วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ-3)

普洱茶能降低猝死风险吗? (下)

5. ประเมินผลด้านความปลอดภัยในการบริโภค
五,食用安全性评介价



        เมื่อใบชาที่จัดเป็นเครื่องดื่มปรากฏความต้องการทางวิธีการเตรียมและการดื่มขึ้นมาใหม่ เมื่อวิธีการแบบนี้มีวัตถุประสงค์ทางยารักษาเจาะจงเป้าหมายเสมือนอย่างเด่นชัด เมื่อนั้นชาได้หลุดพ้นจากบริบทของการดื่มชาแบบดั้งเดิม กลายเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณลักษณะ “ใช้ในทางการแพทย์พิเศษ”(Special Medical Purpose) เครื่องดื่มชนิดใช้ใบชาเป็นวัตถุดิบ ผ่านการเตรียมที่พิเศษและการดื่มที่เฉพาะเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันได้ ซึ่งก็คือเครื่องดื่มที่บทความนี้เสนอแนะ

        ดังนั้น สำหรับเครื่องดื่มที่มีสารบางตัวที่เป็นองค์ประกอบที่ “เกินขนาด” และมีความต้องการพิเศษของวิถีการดื่ม จะมีปัญหาด้านความปลอดภัยด้านการบริโภคหรือไม่ ? เครื่องดื่มชนิดนี้เหมาะสำหรับกลุ่มคน เป็นที่ต้องห้ามสำหรับกลุ่มคน และสารที่ “เกินขนาด” อาจแปรสภาพเกิดผลความเสี่ยงทางความเป็นพิษหรือไม่ ? พวกเราล้วนต้องใช้หลักการพิษวิทยา(Toxicology Principle)เพื่อยืนยันปริมาณการบริโภคต่อครั้งที่ปลอดภัยของสารนั้นๆ เพื่อดำเนินการควบคุมความเสี่ยงโดยผ่านการประเมินความเสี่ยง มันเป็นรายละเอียดสำคัญในการบริหารจัดการคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารยุคสมัยใหม่ ซึ่งวัตถุประสงค์ก็คือการรับประกันความน่าเชื่อถือต่อความปลอดภัยของอาหาร การประเมินความปลอดภัยครั้งนี้มีเนื้อหาครอบคลุมถึงองค์ประกอบทั่วไปของอาหาร สารปนเปื้อนจากสภาพแวดล้อม ยาเคมีเกษตร สารพิษธรรมชาติ สารพิษจากเชื้อราและสารอื่นๆอันน่าสงสัยที่อาจค้นพบในอาหารเป็นต้น เนื่องจากข้อจำกัดทางตัวอักษรจะยาวเกินไป บทความนี้จึงขอบ่งชี้ออกเพียง 3 ประเด็น :

        อันดับ 1 ความต้องการทางวิธีการเตรียมและการดื่มของ “ชาเข้ม” 2 แบบดังกล่าวข้างต้น จัดอยู่ในบริบทของ “อาหารการแพทย์พิเศษ”(FSMP : Foods for Special medical Purpose) สำหรับคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคลมชักและโรคหัวใจและหลอดเลือดแล้ว แนะนำให้ไปทำการรักษาที่โรงพยาบาลที่มาตรฐาน ตรวจหาต้นกำเนิดของโรคเหล่านี้ ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค บนพื้นฐานที่รู้ซึ้งถึง พยาธิกำเนิด(Pathogeny) พยาธิวิทยา(Pathology) ตำแหน่งของโรคแล้ว ก็ทำการบำบัดรักษาให้ถูกโรค ส่วนจะใช้วิธีการ 2 แบบดังกล่าวข้างต้นในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ เป็นอำนาจการตัดสินใจของนายแพทย์โรงพยาบาล จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ มีเพียงภายใต้การอนุญาตจากนายแพทย์ผู้ทำการรักษา จึงจะสามารถใช้ได้

        อันดับ 2 วัตถุดิบใบชาอาจเนื่องจากยาเคมีเกษตรและธาตุโลหะหนักมีค่าเกินมาตรฐานอันนำมาซึ่งความเสี่ยง เป็นความเสี่ยงที่จัดอยู่ในอันดับแรก  เป็นเพราะว่า “ชาเข้ม” โดยตัวของมันเองก็จะมีสารประกอบเคมีต่างๆเพิ่มขึ้นเป็น 2-3 เท่าอย่างมีนัยสำคัญ ยาเคมีเกษตรและธาตุโลหะหนักก็เป็นเช่นนี้ มันไม่เพียงแต่ไม่สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน กลับกันจะเพิ่มความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันให้สูงขึ้นอันเนื่องจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นต้นมีอาการหนักขึ้น ดังนั้น การควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรก ปัจจุบัน ผู้ทำงานอยู่ในแวดวงใบชามีอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคลมชักและโรคเบาหวานไม่ได้ต่ำกว่ากลุ่มคนทั่วไป พวกเขาได้สัมผัสกับใบชาทุกๆวัน ทุกวันต้องทำการดื่มใบชาก็ไม่น้อย ซึ่งน่าจะเป็นแถบที่เกิดโรคเหล่านี้ต่ำ แต่สถานการณ์ความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม สาเหตุเนื่องจากยาเคมีเกษตรและธาตุโลหะหนักเกินค่ามาตรฐาน โดยเฉพาะสมรรถภาพทางการสะสมภายในร่างกาย กลับทำให้ผู้ทำงานใบชามีความเป็นไปได้ที่ป่วยเป็นโรคอยู่ในสถานะที่ “ความชัน” ขึ้นตลอด ในช่วงอายุ 45 ถึง 60 ปีจะแสดงอาการอย่างเห็นได้ชัดเป็นพิเศษ ปัจจุบันยิ่งมีข้อบ่งชี้ขยายไปทางกลุ่มคนอายุประมาณ 40 ปี จึงขอเสนอว่า กล่าวทางด้านการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันแล้ว จะต้องตรวจเช็คยาเคมีเกษตรตกค้างและธาตุโลหะหนักของวัตถุดิบใบชาอย่างเข้มงวด ต้องให้ได้ค่าที่ปลอดภัยจึงจะสามารถใช้ได้ หรือใช้วิธีการแบบที่ 2 ที่บทความนี้นำเสนอ(วิธีการเตรียมของศิลาชา) ที่สามารถขจัดความเสี่ยงจากยาเคมีเกษตรตกค้างและธาตุโลหะหนักเกินค่ามาตรฐาน

