วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ความยั่วยวนใจของการเก็บชา(ภาค I) --- (1)

ความยั่วยวนใจของการเก็บชา
存茶的诱惑



        ชาผูเอ๋อร์มีปรากฏการณ์หนึ่งที่แปลกประหลาดมาก ก็คือด้านหลังของชาผูเอ๋อร์จะมี ”ประชาคมเก็บชา”(存茶群体) ที่ใหญ่มหึมา ประชาคมกลุ่มนี้ประกอบกันขึ้นโดยองค์กรธุรกิจผลิตชา ผู้แทนจำหน่ายและผู้บริโภค ท่ามกลาง ”ประชาคมเก็บชา” นี้ผู้แทนจำหน่ายและผู้บริโภคถือเป็นกลุ่มหลัก มีสัดส่วนมากที่สุดเกิน 90% ขึ้นไป

        “เก็บชา” แรกสุดเริ่มที่หยินหนาน เนื่องจากตั้งแต่โบราณกาลของหยินหนานก็มีตำนานเล่าว่า ”รุ่นปู่ทำชา รุ่นหลานขายชา”(爷爷制茶,孙子卖茶) ยุคที่ผ่านมาไม่นานและปัจจุบันของประเทศจีน กลุ่มหลักของ “เก็บชา” ได้เคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ฮ่องกง แล้วแพร่ขยายไปที่ใต้หวัน ตั้งแต่ยุคปี 80 ศตวรรษที่แล้ว กว่างตง(广东)ก็กลายเป็นพื้นที่กระสแหลักของ “เก็บชา” ก่อตัวเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการกระจายชาผูเอ๋อร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อเข้าสู่ต้นศตวรรษที่ 21 โดยมีกว่างตงเป็นใจกลาง ”ประชาคมเก็บชา” ได้ขยายเพิ่มเป็นทวีคูณ ก่อให้เกิดเป็นโครงข่าย ”ขึ้นเหนือล่องใต้”(南下北上) อย่างรวดเร็ว

        ที่กล่าวว่า “ขึ้นเหนือ” ก็คือ การบ่งชี้จากกว่างโจว(广州)ผ่านไปฉางซา(长沙) หวู่ฮั่น(武汉) เหอเฝย(合肥) หนานจิน(南京) เจิ้งโจว(郑州) จี่หนาน(济南) สือเจียจวง(石家庄) เทียนจิน(天津) เป่ยจิน(北京) จนถึง 3 มณฑลภาคอีสาน(东三省) ; “ล่องใต้” ก็คือ การบ่งชี้ประชาคมของ “เก็บชา” ได้ขยายไปที่สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เป็นต้นเป็นประเทศทางอาเซี่ยน กองทัพ “เก็บชา” ได้ขยายเพิ่มขึ้นตลอดเส้นทาง จำนวนผู้คนที่เข้ามาใหม่ก็ยิ่งไม่สามารถประเมินได้

        ปรากฏการณ์ “เก็บชา” ของชาผูเอ๋อร์ถือเป็นภูมิทัศน์ที่น่าดึงดูดใจและมีเฉพาะในวงการชาของประเทศจีน

        แต่มีผู้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าปรากฏการณ์เช่นนี้ของชาผูเอ๋อร์ เป็นเพราะผลความสำเร็จจากการที่พ่อค้านักธุรกิจชาผูเอ๋อร์ปั่นขึ้นมา ผลสำเร็จลักษณะเช่นนี้ที่แท้เป็นภาพลวงตาในวงการค้า ซึ่งก็คือปรากฏการณ์ฟองสบู่ ทันทีที่ฟองสบู่นี้แตก ไม่เพียงแค่เป็นการพังทลายของวงการชาผูเอ๋อร์ ยังทำให้กองทัพ “เก็บชา” ผจญกับ ”หายนะทุกหย่อมหญ้า”(哀鸿遍野) แล้ว ”หายเข้ากลีบเมฆ”(烟消云散)

        แต่ความเป็นจริงเป็นไปตามนี้หรือไม่ ?

