วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560

อิทธิพลของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่มีต่อสังคมญี่ปุ่น

อิทธิพลของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่มีต่อสังคมญี่ปุ่น




        วัฒนธรรมชาเมืองจีนกับญี่ปุ่น

        ประวัติศาสตร์อันยาวนานของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมต่างๆระหว่างเมืองจีนกับญี่ปุ่น วัฒนธรรมชาเมืองจีนซึ่งเป็นหนึ่งในวิถีการดำเนินชีวิตทางสังคมได้เผยแพร่เข้าไปในญี่ปุ่นเป็นอันดับแรก ริเริ่มในยุคสมัยถัง พระเจี้ยนเจิน(鉴真)ได้เดินทางไปบูรพาทิศ(ปี ค.ศ.753)ก็ได้นำชาไปถึงญี่ปุ่นแล้ว ในช่วงระยะเวลานั้น ชาใช้ทำเป็นยา การใช้โดย “วิธีการต้มชา”(煎茶法) ของยุคสมัยถัง ใบชาสามารถเคี้ยวกัดได้ ดังนั้นเรียกขานว่า “กินชา”(吃茶)

▲เลียนแบบการตีชา(点茶)ยุคสมัยซ่ง

▲เลียนแบบการตีชา(点茶)ยุคสมัยซ่ง

        ชาสามารถทำให้จิตใจสงบ ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของเมืองจีน เหล่าพระภิกษุจะใช้ใบชาเพื่อทำให้สดชื่นอยู่เสมอ นักบวชนิกายเซนญี่ปุ่นก็ได้เรียนรู้วิธีการแบบนี้ เมื่ออ่อนเพลียจาการบำเพ็ญตบะ ก็กินชา วันแล้ววันเล่า การกินชาก็กลายเป็นหนทางสู่วิปัสสนาของนักบวชฝ่ายเซน ชากับเซนก็เป็นพันธะที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้


พระเจี้ยนเจิน(鉴真)เดินทางไปบูรพาทิศเผยแผ่วัฒนธรรมเมืองจีนอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง


        ต่อมา พระไซโจ(Saicho)ของญี่ปุ่นได้เดินทางมาที่เจ้อเจียงเพื่อฝึกฝนในทางธรรมที่เขาเทียนทาย(天台山)ในรัชศกปีที่20ของจักรพรรดิถังเต๋อจง(ปี ค.ศ.804) ปีต่อมาได้พกพาคัมภีร์ทางศาสนาและเมล็ดชาจำนวนมากของเขาเทียนทายกลับประเทศญี่ปุ่น กลายเป็นผู้ก่อตั้งสำนักงานสงฆ์เทียนทายแห่งญี่ปุ่น และเป็นผู้บุกเบิกการเพาะปลูกใบชาของญี่ปุ่น ในยุคสมัย Kamakura ของญี่ปุ่น พระเออิไซ(Eisai)นักบวชญี่ปุ่นที่ได้เดินทางเข้าเมืองจีน2ครั้งในยุคสมัยซ่ง ไม่เพียงแค่นำเมล็ดชาของเมืองจีนกลับไปญี่ปุ่นอีกครั้ง ยังได้นำอุปกรณ์ชาของเมืองจีนและวิถีการดื่มชาของเมืองจีนกลับไปด้วย ผ่านไป300ปี ขณะที่วิถีชาแห่งญี่ปุ่นกำลังรุ่งเรือง พระเออิไซก็ได้เกียรติให้เป็นผู้ให้กำเนิดชาของญี่ปุ่น

▲พระไซโจ(Saicho)พระสมณศักดิ์ชั้นสูงของญี่ปุ่นที่ก่อตั้งสำนักงานสงฆ์เทียนทายแห่งญี่ปุ่น

