วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ปริศนาซึ่งทำให้หลงเสน่ห์ (1)

ชาผูเอ๋อร์ : ปริศนาซึ่งทำให้หลงเสน่ห์ (1)
普洱茶 : 引人入胜的谜团 (一)





        ฤดูใบไม้ร่วงปี 2002 การเดินทางอันน่าอัศจรรย์ใจที่ไปธิเบต ทำให้เราได้พบเห็นเครื่องดื่มชาชนิดหนึ่งที่สุดแสนพิเศษเฉพาะโดยบังเอิญ : ฉาเกาผูเอ๋อร์(普洱茶膏)

        ด้วยความอยากรู้อยากเห็น ฤดูร้อนปี 2003 เราก็ได้มีโอกาสอีกครั้งในการเข้าเยี่ยมชมฉาเกาผูเอ๋อร์อย่างใกล้ชิด(ถ้าพูดให้ใกล้เคียงคือการสังเกต)ที่พิพิธภัณฑสถานกู่กงแห่งกรุงปักกิ่ง

        ฉาเกาผูเอ๋อร์ที่นำมาแสดงให้ดูบรรจุอยู่ในกล่องเหล็กอันวิจิตรบรรจง เมื่อเปิดฝากล่องออกมาจะเห็นตัวหนังสือที่พิมพ์จากบล็อคไม้ ซึ่งเขียนว่า “ฉาเกาผูเอ๋อร์ รักษาสารพัดโรค เช่นท้องใส้ป่วยเย็น ละลายในน้ำขิง เหงื่อออกแล้วหาย ; ปากแตกแสบคอ เจ็บปวดร้อนใน แบ่งครึ่งอมในปาก ข้ามคืนแล้วหาย ; ผิวหนังถลอกเลือดออก บดเป็นผงโรยแล้วหาย

        “ฉาเกาผูเอ๋อร์” ที่บรรจุอยู่ในกล่องเหล็ก เป็นก้อนลักษณะสี่เหลี่ยม ชั้นหนึ่งมี 28 ก้อน แต่ละชั้นกั้นด้วยกระดาษแข็ง ทั้งหมดมี 4 ชั้น รวมเป็น 112 ก้อน แต่ละก้อนหนัก 5 กรัม น้ำหนักรวมทั้งหมด 560 กรัม

        สิ่งที่ทำให้ตกตะลึงมากคือ ฉาเกาผูเอ๋อร์ที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้านี้กำเนิดในช่วงรัชสมัยต้าวกวงยุคราชวงค์ชิง(清朝道光) ตราบมาจนถึงทุกวันนี้ผ่านมาร้อยกว่าปีแล้ว นอกจากผิวหน้าของมันปรากฏมีรอยเก่าแล้ว ไม่เกิดเชื้อราและไม่กลายเป็นเถ้าถ่าน ยังคงดำรงไว้ซึ่งแก่นแท้ดั้งเดิม---คุณค่าทางเครื่องดื่ม

        หลังได้ทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้นสังเกตเห็นว่า นอกจากฉาเกาผูเอ๋อร์แล้ว ชาผูเอ๋อร์ที่หยินหนานถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่พระราชวังในช่วงราชวงค์ชิงที่เก็บอยู่ในพิพิธภัณฑสถานกู่กงก็มีสภาพดีครบถ้วน ส่วนผลิตภัณฑ์ชาที่เขตพื้นที่อื่นถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการในช่วงเวลาเดียวกัน อาทิเช่น ซีหูหลงจิ่ง ปิหลอชุน เถียะกวนยิน ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ชาที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ล้วนทลายลงภายใต้กาลเวลาที่เนิ่นนาน ถ้าไม่เกิดเชื้อราก็กลายเป็นเถ้าถ่าน ไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ มีเพียงผลิตภัณฑ์ 2 ชนิดที่เก็บรักษาไว้ได้ : หนึ่งคือชาผูเอ๋อร์(ก้อนมังกรหมื่นปีและแผ่นกลม:万寿龙团与圆饼) อีกหนึ่งคือฉาเกาผูเอ๋อร์ พูดให้ถูกต้อง ล้วนเป็นชาผูเอ๋อร์ เพราะวัตถุดิบของฉาเกาผูเอ๋อร์มาจากชาผูเอ๋อร์ มันและชาผูเอ๋อร์ตามข้อเท็จจริงมีความสัมพันธ์ทางแม่และลูก

