วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ตามรอยประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของวัฒนธรรมชาจีน | (ตอนที่ 4/4)



     -๐๔-〖#การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการดื่มชา〗

        เมืองจีนเป็นถิ่นกำเนิดของชา ชาเริ่มต้นจากการเป็นยาแก้พิษแล้วภายหลังพัฒนาเป็น「ศิลปะกรรมเครื่องดื่มใบไม้ของพรรณไม้ที่ธรรมดาๆกลับสามารถนำวัตถุและจิตวิญญาณของคนจีนหลอมรวมเป็นหนึ่ง

        ผู้ปกครองสูงสุดของแต่ละราชวงศ์ที่ต่อเนื่องกันมาของเมืองจีนแทบล้วนชื่นชอบชา ซึ่งรูปแบบการดื่มชาของพวกเขาแตกต่างกัน และนี่จึงสามารถถือเป็นตัวแทนได้มากที่สุดของวัฒนธรรมชาที่เป็นอยู่ในแต่ละยุคสมัย

     【กษัตริย์โบราณเสินหนงซื่อเหยียนตี้/上古神农氏炎帝】(5000 ปีก่อน)
       | เสาะหาสมุนไพรแก้พิษกินชา/寻药解毒干吃茶

        เสินหนงซื่อเป็นบรรพบุรุษของชนชาติจีน ก็คือ “เหยียนตี้/炎帝” ใน “สามราชาห้าจักรพรรดิ/三皇五帝” เชื่อว่าเป็นผู้ที่ค้นพบชาเมืองจีนเป็นคนแรก บนประวัติศาสตร์มีการบันทึกว่า “เสินหนงซื่อชิมพืชนานาพรรณ เกิดการเป็นพิษขึ้นมา พบชาในการแก้พิษ” จะเห็นได้ว่า เหยียนตี้เริ่มแรกใช้การเคี้ยวใบชาโดยตรง นำใบชาใช้เป็นสมุนไพรในการแก้พิษ

“神农氏尝百草,日遇七十二毒,得荼而解之” | “เสินหนงซื่อชิมพืชนานาพรรณ เกิดการเป็นพิษขึ้นมา พบชาในการแก้พิษ”

     【พระเจ้าโจวอู่จีฟา/周武王姬发】(1087-1043 BC)
       | เครื่องเซ่นสำคัญต้มชาดิบ/重要祭品生煮茶

        ชาใช้ใน “พิธีการไหว้บูชา” สามารถย้อนเวลาเจาะอดีตในยุคโจว ในเอกสาร《ประเพณีโจว/周礼》บันทึกไว้ว่า “ชาเป็นเครื่องเซ่นที่ขาดมิได้ในพิธีฝังศพ

《周礼》说 : “掌荼,掌以时聚荼以供丧事” |《ประเพณีโจว》กล่าวว่า : “ชาเป็นเครื่องเซ่นที่ขาดมิได้ในพิธีฝังศพ”

        จากพระเจ้าโจวอู่ถึงอ๋องฉีอู่(齐武王/16 BC-ปี 23) ชาไม่เพียงใช้เป็นอาหาร ยังใช้เป็นเครื่องเซ่น จะเห็นได้ว่า ผู้คนต่างรับรู้ต่อจิตวิญญาณและเอกลักษณ์ของชามาช้านานแล้ว ยุคเว่ยจิ้นเหนือใต้(魏晋南北朝/ปี 220-589) ริเริ่ม “ใช้ชาในการต้อนรับแขก” และเป็นแบบแผนของความซื่อสัตย์และต่อต้านความฟุ้งเฟ้อ

▲ภาพวาดรูปแรกในประวัติศาสตร์ชา :《เซียวยี่ได้ภาพหลานถิง/萧翼赚兰亭图》ภาพวาดโดย เหยียนลี่เบิ่น(阎立本) ยุคถัง | เป็นภาพเล่าเรื่องทำนอง “งานเลี้ยงที่หงเหมิน/鸿门宴” ของชา ท้องเรื่องที่ดำเนินโดยเซียวยี่(萧翼)ซึ่งรับมอบหมายจากจักรพรรดิถังไท่จงให้มาเยี่ยมนักบวชเบี้ยนฉาย(辩才)เพื่อหลอกเอา《หลานถิงซวี่/兰亭序》ที่ถือเป็น “อัญมณีแห่งอักษรวิจิตร” ซึ่งเป็นภาพลายมือพู่กันจีนของหวังซีเจือ(王羲之) ที่มุมซ้ายล่างของภาพเป็นส่วนที่ถือเป็นตัวแทนของยุคถังได้ดีที่สุดก็คือ「การเคี่ยวชาผง/煎茶末」 

▲ภาพบางส่วนของ《เซียวยี่ได้ภาพหลานถิง》| ภาพนี้ไม่เพียงเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ของนักบวชโบราณที่ “ใช้ชารับแขก/以茶待客” ยังแสดงให้เห็นภาพจริงของกระบวนการดื่มชาและภาชนะชาในการต้มชา เป็นภาพแรกที่สะท้อนชีวิตการดื่มชาในยุคถัง ตั้งแต่ยุคถังเป็นต้นมา การดื่มชาได้แทรกซึมเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนแล้ว

     【จักรพรรดิถังใต้จงหลี่ยี่/唐代宗李豫】(ปี 762-779)
       | กำกับการผลิตชาบรรณาการวิธีการเคี่ยวชา/督造贡茶煎茶法

        ยุคถังเป็นยุคสมัยที่เจริญก้าวหน้ามากที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ชาได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการคมนาคมที่สะดวก การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเศรษฐกิจระหว่างเหนือใต้ และพื้นฐานของทั้งสังคมที่รุ่งเรืองเฟื่องฟู ยุคถังได้ริเริ่มจัดตั้งระบบ「ชาบรรณาการ/贡茶」ขึ้นมา

▲ภาพการกระจายสวนไร่ชาบรรณาการในยุคอดีตของเมืองจีน | เดิมในระบบ「ชาบรรณาการ」ยังไม่มีกฎข้อบังคับของปริมาณและคุณภาพที่กำหนด ยุคถังจึงริเริ่มนำระบบชาบรรณาการบรรจุเข้าไปในพระราชกฤษฎีกา เลยจึงเกิดมีผลิตภัณฑ์ชาที่โด่งดังให้เป็นทางเลือกในยุคต่อๆมา

        กรรมวิธีการผลิตและวิธีการดื่มชาในยุคถังจะค่อนข้างสมบูรณ์แบบ ในการทำชามีทั้ง「ชาเส้น/散茶」และ「ชาแผ่น/饼茶」ยุคถังนอกจากได้สานต่อ『การต้มชา/煮茶法』เช่นในอดีต ยังใช้『การเคี่ยวชา/煎茶法』มันมีขั้นตอนของการต้ม ชาที่ใช้เป็นชาผง ผิวน้ำชาที่เคี่ยวเสร็จแล้วจะมีฟองมากมาย จึงกล่าวได้ว่า วิธีการเคี่ยวชาสืบทอดจากวิธีการต้มชา แล้วส่งต่อไปยัง『การตีชา/点茶法

▲《ภาพความบันเทิงในวัง/宫乐图》ยุคถัง | เป็นภาพวาดบรรยายการชุมนุมของเหล่านางสนมในวังที่นั่งล้อมโต๊ะยาวร่วมทำกิจกรรมบันเทิงและดื่มชา ในภาพมี 12 คน บนโต๊ะยาวมีชามชาใบใหญ่ตั้งอยู่ บนชามชามีที่ตักด้ามยาว นางสนมคนหนึ่งกำลังจะตักชาใส่ถ้วยตนเอง และมีบางนางกำลังซดดื่มชา บางนางดีดขิมเป่าแคน ลักษณะท่าทางดูมีชีวิตชีวา   