▲พระเออิไซ(Eisai)ผู้ก่อตั้งสำนักรินไซ(Rinzai)ทางพุทธศาสนานิกายเซนของญี่ปุ่น


        จาการศึกษาค้นคว้าทางบันทึกประวัติศาสตร์ วิถีการดื่มชาของเมืองจีนที่พระเออิไซนำกลับไปญี่ปุ่น ซึ่งก็คือวิธีการตีชา(点茶法) ก็เรียกว่า “การดวลชา”(斗茶) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในเมืองหลวงและพื้นที่ทางแถบฝูเจี้ยน แล้วก็คือจุดกำเนิดของพิธีชงชาแห่งญี่ปุ่น ส่วนถ้วยชาที่พระเออิไซนำกลับไปซึ่งก็คือเจี้ยนจ่านจากเจี้ยนโจวของเมืองจีน และมีถ้วยกระ(玳瑁碗)จำนวนบางส่วนจากเตาจี๋โจว(吉州窑) เนื่องจากถ้วยชาที่พระเออิไซนำกลับไปญี่ปุ่นในสมัยนั้นผ่านเขาเทียนมู่(天目山)ของเจ้อเจียง ดังนั้น นับแต่นั้นมาคนญี่ปุ่นนำถ้วยชาชนิดนี้เรียกขานว่า “ถ้วยเทียนมู่”(天目盏)

▲ถ้วยเทนโมกุที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่น

        คนญี่ปุ่นหลงใหลคลั่งไคล้เจี้ยนจ่าน

        คนญี่ปุ่นให้ความสนใจต่อเตาเจี้ยนเป็นอย่างมาก สืบเนื่องจากพิธีชงชามีอิทธิพลของต่อญี่ปุ่นอย่างใหญ่หลวง ได้แผ่ซ่านเข้าไปในชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นทุกหย่อมหญ้าแล้ว และเครื่องเคลือบเจี้ยนจ่านก็เป็นสิ่งที่เคารพบูชาแห่งพิธีชงชา เพราะฉะนั้น การหลงใหลต่อเจี้ยนจ่านของคนญี่ปุ่นเปรียบดั่งเป็นการเทิดทูนบูชา ในประเทศญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑสถานของราชการหรือของเอกชนกระทั่งนักเก็บสะสมส่วนบุคคล ล้วนเป็นเจ้าของเครื่องเคลือบเตาเจี้ยนในจำนวนไม่น้อยทีเดียว ในบรรดาเครื่องเคลือบเหล่านี้ซึ่งรวมทั้งตัวล้ำเลิศอยู่ในนั่นด้วย บนโลกนี้ที่หลงเหลืออยู่เพียง3ใบของ “ถ้วยย้าวเบี้ยนเทียนมู่” ในสภาพสมบูรณ์ที่เก็บอยู่ในญี่ปุ่น นี่ก็เป็นเพราะการดำรงอยู่ การนำออกแสดง และการเผยแพร่บทความจำนวนมากจาการศึกษาที่เกี่ยวกับของเก็บสะสมเหล่านี้โดยเฉพาะ จึงทำให้พลังอิทธิพลของเตาเจี้ยนแพร่ขยายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่อยๆเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก

▲ถ้วยเทนโมกุที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่น

        จากบันทึกประวัติศาสตร์ หลังจาก “ถ้วยเทียนมู่” เผยแพร่เข้าไปในญี่ปุ่นแล้ว คนญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจต่อวัฒนธรรมการดื่มชาและอุปกรณ์ชาของเมืองจีนมีแต่เพิ่มไม่มีลด และตระกูลดังในสมัยนั้น Ashikaga Yoshimitsu ได้สั่งซื้ออุปการณ์ชาล้ำค่าชั้นเลิศของเมืองจีนเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ยุคสมัยเอะโดะ(Edo Jidai)ของญี่ปุ่นตราบจนถึงปัจจุบัน ตระกูลดังๆทั้งหลายของญี่ปุ่นล้วนมีการเก็บสะสมเทียนมู่ “ถ้วยชาเทียนมู่” ที่เก็บรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้ แทบจะทั้งหมดเคยถูกครอบครองและเคยถูกใช้โดยตระกูลดังในสมัยนั้น

