วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ศิลปะการตกแต่งปั้นจื่อซา---การระบายโคลน


        “การระบายโคลน/泥绘” เป็นจิตรกรรมที่ริเริ่มในยุคปลายหมิงต้นชิง ในรัชสมัยเฉียนหลงที่โปรดปรานการดื่มชาเป็นยิ่งนัก และโปรดปรานอุปกรณ์จื่อซาที่ตกแต่งด้วยบทกวีทิวทัศน์ ทางเตาเผาหยีซิงจึงได้ทำปั้นจื่อซาถวายเข้าวังหลากหลายรูปแบบ ได้นำบทกวีพรรณนาชาที่ประพันธ์โดยจักรพรรดิเฉียนหลงจารึกบนปั้นจื่อซาโดยเทคนิค “การระบายโคลน” 

▲ปั้นจื่อซากลอนพระราชนิพนธ์ภาพชงชา/紫砂刻绘描金御题诗烹茶图壶 ทำในรัชสมัยเฉียนหลงราชวงศ์ชิง---ปั้นด้านหนึ่ง แกะสลักลงสีทองบทกลอนพรรณนาชาที่แต่งโดยจักรพรรดิเฉียนหลง ปั้นอีกด้าน ระบายโคลนเป็นภาพชงชาลานบ้าน

▲ปั้นจื่อซาจูหนีหมื่นปีเฉพาะราชสำนัก/朱泥御制万寿壶 ทำในรัชสมัยเฉียนหลงราชวงศ์ชิง---เพื่อเป็นการถวายพระพรให้อายุยืนยาวหมื่นปี ที่พิเศษสุดคือ บนตัวปั้นตกแต่งโดยการระบายโคลนตัวหนังสือ「」ที่มีรูปอักขระไม่เหมือนกันร้อยตัว


        “การระบายโคลน” เป็นศิลปกรรมที่ “ใช้ปั้นแทนกระดาษ ใช้โคลนแทนหมึก” เป็นศิลปะการตกแต่งมีเฉพาะในปั้นจื่อซา คือหลังจากการขึ้นรูปปั้นจื่อซาเสร็จแล้ว ในขณะที่เนื้อดินปั้นยังมีความชื้นที่พอเหมาะ นำดินจื่อซาที่บดละเอียดทำเป็นโคลนสี ใช้พู่กันจุ่มโคลนสีแทนน้ำหมึกหรือสี โดยใช้เทคนิคศิลป์หลากวิธีเช่น การพอก() การปั้น() การป้าย() การตวัด() ColorWash() มาระบายภาพหรือจารึกตัวหนังสือบนตัวปั้น 

▲การระบายโคลน---วิธีการแบบดั้งเดิม ใช้พู่กันจุ่มโคลนสีแล้วระบายบนตัวปั้น

▲การระบายโคลน---วิธีการแบบดั้งเดิม ใช้พู่กันจุ่มโคลนสีแล้วระบายบนตัวปั้น ต่อจากนั้นใช้เครื่องมือช่วยในการจัดแต่งรูปร่าง

▲กระบอกฉีดโคลน---การพัฒนาการระบายโคลนจนถึงทุกวันนี้ ไม่จำกัดที่จะต้องใช้พู่กันอย่างเดียวอีกแล้ว

▲กระบอกฉีดมีข้อดีกว่าพู่กัน (1) ได้ภาพที่ดูมีมิติและเสมือนจริงมากกว่า (2) เก็บรายละเอียดของภาพได้ดีกว่า (3) ควบคุมปริมาณโคลนที่ฉีดด้วยมือได้ง่ายกว่า 


        หลังการระบายโคลนเสร็จ ปล่อยทิ้งให้แห้ง แล้วนำไปเผาผนึกจนเสร็จ ผลงานระบายโคลนจะมีทัศนศิลป์ที่มีมิติเหมือนภาพวาดสีน้ำมัน หรือประติมากรรมแบบนูนต่ำ (Bas-Relief)---“ใช้โคลนดินสร้างขอบเขต ใช้ขอบเขตถ่ายทอดจิตวิญญาณ” 