     【จักรพรรดิซ่งฮุยจงจ้าวจี๋/宋徽宗赵佶】(ปี 1100-1126)
       | ติดชางอมแงมวิธีการตีชา/嗜茶如命点茶法

        ยุคซ่งเป็นยุคสมัยที่ทำการพัฒนาวัฒนธรรมชาครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์จีน การนิยมดื่มชาในยุคซ่งเฟื่องฟูกว่ายุคถัง จักรพรรดิราชวงศ์ซ่งตั้งแต่ปฐมจักรพรรดิซ่งไท่จู่จ้าวควางยิ้น(宋太祖赵匡胤) ก็นิยมชมชอบการดื่มชา ที่นับว่าขึ้นชื่อมากที่สุดก็คือจักรพรรดิซ่งฮุยจงจ้าวจี๋ พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์《เรื่องราวชา/大观茶论》ที่บรรยายวิธี「การตีชา」อย่างละเอียด และเชื้อเชิญเหล่าขุนนางมาร่วม「งานเลี้ยงชา/茶宴」เป็นประจำ

▲《ภาพชุมนุมปัญญาชน/文会图》ภาพวาดโดย จ้าวจี๋(赵佶) ยุคซ่ง | ภาพวาดบรรยายถึงปัญญาชนและคนชั้นสูงในยุคซ่งมีสุนทรียะในการดื่มเหล้าชิมชา จักรพรรดิซ่งฮุยจงชื่นชอบชาเป็นชีวิตจิตใจ ติดชางอมแงม ทรงจัด「งานเลี้ยงชา」เป็นประจำโดยมีเหล่าขุนนางและปัญญาชาเป็นแขกรับเชิญ บางครั้งสนุกสนานจน「ตีชา」ด้วยตนเอง และละเล่น「ดวลชา」อย่างสำราญฤทัย ทำให้ยุคซ่งเกิดกระแสนิยมการชิมดื่มชาในหมู่คนทั้งชนชั้นสูงและชนชั้นล่าง

▲ภาพบางส่วนของ《ภาพชุมนุมปัญญาชน》| ในรูปเป็นภาพเด็กรับใช้หลายคนกำลังตระเตรียมการตีชาที่ดูมีชีวิตชีวา บนโต๊ะวางเรียงด้วยจ่านชาเคลือบดำประกอบคู่กับจานรองจ่านชาสีดำเป็นคู่ๆ เด็กตรงกลางมือซ้ายถือจานรองจ่านชา มือขวากำลังใช้ช้อนตักชาผงที่บดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตักใส่ลงบนจ่านชาที่วางบนจานรอง ถ้าสังเกตให้ดีอีกนิด จะเห็นบนจ่านชามีลายเป็นเส้นๆดั่งขนกระต่าย แสดงว่านี่ก็คือ「เจี้ยนจ่านขนกระต่าย

      「การตีชา」มีความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่ สิ่งที่ใช้คือ『ก้อนมังกรแผ่นหงษ์/龙团风饼』 ที่ขึ้นชื่อลือชา และทำให้กำเนิดภาชนะชาที่ลือลั่นบันลือโลก『เจี้ยนจ่าน/建盏』 และเป็นการเปิดศักราชกระแสนิยม「ดวลชา/斗茶」ในหมู่ประชาชน

▲《ภาพดวลชา/斗茶图》ภาพวาดโดย จ้าวเมิ้งฝู(赵孟頫) ยุคเหยียน | ในภาพมีคนหาบเร่ขายชา 4 คนอยู่ในร่มเงาใต้ต้นไม้ คนข้างหน้าทางซ้ายมือหนึ่งถือจอกชามือหนึ่งหิ้วถังชา ท่าทางสงบเสงี่ยม คนด้านหลังมือหนึ่งถือจอกชามือหนึ่งยกกาชาขึ้น ทำท่าทางรินน้ำชาในกาลงใส่ในจอก อีกสองคนยืนเฝ้ามองดูอยู่ข้างๆ ผู้ดวลชานำใบชาที่ทำมากับมือมาประลองกัน แสดงให้เห็นภาพเหตุการณ์ของการซื้อขายใบชาและ「ดวลชา」ในมวลชนยุคซ่ง  

▲「ดวลชา」ที่แท้มีวิธีการ “ดวล” อย่างไร? | ใช่เซียง(蔡襄) ขุนนางขึ้นชื่อในยุคซ่งเหนือได้กล่าวไว้ใน《บันทึกชา/茶录》ว่า : 1.คือการดูที่สีสันของฟองชาบนผิวน้ำชาและระดับความส่ำเสมอ ภายใต้การตีคนอย่างต่อเนื่องด้วยแปรงไม้ไผ่ ทำให้เกิด “ฟองชา/汤花” อย่างต่อเนื่อง สีขาวบริสุทธิ์ถือว่าเยี่ยมยอดที่สุด รองมาคือขาวเขียว รองลงมาอีกขาวเทา ขาวเหลือง ; 2.มาให้ความสนใจในการ “เกาะจ่าน/咬盏” ฟองชาลอยบนผิวชาแล้วเกาะยึดติดขอบจ่านได้โดยไม่ยุบและนานที่สุดเป็นฝ่ายชนะ (จากรูป : คุณคิดว่า “จ่านซ้าย” หรือ “จ่านขวา” จ่านไหนเป็นฝ่ายชนะ?)

▲「เจี้ยนจ่านขนกระต่ายเคลือบดำ/建窑黑釉兔毫盏」ยุคซ่งใต้(ปี 1127-1279) คู่กับ「จานรองจ่านทรงดอกไม้เครื่องเขินสีเลือดหมู/朱漆花形盏托」ยุคศตวรรษที่ 13/14 | เมื่อ “สีของการตีชา โดยขาวบริสุทธิ์เหนือสุด/点茶之色,以纯白为上” ฟองชาที่ดีที่สุดต้องขาวดั่งหิมะ สิ่งที่คู่ควรที่สุดกับ “ขาว” ของชา ก็ต้อง “จ่านชาเคลือบดำ” โดยธรรมชาติ ; คนซ่งถือกันว่า “จ่านในใต้หล้า หนึ่งในปฐพีคือเจี้ยนจ่าน/天下之盏,首推建盏

     【จักรพรรดิหมิงไท่จู่จูเหยียนจาง/明太祖朱元璋】(ปี 1368-1398)
       | เลิกก้อนเปลี่ยนเส้นชงชาเส้น/废团改散泡散茶

        มาถึงยุคหมิง คนในสมัยนั้นคิดว่ากระบวนการผลิตชาก้อนแผ่นแบบยุคซ่งที่ประดิดประดอยและฟุ่มเฟือยมากเกินไป สูญเสียแรงงานและสิ้นเปลืองเงินทอง รัชศกหงอู่ปีที่ 24 ราชวงศ์หมิง(明洪武二十四年/ปี 1391) จักรพรรดิหมิงไท่จู่จูเหยียนจางมีพระราชโองการให้ “ยกเลิกชาก้อน เปลี่ยนมาเป็นชาเส้น

▲ภาพบางส่วนของ《ภาพชิมดื่มชา/品茶图》ภาพวาดโดย เหวินเจินหมิง(文征明) ยุคหมิง | ห้องโถงกระท่อมไม้หลังคามุงจากในภาพ มีโต๊ะเตี้ยตั้งอยู่ เจ้าบ้านและแขกนั่งตรงข้ามกัน บนโต๊ะมีเพียงน้ำชาหนึ่งกาสองจอก ดูเหมือนคุยกันถูกปากถูกคอ ริมกระท่อมข้างๆมีเตาดินและ「ปั้นจื่อซา」เด็กชายกำลังขะมักเขม้นก่อไฟต้มน้ำ