▲โยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่น

        เครื่องเคลือบเทียนมู่เป็นอุปการณ์ชาที่ล้ำค่าที่สุดในพิธีชงชาแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น “เครื่องเคลือบเทียนมู่” ในความรู้สึกของคนญี่ปุ่นแล้วเป็นสิ่งล้ำค่าในบรรดาถ้วยชาทั้งหลาย แสดงถึงสถานะที่มีบทบาทสำคัญ เป็นสัญลักษณ์ของการมีอำนาจและฐานนันดร ทุกวันนี้ “เทียนมู่”(ญี่ปุ่นออกเสียง “เทนโมกุ”) ได้กลายเป็นชื่อเรียกสามัญทางสากลของเครื่องเคลือบดินเผาชนิดเคลือบสีดำไปแล้ว

        ทำไมญี่ปุ่นถึงใช้ชื่อ “ย้าวเบี้ยน” ในถ้วยเทียนมู่ ?

        ประมาณ700ปีที่แล้ว คนญี่ปุ่นใช้ชื่อ “ย้าวเบี้ยนเทียนมู่”(ญี่ปุ่นออกเสียง “โยเฮนเทนโมกุ”) เรียกแทนเจี้ยนจ่านยุคสมัยซ่งชนิดหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงมายาอย่างยิ่งยวด ประกายเจิดจ้า ก็เป็นเพราะลักษณะลายบนถ้วยเช่นเสมือนจริงกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่คนโบราณสังเกตการณ์---สุริยุปราคา และ จันทรุปราคาย้าว” ใน “ย้าวเบี้ยนเทียนมู่” มาจากตัวอักษรจีนโบราณของเมืองจีน ความหมายของตัวอักษรคือ : 1. เปล่งประกาย สว่างไสว---“ดวงอาทิตย์ขึ้นมีย้าว” ; 2. ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์5ดวง เรียกว่า “ย้าว”

▲รายละเอียดของโยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่น

          คนญี่ปุ่นค้นพบลักษณะของ “ย้าว”(ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดวงดาว) เหมือนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เจี้ยนจ่าน

        ญี่ปุ่นเป็นประเทศหมู่เกาะ อันเนื่องจากเป็นความต้องการของการเดินทางทะเล จะต้องทำความเข้าใจต่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และกลุ่มดาวให้มากยิ่งขึ้น เมื่อ700ปีก่อน ความเข้าใจต่อแผ่นที่บอกตำแหน่งดาวบนท้องฟ้าของญี่ปุ่นแม้ว่าเพียงหยุดอยู่บนมโนคติทางดาราศาสตร์ แต่ทว่าคนญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่เฝ้าสังเกตการณ์อย่างละเอียด พวกเขาค้นพบว่าการเปลี่ยนแปลงสีของสุริยุปราคาจันทรุปราคาและวงแสงของสุริยุปราคาจันทรุปราคากับจุดนิวเคลียสและพระอาทิตย์ทรงกลดสีรุ้งที่อยู่รอบๆจุดนิวเคลียสของเจี้ยนจ่านมีส่วนที่คล้ายคลึงกันอย่างน่าทึ่ง

▲การเปรียบเทียบสุริยุปราคากับจุดนิวเคลียสพระอาทิตย์ทรงกลดของย้าวเบี้ยน

        ช่วงที่เกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา รูปทรงกลมของดวงอาทิตย์ละดวงจันทร์จากสีทองหรือสีขาวเปลี่ยนเป็นสีมืด โดยค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแดงมืด ม่วงมืด จนกระทั่งสีดำมืด ถ้าหากกระทบกับหมอกบางๆหรือไอน้ำร้อนในบรรยากาศ ก็จะปรากฏสีหลากหลายมากขึ้น ; ระยะที่เกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา ช่วงที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เปลี่ยนสี ยังปรากฏภาพที่แปลกประหลาด---วงแหวนสุริยุปราคา และ วงแหวนจันทรุปราคา

        คนญี่ปุ่นใช้ “ย้าว” มาพรรณาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เจี้ยนจ่าน