        อันดับ 3 ประเมินผลด้านปริมาณที่บริโภคต่อครั้ง(Dosage)ที่ปลอดภัยของคาเฟอีน ประเด็นสำคัญของการประเมินความปลอดภัยครั้งนี้ ในการดำเนินการทดลองทางชีววิทยาต่อการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันของชาผูเอ๋อร์ของพวกเรา โดยให้ร่างกายได้รับคาเฟอีนในปริมาณที่บริโภคต่อครั้ง แล้วทำการประเมินความปลอดภัยทางวิถีเมแทบอลิซึม(Metabolic Pathway) เหตุผลของการใช้คาเฟอีนเป็นเป้าหมายของการประเมิน นั่นเป็นเพราะว่ามันเป็นมวลสารปฐมภูมิ(Primordial Matter)ในใบชาที่ถูกมองเป็นสารที่เมื่อบริโภคเกินปริมาณแล้วจะนำมาซึ่งความเสี่ยงทางความปลอดภัย วงการวิทยาศาสตร์นานาชาติก็ได้ทำการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมากแวดล้อมสารตัวนี้  ซึ่งมีกลไกการกินดังนี้ : คาเฟอีนหลังจากบริโภคเข้าสู่ร่างกายแล้วภายใน 45 นาทีจะถูกกระเพาะและลำใส้เล็กดูดซึมหมด หลังการดูดซึมมันจะแผ่ซ่านเข้าไปในอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย ซึ่งกระบวนการแปรสภาพจัดเป็นจลนศาสตร์เคมี(Chemical Kinetics)ปฏิกิริยาอันดับ 1 (First-Order Reaction) ระยะครึ่งชีวิต(Half Life : คือระยะเวลาที่คาเฟอีนที่ถูกดูดซึมถูกร่างกายแปรสภาพเหลือครึ่งเดียว)จะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องเช่น อายุ ระดับการทำงานของตับ ภาวะตั้งครรภ์ และการใช้ยาชนิดอื่นร่วมกับปริมาณของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายคาเฟอีนในตับ เป็นต้น ระยะครึ่งชีวิตของคาเฟอีนในผู้ใหญ่ที่สุขภาพแข็งแรงประมาณ 3-4 ชม. ภายในร่างกายผู้หญิงที่ทานยาคุมกำเนิดจะยืดยาวออกไปเป็น 5-10 ชม. ภายในร่างกายผู้หญิงที่ตั้งครรภ์แล้วจะประมาณ 9-11 ชม. ช่วงที่ร่างกายบางคนป่วยด้วยโรคตับระยะรุนแรง คาเฟอีนจะเกิดการสะสม ระยะครึ่งชีวิตจะยืดยาวออกไปถึง 96 ชม. ระยะครึ่งชีวิตในทารกหรือเด็กอาจยาวนานกว่าผู้ใหญ่ ภายในร่างกายของทารกแรกเกิดอาจยาวนานถึง 30 ชม. ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์และเด็กทารกห้ามบริโภค

        คาเฟอีนที่ถือเป็นตัวแทนของสารอัลคาลอยด์ส่วนใหญ่จะถูกเมแทบอลิซึมที่ตับ ออกซิเดชั่นโดยเอนไซม์ไซโตโครม(Cytochrome Oxidase) แปรสภาพเป็นอนุพันธุ์ไดเมทิลแซนธีน(Dimethylxanthine) 3 ชนิดที่ไม่เหมือนกันและมีผลต่อร่างกายแตกต่างกัน ในนี้ พาราแซนธีน(Paraxanthine)มีผลเร่งในการสลายไขมัน ทำให้ปริมาณของกลีเซอรอลและอนุมูลอิสระกรดไขมันในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น ธีโอโบรมีน(Theobromine)มีผลในการขยายหลอดเลือดและเพิ่มปริมาณปัสสาวะ ธีโอฟิลลีน(Theophylline)มีผลทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่อยู่ล้อมรอบหลอดลมปอดคลายตัว จึงทำให้หลอดลมขยายตัวมากขึ้น อนุพันธุ์ทั้ง 3 ชนิดนี้จะถูกแปรสภาพต่อไป และถูกขับออกทางปัสสาวะในที่สุด

