หนึ่งเตาหนึ่งพิภพ หนึ่งจ่านหนึ่งชีวิต เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน กำเนิดขึ้นจากเนื้อดินในอุ้งสองมือ ผ่านความชำนาญการของช่างฝีมือที่สุดยอด อย่างนกฟินิกซ์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่เมื่อผจญกับเปลวไฟอันร้อนระอุ ปลดปล่อยพลังชีวิตที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของวิญญาณ สำแดงมิติมายาดั่งมนตราดวงดาวในเอกภพ เพียบพร้อมด้วยรังสีมหัศจรรย์ที่พิเศษเฉพาะ
▲หมู่ดวงดาวในเอกภพ
จ่านดั่งชีวิต และหลอมเข้าไปในชีวิต แล้วก็อนุมานจากชีวิต ถือย้าวเบี้ยนไว้ในสองอุ้งมือ ละเมียดละไมลิ้มรสชีวิต ให้ใจมึนเมาอยู่กับรังสีประกายรุ้งอันวิจิตรพิสดารในจ่าน ได้ซึมซับกับปฏิหาริย์มากมายบนโลกนี้และความปลื้มปิติอย่างเหลือล้นของชีวิต
ลู่จินสี่พูดถึงย้าวเบี้ยน
ลู่จินสี่(陆金喜)ผู้ที่สามารถฟื้นฟูเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งเป็นคนแรกของโลกได้กล่าวแนะนำไว้ว่า เสน่ห์ดึงดูดที่พิเศษเฉพาะของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนอยู่ที่ เครื่องเคลือบในโลกนี้แม้ว่าตัวเคลือบ รูปทรง ลวดลายสามารถผ่านความเชี่ยวชาญที่สุดยอดของช่างฝีมือที่มีทักษะ สร้างสรรผลงานศิลปกรรมที่วิจิตรสวยงามออกมา แต่ทว่าเจี้ยนจ่าน โดยเฉพาะสีเคลือบจุดนิวเคลียสพระอาทิตย์ทรงกลดของจ่านย้าวเบี้ยนเป็นความประจวบเหมาะอย่างมหัศจรรย์ของ「ฝีมือสวรรค์」กับ「ทักษะมนุษย์」สามารถที่จะกล่าวได้ว่า「เข้าเตาหนึ่งสี ออกเตาหลากสี」
▲ลู่จินสี่(陆金喜)และจ่านย้าวเบี้ยน
เจี้ยนจ่านคือศิลปกรรมของการผสมผสานระดับความยากขั้นสูงของเคลือบแร่ดินเกาลินและไฟเตา
ขั้นตอนการเผาผลิตของเจี้ยนจ่านจะสลับซับซ้อน มันจำเป็นต้องผ่านการคัดเลือกสารแร่ บดละเอียดแร่เคลือบ ชะล้าง ผสม บ่มหมัก ทุบดิน นวดดิน แป้นหมุน แต่งรูป เผาดิบ ชุบเคลือบ เข้าเตา อบเผา เป็นต้นรวม13ขั้นตอนการผลิต จำเป็นต้องให้เนื้อดิน แร่เคลือบ อุณหภูมิ และ ภาวะบรรยากาศภายในเตา ซึ่งเป็น4ปัจจัยใหญ่ของการเผาผนึกให้สอดคล้องกัน
▲ผลงานย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี่(陆金喜)
เนื้อดินเจี้ยนจ่านมีแร่เหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่8%ขึ้นไป ในกระบวนการเผาหลอมที่อุณหภูมิสูงกว่า1300°C การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิเตา ทำให้ผิวเคลือบก่อเกิดลวดลายประหลาด วัตถุดิบตัวเดียวกัน เผาในเตาเผาที่ไม่เหมือนกัน วางบนตำแหน่งในเตาไม่เหมือนกัน ฤดูกาลไม่เหมือนกัน สภาพอากาศไม่เหมือนกัน สีเคลือบประกายรุ้งของเจี้ยนจ่านที่เผาออกมาก็จะไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง เอาแน่เอานอนไม่ได้ ดังนั้น เจี้ยนจ่านทุกใบจะมีใบหน้าเสริมสวยไม่เหมือนกัน เจี้ยนจ่านทุกใบต่างมีเอกลักษณ์ที่พิเศษพาะ เจี้ยนจ่านทุกใบต่างเป็นหนึ่งเดียวไม่มีสอง