        ก็เป็นเพราะวงแสงสีรุ้งอันบรรเจิดงดงามของวงแหวนสุริยุปราคาและวงแหวนจันทรุปราคา ทำให้คนโบราณติดตาตรึงใจยากที่จะลืมเลือนที่ได้พบเห็น ฉะนั้น เมื่อได้เห็นจุดนิวเคลียสและพระอาทิตย์ทรงกลดสีรุ้งรอบนอกจุดนิวเคลียสของโยเฮนเทนโมกุแล้ว ยับยั่งชั่งใจไม่ได้ที่นำลายบนจ่านและ “ย้าว” มาเชื่อมโยงกัน ดังนั้นคำว่า “ย้าวเบี้ยน”(โยเฮน) ก็กำเนิดขึ้นมา การตั้งชื่อว่า “ย้าวเบี้ยนเทียนมู่”(โยเฮนเทนโมกุ)  ตั้งได้อย่างมโนภาพและเหมาะเจาะอย่างยิ่ง ในช่วงสมัยนั้นคนจำนวนอันจำกัดมากที่มีโอกาสได้สัมผัสจ่านย้าวเบี้ยนต่างก็มีจุดร่วมต่อคุณค่านิยมในการชื่นชมเจี้ยนจ่าน จึงต่างก็ยอมรับนวัตกรรมคำใหม่นี้โดยปริยาย

▲การเปรียบเทียบหมู่ดวงดาวในเอกภพกับย้าวเบี้ยน

        ต่อแต่นั้นมา จ่านย้าวเบี้ยนสมบัติแห่งชาติญี่ปุ่น3ใบก็วางอยู่ในกล่องที่เขียนด้วยตัวหนังสือ “ย้าวเบี้ยน” การเปลี่ยนเจ้าของหนึ่งไปสู่เจ้าของใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ในบรรดาเจี้ยนจ่าน “ย้าวเบี้ยน” ก็คล้ายกับอักษร2ตัวของ “หยดน้ำมัน” ที่เหมือนมีชิวิต เป็นตัวหนังสือที่สั้นกระชับใช้อธิบายความสลับซับซ้อนของปรากฏการณ์2อย่างคือ การเปลี่ยนแปลงสีของสุริยุปราคาและจันทรุปราคากับการเปล่งประกายของวงแหวนสุริยุปราคาและวงแหวนจันทรุปราคา ตรง ณ จุดนี้ พวกเราต้องให้ความเคารพนับถือความสามารถในการคิดนวัตกรรมคำใหม่อย่างเหมาะเจาะและอย่างตรงตัวของคนญี่ปุ่น

        มูลเหตุที่คนญี่ปุ่นไล่ล่าตามหาโยเฮนเทนโมกุ

        “โยเฮนเทนโมกุ” ไม่ใช่เป็นเพราะชื่อเรียกแล้วถูกพิจารณาให้เป็นสมบัติแห่งชาติ การคัดเลือกให้เป็นสมบัติแห่งชาติคือองค์ประกอบของคุณค่าทางความสุนทรียะที่ก่อเกิดขึ้นจากการผสมผสานของจุดนิวเคลียสและพระอาทิตย์ทรงกลดสีรุ้งกับการเป็นสิ่งที่หายากยิ่ง ; ความล้ำค่าของโยเฮนเทนโมกุยุคสมัยซ่ง มีมูลค่าดั่ง “ผ้าไหมหมื่นผับนั่นไซร์” ที่ล้ำค่าไม่ใช่เป็นเพราะสมรรถนะทางการใช้งานของมัน สมรรถนะทางการใช้งานของโยเฮนเทนโมกุเฉกเช่นเดียวกันกับขนกระต่ายและหยดน้ำมัน ไม่มีข้อแตกต่างดำรงอยู่ ที่ล้ำค่าเป็นเพราะลวดลายบนจ่านเป็นชนิดที่หาได้ยากยิ่งของโยเฮนเทนโมกุ

▲ผลงานย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี่(陆金喜)