        ณ เวลานั้น สมัยนิยม「การตีชา」ของยุคซ่งก็อันตรธานหายไป เป็นเพราะถูกแทนที่ด้วยชาเส้น วิธีการดื่มชาที่ต้องบดเป็นผงเพื่อดื่ม กลายมาเป็นวิธีการดื่มที่ใช้น้ำร้อนใน『การชงชาเส้น/泡散茶』ขณะเดียวกันอุปกรณ์ชาอย่าง『ปั้นชา/茶壶』ก็ปรากฏตัวขึ้นมา เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นการเปิดศักราชใหม่ของวิธีการชิมลิ้มรสชา คนยุคหมิงเชื่อว่า วิธีการชงชาเส้นสะดวกรวดเร็ว ภาวะอารมณ์ตามธรรมชาติ ได้รสแท้จริงของชามากที่สุด วิธีการชงลักษณะแบบนี้ก็กลายเป็นวิธีการดื่มชาที่นิยมทั่วไปมากที่สุด ณ ปัจจุบัน

▲「ปั้นจื่อซาของสือต้าปิง/时大彬制紫砂壶」ยุคหมิง | ขุดพบในสุสานของ หลูเหวยเจิน(卢维祯) ที่เมืองจางผู่ฝูเจี้ยน ฝังในรัชศกว่านลี่ปี 38 (ปี 1610) โดยการสกัดจับพวกโจรปล้นสุสานเมื่อเดือน ก.ค. 1987 ปั้นจื่อซาใบนี้ เนื่องจากเนื้อดินจื่อซาไม่บริสุทธิ์ หลังเผาผนึกจึงปรากฏจุดขาวเหลืองแบบผิวสาลี่ ผิวปั้นสากมือ ฝาปั้นเลียนแบบฝาปิดติ่งเครื่องสำริดที่นิยมในยุคชุนชิวจ้านกว๋อ หัวเม็ดดุมทำเป็นรูปแบบ 3 นิ้วหัวแม่เท้าแบน จึงวางฝาตั้งหงายได้ 

     【จักรพรรดิชิงกาวจงเฉียนหลง/清高宗乾隆】(ปี 1735-1796)
       | ผลักดันก่ายหว่านชงชาอย่างแรงกล้า/大力推行盖碗泡茶

        จากยุคหมิงเข้าสู่ยุคชิง วัฒนธรรมชาค่อยๆถลำลึกเข้าไปในท้องตลาด เข้าสู่ในชีวิตประจำวัน ยิ่งใช้รูปแบบการค้ายิ่งสั่นสะเทือนตลาดโลกอย่างรวดเร็ว ผู้ปกครองสูงสุดราชวงศ์ชิงในช่วงเวลานั้นจะชื่นชอบชาเป็นพิเศษ ฮ่องเต้เฉียนหลงจะไม่เป็นสองรองใคร

        รักแผ่นดินแต่ติดชาเสพติดยิ่งกว่า การเสด็จประพาสเจียงหนาน 7 หน ได้ตั้งชื่อชาดีของแต่ละพื้นที่ ส่งเสริมร้านน้ำชาผลักดันก่ายหว่าน แล้วการใช้ก่ายหว่านในการชงชาก็แพร่หลายถึงในปัจจุบัน ภาชนะชา『ก่ายหว่าน/盖碗』ประกอบด้วย “ถ้วย/” “ฝา/” “จานรอง/” เป็นรูปแบบที่พิเศษเฉพาะ การทำละเอียดประณีต ถ้วยชาบนกว้างล่างแคบ ฝาปิดเข้าไปอยู่ในถ้วย จานรองทำเป็น “ฐานพยุง/底承托” เมื่อดื่มชาฝาจะเลื่อนตกได้ยาก มีจานรองใช้ประคองก็จะไม่ร้อนมือ

▲「ก่ายหว่าน/盖碗」| ประกอบด้วย  “ฝา/” “ถ้วย/” “จานรอง/

        ประวัติศาสตร์การปลูกชา การผลิตชา การดื่มชาของเมืองจีนมีความเป็นมาอย่างยาวนาน ในเอกสารโบราณที่เกี่ยวกับชาจำนวนมาก ล้วนมีการบันทึกเป็นประวัติ ถึงแม้รูปลักษณ์ของชาเกิดการเปลี่ยนแปลง รูปแบบของการดื่มชาเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ใจที่รักชาจะไม่เปลี่ยน ชาหนึ่งจอก นำคนโบราณและคนปัจจุบันมาเชื่อมโยงใยเข้าด้วยกัน

        คุณเป็นผู้รักการดื่มชา ทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ของชาสักประเดี๋ยว อาจทำให้เวลาที่คุณชิมลิ้มรสชามีอรรถรสและข้อมูลการสนทนามากยิ่งขึ้นก็เป็นไปได้ !?





เอกสารอ้างอิง :
1. 从药用到品饮的茶界简史  |  https://www.ichanfeng.com/2018/10/10/10655.html
2. 饮茶 , 制茶发展史简述  |  https://www.jianshu.com/p/a794937f5368
3. 茶叶制造 : 我国制茶技术史及茶类出现的顺序  |  http://m.ishuocha.com/show-64-24574.html
4. 制茶史的上下四千年  |  https://zhuanlan.zhihu.com/p/27842715?utm_source=com.google.android.gm&utm_medium=social&utm_oi=1006583554779770880

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ตามรอยประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของวัฒนธรรมชาจีน | (ตอนที่ 3/4)



       (5) จากชาเขียวพัฒนาเป็นชาชนิดอื่น

        ในกระบวนการผลิตชา เนื่องจากการค้นหาสาเหตุเน้นหนักในการคงไว้ซึ่งกลิ่นหอมและรสชาติของใบชา เมื่อผ่านวิธีดำเนินการไม่เหมือนกัน จากไม่เกิดการหมัก การหมักบางส่วน จนถึงการหมักเต็มที่ในอนุกรมของระดับการหมักแตกต่างกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพในตัวใบชา เมื่อสืบเสาะลักษณะประจำเช่นนี้ได้แล้ว ด้วยเหตุนี้ใบชาจากใบสดถึงวัตถุดิบ เมื่อผ่านกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน ผลิตออกมาเป็นกลุ่มชา 6 ชนิดที่ต่างมี สี กลิ่น รส รูป อันมีอัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน นั่นก็คือ ชาเขียว ; ชาเหลือง ; ชาดำ ; ชาขาว ; ชาแดง ; ชาเขียวนิล

▲กลุ่มชา 6 ชนิด | (บน→ล่าง) ชาเขียว/绿茶 ; ชาอู่หลง/乌龙茶 (ชาเขียวนิล/青茶) ; ชาแดง/红茶 ; ชาขาว/白茶 ; ชาเหลือง/黄茶 ; ชาดำ/黑茶


▲กลุ่มชาเขียว/绿茶 | (บน→ล่าง) ชาเขียวคั่วเขียว/炒青绿茶 ; ชาเขียวอบเขียว/烘青绿茶 ; ชาเขียวตากเขียว/晒青绿茶 ; ชาเขียวนึ่งเขียว/蒸青绿茶

        I【การเกิดขึ้นของชาเหลือง

        กรรมวิธีพื้นฐานของชาเขียวคือ การฆ่าเขียว การนวด การอบแห้ง เมื่อกรรมวิธีการคั่วเขียวควบคุมได้ไม่ดีพอ เช่น ความร้อนในการคั่วเขียวต่ำ ระยะเวลาการนึ่งเขียวฆ่าเขียวนาน หรือหลังการฆ่าเขียวแล้วทำการผึ่งเย็นหรือการนวดไม่ทันการณ์ หรือหลังการนวดแล้วอบแห้งคั่วแห้งไม่ทัน การวางกองนานเกินไป ทำให้ใบชาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ได้เป็นน้ำชาสีเหลืองของชาเหลือง คล้ายคลึงกับชาเหลืองที่ปรากฏขึ้นมาภายหลัง ดังนั้น การเกิดขึ้นของ『ชาเหลือง』อาจเป็นไปได้ที่วิวัฒนาการมาจากวิธีการผลิตชาเขียวที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งในยุคหมิงมีเอกสาร(ปี 1597)ได้บันทึกถึงประวัติศาสตร์วิวัฒนาการนี้

