ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (5)
古茶树之谜 (五)
“การออกแบบโดยภูมิปัญญาพระเจ้า” หรือ “การเปลี่ยนแปลงโดยวิวัฒนาการ”
เมื่อตอนที่พวกเราเริ่มทำการสืบหาความจริงถึงปริศนาอายุยืนของต้นชาโบราณ ขาข้างหนึ่งของพวกเราได้ก้าวเข้าไปในบริบทของชีวโมเลกุล และพัวพันเชื่อมโยงถึงการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมในต้นชา รวมถึงปัญหาของการกำหนดข้อมูลแรกสุดทางพันธุกรรม
จากแนวความคิด ”ทฤษฎีวิวัฒนาการ” ของชาร์ล ดาร์วิน(Darwinism) พวกเราจะนำ ต้นชาพันธุ์ป่า—ต้นชาแบบส่งผ่าน—ต้นชาแบบเพาะปลูกโดยมนุษย์ มาทำการหาเหตุผลตามขั้นตอน แล้วได้ต้นชาโบราณจากการแปรผันและการคัดเลือกโดยธรรมชาติเพื่อให้เหมาะกับสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่พิเศษเฉพาะ 3 ขั้นตอนที่ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ได้ผ่านมา ประจวบตรงกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติของ ”กระบวนวิวัฒนาการ” ของพืช ถ้าเช่นนั้น ยีนอายุยืนของต้นชาโบราณก็คือผลของวิวัฒนาการใช่หรือไม่? คำตอบอาจจะไม่ใช่
เนื่องจากพืชและลัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งระบบสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ก่อนอื่นคำสั่งรวมของเซลล์แรกจะต้องกำหนดและเก็บรวบรวมไว้ในDNAและนิวเคลียส ก่อนที่ต้นชาพันธุ์ป่าต้นแรกจะถือกำเนิดขึ้น จะต้องมีเซลล์แรกก่อตัวขึ้นมาก่อน เซลล์แรกที่ก่อตัวขึ้นมานี้แรกเริ่มรหัสDNAของมันถูกกำหนดขึ้นมาแล้ว รวมถึงข้อมูลทางพันธุกรรมลักษณะหนึ่ง—ยีนอายุยืน DNAประกอบด้วย4รหัสทางเคมีเก็บรวบรวมข้อมูล และ4รหัสทางเคมีนี้มีการเรียงลำดับอย่างสลับสับซ้อน ซึ่งรูปร่างเป็นเกลียวคู่ที่ทุกวันนี้เราเรียกว่าโพลินิวคลีโอไทด์(Polynucleotide) เป็นที่เก็บรวบรวมและถ่ายทอดคำสั่งรวมต่างๆ ซึ่งความคจริง ยีนอายุยืนของต้นชาโบราณก็แอบซ่อนอยู่ในรหัสที่เรียงลำดับของเบสในDNAนั่นเอง จวบจนทุกวันนี้ เป็นไปตามที่ชีวโมเลกุลได้พัฒนาไปทางบริบทเชิงลึกมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อต้องมาเกี่ยวโยงกับการกำเนิดของชีวิต(รวมทั้งการกำเนิดของสรรพชีพ(The Origin of Species)) บรรดานักวิทยาศาสตร์ยิ่งมายิ่งเกิดการตระหนักรู้ว่า บรรดาสิ่งมีชีวิตอย่างน้อยเมื่อตอนเซลล์แรกได้ก่อตัวขึ้น ยังไม่สามารถนำแนวความคิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติใน ”ทฤษฎีวิวัฒนาการ” ของดาร์วินมาอธิบายได้ เฉกเช่นเดียวกัน ยีนอายุยืนของต้นชาโบราณไม่ใช่ผลของวิวัฒนาการ แต่กำเนิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม คือข้อกำหนดลักษณะทางพันธุกรรมในเซลล์แรกที่ก่อกำเนิดขึ้นมาก่อนที่ต้นชาพันธุ์ป่าต้นแรกจะก่อตัวขึ้น ถ้าเช่นนั้นใครคือผู้ออกแบบ? โดยทางธรรมชาติ? หรือพระเจ้าสร้างมา? ยังคงเป็นปริศนาตราบจนถึงทุกวันนี้
สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติมคือ บรรดานักวิทยาสาสตร์ที่ทำการศึกษาวิจัยการกำเนิดของชีวิตและการออกแบบของชีวิต(รวมทั้งโครงสร้างภายในและสัณฐานภายนอก) ในหนังสือ 《Opticks》ของเซอร์ไอแซก นิวตัน ได้เขียนไว้ว่า : “ร่างกายของสัตว์เหตุไฉนถึงออกแบบมาเชิงศิลปะเช่นนี้ ส่วนต่างๆของมันมีขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์อันใด การออกแบบตาโดยปราศจากเทคนิคทางแสง และการออกแบบหูโดยปราศจากความรู้ทางเสียง? ในเมื่อผลงานเหล่านี้ออกมาได้เหมาะเจาะเพียงนี้ มองจากปรากฏการณ์เช่นนี้จะไม่มีสิ่งที่จับต้องไม่ได้ มีอิทธิฤทธิ์ ปัญญาแฉบแหลม ดำรงอยู่ใช่หรือไม่?”