▲ผลงานย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี่(陆金喜)
สุนทรียศาสตร์ยุคสมัยซ่งสะท้อนอยู่บนศิลปกรรมของเจี้ยนจ่าน
สุภาพปัญญาชนยุคสมัยซ่งต่างยึดถือ「หยู」(儒:ลัทธิขงจื้อ) 「ต้าว」(道:ศาสนาเต๋า)เป็นแนวทางเพื่อประพฤติความเป็นอัตลักษณ์แห่งตน พัฒนาตนตามฌาน เคารพธรรมชาติ นอบน้อมถ่อมตน สุภาพอ่อนโยน ความสุนทรีย์ยุคสมัยซ่งคือการเจริญรอยตาม「จุลนิยม」(极简:Minimalism) ก็เป็นเพราะการสะท้อนเบื้องหลังของวัฒนธรรมแบบนี้ และการเจริญรอยตามเช่นนี้ ก็สะท้อนอยู่บนงานศิลปหัตถกรรมของสมัยนั้นโดยเฉพาะอยู่บนการผลิตเครื่องเคลือบ
ทำการศึกษาเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน ก็เหมือนกับทำการศึกษาเจี้ยนจ่านอื่นๆ ก่อนอื่นดูที่รูปทรง รูปทรงของเจี้ยนจ่านยุคสมัยซ่งเป็นแบบเรียบง่ายซื่อๆ ลายเส้นลื่นไหลตามธรรมชาติ การตกแต่งเนื้อดินเป็นไปตามอำเภอใจ ทำให้ผู้คนมองแล้วมีความรู้สึกโบราณคร่ำครึ จ่านย้าวเบี้ยนก็เฉกเช่นนี้
▲ผลงานย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี่(陆金喜)
ยุคสมัยซ่งช่วงที่เตาเจี้ยนกำลังรุ่งเรืองสุดขีด วัฒนธรรมโดยองค์รวมมีแนวโน้มไปในแนวทางอนุรักษ์ ถ่อมตน เรียบง่าย โดยเทียบเคียงกับยุคสมัยถังที่เร้าใจและปลดปล่อยแล้ว ยุคสมัยซ่งดูเหมือนสงบนิ่ง สติสัมปชัญญะ จืดบาง สุนทรียะเชิงเรียบง่ายที่ปรากฏออกมาได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของลัทธิขงจื้อ จิตวิญญาณแห่งชนเผ่าปรากฏออกมาอย่างเด่นชัด โดยการสำแดงบนเครื่องเคลือบ สิ่งที่พิถีพิถันคือสะอาดหมดจด เรียบง่ายธรรมดา สีสันราบเรียบ ละเอียดประณีต ; เป็นการสำแดงการเจริญรอยตามวิญญาณ(神) สุขใจ(趣) ดื่มด่ำ(韵) รสชาติ(味) และต่างตอบรับการประสานซึ่งกันและกัน และต่างเสริมเพิ่มเติมซึ่งกันและกัน ความสวยงามจากข้างในเหล่านี้ได้ถูกเครื่องเคลือบสีดำทำให้ปรากฏออกมาอย่างเป็นคุ้งเป็นแคว
▲เจี้ยนจ่านรูปแบบต่างๆไม่เหมือนกัน
ลำดับต่อมาดูเนื้อดิน เจี้ยนจ่านยุคสมัยซ่งส่วนใหญ่จะตกแต่งเนื้อดินอย่างลวกๆ หลังผ่านการชุบเคลือบและเผาผนึกแล้วยังสามารถเห็นร่องรอยของขอบเส้นจากตอนการตกแต่งเนื้อดินหลงเหลืออยู่ ฐานวงแหวนข้างใต้ขุดตื้นจนราวกับฐานวงเรียบ ภายในฐานวงแหวนจะพบบ่อยว่ามีร่องรอยสีเหลืองอ่อนจากแผ่นรองฐาน(垫饼)ตกค้างอยู่เล็กน้อย ร่องรอยเหล่านี้เนื่องจากเผาผนึกพร้อมกับเนื้อดิน จึงยากที่จะลบเลือนออกไปได้ สองจุดดังกล่าวข้างต้น จ่านย้าวเบี้ยนและเจี้ยนจ่านขนกระต่ายและหยดน้ำมันอื่นๆจะไม่แตกต่างกัน
