4.2 เครื่องลายครามรัชศกหย่งเล่อยุคหมิง/明永乐青花瓷
รัชศกหย่งเล่อยุคหมิง (ศักราชของจักรพรรดิจูตี้/หมิงเฉิงจู่ ปี1403-1424) เป็นช่วงปีที่โชติช่วงชัชวาลของยุคหมิง สังคมอยู่เย็นเป็นสุข เศรษฐกิจรุ่งเรือง อุตสาหกรรมเครื่องเคลือบจิ่งเต๋อเจิ้นก็เจริญก้าวหน้าและเทคโนโลยีพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้รัชศกหย่งเล่อกลายเป็นรัชศกสุดยอดยุคหนึ่งในในประวัติศาสตร์เครื่องเคลือบจีน
▲เครื่องลายครามจานลายทะเลมังกร รัชศกหย่งเล่อยุคหมิง ปากกว้าง 30.5 ซม.
• สารสีคราม
เครื่องลายครามรัชศกหย่งเล่อใช้สารสีคราม 2 ชนิด : ชนิดหนึ่งคือ “ซูหมาหลีชิง” บางส่วนนำเข้าโดยเจิ้งเหอที่ออกกองเรือเดินสมุทรทั้งสิ้น 7 ครั้ง เป็นสารสีครามที่มีค่าแมงกานีสต่ำเหล็กสูง สำแดงสีน้ำเงินเข้มสด มีการแผ่ซ่าน เกิดผลึกสนิมเหล็ก ; อีกชนิดหนึ่งคือ “สารสีครามจากจีน” ที่มีระดับความบริสุทธิ์สูง สำแดงสีน้ำเงินค่อนไปทางอ่อนละมุ่น เกิดสนิมเหล็กน้อยมาก แล้วยังมีการนำสารสีครามนำเข้าและสารสีครามจากจีนมาใช้ประกอบร่วมกัน
▲เครื่องลายครามไหเหมยผิงลายกิ่งดอกผลไม้ รัชศกหย่งเล่อยุคหมิง สูง 35.5 ซม.---ใช้สารสีครามนำเข้า ภายใต้สภาวะการเผาที่เหมาะสม สีจะสำแดงน้ำเงินแวววาวดั่งพลอย สีสันสง่างาม เข้มจางเด่นชัด เกิดการแผ่ซ่านอย่างธรรมชาติ
▲เครื่องลายครามกาทรงแบนลายเมฆมังกร รัชศกหย่งเล่อยุคหมิง สูง 44.5 ซม.---ใช้สารสีครามนำเข้าและสารสีครามจากจีนมาประกอบร่วมกัน นำสารสีครามจากจีนที่สีอ่อนมาเขียนระบายลายเมฆ สารสีครามนำเข้าที่สีเข้มเขียนระบายลวดลายมังกร ทำให้เกิดโทนสีที่ตัดกัน
• ลักษณะเฉพาะ
เครื่องลายครามรัชศกหย่งเล่อโดยพื้นฐานได้หลุดพ้นจากลักษณะเฉพาะของเครื่องลายครามรัชศกหงหวู่ช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคหยวนไปสู่ยุคหมิง บนพื้นฐานการสืบทอดศิลปกรรมการผลิตเครื่องเคลือบยุคหยวน และก็ดำเนินการคิดสร้างนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง ได้ทำการปรับเปลี่ยนเอกลักษณ์เฉพาะของเครื่องลายครามรัชศกหงหวู่ ปรับลดขนาดลงไม่ใหญ่เทอะทะ เริ่มแนวโน้มไปทางภาชนะใช้สอยได้จริง ไม่ใช่แบบรัชศกหงหวู่ที่หลักใหญ่เพื่อการประดับตกแต่งเป็นหลัก รูปลักษณ์ที่ประหลาดแปลกตาจำนวนมากของเครื่องลายครามหย่งเล่อ ล้วนคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมอิสลาม โดยทำเลียนแบบภาชะเครื่องเงินทอง/แก้วกระเบื้อง/ดินเผา ซึ่งเป็นภาชนะที่ถวายเป็นเครื่องบรรณาการจากดินแดนตะวันตก
▲เครื่องลายครามถ้วยลายไผ่หิน รัชศกหย่งเล่อยุคหมิง สูง 7.1 ซม. ปากกว้าง 16.4 ซม.---พื้นที่วาดภาพให้มีพื้นที่ว่างเปล่ามาก ดูแล้วให้ความรู้สึกที่สละสลวย เป็นการหลุดพ้นจากอิทธิพลของเอกลักษณ์แบบดั้งเดิมของยุคหยวน/รัชศกหงหวู่ยุคหมิงที่เขียนลวดลายอย่างหนาแน่น สามารถกล่าวได้ว่าเป็นชิ้นงานเชิงสัญลักษณ์ในการคิดสร้างสรรค์เอกลักษณ์ทางการเขียนลายตกแต่งใหม่บนเครื่องเคลือบรัชศกหย่งเล่อ
▲เครื่องลายครามคนโทลายมังกรดั้นดอกบัว รัชศกหย่งเล่อยุคหมิง สูง 42.2 ซม. เก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานกู้กงไทเป
