วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2562

บทเพลงชา 7 ถ้วยของหลูถง



        ผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรมชาในบรรดาดาวจรัสแสงสมัยถัง ลู่อวี่ (陆羽 ; ปี733-804) ผู้ประพันธ์《คัมภีร์ชา/茶经》ได้รับเกียรติสูงสุดให้เป็น “เทพแห่งชา/茶圣” ลำดับรองลงมาคือ หลูถง (卢仝 ; ปี795-835) ที่แต่งบทกวี《บทเพลงชา 7 ถ้วย/七碗茶歌》อันถือเป็นบทเพลงอมตะที่ได้ร้องบรรเลงตั้งแต่สมัยถังต่อเนื่องถึงสมัยซ่ง-หยวน-หมิง-ชิง ตราบจนถึงปัจจุบัน ได้รับการยกย่องให้เป็น “เซียนชา/茶仙

元·赵原丨《陆羽烹茶图》/《ภาพลู่อวี่ต้มชา》ผลงานของจ้าวหยวน-สมัยหยวน 

卢仝丨简介 / ชีวประวัติของหลูถง

宋·钱选丨《卢仝烹茶图》/《ภาพหลูถงต้มชา》ผลงานของเฉียนเสวี่ยน-สมัยซ่ง

      《บทเพลงชา 7 ถ้วย》เป็นบทกวีท่อนหนึ่งใน《เขียนขอบคุณเมิ้งเจี่ยนที่ส่งชาใหม่มาให้ลิ้มลอง/走笔谢孟谏议寄新茶》ที่โดดเด่นและซึ่งแสดงอารมณ์ความรู้สึกของผู้แต่ง มีความสละสลวยแหวกแนว ทำให้ผู้อ่านสามารถเกิดจินตนาการไร้ขอบเขต ได้รับการกล่าวขานอย่างกว้างขวาง ยังคงอยู่ชั่วกาลนาน ถูกแปลออกเป็นหลายภาษาเผยแพร่สู่ทั่วโลก จึงสามารถที่จะกล่าวได้ว่า ที่ใดนิยมการดื่มชา ที่นั่นย่อมจะมีการกระจายเสียง《บทเพลงชา 7 ถ้วย》:

         一碗喉吻润,/  ถ้วยที่1 ลื่นคล่องคอ น้ำชาที่นำมาซึ่งหวานย้อนกลับและกระตุ้นน้ำลาย ทำให้ชุ่มปากคล่องคอ
         二碗破孤闷。/  ถ้วยที่2 ซึมเศร้ามลาย เมื่อน้ำชาอุ่นๆลงคอ กลิ่นหอมแตะโพรงจมูก แม้เพียงต้องอยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย แต่ก็มีชาเป็นเพื่อนข้างกาย
         三碗搜枯肠,唯有文字五千卷。/  ถ้วยที่3 ตื้นตันใจ เป็นเพราะชาจึงกระตุ้นความคิดที่เต็มไปด้วยตัวอักษรแล้วเรียงร้อยออกมาเป็นบทกวี
         四碗发轻汗,平生不平事,尽向毛孔散。/ ถ้วยที่4 ขับถ่ายเหงื่อ พลังชี่ของน้ำชาขจัดจิตฟุ้งซ่านออกตามรูขุมขน
         五碗肌骨清,/  ถ้วยที่5 ชำระกาย เมื่อกายใจผ่อนคลาย ก็สุขกายเจริญใจ
         六碗通仙灵。/  ถ้วยที่6 ความเป็นเซียน อิสรภาพแห่งจิตวิญญาณ บรรลุเอกภาพแห่งทวินิยม
         七碗吃不得也,唯觉两腋习习清风生。/  ถ้วยที่7 สายลมพัด รู้สึกได้ใต้รักแร้ทั้งสองมีสายลมพัดปลิวให้ลอยขึ้นบนท้องฟ้า

      《บทเพลงชา 7 ถ้วย》ของหลูถง นอกจากการแปลตีความตามตัวอักษรข้างต้นแล้ว จากชาถ้วยแล้วถ้วยเล่า ทุกถ้วยเป็นการสร้าง【สภาวะ】ทาง『ฌาน/』:

          ชาถ้วยที่1)【กิเลสทางกาย】 | เริ่มต้นจากความต้องการทางกายภาพในการดับกระหายน้ำ
          ชาถ้วยที่2)【จากกายสู่จิต】 | คนกับโลกก็จะค่อยๆแยกห่างจากกัน วิญญาณคืนสู่ร่าง
          ชาถ้วยที่3)【จากจิตเข้าฌาน】 | เจริญสมาธิ ปัญญาบังเกิด
          ชาถ้วยที่4)【จากฌานพ้นทุกข์】 | สงบสติอารมณ์ ขจัดบ่วงกรรม
          ชาถ้วยที่5)【ขัดเกลากายใจ】 | ชำระกายใจให้บริสุทธิ์ ไม่ยึดติด
          ชาถ้วยที่6)【บรรลุมรรคผล】 | สู่ความเป็นเซียนในพลังยินหยางอย่างสมดุล
          ชาถ้วยที่7)【อมตภาพ】 | ความเป็นเซียนล่องลอยในอากาศสู่แดนสุขาวดี