        ในการประเมินความปลอดภัย พวกเรามาให้ความสนใจมากที่สุดต่อปัญหาความปลอดภัยของปริมาณการบริโภคคาเฟอีน ในสภาวะทั่วไป ผู้คนที่ทำการดื่มชาแบบดั้งเดิม 30 กรัมอย่างต่อเนื่อง(ละลายในน้ำ 600-800 มิลลิลิตร ปริมาณคาเฟอีนเกินกว่า 500 มิลลิกรัม)อาจทำให้ระบบปราสาทส่วนกลางถูกกระตุ้นมากเกินไป การกระตุ้นมากเกินไปจากคาเฟอีนจะปรากฏอาการ : กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ เหงื่อออกมาก ปัสสาวะมาก หัวใจเต้นผิดปกติหรือเต้นแรง น้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณมากอาจนำไปสู่การตายอย่างกะทันหันได้(จากการที่มียาฉีดและยาเม็ดคาเฟอีนดำรงอยู่ รายงานทางการแพทย์นานาชาติได้เคยประกาศว่าอันสืบเนื่องจากการบริโภคยาเม็ดคาเฟอีนปริมาณมากเกินไปทำให้เกิดการตายอย่างกะทันหัน) ในการทดลองในสัตว์ โดยใช้หนูเป็นสัตว์ทดลอง ปริมาณคาเฟอีนที่ทำให้เกิดการตายคือ 192 มิลลิกรัม/นน.ตัว 1000 กรัม ปริมาณคาเฟอีนที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและระดับความอ่อนไหวของแต่ละคน จะโดยประมาณ 150-200 มิลลิกรัม/นน.ตัว 1000 กรัม ซึ่งคำนวณตามผู้ใหญ่ทั่วไป(หนัก 70 กิโลกรัม) ในการดื่มชาผูเอ๋อร์ไม่น้อยกว่า 350 กรัม(ชาแห้ง) โดยทำเป็น “ชาย่าง” 35 ถ้วย ศิลาชา 35 กรัม(น้ำชา 14000 มิลลิลิตร) จึงจะสามารถนำไปสู่ความเสี่ยงเช่นนี้ได้ แต่ในตวามเป็นจริง การดื่มในปริมาณมากเช่นนี้ในระยะเวลาอันสั้น(ภายใน 1 ชม.)เป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น ในการทดลองทางชีววิทยาของการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน ถึงแม้จะดื่ม “ชาเข้ม” ในปริมาณมากที่สุดเข้าไป เมื่อเทียบกับปริมาณคาเฟอีนที่อาจนำไปสู่การตายอย่างกะทันหันยังห่างกันอีกมาก ถึงกระนั้น ในน้ำชาไม่ใช่มีเฉพาะคาเฟอีน มันและสารอีกมากมาย เช่น คาเทชิน ทีโพลิแซคคาไรด์ เป็นต้นดำรงอยู่ในสถานะของสารประกอบเชิงซ้อน เมื่อหลังจากเข้าสู่ร่างกายแล้ว ก็เป็นการสนธิทำงานร่วมกัน ซึ่งรับประกันความปลอดภัย

        แม้เป็นประการฉะนี้ พวกเรก็ยังแนะนำทุกเช้าให้ดื่มชาแบบดั้งเดิม(“ชาย่าง” เสมือน) 10 กรัม ที่ทำให้เข้มข้นใน 1 ถ้วย ศิลาชา 1 กรัม(ละลายในน้ำ 400-500 มิลลิลิตร) ถ้าต้องเพิ่มปริมาณการดื่ม เพียงเป็นความต้องการที่สภาพร่างกายแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่ต้องกังวลด้านปลอดภัย ปริมาณการบริโภคที่พวกเราเสนอมานั้น เพียงให้เพียงพอกับ “ขนาดยา” ที่ต้องการต่อการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน

        การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันข้างต้น ไม่สามารถถือเป็นแนวความคิดเดียวกับการป้องกันการตายอย่างกะทันหันของชาผูเอ๋อร์ แวดล้อมการศึกษาวิจัยทางด้านนี้ยังมีงานอีกมากมายที่จะต้องทำให้สำเสร็จลุล่วง บทความนี้เพียงแค่เผยแพร่และแบ่งปันแนวความคิดทางการศึกษาวิจัยและกระบวนการศึกษาวิจัยหนึ่งเท่านั้น การริเริ่มตั้งแต่ปี 2009 พวกเราได้พยายามเริ่มการทดลอง “วิธีการเตรียมและการดื่มแบบพิเศษของชาผูเอ๋อร์ต่อการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน” กับกลุ่มคนบางส่วนที่แสดงอาการของโรค(ไม่ใช่เป็นการทดลองทางคลินิกตามมาตรฐาน) กลุ่มคนที่เข้าร่วมการทดลองไม่ใช่คนที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจและความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง อายุอยู่ระหว่าง 55-65 ปี พวกเขาโดยทั่วไปทุกเช้าต้องคงไว้ซึ่งการดื่มชาเข้ม 1 ถ้วย เสริมด้วยการออกกำลังกาย(รวมทั้งการลดความอ้วน) บริโภคอาหารที่มีความเค็มและไขมันต่ำ ช่วงเช้าและช่วงบ่ายคงไว้ซึ่งการดื่มชาหรือชิมชาในปริมาณที่เหมาะสม แต่ช่วงกลางคืนก่อนนอนจะต้องดื่ม “ชาจาง” 1 ถ้วย พวกเราได้ค้นพบว่า เมื่อวิธีการดื่มแบบนี้ได้กลายเป็นกฏระเบียบและนิสัยปฏิบัติแล้ว การลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันก็บังเกิดผลอย่างเด่นชัด แน่นอนวิถีการดื่มแบบนี้นำมาซึ่งผลดีไม่เฉพาะแค่การลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของการทำงานในร่างกาย(Body Function) โดยเฉพาะเกิดผลของ “การฟื้นตัวเกิดเอง”(Spontaneous Recovery)ที่คาดคิดไม่ถึงกับโรคบางชนิด(การฟื้นตัวเกิดเองคือสิ่งมีชีวิตอาศัยพลังชีวิตที่อยู่ภายในร่างกาย เป็นพลังชนิดหนึ่งของการรักษาชีวิตให้แข็งแรงที่ถ่ายทอดจากกรรมพันธุ์มาช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายและช่วยให้หลุดพ้นจากการป่วยและภาวะ Sub-Health) พวกเราจะทยอยเผยแพร่ออกมาในบทความต่อไป

........จบบริบูรณ์........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ)》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน สิงหาคม ปี 2016

ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ-2)     

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ-2)

普洱茶能降低猝死风险吗? (下)

4. ข้อเสนอแนะวิธีการเตรียมและการดื่ม “ชาเข้ม”
四,“浓茶” 的制备方法与饮用建议



        “ชาเข้ม” มีความหมายสามัญตามที่พวกเราเข้าใจโดยทั่วไปก็คือ “ชาที่เข้มข้นมาก” แต่ถ้าคิดจะนำชาในถ้วยเปลี่ยนให้ “เข้ม” เพื่อบรรลุ “ขนาดยา 1 ถ้วยชา” แล้วไม่ใช่ของง่ายๆ มีวิธีการ 2 แบบที่สามารถลองดู :

