วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

งานวิจัยกลไกการชะลอวัยของชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้าย (ตอนที่ 3)

景迈山大叶种茶抗衰老机理的研究 (节选)
การค้นหามูลเหตุของปรากฏการณ์และชีววิทยาของอายุยืนที่เป็นเฉพาะตน
独有的长寿现象与生物学探讨
ตอน  : ชาเขาจิ่งม้ายบังเกิด “ผลการช่วยเหลือ” ต่ออายุยืนของคนหรือไม่ ?



        ชาเขาจิ่งม้ายบังเกิด “ผลการช่วยเหลือ” ต่ออายุยืนของคนหรือไม่ ?

        ในการพิสูจน์หาความจริงของปรากฏการณ์อายุยืนของคนแก่เขาจิ่งม้าย พวกเราได้สรุปรวบยอดออกมาประมาณ 17 ปัจจัยด้วยกัน ทั้งหมดนี้ที่จัดไว้อยู่ใน 3 ลำดับแรกคือ “สภาพแวดล้อมธรรมชาติ ทำงานที่พอเหมาะ นิสัยการดื่มชา

        สำหรับผลที่บังเกิดต่อร่างกายจากการดื่มชา โดยเฉพาะระดับการเกี่ยวพันที่ก่อให้เกิดอายุยืน โดยการที่พวกเราใช้ “ผลการช่วยเหลือ” เป็นตัวกำหนด นี่เป็นเพราะว่า :

        1. การดื่มชาของคนพื้นที่ โดยเฉพาะในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนแก่ของท้องถิ่นที่เป็นสัดส่วนค่อนข้างใหญ่ ปริมาณการดื่มชาของคนพื้นที่จะสูงกว่าปริมาณการดื่มชาของคนเมืองแต่ละคน 3-5 เท่า มีประเด็นหนึ่งที่ต้องบ่งบอกให้ชัดเจนคือ ปริมาณการดื่มชานี้ไม่ใช่อิงตามปริมาณน้ำ(หรือนับเป็นถ้วย) แต่เป็นการคำนวณตามความเข้มข้นของน้ำชา(ของเหลวชา) หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า ชาที่พวกเขาชงออกมาจะเข้มมาก และก็ขมมาก ซึ่งยากสำหรับพวกเราที่จะ “ออกรส” แต่วิเคราะห์จากอีกบทบาทหนึ่ง จะพบเห็นได้ว่าอัตราส่วนของสารที่ละลายอยู่ในน้ำชาที่พวกเขาบริโภคเข้าไปในแต่ละวันจะสูงมาก สารที่ละลายอยู่ในน้ำเหล่านี้โดยส่วนใหญ่ถือเป็นสารประกอบปฐมภูมิของใบชา เช่น ทีโพลิฟีนอลส์ คลอโรฟิลล์(ส่วนใหญ่เป็นคลอโรฟิลล์ B) คาแฟอีน ทีโอฟิลลีน ทีโพลิแซคคาไรด์ สารสีชา เป็นต้น พวกเราเรียกรวมๆกันว่า “สารพฤกษเคมี”(เกี่ยวกับ “สารพฤกษเคมี” ของใบชา ผู้เขียนได้โยงใยในบทความก่อนหน้านี้แล้ว ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวซ้ำอีก) สำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรง เช่นคนวัยหนุ่มสาว ถ้าหากคงนิสัยการดื่มแบบนี้เป็นประจำโดยตลอดแล้ว ร่างกายจะก่อเกิดเป็นกำแพงคู่ขนาน “กันโรค” อย่างแน่นหนาแข็งแรง สำหรับด้านการแก่ตัวทางสรีรวิทยาของคนที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคชราบางโรค ก็จะบรรลุผลทาง “การยับยั้งพอเหมาะ” ได้

