วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ตำนานผู้กำกับการเครื่องปั้นดินเผาแห่งยุค...ถังอิง

ตำนานผู้กำกับการเครื่องปั้นดินเผาแห่งยุค...ถังอิง



        พลิกดูประวัติศาสตร์เครื่องเคลือบดินเผากว่าพันปีของเมืองจีน ยุคสมัยซ่งถือเป็นยุคที่ทำการผลิตเครื่องเคลือบได้ความประณีตสวยงามที่สุด ยุคสมัยชิงเป็นยุคที่เทคโนโลยีการผลิตเครื่องเคลือบก้าวล้ำถึงขีดสุด เครื่องเคลือบดินเผาของแต่ละยุคสมัยที่ต่างก็มีอัตลักษณ์และได้ตกทอดสืบมามีเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าหากคุณพินิจพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว ก็จะค้นพบว่า ในบรรดาเครื่องเคลือบดินเผาระดับสมบัติแห่งชาติที่ล้ำเลิศจำนวนมากล้วนเป็นประดิษฐกรรมของ「ถังอิง」แล้วมาดูห้องค้าของแต่ละบริษัทการประมูลยักษ์ใหญ่ ราคาประมูลแพงอันดับต้นๆก็จะต้องมีเครื่องหมายการค้าของคนแซ่ถังผู้นี้

        เมื่อเป็นเช่นนี้「ถังอิง」คือใครกันแน่ ?


▲「ถังอิง」(ปี1682-1756) คนสามแผ่นดิน คังซี-หย่งเจิ้น-เฉียนหลง

      「ถังอิง」(唐英) เกิดในครอบครัวทาสที่อยู่ในกองธงฮั่นสีขาว เมืองเสิ่นหยาง ในรัชศกจักรพรรดิคังซีปีที่36 เมื่ออายุ16ปีได้ถูกคัดเลือกให้เข้าไปในพระราชวังต้องห้ามเพื่อปรนนิบัติจักรพรรดิ ต่อมาได้ไปดำรงตำแหน่งในหน่วยงานจัดการภายในพระราชสำนัก ควบคุมงานการออกแบบรูปภาพ ความเป็นจริง ถังอิงมีความถนัดทางด้านการวาดภาพและเขียนพู่กันจีน ตลอดระยะ30ปีที่รับราชการอยู่ในพระราชวัง ได้ปฏิบัติหน้าที่การงานต่างๆมากมาย แต่ไม่มีงานรับผิดชอบชิ้นใดเลยที่เกี่ยวข้องกับเครื่องเคลือบดินเผา

        ปี 1728 จักรพรรดิหย่งเจิ้นได้มีพระราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งถังอิงไปเป็นผู้ช่วยในโรงงานเตาหลวงที่จิ่งเต๋อเจื้น [แต่ทำหน้าที่รับผิดชอบทั้งหมดแทนเหนียนซีหยาว(年希尧)ซึ่งยังดำรงตำแหน่งผู้กำกับการเครื่องปั้นดินเผาเพียงในนาม]

▲พระราชโองการ 26 ตัวอักษร จุดเปลี่ยนชีวิตของถังอิงกลายเป็นผู้กำกับการเครื่องปั้นดินเผาแห่งยุค

        ก็เพียงข้อความสั้นๆแค่26ตัวอักษร แต่เปลี่ยนแปลงชีวิตของถังอิงได้อย่างสิ้นเชิง

        ณ ช่วงเวลานั้น ถังอิงซึ่งมีอายุย่างเข้า47ปีแล้ว ต้องละทิ้งบ้านเกิดเมืองนอนจากเหนือลงใต้มุ่งสู่เมืองแห่งเครื่องเคลือบอันไกลพ้น นอกจากไม่คุ้นเคยกับสภาวะลมฟ้าอากาศของถิ่นแดนใต้แล้ว งานการรับผิดชอบใหม่ที่ต้องเกี่ยวข้องกับเครื่องเคลือบดินเผายิ่งแล้วใหญ่ เพราะเป็นคนไร้ประสบการณ์อย่างสิ้นเชิง แล้วต้องมาจัดการควบคุมบรรดาช่างฝีมือที่มีความชำนาญการทั้งหลาย ในเมื่อเป็นสถานการณ์บังคับจำยอม จึงมีความแน่วแน่ที่จะต้องเรียนรู้งานศิลปะหัตกรรมเครื่องปั้นดินเผานี้ให้ทะลุปรุโปร่ง โดยลงไปคลุกคลีตีโมงกับพวกคนงาน ทำให้เขาจากคนไม่มีทักษะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียง 3 ปี