▲【สภาวะอมตภาพ】 | ความเป็นเซียนล่องลอยในอากาศสู่แดนสุขาวดี

        การดื่มชา 7 ถ้วยของหลูถง เชิงเป็นการฝึกตนไต่ลำดับขั้นให้สูงขึ้นจากสภาวะ【กิเลสทางกาย】 จนถึง【อมตภาพ】 ซึ่ง 7 สภาวะแห่งการดื่มชานี้ ลึกซึ้งจนเกินความเข้าใจของคนโบราณและคนยุคปัจจุบัน ทำให้นักการชายุคหลังหลงระเริงกับโลกของชาบนความชื่นชอบจนได้มองข้ามและหลงลืมสภาวะทั้งทางโลกและทางธรรม เชิงทำนอง “ฌานชารสเดียว (禅茶一味)”

《禅茶一味》/《ฌานชารสเดียว》

      《บทเพลงชา 7 ถ้วย》ของหลูถง นอกจากเป็นบทกวีที่โดดเด่นในวัฒนธรรมชาจีน ยังบินลัดฟ้าข้ามทะเลไปญี่ปุ่น กลายเป็นแรงบันดาลวัฒนธรรมเซนฉะของญี่ปุ่น ผู้ที่ทำการผลักดันคือ Kō Yūgai (高遊外 ; ปี1675-1763) ผู้มีสมญานามว่า “Baisaō (คนแก่ขายชา/賣茶翁)” มีชื่อเดิมว่า “Shibayama Genshō (柴山元昭)” ซึ่งเคยบวชเป็นพระนิกายเซนฉายา “Gekkai Genshō (月海元昭)” เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง『พิธีชงชาเซนฉะ/煎茶道』ในยุคเอโดะ(江户时代 ปี1603-1868) ทำให้การดื่มเซนฉะเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่มวลชนทั่วไปในญี่ปุ่น ในญี่ปุ่น มีเซนฉะมาก่อนมัทฉะ 500 ปี แต่กลับกลายเป็นพิธีชงชาช้ากว่า 200 ปี

伊藤若冲丨《賣茶翁像》/《ภาพคนแก่ขายชา/Baisaō》ผลงานของ Itō Jakuchū (ปี1716-18004)   

狩野秀賴丨《楓圖》/《ต้นเมเปิล》ผลงานของ Kano Show Lai (เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว)

狩野秀賴丨《楓圖》(局部)  / (ภาพบางส่วน)《ต้นเมเปิล》ผลงานของ Kano Show Lai : บนภาพจะสังเกตเห็นเหตุการณ์การขายชาของคนแก่ขายชา 

        พระเซนโนะริคิว (Sen no Rikyu/千利休 ; ปี1522-1591 ) ผู้ซึ่งพัฒนา『พิธีชงชาวาบิฉะ/侘茶道』ที่นิยมกันในวัง ชนชั้นสูงและพระในสมัยนั้น จนกลายมาเป็นรูปแบบ『พิธีชงชามัทฉะ/抹茶道』ที่ผู้คนส่วนใหญ่คุ้นเคยและรู้จักเป็นพิธีชงชาที่เป็นแก่นสารทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในปัจจุบัน.....

《千利休》创立的日本『抹茶道』/《พระเซนโนะริคิว/Sen no Rikyu》ผู้ก่อตั้ง『พิธีชงชามัทฉะ』ของญี่ปุ่น

▲(ซ้าย)『煎茶道/พิธีชงชาเซนฉะ』vs.『抹茶道/พิธีชงชามัทฉะ』(ขวา)


หมายเหตุ : การนำเสนอบทความฯนี้เห็นการสอดคล้องกันของ “ฌานชา” และ “กินเจ” เนื่องใน “เทศกาลกินเจ” ช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 7 ต.ค. 62 ซึ่งการกินเจเพื่อ :-
     1)  เพื่อสุขภาพ---กินเจช่วยปรับสภาพร่างกายให้สมดุล จากการงดทานเนื้อสัตว์ (ยิน/) แล้วทานพวกพืชผักผลไม้ (หยาง/) เป็นการปรับพลังยินหยางในร่างกายให้สมดุลมากขึ้น
     2)  เพื่อจิตเมตตา---เพื่อชำระล้างจิตใจให้สะอาด ไม่เบียดเบียนสัตว์โลก จิตใจผ่องใส หัวใจเบิกบาน เป็นสุขมากขึ้น
     3)  เพื่อละเว้นกรรม---การละเว้นฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ขจัดบ่วงกรรมได้มากขึ้น 





เอกสารอ้างอิง :
1. 卢仝的《七碗茶歌》https://kknews.cc/culture/2lj553e.html
2. 茶人必背的《七碗茶诗》https://kknews.cc/other/jb64426.html
3. 日本茶神“学不会的禅” 以中国茶神卢㒰为师http://www.epochtimes.com/gb/16/1/2/n4608491.htm