        1. วิธีการทำใบชาแบบดั้งเดิมให้เข้มข้นโดยตรง ใช้ใบชา(ชาแห้ง) 10 กรัม แช่ในน้ำร้อน(อุณหภูมิน้ำไม่ต่ำกว่า 85ºC) 300-400 มิลลิลิตร ระยะเวลาการแช่ไม่ต่ำกว่า 20 นาที ทุกๆ 5 นาทีจะทำการคน 1 ครั้ง เพื่อให้คาเฟอีนในใบชาค่อยๆละลายออกมาพร้อมกับสารอื่นๆ ภายใต้การคนคาเฟอีนจะค่อยๆแยกออกมาถึง 80% ขึ้นไป บรรลุ “ขนาดยา 1 ครั้ง” ตามต้องการ วิธีการแบบนี้ง่ายและสะดวก ไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษ ทุกคนล้วนสามารถทำเองได้ แนะนำให้ทำการดื่มทุกเช้าประมาณ 7:00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ดีที่สุด และให้ทำการดื่มในครั้งเดียว

        2. วิธีการสกัดใบชาแบบดั้งเดิมที่ภาวะอุณหภูมิต่ำและทำให้เข้มข้น(การผลิตใบชาเชิงลึก) วิธีการนี้คือวิธีการสกัดที่ภาวะอุณหภูมิต่ำที่ได้จากศึกษาวิจัยในช่วงที่ทำการทดลอง “การลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันของชาผูเอ๋อร์” ที่เป็นการเฉพาะของพวกเรา โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก “ชาย่าง” ภายใต้การอ้างอิงปัจจัยพื้นฐานที่สมเหตุสมผลประกอบกับการปรับปรุงทางวิทยาศาสตร์ เริ่มครั้งแรกใช้วิธีการตรียมแบบง่ายๆ เพียงเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของการทดลอง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่พื้นฐานที่สุด แต่เมื่อเข้าสู่การทดลองครั้งที่ 2 พวกเราได้เปลี่ยนแนวความคิด โดยพยายามวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิธีการนี้อันที่จริงเป็นการหมักรูปแบบใหม่จากการวิจัยและพัฒนา วิธีการนี้คิดค้นประดิษฐ์เมื่อปี 2013 และได้รับสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์แห่งชาติจีน-----《วิธีการผลิตตัวเร่งชีวภาพชนิดน้ำ ตัวเร่งชีวภาพชนิดผง และเครื่องดื่มตัวเร่งชีวภาพของชาผูเอ๋อร์》(เลขที่สิทธิบัตร : ZL 2010 1 0546286.5) จำเป็นที่ต้องบ่งชี้ออกมาก็คือ “ตัวเร่งชีวภาพ”(Biocatalyst) คือชื่อเรียกขานอีกชื่อหนึ่งของเอนไซม์ชีวภาพ ไม่มีแนวความคิดของการเป็นผลิตภัณฑ์อิสระ(การนำตัวเร่งชีวภาพว่าเป็นผลิตภัณฑ์อิสระจัดอยู่ในบริบทของวิทยาศาสตร์อันเป็นเท็จ) มันเป็นสารที่ทำให้เกิดผลเร่งในกระบวนการหมัก และเรียกขานเป็นการหมักที่มีเอนไซม์เป็นตัวเร่ง เป็นสาร “ชักนำ” ที่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์สุดท้ายคุณภาพสูง วิธีการ “ทำให้เข้มข้น” ที่ภาวะอุณหภูมิต่ำที่พวกเราใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นวิธีการเตรียมที่พวกเราทำการศึกษาวิจัยหัวข้อนี้ในขั้นตอนที่ 3 ซึ่งก็สามารถเรียกเป็น “ตัวเร่งชีวภาพชาผูเอ๋อร์” เวิอร์ชั่นอัพเกรด ซึ่งจุดสำคัญของเทคโนโลยี มีดังนี้ :

① วัตถุดิบ : ใบชาสดพันธุ์ใบใหญ่ที่ผลิตเฉพาะจากเขตชาหยินหนาน(ได้ทั้งต้นชาโบราณ ชาไร่)
② ระยะการผึ่ง 24 ชม.
③ การนวดและตากเขียว
④ ทิ้งพัก 15 วัน หน้าฝนควรยืดออกเป็น 20 วัน
⑤ อัดขึ้นรูปเป็นแผ่นเหลี่ยมใหญ่ น้ำหนัก 1000-3000 กรัม เพื่อให้พื้นที่อับอากาศมีมาก ระยะเวลา 3 เดือน 
⑥ พรมน้ำ แกะแผ่น บดเป็นของเหลวข้น
⑦ บีบอัด(เพื่อแยกของเหลวและสารเส้นใยออกจากกัน) กรองโดยเครื่องหมุนเหวี่ยง กรองแบบไมโครฟิวเตรชั่น(ขจัดยาเคมีเกษตรและธาตุโลหะหนักที่ตกค้าง) ทำให้เข้มข้นด้วยเยื่อ ทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง
⑧ นำสารที่ทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งให้คืนสู่สภาพครีม ทำเป็นชิ้นๆขนาดประมาณ 1 หรือ 2 กรัม ดำเนินการหมักครั้งที่ 2 จะเกิดไป๋ซวง(白霜: แม่คนิ้ง)บนผิวหน้า หลังจากนั้นเป็นไปตามกาลเวลาที่ล่วงเลย ไป๋ซวงจะซึมจากภายนอกเข้าไปภายในของเนื้อครีม ก่อให้เกิดจุดขาว เส้นขาวที่ไม่สม่ำเสมอ หรือขาวโพลนทั้งหมด ไป๋ซวงนี้คือสารประกอบเชิงซ้อนของสารอัลคาลอยด์สิบกว่าชนิดที่มีคาเฟอีนเป็นตัวหลักกับคาเทชินและทีโพลิแซคคาไรด์