        ในรัชศกจักรพรรดิเฉียนหลงปีที่2 ถังอิงได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้กำกับการเครื่องปั้นดินเผาอย่างเป็นทางการ แล้วเตาหลวงเครื่องเคลือบก็เข้าสู่ยุคสมัย「เตาถัง」(唐窑) อย่างเต็มภาคภูมิ จากรัชศกจักรพรรดิหย่งเจิ้นปีที่6ถึงจักรพรรดิเฉียนหลงปีที่21 รวมเป็นระยะเวลายาวนาน27ปีที่ถังอิงได้กำกับการผลิตเครื่องเคลือบในโรงงานเตาหลวง สามารถที่จะกล่าวได้ว่าพละกำลังทั้งครึ่งชีวิตหลังของถังอิงได้อุทิศให้แก่การผลิตเครื่องเคลือบ ถังอิงไม่เพียงมีความสามารถทางด้านสร้างสรรค์ศิลปกรรมและจัดการองค์กรเท่านั้น แล้วยังเพียบพร้อมด้วยบุคลิกภาพและอารมณ์ที่ดีเลิศ ทั้งหมดเหล่านี้หล่อหลอมให้ถังอิงประสบความสำเร็จที่เป็นหนึ่งไม่มีสอง

        การอุทิศตนของถังอิงที่มีต่อการผลิตเครื่องเคลือบ 1.คือการเลียนแบบของโบราณ 2.คือการเผาสร้างนวัตกรรมใหม่

        ในการชื่นชมเครื่องเคลือบของจักรพรรดิหย่งเจิ้นและเฉียนหลงต่างมีมาตรฐานที่สูงมาก แต่พ่อลูกคู่นี้มีเอกลักษณ์ร่วมกัน ก็คือจะหลงใหลเครื่องเคลือบอันประณีตงดงามที่ผลิตในยุคสมัยก่อน ดังนั้น การผลิตเครื่องเคลือบลอกเลียนแบบ5เตาเผาอันโด่งดังของยุคสมัยซ่ง ถือเป็นหน้าที่สำคัญภาระหนึ่ง

▲(ซ้าย) 琺瑯彩松竹梅圖橄欖式瓶  (ขวา) 粉彩冬青釉折枝花蝶紋尊 : หย่งเจิ้นนิยม สง่าผึ่งผาย ศิลปะไร้มายา ไม่หรูหราฉูดฉาดมาก

▲(ซ้าย) 粉彩醬地描金凸雕靈桃瓶   (ขวา) 唐英制仿古銅青綠浮雕夔龍開光石紋釉詩文壁瓶 : เฉียนหลงนิยม หรูหราฉูดฉาด แวววาวแพรวพราว

▲การเปรียบเทียบระหว่างเครื่องเคลือบยุคสมัยหย่งเจิ้น(ขวา)กับเฉียนหลง(ซ้าย)ที่ชาวเน็ตเมืองจีนทำโพสต์ขึ้นมา

▲(บน) ชามจากเตาเผาจิน ยุคสมัยซ่ง (宋 鈞窯 玫瑰紫釉菱花式盆托)
▲(ล่าง) ชามที่ทำเลียนแบบเตาเผาจิน ยุคสมัยหย่งเจิ้น (清雍正 仿鈞釉菱花式花盆托)

        อีกด้านหนึ่ง ศิลปะหัตกรรมที่ถังอิงทำถวายจักรพรรดินั้น ภายใต้การทุ่มทุนทางการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่ได้กลับคืนมาคือนวัตกรรมใหม่จำนวนไม่น้อย ตลอดช่วงระยะเวลาของถังอิง มีสีใหม่ๆปรากฏให้เห็นทั้งด้าน สีบนเคลือบ(釉上彩)  สีใต้เคลือบ(釉下彩)  สีเคลือบ(色釉) ภายใต้การกำกับดูแลของเขา โรงงานเตาหลวงจิ่งเต๋อเจิ้นสามารถเผาสีเคลือบได้ถึง 70 กว่าสี ในบรรดาสีเคลือบเหล่านี้ Famille Rose(胭脂红) กระเจี๊ยบเขียว(秋葵绿) เป็นสีเคลือบที่โด่งดังที่สุด

▲จอกเคลือบ Famille Rose ยุคสมัยหย่งเจิ้น (清雍正 胭脂紅釉杯)

        เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของจักรพรรดิเฉียนหลงที่ชื่นชอบต่อเครื่องเคลือบที่แปลกใหม่ ถังอิงได้ทำการเผาเครื่องเคลือบชนิดแปลกใหม่ออกมาไม่น้อย อย่างเช่น แจกันหมุนรอบ(转心瓶) แจกันสลักลวดลาย(镂空套瓶) แจกันเจียวไท่(交泰瓶) ซึ่งต่างมีหลากหลายรูปแบบ เครื่องเคลือบทั้ง3ชนิดนี้ในประวัติศาสตร์การผลิตเครื่องเคลือบทั้งหมดในยุคโบราณของเมืองจีน ถือเป็นชิ้นผลงานที่ต้องออกแบบอย่างประณีตบรรจงที่สุด วิธีการที่สลับซับซ้อนมากที่สุด ต้องใช้กรรมวิธีที่ละเอียดแม่นยำและเทคโนโลยีที่สูงมาก

▲ภาพโครงสร้างภายในของแจกันแบบหมุนรอบ (转心瓶) : โดยทั่วไปเป็นแจกัน2ชั้น ชั้นในเป็นแกนกลางที่หมุนรอบได้ ชั้นนอกเป็นตัวร่างแจกันที่เจาะหรือแกะสลักให้เป็นรูเพื่อสามารถมองทะลุผ่านเข้าไปเห็นแกนกลางได้

清乾隆 粉青描金镂空开光粉彩荷莲童子转心瓶 : รูปแบบหนึ่งของแจกันหมุนรอบ

清乾隆 粉青描金镂空开光粉彩荷莲童子转心瓶 分解圖 : แยกส่วนประกอบของแจกันหมุนรอบออกได้เป็น 2 ชิ้น

清乾隆 霁青描金游鱼粉彩转心瓶 : รูปแบบหนึ่งของแจกันหมุนรอบ

清乾隆 霁青描金游鱼粉彩转心瓶 分解圖 : แยกส่วนประกอบของแจกันหมุนรอบออกได้เป็น 3 ชิ้น

清乾隆 粉彩鏤空「吉慶有餘」轉心瓶 : เป็นแจกันที่ถูกยกให้เป็นอันดับหนึ่งในเครื่องเคลือบของเมืองจีน โดยบริษัท Bainbridge ได้เปิดการประมูลเมื่อวันที่ 11.11.2010 ที่กรุงลอนดอน ผลราคาปิดที่ RMB 554 ล้าน สร้างสถิติราคาประมูลสูงที่สุดของเครื่องเคลือบดินเผาโบราณของเมืองจีนที่เคยประมูลกันมา

▲แจกันเจียวไท่ (交泰瓶) : ตรงท้องเครื่องเคลือบถูกแกะสลักเป็นรูปหรูยี่ นำส่วนบนและส่วนล่างประกบเป็นร่างเดียวกันเว้นช่องว่างตรงลวดลายไว้โดยการติดตะขอเกี่ยวยึด สามารถขยับเขยื้อนได้เล็กน้อย แต่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ กรรมวิธีแบบนี้เรียกว่า「เจียวไท่」ซึ่งมีความหมายโดยนัยว่า「ฟ้าดินรวมเป็นหนึ่ง สันติสุขทั่วหล้า สมหวังปรารถนา」「上下一體,天下太平,萬事如意

清乾隆 黃釉粉彩八卦如意轉心套瓶(交泰瓶): แจกันที่ผสมผสานรูปแบบหมุนรอบและเจียวไท่อยู่ในหนึ่งเดียว

        ตลอดช่องระยะเวลาภายใต้การกำกับของถังอิง สร้างสรรค์เครื่องเคลือบที่เลียนแบบของโบราณและการเผาสร้างนวัตกรรมใหม่รวมกันได้ 57 รูปแบบ

        เมื่อพูดถึงการเผาสร้างนวัตกรรมใหม่ในยุคสมัยเฉียนหลงแล้ว จะไม่กล่าวถึงเครื่องเคลือบเลียนแบบสิ่งมีชีวิตเลยก็กระไรอยู่ โดยการเลียนแบบรูปลักษณ์ของสัตว์เช่น เป็ด และรูปลักษณ์ของผลไม้เช่น ลิ้นจี่

▲เครื่องเคลือบเลียนแบบเป็ด (唐英制像生瓷鴨) : งานประมูลฤดูใบไม้ผลิครบรอบ10ปีของบริษัท Council กรุงปักกิ่ง ปี2016 ราคาปิด : RMB 3,680,000 

▲เครื่องเคลือบเลียนแบบลิ้นจี่ (清乾隆 唐英制粉彩像生荔枝)