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2562

แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่『แปดสหายจูซาน』...(ตอนที่3)



        4)เติ้งบี้ซาน/邓碧珊】(ปี1874-1930) |《ภาพวาดปลาสาหร่าย/渔藻画

        เติ้งบี้ซานศึกษารูปแบบการวาดปลาและกุ้งของคนโบราณ ขณะเดียวกันยังเรียนรู้เทคนิคการวาดภาพของญี่ปุ่น การแสวงหาความรู้สึกปลอดโปร่งในสภาวะนิ่งสงบของปลาและน้ำลักษณะนี้ ทำให้รูปแบบการวาดภาพของเขาไม่เหมือนใคร เมื่อเปรียบเทียบกับภาพวาดแบบปัญญาชนดั้งเดิมแล้ว ยิ่งรู้สึกความงามอันนิ่งสงบของเขา ความมีชีวิตชีวาของเขา

邓碧珊丨粉彩《鱼虾藻》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ปลากุ้งสาหร่าย》ผลงานของเติ้งบี้ซาน

邓碧珊丨粉彩《鱼藻》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ปลาสาหร่าย》ผลงานของเติ้งบี้ซาน

邓碧珊丨粉彩《鱼藻》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ปลาสาหร่าย》ผลงานของเติ้งบี้ซาน

        5)บี้โบ๋วเทา/毕伯涛】(ปี1886-1962) |《ภาพวาดขนนกดอกไม้พืชพรรณ/翎毛花卉画

        บี้โบ๋วเทาเคยสอบได้เป็นบัณฑิตในช่วงปลายสมัยชิง ศึกษารูปแบบการวาดภาพของ ซินหลอซานเหริน(新罗山人) จิตรกรสมัยชิง ถึงแม้การวาดขนนกของเขาไม่เป็นที่นิยมนักนำไปสู่การมีชีวิตที่อัตคัด แต่บี้โบ๋วเทาก็ยังคงดำรงไว้ซึ่งเป็นปัญญาชนที่สูงศักดิ์

毕伯涛丨粉彩《翠羽艳妆》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《เครื่องแต่งกายขนนกเขียวหยกอันฉูดฉาด》ผลงานของบี้โบ๋วเทา

毕伯涛丨粉彩《紫藤春燕》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《นกนางแอ่นไม้เลื้อย》ผลงานของบี้โบ๋วเทา

毕伯涛丨粉彩《鹭鸶》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《นกกระยาง》ผลงานของบี้โบ๋วเทา : ขนาด 24.0x38.0 cm.

        6)เหอสวี่เหริน/何许人】(ปี1882-1943) |《ภาพวาดทิวทัศน์หิมะ/雪景画

        การจัดวางองค์ประกอบภาพวาดทิวทัศน์หิมะของเหอสวี่เหริน เป็นการสืบทอดวิธีการสร้างภาพตามสถานการณ์ของคนซ่ง การเขียนพู่กันป้ายหมึกก็นำมาจากวิธีการของ “สี่หวังยุคชิง” แต่ได้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการใหม่ให้กระชับง่ายขึ้น เหอสวี่เหรินมีความคิดสร้างสรรค์ในการนำเฝินไฉ่ใช้ในภาพวาดทิวทัศน์ ดังนั้น ผลงานของเขาทั้งดูอ่อนโยนนุ่มนวลแบบเฝินไฉ่ดั้งเดิม และมีเสน่ห์แบบภาพที่ดูราวเคลื่อนไหว เหอสวี่เหรินเป็นผู้บุกเบิกการวาดภาพทิวทัศน์หิมะบนเครื่องเคลือบจิ่งเต๋อเจิ้น ในจิ่งเต๋อเจิ้นยังมีการใช้วิธีการวาดภาพทิวทัศน์หิมะของเหอสวี่เหรินจนถึงปัจจุบัน

何许人丨墨彩《溪山瑞雪》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบมั่วไฉ่《ภูเขาหิมะลำธาร》ผลงานของเหอสวี่เหริน

何许人丨粉彩《雪满梁园》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《หิมะปกคลุมเมืองเหลียงหยวน》ผลงานของเหอสวี่เหริน

何许人丨粉彩《四季山水》长条瓷板挂屏(四屏) / กรอบแขวนผนังแผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ทิวทัศน์สี่ฤดู》(4 กรอบยาว)ผลงานของเหอสวี่เหริน : ประมูลเมื่อปี 2012 ราคาประมูลได้ RMB22,425,000

