปที่ “ต้นชาโบราณ” เป็นการบดบังรัศมีของ “ชาไร่” โดยปริยาย

        ระหว่างที่พวกเราสืบค้นหามูลเหตุของหัวข้อ “ชาผูเอ๋อร์คืออะไร” สรุปได้ว่าชาผูเอ๋อร์ประกอบด้วย 4 ลักษณะประจำ(属性) ใน 4 ลักษณะประจำนี้ นอกจากลักษณะประจำแรกคือ “ชา” แล้ว 3 ลักษณะประจำอื่นล้วนทะลุออกนอกกรอบของชา ซึ่งการสรุปเช่นนี้ล้วนใช้ “ชาเกรดห้าง(号级茶)” เป็นแบบพิมพ์เขียว อย่างเช่น “วัตถุโบราณที่ดื่มได้(能喝的古董)” อันเป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึง “ชาเกรดห้าง”

        มิอาจปฏิเสธได้ว่า การนำเสนอแนวความคิดของชาต้นโบราณเช่นนี้ เป็นการตลาดที่ชาญฉลาดของนักธุรกิจวงการชาผูเอ๋อร์ โดยมันไม่จำเป็นต้องเหมือนชาเขตพื้นที่อื่นที่ใช้สตอรี่ทางประวัติศาสตร์สักเรื่องหรือหลายเรื่องมาถมใส่ เพื่อเป็นการยืนหยัดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมัน แต่มาใช้ต้นชาโบราณซึ่งเป็นคำที่เรียบง่ายที่สุดและก็เป็นวิธีการนำเสนอที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด ทำให้ดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค

        ผู้คนโดยตัวมันเองจะมีปมของการเชื่อ “เครื่องราง(拜物)” ต่อสิ่งที่มีประวัติอย่างยาวนานและพืชพรรณอายุพันปี ประวัติการผลิตชาอย่างยาวนานของชาผูเอ๋อร์และต้นชาโบราณที่อายุต้นยืนยาวประจบเหมาะที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในสองจุดนี้ ผู้คนจำนวนมากจึงประหลาดใจและอยากรู้อยากเห็นอย่างเหลือล้น ริเริ่มมาชิมดื่มและสัมผัสประสบการณ์ความดื่มด่ำแห่งรสชาติอันเก่าแก่นี้ ถึงแม้พวกเขายังไม่รู้ความหมายเฉพาะของคำ “ดุดัน(霸气) นุ่มละมุน(绵柔) หอมน้ำผึ้ง(蜜香)” เป็นต้น ยิ่งไม่รู้จักคุณลักษณะเฉพาะตามรูปแบบของ “หนึ่งเขาหนึ่งชา หนึ่งชาหนึ่งรส” ประกอบกับต้นชาโบราณก็เป็นทรัพยากรที่ขาดแคลน ผลผลิตน้อยมาก ก่อให้เกิดพื้นที่จินตนาการมากมายสำหรับพวกเขา ณ วันนี้ ความชื่นชอบของผู้คนที่มีต่อชาต้นโบราณ ได้ทะลุเกินกว่าบริบทของชาแล้ว เป็นการคาดหวังทางความปราถนาแห่งจิตวิญญาณที่ระดับขั้นสูงขึ้นไป

        ตามความเป็นจริง ก่อนที่จะนำเสนอแนวความคิดชาต้นโบราณ ผู้คนน้อยมากที่จะมาให้ความสนใจถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบชาผูเอ๋อร์ การนำเสนอชาต้นโบราณ ดูผิวเผินแล้วคือ “เวอร์ชั่นอัพเกรด” ของชาผูเอ๋อร์ นักธุรกิจและผู้บริโภคอาศัยสิ่งนี้มาทำการจัดแบ่งและขุดค้นเชิงลึกทางคุณภาพของชาผูเอ๋อร์ จากมุมมองทางด้านเศรษฐกิจ นี้ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แต่มองจากอีกมุมหนึ่ง มันทำให้ชาต้นโบราณเชิงโดดขึ้น จากขุนเขาถึงขุนเขา จากต้นโบราณถึงต้นโบราณ แม้กระทั่งปรากฏเป็นแนวความคิดและผลิตภัณฑ์ของชาต้นโบราณต้นเดี่ยวโดดๆ แนวโน้มที่บูชาชาต้นโบราณของขุนเขาใดเขาหนึ่งเช่นนี้ ในไม่กี่ปีที่ผ่านมาก่อให้เกิดแนวโน้มของการผลิตชาผูเอ๋อร์เชิงเรียบง่ายธรรมดา ขอเพียงเป็นชาต้นโบราณของขุนเขา จะไม่ถามถึงโรงงานผลิต ไม่ถามถึงวิธีการผลิต จะผลิตโดยใครก็แล้วแต่ ล้วนได้รับการติดตามชื่นชมทั้งสิ้น แม้กระทั่งมีผู้บริโภคบางคนไปรับซื้อชาถึงบนเขาโดยตนเอง เป็นปรากฏการณ์ที่นักเดินทางพลุกพล่านเต็มเขาชา เสียงจ้อกแจ้กครึกโครม โรงงานชาใต้เขากลับเงียบเหงาวังเวง ใบสั่งการผลิตลดลงอย่างฮวบฮาบ ธุรกิจการผลิตชาผูเอ๋อร์ถูกทำให้อ่อนแอลง อาจารย์(ช่างเทคนิค)ผู้ผลิตชาผูเอ๋อร์ถูกทำให้อ่อนแอลง เทคนิควิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะถูกทำให้อ่อนแอลง ตราผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีชื่อเสียงบางส่วนของห้างชาผูเอ๋อร์ถูกทำให้อ่อนแอลง

        แน่นอน สิ่งที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือชาไร่

        มีบางคนพูดในแนวเชิงตลกว่า ในสภาวะที่กำลังปั่นชาต้นโบราณ ชาไร่กลับกลายเป็นเป้าของชาต้นโบราณโดยปริยาย ถูกลดระดับเป็น “ชาขยะ(垃圾茶)” เป็นผู้ที่ถูก “ยิงเป้า” แม้ว่าจะนอนราบบนพื้นแล้ว

        เมื่อเป็นประการฉะนี้ ควรที่จะทำการประเมินค่าของชาไร่อย่างไร?...

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ประเมินค่าชาไร่อย่างไร》 ตอนที่ 1---เขียนโดย เฉินเจี๋ย

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (8)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (8)
古茶树之谜 (八)




        ชาผูเอ๋อร์ก็ดำรงปรากฏการณ์อายุยืน

        ขอให้พวกเราย้อนกลับมาให้ความสนใจทางชาผูเอ๋อร์
        เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์ก็ดำรงปรากฏการณ์อายุยืน? ผลิตภัณฑ์ ”ชาเกรดห้าง(号级茶)” จำนวนมากมีอายุเกินร้อยปี ที่ไม่เน่าไม่เสีย ยังเลอเลิศทั้งทางสี กลิ่น รส นี้คือข้อเท็จจริง ไม่ต้องเสียเวลามาถกเถียงกันอีก

        แต่มีปัญหาหนึ่งที่จำเป็นต้องอภิปราย นั่นก็คือ ”ปรากฏการณ์อายุยืน” ของชาผูเอ๋อร์ เกิดจากสาเหตุอันใด? คือการต่อเนื่องจากกลไกอายุยืนของต้นชาโบราณ? หรือเกิดจากวิธีการผลิตชาของชาผูเอ๋อร์?

        พวกเรากล่าวได้ว่าสองปัจจัยนี้ล้วนมีส่วน
        การเป็นใบชา โดยเฉพาะใบชาที่ผ่านจากขั้นตอนการผลิต หลังจากผ่านการฆ่าเขียว การนวด การตากแห้ง การอัดขึ้นรูปแล้ว “รอยแผล” ของใบชาจะปรากฏอย่างเด่นชัดมาก ซึ่งง่ายต่อการจู่โจมของเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปทำลาย ตามหลักแล้ว ”อายุ” ควรที่จะสั้นถึงจะถูก อาหารจำนวนมากรอบตัวเรากลัวการจู่โจมของเชื้อจุลินทรีย์มากที่สุด เพราะมันจะเกิดสภาวะการทำลายอย่างใหญ่หลวง ทำให้ ”อายุ”(ระยะรับประกันคุณภาพ) ของอาหารจะหดสั้นลง แต่ชาผูเอ๋อร์ไม่เป็นเช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นการหมักแบบใช้ออกซิเจนหรือไม่ใช้ออกซิเจนล้วนต้องการความมีส่วนร่วมของจุลินทรีย์ ถ้าชาผูเอ๋อร์ไม่มีการสอดแทรกของจุลินทรีย์ การหมักก็จะไม่ดำรงอยู่ แต่เมื่อมีส่วนร่วมของจุลินทรีย์ ไม่เฉพาะไม่ทำให้อายุของมันหดสั้นลง เนื่องจากระยะเวลาอันยาวนานของกระบวนการหมักกลับไม่เพียงยืดอายุของมันให้ยืนยาวขึ้น และยังทำให้คุณภาพเพิ่มสูงขึ้นเป็นขั้นเป็นตอน ความเป็นจริงการหมักเช่นนี้เป็นกระบวนการทีละเล็กทีละน้อย จำต้องอาศัยระยะเวลายาวนาน ชาผูเอ๋อร์(หมายถึงชาดิบ)ที่ผลิตจากใบชาต้นชาโบราณ ล้วนต้องอาศัยการหมักตามธรรมชาติเป็นระยะเวลา30-50ปีขึ้นไปจึงสามารถได้คุณภาพสูงตามมาตรฐานของชาผูเอ๋อร์ (จะมาแตะเรื่องนี้โดยเฉพาะในอนาคตข้างหน้า) แต่นี้ยังไม่ใช่สาเหตุเดียว่ที่ทำให้ชาผูเอ๋อร์อายุยืน

        ปัจจัยที่สำคัญกว่าคือระบบโครงสร้างที่พิเศษเฉพาะและองค์ประกอบของชาพันธุ์ใบใหญ่ โดยเฉพาะเกิดจากกลุ่มเอนไซม์ที่มีประกอบอยู่อย่างเต็มเปี่ยมในใบชา การหมักของชาผูเอ๋อร์ก็คือกระบวนการของ ”การเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์(酶促反应)” โดยตัวมันเองของกลุ่มเอนไซม์จะมีระบบภูมิคุ้มกันโรคและระบบเมตาโบลิซึม ซึ่งจะเกี่ยวโยงกับรหัสที่เรียงลำดับอย่างพิเศษเฉพาะที่แอบซ่อนอยู่ในDNAของใบชา พวกเราได้เคยนำใบชาพันธุ์ใบใหญ่และใบชาพันธุ์ใบกลางเล็กมาทดลองลักษณะการทำลายภายใต้สภาวะอุณหภูมิและความชื้นที่เฉพาะเจาะจง เมื่อปรับอุณหภูมิถึง45ºC ระดับความชื้นที่75% รักษาสภาวะนี้คงไว้15วัน ใบชาพันธุ์ใบกลางเล็กจะเริ่มปรากฏรอยด่างของเชื้อรา และส่งกลิ่นเหม็นบูดเปรี้ยวออกมา ใบชาอยู่ในสถานะเสื่อมคุณภาพบนพื้นฐานที่คุณค่าทางเครื่องดื่มได้หายไป แต่ใบชาพันธุ์ใบใหญ่กลับแปรเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น ด้วยประการฉะนี้ พวดเรายิ่งเชื่อว่าปรากฏการณ์อายุยืนของชาผูเอ๋อร์เกิดจากกรณีเดียวกันกับปรากฏการณ์อายุยืนของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ เพียงแต่มันยังเป็นปริศนาที่คอยคำตอบอยู่

