ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (6)
古茶树之谜 (六)
การผสมละอองเกสรดอกไม้ข้ามพันธุ์กันอีกหนึ่งความเป็นไปได้ของอายุยืนของต้นชาโบราณ
ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่พวกเราได้พิเคราะห์ ก็คือการผสมละอองเกสรดอกไม้ข้ามพันธุ์กัน(异花授粉) ในสภาวะแวดล้อมที่มีความหลากหลายทางลักษณะของพืชจะง่ายต่อการผสมข้ามพันธุ์กันแล้วเกิดปรากฏการณ์วิวัฒนาการของพืชพรรณ ”ลูกผสม(杂交)” ความหลากหลายทางลักษณะของพืชก็นำไปสู่ความหลากหลายทางลักษณะของยีน ชีวโมเลกุลยุคสมัยนี้ได้เสนอการแปรเปลี่ยนของยีนหลายลักษณะจากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เดิมท่ามกลางยีนของสปีชีส์มีความสัมพันธ์ทางแหล่งกำเนิดเดียวกัน แต่ก็มีจุดแตกต่าง : ในกลไกการถ่ายละอองเรณูของพืช ถ้าหากมียีนจากแหล่งอื่นเล็กน้อยอยู่บนท่อเกสรดอกไม้ ก็จะสามารถถูกพาเข้าไปผสมกับไข่อ่อนได้ ในโลกของสิ่งมีชีวิตระหว่างกลุ่มประชากรที่แตกต่างกันจะมียีนสปีชีส์ที่แตกต่างกัน และมียีนสปีชีส์ที่ผสมพันธุ์กันได้ ซึ่งนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษาและพัฒนาการทางความหลากหลายทางลักษณะของสปีชีส์ ลักษณะเช่นนี้ทำให้พวกเราสามารถเข้าใจความเป็นมาของความหลากหลายทางลักษณะของสปีชีส์ ยีนจะเกิดการปรวนแปรตลอดเวลา—แม้ว่าจะอยู่ในร่างสิ่งมีชีวิตระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตยังเกิดความเสียหายและการซ่อมแซมของยีนอย่างสม่ำเสมอ
บนกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลายพันล้านปีมานี้ จาการที่โมเลกุลDNAได้ก่อตัวขึ้นมาจนถึงความสลับซับซ้อนของข้อมูล ผ่านการแลกเปลี่ยนรหัสทางพันธุกรรมระหว่างกลุ่มประชากรที่แตกต่างกัน ต่างสปีชีส์แต่มีบรรพรุษเดียวกัน ระหว่างพวกมันมีลักษณะที่ร่วมกัน แต่ก็มีลักษณะเฉพาะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันมาก สมมุติมีสองสปีชีส์ที่ไม่ใช่ร่วมสายโลหิตเดียวกัน ยีนบางส่วนของพวกมันยังคงความแตกต่างกันอยู่ แต่ยีนจากภายนอกจะแสดงผลได้โดยสามารถถ่ายทอดผ่านสื่อกลางชนิดต่างๆเข้าไปในร่างใหม่ ทำให้เกิดลักษณะใหม่ นี้จึงก่อให้เกิดความหลากหลายทางลักษณะของสิ่งมีชีวิต—นั่นก็แสดงว่าการเปลี่ยนย้ายหน่วยพันธุกรรมดำรงอยู่ในทางธรรมชาติ อย่างเช่นข้าวโพดพันธุ์ป่าชนิดหนึ่ง ก็เรียกเป็นหญ้าต้นใหญ่ ที่มีสัณฐานแตกต่างกับข้าวโพดพันธุ์เพาะปลูกมาก แต่ในทางธรรมชาติสองพันธุ์นี้สามารถผสมพันธุ์กันได้ ข้าวสาลีเฮกซาพลอยด์ที่มีโครโมโซม 6 ชุด นั่นก็แสดงว่าประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตมี 3 จีโนม(Genome)ที่ไม่เหมือนกันมาผสมกันเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่
โลกของสิ่งมีชีวิตเต็มไปด้วยการแลกเปลี่ยนและการเชื่อมโยงของการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรม ข้อมูลทางพันธุกรรมนี้ก็คือองค์ประกอบในการเรียงลำดับของเบสในDNA ยีนลักษณะหนึ่งก็คือลำดับของเบสที่เฉพาะเจาะจงลำดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีลำดับเบสในDNAจำนวนมากคัดสำเนาออกมาเป็นโมเลกุลRNAจำนวนหนึ่ง ลักษณะของยีนผ่านการควบคุมของRNA ความหลากหลายของข้อมูลทางพันธุกรรมเป็นพื้นฐานของความหลากหลายทางลักษณะของสปีชีส์ พวกเราก็ดำรงชีวิตอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายใบนี้
เมื่อทำการศึกษาลึกเข้าไปในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางพันธุกรรมท่ามกลางสปีชีส์ที่ไม่เหมือนกัน พวกเราจะตะลึงกับรหัสลึกลับท่ามกลางกลุ่มสิ่งมีชีวิตทางธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น Green Leaf Volatiles ชนิดหนึ่งมีความสามารถที่สำคัญด้านหนึ่งคือหลอกล่อแมลงมาเปลี่ยนถ่ายละอองเกสร การศึกษานิเวศวิทยาโมเลกุลเช่นนี้คุ้มค่าที่ควรศึกษาเชิงลึกมากขึ้น เมื่อทำการศึกษาการควบคุมยีนของสารกลิ่นหอมชาผูเอ๋อร์ที่ห้องทดลองของพวกเราได้คันพบว่า เชื้อราที่อาศัยอยู่ในพืชจะได้รับยีนที่เกี่ยวข้องบางชนิดจากพืชกาฝาก ยีนบางชนิดของพืชจะเข้าไปในจีโนมของเชื้อจุลินทรีย์ ไปกระตุ้นให้เกิดสาร Secondary Metabolites บางชนิดขึ้นมา นี้อาจเป็นเส้นทางหลักที่ Linalool(芳樟醇:สารกลิ่นหอมชาผูเอ๋อร์) กำเนิดขึ้นมา นี้เป็นการเปลี่ยนย้ายหน่วยพันธุกรรมทางธรรมชาติ ปัจจุบันพวกเรามีความรู้ทางด้านนี้ยังน้อยมาก สำหรับความหลากหลายของการปรวนแปรเชิงซ้อนของปรากฏการณ์สิ่งมีชีวิต เป็นสิ่งจะต้องคิดพิจารณาและวิเคราะห์เชิงลึกมากขึ้น ดังนั้น พวกเราจึงให้ความสนใจอย่างมากกับสวนชาโบราณโดยตลอดมา และยืนหยัดที่จะเชื่อว่ามันคือสวนชาที่ถูกออกแบบและจัดวางโดยวิถีทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด เช่นกรณีความหลากหลายทางลักษณะของชีวภาพที่เป็นพื้นฐานของมัน แน่นอน การผสมละอองเกสรดอกไม้ข้ามพันธ์กันที่เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์อายุยืนของต้นชาโบราณ ยังเป็นเพียงสมมุติฐานหนึ่งทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เป็นข้อสรุป...
แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ》 ตอนที่ 6---เขียนโดย เฉินเจี๋ย
http://www.wtoutiao.com/p/fa1m7l.html
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (5)
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (7)
โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น