▲ผลงานย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี่(陆金喜)
สุดท้ายทำความรู้จักกับสีเคลือบ เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนเผาผนึกภายใต้อุณหภูมิที่สูงกว่า1300°C น้ำเคลือบปริมาณมากไหลลงสูงข้างล่าง เคลือบตรงขอบปากค่อนข้างบางและส่วนใหญ่จะออกสีน้ำตาลเหลือง ; สีเคลือบบนผนังจ่านดำมืด ลายจุดย้าวมีขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน เกาะกันเป็นกลุ่ม ต่างเป็นประกายแวววาวเฉพาะตน ดุจดั่งเนบิวลาในกาแล็กซี่ ต่างรวมเป็นกลุ่มเฉพาะตน ต่างช่วยกันแผ่รัศมี ก็เหมือนกับหมู่ดวงดาวกระจัดกระจายไปทั่วทั้งจักรวาล ระยะระหว่างกันและกันดูเหมือนอยู่ใกล้กัน แต่ห่างกันไม่รู้กี่ปีแสงจึงจะสามารถถึงกันได้
▲หมู่ดวงดาวในเอกภพ
ด้านนอกจุดนิวเคลียสจะต้องล้อมรอบด้วยรัศมีสีรุ้งพระอาทิตย์ทรงกลด พระอาทิตย์ทรงกลดจะเปลี่ยนแปลงตามการแปรเปลี่ยนของมุมกระทบของแสงสว่าง เปลี่ยนแปลงอย่างมายาออกเป็นสีประกายรุ้งแพรวพราว ก็เหมือนกับแสงสีอะร้าอร่ามในยามค่ำคืนอันสวยงาม อย่างเช่นของ Seikado จะแผ่รังสีน้ำเงิน ม่วง เหลือง เป็นต้น ของ Fujita จะแผ่รังสีน้ำเงิน เขียวอมน้ำเงิน ม่วง เป็นต้น ไม่ว่าเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนสองใบใดๆ จะไม่มีความเป็นไปได้ที่สีเคลือบประกายรุ้งจะเหมือนกัน
▲ผลงานย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี่(陆金喜)
โยเฮนเทนโมกุ3ใบที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่นถือเป็นต้นแบบมาตรฐาน
การศึกษาย้าวเบี้ยน หลีกหนีไม่พ้นโยเฮนเทนโมกุยุคสมัยซ่ง3ใบระดับสมบัติแห่งชาติที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่น ก็คือโยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ที่ Seikado Bunko Art Museum(เดิมโยเฮนเทนโมกุใบนี้ครอบครองโดยตระกูล Inaba เจ้าของปราสาท Yodosaki ก็เรียกว่า อินะบะเทนโมกุ), Fujita Art Museum(เดิมโยเฮนเทนโมกุใบนี้เป็นสมบัติสวัสดิมงคลของตระกูล Tokugawa เป็นมรดกตกทอดต่อๆกันมา และก็เป็นสัญลักษณ์แห่งการมีอำนาจ) และ Daitokuji Temple นี่คือจ่านย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งของแท้ที่ยังหลงเหลืออยู่บนโลกปัจจุบัน เป็นต้นแบบมาตรฐานของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน
▲โยเฮนเทนโมกุ Seikado Bunko Art Museum (บน) Fujita Art Museum (ซ้าย) Daitokuji Temple (ขวา)