        ข้อดีที่สุดของชาที่ตระเตรียมจากวิธีการนี้ มันไม่เพียงมีผลทางการกระตุ้นที่แรง ยังมีสรรพคุณทางสร้างความสมดุลและความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย นี่ก็คือเหตุผลที่พวกเรามาให้ความสำคัญกับผลกระทบของสารประกอบเชิงซ้อนไป๋ซวง เนื่องจากไม่ว่าสารเดี่ยวโดดๆชนิดใดๆ เช่นการบริโภคคาเฟอีนเกินกว่าปริมาณที่กำหนด จะทำให้เกิดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันสูงขึ้น ฉะนั้น ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาจึงได้กำหนดขอบเขตของการดื่มเครื่องดื่มกาแฟ ทุกคนทุกวันพยายามอย่าดื่มกาแฟเกินกว่า 5 ถ้วย มิเช่นนั้น การดื่มเกินกำหนดอาจเป็นเหตุให้การตายอย่างกะทันหันอุบัติขึ้นได้ แต่ “ชาเข้ม” แบบที่ผลิตตามข้อเสนอแนะของพวกเรา จะไม่มีปัญหาเช่นนี้ มันประกอบด้วยสารหลากหลายชนิด โดยเฉพาะการสนธิทำงานร่วมกันของสารเหล่านี้ ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นการจำแนกความแตกต่างกับวิธีการแบบที่ 1 (วิธีการของ “ชาย่าง” เสมือน) กับวิธีการแบบที่ 2 (วิธีการตัวเร่งชีวภาพชาผูเอ๋อร์ที่ได้รับสิทธิบัตร) พวกเราจึงนำวิธีการแบบที่ 3 ซึ่งคือ “ชาเข้ม” ที่ตระเตรียมจากวิธีการ “ทำให้เข้มข้น” ที่ภาวะอุณหภูมิต่ำ ตั้งชื่อเรียกที่เฉพาะว่า “ศิลาชา”(茶石 : ความหมายเป็นนัยๆว่า “หินแห่งชีวิต”) มันเป็นผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์แบบผลิตเชิงลึก มีวิธีการที่ขจัดยาเคมีเกษตรและธาตุโลหะหนักเป็นพิเศษ เมื่อเปรียบเทียบกับชาแบบดั้งเดิมแล้วจะปลอดภัยกว่ามาก ขณะเดียวกัน เนื่องจากมันดำเนินการผลิตอย่างมาตรฐาน ทุกกรัมจะประกอบด้วยองค์ประกอบเคมีต่างๆในปริมาณตามที่มาตรฐานกำหนด สามารถควบคุมคุณภาพได้ ดังนั้น จะไม่มีปัญหาที่ชาในปริมาณที่เท่ากันจะมีดัชนีองค์ประกอบที่แตกต่างกันมาก พวกเราขอแนะนำทุกเช้าชงประมาณ 1 กรัมแช่ในน้ำร้อน(อุณหภูมิของน้ำประมาณ 80ºC) 300-400 มิลลิลิตร เพียง 5 นาทีก็สามารถละลายได้หมด หลังจากนั้นดื่มให้หมดภายใน 20 นาที

        นอกจากวิธีการ 2 แบบดังกล่าวข้างต้น ยังมีอีกวิธีการหนึ่งเป็นแบบแนวพื้นบ้านคือ “วิธีการทำให้เข้มข้นที่ภาวะอุณหภูมิสูง” วิธีการนี้คือนำใบชาไปต้ม ต่อจากนั้นนำน้ำชากรองผ่านตะแกรง แล้วใช้วิธีการต้มอย่างต่อเนื่องเคี่ยวให้งวด กลายเป็นของเหลวเข้มข้น(1.1 Baume Degrees ต่ำกว่าความข้นหนืดของน้ำผึ้ง)ให้ถึงระดับที่ “เข้ม” กว่า “ชาเข้ม” แม้กระนั่น ยืดวิธีการนี้ยาวออกไป ใช้การอบแห้งโดยอุณหภูมิสูงก็จะได้ครีมที่เหนียวหนืดมากหรือครีมแห้ง(ฉาเกาที่ผลิตจากการเคี่ยวตามบ้านเรือนจำนวนมากก็ทำในลักษณะนี้) วิธีการเช่นนี้เป็นแบบที่พวกเราไม่สนับสนุนและไม่เป็นวิทยาศาสตร์ เนื่องจากการใช้อุณหภูมิสูงอย่างต่อเนื่องจะเป็นเหตุให้องค์ประกอบเคมีในใบชาจำนวนมากถูกทำลาย กลับกันจะกลายเป็นเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อย่าว่าแต่การลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน แม้แต่เป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าที่พื้นฐานที่สุดก็ไม่ดำรงอยู่ คุณลักษณะ “เข้ม” ของ “ชาเข้ม” ที่ได้จากภาวะอุณหภูมิสูงแบบนี้ กับ “ชาย่าง” หลังการปะทุในชั่วขณะจะไม่เหมือนกัน ผู้คนจำนวนมากโต้แย้งขึ้นว่า “ชาย่าง”ก็มีกระบวนการอุณหภูมิสูง กาแฟก็ผ่านกระบวนการอุหภูมิสูง เหตุไฉนถึงมาว่าอุณหภูมิสูงของพวกเรามีโทษกันเล่า ? ก่อนอื่น อุณหภูมิสูงของ “ชาย่าง” เป็นการชั่วขณะ ระยะเวลาสั้น แรกเริ่มนำชามา “ย่างร้อน”(ทำให้สุก) ต่อจากนั้นเติมน้ำร้อนลงไป พลังของการปะทุในชั่วขณะนั้นทำให้สารในใบชา “เร่งเร้า” ออกมา ทำให้ได้ปริมาณสารสูงกว่าจากการที่พวกเราชงชาปกติ ซึ่งก็คือ “เข้ม” เป็นพิเศษ แต่ทว่า อุณหภูมิชั่วขณะของ “ชาย่าง” จะทำให้องค์ประกอบในใบชาเกิดการเสียหายระดับหนึ่ง แต่เป็นปริมาณที่น้อยมาก ไม่ทำให้คุณลักษณะถูกทำลายมาก เช่นเดียวกันกับหลักการนำนมวัวไปฆ่าเชื้อโดยวิธีพาสเจอไรซ์ อุณหภูมิสูงชั่วขณะไม่สามารถสร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อสารอาหารที่เป็นองค์ประกอบในน้ำนม ทำนองเดียวกัน การทนำเมล็ดกาแฟทำเป็นกาแฟเข้มข้นถ้วยหนึ่งก็ผ่านกระบวนการอุณหภูมิสูง อุณหภูมิสูงของกาแฟเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อกรรมวิธี เนื่องจากสารประเภทไขมันจำนวนมากในกาแฟ มีเพียงอุณหภูมิสูงจึงจะสามารถนำกลิ่นหอมล้นออกมาได้ แต่สภาวะที่เหมือนกันคือ อุณหภูมิสูงของมันก็เป็นระยะเวลาอันสั้น จากสิบกว่าวินาทีถึงไม่กี่นาที ส่วนวิธีการที่พวกเรากล่าวถึงข้างต้น คือใช้ระยะเวลาหลายชั่วโมงถึงสิบกว่าชั่วโมง เทียบกันไม่ได้กับอุณหภูมิสูงของ “ชาย่าง” และกาแฟ