        ในการเผาผลิตจ่านขนกระต่ายซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตัวหลักยุคสมัยซ่ง ประสบกับปัจจัยที่เป็นเหตุบังเอิญอย่างยิ่ง เผาออกมาได้เป็นจ่ายหยดน้ำมัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ประมาณหนึ่งในแสน ; ภายใต้ปัจจัยที่เป็นเหตุบังเอิญในเหตุบังเอิญ จึงจะสามารถเผาจุดนิวเคลียสและพระอาทิตย์ทรงกลดสีรุ้งที่เปลี่ยนแปลงมายาอย่างวิเศษสุดคณานับออกมาได้ ซึ่งก็คือจ่านย้าวเบี้ยน มีความเป็นไปได้หนึ่งในล้าน

        ผลงานย้าวเบี้ยนของลู่จินสี่ได้รับการเคารพยกย่องทวีคูณในญี่ปุ่น

        เวลารวดเร็วปานสายฟ้าฟาด หลังจากผ่านไป800กว่าปี เมื่อ ลู่จินสี่(陆金喜) กลายเป็นผู้ฟื้นฟูเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งสมบัติแห่งชาติเป็นบุคคลแรกของโลก ทันทีที่ผลงานย้าวเบี้ยนปรากฏต่อสายตาสาธารณชน ก็ทำให้ทุกคนตะลึงความงามอันล้ำเลิศในปฐพี พิพิธภัณฑสถานอันมีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศต่างก็เก็บสะสมไว้ อาทิเช่น Museum of Oriental Ceramics, Osaka ของญี่ปุ่น Victoria and Albert Museum ของอังกฤษ Natioal Maritime Museum ของเมืองจีน National Palace Museum ของจีนไทเป เป็นต้น ศาสดาจารย์ Kobayashi Hitoshi นักวิจัยเครื่องเคลือบโบราณญี่ปุ่นเชื่อว่าย้าวเบี้ยนที่ฟื้นฟูโดยลู่จินสี่ถือเป็นผลงานที่ใกล้เคียงย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งสมบัติแห่งชาติมากที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน

        เดือน พ.ค. 2017 องค์กรที่เกี่ยวพันกันของญี่ปุ่นที่มีความพิสมัยต่อวัฒนธรรมเจี้ยนจ่านของเมืองจีนได้แสดงปฏิกิริยาตอบสนองเป็นอันดับแรก 5พิพิธภัณฑสถานอันโด่งดังร่วมกันเชื้อเชิญลู่จินสี่ให้มาญี่ปุ่นเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเจี้ยนจ่าน ด้วยเหตุนี้ ไม่เป็นที่เปลกใจเลยว่าลู่จินสี่ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นตั้งแต่ระดับผู้นำจากนายกรัฐมนตรี ถึงระดับล่างประชาชนทั่วไป

▲ผลงานย้าวเบี้ยนของลู่จินสี่(陆金喜)เป็นที่ชื่นชอบนิยมในญี่ปุ่น

        ลู่จินสี่ตอบรับการเชื้อเชิญและได้ไปเยี่ยมเยียนญี่ปุ่นครั้งนี้ ได้เข้าพบอดีตนายกรัฐมนตรี Hatoyama Yukio(ปี ค.ศ.2009-1010) สมาชิกรัฐสภา Hirofumi Nakasone ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมธิการตรวจสอบควบคุมหน่วยข่าวกรองของญี่ปุ่น ประธานกรรมการมูลนิธิเด็กนานาชาติ Masuda Yasuhiro จิตรกรพระราชสำนัก Hirofumi Fujishima และได้ไปเยี่ยมเยือน Tokyo National Museum, Idemitsu Museum of Arts, Seikado Bunko Art Museum of Tokyo, Museum of Oriental Ceramics of Osaka, Fujita Art Museum of Osaka เป็นต้น ได้ศึกษาสัมผัสโยเฮนเทนโมกุยุคสมัยซ่งสมบัติแห่งชาติที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถาน และได้นำพาเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่เผาออกมาใหม่ที่ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งโลกปัจจุบัน เพื่อเป็นการศึกษาศิลปกรรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันกับคนในวงการเดียวกันในญี่ปุ่น เป็นการสนทนาที่สุดยอดที่เป็นประจักษ์พยานทางวัฒนธรรมเจี้ยนจ่านเมืองจีนที่ก้าวข้ามห้วงเวลา