▲กลุ่มชาเหลือง/黄茶 | (บน→ล่าง) ชาเหลืองยอดตูม/黄芽茶 ; ชาเหลืองใบเล็ก/黄小茶 ; ชาเหลืองใบใหญ่/黄大茶

        II【การปรากฏขึ้นของชาดำ

        เมื่อปริมาณชาเขียวมากเกินไปในการฆ่าเขียวที่ความร้อนต่ำ ทำให้สีใบเปลี่ยนเป็นสีเขียวน้ำตาลเข้มเข้าใกล้สีดำ หรือชาเขียวกึ่งสำเร็จรูปวางกองเกิดการหมักภายหลัง กลายเป็นสีดำจากความเปียกชื้น นี่เป็นกระบวนการเกิดขึ้นของ『ชาดำ』การผลิตชาดำริเริ่มขึ้นในกลางยุคหมิง มีขุนนางราชสำนักยุคหมิงได้บันทึกการเกิดขึ้นของชาดำในปี 1524

▲กลุ่มชาดำ/黑茶 | (บน→ล่าง) ชาดำหูหนาน/湖南黑茶 ; ชาดำหูเป่ย/湖北黑茶 ; ชาดำซื่อฉวน/四川黑茶 ; ชาดำเตียนกุ้ย/滇桂黑茶

        III【ความเป็นมาและวิวัฒนาการของชาขาว

        ชาขาวที่เรียกขานกันในยุคถังและซ่ง คือชาที่ค้นพบโดยบังเอิญที่ผลิตจากใบที่เด็ดจากต้นชาที่มีใบสีขาว ซึ่งแตกต่างจากชาขาวที่พัฒนาขึ้นมาภายหลังโดยไม่คั่วไม่นวด เมื่อถึงยุคหมิง ปรากฏชาที่มีลักษณะใกล้เคียงกับชาขาวยุคปัจจุบัน『ชาขาว』ทุกวันนี้จากค่อยๆวิวัฒนาการของชาเขียวยุคซ่ง เริ่มแรกเป็นการบ่งชี้ถึง「ไป่หาวยิ๋นเจิน/白毫银针」ที่ชาแห้งเต็มไปด้วยขนขาวปกคลุม สีออกเป็นขาวเงิน ภายหลังก็ได้พัฒนาออกมาเป็น「ไป่หมู่ตาน/白牡丹」「ก้งเหมย/贡眉」「โซ่วเหมย/寿眉」เป็นตัน

▲กลุ่มชาขาว/白茶 | (บน→ล่าง) ชาขาวยอด/白芽茶 ; ชาขาวใบ/白叶茶

        IV【การเกิดขึ้นและการพัฒนาของชาแดง

        ชาแดงกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 16 บนกระบวนการพัฒนาการผลิตใบชา ค้นพบการตากเขียวแทนการฆ่าเขียว หลังผ่านการนวดเปลี่ยนเป็นใบสีแดงซึ่งก่อเกิดเป็น『ชาแดง』ชาแดงแรกสุดคือ「ชาแดงเสียวจ่ง/小种红茶」ที่ผลิตจากหมู่บ้านซิงในฉงอานฝูเจี้ยน ต่อมาค่อยๆพัฒนาออกมาเป็น「ชาแดงกงฟู/工夫红茶」หลังยุคปี 1920s อินเดียได้พัฒนาชาแดงผงที่ผ่านวิธีการโดยนำใบชามาตัดให้ละเอียด เมืองจีนก็เริ่มทดลองผลิตชาแดงผงในยุคปี 1950s

▲กลุ่มชาแดง/红茶 | (บน→ล่าง) ชาแดงเสียวจ่ง/小种红茶 ; ชาแดงกงฟู/工夫红茶 ; ชาแดงผง/红碎茶

        V【ต้นกำเนิดของชาเขียวนิล(อู่หลง)

        ชาเขียวนิลแทรกอยู่ระหว่างชาเขียวกับชาแดง วิธีการผลิตชาเขียวมีมาก่อน แล้วจึงมีวิธีการผลิตชาแดง และแล้ววิธีการผลิต『ชาเขียวนิล』ก็โผล่ขึ้นมา ต้นกำเนิดของชาเขียวนิล ในวงการวิชาการยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ บ้างอนุมานว่าปรากฎขึ้นในยุคซ่งเหนือ บ้างก็คาดคะเนว่าในช่วงรัชสมัยเสียนฟง(ปี 1851-1861)ราชวงศ์ชิง แต่ล้วนเห็นพร้องต้องกันว่าถูกคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในมณฑลฝูเจี้ยน ปัจจุบันวิธีการผลิต「ชาอู่หยีเหยียน/武夷岩茶」ของฝูเจี้ยนยังคงอนุรักษ์ลักษณะเด่นของกรรมวิธีแบบดั้งเดิมอยู่

▲กลุ่มชาเขียวนิล/青茶 (ชาอู่หลง/乌龙茶) | (บน→ล่าง) ชาอู่หลงฝูเจี้ยนเหนือ/闽北乌龙茶 ; ชาอู่หลงฝูเจี้ยนใต้/闽南乌龙茶 ; ชาอู่หลงกว่างตง/广东乌龙茶 ; ชาอู่หลงใต้หวัน/台湾乌龙茶 

        หมายเหตุ : นอกจากชาเขียวที่ได้การรับรองเป็นชาชนิดแรกที่ผลิตขึ้นมา ส่วนลำดับการผลิตของชาชนิดอื่นยังมีข้อถกเถียงกันอยู่

       (6) จากชาไม่ปรุงแต่งถึงชากลิ่นดอกไม้

        วิธีการทำชาเติมหัวเชื้อน้ำหอมหรืออบกลิ่นดอกไม้มีมาช้านานแล้ว เอกสารบันทึกยุคซ่งมีการกล่าวถึงชาเติมเชื้อน้ำหอม ยุคซ่งใต้มีการบันทึกใช้ดอกละลิในการอบชา จนถึงยุคหมิง เทคโยโลยีการอบกลิ่นดอกไม้พัฒนายิ่งสมบูณร์มากขึ้น และใช้ดอกไม้หลากหลายชนิดในการอบชา

▲ชาอบกลิ่นดอกมะลิ/茉莉花茶

       (7) การทำชาด้วยมือถึงการผลิตชาด้วยเครื่องจักร

        เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตชาได้รับการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรผลิตชารูปแบบต่างๆทยอยปรากฏออกมา เริ่มต้นจากเครื่องจักรเฉพาะงานขนาดเล็กเครื่องเดียว แล้วปรากฏเป็นเครื่องจักรเฉพาะงานหลายเครื่องประกอบกันอย่างง่ายๆ จนพัฒนาถึงปัจจุบันที่เป็นสายการผลิตด้วยเครื่องจักรตลอดทั้งกระบวนการ ปัจจุบัน นอกจากชาชั้นดีขึ้นชื่อส่วนน้อยที่ยังทำด้วยมือหรือผลิตด้วยมือผสมเครื่องจักรแล้ว ใบชาส่วนใหญ่จะผลิตโดยสายการผลิตด้วยเครื่องจักรแทบทั้งสิ้น

▲สายการผลิตใบชาแบบอัตโนมัติ

       (8) จากผลิตภัณฑ์ขั้นต้นถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปเชิงลึก

