วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

ประเมินค่าชาไร่ (4)

ประเมินค่าชาไร่อย่างไร (4)
如何评价台地茶 (四)




        การปรับปรุงสายพันธุ์ชาไร่สร้างสีสันดั่ง “ดอกไม้บานสะพรั่ง”

        สิ่งที่พวกเราเชื่อมั่นเมื่อนำต้นชาไร่มาเทียบเคียงกับต้นชาโบราณแล้วไม่ถือเป็นการถดถอย ยังมีอีกหนึ่งเหตุผลที่สำคัญมากกว่า นั่นก็คือชาไร่จะพุ่งเข้าไปที่สายพันธุ์อันโดดเด่น มีเฉพาะที่เหมาะสมสำหรับทำชาเขียว มีเฉพาะที่เหมาะสมสำหรับทำชาแดง แน่นอน ก็มีเฉพาะที่เหมาะสมสำหรับทำชาผูเอ๋อร์

        สิ่งที่สมควรหยิบยกขึ้นมาคือ มีชาไร่พันธุ์ใหม่ที่ปรากฏลักษณะประจำทาง “สรรพคุณทางยา” อย่างเด่นชัด พันธุ์คลาสสิคที่สุดคือชาจื่อเจียน(紫鹃茶)

        เดิมใบชาสดของต้นชาจะมีสีเขียวเป็นหลัก แต่ต้นชาที่อยู่ในระดับน้ำทะเลสูง โดยเฉพาะภายใต้ร้อนแดดแผดเผาในฤดูร้อน ต้นชาจะเกิดการปกป้องโดยตัวของมันเอง ใบชาจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง แรกเริ่มนักวิชาการทางชาจำนวนมากคิดว่าสาเหตุมาจากยีนของต้นชากลายพันธุ์ ต่อมาจึงยืนยันได้ว่าเป็นปฏิกิริยา “ปฏิปักษ์(Antagonism:拮抗)” ที่เกิดขึ้นภายในจากระบบภูมิคุ้มกันโดยตัวของมันเองของต้นชาที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายใต้สภาวะอย่างยิ่งยวด หรือเรียกว่า “Over Reaction(过激反应)” ตราบเท่าถึงทุกวันนี้ เขตพื้นที่ผลิตชาในหยินหนานซึ่งพวกเราจะพบเห็นใบชาสดสีม่วงเป็นดาวกระจายงอกอยู่บนยอดต้นชา โดยเฉพาะในฤดูร้อนจะเด่นชัดมาก

        เป็นสิ่งที่มีความหมายอย่างยิ่งคือ ปราฏกการณ์เช่นนี้มิใช่เพิ่งพบเห็นในยุคปัจจุบัน แต่อยู่ในยุคสมัยราชวงค์ถังของจีน ยุคสมัยราชวงค์ถังได้นำใบชาสีม่วงนี้มาผลิตเป็นใบชาเรียกว่า “ชายอดม่วง(紫芽茶)” และถือเป็นชาชั้นดีในบรรดาชาทั้งหลาย ลู่หยี่(陆羽)ในยุคสมัยราชวงค์ถัง หนังสือ《คัมภีย์ชา (茶经)》 ที่เขาเขียนขึ้นก็ได้บ่งชี้ออกมาอย่างชัดเจนว่า : “ตัวม่วงบน ตัวเขียวล่าง(紫者上,绿者下)” ทำไม “ชายอดม่วง” จึงได้รับความนิยมชมชอบในยุคสมัยราชวงค์ถัง เหตุผลมีเพียงหนึ่งเดียว : มีความเป็นฤทธิ์ทางยา คุณค่าทางยานี้จนถึงปัจจุบันที่ใช้วิธีการตรวจสอบทางเคมีจึงถอดรหัสสารตัวหลักของมันได้ คือ  : Anthocyanin(花青素)

        ตามข้อเท็จจริง ใบชาเกือบทั้งหมดล้วนประกอบด้วย Anthocyanin เพียงแต่เป็นองค์ประกอบที่ปริมาณน้อยประมาณ 0.01% ของใบชาแห้ง แต่ชายอดม่วงมีถึง 0.5-1.0%

        ปี 1985 นักวิทยาศาสตร์ของสำนักวิจัยวิทยาสาสตร์ทางใบชาของมณฑลหยินหนานได้พบเห็นต้นชาต้นหนึ่งที่มียอด ใบ ก้าน ล้วนเป็นสีม่วงอยู่ในสวนชา200หมู่ของสำนักฯที่ปลูกต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนาน ภายหลังจากผ่านการเพาะผสมพันธุ์ ได้ต้นชาไม้เล็กพันธุ์ใหม่ ขนานนามเป็นพิเศษว่า “จื่อเจียน(紫鹃)” ที่มีลักษณะเด่นคือมี Anthocyanin ประกอบอยู่ในปริมาณสูงเช่นกัน จากปี 1999 ถึง 2000 นักวิทยาศาสตร์ของสำนักวิจัยใบชาของมณฑลหยินหนานได้ดำเนิน “การวิจัยชาม่วงพันธุ์พิเศษ(ชาจื่อเจียน) สารที่มีฤทธิ์ลดความดันตามธรรมชาติ” ผลงานวิจัยสรุปได้ว่า : Flavonoids(黄酮类) ในปริมาณสูงและ Anthocyanin ในปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ประกอบอยู่ใน “ชาจื่อเจียน” เป็นสารตัวหลักที่สำคัญที่มีผลทางลดความดันอย่างเด่นชัด

        การพัฒนาชาไร่ตราบจนถึงทุกวันนี้ ร่วมกับต้นชาโบราณได้ก่อสร้างพงศาวลีวงค์ตระกูลของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่และไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่มากของหยินหนาน ชาไร่มิใช่เป็นการถดถอยของต้นชาโบราณ แต่เป็นการแยกย่อยละเอียดที่มีคุณสมบัติค่อนไปทางชามากของต้นชาโบราณ พวกเราค้นหาจากคำบรรยายวงค์ตระกูลของต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ใน Baidu Online Encyclopedia (百度百科) ค้นพบว่าวงการวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้นำต้นชาโบราณและชาไร่แยกขาดออกจากกัน แม้กระทั่งไม่ได้ใช้คำศัพย์เช่นต้นชาโบราณหรือชาไร่ ที่เป็นตัวแทนได้ดีที่สุดคือ  《พงศาวลีวงค์ตระกูลของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่และไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่มากของหยินหนาน》

......จบบริบูรณ์......


แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ประเมินค่าชาไร่อย่างไร》 ตอนที่ 4---เขียนโดย เฉินเจี๋ย