        มีสิ่งหนึ่งที่อยากจะบ่งชี้คือ ไม่ว่าจะใช้วิธีการเตรียมใบชาแบบดั้งเดิมหรือวิธีการ “ทำให้เข้มข้น” ที่ภาวะอุณหภูมิต่ำ เมื่อจะทำการดื่มสามารถเติมน้ำผึ้งกับน้ำตาลที่เหมาะสม เนื่องจากเมื่อต้องเผชิญกับความขมหลังการทำให้เข้มช้น กาแฟก็ใช้วิธีโดยการเติมน้ำตาล เพื่อแก้ปัญหายากที่จะกลืนลงคอ “ชาเข้ม” ก็เหมาะที่จะใช้วิธีนี้เช่นกัน นอกจากนั้น ยังสามารถทำตามความต้องการและความคุ้นเคยของแต่ละบุคคล ใช้วิธีการดื่มโดยไม่ผสม(ไม่เติมสารให้ความหวานชนิดใดๆ) ผู้คนจำนวนมากที่ชื่นชอบดื่มกาแฟจะชอบดื่มกาแฟขมที่ไม่เติมน้ำตาลเป็นพิเศษ

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ)》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน สิงหาคม ปี 2016

ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ-1) 
ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ-3)

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ-1)

普洱茶能降低猝死风险吗? (下)

3. “ชาเข้ม” ทั้งปวงล้วนมีสรรพคุณในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันใช่หรือไม่ ?
三,是否所有的 “浓茶” 都具有降低猝死风险的功效吗 ?



        ภายหลังจากที่พวกเราได้เสร็จสิ้นทำการทดลองการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันของ “ชาย่าง” เสมือน ต่อจากนั้นก็ต้องประสบกับอีกคำถามหนึ่ง : ใช่หรือมิใช่ที่ “ชาเข้ม” ทั้งปวงล้วนมีสรรพคุณทางด้านนี้ ? ในเมื่อ “เข้ม ขม” ของ “ชาเข้ม” เป็นลักษณะเด่นอันดับแรกที่ถ่ายทอดไปยังอวัยวะปราสาทสัมผัสของพวกเรา ถ้าหากนำชาชนิดอื่นๆ เช่น ชาเขียว ชาแดง เหยียนฉา เป็นต้นซึ่งล้วนนำมาดำเนินการทดลองเสมือนเช่นนี้ ผลลัพธ์จะออกมาเป็นเช่นใด ?

        กล่าวจากทางด้านทฤษฎีแล้ว ชาทั้งหลายล้วนมีสรรพคุณในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันได้ นี่เป็นเพราะว่าในชาทั้งหลายประกอบด้วยคาเฟอีนบนพื้นฐานล้วนสูงกว่ากาแฟ แม้ว่าชาพันธุ์ใบเล็กของเขตผลิตชาในบางพื้นที่จะต่ำกว่ากาแฟเล็กน้อย แต่ก็มีในปริมาณที่ใกล้เคียงกับกาแฟมาก จำนวนที่ผันแปรเพียงเล็กน้อยนี้จะไม่มีผลกระทบต่อการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันมากนัก

การตรวจวัดปริมาณคาแฟอินในชาพันธุ์ใบใหญ่
ชาพันธุ์ใบกลาง ชาพันธุ์ใบเล็ก
ชนิด
ปริมาณคาเฟอิน (100กรัม)
ชาพันธุ์ใบใหญ่หยินหนาน
ระหว่าง 3 - 5 กรัม
ชาพันธุ์ใบกลางฝูเจี้ยน
ระหว่าง 2 - 3 กรัม
ชาพันธุ์ใบเล็กเขตเจียงเจ้อ
ระหว่าง 1.2 - 1.7 กรัม

        แต่ทว่า แม้จะอ้างอิงตามตัวเลขจากกการตรวจวัดข้างต้น พวกเราก็ยังไม่สามารถให้ข้อสรุปลักษณะเช่นนี้ “ชาเข้มทั้งปวงล้วนมีสรรพคุณในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน” นี่เป็นเพราะว่า สารวัตถุหลักในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ของพวกเราคือชาผูเอ๋อร์ ถ้าจะเชื่อมโยงกับชาชนิดอื่นๆแล้ว พวกเราก็ได้แต่เพียงเสนอเป็นทฤษฎีเชิงอนุมาน ไม่สามารถถือเป็นข้อสรุปจาการศึกษาวิจัยได้ เนื่องจากผลลัพธ์ของการศึกษาวิจัยหัวข้อใดๆ ซึ่งวิธีการที่ได้จะต้องตรวจสอบระบบหลักของการศึกษาวิจัยและปัจจัยองค์รวมทั้งหมดได้ ทฤษฎีเชิงอนุมานเป็นได้เพียงการคาดคะเนหนึ่ง ขาดซึ่งการสนับสนุนของข้อมูลจำนวนมากจาการทดลอง

        การทดลองรายการที่ 2 ของพวกเรา เพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจว่า การทำให้เข้มข้นและวิธีการดื่ม “ชาย่าง” เสมือนบนการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันเป็นเพราะปัจจัยทางด้านวัตถุดิบ ? หรือเป็นเพราะปัจจัยทางกรรมวิธีการผลิต ? หรือเป็นเพราะปัจจัยทางวิธีการดื่ม ?