        เมื่อคุณภาพชีวิตถูกยกระดับให้สูงขึ้นตลอดเวลา ความต้องการบริโภคใบชาก็ค่อยๆมุ่งไปทางผลิตภัณฑ์คุณภาพดี ไปในทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย เริ่มพัฒนาแปรรูปใบชาในเชิงลึก ทำให้ผลิตภัณฑ์ใบชาพัฒนาเป็นสินค้าเกรดสูงที่สุขอนามัย บำรุงสุขภาพ สะดวก สมัยนิยม เป็นต้น ซึ่งกลายเป็นเทรนด์ของการผลิตชาทั่วโลก

▲ช็อกโกแลตมัทฉะ  


เอกสารอ้างอิง :
1. 从药用到品饮的茶界简史  |  https://www.ichanfeng.com/2018/10/10/10655.html
2. 饮茶 , 制茶发展史简述  |  https://www.jianshu.com/p/a794937f5368
3. 茶叶制造 : 我国制茶技术史及茶类出现的顺序  |  http://m.ishuocha.com/show-64-24574.html
4. 制茶史的上下四千年  |  https://zhuanlan.zhihu.com/p/27842715?utm_source=com.google.android.gm&utm_medium=social&utm_oi=1006583554779770880

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ตามรอยประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของวัฒนธรรมชาจีน | (ตอนที่ 2/4)



     -๐๓-การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการผลิตชา

        การผลิตชาของเมืองจีนมีประวัติอันยาวนาน ตั้งแต่การค้นพบตันชาพันธุ์ป่า จากการเคี้ยวดิบต้มซุปดื่ม ถึงชาแผ่นชาเส้น จากชาเขียวถึงชาหลากหลายชนิด จากปฏิบัติการด้วยมือถึงการผลิตชาด้วยเครื่องจักร เป็นช่วงเวลาที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อน การปรากฏของชาแต่ละชนิดที่ต่างมีคุณภาพอันเป็นอัตลักษณ์ นอกจากผลกระทบของพันธุ์ต้นชาและวัตถุดิบใบชาสดแล้ว สภาวะของการทำงานและวิธีการผลิตเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนด

       (1) จากดิบต้มซุปดื่มถึงการตากแห้งเก็บ

      【ยุคฮั่นทั้งสองและก่อนหน้านี้ | การทานใบสด/食用鲜叶

        เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อน คนโบราณก็ได้เรีนนรู้ว่าต้นชาป่ามีสรรพคุณทางยา แล้วนำมาใช้เป็นยาตลอดมา หลังจากนั้นก็นำ「ใบชาสด」มาต้มทำผักชา โจ๊กชา ต้มซุปเป็นอาหาร เอกสารโบราณรัชสมัยเซวียนตี้ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก(西汉宣帝/91-48 BC)ได้บันทึกสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ใบชาในสมัยนั้นได้กลายเป็นสินค้าที่ซื้อขายกันในท้องตลาดแล้ว

▲「ใบชาสด」|  เริ่มต้นนำมาเคี้ยวกินเป็นยาแก้พิษ ต่อมาใช้ต้มทำเป็นอาหาร 

      【ยุคสามก๊กถึงยุคสุย | ทำแผ่นตากแห้ง/制饼晒干

        ช่วงระยะเวลาจากสามก๊กถึงยุคสุย วิธีการแปรรูปใบชาส่วนใหญ่เป็น「ทำแผ่นตากแห้ง」เพื่อนำใบชาไปเก็บรักษา เมื่อมีความต้องการจึงนำมาทำการบดให้ละเอียด ลักษณะเช่นนี้สามารถนำมาเป็นเครื่องซ่นหรือใช้เป็นยาและต้มดื่มกินได้ทุกเมื่อ วิธีการของการทำแผ่นตากแห้งแบบนี้สามารถมองเป็นขั้นต้นของกรรมวิธีการผลิตชา

▲「ทำแผ่นตากแห้ง」|  เพื่อถนอมใบชาสดได้ดียิ่งขึ้น จึงนำใบชาที่เด็ดมาใหม่ทำเป็นแผ่นแล้วตากแห้งใต้แสงแดดโดยตรง แห้งแล้วจึงนำไปเก็บรักษา  

       (2) จากนึ่งเขียวทำแผ่นถึงก้อนมังกรแผ่นหงษ์

      【ยุคถังและยุคห้าวงศ์สิบรัฐ | นึ่งเขียวทำแผ่น/蒸青做饼

        เนื่องจากการเด็ดใบสดมาทำชาแผ่นตากแห้งโดยตรงยังมีกลิ่นหญ้าเขียวรุนแรง คนในยุคถังจึงได้พัฒนาเป็น「นึ่งเขียวทำแผ่น」นอกจากการนึ่งใบสดทำเป็นชาแผ่นเป็นหลักแล้ว ในยุคถังยังมี “ชาหยาบ/粗茶” “ชาเส้น/散茶” “ชาผง/末茶” เป็นต้นที่ไม่ใช่ชาแผ่น มีเพียงชาแผ่นที่ถวายเป็น「ชาบรรณาการ/贡茶

▲ภาชนะซึ้ง「เจิ้น/」ใช้นึ่งใบชา |「ทำแผ่นตากแห้ง」จะไม่สามารถดำเนินการได้ในวันที่ไม่มีแสงแดด จึงคิดนำ「เจิ้น」มาทำการนึ่งใบชา เพื่อทำให้ใบชาแห้งหลังนึ่งเสร็จ ก็ได้คิดค้นวิธีการอบแห้งคั่วแห้งขึ้นมา รูปแบบดั้งเดิมในการ “ตากชา” “นึ่งชา” “อบชา” “คั่วชา” สามารถมองเป็นขั้นต้นของกรรมวิธีการผลิตชาในภายหลังต่อมา

        ลู่หยี่ได้กำหนดมาตรฐานของวิธีการผลิตและการชิมดื่มไว้ใน《คัมภีร์ชา/茶经》และได้ทำการออกแบบชุดอุปกรณ์อย่างละเอียด จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีการผลิตชาโดย「นึ่งเขียวทำแผ่นและรูปแบบการดื่มโดยการต้มดื่มในยุคถังค่อนข้างเป็นที่สุกงอมแล้ว

▲กระบวนการ「นึ่งเขียวทำแผ่น」ยุคถัง ตามการบันทึกและบรรยายไว้ใน《คัมภีร์ชา》ของ ลู่หยี่ | นำใบชามาผ่าน 7 ขั้นตอนตามลำดับดังนี้ การเด็ด/采之 การนึ่ง/蒸之 การบด/捣之 การเคาะ/拍之 ; การอบ/焙之 ; การร้อย/穿之 ; การปิด/封之 ; จนออกมาเป็นชาแผ่น

      【ยุคซ่ง | นึ่งเขียวชาก้อน/蒸青团茶

        การผลิตชายุคซ่งเป็นการสืบสานเทคโนโลยีการ「นึ่งเขียวทำแผ่น」ของยุคถัง แต่กรรมวิธีการจะยิ่งละเอียดประณีต เรียกว่า「ก้อนแผ่น/团饼」ในรัชสมัยซ่งไท่จงต้นราชวงศ์ซ่งเหนือ(北宋初期宋太宗/ปี 976-997) ได้กำกับดูแลการผลิตชาที่ใช้เฉพาะในราชสำนัก เนื่องจากบนแผ่นชามีการตกแต่งโดยทำการอัดขึ้นลายมังกรหงษ์ จึงเรียกขานกันว่า『ก้อนมังกรแผ่นหงษ์/龙团风饼
        ในกระบวนการ「นึ่งเขียวชาก้อน」มีการราดน้ำเย็นอย่างทันทีทันใด เป็นการรักษาคงความเป็นสีเขียวไว้ ยกระดับคุณภาพใบชาให้สูงขึ้น และการแช่น้ำแล้วทำการบีบอัดของเหลวใบชาออกมา เนื่องจากรสแท้จริงถูกกระชากไป ทำให้กลิ่นหอมของชาสูญหาย อีกทั้งกระบวนการผลิตสิ้นเปลืองเวลาและแรงงานมาก นี้จึงเป็นการเร่งรัดให้「นึ่งเขียวชาเส้น」ปรากฏขึ้นมา