▲ผลงานย้าวเบี้ยนของลู่จินสี่(陆金喜)เป็นที่ชื่นชอบนิยมในญี่ปุ่น

        ผลงานย้าวเบี้ยนของลู่จินสี่ ไม่ว่าจะปรากฏอยู่ในสำนักงานของผู้มีอิทธิพล หรือบนโต๊ะของผู้เชี่ยวชาญ หรือตามถนนหนทางของญี่ปุ่น ล้วนได้รับการตอบสนองอย่างล้นหลาม ได้รับการการสรรเสริญยกย่องแทบจะทำนองเดียวกันทั้งจากวงการเมือง วงการศิลปกรรม วงการธุรกิจ วงการบันเทิงและองค์กรสาธารณกุศลกับประชาชนทั่วไปของญี่ปุ่น พวกเขาเชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นโยเฮนเทนโมกุยุคสมัยซ่งสมบัติแห่งชาติที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานหรือจ่านย้าวเบี้ยนที่เผาออกมาใหม่ของลู่จินสี่ ล้วนเพียบพร้อมด้วยเสน่ห์ดึงดูดจิตวิญญาณของผู้คน กระทั่งตะลึงพรึงเพริด “คุณลู่จินสี่ก็คือทูตแห่งสวรรค์ที่เอกภพจัดส่งมา เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างเมืองจีนกับญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

▲ผลงานย้าวเบี้ยนของลู่จินสี่(陆金喜)เป็นที่ชื่นชอบนิยมในญี่ปุ่น

        การเป็นผู้ฟื้นฟูเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งคนแรกของโลก สิ่งที่ลู่จินสี่ได้ฟื้นฟูก็คือศิลปกรรมย้าวเบี้ยนที่ดั้งเดิมที่สุดของยุคโบราณเมืองจีน สิ่งที่เผยแพร่ก็คือวัฒนธรรมเจี้ยนจ่านของเมืองจีนที่เจริญก้าวหน้าที่สุดแห่งโลกยุคปัจจุบัน เป็นการนำไปสู่ทิศทางการพัฒนาของวัฒนธรรมเจี้ยนจ่านของเมืองจีน ก้าวไปสู่อยู่ในแถวหน้าของโลก

        พิพิธภัณฑสถานอันโด่งดังของญี่ปุ่นบางส่วนที่เชื้อเชิญลู่จินสี่เพื่อสัมพันธไมตรีและหนังสือประกาศเกียรติคุณ

        บุคคลในวงการต่างๆและองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ต่างก็เก็บสะสมย้าวเบี้ยนของลู่จินสี่อย่างเป็นทางการ เช่น Hatoyama Yukio, Hirofumi Nakasone, Hirofumi Fujishima, Masuda Yasuhiro และ Museum of Oriental Ceramics, Osaka เป็นต้น ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่านี่เป็นการพิสูจน์ความจริงโดยตรงอีกครั้งว่าวัฒนธรรมเจี้ยนจ่านของเมืองจีนมีอิทธิพลต่อญี่ปุ่น เป็นการยืนยันว่าเตาเจี้ยนของเมืองจีน เจี้ยนจ่านของโลก เป็นประจักษ์พยานที่คืบไปอีกก้าวว่าวัฒนธรรมของเมืองจีนมีอิทธิพลต่อญี่ปุ่นที่อยู่ไกลพ้นตั้งแต่โบราณกาลตราบเท่าถึงปัจจุบัน

聚德勤守逸  , 贤道义维馨 !
曜变弥珍贵  , 一盏永流传 !


เอกสารอ้างอิง :
1. 陆金喜谈曜变建盏对日本社会的影响 http://m.sohu.com/a/156602974_99892992/?pvid=000115_3w_a