        7)เฉินยี่ถิง/程意亭】(ปี1895-1948) |《ภาพวาดดอกไม้นก/花鸟画

        เฉินยี่ถิงเคยเป็นลูกศิษย์ของ เฉินจาง(程璋) เรียนรู้การวาดดอกไม้พืชพรรณ ได้รับอิทธิพลอย่างสูงจาก เจี่ยงถิงซี(蒋廷锡) จิตรกรสมัยชิง ทำให้ผลงานของตนเองใช้วิธีการวาดภาพแบบ “ภาพวาดควบอักษรศิลป์/兼工带写” ส่วนที่เป็นภาพวาดก็จะเน้นเป็นพิเศษ เช่นการวาดนก จะวาดขนนกออกมาละเอียดคมชัดมาก ส่วนที่ต้องอักษรศิลป์ ก็จะเขียนบทกวีที่มีความหมายสอดคล้องภาพ

程意亭丨粉彩《花鳥》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ดอกไม้นก》ผลงานของเฉินยี่ถิง

程意亭丨粉彩《花鳥》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ดอกไม้นก》ผลงานของเฉินยี่ถิง

程意亭丨粉彩《花鳥》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ดอกไม้นก》ผลงานของเฉินยี่ถิง 

        8)หลิวหยี่เฉิน/刘雨岑】(ปี1904-1969) |《หยดน้ำดอกท้อ/水点桃花

        หลิวหยี่เฉินมีความเชี่ยวชาญในการวาดภาพดอกไม้นก ชีวิตช่วงต้นได้รับอิทธิพลแนวการวาดภาพของ หัวเนี้ย(华喦) ชีวิตช่วงกลางได้เรียนรู้แก่นสารศิลปะจิตรกรรมของ เหริ้นโบ๋วเหนียน(任伯年) ซินหลอซานเหริน(新罗山人) นำรูปแบบการวาดภาพที่สดใสไปใช้ในการวาดภาพบนเครื่องเคลือบ และเขายังได้คิดสร้างสรรค์วิธีการ “หยดน้ำดอกท้อ/水点桃花” ซึ่งเกิดผลกระทบจนถึงปัจจุบัน ชุดภาชนะเครื่องเคลือบที่ทำให้ประธานเหมาก็คือรูปแบบ “หยดน้ำดอกท้อ”

刘雨岑丨粉彩《/水点桃花》风格 / รูปแบบเฝินไฉ่《หยดน้ำดอกท้อ》สร้างสรรค์โดยหลิวหยี่เฉิน

刘雨岑丨粉彩《寒梅踪影》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ร่องรอยดอกเหมยเหมันต์》ผลงานของหลิวหยี่เฉิน

刘雨岑丨粉彩《如松之寿》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《อายุยืนดั่งต้นสน》ผลงานของหลิวหยี่เฉิน  

        9)เถียนเฮ้อเซียน/田鹤仙】(ปี1884-1952) |《ภาพวาดดอกเหมย/梅花画

        เถียนเฮ้อเซียนเป็นผู้หนึ่งที่มีความถนัดหลายด้าน วาดภาพทิวทัศน์ก่อน แล้วมาวาดภาพดอกเหมยทีหลัง เรียนรู้การวาดดอกเหมยโดยรับอิทธิพลจาก หวังเหมี่ยน(王冕) นักวาดยุคสมัยหยวน ดอกเหมยที่วาดโดยเถียนเฮ้อเซียนไม่เพียงกิ่งก้านแผ่ขยายออก อ่อนช้อย สีกลางดอกผสมผสาน สีกิ่งก้านและดอกตัดกันอ่อนๆอย่างกลมกลืน ความงามดอกเหมยปรากฏลักษณะแบบเย็นชา และเถียนเฮ้อเซียนยังได้สร้างสรรค์วิธีการ “การแรเงาดอกเหมย/梅花弄影” ทำให้ภาพดอกเหมยที่วาดบนผิวเรียบของเคลือบแลดูมีมิติใกล้-ไกลยิ่งขึ้น

田鹤仙丨粉彩《爱梅图》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ต้นดอกเหมย》ผลงานของเถียนเฮ้อเซียน

田鹤仙丨粉彩《梅花》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ต้นดอกเหมย》ผลงานของเถียนเฮ้อเซียน

田鹤仙丨粉彩《梅花纹》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ต้นดอกเหมย》ผลงานของเถียนเฮ้อเซียน

        10)สวีจ้งหนาน/徐仲南】(ปี1872-1953) |《ภาพวาดต้นสนไผ่/松竹画

        ความเป็นจริง สวีจ้งหนานก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีความชำนาญหลายทาง วาดตัวละคร วาดทิวทัศน์ วาดต้นไผ่ วาดต้นสน ล้วนจัดอยู่ในระดับเกณฑ์ดี แต่ในบั้นปลายชีวิตเขาได้เริ่มวาดต้นไผ่ ซึ่งเรียนรู้แนวการวาดภาพจากบรรพชน เน้นสร้างสรรค์วาดภาพธรรมชาติ แล้วกลายเป็นตัวเขาและธรรมชาติหลอมเป็นหนึ่งเดียว ภาดวาดรูปแบบต้นไผ่และก้อนหินทำให้เพลิดเพลินตาเจริญใจ

徐仲南丨粉彩《 竹石图》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ต้นไผ่ก้อนหิน》ผลงานของสวีจ้งหนาน

徐仲南丨粉彩《苍松图》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ต้นสน》ผลงานของสวีจ้งหนาน

徐仲南丨粉彩《松鹤延年》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《อานุยืนยาวดั่งต้นสนนกกระเรียน》ผลงานของสวีจ้งหนาน  : ขนาด 37.0x23.8 cm.