บนผืนแผ่นดินเมืองจีนได้ขุดพบเศษใบเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่เมืองหางโจวในปี2009 ถึงแม้จะเป็นเศษชิ้นส่วนเล็กๆ แต่ก็ยังเปล่งปลั่งรัศมี งดงามพิลึก เสมือนเทหวัตถุในเอกภพ สวยหยาดเยิ้มไร้เทียมทาน
▲เศษชิ้นส่วนย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งที่ขุดพบในเมืองหางโจวปี2009
ลู่จินสี่ประเมินคุณค่าโยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่น
ลู่จินสี่ชื่นชมคุณค่าโยเฮนเทนโมกุที่ยังหลงเหลืออยู่3ใบ ดังนี้ :
1. โยเฮนเทนโมกุเก็บอยู่ที่ Seikado Bunko Art Museum, Tokyo : ปากรัด(束口) ท้องจ่านลึก ฐานวงแหวนตื้น ดินเหล็กโผล่ ส่วนล่างมีหยดน้ำตาเคลือบ ดินโผล่ปรากฏรอยเส้นวงกลม โดยองค์รวมสง่าผ่าเผยมีพระอาทิตย์ทรงกลดสีน้ำเงิน เปลี่ยนแปลงตามมุมแสงสว่างที่ไม่เหมือนกัน ผิวเคลือบเปล่งประกายแสงแวววาว พลังเวทย์ยั่วยวน คนญี่ปุ่นเปรียบให้เป็น “ถ้วยหมายเลขหนึ่งของโลก”
▲โยเฮนเทนโมกุ Seikado Bunko Art Museum
พินิจพิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว เสมือนกับในค่ำคืนอันมืดมิด เทหวัตถุดวงแล้วดวงเล่าต่างเปล่งประกายแสงสีอันประหลาด แปรตามมุมกระทบของแสงสว่างที่แตกต่างกัน สีรุ้งของวงแสงจะเปลี่ยนแปลงอย่างมายาไม่แน่ไม่นอน เมื่อเห็นแล้วทำให้ผู้คนรู้สึกยำเกรงและเหนือคำบรรยาย ถ้วยหนึ่งใบ ก็คือโลกใบเล็กๆหนึ่งดวง ทั้งหลายทั้งปวงไม่เหมือนกับเครื่องเคลือบที่มนุษย์ทำการเผาออกมา คนญี่ปุ่นใช้「กาแล็กซี่ในถ้วย」มาพรรณาเธอ อธิบายว่าด้านในเสมือนกับหมู่ดวงดาวที่แหงนมองจากริมชายทะเลยามค่ำคืน ล้ำลึกสุดยากหยั่งถึง
▲หมู่ดวงดาวในเอกภพ
2. โยเฮนเทนโมกุเก็บอยู่ที่ Fujita Art Museum, Osaka : ปากรัด(束口) ริมปากมีวงกระดุมเงิน ปากใหญ่ฐานเล็ก ฐานวงค่อนข้างเล็ก ชุบเคลือบสีดำ ดินเหล็กโผล่ เห็นปรากฏการณ์เคลือบย้อย ลายย้าวเบี้ยนบนผนังจ่านกระจายไปทั่ว การเกิดขึ้นของลายย้าวเบี้ยนเป็นไปอย่างไม่มีระเบียบ เปล่งประกายค่อนออกไปสีแดงม่วง ย้าวเบี้ยนบางส่วนก่อตัวเป็นเส้นสายแนวดิ่งลักษณะหวีที่มีซี่ฟันสองด้าน ทำให้ผู้คนรู้สึกตะลึงน่าทึ่ง ผนังด้านนอกยังสารมารถเห็นดวงดาวเป็นจุดๆผุดๆโผล่ๆ เสมือนกลุ่มดวงดาวในเอกภพ ในห้วงอวกาศที่ไม่มีขอบเขต
▲โยเฮนเทนโมกุ Fujita Art Museum
ด้านในถ้วยสีดำมืด หยดน้ำมันแต่ละจุดมีวงแสง ระหว่างหยดน้ำมันมีเปลวสุริยะเป็นผืนๆสีน้ำเงิน ถ้าหากดูโดยการหมุนรอบแล้ว จะเห็นรังสีของแสงที่ระยิบระยับบนด้านในถ้วยจะเปลี่ยนสีสันอย่างมหัศจรรย์ ดูน่าพิศวงยิ่งนัก สีพื้นของเคลือบสีดำด้านในถ้วย ดูเสมือนก็คือสีสันของห้วงอวกาศจักรวาล ซึ่งเปลวสุริยะผืนสีน้ำเงิน ดุจดั่งทางช้างเผือกสุดขอบจักรวาล วงแสงแต่ละวงที่ล้อมรอบ เสมือนกับกาแล็กซี่เล็กๆ พวกมันเปล่งแสงสว่างระยิบระยับที่มีเสน่ห์ดึงดูดอยู่ด้านในถ้วย