▲กระบวนการ「นึ่งเขียวชาก้อน」ยุคซ่ง ตาม《เป่ยเยี่ยนเบี๋ยลู่/北苑别录》ของ จ้าวหยู่ลี่(赵汝砺) บันทึกไว้ | ชายุคซ่งส่วนใหญ่เป็นชาก้อนแผ่นเป็นหลัก  ซึ่งกรรมวิธีการผลิตชามี 8 ขั้นตอน : เด็ดชา/采茶 → เลือกชา/拣茶  นึ่งชา/蒸茶  อัดชา/榨茶  โม่ชา/研茶  สร้างชา/造茶  บ่มเหลือง/过黄  อบแห้ง/干燥 >> ออกมาเป็นชาก้อนแผ่น

▲「ก้อนมังกรแผ่นหงษ์」| ในขั้นตอน「สร้างชา」ชาก้อนแผ่นที่ขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่างๆโดยแม่พิมพ์ ทำการอัดขึ้นลายมังกรหงส์เพื่อให้ดูแตกต่างจากชาก้อนแผ่นทั่วไป

       (3) จากชาก้อนแผ่นถึงใบชาเส้น

      【ยุคเหยียน | นึ่งเขียวชาเส้น/蒸青散茶

        ในการทำชาก้อนแผ่นโดยนึ่งเขียว เพื่อเป็นการปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนที่รสขมขจัดยากและกลิ่นหอมชาสูญหาย จึงใช้วิธีการหลังนึ่งจะไม่นวดไม่อัด แล้วทำการอบแห้งโดยตรงออกมาเป็น「ใบชาเส้น」ซึ่งสามารถรักษากลิ่นหอมชา ขณะเดียวกันเกิดความชื่นชอบและความต้องการทางคุณภาพของชาเส้น รูปแบบการผลิตชายุคเหยียนที่เริ่มจาก「นึ่งเขียวชาก้อน」ก่อนแล้วจึงพัฒนาไปในทิศทาง「นึ่งเขียวชาเส้น

▲เมืองซือซือมณฑลหูเป่ยยังสืบทอดวิธีการผลิตชา「นึ่งเขียว

       (4) จากนึ่งเขียวถึงคั่วเขียว

      【ยุคหมิง | ชาชนิดอื่นต่างทยอยปรากฏ/其他茶类逐渐出现

        เมื่อเปรียบเทียบกับชาแผ่นและชาก้อนแล้ว กลิ่นหอมของใบชาในการนึ่งเขียวชาเส้น ได้รับการสงวนไว้ได้ดีกว่า และแล้ว การใช้วิธี「นึ่งเขียว/蒸青」กลิ่นหอมใบชาที่ยังคงอยู่แต่ก็ยังหอมกรุ่นไม่พอ ดังนั้นจึงปรากฏเทคโนโลยี「คั่วเขียว/炒青」ที่ใช้ความร้อนแห้งให้ใบชาแสดงกลิ่นหอมละมุนละไมออกมา ซึ่งคั่วเขียวชาเส้นมีขึ้นครั้งแรกในยุคถังแล้ว

▲เทียบกับ「นึ่งเขียว」แล้ว「คั่วเขียว」เป็นวิธีการผลิตที่นิยมทั่วไปในปัจจุบัน  

        มาถึงยุคหมิง จูเหยียนจาง(朱元璋) ปฐมจักรพรรดิราชวงศ์หมิงได้ “เลิกก้อนเปลี่ยนเส้น/废团改散” โดยให้ยกเลิกก้อนมังกรแผ่นหงษ์ สนับสนุนชาเส้น การผลิตชาโดย「คั่วเขียว」ก็ค่อยๆนิยมแพร่หลาย รูปแบบการดื่มชาก็ไปตามตรรกะจาก『การตีชา/点茶』เปลี่ยนมาเป็น『การชงชา/泡茶』

▲รัชศกหงอู่ปีที่ 24 ราชวงศ์หมิง (ปี 1391) จักรพรรดิหมิงไท่จู่จูเหยียนจาง มีพระราชโองการให้ “ยกเลิกชาก้อน เปลี่ยนมาเป็นชาเส้น”  

        จากตรงนี้จะเห็นได้ว่า จาก「นึ่งเขียวชาก้อน」เปลี่ยนเป็น「นึ่งเขียวชาเส้น」รักษากลิ่นหอมเดิมในตัวใบชา แล้วจาก「นึ่งเขียวชาเส้น」เปลี่ยนเป็น「คั่วเขียวชาเส้น」อาศัยความร้อนแห้งบนกระทะเหล็ก กลิ่นหอมรัญจวนของใบชาแสดงออกมาได้เต็มที่ จากนั้นจึงค่อยๆพัฒนาเป็นวิธีการผลิต『ชาเขียว』ที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน การปฏิรูปครั้งยิ่งใหญ่ของการพัฒนากรรมวิธีการผลิตชาโบราณเมืองจีนเช่นนี้ ต้องผ่านยุคถัง ซ่ง เหยียน หมิง ถึง 4 ราชวงศ์จึงจะบรรลุผลสำเร็จ

▲ประวัติวิวัฒนาการของรูปแบบการผลิตชา |「ชาเขียว」ต้องผ่านยุคถัง ซ่ง เหยียน หมิง ถึง 4 ราชวงศ์จึงจะเสร็จสมบูรณ์

        ชาเส้น ชาก้อน ชาแผ่นเป็นต้นที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ ล้วนถือเป็น「ชนิดชาเขียว」เมื่อชาเส้นอยู่ในกระแสนิยม เทคโนโลยีการผลิตชาก็พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง「ชาชนิดอื่น」ต่างก็ทยอยปรากฏออกมา...



เอกสารอ้างอิง :
1. 从药用到品饮的茶界简史  |  https://www.ichanfeng.com/2018/10/10/10655.html
2. 饮茶 , 制茶发展史简述  |  https://www.jianshu.com/p/a794937f5368
3. 茶叶制造 : 我国制茶技术史及茶类出现的顺序  |  http://m.ishuocha.com/show-64-24574.html
4. 制茶史的上下四千年  |  https://zhuanlan.zhihu.com/p/27842715?utm_source=com.google.android.gm&utm_medium=social&utm_oi=1006583554779770880

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ตามรอยประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของวัฒนธรรมชาจีน | (ตอนที่ 1/4)



        『ชา』มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของผู้คน『วัฒนธรรมชา』มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน เป็น「มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้」ของชนชาติจีนที่มีอิทธิพลต่อสังคมโลก เมืองจีนเป็นชาติแรกที่ค้นพบ เพาะปลูก และนำใบชามาใช้เป็นประโยชน์ เป็นแหล่งกำเนิดของชา และเป็นต้นตระกูลทางวัฒนธรรมชาโลก

▲「ใบชาโบราณเก่าแก่ที่สุดในโลกอายุกว่า 2150 ปี」ขุดพบในบริเวณสุสานจักรพรรดิฮั่นจิ่งตี้(汉景帝/ 188-141 BC) จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ใกล้บริเวณเมืองซีอานมณฑลส่านซี | ใบชาบรรจุอยู่ในกล่องไม้ ฝังอยู่ในสุสานบริเวณหลุมที่ 15 เป็นเครื่องบวงสวงชนิดหนึ่งที่บูชาให้จักรพรรดิองค์นี้ใช้ในปรโลก ใบชาที่ขุดพบดูมีคุณภาพชั้นยอด ทั้งหมดผลิตจากใบชายอดตูมเป็นที่ยอมรับว่ามีคุณภาพสูงกว่าใบชาทั่วไป