        วัตถุดิบที่เป็นชาพันธุ์ใบใหญ่หยินหนานของ “ชาย่าง” กรรมวิธีการผลิตของมันคือ การผึ่ง ฆ่าเขียว การนวด ตากเขียว(แต่แตกต่างจากตากเขียวของชาผูเอ๋อร์) ซึ่งกรรมวิธีคล้ายคลึงกับชาเขียว แต่ก็มีความแตกต่าง ; จะใกล้เคียงกับกรรมวิธีก่อนหน้านี้ของชาผูเอ๋อร์ แต่ก็ยังไม่เหมือนซักทีเดียว

        เมื่อเป็นประการฉะนี้ เพื่อเป็นการตรวจสอบหาความจริงตรงจุดนี้ พวกเราได้นำชาผูเอ๋อร์ ชาแดง เตียนลวี่(ชาเขียว) ที่ล้วนใช้ชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานเป็นวัตถุดิบในการผลิตมาเป็นตัวอย่างการทดลอง โดยใช้วิถี “การทำให้เข้มข้น” แบบเดียวกันมาดำเนินการทดลองในสัตว์ครั้งที่ 2 ได้กลุ่มข้อมูลใหม่ ดังรูป :



การทดลองข้างต้นใช้รูปแบบของกลุ่มทดลอง วิธีการทดลองเหมือนกับการทดลองครั้งที่ 1
(หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงตัวแทนผลลัพธ์ของการทดลองครั้งนี้)

        การทดลองข้างต้น ทำให้พวกเราได้ข้อสรุปออกเป็น 3 ประเด็นด้วยกัน :

        1. ชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานเพียบพร้อมด้วยสารสำคัญที่มีผลต่อการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน นี่คือเงื่อนไขที่ 1 ชาผูเอ๋อร์ ชาแดง เตียนลวี่ ที่ใช้ชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานเป็นวัตถุดิบในการผลิตล้วนมีสรรพคุณในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันอย่างเด่นชัด นี่เป็นเพราะว่าชาพันธุ์ใหญ่มีเนื้อเยื่อแพลิเซด(Palisade Mesophyll)เพียงเซลล์แถวเดียว เนื้อเยื่อสปันจี(Sponge Mesophyll)จะหนากว่า(อัตราส่วนของแพลิเซดต่อสปันจีคือ 1 : 2) เป็นเหตุให้สารกลุ่มไขมันของมันมีค่อนข้างต่ำโดยธรรมชาติ แต่จะมีลักษณะพิเศษที่มีสารกลุ่มโพลิฟีนอลส์ค่อนข้างสูง ทำให้องค์ประกอบของสารประกอบปฐมภูมิ(Primary Metabolites)ค่อนข้างสูง ทั้งหลายทั้งปวง ปริมาณองค์ประกอบของคาเฟอีนเมื่อเทียบกับชาพันธุ์ใบกลางเล็กแล้วจะสูงที่สุด ดังนั้น ที่พวกเรากล่าวกันว่า “เข้ม” เป็นมโนคติแบบหนึ่ง โดย “เข้ม” ของสารประกอบเชิงซ้อนที่มีคาเฟอีนเป็นตัวหลักจึงเป็นแก่นแท้จริง เนื่องจากในการทดลองการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันนั้น ปัจจัยอันดับแรกก็คือ “ปริมาณองค์ประกอบ” ของคาเฟอีนได้ถึงระดับ “ขนาดยา”(Dosage)ตามความต้องการของการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่

        2. กรรมวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะก่อให้เกิดสารลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันเป็นปัจจัยสำคัญที่ 2 ชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานอันเนื่องจากมีเนื่อเยื่อสปันจีที่ค่อนข้างหนา ช่วงว่างมาก มีคุณลักษณะพิเศษคือดูดซับเร็ว ทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีลักษณะเด่นในธรรมชาติ “บุกรุก” เข้าไปได้ง่าย ประกอบกับกรรมวิธีที่พิเศษเฉพาะของการนวดและตากเขียว เร่งการแปรสภาพปฐมภูมิของสารออกฤทธิ์ในพืชธรรมชาติ จุดสำคัญของการแปรสภาพคือดำเนินการแวดล้อมสารที่มีคุณสมบัติละลายในไขมัน(ไม่ละลายในน้ำ)เกิดการสลายตัวเป็นสารที่มีคุณสมบัติละลายในน้ำ นี่ก็คือเหตุผลที่ทำไมต่างล้วนเป็นชาเขียวเหมือนกัน ชาเขียวที่ทำจากชาพันธุ์ใหญ่ของหยินหนานชงทนกว่าชาเขียวที่ผลิตจากชาพันธุ์ใบเล็ก(แม้ว่าชาเขียวชนิดนี้มีรูปลักษณ์จะด้อยกว่าชาเขียวที่ผลิตจากชาพันธุ์เล็กโดยการมองเห็น) แต่การแปรสภาพปฐมภูมิของสารออกฤทธิ์ชนิดนี้ อันที่จริง คือกระบวนการที่ปฏิบัติการอีกครั้งหนึ่งที่ดำเนินการกับสารประกอบปฐมภูมิในใบชา ซึ่งก็คือกระบวนการภาวะที่ดีที่สุด อธิบายจากอีกมุมมองหนึ่ง คาเฟอีนมีคุณลักษณะที่พิเศษ ก็คือละลายในน้ำได้เล็กน้อย จะละลายในเอทานอลได้ง่ายกว่า ถ้าหากไม่มีกระบวนการแปรสภาพปฐมภูมิของสารออกฤทธิ์แล้ว เป็นไปได้ที่คาเฟอีนจะหลบซ้อนอยู่ในสารที่มีคุณสมบัติละลายในไขมันที่มีจำนวนมาก ภายใต้ “โครงสร้าง” ที่มั่นคงจึงเป็นการยากที่ถูกน้ำแช่ออกมาได้ เมื่อสารที่มีคุณสมบัติละลายในไขมันผ่านการแปรสภาพปฐมภูมิ ทำให้สารประกอบปฐมภูมิจำนวนมากแปรสภาพเป็นสารที่มีคุณสมบัติละลายในน้ำ “โครงสร้าง” ที่ปกป้องคาเฟอีนได้ร่วงลงมาแล้ว คาเฟอีนก็จะละลายในน้ำได้อย่างสะดวก ฉะนั้น มีปรากฏการณ์หนึ่งที่ควรแก่ให้ความสนใจคือ ใบชาที่ใช้กรรมวิธีการตากเขียวล้วนมีระดับของการชงทนที่สูง ระดับการละลายของคาเฟอีนก็สูงด้วย ไม่เพียงเฉพาะชาผูเอ๋อร์ เหยียนฉาของเขตผลิตชาฝูเจี้ยนก็เช่นเดียวกัน ชาแดงของหยินหนาน(เตียนหง)เป็นกรณียกเว้น ไม่มีกรรมวิธีการตากเขียว การแปรสภาพทางชีวภาพของมันส่วนใหญ่เสร็จสิ้นโดยกระบวนการนวดและการหมัก และอีกกรณีหนึ่งคือเตียนลวี่(ชาเขียวของหยินหนาน) จะมีค่าที่ต่ำที่สุด(ปริมาณองค์ประกอบของคาเฟอีน)ในบรรดาชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนาน เหตุผลสำคัญคือเกิดจากกรรมวิธีการฆ่าเขียว เนื่องจากในกรรมวิธีการฆ่าเขียว ไม่ว่าจะใช้ไอน้ำร้อนหรือคั่วมือบนกระทะไฟฟ้า อุณหภูมิล้วนอยู่ที่ 200ºC ขึ้นไป ซึ่งเมื่อคาเฟอีนภายใต้ภาวะสูงกว่า 178ºC  บางส่วนจะเกิดปรากฏการณ์ “ระเหิด” (การระเหิดคือกระบวนการที่ของแข็งเปลี่ยนเป็นก๊าซโดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว ในการฆ่าเขียวของชาเขียวสามารถมองคาเฟอีนเกิดการสูญหายโดยเปลี่ยนเป็นก๊าซ)