       『แปดสหายจูซาน』สืบทอดเฝินไฉ่ดั้งเดิม วาดออกมาเป็นภาพหน้าใหม่ สีสันหลากหลายแพรวพราว ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะพิเศษของวัตถุดิบเครื่องเคลือบดินเผาเพื่อให้ตรงตามความต้องการของหน้าภาพอย่างต่อเนื่อง ได้สร้างสรรค์วิธีการ “ลั่วตี้เฝินไฉ่/落地粉彩” “หยดน้ำดอกท้อ/水点桃花” เป็นต้น รูปแบบการนำเสนอเครื่องเคลือบดินเผาเขียนสีมีความหลากหลายมากขึ้น นำแนวความคิดของ “ภาพวาดแบบปัญญาชน/文人画” และวัตถุดิบการวาดภาพเครื่องเคลือบมาร่วมกันผลักดันการพัฒนาศิลปะจิตรกรรมเครื่องเคลือบดินเผา เป็นงานเขียนที่โชติช่วงที่ตกทอดให้ศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาในยุคปัจจุบัน

        แผ่นกระเบื้องเคลือบเพนท์ติ้งไม่ใช่เป็นแค่ผลิตภัณฑ์สินค้าชนิดหนึ่ง แต่ยังเป็นงานศิลปกรรมแขนงหนึ่ง มันเป็นการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์จิตรกรรมบนพื้นฐานของวิธีการเขียนสีเครื่องเคลือบดินเผาไปสู่เชิงอิสระที่หลุดพ้นจากเชิงเป็นการเฉพาะออกแบบตกแต่ง เพื่อนำเสนอศิลปะหัตถกรรมอันมีอัตลักษณ์ของตนเอง แผ่นกระเบื้องเคลือบเพนท์ติ้งได้รวบศิลปะจิตรกรรมจีนและหัตถกรรมเครื่องเคลือบดินเผาดั้งเดิมรวมอยู่ในหนึ่งเดียว เป็นทั้งการสืบทอดแก่นสารของจิตรกรรมจีนดั้งเดิม ยังโอบกอดลักษณะเด่นของศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาจีน เป็นการผสมผสานที่สมบูรณ์แบบของศิลปะกับชีวิต ศิลปะจิตรกรรมของชนชาติกับเทคโนโลยีการผลิตเครื่องเคลือบดินเผา เป็นเพชรน้ำหนึ่งของศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาแห่งชนชาติชาวจีน


《แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่『แปดสหายจูซาน』》........จบบริบูรณ์



เอกสารอ้างอิง :
1. 珠山八友的瓷画作品不能不看https://kknews.cc/culture/re4anbv.html
2. 珠山八友瓷板画收藏与鉴赏http://art.people.com.cn/n/2015/1019/c206244-27715234.html
3.《珠山八友》那鲜为人知的故人往事!https://www.sohu.com/a/276512869_100156435

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562

แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่『แปดสหายจูซาน』...(ตอนที่2)



        ผู้ปกครองสูงสุดทั้งราชวงศ์หมิงและชิงต่างให้ความสำคัญระดับสูงกับการผลิตเครื่องเคลือบในจิ่งเต๋อเจิ้น ซึ่งเป็นศูนย์รวมกำลังคนที่มีความสามารถและกำลังทรัพย์เป็นจำนวนมาก เพื่อประกันคุณภาพเครื่องเคลือบจากเตาหลวงราชสำนักในจิ่งเต๋อเจิ้น แต่ทว่า หน้าที่ของเหล่าช่างทำเครื่องเคลือบก็เพื่อบริการราชสำนัก ไม่มีความเป็นอิสระในสถานะภาพและความคิดริเริ่ม เนื่องจากอำนาจสิทธิ์ขาดเป็นของราชสำนัก จึงมีผลกระทบต่อความสามารถในการสร้างนวัตกรรมที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตนของเหล่าศิลปินเครื่องเคลือบจิ่งเต๋อเจิ้น

瓷器圆面青花《清代御窑厂图》瓷板 / ภาชนะแผ่นกลมเครื่องเคลือบลายคราม《โรงงานเตาหลวงราชสำนักสมัยชิง》: ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 72.5 cm. โดยภาพวาดใช้โรงงานเตาหลวงราชสำนักเป็นศูนย์กลางของจิ่งเต๋อเจิ้น เผาผลิตขึ้นในสมัยชิงตอนปลาย แต่จะถือเป็นของรัชสมัยเต้ากวงหรือถงจื้อยังหาข้อสรุปไม่ได้
โรงงานเตาหลวงราชสำนักเป็นสถานที่เป็นการเฉพาะเผาผลิตเครื่องเคลือบราชสำนักทั้งราชวงศ์หมิงและชิง ก่อตั้งขึ้นในรัชศกหงหวู่ปีที่ 2 (ปี1369) ตราบจนถึงรัชศกเซวียนถ่ง(จักรพรรดิองค์สุดท้าย)ปีที่ 3 (ปี1911) เป็นอันสิ้นสุดประวัติศาสตร์การเผาผลิต รวมเป็นระยะเวลายาวนาน 542 ปี


        ภายหลังจากสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 ในปี 1840 พลังประเทศของราชวงศ์ชิงก็ค่อยๆอ่อนแอลง เตาหลวงราชสำนักก็ตกต่ำเป็นเงาตามตัว ตราบจนการปกครองแบบอำนาจสิทธิ์ขาดได้ล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง และแล้ววันหนึ่งในฤดูใบไม้ร่วงปี 1928 ศิลปินพื้นบ้านผลิตเครื่องเคลือบที่โดดเด่นกลุ่มหนึ่งได้ปรากฏตัวออกมาในจิ่งเต๋อเจิ้น โดยรวมตัวกันก่อตั้งเป็นกลุ่มนักวาดภาพมีนามว่า “สมาคมเดือนเต็ม/月圆会” อันประกอบด้วย : หวังฉี ; หวังต้าฝาน ; วังแหย่ถิง ; เติ้งบี้ซาน ; บี้โบ๋วเทา ; เหอสวี่เหริน ; เฉินยี่ถิง ; หลิวหยี่เฉิน เป็นต้น เนื่องจากโรงงานเตาหลวงจิ่งเต๋อเจิ้นตั้งอยู่ในบริเวณเชิงเขาจูซาน(珠山) และอาจารย์จิตรกร 8 ท่านนี้จะนัดกันมาประชุมสังสรรค์ทุกวันเพ็ญของเดือนที่เชิงเขาจูซานแห่งนี้ ซึ่งเขาจูซานเป็นสัญลักษณ์และเป็นอีกชื่อหนึ่งของจิ่งเต๋อเจิ้น ภายหลังชนรุ่นหลังจึงให้เกียรติ 8 ท่านนี้โดยขนานนามใหม่ว่า『แปดสหายจูซาน/珠山八友 』 “แปดสหาย/八友” เป็นตัวเลขบุคคลสมมุติขึ้นเพื่อการอ้างถึงทั่วๆไป เป็นกลุ่มคณะศิลป์ที่เกาะกลุ่มกันอย่างหลวมๆซึ่งยังประกอบด้วย เถียนเฮ้อเซียน ; สวีจ้งหนาน รวมกันเป็น 10 คน

▲『珠山八友/แปดสหายจูซาน』จากซ้ายไปขวา : หวังต้าฝาน ; หวังฉี ; หลิวหยี่เฉิน ; เติ้งบี้ซาน 

▲『珠山八友/แปดสหายจูซาน』จากซ้ายไปขวา : เฉินยี่ถิง ; เหอสวี่เหริน ; วังแหย่ถิง ; เถียนเฮ้อเซียน

        『แปดสหายจูซาน』ได้ทลายกำแพงกั้นของเตาหลวงราชสำนักสมัยหมิงและชิง โดยยึด “แปดประหลาดหยางโจว/杨州八怪” เป็นแม่แบบ โดยถือ “ศิลปินกลุ่มเซี่ยงไฮ้/海派艺术家” เป็นแบบอย่าง ไม่เพียงสืบทอดแก่นสารของศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาจีนและศิลปะจิตรกรรมจีน ขณะเดียวกันก็ซึมซับศิลปะเพนท์ติ้งจากตะวันตกและเทคนิคการวาดภาพจากญี่ปุ่น นำจิตวิญญาณรักชาติอันแรงกล้าใส่ลงในการสร้างสรรค์ศิลปะเครื่องเคลือบ กลายมาเป็นรูปแบบอันเป็นอัตลักษณ์จีนยุคใหม่

“杨州八怪” · 黄慎 |《钟进士图轴》/《ภาพม้วนราชบัณฑิตจง》: วาดโดยหวางเซิ้น (ปี1687-1770) ศิลปินหนึ่งใน “แปดประหลาดหยางโจว” เป็นนักวาดที่ครบเครื่องทุกรูปแบบ มีความชำนาญในการวาดภาพตัวละคร ทิวทัศน์ ดอกไม้นก และยังโดดเด่นด้านอักษรวิจิตรหวัดและสามารถแต่งบทกวี

“海派艺术家” · 钱慧安 |《富贵寿考》/《ยศทรัพย์ทวีอายุยืน》: เป็นภาพวาดที่เป็นตัวแทนของเฉียนฮุ้ยอัน (ปี1833-1911) หนึ่งใน “ศิลปินกลุ่มเซี่ยงไฮ้” สมัยชิงตอนปลาย เป็นภาพที่สวยงามคลาสสิคที่แฝงด้วยอารมณ์ของประเพณีเมืองและชนบท สอดคล้องกับสุนทรียภาพนิยมของชาวบ้านในช่วงสมัยนั้น