        ดังนั้น พวกเรายังสามารถที่จะกล่าวเช่นนี้ว่า ชาผูเอ๋อร์ที่ผลิตจากยอดและใบของต้นชาไม้ใหญ่ ไม่ว่าคุณจะสัมผัสมันทั้งวัน หรือได้ชิมดื่มมันทุกวัน แม้กระทั่งกำลังศึกษามัน มันก็ยังถือเป็น ”เพื่อนแปลกหน้า” ของมนุษย์เรา เหตุที่พวกเรากล่าวเช่นนี้ เป็นเพราะว่าตราบจนถึงทุกวันนี้ พวกเรายังไม่รู้ว่าองค์ประกอบภายในของมันมีจำนวนเท่าไรกันแน่? องค์ประกอบส่วนใหญ่ยังไม่ถูกพวกเราค้นพบ พวกเราใช้วิธีการตรวจสอบเช่นที่เคยปฏิบัติกันมาค้นพบองค์ประกอบบางส่วน และก็ได้เข้าใจถึงสรรพคุณของมัน แต่ว่า พวกเรายังคงไว้ปัญหาหนึ่ง : พวกเรารู้จักมัน ”คืออะไร” แต่ไม่รู้ว่า ”เพราะอะไร” ท่ามกลางหลักศิลาของชีวิตที่เป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดของมัน---โครโมโซม ยีน DNA เป็นต้น ล้วนยังคงไว้ซึ่งเป็นปริศนาที่ยังไม่มีคำตอบ

        เมื่อเป็นประการฉะนี้ มีอยู่หนึ่งประเด็นที่คุณอาจยังไม่ทราบ เมื่อตอนที่มือคุณถือจอกชาผูเอ๋อร์ขึ้นมาชิมดื่ม คุณกำลังเสพกลิ่นหอม สีน้ำชา และรสชาติที่เป็นเฉพาะของมันอย่างเหลือล้น แต่มีสารประกอบตัวหนึ่งที่ทรงคุณค่าได้ซึมผ่านเข้าไปภายในร่างกายของคุณอย่างเงียบๆ ได้นำ ”พลังงาน” ทางธรรมชาติชนิดหนึ่งฝังเข้าไปอยู่ในยีนของคุณ และปฏิสัมพันธ์ทางด้านบวกกับคุณ ต่อต้านเชื้อโรคและมลพิษทางเคมีที่มาจากอุตสาหกรรมต่างๆในโลกยุคปัจจุบันอย่างเอาเป็นเอาตาย เพิ่มภูมิคุ้มกันให้คุณ ยืดวงจรชีวิตของคุณให้ยืนยาวขึ้น แนวความคิดเช่นนี้แม้ยังไม่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ แต่ทว่าข้อเท็จจริงนี้มาจากบนพื้นฐานของ ”สมมุติฐาน” ทางวิทยาศาสตร์ หรือมาจาก ”จินตนาการ” ทางวิทยาสาสตร์ สิ่งนี้มิใช่ ”ระบบสรุปผลโดยปราศจากเหตุผลทางวิทยาศาสตร์(伪科学)” เพราะว่าการออกแบบของผลงานทางวิทยาศาสตร์มากมายล้วนเกิดมาจากสมมุติฐานและจินตนาการที่เบื้องต้นดูไม่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมาก่อน...

......จบบริบูรณ์......


หมายเหตุ : หลังจากจบชุดบทความนี้ ทางผู้เขียน เฉินเจี๋ย(陈杰) ได้เขียนบทความมินิซีรีส์《ประเมินค่าชาไร่อย่างไร》 4 ตอนจบ ซึ่งมีเนื้อหาต่อเนื่องเกี่ยวโยงกับบทความนี้ โดยได้เขียนอภิปรายถึงเบื้องหลังและสถานภาพของชาไร่ของหยินหนาน โปรดติดตามอ่านบทความแปลมินิซีรีส์นี้ที่จะโพสต์ลงในเฟซเพจนี้เร็วๆนี้...

แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ》 ตอนที่ 8---เขียนโดย เฉินเจี๋ย

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (7)

โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (7)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (7)
古茶树之谜 (七)




        ความหมายทางอายุยืนของต้นชาโบราณ

        สิ่งที่ทำให้พวกเราต้องมาโฟกัสปรากฏการณ์อายุยืนของต้นชาโบราณนั้น ความจริงกี่ยวโยงกับเภสัชภัณฑ์ทางธรรมชาติ(天然药物)ที่ประกอบอยู่ในพืชพรรณเหล่านี้ พืชพรรณอายุยืนส่วนใหญ่ล้วนมีคุญสมบัติพิเศษของพืชสมุนไพร เช่น โสม(人参) ต้นสนเนื้อไม้แดง(红杉树) ต้นแปะก๊วย(银杏树) เป็นต้น พื้นฐานของสารในพืชสมุนไพรที่สามารถรักษาและป้องกันโรคขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่มีฤทธิ์ทางยา แต่องค์ประกอบที่มีฤทธิ์ทางยาในพืชส่วนใหญ่มีปริมาณน้อยมาก เช่น Paclitaxel(紫衫醇) Harringtonine(三尖杉酯醇) Ginsenoside Rh2(人参皂苷Rh2) เป็นต้น ปริมาณองค์ประกอบอยู่ที่หน่วยในร้อยหรือน้อยกว่า เนื่องจากพวกมันเป็นผลิตผลทางธรรมชาติ มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนมาก จะประดิษฐ์สังเคราะห์ขึ้นมาจะยากลำบากมาก

        จากทศวรรตที่ 60 ศตวรรตที่แล้ว ชีวการแพทย์ได้เริ่มทดลองเทคโนโลยี่การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของเภสัชภัณฑ์ทางธรรมชาติ คือใช้ระบบการเพาะเลี้ยงเซลล์พืช ระบบทางชีวภาพของจุลินทรีย์หรือเอนไซม์เกิดการสังเคราะห์หรือตัดแต่งโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ จากการเปลี่ยนแปลงของเภสัชภัณฑ์ทางธรรมชาติโดยจุลินทรีย์ การเปลี่ยนแปลงของเภสัชภัณฑ์ทางธรรมชาติโดยวิธีทางชีวภาพของเอนไซม์ และการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของเซลล์พืชของเภสัชภัณฑ์ทางธรรมชาติทั้ง 3 ด้านนี้ปรากฏเป็นผลการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่

        เป็นเพราะว่ามีเทคโนโลยี่ที่เกิดผลการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่เหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์ทางชีวภาพจึงค้นพบสาร Diterpenes(二萜类) ที่มีฤทธิ์ต่อต้านเนื้องอกโดยเฉพาะจากต้นสนเนื้อสีแดง และเพราะว่าเป็นโครงสร้างใหม่จึงตั้งชื่อว่า Paclitaxel กลายเป็นยาต่อต้านเนื้องอกที่มีชื่อมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง

        ยังมีการค้นพบสาร Harringtonine ที่นักเคมีชาวสหรัฐ Wall และ Wani ในปี 1966 ได้ทำการแยกสารแอลคาลอยด์ที่มีฤทธิ์แรงทางต่อต้านเชื้อไวรัสและเนื้องอกจากต้น Camptotheca Acuminate เหมาะที่จะใช้ในการรักษามะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหารและลูคีเมีย(Leukaemia) เป็นต้น

        ดังนั้น วงการชีววิทยานานาชาติมีความเชื่อโดยทั่วไปว่า พืชพรรณชนิดอายุยืนจะต้องประกอบด้วยหนึ่งหรือหลายองค์ประกอบอันทรงคุณค่าที่มีฤทธิ์ทางยา ก่อนอื่นอายุยืนได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ต่อมาด้วยปัจจัยทางสภาวะแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจง มันเหมือนเป็นขุมทรัพย์สมบัติ เมื่อถูกค้นพบแล้วจะมีความหมายที่ยิ่งใหญ่ เฉกเช่นต้นชาโบราณก็ทำนองเดียวกัน

        แน่นอนครับว่า กล่าวถึงด้านต้นชาโบราณแล้ว ยังมีความหมายถึงการเพาะปลูกพันธุ์ชาที่ดีและการสร้างสวนชาที่มีความหลากหลายทางลักษณะของพืชตามหลักทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ทางใบชาของหยินหนานได้ทำการศึกษาวิจัยทางด้านนี้ในหลายหัวข้อด้วยกัน และก็ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ไม่จำเป็นที่นำมากล่าวซ้ำซาก ณ ที่นี้

        กล่าวทางด้านนักธุรกิจและผู้บริโภคด้านใบชาแล้ว ขายชาที่ดีที่สุดและดื่มชาที่ดีที่สุดคือความปราถนาร่วมกันของพ่อค้าและผู้บริโภค...


แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ》 ตอนที่ 7---เขียนโดย เฉินเจี๋ย

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (6)
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (8)

โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (6)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (6)
古茶树之谜 (六)




        การผสมละอองเกสรดอกไม้ข้ามพันธุ์กันอีกหนึ่งความเป็นไปได้ของอายุยืนของต้นชาโบราณ

        ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่พวกเราได้พิเคราะห์ ก็คือการผสมละอองเกสรดอกไม้ข้ามพันธุ์กัน(异花授粉) ในสภาวะแวดล้อมที่มีความหลากหลายทางลักษณะของพืชจะง่ายต่อการผสมข้ามพันธุ์กันแล้วเกิดปรากฏการณ์วิวัฒนาการของพืชพรรณ ”ลูกผสม(杂交)” ความหลากหลายทางลักษณะของพืชก็นำไปสู่ความหลากหลายทางลักษณะของยีน ชีวโมเลกุลยุคสมัยนี้ได้เสนอการแปรเปลี่ยนของยีนหลายลักษณะจากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เดิมท่ามกลางยีนของสปีชีส์มีความสัมพันธ์ทางแหล่งกำเนิดเดียวกัน แต่ก็มีจุดแตกต่าง : ในกลไกการถ่ายละอองเรณูของพืช ถ้าหากมียีนจากแหล่งอื่นเล็กน้อยอยู่บนท่อเกสรดอกไม้ ก็จะสามารถถูกพาเข้าไปผสมกับไข่อ่อนได้ ในโลกของสิ่งมีชีวิตระหว่างกลุ่มประชากรที่แตกต่างกันจะมียีนสปีชีส์ที่แตกต่างกัน และมียีนสปีชีส์ที่ผสมพันธุ์กันได้ ซึ่งนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษาและพัฒนาการทางความหลากหลายทางลักษณะของสปีชีส์ ลักษณะเช่นนี้ทำให้พวกเราสามารถเข้าใจความเป็นมาของความหลากหลายทางลักษณะของสปีชีส์  ยีนจะเกิดการปรวนแปรตลอดเวลา—แม้ว่าจะอยู่ในร่างสิ่งมีชีวิตระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตยังเกิดความเสียหายและการซ่อมแซมของยีนอย่างสม่ำเสมอ

        บนกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลายพันล้านปีมานี้ จาการที่โมเลกุลDNAได้ก่อตัวขึ้นมาจนถึงความสลับซับซ้อนของข้อมูล ผ่านการแลกเปลี่ยนรหัสทางพันธุกรรมระหว่างกลุ่มประชากรที่แตกต่างกัน ต่างสปีชีส์แต่มีบรรพรุษเดียวกัน ระหว่างพวกมันมีลักษณะที่ร่วมกัน แต่ก็มีลักษณะเฉพาะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันมาก สมมุติมีสองสปีชีส์ที่ไม่ใช่ร่วมสายโลหิตเดียวกัน ยีนบางส่วนของพวกมันยังคงความแตกต่างกันอยู่ แต่ยีนจากภายนอกจะแสดงผลได้โดยสามารถถ่ายทอดผ่านสื่อกลางชนิดต่างๆเข้าไปในร่างใหม่ ทำให้เกิดลักษณะใหม่ นี้จึงก่อให้เกิดความหลากหลายทางลักษณะของสิ่งมีชีวิต—นั่นก็แสดงว่าการเปลี่ยนย้ายหน่วยพันธุกรรมดำรงอยู่ในทางธรรมชาติ อย่างเช่นข้าวโพดพันธุ์ป่าชนิดหนึ่ง ก็เรียกเป็นหญ้าต้นใหญ่ ที่มีสัณฐานแตกต่างกับข้าวโพดพันธุ์เพาะปลูกมาก แต่ในทางธรรมชาติสองพันธุ์นี้สามารถผสมพันธุ์กันได้ ข้าวสาลีเฮกซาพลอยด์ที่มีโครโมโซม 6 ชุด นั่นก็แสดงว่าประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตมี 3 จีโนม(Genome)ที่ไม่เหมือนกันมาผสมกันเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่