▲การเปรียบเทียบผนังด้านนอกของโยเฮนเทนโมกุ Fujita Art Museum กับหมู่ดวงดาว
3. โยเฮนเทนโมกุเก็บอยู่ที่ Daitokuji Temple, Kyoto : ก็เป็นจ่านใบหนึ่งที่ปากรัด(束口) ดินโผล่ แปรไปตามแสงสว่างที่แกว่งไปมา จะทำให้เกิดประกายสีที่แตกต่างกัน มีลายจุดดำสวมด้วยวงแสงสีน้ำเงินที่เป็นหนึ่งเดียวของย้าวเบี้ยน มีความรู้สึกทางความงามแบบลึกลับที่พิเศษเฉพาะ
▲โยเฮนเทนโมกุ Daitokuji Temple
โยเฮนเทนโมกุเก็บอยู่ที่ Daitokuji Temple มีความลึกลับมากที่สุด ไม่ค่อยนำออกมาแสดง แต่ในปี1987 เฉินเสี่ยนฉิว(陈显求)นักวิชาการเครื่องเคลือบดินเผาโบราณเมืองจีน นักวัสดุศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนสถาบันเซรามิคเซี่ยงไฮ้ได้เดินทางไปญี่ปุ่น เคยชื่นชมคุณค่าโยเฮนเทนโมกุ Daitokuji Temple อย่างใกล้ชิด จากที่เฉินเสี่ยนฉิวได้เขียนอธิบายไว้ว่า :
「.....เมื่อตอนเริ่มต้นไม่มีอะไรที่จะดึงดูดข้าให้สนใจเป็นพิเศษ แต่เมื่อหลายนาทีผ่านไป ทันใดนั้นแสงอาทิตย์ที่ทำให้ตาพร่าส่องมาจากห้วงอวกาศ พอดีทำให้บนทางเดินพรมด้วยแสงสีทองสุกสกาว พระที่มาทำการต้อนรับคืบคลานอยู่บนเสื่อ สองมือประคองถ้วยแล้วค่อยๆหมุนรอบแกน360องศาอย่างต่อเนื่อง บนผิวเคลือบด้านในเปล่งแสงออกมาราวกับตะวันยอแสง ปริมาณย้าวเบี้ยนที่กระจายอยู่บนผิวเคลือบจะน้อยกว่าสมบัติแห่งชาติที่ Seikado แต่สีรุ้งที่เป็นประกายจะไม่ด้อยกว่าสักนิด โดยเฉพาะพื้นที่บางส่วนตรงรอยต่อของผนังถ้วยกับก้นถ้วย เปล่งประกายสีน้ำเงินและเขียวออกมาอย่างเด่นชัดและก็เห็นลายขนตรงขอบเขตอย่างชัดเจน สิ่งที่ทำให้ทุกคนตกตะลึงในความมหัศจรรย์ก็คือ ทั่วตลอดชั้นเคลือบสีดำด้านในของสมบัติล้ำค่าเปล่งแสงตะวันที่สีน้ำเงินม่วง ประกายแห่งแสงสว่างไสวล่องลอยเต็มห้องตามการหมุนออย่างต่อเนื่อง ทรงตรงกับในโลกอันมืดมิดเหมือนดั่งมีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่.....ซึ่งความดื่มด่ำแห่งเทพนี้ไม่มีวิธีที่ทำให้ปรากฏบนภาพถ่ายสีได้แม้สักนิดเดียว」
▲หมู่ดวงดาวในเอกภพ
4. ลายที่สุกสกาวของย้าวเบี้ยนใบพิการที่ขุดพบในมืองหาวโจวจะค่อนข้างใกล้เคียงกับโยเฮนเทนโมกุของ Fujita Art Museum ผนังด้านนอกกลับเหมือนกับของ Seikado Bunko Art Museum และ Fujita Art Museum ลายรูปทรงกลมที่เกิดขึ้นมีจำนวนน้อยและขนาดเล็ก ส่วนที่แสงสว่างส่องไปถึง ลายจะเปล่งประกายระยิบระยับ ประกายแสงแพรวพราว อัศจรรย์พันลึก ตื่นตาตื่นใจ