        เกี่ยวกับจุดกำเนิดของชา ในเอกสารโบราณจีนมีความขัดแย้งไม่ลงรอยกัน《คัมภีร์ชา/茶经》ของ ลู่หยี่(陆羽) ยุคถังได้เขียนไว้ว่า : “ใบชากลายเป็นเครื่องดื่ม ถูกใช้เป็นประโยชน์ครั้งแรกในยุค「เสินหนงซื่อ/神农氏」” ; คนญี่ปุ่นที่ยึดมั่น「พิธีชงชา/茶道」เป็น「แก่นสารแห่งชาติ」ซึ่งได้ร้องแย้งว่า ผู้ที่คิดค้นประดิษฐ์ชาคือ “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

▲「เสินหนงซื่อ」---“เทพแห่งกสิกรรม” |  เสาะหาสมุนไพรตามป่าเขา ทดสอบสรรพคุณโดยกินสมุนไพรโดยตรงด้วยตนเอง โอกาสเป็นพิษสูง จึงพบใบชาใช้เป็นยาแก้พิษได้

▲《คัมภีร์ชา》ตำราชาคลาสสิกที่เปิดศักราชใหม่ของลู่หยี่ยุคราชวงศ์ถัง |  สรุปรวบยอดประสบการณ์ของคนในอดีต อธิบายโดยละเอียดอย่างเป็นระบบต่อปัญหาจุดกำเนิดของใบชา การผลิต กรรมวิธี การดื่ม การประเมิน เป็นต้น ไม่ว่าเนื้อหาอะไรที่เกี่ยวกับชา ล้วนมีการโยงใยถึง

        -๐๑-ไทม์ไลน์ของประวัติใบชา

        1. ยุคเสินหนง 5000 ปีก่อน เคี้ยวกินใบชาสด นำใบชาใช้เป็นยา
        2. ยุคโจวตะวันตกและโจวตะวันออก 3000 ปีก่อน เริ่มเพาะปลูกต้นชาโดยมนุษย์ ต้มทานเป็นอาหาร
        3. ยุคฉิน 2300 ปีก่อน เริ่มทำเป็นเครื่องดื่ม ต้มเป็นซุปปรุงรสแล้วซด
        4. ยุคฮั่น
          • ฮั่นตะวันตก 2000 ปีก่อน เริ่มการพาณิชย์ เฉินตูกลายเป็นเมืองศูนย์กลางการกระจายใบชาแห่งแรกของเมืองจีน
          • ฮั่นตะวันออก 1500 ปีก่อน เริ่มการผลิตชาแผ่น เพื่อสะดวกในการขนส่ง
        5. ยุคถัง 1200 ปีก่อน เนื่องด้วยอิทธิพลทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในยุคถัง การนำเสนอ《คัมภีร์ชา/茶经》โดยลู่หยี่ วัฒนธรรมการดื่มชายุคถังสู่ความเป็นสมัยนิยม
        6. ยุคซ่ง 1000 ปีก่อน การปรับปรุงพัฒนาศิลปะการชงชา การให้ความสำคัญกับคุณภาพน้ำ การละเล่น『ดวลชา/斗茶』กลายเป็นกระแสนิยมอย่างหนึ่ง
        7. ยุคหยวน 700 ปีก่อน ชาเส้นเริ่มปรากฏตัวขึ้นมา ในหมู่ราษฎรจะใช้ชาเส้นเป็นหลัก ชาแผ่นส่วนใหญ่ใช้ในราชสำนักพระราชวัง เริ่มปรากฏรูปแบบการชงชา คือใช้น้ำร้อนในการชงชาโดยตรง เป็นการปูรากฐานสำหรับการผุดขึ้นของชาเส้น
        8. ยุคหมิง 600 ปีก่อน จูเหยียนจางปฐมจักรพรรดิราชวงศ์หมิงได้「เลิกก้อนเปลี่ยนเส้น」กรรมวิธีการผลิตชาเหลือง ชาดำ ชาอบกลิ่นดอกไม้ก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาตามลำดับ
        9. ยุคชิง 300 ปีก่อน ชาเมืองจีนนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ผูกขาดตลาดชาโลก ในช่วงเวลานั้นใบชาส่งออกมีเพียงเมืองจีน กรรมวิธีโดยการอบเขียวและการคั่วเขียวเป็นหลัก ได้ทำการผลิตชาอู่หลง ชาแดง ชาดำ ชาอบกลิ่นดอกไม้ ชาเขียว ชาขาว
       10. ยุคสมัยใหม่
          • 1846-1886 ยุคโชติช่วงชัชวาลของใบชาเมืองจีน พื้นที่สวนไร่ชาขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผลผลิตใบชาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นกำลังหนุนส่งเสริมพัฒนาการค้าต่างประเทศ
          • 1886-1947 ยุคเสื่อมถอยของการผลิตใบชาเมืองจีน ล้มเหลวทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และพ่ายแพ้ต่อการแข่งขันในตลาดชานานาชาติ
          • 1950-1988 ยุคฟื้นฟูพัฒนาการผลิตใบชาเมืองจีน รัฐบาลประเทศจีนใหม่ได้ทุ่มเทในการสนับสนุนฟื้นฟูสวนไร่ชา บุกเบิกสวนไร่ชาใหม่ ปรับปรุงพัฒนาต้นชาสายพันธุ์ใหม่ ผลักดันการเพาะปลูกตามหลักทางวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจใบชาก็เริ่มเข้าสู่เส้นทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ไทม์ไลน์ของประวัติใบชา

        -๐๒-การเปลี่ยนแปลงของขั้นตอนการบริโภคใบชา

      【การใช้เป็นยา/药用

        จากเทพตำนานที่เล่าว่า ยุคโบราณเสินหนงซื่อได้ใช้ชาเป็นยาแก้พิษ แต่คุณค่าทางยาของชา ตราบจนถึงตำรายาจีนเล่มแรก《Shennong’s Herbal Classic/神农本草经》ได้ยืนยันว่า : “ใช้ชาเป็นยา ทานโดยการเคี้ยวใบสด แก้ร้อนใน ใช้ภายนอกถอนพิษลดอักเสบ” จะเห็นได้ว่า การใช้ชาเป็นประโยชน์ครั้งแรกโดยการทานใบสด

▲《Shennong’s Herbal Classic》| เป็นตำรายาจีนเล่มแรกของเมืองจีนที่สมบูรณ์แบบมากที่สุด เดิมเชื่อว่าคนแต่งคือ “เสินหนง” แต่นักวิชาการยุคปัจจุบันล้วนเชื่อว่า เป็นผลงานในยุคปลายฮั่นตะวันออก(ราวปี 200) ไม่ใช่เขียนโดยคนๆเดียว แต่เป็นผลงานสร้างสรรค์ของหมู่คณะ จึงใช้ชื่อของ “เสินหนง” เป็นตัวแทน

      【ทานเป็นอาหาร/食用

        จากการเคี้ยวดิบถึงต้มสุก ในยุคฮั่นตะวันตกมีเอกสารบันทึกถึงสภาพการณ์การใช้ใบชาทำเป็นอาหาร สามารถต้มพร้อมกับเมล็ดพืชทำเป็น “โจ๊กชา” “ซุปชา” หรือปิ้งย่างแล้วต้ม นำขึ้นมาเติมเครื่องปรุงรส ดั่งเช่นชนเผ่าจีนั่วในอวิ๋นหนานยังมีอาหารจานโปรด「ยำใบชา/凉拌茶」ทานอยู่ในปัจจุบัน