        โลกของสิ่งมีชีวิตเต็มไปด้วยการแลกเปลี่ยนและการเชื่อมโยงของการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรม ข้อมูลทางพันธุกรรมนี้ก็คือองค์ประกอบในการเรียงลำดับของเบสในDNA ยีนลักษณะหนึ่งก็คือลำดับของเบสที่เฉพาะเจาะจงลำดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีลำดับเบสในDNAจำนวนมากคัดสำเนาออกมาเป็นโมเลกุลRNAจำนวนหนึ่ง ลักษณะของยีนผ่านการควบคุมของRNA ความหลากหลายของข้อมูลทางพันธุกรรมเป็นพื้นฐานของความหลากหลายทางลักษณะของสปีชีส์ พวกเราก็ดำรงชีวิตอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายใบนี้

        เมื่อทำการศึกษาลึกเข้าไปในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางพันธุกรรมท่ามกลางสปีชีส์ที่ไม่เหมือนกัน พวกเราจะตะลึงกับรหัสลึกลับท่ามกลางกลุ่มสิ่งมีชีวิตทางธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น Green Leaf Volatiles ชนิดหนึ่งมีความสามารถที่สำคัญด้านหนึ่งคือหลอกล่อแมลงมาเปลี่ยนถ่ายละอองเกสร การศึกษานิเวศวิทยาโมเลกุลเช่นนี้คุ้มค่าที่ควรศึกษาเชิงลึกมากขึ้น เมื่อทำการศึกษาการควบคุมยีนของสารกลิ่นหอมชาผูเอ๋อร์ที่ห้องทดลองของพวกเราได้คันพบว่า เชื้อราที่อาศัยอยู่ในพืชจะได้รับยีนที่เกี่ยวข้องบางชนิดจากพืชกาฝาก ยีนบางชนิดของพืชจะเข้าไปในจีโนมของเชื้อจุลินทรีย์ ไปกระตุ้นให้เกิดสาร Secondary Metabolites บางชนิดขึ้นมา นี้อาจเป็นเส้นทางหลักที่ Linalool(芳樟醇:สารกลิ่นหอมชาผูเอ๋อร์) กำเนิดขึ้นมา นี้เป็นการเปลี่ยนย้ายหน่วยพันธุกรรมทางธรรมชาติ ปัจจุบันพวกเรามีความรู้ทางด้านนี้ยังน้อยมาก สำหรับความหลากหลายของการปรวนแปรเชิงซ้อนของปรากฏการณ์สิ่งมีชีวิต เป็นสิ่งจะต้องคิดพิจารณาและวิเคราะห์เชิงลึกมากขึ้น ดังนั้น พวกเราจึงให้ความสนใจอย่างมากกับสวนชาโบราณโดยตลอดมา และยืนหยัดที่จะเชื่อว่ามันคือสวนชาที่ถูกออกแบบและจัดวางโดยวิถีทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด เช่นกรณีความหลากหลายทางลักษณะของชีวภาพที่เป็นพื้นฐานของมัน แน่นอน การผสมละอองเกสรดอกไม้ข้ามพันธ์กันที่เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์อายุยืนของต้นชาโบราณ ยังเป็นเพียงสมมุติฐานหนึ่งทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เป็นข้อสรุป...


แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ》 ตอนที่ 6---เขียนโดย เฉินเจี๋ย
http://www.wtoutiao.com/p/fa1m7l.html

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (5)
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (7)

โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (5)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (5)
古茶树之谜 (五)




        “การออกแบบโดยภูมิปัญญาพระเจ้า” หรือ “การเปลี่ยนแปลงโดยวิวัฒนาการ”

        เมื่อตอนที่พวกเราเริ่มทำการสืบหาความจริงถึงปริศนาอายุยืนของต้นชาโบราณ ขาข้างหนึ่งของพวกเราได้ก้าวเข้าไปในบริบทของชีวโมเลกุล และพัวพันเชื่อมโยงถึงการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมในต้นชา รวมถึงปัญหาของการกำหนดข้อมูลแรกสุดทางพันธุกรรม

        จากแนวความคิด ”ทฤษฎีวิวัฒนาการ” ของชาร์ล ดาร์วิน(Darwinism) พวกเราจะนำ ต้นชาพันธุ์ป่า—ต้นชาแบบส่งผ่าน—ต้นชาแบบเพาะปลูกโดยมนุษย์ มาทำการหาเหตุผลตามขั้นตอน แล้วได้ต้นชาโบราณจากการแปรผันและการคัดเลือกโดยธรรมชาติเพื่อให้เหมาะกับสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่พิเศษเฉพาะ 3 ขั้นตอนที่ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ได้ผ่านมา ประจวบตรงกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติของ ”กระบวนวิวัฒนาการ” ของพืช ถ้าเช่นนั้น ยีนอายุยืนของต้นชาโบราณก็คือผลของวิวัฒนาการใช่หรือไม่? คำตอบอาจจะไม่ใช่

        เนื่องจากพืชและลัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งระบบสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ก่อนอื่นคำสั่งรวมของเซลล์แรกจะต้องกำหนดและเก็บรวบรวมไว้ในDNAและนิวเคลียส ก่อนที่ต้นชาพันธุ์ป่าต้นแรกจะถือกำเนิดขึ้น จะต้องมีเซลล์แรกก่อตัวขึ้นมาก่อน เซลล์แรกที่ก่อตัวขึ้นมานี้แรกเริ่มรหัสDNAของมันถูกกำหนดขึ้นมาแล้ว รวมถึงข้อมูลทางพันธุกรรมลักษณะหนึ่ง—ยีนอายุยืน DNAประกอบด้วย4รหัสทางเคมีเก็บรวบรวมข้อมูล และ4รหัสทางเคมีนี้มีการเรียงลำดับอย่างสลับสับซ้อน ซึ่งรูปร่างเป็นเกลียวคู่ที่ทุกวันนี้เราเรียกว่าโพลินิวคลีโอไทด์(Polynucleotide) เป็นที่เก็บรวบรวมและถ่ายทอดคำสั่งรวมต่างๆ ซึ่งความคจริง ยีนอายุยืนของต้นชาโบราณก็แอบซ่อนอยู่ในรหัสที่เรียงลำดับของเบสในDNAนั่นเอง จวบจนทุกวันนี้ เป็นไปตามที่ชีวโมเลกุลได้พัฒนาไปทางบริบทเชิงลึกมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อต้องมาเกี่ยวโยงกับการกำเนิดของชีวิต(รวมทั้งการกำเนิดของสรรพชีพ(The Origin of Species)) บรรดานักวิทยาศาสตร์ยิ่งมายิ่งเกิดการตระหนักรู้ว่า บรรดาสิ่งมีชีวิตอย่างน้อยเมื่อตอนเซลล์แรกได้ก่อตัวขึ้น ยังไม่สามารถนำแนวความคิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติใน ”ทฤษฎีวิวัฒนาการ” ของดาร์วินมาอธิบายได้ เฉกเช่นเดียวกัน ยีนอายุยืนของต้นชาโบราณไม่ใช่ผลของวิวัฒนาการ แต่กำเนิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม คือข้อกำหนดลักษณะทางพันธุกรรมในเซลล์แรกที่ก่อกำเนิดขึ้นมาก่อนที่ต้นชาพันธุ์ป่าต้นแรกจะก่อตัวขึ้น ถ้าเช่นนั้นใครคือผู้ออกแบบ? โดยทางธรรมชาติ? หรือพระเจ้าสร้างมา? ยังคงเป็นปริศนาตราบจนถึงทุกวันนี้

        สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติมคือ บรรดานักวิทยาสาสตร์ที่ทำการศึกษาวิจัยการกำเนิดของชีวิตและการออกแบบของชีวิต(รวมทั้งโครงสร้างภายในและสัณฐานภายนอก) ในหนังสือ 《Opticks》ของเซอร์ไอแซก นิวตัน ได้เขียนไว้ว่า : “ร่างกายของสัตว์เหตุไฉนถึงออกแบบมาเชิงศิลปะเช่นนี้ ส่วนต่างๆของมันมีขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์อันใด การออกแบบตาโดยปราศจากเทคนิคทางแสง และการออกแบบหูโดยปราศจากความรู้ทางเสียง? ในเมื่อผลงานเหล่านี้ออกมาได้เหมาะเจาะเพียงนี้ มองจากปรากฏการณ์เช่นนี้จะไม่มีสิ่งที่จับต้องไม่ได้ มีอิทธิฤทธิ์ ปัญญาแฉบแหลม ดำรงอยู่ใช่หรือไม่?”

        เขาเป็นตัวแทนของนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งที่มีความเชื่อโดยตลอดว่า เบื้องหลังของโครงสร้างที่เยี่อมยอดของมนุษย์ในโลกของสิ่งมีชีวิตและพืชพรรณจำนวนมากเกิดจากการออกแบบของพลังทางปัญญาที่ดำรงอยู่ คือ “พระเจ้า” สัตว์และพืชชั้นสูงล้วนเป็นผลงานจาก “การออกแบบโดยภูมิปัญญาพระเจ้า”

        แต่ดาร์วินมีความเห็นต่าง ปี 1859 เขาได้เขียนหนังสือ《การกำเนิดของสรรพชีพ》โดยได้อธิบายแนวความคิด ”ทฤษฎีวิวัฒนาการ” อย่างละเอียด เขาเชื่อว่าสรีระของสิ่งมีชีวิตมีความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ และสามารถที่จะแปรผันตามสภาวะและเกิดกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ แต่หนังสือเล่มนี้ยังมีจุดตำหนิ ก็คือไม่ได้พยายามที่จะอธิบายถึงปัญหาของการกำเนิดชีวิตแรก สิ่งที่เขาค้นหาคือเพื่อมาอธิบายลักษณะของชีวิตใหม่วิวัฒนาการจากชีวิตที่ไม่ซับซ้อนแต่มีความสามารถในการสืบพันธุ์ได้อย่างใด ทฤษฎีของเขาต่อการกำเนิดของชีวิตแรกเพียงจากการสร้างไม่ใช่จากการอธิบาย

        ด้วยประการฉะนี้ ทำให้วงการวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือวิทยาศาสตร์ทางอุดมคติและวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาตินิยม ซึ่งจะมาถกเถียงในกรอบของชีวโมเลกุลขั้นสูงสุด ตราบจนถึงทุกวันนี้ การโต้แย้งยังดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง ตามหลักข้อโต้แย้งนี้น่าจะยุติได้ในปี 1953  เพราะว่าในปีนั้นวงการวิทยาศาสตร์ได้เกิดเรื่องยิ่งใหญ่เรื่องหนึ่ง : คือนักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐ เจมส์ ดี. วัตสัน และ ฟรานซิส คริก(James D. Watson & Francis Crick) เป็นผู้รวบรวมข้อมูล และสร้างแบบจำลองโครงสร้างของDNA เดิมคิดว่าการค้นพบDNAจะมาช่วยเสริมในความไม่สมบูรณ์ของ ”ทฤษฎีวิวัฒนาการ” ของดาร์วิน เพราะว่าวัตสันและคริกมีแนวความคิดเฉกไปทางเดียวกับ ”ทฤษฎีวิวัฒนาการ” แต่สิ่งที่ทำให้พวกเขาคาดคิดไม่ถึงคือ การค้นพบDNAแก้เงื่อนงำอันลึกลับหนึ่งได้ แต่ก็สร้างสิ่งลี้ลับอีกหนึ่งขึ้นมา ทำนองเดียวกันกับการเข้าไปในปัญหาการกำหนดการเรียงลำดับของเบสในDNAของเซลล์แรก ถ้าจะกล่าวว่าข้อโต้แย้งที่ผ่านมาอยู่ในกรอบของการกำเนิดของชีวิตแล้วไซร์ ถ้าเช่นนั้นข้อโต้แย้งนี้ก็นำเข้าสู่หัวข้อใหม่ คือปัญหาของการกำเนิดชีวสารสนเทศ(生物信息) เป็นที่น่าเสียใจ ตราบจนถึงทุกวันนี้สองข้อโต้แย้งนี้ยังไม่มีข้อสรุป ทำนองเดีนวกันต้นชาโบราณและยีนอายุยืนที่เฉพาะของมัน พวกเรารู้เพียงว่ามันกำเนิดขึ้นในหยินหนาน แต่เป็นการยากที่จะนำเสนอข้อสรุปทางวิทยสศาสตร์ที่ถูกต้องที่สามารถใช้สัญลักษณ์ทางเคมีมาอธิบายได้...


แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ》 ตอนที่ 5---เขียนโดย เฉินเจี๋ย

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (4)
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (6)

โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 09 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (4)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (4)
古茶树之谜 (四)




        ขอให้พวกเรามาสนใจอีกครั้งโดยโฟกัสไปที่ข้อสงสัยของต้นชาโบราณที่ยังดึงดูดผู้คน : ปริศนาอายุยืนของต้นชาโบราณ

        หยินหนานไม่เพียงมีต้นชาที่ทั่วโลกยอมรับแล้วว่ามีอายุยืนยาวที่สุด(อายุยืนต้น 1800 ปี) ขณะเดียวกัน ต้นชาที่อายุหลายร้อยปี แม้กว่าพันปีสามารถพบเห็นอย่างมากมาย หรือสวนชาโบราณที่มีบริเวณพื้นที่กว้างใหญ่ก็มีจำนวนมาก ดำรงอยู่เป็นลักษณะแผ่นดินใหญ่ผืนเดียวติดต่อกัน

        ณ ที่นี้ได้แอบซ่อนความลับหนึ่งที่ยังไม่ถูกเปิดเผย ซึ่งก็คือปริศนา “อายุยืน” ของต้นชาพันธุ์ใบใหญ่หยินหนาน

        เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ไม่ว่าพืชพรรณและเขตพื้นที่ใด ไม่สามารถที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีของภัยธรรมขาติ ตัวอย่างเช่นโรคพืชจากแมลง ซึ่งมันต้องระบาดขึ้นอย่างแน่นอน พืชพรรณชนิดจำนวนมากที่ต้องสูญพันธุ์และจำนวนลดลงมีความเกี่ยวโยงกับมัน และสิ่งแรกที่มันทำลายคือผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ที่สามารถหลีกเลี่ยงจากการทำลายส่วนใหญ่คือพืชพรรรที่มีฤทธิ์ทางยา เช่น ต้นแปะก๊วย(银杏树)ที่ดำรงอยู่ได้เกินพันปี แต่ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนาน แม้ถือเป็นพรรณไม้ต้น แต่ถือเป็นพืชเศรษฐกิจ คือจะเก็บเกี่ยวตามฤดูกาล ภายหลังการเด็ดเก็บใบชาแล้วจะทิ้ง “รอยแผล” ไว้ที่จะถูกแมลงรุกรานได้ง่าย แต่ตามข้อเท็จจริงไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ป่าหรือจากการเพาะปลูก สามารถดำรงอยู่ได้เกินร้อยปี แม้กระทั่งเกินพันปี ได้ผ่านประสบการณ์อันมากมายและยาวนานเช่นนี้ จนถึงทุกวันนี้ก็ยังแสดงออกอย่างมีชีวิตชีวา จากข้อเท็จจริงนี้ได้บอกความจริงกับพวกเราว่า ต้นชาโบราณเหล่านี้อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย “ยีนอายุยืน” หนึ่งหรือหลายชนิดที่พวกเรายังไม่รู้จัก

        นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากได้เคยลองนำตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และสภาพอากาศที่พิเศษเฉพาะของหยินหนานมาอธิบายถึงสาเหตุอายุของมัน แต่คำอธิบายเหล่านี้ยังคงไว้ซึ่งกับดักแห่งความตาย เนื่องจากภายใต้สภาวะแวดล้อมทางภูมิประเทศและภูมิอากาศเดียวกัน ไม่ใช่ว่าพืชพรรณทั้งหมดจะอายุยืน รวมถึงพรรณไม้ต้นอีกจำนวนมากด้วย

        มีบางคนเคยลองใช้แร่ธาตุโลหะที่เป็นองค์ประกอบปริมาณมากมาค้นหาสาเหตุ “อายุยืน” ของมัน แต่รู้สึกหลักฐานยังไม่เพียงพอ

        แร่ธาตุโลหะที่เป็นองค์ประกอบปริมาณมากในต้นชาพันธุ์ใบใหญ่เช่นธาตุแมงกานีส(Mn;锰) ใบชาทั่วไปจะมีปริมาณประมาณ 30mg/100g สูงกว่าผลไม้ พืชผักประมาณ 50 เท่า Mnเป็นสารกระตุ้นให้เอนไซม์หลายชนิดในพืชมีฤทธิ์ เช่น Pyruvate Decarboxylase(丙酮酸羧酶) Enolase(烯醇化酶) Citric Dehydrogenase(柠檬酸脱氢酶) เป็นต้น ต้นชาขาดธาตุMnจะแสดงอาการ “โรคเน่าคอดิน(立枯病)” โดยแผ่นใบจะออกเหลือง เส้นใบจะออกเขียว ปลายใบจะห้อยตก เมื่อเป็นมากขึ้นก็จะเหี่ยวเฉาตาย ใบชาของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่จะมีปริมาณของMnสูงกว่าใบชาทั่วไป ซึ่งสูงถึง 400-600mg/100g สูงกว่าชาชนิดใดๆ นี้อาจเป็นไปได้ที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนาน “อายุยืน”

        ยังมีธาตุสังกะสี(Zn;锌) เป็นองค์ประกอบที่ปริมาณน้อยแต่จำเป็นสำหรับต้นชา Znเป็นสารที่ประกอบอยู่ในเอนไซม์หลายชนิด เช่น Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase(6-P-葡萄糖脱氢酶) Pyruvate Dehudrogenase Complex(磷酸丙酮酸脱氢酶) ขณะเดียวกัน Phosphodiesterase(磷酸二酯酶) และ Polypeptidase(多肽酶)  ล้วนถือเป็นเอนไซม์ธาตุสังกะสี เอนไซม์เหล่านี้บ้างไปกระตุ้นการหายใจ บ้างไปเร่งการสังเคราะห์แสง บ้างไปส่งเสริมการสร้างสารคลอโรฟีลล์ ถ้าหากพืชพรรณขาดZn ทำให้การเกิดสาร Tryptophan(色氨酸) ถูกยับยั้ง ต้นชาจะเจริญเติบโตช้า ลำต้นจะเล็กเตี้ย ใบจะมีขนาดเล็กและปรากฏเป็นด่างดวงๆบนใบ เรียกว่า “โรคโมเสค(花叶病)” ระบบรากจะออกดำแล้วจะเหี่ยวเฉาตายได้ ในไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ค้นพบว่ามีปริมาณZn สูงถึง 3-6mg/100g ซึ่งชาชนิดอื่นๆไม่สามารถเทียบเคียงได้ และนี้ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนาน ”อายุยืน”

        พวกเราเคยลองถอดรหัสจาก “เส้นทางปฏิบัติงาน” ของจุลินทรีย์ เพื่อค้นหาปริศนาอายุยืนของต้นชาโบราณ เนื่องจากจุลินทรีย์ถือเป็น “เทพคุ้มครอง” ของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่

        วิทยาศาสตร์ยุคสมัยนี้สามารถยืนยันแล้วว่าสรีรของพืชและจุลินทรีย์ต้องมีปฏิสัมพันธ์กันที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ ส่วนรากของพืชจะหลั่งสารออกมาเพื่อตามความต้องการของจุลินทรีย์ ขณะเดียวกันจุลิรทรีย์ก็ผลิตสารชนิดแตกต่างกันกลับคืนสู่ให้ต้นพืช ความจริงสองฝ่ายเป็นหุ้นส่วนที่มีความสัมพันธ์ด้านพึ่งพาอาศัยกัน หากต้องการให้ต้นพืชเจริญเติบโตงอกงาม นอกจากปริมาณน้ำและธาตุอาหารแล้ว ยังต้องการการความมีส่วนร่วมของจุลินทรีย์

        ความเป็นจริง ขณะที่ต้นชาเพิ่งกำเนิดขึ้นมา ไม่ว่ามันคือเมล็ดพันธุ์ชาหรือเป็นต้นอ่อนจากการติดตาต่อกิ่ง เมื่อมันยังอยู่ในสถานะภาพที่อ่อนแอมาก จุลินทรีย์ได้ปูพรมปกคลุมไปทั่วล้อมรอบตัวมัน เสมือนดั่ง ”แม่นม” ช่วยคุ้มครองมัน พวกเราจะพบเห็นว่าทั่วผิวภายนอกของ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผลของต้นพืชได้สวมใส่เสื้อคลุมจุลินทรีย์ไว้หนึ่งตัว

        ดังนั้น พวกมันจะรีบก่อเป็น “ทีมงาน” ต่างๆ (จุลชีววิทยาเรียกว่า “ประชาคม”) แบ่งหน้าที่กันทำงานตามแบบแผน จุลินทรีย์ด้านสังเคราะห์ส่วนหนึ่งอย่างเช่นเชื้อจุลินทรีย์ด้านการสังเคราะห์แสงถือเป็นผู้บุกเบิกด้านการผลิต ดูดซึมพลังงานแสงอาทิตย์โดยตรงแล้วแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานทางเคมี เป็น “ตัวสื่อกลาง” สำหรับการสังเคราะห์แสงของต้นชา

        ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่เฉกเช่นเดียวกันกับพืชพรรณอื่นๆ ไม่สามารถใช้ธาตุไนโตรเจน(N;氮)จากอากาศโดยตรงได้ Nที่พืชต้องการต้องผ่านมาจากกระบวนการที่ก๊าซไนโตรเจนเปลี่ยนเป็นของแข็งทางชีวภาพ(生物固氮) และทางพลังงานสูง(高能固氮: เช่นก๊าซไนโตรเจนที่เปลี่ยนเป็นของแข็งจากฟ้าผ่าและภูเขาไฟระเบิด) หรือโดยทางอุตสาหกรรม(ให้ไนโตรเจนเปลี่ยนเป็นแอมโมเนียหรือเกลือไนเตรต) เป็นต้น พืชจึงจะสามารถนำมาใช้ได้ ดังนั้น เชื้อจุลินทรีย์ด้าน Nitrogen Fixation มารับช่วงต่อ เพื่อมา ”สับเปลี่ยน” แหล่งไนโตรเจนให้ต้นชาอย่างต่อเนื่อง แล้วยังมีประชาคมจุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งทำการย่อยสลายของเสียที่ถ่ายออกจากสัตว์และซากพืชซากสัตว์ให้กลายเป็นแอมโมเนีย แอมโมเนียก็จะถูกเชื้อจุลินทรีย์ด้าน Nitrosation(亚硝化) และ Nitrification(硝化) ตามลำดับก่อนหลังแปรเปลี่ยนเป็นเกลือไนเตรตที่ต้นชาต้องการ

      “สงครามปกป้อง” ต้นชาที่ยิ่งใหญ่ เกิดขึ้นที่ดินบริเวณรากของต้นชาหนา 5 มม.ที่ล้อมรอบผิวของรากไม้ ณ ที่นี้มีจุลินทรีย์ปกคลุมอย่างหนาแน่น เสมือนวางกำลังทหารเฝ้าปกปักษ์รักษาไว้ จุลชีววิทยาเรียกกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์นี้ว่า “Mycorrhizosphere(根圈菌)” หน้าที่ของจุลินทรีย์เหล่านี้คือ ไม่เพียงทำการย่อยสลายของเสียจากพืชและสัตว์และซากพืชซากสัตว์ และจุลินทรีย์เหล่านี้ยังหลั่งสารอินทรีย์ต่างๆ ประกอบด้วยกรดอะมิโน กลุ่มน้ำตาลโมเลกุลต่ำ กรดนิวคลีอิกโมเลกุลต่ำ ฮอร์โมนทางการเจริญเติบโต และเอนไซม์ชนิดต่างๆ เป็นต้น เพื่อมาเสริมสารอาหารที่พืชต้องการ มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่อย่างเด่นชัด จุลินทรีย์ที่เด่นกว่าในดินบริเวณหนึ่งอาจมีผลกระทบต่อการอยู่รอดและการแพร่พันธุ์ของจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ เมื่อจุลินทรีย์ที่เด่นกว่าไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมใหม่และต้องตายไป จุลินทรีย์ใหม่บางชนิดที่เหมาะกว่าก็เข้ามาแทนที่ บนผิวดินจะปรากฏเสมือนการเปลี่ยนแปลงจากการแทนที่ของประชาคม เมื่อถึงภาวะที่สมดุล เราสามารถสังเกตเห็นได้จากหน้าตัดของดินบริเวณรากของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่เป็นปรากฏการณ์ที่แยกเป็นชั้นๆของจุลินทรีย์

        ยังมีจุลินทรีย์บางส่วนชนิด “ถึงรากถึงโคน” จะชอนไชเข้าไปภายในโครงสร้างของราก ไปแพร่พันธุ์ในเซลล์ของราก จุลินทรีย์ชนิดนี้เรียกว่า “Rhizobium(根瘤菌)” มันไม่เพียงไม่ทำลายโครงสร้างของราก แต่จะแลกเปลี่ยนสารกับเซลล์ของราก เป็นลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน ทำให้ส่วนรากมีฤทธิ์พลัง เพิ่มความสามารถในการดูดซึม มีผลดีต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างมั่นคงแข็งแรงและเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติ...


แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ》 ตอนที่ 4---เขียนโดย เฉินเจี๋ย

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (3)

โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 07 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/


วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (3)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (3)
古茶树之谜 (三)




        ความแตกต่างระหว่างต้นชาพันธุ์ใบใหญ่และต้นชาพันธุ์ใบกลางเล็ก

          กล่าวถึงด้านแหล่งกำเนิดและการแพร่ขยายของต้นชาแล้ว ต้นชาพันธุ์ใบกลางเล็กล้วนกำเนิดมาจากต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ เพียงหลังจากการเพาะปลูกที่ต่างถิ่นแล้ว ต้นชามีความสามารถปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์และสภาพอากาศของท้องถิ่นนั้นๆ ประกอบกับการตัดแต่งกิ่งเชิงบังคับเป็นระยะเวลาอันยาวนานโดยฝีมือมนุษย์ สุดท้ายกลายมาเป็นต้นชาพันธุ์ใบกลางเล็ก มันและต้นชาพันธุ์ใบใหญ่จึงมีความสัมพันธ์ทางพงศาวลี เป็นแขนงหนึ่งของตระกูลต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ 
        เมื่อทั่วโลกเริ่มยอมรับแล้วว่าแหล่งกำเนิดของต้นชาอยู่ที่อวิ๋นหนาน เมื่อต้นชาหลักของอวิ๋นหนานเป็นต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าความสัมพันธ์ทางสายวิวัฒนาการนี้เป็นความจริง จึงไม่มีข้อสงสัยที่จะเรียงลำดับต้นชาพันธุ์ใบใหญ่อยู่บนสุด หรือเรียกเป็นตำแหน่งที่1 ด้วยประการฉะนี้ ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่และต้นชาพันธุ์ใบกลางเล็กมีความแตกต่างอย่างไรกันแน่?



        1. ความแตกต่างของไม้ต้นและไม้พุ่ม   ไม้ต้นหมายถึงลำต้นสูงใหญ่ มีลำต้นหลักต่อจากส่วนราก ลำต้นและบริเวณยอดที่แตกกิ่งก้านแยกเห็นได้เด่นชัด ไม้พุ่มหมายถึงพรรณไม้เนื้อแข็งที่มีลำต้นหลักไม่ชัดเจน มีกิ่งก้านสาขาแยกไปมากบริเวณใกล้โคนต้น เมื่อโตเต็มที่ต้นจะสูงไม่เกิน 3 เมตร ทางพฤกษศาสตร์มีคำกล่าวที่ว่า “ต้นสูงขนาดไหน รากลึกขนาดนั้น” วงรัศมีและระดับความลึกของระบบรากต้นชาที่แผ่ขยายออกในดินจะเทียบเท่ากับระดับความสูงของลำต้น ระบบรากยิ่งหยั่งลึกลงมาก ธาตุอาหารที่ได้รับก็แตกต่างกันมาก

▲ความแตกต่างของไม้ต้น(乔木)และไม้พุ่ม(灌木)


        2. ความแตกต่างของคุณลักษณะทางกายภาพ   ชั้นนอกสุดของใบชาพันธุ์ใบใหญ่ทั่วไปหนา2-4µm. Palisade Tissue(栅栏组织)มีเพียงเซลล์ชั้นเดียว Spongy Tissue(海绵组织)จะหนากว่า อัตาส่วนของ Palisade Tissue กับ Spongy Tissue คือ 1:2 ส่วนความหนาชั้นนอกสุดของใบชาพันธุ์ใบกลางเล็กประมาณ4-8µm.  Palisade Tissue ประกอบด้วยเซลล์หลายชั้น อัตราส่วนของ Palisade Tissue กับ Spongy Tissue คือ 1:1

▲ใบชาพันธุ์ใบใหญ่มี Spongy Tissue(海绵组织) หนากว่าพันธุ์ใบเล็ก ซึง Spongy Tissue เป็นที่สะสมสารอาหารไว้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นรสชาติของพันธุ์ใบใหญ่จึงหนานุ่มกว่าพันธุ์ใบเล็ก

        3. ความแตกต่างขององค์ประกอบทางเคมี   มุมมองของหนังสือแบบเรียนเรื่องชาเห็นว่า เนื่องจากคุณลักษณะทางกายภาพของใบชาพันธุ์ใบใหญ่และใบชาพันธุ์ใบกลางเล็กแตกต่างกัน ใบชาพันธุ์ใบใหญ่จะประกอบด้วยสารกลุ่มไขมันน้อยกว่า ปริมาณของกลุ่มโพลิฟีนอลจะสูงกว่า ส่วนใบชาพันธุ์ใบกลางเล็กจะประกอบด้วยสารกลุ่มไขมันมากกว่า ปริมาณของกลุ่มโพลิฟีนอลจะน้อยกว่า 
        ชาที่ประกอบด้วยสารกลุ่มไขมันสูงโดยพื้นฐานจะแสดงออกทางกลิ่นหอมของใบชา กล่าวอีกนัยหนึ่ง กลิ่นหอมจะแรงและมีลักษณะพิเศษกว่า ชาเขียวที่ผลิตจากใบชาพันธุ์ใบกลางเล็กคุณภาพดีจะมีจุดเด่นคือกลิ่นหอมแรง รสนุ่มละมุน แต่เนื่องจากมันประกอบด้วยสารกลุ่มโพลิฟีนอลน้อย ทำให้องค์ประกอบรวมต่ำไปด้วย ชาเขียวจึงมีจุดด้อยคือไม่ชงทน ในที่นี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุ ก็คือองค์ประกอบภายในชาเขียวจำนวนมากเป็นสารที่ละลายในไขมัน(Liposoluble) ไม่ละลายในน้ำ สารที่มีคุณสมบัติละลายในน้ำมีน้อย ดังนั้น ใบชาพันธุ์ใบกลางเล็กจึงเหมาะที่จะทำเพียงชาเขียว
        สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ พันธุ์ต้นชาในเขตพื้นที่ชาฝูเจี๋ยนก็เป็นพันธุ์ใบกลางเล็ก แต่เนื่องจากกระบวนการผลิตใช้วิธีการหมักระดับต่ำ ทำให้สารกลุ่มไขมันสลายตัว สารกลุ่มโพลิฟีนอลมีปริมาณเพิ่มขึ้น ไม่เฉพาะกลิ่นหอมรสนุ่มละมุน จะชงทนกว่าชาเขียว ชนิดชาที่ถือเป็นตัวแทนคือชาอูหลง ใบชาพันธุ์ใบใหญ่เนื่องจากประกอบด้วยสารกลุ่มโพลิฟีนอลสูง ก่อให้เกิดสารอนุพันธ์และสารประกอบเคมีจำนวนมาก องค์ประกอบจึงสูงกว่าใบชาพันธุ์ใบกลางเล็กมาก การชงทนจึงทนกว่ามาก ดังนั้น ใบชาพันธุ์ใบใหญ่จึงเหมาะผลิตชาที่เกิดการหมักมากกว่า เช่นชาผูเอ๋อร์ที่เป็นตัวแทนได้ดีที่สุด 
        สิ่งที่อยากจะเพิ่มเติมคือ สิ่งที่ทำให้องค์ประกอบของใบชาพันธุ์ใบใหญ่มีค่าสูงยังมีอีกหนึ่งสาเหตุ(ถือเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุด) คือปัจจัยที่เกิดจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เฉพาะของอวิ๋นหนาน พื้นฐานจากองค์ประกอบสองด้าน : ๑. คือต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ชอบสภาพอากาศแบบเปียกชื้น ลักษณะอากาศที่เปียกชื้นก่อให้เกิดสาร Malic Acid(苹果酸) Ethylic Acid(醋酸) Lactic Acid(乳酸) จำนวนมาก ; ๒. คือทนต่อสภาวะอากาศหนาวเย็น เขตพื้นที่อวิ๋นหนาน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ผลิตชาที่อุณหภูมิช่วงเช้า-กลางคืนและกลางวันแตกต่างกันมาก ก่อให้เกิดสารทุติยภูมิในใบชาสดของต้นชาที่ได้ผ่านกระบวนการเชิง“สะสมเข้มข้น” ตัวอย่างเช่น Glycerol Sorbitol(甘油三梨醇) Mannitol(甘露醇) เป็นต้น ที่มีปริมาณสะสมเพิ่มขึ้น ทำนองเดียวกับองุ่นของแคนาดาเมื่อผ่านหิมะในฤดูหนาวมากระทบแล้วก็จะมีรสหวานมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่แตกต่างกันอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดองค์ประกอบสูงกว่าใบชาพันธุ์ใบกลางเล็ก

▲ความแตกต่างระหว่างพันธุ์ใบใหญ่และพันธุ์ใบเล็ก



        มีแนวความคิดหนึ่งที่ยังเข้าใจผิดซึ่งต้องได้รับการแก้ไข นั่นก็คือหนังสือแบบเรียนวิชาชาทุกเล่มล้วนมีความเข้าใจผิดอยู่จุดนึง โดยคิดว่าสารคลอโรฟีลล์(叶绿素)ในใบชาพันธุ์ใบกลางเล็กมีปริมาณสูงกว่าพันธุ์ใบใหญ่ อันเหตุจากไม่ใช่การเปรียบเทียบคลอโรฟีลล์ที่ประกอบอยู่ในใบชาสดของใบชา2ชนิดนี้ แต่เป็นการเปรียบเทียบทางเคมีของผลิตภัณฑ์ชา จึงเกิดคำกล่าวที่ว่าปริมาณสารคลอโรฟีลล์ในชาเขียวสูงกว่าชาผูเอ๋อร์ ปริมาณสารคลอโรฟีลล์ต่ำในชาผูเอ๋อร์เกิดจากวิธีการผลิต บนเส้นทางวิธีการผลิตของมันแวดล้อมด้วย“ปฏิกิริยาจากการเร่งโดยเอนไซม์(Emzyme Catalysed Reaction)” 
        ก่อนอื่น”ปฏิกิริยาจากการเร่งโดยเอนไซม์”จะทำลายคลอโรฟีลล์(ถ้าจะให้ถูกต้องยิ่งขึ้นคือทำลายคลอโรฟีลล์-a) แต่ชาเขียวกลับเป็นไปตรงกันข้าม คือเป็นการหยุดยั้ง“ปฏิกิริยาจากการเร่งโดยเอนไซม์” โดยผ่านวิธีการใช้ความร้อนสูงกำจัดเอนไซม์ในใบชาสด(เพราะว่าในสภาวะ60ºCขึ้นไป เอนไซม์จะหมดฤทธิ์ ทั่วไปเรียกว่า“ปลดระวางเอนไซม์(脱酶)” เนื่องจากมีเพียง“ปลดระวางเอนไซม์”จึงสามารถรักษาคลอโรฟีลล์ในใบชาได้มากที่สุด ดังนั้น ปริมาณสารคลอโรฟีลล์ในชาเขียวและชาผูเอ๋อร์แตกต่างกันนั้น เป็นเพราะกำหนดจากวิธีการผลิต2แบบ แต่กล่าวเฉพาะด้านใบชาสดแล้ว  ปริมาณสารคลอโรฟีลล์ในใบชาสดของต้นชาพันธุ์ใบใหญ่สูงกว่าพันธุ์ใบกลางเล็ก


          ลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏเป็นตุ่มบนผิวใบชาสดของต้นชาพันธุ์ใบใหญ่จำนวนมาก เกิดจากสาเหตุ : 
        คือทั่วไปเขตพื้นที่ชาในอวิ๋นหนานจะตั้งอยู่ที่ระดับน้ำทะเลสูง ฤดูร้อนเปียกชื้น ฤดูหนาวแห้งแล้ง อยู่ภายใต้สถาวะร่มเงา(พรรณไม้อื่นต้นสูงใหญ่ที่อยู่ล้อมรอบช่วยเป็นร่มเงาบดบังแสงแดดที่ส่องลงมาตรงๆ) ต้นชาจำต้องเพิ่มปริมาณคลอโรฟีลล์เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ให้เพียงพอต่อการสังเคราะห์แสง เพื่อจัดหาพื้นที่สำหรับปริมาณคลอโรฟีลล์จำนวนมาก พื้นที่ผิวของคลอโรฟีลล์จึงขยายใหญ่ขึ้น ผลทำให้ผนังเซลล์เกิดเป็นลักษณะย่นดันออกมา ปรากฏเป็นตุ่มบนผิวใบ 
        ลักษณะภายนอกที่เป็นเอกลักษณ์เข่นนี้ไม่เพียงบ่งบอกถึงมีคลอโรฟีลล์ในปริมาณสูง ยังถือเป็นสัญลักษณ์ของใบชาสดคุณภาพดี นักศึกษาวิจัยใบชาชาวญี่ปุ่นก็มองเห็นตรงจุดนี้ แล้วอาศัยอ้างอิงรูปแบบนี้ จึงเลียนแบบกลไกการเจริญเติบโตภายใต้ร่มเงาของตาข่ายที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น จุดประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณของคลอโรฟีลล์ ความจริง วงการชาเขียวของจีนตั้งแต่ทศวรรตที่80ศตวรรตที่แล้วเป็นต้นมา ได้พยายามที่จะหาวิธีการเทคนิคต่างๆเพื่อมาแก้ไขปัญหาร่มเงาของต้นชา 
        ยืนอยู่บนมุมมองของชาเขียว เทคโนโลยีร่มเงาได้กลายเป็นมาตรการที่สำคัญที่ใช้ปรับปรุงคุณภาพของชาเขียว ดังนั้น สภาวะร่มเงาของต้นชาพันธุ์ใบใหญ่เกิดจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติ แต่ร่มเงาของพันธุ์ใบกลางเล็กแทบต้องอาศัยวิธีการจากเทคโนโลยีมาดำเนินการ ถึงเป็นประการฉะนี้ ปริมาณคลอโรฟีลล์ในใบชาสดของพวกมันก็ยังแตกต่างกันมาก ถ้าหากนำใบชาสดพันธุ์ใบใหญ่มาผลิต“มัตจะ(抹茶)” ขอให้วิธีการถูกต้อง คุณภาพจะดีกว่า“มัตจะ”ของญี่ปุ่น...



แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ》 ตอนที่ 3---เขียนโดย เฉินเจี๋ย

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (2)
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (4)

โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 05 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย 
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2559

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (2)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (2)
古茶树之谜 (二)




        ความแตกต่างของต้นชาโบราณและต้นชาไม้ใหญ่กับต้นชาไร่


        ต้นชาโบราณและต้นชาไม้ต้นใหญ่กับต้นชาไร่ล้วนถือเป็นต้นชาไม้ต้นพันธุ์ใบใหญ่ รูปลักษณ์ภายนอกของต้นชาโบราณและต้นชาไม้ต้นใหญ่เป็นทรงไม้ต้น เพียงแต่ถ้าอายุยืนยาวขึ้นจะเรียกเป็นต้นชาโบราณ อายุอ่อนจะเรียกเป็นต้นชาไม้ต้นใหญ่
        ส่วนต้นชาไร่ไม่เหมือนกับต้นชาโบราณและต้นชาไม้ต้นใหญ่ มันไม่มีรูปลักษณ์เป็นทรงไม้ต้น แต่มีรูปลักษณ์ต่ำเตี้ยเป็นทรงไม้พุ่ม วงการชาอวิ๋นหนานเพื่อให้เกิดความแตกต่างกับต้นชาทรงไม้พุ่มพันธุ์ใบกลางเล็กในเจียงเจ้อ จึงขนานนามว่าต้นชาไร่ ตามข้อเท็จจริง เรียกเป็นต้นชาไร่นั้นถูกต้องแล้ว เนื่องจากแม้ว่าต้นชาไร่จะเตี้ย แต่ยังมีลำต้นหลัก เพียงแต่ลำต้นหลักของต้นชาไร่ส่วนมากซ่อนอยู่ใต้ผิวดิน นอกจากนี้ ความสูงเหนือระดับผิวดินของต้นชาไร่ก็สูงกว่าพันธุ์ใบกลางเล็ก 
        อดีตที่ผ่านมา เขตพื้นที่ชาในอวิ๋นหนานไม่มีต้นชาไร่ มีเพียงแค่ต้นชาไม้ต้นใหญ่ ต้นชาไร่ปรากฏเมื่อทศวรรตที่70ศตวรรตที่แล้ว(ยังมีผู้คนไม่น้อยที่คิดว่าเป็นทศวรรตที่60) โดยได้รับอิทธิพลจากการเพาะปลูกในเขตพื้นที่ชาในเจียงเจ้อ เพื่อต้องการผลผลิตสูงและการเด็ดเก็บได้ง่ายสะดวก จึงเจตนาตัดแต่งกิ่งต้นชาให้เตี้ยลง ช่วงสมัยที่ประเทศจีนกำลังอยู่ภายใต้เศรษฐกิจวางแผน สินค้าและวัตถุดิบขาดแคลน จึงมุ่งเน้นเพิ่มผลผลิต พื้นที่ชาที่มีชื่อเสียงเขตหนึ่งในหยินหนาน---หมู่บ้านปานจาง(班章寨)เกือบที่จะต้องมาโค่นต้นชาโบราณทิ้งอันเนื่องจากเอกสารกระดาษหัวสีแดงฉบับหนึ่ง เพื่อที่จะมาเปลี่ยนเป็นสวนชาไร่ สวนชาต้นโบราณ36ผืนที่อยู่ภายใต้การครอบครองของหมู่บ้านปานจางที่พวกเรายังสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน เกิดจากความมุ่งมั่นขัดขวางของผู้อาวุโสหมู่บ้านปานจาง จึงสามารถรักษาให้ดำรงอยู่ได้ แต่สวนชาโบราณจำนวนมากในอวิ๋นหนานไม่มีโชคที่จะได้รับการยกเว้น สิ่งที่มาแทนที่คือสวนชาไร่ผืนใหญ่

        ความจริง ตราบจนถึงปัจจุบัน วงการศึกษาชายังมีข้อโต้แย้งอยู่ประเด็นหนึ่ง หัวข้อของการถกเถียงคือความแตกต่างด้านคุณภาพของชาต้นโบราณและชาไร่ มีนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ณ ปัจจุบันก็ยังยืนยันว่าชาไร่และชาต้นโบราณไม่มีความแตกต่าง เหตุผลของพวกเขาได้จากกการวิเคราะห์ทางเคมีและเปรียบเทียบ ดัชนีชี้วัดทางเคมีของชาสองชนิดนี้แทบจะไม่แตกต่างกัน ซ้ำมีดัชนีชี้วัดบางตัว ชาไร่จะดีกว่าชาต้นโบราณ 
        ผลสรุปเช่นนี้ไม่ทำให้รู้สึกแปลก เพราะรายการที่พวกเขาทำการตรวจสอบแทบจะปลูกถ่ายจากรายการตรวจสอบของชาเขียว พื้นฐานใช้ดัชนีชี้วัด5รายการ เช่นทีโพลิฟีนอลส์(茶多酚) ทีโพลิแซ็กคาไรด์(茶多糖) ทีซับโปนิน(茶皂苷) คาเฟอิน(咖啡碱) รงควัคถุชา(茶色素) ความจริงเกิดจากรายการที่ตรวจสอบธรรมดาเกินไป ตราบจนถึงทุกวันนี้เป็นปัญหาที่การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของชาผูเอ๋อร์ตั้งแต่ต้นที่ยังล้าหลังกว่าภาคปฏิบัติของพื้นบ้านทางชาผูเอ๋อร์ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข 
        เหตุการณ์ทำนองเดียวกันเกิดขึ้นกับโสม(人参)ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะทางภาคอีสานของจีน โสมแบ่งเป็นโสมพันธุ์ป่าจากเขาฉางไป๋ซาน(长白山野生参) และ โสมพื้นบ้าน(席地参 : มีการเพาะปลูกที่จี๋หลิน เหลียวหนิง เฮยหลงเจียง เป็นต้น) แต่จากการตรวจสอบสารองค์ประกอบทางเคมี ไม่สามารถหาข้อแตกต่างระหว่างพวกมันเช่นเดียวกัน เหตุผลก็คือกัน เกิดจากรายการตรวจสอบที่ธรรมดาเกินไป


        ขอให้พวกเราย้อนกลับมาดูต้นชาโบราณและต้นชาไม้ต้นใหญ่กับต้นชาไร่อีกครั้ง พวกมันไม่เพียงมีความแตกต่าง แต่เป็นความแตกต่างที่ใหญ่มาก


        1. ความแตกต่างของการเจริญเติบโตขึ้นไปทางแนวสูงจากการเพราะปลูกแบบไม่หนาแน่นกับลักษณะการตัดแต่งกิ่งให้เตี้ยจากการเพาะปลูกแบบหนาแน่น

        ต้นชาโบราณและต้นชาไม้ต้นใหญ่แม้จะมีเอกลักษณ์ของลักษณะความเป็นประชาคม แต่พวกมันก็มีสภาพการเพาะปลูกแบบไม่หนาแน่น มีพื้นที่เพียงพอต่อการยืดออกไปทางแนวนอนและแนวตรง ในขณะที่ต้นชายืดขึ้นไปทางด้านบน รากที่อยู่ในดินและส่วนที่อยู่เหนือผิวดินก็จะเจริญเติบโตพร้อมๆกัน และรากที่อยู่ในดินไม่หยุดที่จะหยั่งลึกลงไปในใต้ดิน เจริญจนถึงระดับหนึ่งแล้วแตกแผ่สยายออกเป็นรากแขนง ก่อให้เกิดเป็นระบบรากที่ใหญ่มาก จากตัวอย่างต้นชาโบราณอายุต้น300ปีในสวนชาโบราณจิ่งม้าย-อวิ๋นหนาน กิ่งก้านที่โผล่ออกบนผิวดินมีอยู่สิบกว่าก้าน แต่รากแขนงที่ซ่อนอยู่ใต้ดินมีมากกว่า50000เส้น มากกว่ากิ่งก้านของลำต้นกว่า5000เท่า (รูป) 
        ยังมีอีก อัตราส่วนความยาวของลำต้นบนดินและระบบรากใต้ดินเกือบ 1:1 รัศมีที่ระบบรากแผ่สยายออกไปก็เกือบจะเท่ากับรัศมีที่กิ่งก้านของลำต้นยืดออกไป ประจักษ์ชัดแล้วว่า รากลึกใบดกของต้นชาโบราณจำต้องอาศัยเนื้อดินในพื้นที่เพาะปลูกที่สอดคล้องกันมาค้ำจุน ระบบรากจึงมีความอิสระที่จะแผ่สยายออกไปในแนวราบและแนวตั้ง เพื่อที่จะได้รับธาตุอาหารจากดินมากที่สุด 
        จากที่กล่าวกันว่า“ต้นสูงขนาดไหน รากลึกขนาดนั้น” ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ภาษิตพื้นบ้าน แต่เป็นความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ ส่วนต้นชาไร่จากการเพาะปลูกแบบหนาแน่นโดยมนุษย์ ดินที่ปกคลุมมีเพียงพื้นที่อันแคบเล็ก ประกอบกับเจตนาที่ทำให้มีลักษณะเตี้ยโดยฝีมือมนุษย์ อัตราส่วนของความสูงและความกว้างของลำต้นและความลึกและความกว้างของระบบรากล้วนถูกกดหดตัวลง ธาตุอาหารที่ได้รับจากดินก็จะน้อยกว่าต้นชาโบราณหรือต้นชาไม้ต้นใหญ่อย่างเห็นได้ชัดเจน