        ชิ้นผลงานที่เป็นส่วนตัวของถังอิงเองนั้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และเครื่องใช้ในการเซ่นไหว้ บนเครื่องเคลือบเหล่านี้จะตกแต่งด้วยการวาดรูปภาพ เขียนบทกลอนโวหาร หรือเขียนพู่กันจีน

唐英制粉彩李白斗酒詩文鈴鐺杯

清乾隆 唐英墨彩詩文筆筒 : งานประมูลฤดูใบไม้ผลิของบริษัท Council กรุงปักกิ่ง ปี2015 ราคาปิด : RMB 1,265,000

清乾隆 唐英款墨彩詩文水盂 ราคาปิด : RMB 728,000

清乾隆 唐英制青花纏枝蓮紋花觚 : งานประมูลฤดูใบไม้ผลิครบรอบ5ปีของบริษัท Council กรุงปักกิ่ง ปี2010 ราคาปิด : RMB 66,080,000

清乾隆 唐英制青花蒼龍教子詩文觀音瓶 : งานประมูลฤดูใบไม้ผลิครบรอบ10ปีของบริษัท Council กรุงปักกิ่ง ปี2016 ราคาปิด : RMB 7,130,000

        ในห้วงเวลาที่ถังอิงปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้กำกับการเครื่องปั้นดินเผาอยู่นั้น ยังได้ทำการสืบสาวราวเรื่องและศึกษาค้นคว้ากรรมวิธีการผลิตเครื่องเคลือบของจิ่งเต๋อเจิ้น ได้รวบรวมเรียบเรียงเขียนเป็นหนังสือ 《陶冶圖编次》 (ภาพลำดับวิถีทางการทำเครื่องปั้นดินเผา) ซึ่งเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่อธิบายสภาวะของงานการผลิตเครื่องเคลือบยุคสมัยชิงในจิ่งเต๋อเจิ้น จึงกล่าวได้ว่า ถังอิงมีผลกระทบอย่างมากต่อเครื่องเคลือบดินเผาและการพัฒนาพื้นที่ของจิ่งเต๋อเจิ้น เพื่อเป็นการระลึกถึงผลงานของถังอิง คนรุ่นหลังเจาะจงตั้งชื่อถนนหลักของนิคมอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาจิ่งเต๋อเจิ้นว่าถนนถังอิง พร้อมสร้างรูปปั้นสูงเด่นเป็นสง่าอยู่กลางถนน

▲รูปปั้น「ถังอิง」ตั้งตระหง่านอยู่กลางถนนหลักของนิคมอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาจิ่งเต๋อเจิ้น

        ภายหลังจากถังอิงได้เสียชีวิตเมื่ออายุ75ปี เนื่องจากผู้กำกับการฯมิใช่คนเดิมอีกแล้ว นับต่อจากนี้เตาหลวงจิ่งเต๋อเจิ้นก็ไม่สามารถเผาสร้างชิ้นงานสุดยอดอันประณีตสวยงามดุจดั่งยุคต้นรัชสมัยเฉียนหลงได้อีก พอถึงยุคกลางรัชสมัยเฉียนหลง ความซับซ้อนเชิงชั้นและเรียบง่ายดั้งเดิมแทบจะสูญสิ้น ถึงยุคปลายราชวงศ์ชิงยิ่งขาดซึ่งความละเอียดประณีต เสื่อมถอยล้าหลังลงไปเรื่อยๆ จนไม่มีวิถีทางของการทำเครื่องปั้นดินเผาหลงเหลืออยู่ เมื่อเสียงระเบิดอึกทึกครึกโครมจากปืนใหญ่ในสงครามฝิ่น เสียงดังแคร๊งกังวานจากการตกแตกของเครื่องเคลือบบนพื้นก็ตามมา ปล่อยให้ประวัติศาสตร์ผ่านเลยไปไม่หวนคืนกลับมา...

▲ประวัติศาสตร์ผ่านเลยไปไม่หวนคืนกลับมา...


-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----

เอกสารอ้างอิง :
1.  唐英做了什么让他成为“史上最牛”督陶官?:  https://kknews.cc/culture/p5zr59e.html
2.  神一样的存在 : 大清陶瓷艺术总监“唐英” :  https://kknews.cc/culture/p8jmjve.html 
3.  他把有清一代的皇家瓷捧上了世界之巅 , 然而 , 背后的辛酸几人知? :  https://kknews.cc/culture/n5e86b8.html
4.  最懂康熙雍正心思的人 国宝级陶瓷背后的秘密  :  https://kknews.cc/culture/aele4xn.html