▲「ยำใบชา」อาหารจานโปรดที่ยังทำกินถึงปัจจุบันของชนเผ่าจีนั่ว(基诺族)ที่ตั้งรกรากอยู่ที่สิบสองปันนา |  เป็นวิธีการกินชาทั่วๆไป เด็ดใบชาอ่อนมานวดให้อ่อนตัว ใส่ในถ้วยชามใหญ่เติมน้ำพุลงไป แล้วเติมใบหวางกว่า(黄果叶) หน่อไม้ดอง กรดมด กระเทียม พริก เกลือ เป็นต้นยำผสมให้เข้ากัน

      【ดื่มเป็นเครื่องดื่ม/饮用

        การดื่มมีจุดกำเนิดจากการทานเป็นอาหาร ในช่วงสามก๊กยุคเว่ยได้เริ่มจากการทานพัฒนาเป็นการดื่ม เกิดขึ้นจากการแสวงหารสแท้จริงในตัวชา แล้วก็การดื่มชาดับกระหายน้ำดีกว่าการดื่มน้ำเปล่า รสชาติที่ดีกว่า และดีต่อสุขภาพมากกว่า จึงค่อยๆพัฒนาเปลี่ยนแปลงวิธีการดื่มชา สามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน

ประวัติวิวัฒนาการของวิธีการดื่มชา/饮茶方式演变史

         |การต้มชา/煮茶法』ก่อนยุคถังยังไม่มีวิธีการผลิตชา ทั่วไปจะเด็ดใบสดมาต้มโดยตรง คือการนำใบชามาต้มในน้ำ น้ำชาจะเข้มข้นมาก แทบจะไม่เหลือใบชาที่เต็มใบ เรียกขานเป็น「โจ๊กชา/茗粥

▲「การต้มชา」ปลายยุคฮั่นตะวันตกถึงต้นยุคถัง | ในยุคหมิงและชิงตราบจนถึงปัจจุบัน ยังนิยมกันในชนกลุ่มน้อยเป็นส่วนใหญ่

         |การเคี่ยวชา/煎茶法』ยุคถังจะใช้ชาแห้ง(สมัยนั้นอยู่ในรูปผง)มาต้ม คนถังต้มชานิยมเติมเครื่องปรุงรสลงในน้ำชา อาทิเช่น เกลือ หัวหอม ขิง เปลือกส้ม เป็นต้น ถึงยุคกลางถัง ลู่หยี่(陆羽) คัดค้านรูปแบบการต้มชาลักษณะแบบนี้ เวลาต้มชาอย่างมากที่สุดก็เพียงเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อขจัดรสขม ต่อจากนั้น การดื่มชาของคนถังก็เริ่มนิยมรสเดิมของน้ำชา เป็นการปูรากฐานการก่อเกิดของ「พิธีชงชา/茶道

▲「การเคี่ยวชา」ยุคถัง อ้างอิงตามคำอธิบายใน《คัมภีร์ชา》| กระบวนการมี 8 ขั้นตอน : ① การย่างแผ่นชา② การบดเป็นผง③ การกรองชาผง④ ก่อไฟต้มน้ำ⑤ ใส่ชาผงก่อนน้ำเดือด⑥ ใช้ช้อนชาคนให้ทั่ว⑦ ต้มจนเกิดฟองอากาศ⑧ ตักน้ำต้มชาใส่ถ้วย เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ เชิญกินชา/吃茶」ดื่มน้ำชาพร้อมกากชาในขณะที่ยังร้อนอยู่
 
         |การตีชา/点茶法』“การเคี่ยวชา” ในยุคซ่งค่อยๆวิวัฒนาการเป็น “การตีชา” คือการนำชามาบดให้เป็นผงละเอียด ใส่ผงชาลงในจ่าน() รินน้ำร้อนลงไปแล้วตีด้วยแปรงไม้ไผ่อย่างรวดเร็ว ผงชาและน้ำจะผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เกิดฟองชาสีขาวทั่วบนผิวน้ำชาในถ้วยชา ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิด「พิธีชงชามัทฉะ/末茶道」ของญี่ปุ่น

▲「การตีชา」ยุคซ่ง | กระบวนการก็ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน : ① การทุบแผ่นชาที่ปิ้งมาแล้วให้แตกละเอียด ②นำชาที่ทุบแตกมาบดให้เป็นผงละเอียด③ กรองเอาเฉพาะชาผงละเอียด ④จัดเตรียมชาผงในปริมาณที่ต้องการ⑤ หยิบชาผงใส่ลงในถ้วยจ่าน⑥ รินน้ำร้อนลงในถ้วยจ่าน⑦ ใช้แปรงไม้ไผ่ตีคนผสม⑧ นำจ่านชาวางบนจานรอง > นำไปดื่ม หรือไป「ดวลชา」 

         |การชงชา/泡茶法』สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ

           •「การชงด้วยปั้นชา/壶泡法」ยุคหมิงได้ยกเลิกชาก้อนแผ่นยุคซ่ง เปลี่ยนมาเป็น「ชาเส้น」วิธีการดื่มชาก็ทำให้ง่ายเข้า โดยใช้「ปั้น」ในการชงชา การชงชาจะไม่เติมเครื่องปรุงแต่งใดๆ ที่ดื่มคือรสแท้จริงของชา

▲「การชงด้วยปั้นชา」ยุคหมิง | นำใบชาใส่ลงในปั้นชา ใช้น้ำร้อนในการชง ในยุคถังเรียกขานกันว่า “อานฉา/痷茶” คือการนำ “ชาหยาบ/粗茶” (ใบชาสดที่มีทั้งยอด ใบ ก้าน มาสับเป็นชิ้นเล็กๆ) “ชาเส้น/散茶” (ใบชาสดที่ไม่ผ่านกระบวนการใดๆ) “ชาผง/末茶” (ชาแห้งที่ผ่านกระบวนผลิต) ใส่ลงในภาชนะชา รินน้ำร้อนแช่ดื่ม “อานฉา” ถือเป็นผู้บุกเบิกของ「การชงชา」 

           •「การชงด้วยก่ายหว่าน/盖碗泡法」ยุคชิงเกิดกระแสนิยม「ก่ายกว่าน」ซึ่งเชื่อมโยงกับฮ่องเต้เฉียนหลงอย่างแยกไม่ออก การชงชาด้วยก่ายหว่าน นอกจากลิ้มชิมรสเดิมและแท้จริงของชาแล้ว ยังสามารถชื่นชมสี กลิ่น รส รูปของชา ค่อยๆรินค่อยๆจิบดื่มด่ำกับสุนทรียภาพ ปลดปล่อยสภาวะอารมณ์อย่างอิสระเสรี

▲「การชงด้วยก่ายหว่าน」ยุคชิง | นำใบชาใส่ลงในจอกชา ใช้น้ำร้อนในการชง ในยุคหมิงเรียกว่า “การชั่วฉา/撮茶法” คือการนำชาเส้นแห้งใส่ลงในชาม ชงด้วยน้ำร้อน แล้วรินแยกน้ำชาลงในถ้วยชา
           



เอกสารอ้างอิง :
1. 从药用到品饮的茶界简史  |  https://www.ichanfeng.com/2018/10/10/10655.html
2. 饮茶 , 制茶发展史简述  |  https://www.jianshu.com/p/a794937f5368
3. 茶叶制造 : 我国制茶技术史及茶类出现的顺序  |  http://m.ishuocha.com/show-64-24574.html
4. 制茶史的上下四千年  |  https://zhuanlan.zhihu.com/p/27842715?utm_source=com.google.android.gm&utm_medium=social&utm_oi=1006583554779770880