        2. ลำต้นของต้นชาไม้ใหญ่ยิ่งยาว(ความสูง) เส้นทางลำเลียงธาตุอาหารก็ยิ่งยาว ทำให้มีพื้นที่ภายในมากมายสำหรับกระบวนการสร้างและกระบวนการสลายของพืช มีผลดีต่อการสร้างและสะสมของสารทุติยภูมิที่มีคุณภาพสูง

        ต้นชาไม้ต้นใหญ่เพื่อการดำรงไว้ซึ่งการเจริญเติบโต การเคลื่อนไหว การผสมพันธุ์เป็นต้น กิจกรรมทางชีวิต(Vital Activity)จำเป็นต้องทำการแลกเปลี่ยนสสารกับสภาพแวดล้อมตลอดเวลา ด้านหนึ่งมันจะดูดซึมสารอนินทรีย์เชิงเดี่ยวจากสภาพแวดล้อม แปรเปลี่ยนเป็นสารอินทรีย์เชิงซ้อน ควบรวมเก็บไว้กับในตัวส่วนหนึ่ง ขณะเดียวกันทำการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานเคมี เก็บไว้อยู่ในสารอินทรีย์ 
        กระบวนการย่อยสลายที่ได้สารสังเคราะห์พร้อมพลังงานเรียกว่ากระบวนการสร้าง(Anabolism) อีกด้านหนึ่ง มันก็สลายสารอินทรีย์เชิงซ้อนที่อยู่ภายในร่างเปลี่ยนเป็นสารอนินทรีย์เชิงเดี่ยว พร้อมคายพลังงานที่เก็บในสารอินทรีย์ออกมาเพื่อสำหรับกิจกรรมทางชีวิต กระบวนการย่อยสลายสารและคายพลังงานออกมาเรียกว่ากระบวนการสลาย(Catabolism)
        ทุกปฏิกิริยาของการสังเคราะห์หรือการย่อยสลายถูกควบคุมภาวะสมดุลโดยเอนไซม์ สารประกอบที่ได้จากเมทาบอลิซึมปฐมภูมิ(Primary Metabolism) อย่างเช่น กลุ่มโปรตีน กลุ่มอะมิโน กลุ่มน้ำตาล กลุ่มไขมัน เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เรียกว่าสารปฐมภมิ(Primary Metabolites) เมื่อสารปฐมภมิถูกการสังเคราะห์และการย่อยสลายอย่างต่อเนื่อง ก็จะเกิดเมทาบอลิซึมทุติยภูมิ(Secondary Metabolism) จะปรากฏสารประกอบทางเคมีใหม่ เช่นกลุ่ม Glucoside ; Alkaloid ; Terpenoid ; Lactone ; Phenol เป็นต้น หรือชื่อทางเคมีเรียกว่าสารทุติยภูมิ(Secondary Metabolites) ประจวบเหมาะที่สารทุติยภูมิเหล่านี้(ที่ถูกควรเรียกเป็นสารประกอบเคมี)ถือเป็นสารอาหารทางพืช คือสารที่มีคุณค่ามากที่สุดในใบชา และสามารถเรียกเป็นทองคำแห่งชา
        ส่วนต้นชาไร่แม้ก็ผ่านกระบวนการเหล่านี้ จากเมทาบอลิซึมปฐมภูมิถึงเมทาบอลิซึมทุติยภูมิ และก็มีสารอาหารทางพืช แต่เนื่องจากลำต้นเตี้ยเกินไป ปริมาณสะสมของเอนไซม์จากแหล่งภายในมีน้อยมาก “ทรัพยากร”และพื้นที่ของการสังเคราะห์และการย่อยสลายถูกบีบอัดจำกัด คุณภาพของใบชาจึงต่ำกว่าของต้นชาโบราณและต้นชาไม้ใหญ่อย่างเด่นชัด เมื่อพวกเรานำชาต้นโบราณและชาไร่ที่มาจากพื้นที่เดียวกันเก็บในสภาวะแวดล้อมที่เหมือนกันหลัง10ปี ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกทางรสชาติจากการชิมลองหรือเป็นการตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีเปรียบเทียบ ความแตกต่างของคุณภาพจะเห็นได้เด่นชัดมาก


        3. ความแตกต่างระหว่างธรรมชาติที่ไม่ต้องใช้กับจำเป็นต้องใช้เคมีเกษตรและปุ๋ยเคมีเคมี

        “ชุมชนเผ่าพันธุ์”ของต้นชาไม้ต้นใหญ่ล้วนมีลักษณะเฉพาะทางความหลากหลายของชีวภาพ สวนชาโบราณในเขตพื้นที่ชาอวิ๋นหนานที่เหลืออยู่ในปัจจุบันนี้ จากการสำรวจอย่างละเอียด จะพบเห็นว่าแต่ละสวนชาโบราณล้วนมีระบบนิเวศที่เฉพาะเจาะจง และสภาวะแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจงนี้ก็ก่อให้เกิดระบบนิเวศแบบวัฏจักรขนาดเล็กโดยธรรมชาติ ในท่ามกลาง“ชุมชน”ของดอกไม้-นก-แมลง-จุลินทรีย์ ก่อให้เกิดห่วงโซ่ชีวภาพตามธรรมชาติ 
        ใบไม้ที่หล่นจากต้นปกคลุมผิวดินหนาเป็นชั้นๆ จุลินทรีย์ต้องทำงานแบบ“ร้านสะดวกซื้อ7-11” ย่อยสลายใบไม้แปรเปลี่ยนเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เมื่อโรคพืชจากแมลง เกิดการระบาด ระบบนิเวศแบบวัฏจักรขนาดเล็กนี้ ก็จะรีบเคลื่อนพลระบบภูมิคุ้มกันโรคของมันที่อยู่ภายในเพื่อร่วม“ต่อต้านข้าศึก” เพื่อที่จะรักษาไม้ต้นให้ดำรงอยู่ได้อย่างสุดความสารมารถ ให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้ สวนชาโบราณจึงไม่ต้องอาศัยเคมีเกษตร ยิ่งไม่ต้องการใช้ปุ๋ยเคมี มันถือเป็นพืชพรรณคลาสสิคที่“อาศัยธรรมชาติหากิน(靠天吃饭)”
        ปีไหนดี ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ต้นชาไม้ต้นใหญ่ก็ให้ผลผลิตสูง ปีไหนแย่ ก็เพียงแค่ผลผลิตลดต่ำลง แต่ต้นชาไร่จำต้องอาศัยเคมีเกษตรและปุ๋ยเคมีมาคุ้มครองตลอดเวลา เนื่องจากต้นชาไร่ปกคลุมด้วยดินในพื้นที่อันคับแคบ ได้รับแร่ธาตุอาหารในดินอย่างจำกัด แหล่งของแร่ธาตุอาหารส่วนหนึ่งจำต้องมาจากปุ๋ยเคมี ขณะเดียวกัน ในระหว่างกระบวนการเจริญเติบโต ก็จำเป็นต้องอาศัยเคมีเกษตรมา“ปกป้อง” ถ้าปราศจากเคมีเกษตรและปุ๋ยเคมีแล้ว สิ่งที่ต้องเผชิญไม่ใช่ปัญหาผลผลิตตกต่ำ แต่คือการเหี่ยวเฉาและตายไป ดังนั้น ต้นชาไร่ต้องใช้เคมีเกษตรตลอดเพื่อที่จะ“วิ่งแข่ง”กับโรคพืชจากแมลง ต้องปรับยกสถานะตลอดเวลา 
        กระบวนการเช่นนี้ ก็คือกระบวนการของดินที่เกิดกลไกการเสื่อมถอย มลภาวะของดินก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น ยิ่งภาวะในปัจจุบันนี้ พืช อากาศ เกิดมลภาวะยิ่งหนักมากขึ้น ธาตุโลหะหนักบนชั้นผิวดินมีปริมาณเกินค่ามาตรฐานทั่วไป ก่อให้ต้นชาที่มีระบบรากตื้นเกิดมลภาวะที่รุนแรง ต้นชาโบราณและต้นชาไม้ต้นใหญ่อันเนื่องจากต้นสูงรากลึก ระบบรากอยู่ลึกลงในชั้นดินที่ไม่เกิดมลถาวะ เมื่อจากการเปรียบเทียบแล้วจึงมีมลพิษที่น้อยกว่า ดังนั้น จากที่พวกเราทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ชาจะพบปรากฏการณ์ที่ธาตุโลหะหนักเกินค่ามาตรฐาน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมลภาวะของดิน... 



แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ》 ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย
http://www.wtoutiao.com/a/3091189.html

“ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (1)
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (3)

โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 03 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย 
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (1)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (1)
古茶树之谜 (一)



        ต้นชาโบราณเป็นสมญานามที่พิเศษเฉพาะที่ชาวบ้านใช้เรียกต้นชาไม้ต้นใหญ่ที่มีอายุต้นพอสมควร ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่90ศตวรรษที่20 วงการชาผูเอ๋อร์ในอวิ๋นหนานคุ้นเคยที่จัดแบ่งต้นชาไม้ต้นพันธุ์ใบใหญ่(乔木大叶种茶树)ออกเป็น3ชนิดคือ ต้นชาโบราณ(古茶树) ต้นชาไม้ต้นใหญ่(乔木大茶树 รวมถึงต้นชาปล่อยป่า) ต้นชาไร่(台地茶树) การแบ่งกลุ่มลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่ผลจากการแบ่งกลุ่มตามพฤกษศาสตร์ เพียงเป็นข้อสรุปจากประสบการณ์อันยาวนานของชาวบ้าน ถือเป็นประสบการณ์พื้นบ้าน

▲ชนิดของต้นชาในระบบนิเวศ


        โดยเฉพาะหลังปี2000 เป็นไปตามที่ตลาดชาผูเอ๋อร์ได้เฟืองฟูขึ้นมาเป็นลำดับ เกิดการแข่งขันที่ยิ่งมายิ่งรุนแรง นักธุรกิจชาผูเอ๋อร์ส่วนหนึ่งได้มาจัดแยกวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ให้ละเอียดขึ้น ผู้ผลิตชาหรือพ่อค้าจำนวนมากได้เรียกชาผูเอ๋อร์ที่ผลิตจากวัตถุดิบจาก“ต้นชาโบราณ”ว่า “ชาต้นโบราณ(古树茶)” อาศัยที่“ต้นชาโบราณ”เป็นทรัพยากรที่มีภาวะการขาดแคลน และเพื่อให้ตระหนักในการแยกคุณภาพที่แตกต่างจาก“ต้นชาไม้ต้นใหญ่”และ“ต้นชาไร่” 
        พฤติกรรมทางธุรกิจเช่นนี้โดยเหตุสุดวิสัยริเริ่มจากชาวบ้าน ไม่ใช่ได้รับการแนะนำหรือสนับสนุนจากทางราชการหรือทางวิชาการ ความต้องการที่กลายมาจากพฤติกรรมทางธุรกิจเช่นนี้ ก่อให้เกิดผู้คนจำนวนมากมาสนใจต้นชาโบราณ ความเป็นจริง ไม่ว่าเป็นต้นชาโบราณ ต้นชาไม้ต้นใหญ่หรือต้นชาไร่ล้วนถือเป็นต้นชาไม้ต้นพันธุ์ใบใหญ่

       หัวข้อของบทความนี้ตามหลักควรเป็น“ปริศนาแห่งต้นชาไม้ต้นพันธุ์ใบใหญ่” เพียงแต่ว่าในบรรดาต้นชาไม้ต้นพันธุ์ใบใหญ่ ต้นชาโบราณจะเป็นตัวแทนได้ดีที่สุด จึงขอยืนยันหัวข้อเป็น “ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ”

        ก่อนที่จะมาอภิปรายถึงปัญหานี้ ขอมาทำความเข้าใจถึง 2 กรอบความคิดให้ถ่องแท้เสียก่อน :

        I. ต้นชาโบราณและชาต้นโบราณเป็นสองแนวความคิด : 
        ตัวแรกหมายถึงต้นชาไม้ต้นพันธุ์ใบใหญ่ที่อายุยืนต้น100ปีขึ้นไป ตัวหลังคือใบชาที่ผลิตจากใบชาสดของตัวแรก