        นอกเหนือจากนั้น『แปดสหายจูซาน』จะคิดคำนึงถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมจีนและศึกษาตัดสินบนประวัติศาสตร์ ทำให้ผลงานที่สร้างสรรค์ออกมาเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ พวกเขาไม่เพียงแต่ยอมรับแนวคิดสุนทรียภาพของ “ภาพวาดแบบปัญญาชน/文人画” ทั้งยังอาจหาญใช้ศิลปะการวาดภาพแบบปัญญาชนมาแทนที่ “เฝินไฉ่แบบคังซีหยงเจิ้ง/康雍粉彩” นี่เข้าทำนอง “บังอาจยิ่งนัก/胆大包天” ! แต่ทว่า ถ้าหากปราศจากจิตสำนึกทางความคิดริเริ่มและจิตวิญญาณทางการสร้างสรรค์ของพวกเขาแล้ว ก็คงจะไม่เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วของศิลปะการวาดภาพแบบปัญญาชนบนเครื่องเคลือบดินเผา “เฝินไฉ่ใหม่/新粉彩” ก็คงไม่สามารถกลายเป็นเสาหลักของยุคสมัยนั้น และศิลปะการตกแต่งเครื่องเคลือบดินเผาก็จะสร้างไมล์สโตนใหม่ขึ้นมาไม่สำเร็จ

        『แปดสหายจูซาน』ทุกคนต่างมีอิสรภาพและเสมอภาพ นี่จึงเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับแต่ละคนที่ต่างมีความคิดสร้างสรรค์ ต่างมีเอกลักษณ์ ต่างมีรูปแบบเฉพาะตน : “ภาพวาดตัวละคร/人物画” โดยผลงานของหวังฉีและหวังต้าฝานจะสัมฤทธิภาพที่สุด ; “ภาพวาดทิวทัศน์/山水画” โดยผลงานของเหอสวี่เหรินและวังแหย่ถิงจะมีลักษณะพิเศษที่สุด ; ส่วนเถียนเฮ้อเซียนเชี่ยวชาญทาง “ดอกเหมย/梅花” ; เติ้งบี้ซานถนัดทาง “ปลาสาหร่าย/渔藻” ; เฉินยี่ถิงตกหลุมรักใน “ดอกไม้นก/花鸟” ; บี้โบ๋วเทาโหยหาทาง “ขนนกดอกไม้พืชพรรณ/翎毛花卉” ; หลิวหยี่เฉินหลงรักใน “หยดน้ำดอกท้อ/水点桃花” ; สวี่จ้งหนานมีประสบการณ์ทาง “ต้นสนไผ่/松竹

民国·『珠山八友』名家绘 | 粉彩《山水人物花鸟》瓷板 (一套十二件) / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ทิวทัศน์-ตัวละคร-ดอกไม้นก》ชิ้นผลงานของเหล่าศิลปิน『แปดสหายจูซาน』สมัยสาธารณรัฐ (1 ชุด 12 ชิ้น)   

        1)หวังฉี/王琦】(ปี1884-1937) |《ภาพวาดตัวละคร/人物画

        แรกเริ่มหวังฉีศึกษารูปแบบการวาดภาพของ เฉียนฮุ้ยอัน(钱慧安) ซึ่งเป็นหนึ่งศิลปินชื่อดังใน “กลุ่มเซี่ยงไฮ้” ต่อมาเรียนรู้แนวของ หวางเซิ้น(黄慎) หนึ่งใน “แปดประหลาดหยางโจว” ประกอบกับการซึมซับศิลปะเพนท์ติ้งของภาพวาดสีน้ำมันตะวันตก ได้สร้างสรรค์รูปแบบการวาดภาพที่เป็นแบบฉบับของตนเอง : “การเสริมสวยเฝินไฉ่/粉彩涂脂” คือการใช้เฝินไฉ่มาแต่งเติมลงบนใบหน้า ใบหน้าของตัวละครที่เขียนสีเฝินไฉ่สามารถทำให้ใบหน้าของตัวละครเกิดมีมิติขึ้นมา อดีตภาพวาดแบบปัญญาชนดั้งเดิมจะเป็นแบบใบหน้าราบเรียบ แต่ใบหน้าตัวละครของหวังฉีจะเป็นภาพ 3 มิติ

王琦 | 粉彩《糊涂即是仙》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ฟั่นเฝือก็คือเซียน》ผลงานของหวังฉี : ขนาด 39.5x25.8 cm. 