▲ปั้นจื่อซากลีบฟักทองกลอนหวังเหวย/紫泥堆泥绘王维诗意瓜棱壶 ประทับตรา「เปิ้ลเหยียน/笨岩」(ชื่อจริง เฉินฮั่นเหวิน/陈汉文 เป็นน้องชายของ เฉินหมิงเหยี่ยน/陈鸣远 เป็นหนึ่งในช่างทำปั้นจื่อซาเพื่อจักรพรรดิเฉียนหลง)
(บน) ปั้นด้านหนึ่งระบายโคลนบทกวีของ หวังเหวย/王维 (ปี701-761) นักกวียุคถัง 
(ล่าง) ปั้นอีกด้านระบายโคลนภาพกระต๊อบท่ามกลางต้นกล้วยญี่ปุ่นและต้นสนในแวดล้อมที่เย็นสงบ


        อ้างอิงจากโคลนสีที่ทำจากดินที่ใช้ทำตัวปั้นหรือจากดินสีอื่นๆ สามารถแบ่ง “การระบายโคลน” ออกได้เป็น 2 รูปแบบ


        1. การระบายโคลนสีตัวมันเอง คือนำโคลนสีมันเองมาระบายภาพ บนหลักการใช้ความหยาบละเอียดและสั้นยาวของลายเส้น ขนาดใหญ่เล็กและหนาบางของพื้นผิว ทำให้วัตถุภาพแสดงถึงเทคเจอร์ที่ดูมีระยะใกล้-ไกล เสมือนจริง 

▲การระบายโคลนสีตัวมันเอง/本色泥绘
  

        2. การระบายโคลนสีที่แตกต่าง คือใช้โคลนสีที่ตัดกันกับสีของตัวปั้น ใช้สีเดียวหรือหลากสี ทั่วไปโดยสีหนึ่งเป็นสีหลัก สีอื่นๆเป็นตัวเสิรม เป็นการตกแต่งที่ให้ความรู้สึกการตัดกันอย่างรุนแรง 

▲การระบายโคลนสีที่แตกต่าง/异色泥绘---ปั้นจื่อซาพระจันทร์แหว่งม่านเซิง/曼生却月壶 1ในม่านเซิง18แบบ การระบายโคลนสีดำสีเดียว

▲การระบายโคลนสีที่แตกต่าง/异色泥绘---การระบายโคลนหลากสี


        ในศิลปะการตกแต่งปั้นจื่อซา “การแกะสลัก” และ “การระบายโคลน” ต่างก็เป็นการตกแต่งโดยการนำภาพและตัวหนังสือเป็นเทคเจอร์บนปั้นจื่อซา แต่หนึ่งเป็นการใช้ใบมีดในการแกะสลักออกเป็นภาพหรือตัวหนังสือ อีกหนึ่งเป็นการใช้พู่กันในการระบายโคลนออกเป็นภาพหรือตัวหนังสือ 

        • เทคเจอร์ของ “การแกะสลัก” แสดงออกถึงพลังความงามอย่าง “สง่าผ่าเผย/金石气” ดุจเทคเจอร์ที่แกะสลักบนแผ่นศิลา (

▲ปั้นจื่อซาทรงถัง/紫泥洋桶壶 โดยกู้จิ่งโจว/顾景舟---ภาพโดยการแกะสลัก

▲ปั้นจื่อซาทรงถัง/紫泥洋桶壶 โดยกู้จิ่งโจว/顾景舟---ตัวหนังสือโดยการแกะสลัก


        • เทคเจอร์ของ “การระบายโคลน” แสดงออกถึงพลังความงามอย่าง “สละสลวย/书卷气” ดุจปลายพู่กันที่เขียนวาดบนเที่ย ( : กระดาษหรือผ้า) 

▲ภาพตกแต่งปั้นจื่อซาโดยการระบายโคลน

▲ตัวหนังสือตกแต่งปั้นจื่อซาโดยการระบายโคลน

▲อักษรวิจิตร--- (ซ้าย) เอกลักษณ์แบบตวัดบนเที่ย (帖学) (ขวา) เอกลักษณ์แบบจารึกบนแผ่นศิลา (碑学)




เอกสารอ้างอิง :
3. 以泥为墨的紫砂泥绘艺术https://www.taozs.com/article-369.html