        2. “สารประกอบทุติยภูมิ” ที่ก่อเกิดจากกระบวนการผลิตใบชา มีส่วนประกอบทาง “ยา” จากธรรมชาติ พวกมันมีมากมายหลายชนิด แต่แทบทั้งหมดอยู่ในระดับที่น้อยนิดหรือเพียงเล็กน้อยมาก เฉพาะตัวโดดๆของพวกมันเองจะก่อให้เกิดผลได้น้อยมาก ดำรงปัญหาของ “ขนาดยา” ไม่เพียงพอ แต่ทว่า เมื่อพวกมันได้ละลายรวมอยู่ในชาเข้มถ้วยเดียวกันแล้ว ก็จะก่อเกิดพลังที่ใหญ่มากต่อร่างกาย ซึ่งส่วนประกอบ “ยา” มากมายเมื่อได้มาอยู่รวมกันก็จะเกิด “ปฏิกิริยารวมพลัง”(聚量反应) ก่อให้เกิดผลทาง “ฤทธิ์ยารักษามุ่งตรงเป้าทวีคูณ”(多靶向药性)(จากส่วนประกอบยาแปรสภาพไปทางสรรพคุณฤทธิ์ยา) มันเป็นวิธีหนึ่งของ “การรักษาโดยไม่ใช้ยา” ของพวกเราทั้งในปัจจุบันและอนาคตสำหรับความดันโลหิตระดับเบา โรดเกาต์ โรคหัวใจ เป็นต้น