王琦 | 粉彩《渔翁图》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ชาวประมง》ผลงานของหวังฉี

王琦 | 粉彩《十八罗汉》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《18 อรหันต์》ผลงานของหวังฉี : ประมูลเมื่อปี 2015 ราคาประมูลได้ RMB17,825,000

        2)หวังต้าฝาน/王大凡】(ปี1888-1961) |《ภาพวาดตัวละคร/人物画

        เริ่มต้นหวังต้าฝานได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากอาจารย์ วังเสี่ยวถัง(汪晓棠) เริ่มศึกษาแนวการวาดภาพของ เฝ่ยเสี่ยวเหลา(费晓楼) ซาซานชุน(沙山春) ต่อมาก็ศึกษาแนวของ หลอผิ้ง(罗聘) หม่าเทา(马涛) เป็นการเรียนรู้จุดเด่นต่างๆของเหล่าศิลปินอาวุโส แล้วค่อยๆมาก่อเกิดภาพวาดควบอักษรศิลป์ที่เป็นรูปแบบของตนเอง เป็นรูปแบบที่ต้องการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกออกมา ฉะนั้น ภาพวาดของหวังต้าฝานจึงมีลักษณะพิเศษมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ยุคปีที่ 40 เขาได้สร้างสรรค์ภาพวาดเฝินไฉ่ในรูปแบบ “ลั่วตี้เฝินไฉ่/落地粉彩/เฝินไฉ่ตกพื้น)” : คือไม่ใช้ฟริต(Frit/เคลือบแก้วขาว)ลงพื้นก่อน จะนำสารสีเขียนลงบนเคลือบโดยตรง แล้วป้ายทับด้วยเคลือบขาว(雪白)หรือเคลือบน้ำเขียว(水绿)อีกชั้น จึงนำไปเผาอบให้สีแห้ง ทำให้ภาพวาดตัวละครดูยิ่งมีชีวิตชีวา สละสลวยยิ่งขึ้น

王大凡 | 粉彩《禹王治水图》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《อ๋องอวี่บริหารจัดการน้ำท่วม》ผลงานของหวังต้าฝาน : ประมูลเมื่อปี 2011 ราคาประมูลได้ RMB9,200,000

王大凡 | 粉彩《浮搓寻源》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ล่องลอยบนคลื่นค้นหาต้นกำเนิด》ผลงานของหวังต้าฝาน

王大凡 | 粉彩《百寿图》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《อายุมั่นขวัญยืน》ผลงานของหวังต้าฝาน

        3)วังแหย่ถิง/汪野亭】(ปี1884-1942) |《ภาพวาดทิวทัศน์/山水画

        ภาพวาดน้ำใสเขาเขียวของวังแหย่ถิงมีลักษณะเด่นและเป็นที่ชื่นชอบของผู้คน เขาเรียนรู้แนวศิลปะวาดภาพของ “สี่หวังยุคชิง/清四王” เขามีความตั้งใจมากในการลอกแบบผลงานของสี่หวังยุคชิงเป็นจำนวนมาก เพื่อดูดซับแก่นสารศิลปะจิตรกรรม ขณะเดียวกันก็ศึกษาแนวของ สือเทา(石涛) ซึ่งมีอิทธิพลต่อเขาอย่างมาก กล่าวได้ว่าวังแหย่ถิงโดยมีสายน้ำภูเขาเป็นอาจารย์ ใช้สภาพแวดล้อมธรรมชาติสร้างจินตนาการวาดออกมาเป็นภาพ ก่อร่างออกมาเป็นภาพน้ำใสเขาเขียวในรูปแบบเฉพาะตน โดยเฉพาะในการวาดภาพรูปแบบทิวทัศน์เต็มภาพบนเครื่องเคลือบ เนื่องจากที่ผ่านมาภาพวาดแบบปัญญาชาดั้งเดิมบนผ้าไหมไม่สามารถวาดภาพเต็มภาพได้ “ภาพวาดทิวทัศน์เต็มภาพ/通景山水” ของวังแหย่ถิงยังมีอิทธิพลต่อการวาดภาพบนเคลือบในจิ่งเต๋อเจิ้นตราบจนถึงปัจจุบัน

汪野亭 | 粉彩《竹篱茅舍风光好》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ทัศนวิสัยกระท่อมหลังคามุงจากรั้วไม้ไผ่》ผลงานของวังแหย่ถิง  : ขนาด 39.0x25.5 cm.

汪野亭 | 粉彩《山水》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ทิวทัศน》ผลงานของวังแหย่ถิง

汪野亭 | 粉彩《山水图》瓷板 / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ทิวทัศน》ผลงานของวังแหย่ถิง

王琦·汪野亭 | 粉彩《人物山水》瓷板(六件) / แผ่นกระเบื้องเคลือบเฝินไฉ่《ตัวละครทิวทัศน》ผลงานของหวังฉีและวังแหย่ถิง (6 ชิ้น)  : ประมูลเมื่อปี 2012 ราคาประมูลได้ RMB32,775,000 



เอกสารอ้างอิง :
1. 珠山八友的瓷画作品不能不看https://kknews.cc/culture/re4anbv.html
2. 珠山八友瓷板画收藏与鉴赏http://art.people.com.cn/n/2015/1019/c206244-27715234.html
3.《珠山八友》那鲜为人知的故人往事!https://www.sohu.com/a/276512869_100156435