▲เครื่องลายครามไหเหมยผิงพร้อมฝาลายไผ่หินใบกล้วย รัชศกหย่งเล่อยุคหมิง สูง 41 ซม. เก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานกู้กงไทเป
▲เครื่องลายครามปั้นทรงหมวกพระลายอักษรเทวนาครี รัชศกหย่งเล่อยุคหมิง---เผาผลิตเลียนแบบภาชนะโลหะทองที่ใช้ในศาสนาพุทธแบบทิเบต ตั้งชื่อเนื่องจากปากปั้นมีรูปลักษณะคล้ายหมวกของพระ
▲เครื่องลายครามฐานรองเทียนทรงแปดเหลี่ยมลายดอกไม้ รัชศกหย่งเล่อยุคหมิง สูง 38.5 ซม.---รูปแบบของฐานรองเทียนนี้เผาสร้างเลียนแบบฐานรองเทียนทองแดงในมัสยิดแถบตะวันออกกลาง ฐานรองเทียนทองแดงเป็นที่นิยมทางแถบอียิปต์โบราณและซีเรีย
▲เครื่องลายครามกระติกน้ำหูห่วงคู่เรียบแบนลายเถาวัลย์ดอกบัว รัชศกหย่งเล่อยุคหมิง สูง 46 ซม. หลังกว้าง 35 ซม. เก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานกู้กงไทเป---รูปแบบพิเศษเฉพาะคล้ายเต่า เผาผลิตขึ้นโดยเลียนแบบภาชนะทองแดงของอาหรับวัฒนธรรมเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือเรียนขานเป็น “กาหมอบ/卧壶”
▲เครื่องลายครามชามกะละมังลายเถาวัลย์ดอกไม้ รัชศกหย่งเล่อยุคหมิง สูง 13.9 ซม. ปากกว้าง 31.6 ซม. ฐานว้าง 21.5 ซม. เก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานกู้กงไทเป---รูปแบบใหม่ที่คิดสร้างสรรค์เผาขึ้นมาโดยได้รับอิทธิพลของเครื่องเงินทองจากประเทศทางเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
• ตราประทับ
เครื่องลายครามรัชศกหย่งเล่อทั่วไปจะไม่มีตราประทับ มีจำนวนน้อยมากๆที่ประทับตราปีศักราช มีเพียง “จอกกระชับมือ/压手杯” จากเตาหลวงที่มีตราประทับโดยเขียนอักษรจ้วน “永樂年製/ผลิตปีหย่งเล่อ” สี่ตัวลงบนกลางก้นภายในจอก ล้อมรอบด้วยตราลายคราม “狮绣球心/สิงโตคู่เล่นซิ่วฉิว” “花心/ดอกไม้” “鸳鸯围/ยวนยังเว่ย” ส่วนผลิตภัณฑ์จากเตาเผาเอกชนมีตราประทับอักษร “福/ฮก ; 录/ลก ; 夀/ซิ่ว ”
▲เครื่องลายครามจอกกระชับมือลายเถาวัลย์ดอกไม้ รัชศกหย่งเล่อยุคหมิง สูง 5.4 ซม. ปากกว้าง 9.1 ซม. เก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานกู้กงไทเป---เมื่อพูดถึงเครื่องลายครามรัชศกหย่งเล่อแล้ว ที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุดก็คือถ้วยกระชับมือลายเถาวัลย์ดอกไม้ มันเป็นภาชนะวัตถุหนึ่งเดียวในบรรดาเครื่องลายครามเตาหลวงรัชศกหย่งเล่อทั้งที่ตกทอดและการขุดพบที่พบเห็นได้จนถึง ณ ทุกวันนี้ที่ประทับตรายุคสมัย
▲ตราประทับ “永樂年製” เขียนกลางตรา “สิงโตคู่เล่นซิ่วฉิว” ที่กลางก้นภายในจอกกระชับมือลายเถาวัลย์ดอกไม้ รัชศกหย่งเล่อยุคหมิง
▲ตราประทับ “永樂年製” เขียนกลางตรา “ดอกไม้” ที่กลางก้นภายในจอกกระชับมือลายเถาวัลย์ดอกไม้ รัชศกหย่งเล่อยุคหมิง
▲ลักษณะตัวอักษรจ้วน “永樂年製/ผลิตปีหย่งเล่อ” สี่ตัว
▲เครื่องลายครามถ้วยลายดอกไม้พันซิ่วฉิวอักษร “福” เตาเผาเอกชนรัชศกหงหวู่/หย่งเล่อยุคหมิง
แม้เครื่องลายครามรัชศกหย่งเล่อที่เขียนประทับตรายุคสมัยมีจำนวนน้อยมากๆ แต่ถือเป็นผู้บุกเบิกให้มีการเขียนประทับตรายุครัชศกขึ้นบนวัตถุภาชนะเตาหลวงยุคหมิง/ชิง
เอกสารอ้างอิง :