        ผลิตภัณฑ์ชาที่ธรรมดาภายใต้เงื่อนไขที่ไม่มีการปิดมิดชิดอย่างเคร่งครัด แต่สามารถผ่านกาลเวลาเป็นร้อยกว่าปีโดยไม่เน่าไม่เปื่อย มันเป็นไปได้อย่างไง? หรือว่ามันเป็นอุบัติเหตุ? หรือเป็นความโชคดี? ณ ที่นี้แอบซ่อนปริศนาหนึ่งไว้ที่พวกเรายังไม่ทราบ หรือเป็นเพราะตัวของมันเองก็คือสิ่งมหัศจรรย์ จากการศึกษาวิจัยในภายหลังของพวกเรา พบเห็นปราฏกการณ์หนึ่งที่แปลกประหลาด ซึ่งก็คือปริศนาหนึ่ง

        ชาผูเอ๋อร์แบ่งออกเป็นชาเกรดห้าง ชาเกรดพิมพ์ ชาสมัยใหม่ ชาเกรดห้างถือเป็นผลิตภัณฑ์ระดับที่สุดยอดของชาผูเอ๋อร์ ถูกเรียกเป็น “วัตถุโบราณที่ดื่มได้” ไม่เฉพาะได้รับการ “ติดตาม” จากตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่มีราคาแพงที่สุด  สิ่งที่ทำให้ผู้คนไม่เข้าใจคือ ชาเกรดห้าง ชาเกรดพิมพ์ ที่ได้รับการยกย่องจากตลาด---ถูกเรียกรวมเป็น “ชาแก่”(老茶) สาเหตุที่ได้รับการชื่นชมไม่ใช่เฉพาะว่าอายุของมันยืนยาว มีคุณค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ แต่ยังมีสาเหตหนึ่งที่สำคัญกว่าคือคุณภาพ ผู้คนจำนวนมากใช้ “สูงศักดิ์”(高贵) มาพรรณนาถึงมัน ทัศนคติเช่นนี้เกี่ยวโยงกับ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม”(愈陈愈香) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการชาผูเอ๋อร์

        “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” อันที่จริงคือการบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของคุณภาพชาผูเอ๋อร์กับกาลเวลาอย่างมีเลศนัย เปลี่ยนเป็นคำพูดอีกด้าน ระยะเวลาของชาผูเอ๋อร์ยิ่งนาน คุณภาพยิ่งดี แม้ว่าทุกวันนี้ชาผูเอ๋อร์ยังไม่มีการกล่าวขานถึงอายุปี แต่ชาวบ้านทั่วไปนิยมกล่าวขานเช่นนี้ซึ่งมีลักษณะไม่เฉพาะที่เหมือนกับแนวความคิดทางอายุปีของเหล้าขาวดั้งดิมของจีน และแม้วิธีการต่างกันแต่ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกัน(异曲同工)อย่างน่าประหลาดใจ

        สิ่งนี้กับแนวความคิดที่ยืนหยัดความสดใหม่ที่พวกเราสัมผัสเป็นประจำ---ต่างกันราวฟ้ากับดินกับแนวความคิดด้านอาหาร และสวนทางกับระดับความสดชื่นของใบชาชนิดอื่นที่เป็นตัวหลัก(เช่นชาเขียว ชาอูหลง ฯลฯ) ระดับสูงสุดของชาผูเอ๋อร์ก็คือวัตถุโบราณที่ดื่มได้? สิ่งที่ทำให้ผู้คนไม่เข้าใจก็คือ การนำเสนอแนววิถีนี้มิใช่มาจากเขตพื้นที่ผลิตชาของหยินหนาน แต่มาจากใต้หวัน ฮ่องกง และกว่างตงของจีน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่และวิทยาศาสตร์

        ในนี้ยังมีปัญหาดำรงอยู่ :

        ลำดับที่ 1 “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” คือการอธิบายถึงกระบวนการ? หรือเป็นการอ้างอิงโดยทั่วไปของคุณภาพ? มันมีหรือไม่มีมาตรฐานที่ใช้อ้างอิง?

        ลำดับที่ 2 มันและอาหารวิทยามีความเชื่อมโยงกันทางหลักการ “หลังการสุกงอม(后熟作用)” หรือไม่? หรือว่ามีหลังการสุกงอมทางชีววิทยาอีกรูปแบบหนึ่ง?

        ลำดับที่ 3 สาเหตุที่ก่อให้เกิดผลของ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” เกิดจากกรรมวิธีการผลิตหรือเกิดจากบางคุณลักษณะที่เฉพาะของวัตถุดิบ(ใบชา)

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ชาผูเอ๋อร์ : ปริศนาซึ่งทำให้หลงเสน่ห์》 ตอนที่ 1---เขียนโดย เฉินเจี๋ย