        อย่างกรณีของใต้หวันและฮ่องกงเป็นตัวอย่าง เมื่อยุคปี 90 ศตวรรษที่แล้ว ชาผูเอ๋อร์ในสองพื้นที่นี้ต่างก็ประสบปัญหาราคา ”ขึ้นแรงลงเร็ว” แต่เมื่อหลังจากลมพายุได้สงบลง กองทัพ “เก็บชา” ไม่เพียงไม่ได้ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นไม่น้อย ปี 2007 สภาวการณ์ของชาผูเอ๋อร์ในประเทศจีนก็ประสบ ”รถไฟเหาะ”(过山车) มาครั้งหนึ่ง หลังจากราคาขึ้นแรงลงแรงแล้ว ตลาดชาผูเอ๋อร์ได้รับ ”ความเสียหายอย่างหนัก”(重创) แต่ไม่ทำให้กองทัพ “เก็บชา” เกิด ”กระเส็นกระสาย”(分崩离析) ปัจจุบันเขตพื้นที่จำนวนมากในกว่างตงที่เป็น ”เขตภัยพิบัติ” ของชาผูเอ๋อร์ พวกเราเพียงแต่รู้สึกได้ว่าตลาดอยู่ในสภาพสิ้นหวังและโศกเศร้า แต่ไม่มีร่องรอยของการพังทลายของกองทัพ “เก็บชา” ตรงกันข้าม กลับมีปรากฏการณ์ที่ประหลาด 2 เหตุการณ์ที่ได้รับความสนใจจากผู้คน : หนึ่งคือผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์ชั้นดีบางส่วนที่ผลิตในศตวรรษที่แล้ว ราคาไม่เพียงไม่ได้ลดลง กลับมีแนวโน้มที่ค่อยๆปรับสูงขึ้น อีกหนึ่งคือกลุ่มคนที่มีเงินสดอยู่ในมือ จะติดตามตรวจเช็คราคาที่ขึ้นลงของชาผูเอ๋อร์อย่างถี่ถ้วน เพื่อหาโอกาสและจังหวะที่ดีที่สุด ทำการ ”ช้อนซื้อ” เป็นครั้งๆ กลายเป็นสมาชิกใหม่ของกองทัพ “เก็บชา” หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ราคาที่ตกลงมาแรงของชาผูเอ๋อร์ไม่ทำให้รอยเส้นทางของ ”เก็บชา” จบสิ้นลง เพียงแต่ทำให้มันเกิดการชะลอตัวลงเท่านั้น

        แน่นอน มีปรากฏการณ์หนึ่งก็มีคุณค่าควรที่พวกเราให้ความสนใจ เมื่อยึด “เก็บชา” เป็นเครื่องมือการลงทุนชนิดหนึ่ง โดยนำชาผูเอ๋อร์ไปกองไว้ที่โกดังแบบง่ายๆแล้วรอคอยการเพิ่มมูลค่าของมันจึงแลกเป็นเงินสดภายหลัง ปรากฏการณ์แบบนี้ตั้งแต่ปี 2006 ได้เริ่มแพร่ขยายออกไป จนถึงจุดสูงสุดในปี 2013 เขตพื้นที่กว่างตงเนื่องจากเป็นเพราะว่าเป็นมณฑลใหญ่ที่บริโภคชาผูเอ๋อร์และเป็นศูนย์กลางการกระจายชาผูเอ๋อร์จึงสำแดงอาการออกมาอย่างชัดมากเป็นพิเศษ มีคำโฆษณาที่ฮิตมากในช่วงเวลานั้นว่า “เก็บเงินมิสู้เก็บชาผูเอ๋อร์”(存钱不如存普洱茶) ทำให้ “เก็บชา” เปลี่ยนเป็นการลงทุนทางการเงินวิธีการหนึ่ง เป็นเหตุให้ชาผูเอ๋อร์หลุดออกจากคุณสมบัติที่เป็นตัวตนของมัน เปลี่ยนเป็นสิ่งคล้ายสัตว์ประหลาดที่กลายมาจากทางการเงิน ดึงดูดกลุ่มคนและเงินทุนจำนวนมากเข้ามามีเอี่ยวด้วย เมื่อพฤติกรรมเช่นนี้พัฒนาเป็นพฤติกรรมของประชาคมอันใหญ่มหึมาแล้ว การพังทลายของกองทัพ “เก็บชา” ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงได้

        เมื่อเป็นประการฉะนี้ การนำชาผูเอ๋อร์ไปเก็บแบบง่ายๆบ่งบอกถึงเป็นการตัดสินใจที่ผิดอย่างหนึ่งต่อ “เก็บชา” เป็นเพราะว่า “เก็บชา” คือขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตชาผูเอ๋อร์ ภายนอกมันเป็นการเก็บชา อันที่จริงเป็นความคิดผ่านการเก็บชาเพื่อให้กระบวนการของ “การหมักที่มีเอนไซม์เป็นตัวกระตุ้น”(酶促发酵) ให้เสร็จสมบูรณ์ และก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่ทำการยกระดับคุณภาพของชาผูเอ๋อร์

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ความยั่วยวนใจของการเก็บชา(ภาค I)》ตอนที่ 1---เขียนโดย เฉินเจี๋ย