        3. ในบรรดาชา 3 กลุ่มใหญ่ที่ใช้ชาพันธุ์ใหญ่ของหยินหนานเป็นวัตถุดิบในการผลิตนั่น สรรพคุณของชาผูเอ๋อร์ดีกว่าชาแดงและชาเขียว ในบรรดาชาผูเอ๋อร์ ชาดิบดีกว่าชาสุก ชาดิบที่อายุปีสูงดีกว่าชาดิบที่อายุปีต่ำ นี่เป็นเพราะว่า :

① หัวใจสำคัญของกรรมวิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์คือการหมัก ซึ่งง่ายต่อการก่อเกิดสารประกอบทุติยภูมิ(Secondary Metabolites) ชาแดงก็มีกระบวนการหมัก แต่เป็น “จุลินทรีย์ใช้ออกซิเจน” เป็นหลัก(ทั่วไปเรียกว่าออกซิเดชั่น) ชาผูเอ๋อร์มีการหมักแบบใช้ออกซิเจนและการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจนหมุนเวียนสลับกัน สารประกอบทุติยภูมิที่เกิดจากการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจนเกือบทั้งหมดมีส่วนประกอบทางยา แม้ว่าน้ำหนักโมเลกุลแต่ละตัวของพวกมันจะต่ำมาก แต่มีลักษณะเด่นของ “การรักษาตรงเป้าอย่างอ่อน” ล้วนมีผลในการช่วยลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน ดังนั้น ต่างเป็นชาพันธุ์ใบใหญ่เหมือนกัน ชาผูเอ๋อร์จะดีกว่าชาแดงและชาเขียว
② ในการหมักกองของชาผูเอ๋อร์ เนื่องจากต้องใช้น้ำปริมาณมาก เป็นเหตุให้คาเฟอีนบางส่วนถูกชะล้างออกไป ในการตรวจวัคคาเฟอีนของชาสุกและชาดิบ ปริมาณองค์ประกอบในชาดิบสูงกว่าชาสุก ดังนั้น ในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันแล้ว แน่นอนชาดิบย่อมดีกว่าชาสุก
③ ชาดิบที่อายุปีสูงดีกว่าชาดิบที่อายุปีต่ำ ซึ่งเหตุผลยังอยู่ที่สารประกอบทุติยภูมิ อายุปีสูง สารประกอบทุติยภูมิมีมากชนิด ปริมาณที่เป็นองค์ประกอบก็สูง ; อายุปีต่ำ สารประกอบทุติยภูมิมีน้อย ตัวอย่างเช่นสารสีแดงชา(Thearubigins) เริ่มแรกใบชาสดบนต้นจะไม่มีสารสีแดงชา หลังจากผ่านการนวดและตากเขียวแล้ว ปรากฏสารสีเหลืองชา(Theaflavins)ที่เกิดจากออกซิเดชั่น แต่หลังจากนำมาอัดขึ้นรูป ผ่านการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน(ก็เรียกขานการหมักภายหลัง) ก็ปรากฏสารสีน้ำตาลชา(Theabronines : ออกน้ำตาลแดง ค่อนข้างทึบ ความโปร่งแสงต่ำ) มันก็เป็นผลิตผลจากการสันดาป(Metabolite) ถึงกระนั้น กระบวนการหมักก็ยังไม่สิ้นสุด การหมักยังเกิดอย่างต่อเนื่อง ปรากฏเป็นสารสีแดงชา(อันที่จริงเป็นอนุมูลสารสีแดงชา)ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่เกิดจากการหมักของชาผูเอ๋อร์ในแวดล้อมของกลุ่มสารสี มีคุณค่าทางยาสูงมาก ดังนั้น พวกเราก็เรียกขานการหมักของชาผูเอ๋อรเป็นกระบวนการค่อยเป็นค่อยไปแบบขั้นบันได ระยะเวลายิ่งยาวนาน สารประกอบทุติยภูมิยิ่งมาก องค์ประกอบสุขอนามัย(Hygiene Factors)ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายก็ยิ่งมาก

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ)》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน สิงหาคม ปี 2016

ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ-2)