        3. ยกตัวอย่างส่วนประกอบที่พิเศษ 3 ตัว ที่ยืนยันหลักการของชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้ายที่ก่อเกิด “ผลการช่วยเหลือ” ต่อ “อายุยืน” ของร่างกาย
        ตัวที่ 1 คือกรดซาลิไซลิก(Salicylic Acid) เป็นกรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ละลายในไขมัน(เป็นสารหลักของยาแอสไพริน)ที่ถูกค้นพบครั้งแรกในต้นหลิว ความเป็นจริง สารชนิดนี้ไม่ใช่ของหายาก และดำรงอยู่ในพืชมากมาย ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่หยินหนานก็มีดำรงอยู่ทั่วไป มันจัดอยู่ในสารประกอบปฐมภูมิของพืช แต่ในนี้จะมีปัญหาหนึ่งคือ กรดซาลิไซลิกมีคุณสมบัติละลายในไขมัน ไม่ละลายในน้ำ ซ้ำยัง “บอบบาง” มาก เมื่อเจอความร้อนจะสลายตัวเป็นฟีนอลและคาร์บอนไดออกไซด์ ยากที่จะรักษาให้คงรูปได้ แต่ “เยว่กวงไป๋” ของเขาจิ่งม้ายใช้รูปแบบ “การหมักอ่อน” โดยการผึ่ง วิธีการหมักแบบนี้จะเกิดการออกซิไดซ์แล้วสลายสารประกอบเคมีที่อยู่รายล้อมกรดซาลิไซลิกเปลี่ยนเป็นสารที่ละลายในน้ำ เมื่อตอนที่พวกเราใช้น้ำร้อนในการชง โดยสารที่ละลายในน้ำจะเป็นตัวพากรดซาลิไซลิก “หลุดออกมา” เข้าไปในน้ำชา ดังนั้น “เยว่กวงไป๋” และชาขาวของฝูเจี้ยนจะเหมือนกัน มีจุดเด่นในการลดการอักเสบ ลดไข้(ต้องเป็นชาเข้มเท่านั้น) อันที่จริง ยังมีอีกหนึ่งสรรพคุณที่ดีกว่า ก็คือสมรรถภาพในการสลายเม็ดเลือดแดง(Hemolysis)
        ตัวที่ 2 คือ GABA(γ-AminoButyric Acid) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่โปรตีน ทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ช่วยให้สมองเกิดการผ่อนคลายและนอนหลับสบาย ช่วยในการชะลอความเสื่อมของสมอง และยังเป็นสารสื่อประสาทประเภทสารยับยั้ง สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือมีสรรพคุณทางลดความดันโลหิตที่ดี มันมาได้อย่างไร ? คือสารประกอบทุติยภูมิที่เกิดจากปฏิกิยารุนแรงเกินไปของพืชภายใต้สภาวะพร่องออกซิเจนของใบชา ชาสุกผูเอ๋อร์ที่ผลิตในเขาจิ่งม้าย ซึ่งวิธีการหมักกองกับหลักการของการหมักพร่องออกซิเจนจะเหมือนกัน สามารถก่อให้เกิด GABA ชาดิบผูเอ๋อร์ที่ผลิตในเขาจิ่งม้าย หลังการอัดขึ้นรูปเป็นชาแผ่นกลม ชาแผ่นเหลี่ยม ชาก้อนแล้ว อันเนื่องจากภายในของชาที่อัดขึ้นรูปดำรงช่องว่างพร่องออกซิเจน หลังจากการเก็บไว้ 1 ปี ก็จะปรากฏ GABA ระยะเวลาการเก็บยิ่งนานปริมาณก็ยิ่งมาก
        ตัวที่ 3 คือเรสเวอราทรอล(Resveratrol) เป็นสารประกอบกลุ่มโพลิฟีนอลส์ ยุคปี 80 ศตวรรษที่แล้ว องค์การอนามัยโลกได้ตรวจสอบและค้นพบว่า ถึงแม้คนฝรั่งเศสจะชื่นชอบอาหารที่มีไขมันสูงเช่นเนย แต่อัตราการป่วยโรคหัวใจและอัตราการตายต่ำกว่าประเทศตะวันตกอื่นๆ ซึ่งเหตุผลอาจเกี่ยวข้องกับการที่คนฝรั่งเศสดื่มเหล้าองุ่นเป็นประจำ และในเหล้าองุ่นมีส่วนประกอบที่พิเศษชนิดหนึ่ง-----เรสเวอราทรอล ซึ่งเป็นสารต้านพิษ(Antitoxin)ชนิดหนึ่งที่เกิดจากเถาองุ่นเพื่อยับยั้งการรุกรานของเชื้อรา หลังเกิดขึ้นมาแล้วจะไปเก็บค้างไว้ที่เปลือกองุ่น มีเพียงไวน์แดงจากการหมักพร้อมเปลือกตามวิธีรูปแบบดั้งเดิม เรสเวอราทรอลในเปลือกองุ่นจึงจะถูกเอทานอลที่ค่อยๆเกิดขึ้นจากการผลิตในกระบวนการหมักเหล้าทำการละลายออกมา สารส่วนประกอบชนิดนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในเหล้าองุ่นเมื่อปี 1992 จากงานวิจัยจำนวนมากของต่างประเทศได้ยืนยันว่า เรสเวอราทรอลเป็นสารส่วนประกอบที่มีคุณประโยชน์มากที่สุดในเหล้าองุ่น ซึ่งก็คือสารส่วนประกอบที่สำคัญในไวน์แดงที่ต้านทานโรคหลอดเลือดแข็งและโรคหัวใจ ความเป็นจริง ในกระบวนการเจริญเติบโตของใบชาก็ผลิตสารต้านพิษเพื่อยับยั้งการรุกรานของเชื้อราดำรงอยู่ ก็มีเรสเวอราทรอลดำรงอยู่ นี่ก็ทำนองเดียวกันที่เหล้าองุ่นก็มีแทนนินและคาเทชิน แม้ว่าพวกมันจะเป็นพืชต่างตระกูลวงศ์ แต่มีสารที่ใกล้เคียงกันเป็นจำนวนมาก เมื่อพวกเราดื่มใบชาเขาจิ่งม้าย ไม่ว่าจะเป็นชาเขียว ชาผูเอ๋อร์ เยว่กวงไป๋ ชาแดง ล้วนเป็นไปได้ที่จะพานพบเรสเวอราทรอลในใบชาโดยบังเอิญ อันที่จริงมันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้อายุยืน แน่นอน วิธีและมาตรฐานการตรวจสอบที่เกี่ยวกับเรสเวอราทรอลในใบชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้าย รวมถึงวิธีการสกัดสารบริสุทธิ์ของมันยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัย ยังไม่มีประสบการณ์ที่ชำนาญและวิธีการสกัดเสมือนเหล้าองุ่น(เปลือก) แต่ในอนาคตอันใกล้นี่ เคียงข้างไปกับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของชาผูเอ๋อร์ที่ค่อยๆเชิงลึก วิธีการสกัดเรสเวอราทรอลจากชาพันธุ์ใบใหญ่จะค่อยๆชำนาญขึ้น แล้วเรสเวอราทรอลชนิดที่มีระดับคุณภาพสูงกว่าก็จะเข้าสู่การผลิตเชิงการค้าต่อไป

........จบบริบูรณ์........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《งานวิจัยกลไกการชะลอวัยของชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้าย (บทคัดเลือก)》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน ธันวาคม ปี 2016

งานวิจัยกลไกการชะลอวัยของชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้าย (ตอนที่ 2)