        II. ต้นชาโบราณและต้นชาไม้ต้นใหญ่พันธุ์ป่าก็เป็นสองแนวความคิด :
        ต้นชาไม้ต้นใหญ่พันธุ์ป่าแม้จะเรียกเป็นต้นชา แต่ใบและผลของมันเป็นพันธุ์ป่า สัณฐานและองค์ประกอบภายในจะแตกต่างกันมากกับใบชาที่เราพบเห็นอยู่ในปัจจุบัน มีคุณลักษณะความเป็นพิษ ไม่สามารถที่จะรับทานได้ ต้นชาพันธุ์ป่าหลังผ่านระยะของ“ต้นชาชนิดเปลี่ยนผ่าน(过渡型茶树)” แล้วผ่านการ“เพาะปลูก(驯化)” จึงวิวัฒนาการเป็นต้นชาที่สามารถทาน(ดื่ม)ได้
        ต้นชาโบราณเป็นปรากฏการณ์ทางพืชที่พิเศษเฉพาะรูปแบบหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ถือเป็น“ราก()”ของชาผูเอ๋อร์ เนื่องจากการปรากฏขึ้นทีหลังของต้นชาต้นใหญ่ที่อายุต้นยังค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจากการเพาะปลูกโดยมนุษย์ หรือที่ปล่อยตามธรรมชาติให้ขึ้นอยู่ในป่า แม้กระทั่งต้นชาไร่ที่เพาะปลูกและตัดแต่งกิ่งให้เตี้ยโดยฝีมือมนุษย์ยุคสมัยนี้ พวกมันล้วนมีต้นกำเนิดมาจากต้นชาโบราณ มี“สายเลือด”เดียวกัน


         • คำนิยามของต้นชาโบราณ

        1. ต้นชาโบราณถือเป็นพืชประเภทไม้ต้น ตามการจัดกลุ่มทางพฤกษศาสตร์ โดยทั่วไปพรรณไม้เนื้อแข็งที่มีลำต้นสูง6ถึง10เมตร เรียกว่าไม้ต้น 
        มันมีลำต้นหลัก ลำต้นและบริเวณยอดที่แตกกิ่งก้านเห็นแยกออกได้ชัดเจน ทำนองเดียวกัน ใช้ความสูงแบ่งเป็นไม้ต้นใหญ่มาก(31 ม.ขึ้นไป) ไม้ต้นใหญ่(21-30 ม.) ไม้ต้นกลาง(11-20 ม.) ไม้ต้นเล็ก(6-10 ม.) เป็น4ระดับ 
        ลักษณะภายนอกของต้นชาโบราณในอวิ๋นหนานถือเป็นสัณฐานไม้ต้น เป็นสัญลักษณ์แรกของต้นชาโบราณ ถ้ากล่าวทางด้านความสูงแล้ว มันครอบคลุมทั้งไม้ต้นใหญ่มาก ไม้ต้นใหญ่ ไม้ต้นกลาง ไม้ต้นเล็ก ส่วนที่แตกต่างคือไม้ต้นใหญ่มีน้อยมาก ไม้ต้นเล็กมีมาก นอกจากนี้ เนื่องจากต้นชามีการเจริญเติบโตช้า เนื้อไม้ลำต้นจึงมีความหนาแน่นสูงกว่าไม้ต้นทั่วไป ทำให้ไม้ต้นที่อายุเท่ากัน ต้นชาจะเตี้ยกว่าไม้ต้นอื่นๆ สวนชาโบราณหมื่นหมู่(万亩古茶园)ในจิ่งม้าย-อวิ๋นหนาน ต้นชาโบราณจำนวนมากที่มีอายุยืนต้น300ปีขึ้นไปจะมีความสูง6เมตรลงมา ทั่วไปเราจะเรียกต้นชาชนิดนี้ว่าไม้ต้นทรงพุ่ม(亚乔木)


        2. อายุยืนต้นต้อง100ปีขึ้นไปจึงจะถือเป็นต้นชาโบราณ
        ที่พวกเราเสนอค่าทางเวลาตัวเลขนี้เนื่องจาก ๒ เหตุผล : 
        ๑. คือวิธีการบันทึกเวลาจะเทียบ100ปีเป็น1ศตวรรษ มนุษย์เรา รวมทั้งพืชพรรณและสัตว์ส่วนใหญ่ล้วนมีอายุภายใน100ปี สำหรับสปีชีส์ที่มีวงจรชีวิตเกิน100ปี พวกเราต่างต้องมองด้วยความชื่นชม จิตใจมนุษย์จะมีปมในการเชื่อ“เครื่องราง”โดยกำเนิด ชนเผ่ากลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในภูเขาใหญ่ก็เป็นเช่นนี้ พิธีกรรมการบวงสรวงส่วนมากของพวกเขาจะเกี่ยวโยงกับไม้ต้นใหญ่เกินร้อยปี 
        ต้นชาโบราณในอวิ๋นหนานมีอายุยืนต้นเกินพันปี และมีเกินหลายร้อยปี ปรากฏการณ์“อายุยืน”ของต้นชาไม้ต้นพันธุ์ใบใหญ่เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ เป็นพันธุ์ชาชนิดเดียวที่“อายุยืน”ในบรรดาพันธุ์ชาทั้งหลาย การใช้คำ“โบราณ”เป็นสมญานามที่ชาวบ้านพร้อมใจกันเรียกขานต้นชาที่มีอายุยืนต้นเกิน100ปี 
        ๒. ใช้อายุของต้นชาพันธุ์ใบกลางเล็กเป็นค่าเชิงการเปรียบเทียบ อายุเฉลี่ยของต้นชาพันธุ์ใบกลางเล็กอยู่ภายใน100ปี พวกมันหลังการเพาะปลูก3-5ปีก็เริ่มเก็บเกี่ยวได้ หลัง20ปีจะเข้าสู่ระยะของผลผลิตสูง หลัง70-80ปีก็จะร่วงโรยตามกาลเวลา ต้นชาที่มีอายุเกิน100ปีมีน้อยมาก


        3. ต้นชาโบราณมีเอกลักษณ์ที่เป็นประชาคม
        พวกเราเมื่ออยู่ในเขตพื้นที่ผลิตชาในอวิ๋นหนานบังเอิญได้พบเห็นต้นชาต้นใหญ่ต้นหนึ่งยืนต้นอยู่บริเวณรอบๆบ้านเก่าแก่ที่ชาวบ้านอาศัยอยู่หรือตามท้องทุ่งนา ดูมีความสง่างามแฝงความโดดเดี่ยว แต่นี้เป็นปรากฏการณ์ที่เอกเทศ ต้นชาโบราณที่พวกเราพบเห็นในปัจจุบันเป็นปรากฏการณ์ที่พิเศษเฉพาะ ต้นชาโบราณส่วนใหญ่ปรากฏเป็นลักษณะประชาคม ที่ที่มีต้นชาโบราณก็จะเคียงข้างด้วยสวนชาโบราณ(古茶园)ดำรงอยู่ สวนชาโบราณลักษณะนี้แตกต่างจากสวนชาที่พวกเราหมายถึงในปัจจุบัน 
        เมื่อคุณเยื้องกายเข้าไปในเขาจิ่งม้าย-อวิ๋นหนาน เมื่อประจัญกับสวนชาโบราณหมื่นหมู่ คุณจะพบเห็นว่า : พวกมันไม่ใช่ยืนเป็นแถวอนุกรมและใกล้ชิดกัน แต่จะขึ้นแบบกระจัดกระจายไปทั่ว ระยะห่างระหว่างต้นชาสองต้นจะห่างกันมาก ต้นเคียงข้างสองต้นอาจไม่ใช่ต้นชาทั้งหมด ระหว่างต้นชาสองต้นจะมีพรรณไม้ต้นชนิดอื่นสอดแทรกอยู่ สวนชาโบราณหรือเขาชาโบราณหลายพื้นที่ที่ดำรงอยู่ในอวิ๋นหนานปัจจุบัน เปรียบเทียบต้นชาและพืชพรรณอื่น อัตราส่วนเกือบจะ 1:1 นี้เป็นเหตุที่ทำให้เรามีความเข้าใจผิดเป็นประจำ เสมือนไม่ใช่สถิตอยู่ ณ สวนชาโบราณ แต่เป็น ”สวนพืชพรรณดอกไม้ลึกลับที่ไม่มีกำแพงกั้น” 
        ปรากฏการณ์แบบกระจัดกระจายเช่นนี้มองผิวเผินทำให้การเด็ดเก็บไม่สะดวก แต่จะเป็นประโยขน์ด้านการผสมเกสรดอกไม้ข้ามพันธุ์กันและการแผ่สยายออกทางแนวกว้างของการแตกกิ่งก้านบนยอดลำต้น ประกอบกับต้นชาแต่ละต้นได้ครอบครองพื้นที่ผิวดินที่กว้างขึ้นอย่างเด่นชัด มีผลอย่างมากต่อการเพิ่มคุณภาพของใบชา สิ่งที่สำคัญกว่าคือ ต้นชาเหล่านี้กับพรรณไม้อื่นผสมข้ามพันธุ์กัน ก่อให้เกิดความหลากหลายของลักษณะทางชีวภาพที่เฉพาะ และเนื่องจากความหลากหลายของลักษณะทางชีวภาพก็ก่อให้เกิดนิเวศมณฑลสวนชา(茶园生态圈)ที่พิเศษเฉพาะ ตราบจนถึงทุกวันนี้ในขอบเขตทั่วโลก นี้เป็นสวนชาที่พบเห็นได้ที่ถือเป็นแม่แบบทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้วางแผนพัฒนาให้เข้ากับระบบนิเวศธรรมชาติมากที่สุด
        พวกเรายังสามารถที่จะทำการประเมินได้ดังนี้ : สวนชาโบราณในอวิ๋นหนานที่แท้ก็คือสวนชาที่มีความหลากหลายทางพืชพรรณ เป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันยิ่งใหญ่แห่งประวัติของการสร้างและการจัดการสวนชา การรักษาสวนชาโบราณให้ดำรงอยู่ได้หลายร้อยปีแม้กระทั่งกว่าพันปี ถือเป็นสิ่งมหัสจรรย์ที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ทางอารยธรรมของมนุษย์ แม้ ณ วันนี้ ยังเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่พวกเราใช้อ้างอิงและเรียนรู้


        4. การกระจายของต้นชาโบราณ
        ส่วนใหญ่พวกมันกระจายอยู่ในเขตพื้นที่ผลิตชาดั้งเดิมภายใต้การควบคุมดูแลของเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา เมืองผูเอ๋อร์และเมืองหลิงชางในอวิ๋นหนาน นอกจากสามเขตพื้นที่นี้แล้ว พื้นที่อื่นๆในหยินหนานส่วนใหญ่ถือเป็นต้นชาไม้ต้นใหญ่ที่อายุต้นยังอ่อนและต้นชาไร่ ส่วนต้นชานอกเขตมณฑลอวิ๋นหนาน รวมทั้งใต้หวันและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นต้นชาพันธุ์ใบกลางเล็ก 
        ต้องการชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าประเทศอินเดียได้เคยค้นพบต้นชาต้นใหญ่พันธุ์ป่าในเขตพื้นที่รัฐอัสสัม แต่ต้นชาในเขตพื้นที่ผลิตชาของอินเดียยังเป็นต้นชาพันธุ์ใบกลางเล็ก ซึ่งอายุของต้นชาเฉลี่ยอยู่ภายใน100ปี จะไม่พบต้นชาไม้ต้นใหญ่ดำรงอยู่ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงต้นชาโบราณ ดังนั้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญประวัตศาสตร์ด้านชายุคนี้ยิ่งโน้มเอียงมาทางการรับรู้เช่นนี้ : หลังจากอังกฤษยึดครองอินเดียแล้ว บริษัทอินเดียตะวันออกภายใต้การนำของอังกฤษ อาศัยความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีน ได้นำพันธ์ชาจากฝูเจี้ยน(福建)และเจียงเจ้อ(江浙)เข้าไปในอินเดีย ข้อมูลบันทึกทางประวัติศาสตร์ทางด้านนี้มีมากมาย ล้วนยืนยันคำกล่าวที่ว่าการเพาะปลูกชาและการผลิตชาในอินเดียและประเทศแถบเอเชียใต้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน... 



แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ》 ตอนที่ 1---เขียนโดย เฉินเจี๋ย
http://www.wtoutiao.com/p/ef01FN.html

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (2)

โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 01 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย 
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/