▲ย้าวเบี้ยนพิการครึ่งใบประกอบด้วยชิ้นส่วนเล็กๆที่ขุดพบในเมืองหางโจวปี2009
ในโยเฮนเทนโมกุ3ใบที่เก็บตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่น สีเคลือบที่เลอเลิศที่สุดคือโยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ที่ Seikado Bunko Art Museum สีเคลือบพื้นดำเปล่งประกายสีเงิน และรอบๆลายจุดจำนวนมากก็แผ่รัศมีสีน้ำเงินอ่อน เกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วปานกามนิตหนุ่มอันเนื่องจากแสงสว่างและมุมของแสงที่ไม่เหมือนกัน ถือเป็นผลงานช่างพันธุ์พิลึก คนญี่ปุ่นเรียกขานว่า「กาแล็กซี่ในถ้วย」「ถ้วยหมายเลขหนึ่งของโลก」โยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ที่ Fujita Art Museum แม้ว่ารัศมีจะไม่เปล่งปลั่งเท่าของ Seikado Bunko Art Museum เมื่อมองดูครั้งแรก ราบเรียบไม่ฉูดฉาด แต่ขอเพียงมีแสงสว่างสาดส่อง มันมีลายเส้นที่สวยงามก็จะปรากฏให้เห็นอย่างไม่ต้องมีข้อสงสัย ทำให้หลงเสน่ห์ตรึงใจ
▲ผิวเคลือบย้าวเบี้ยนส่วนขยาย มายาพิศวงดุจดั่งเนบิวลา(Nebula)ในกาแล็กซี่
เทนโมกุชั้นยอดยุคสมัยโบราณญี่ปุ่นมูลค่าเทียบเท่าหนึ่งแว้นแคว้น
ในยุคสมัยโบราณของญี่ปุ่น กล่าวกันว่าถ้วยเทนโมกุชั้นยอดหนึ่งใบสามารถที่จะแลกอาณาจักรหนึ่งแว้นแคว้นได้
วงการเครื่องเคลือบดินเผาโบราณของญี่ปุ่นนำการปรากฏของโยเฮนเทนโมกุ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เนรมิตจากอุปสรรคขวากหนามและการยื่อมือเข้ามาโดยทางจิตตานุภาพของสวรรค์ เป็นสิ่งที่ “เกินความสามารถของมนุษย์” ดังนั้น จึงยกย่องให้เป็น “สมบัติประจำชาติ”
เอกสารอ้างอิง :
1. 曜变建盏究竟美在哪里 | 陆金喜说曜变的艺术内涵 http://m.sohu.com/a/152352149_99892992/?pvid=000115_3w_a
[หมายเหตุ] : วัฒนธรรมชาของเมืองจีนริเริ่มเผยแพร่เข้าไปญี่ปุ่นในยุคสมัยถัง และได้นำเมล็ดชาชุดแรกกลับมายังญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 805 ได้นำวิถีการดื่มชาและอุปกรณ์ชาของเมืองจีนเข้าไปญี่ปุ่นในยุคสมัยซ่ง ต่อมา วิถีการดื่มชาก็คือจุดกำเนิดของ “พิธีชงชาแห่งญี่ปุ่น” และอุปกรณ์ชาโดยเฉพาะ “เจี้ยนจ่าน” ก็กลายเป็นสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในพิธีชงชาแห่งญี่ปุ่น
พิธีชงชามีอิทธิพลต่อญี่ปุ่นอย่างใหญ่หลวง และเจี้ยนจ่านก็เป็นสิ่งที่เคารพบูชาแห่งพิธีชงชา ทำไมคนญี่ปุ่นถึงหลงใหลเจี้ยนจ่านเปรียบดั่งการเทิดทูนบูชา สนใจโปรดติดตามบทความ《อิทธิพลของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่มีต่อสังคมญี่ปุ่น》ซึ่งเป็นบทความสุดท้ายใน “ซีรีย์เจี้ยนจ่าน” โดยจะนำเสนอตามลำดับต่อไป !!