เขาเป็นตัวแทนของนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งที่มีความเชื่อโดยตลอดว่า เบื้องหลังของโครงสร้างที่เยี่อมยอดของมนุษย์ในโลกของสิ่งมีชีวิตและพืชพรรณจำนวนมากเกิดจากการออกแบบของพลังทางปัญญาที่ดำรงอยู่ คือ “พระเจ้า” สัตว์และพืชชั้นสูงล้วนเป็นผลงานจาก “การออกแบบโดยภูมิปัญญาพระเจ้า”
แต่ดาร์วินมีความเห็นต่าง ปี 1859 เขาได้เขียนหนังสือ《การกำเนิดของสรรพชีพ》โดยได้อธิบายแนวความคิด ”ทฤษฎีวิวัฒนาการ” อย่างละเอียด เขาเชื่อว่าสรีระของสิ่งมีชีวิตมีความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ และสามารถที่จะแปรผันตามสภาวะและเกิดกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ แต่หนังสือเล่มนี้ยังมีจุดตำหนิ ก็คือไม่ได้พยายามที่จะอธิบายถึงปัญหาของการกำเนิดชีวิตแรก สิ่งที่เขาค้นหาคือเพื่อมาอธิบายลักษณะของชีวิตใหม่วิวัฒนาการจากชีวิตที่ไม่ซับซ้อนแต่มีความสามารถในการสืบพันธุ์ได้อย่างใด ทฤษฎีของเขาต่อการกำเนิดของชีวิตแรกเพียงจากการสร้างไม่ใช่จากการอธิบาย
ด้วยประการฉะนี้ ทำให้วงการวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือวิทยาศาสตร์ทางอุดมคติและวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาตินิยม ซึ่งจะมาถกเถียงในกรอบของชีวโมเลกุลขั้นสูงสุด ตราบจนถึงทุกวันนี้ การโต้แย้งยังดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง ตามหลักข้อโต้แย้งนี้น่าจะยุติได้ในปี 1953 เพราะว่าในปีนั้นวงการวิทยาศาสตร์ได้เกิดเรื่องยิ่งใหญ่เรื่องหนึ่ง : คือนักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐ เจมส์ ดี. วัตสัน และ ฟรานซิส คริก(James D. Watson & Francis Crick) เป็นผู้รวบรวมข้อมูล และสร้างแบบจำลองโครงสร้างของDNA เดิมคิดว่าการค้นพบDNAจะมาช่วยเสริมในความไม่สมบูรณ์ของ ”ทฤษฎีวิวัฒนาการ” ของดาร์วิน เพราะว่าวัตสันและคริกมีแนวความคิดเฉกไปทางเดียวกับ ”ทฤษฎีวิวัฒนาการ” แต่สิ่งที่ทำให้พวกเขาคาดคิดไม่ถึงคือ การค้นพบDNAแก้เงื่อนงำอันลึกลับหนึ่งได้ แต่ก็สร้างสิ่งลี้ลับอีกหนึ่งขึ้นมา ทำนองเดียวกันกับการเข้าไปในปัญหาการกำหนดการเรียงลำดับของเบสในDNAของเซลล์แรก ถ้าจะกล่าวว่าข้อโต้แย้งที่ผ่านมาอยู่ในกรอบของการกำเนิดของชีวิตแล้วไซร์ ถ้าเช่นนั้นข้อโต้แย้งนี้ก็นำเข้าสู่หัวข้อใหม่ คือปัญหาของการกำเนิดชีวสารสนเทศ(生物信息) เป็นที่น่าเสียใจ ตราบจนถึงทุกวันนี้สองข้อโต้แย้งนี้ยังไม่มีข้อสรุป ทำนองเดีนวกันต้นชาโบราณและยีนอายุยืนที่เฉพาะของมัน พวกเรารู้เพียงว่ามันกำเนิดขึ้นในหยินหนาน แต่เป็นการยากที่จะนำเสนอข้อสรุปทางวิทยสศาสตร์ที่ถูกต้องที่สามารถใช้สัญลักษณ์ทางเคมีมาอธิบายได้...
แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ》 ตอนที่ 5---เขียนโดย เฉินเจี๋ย
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ
(4)
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (6)
โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 09 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (6)
โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 09 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น