วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า (4)

กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า (4)
一次迟到的论证 (四)



บุคคลสำคัญที่พวกเราต้องจารึกและจดจำ

        กระทำการพิสูจน์ต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่านปังหวายเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์ใบชาของโลก หลังจากนั้นเทศกาลชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 ที่จัดขึ้นมีผลต่อวงการใบชาของเมืองจีน โดยเฉพาะต่อการเฟื่องฟูของชาผูเอ๋อร์ในภายภาคหลังก็เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ยิ่งใหญ่ ต้องการบ่งบอกให้ชัดเจนก็คือ ไม่ว่าเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เรื่องใดล้วนเชื่อมโยงกับบุคคลสำคัญที่มีส่วนร่วมกับเหตุการณ์สำคัญครั้งนั้น เป็นที่ประจักษ์ ถ้าปราศจากความสุขุมเยือกเย็นและความกล้าหาญของพวกเขา บวกกับการทะลวงกฏข้อระเบียบของดั้งเดิม พวกเราก็ยากที่จะคาดคิดถึงผลสัมฤทธิ์ที่ชาผูเอ๋อร์ได้รับในทุกวันนี้ กระทั่งเป็นของระดับสูงที่ใหม่ถอดด้าม

        พวกเขาเป็นประชาคมหนึ่ง ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านชาและนักธุรกิจชา แม้ว่าพวกเราไม่สามารถนำพวกเขามากล่าวถึงเป็นรายบุคคลได้ แต่บุคคลสำคัญที่เพียบพร้อมทางเชิงตัวแทนมากที่สุดที่พวกเราต้องจารึกและจดจำ

หลี่ซือเฉิน (李师程)



        บุคคลสำคัญแรกที่พวกเราให้ความสนใจคือ หลี่ซือเฉิน ในช่วงเวลานั้น เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนพื้นที่ซือเหมาหยินหนาน ก่อนหน้าเป็นนักศึกษาดีเด่นสำเร็จการศึกษาจากคณะวิชาฟิสิกส์มหาวิทยาลัยหยินหนาน ถ้าหากไม่เข้ารับราชการแล้ว จะเป็นนักวิทยสศาสตร์ที่โดดเด่นผู้หนึ่งได้เช่นกัน จากบทความมากมายที่เขาได้เผยแพร่ออกมาในภายหลัง พวกเราจะรับรู้ได้ถึงความตรงไปตรงมาต่อการงานของเขาและความสามารถทางสังเกตการณ์อย่างละเอียดรอบคอบ เขาเป็นคนถ่อมตน และไม่โอ้อวด พูดจาเสียงไม่ดังแต่ชัดถ้อยชัดคำ เขาเป็นผู้จัดงานเทศกาลชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 และก็เป็นผู้นำ เหตุการณ์สำคัญครั้งยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 90 ศตวรรษที่แล้ว ล้วนมีเงาร่างของเขา มีภูมิปัญญาของเขา มีกุลยุทธของเขา พรรณนาให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เขาคือผู้บุกเบิกชาผูเอ๋อร์ยุคสมัยใหม่ เหตุที่พวกเราให้คำจำกัดความเช่นนี้ ยังสืบเนื่องจากอีกเหตุผลหนึ่ง นั่นก็คือเมืองจีนเมื่อทศวรรษที่ 90 ศตวรรษที่แล้ว โดยเฉพาะเขตพื้นที่ซือเหมาหยินหนาน ซึ่งจัดอยู่ในช่วงต้นของการปฏิรูปแบบเปิด วิถีความคิดเชื่อมโยงของผู้คนและวิธีการผลิตที่ล้าหลังต่างมีผลกระทบซึ่งกันและกัน ทำให้การอนุรักษ์นิยมและการแช่แข็งอันเป็นของเดิมยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง ช่วงเวลานั้น เสียงของผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการบอบบางมาก ถ้าหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงสุดของเขตพื้นที่(ก็คือผู้นำ)แล้ว โครงการที่แม้จะดีเพียงใดก็จะถูกปฏิเสธ

        ประจวบเหมาะที่ในช่วงเวลานั้นคุณหลี่ซือเฉินคือเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงสุด(เลขาธิการพรรคมิวนิสต์จีนพื้นที่ซือเหมา)ของซือเหมาหยินหนาน ในปีนั้น ช่วงที่พวกเขาทำการพิจารณาเชื้อเชิญแขกผู้มีเกียรติจากต่างประเทศเพื่อให้มาร่วมงานประชุมสัมนานานาชาติก็พบปัญหาหนึ่ง ถ้าหากดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อเสนอขออนุมัติเช่นวิธีการที่ปฏิบัติกันมา ไม่เพียงต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน ยังจะประสบกับการดุลยภาพและการต่อต้านจากหน่วยงานเบื้องบนต่างๆ กระทั่งอาจเป็นเพราะว่าเกิดการโต้เถียงมากมาย เช่น สถานที่จัดงาน “เทศกาลชาผูเอ๋อร์” ควรจะกำหนดจัดที่ใด? ที่ซือเหมา? ที่หลินชาง? หรือที่เหมิงไห่? ข้อโต้แย้งทำนองลักษณะแบบนี้ทำให้ตายก่อนคลอด

        นี่คือโจทย์ที่ยากมากที่สุดที่สร้างความลำบากใจให้แก่คุณหลี่ซือเฉินในปีนั้น ด้านหนึ่งเขาสั่งให้ทีมงานจัดเตรียมงานใช้วิธีการโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญเชิญผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหลีกเลี่ยงขั้นตอนการายงานตามลำดับขั้น อีกด้านหนึ่งก็ได้รับความเห็นพ้องต้องกันและการสนับสนุนจากเลขาธิการพรรคคอมมิวนีสต์จีนมณฑลหยินหนาน

        วิธีดำเนินการแบบนี้ ซึ่งจะต้องแบกรับความเสี่ยงทางการเมืองของเมืองจีนในช่วงเวลานั้น ถ้าหากไม่มีความกล้าทางการเมืองและทางนโยบาย ไม่มีวิสัยทัศน์เชิงนานาชาติ งานประชุมสัมนานานาชาติชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 และเทศกาลชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 มีความเป็นไปได้ที่แผนการมากมายแต่ถูกเก็บไว้บนหิ้ง

        เกี่ยวกับคุณหลี่ซือเฉิน มีภูมิหลังที่พิเศษที่พวกเราจะต้องกล่าวถึง เขาเกิดที่หมู่บ้านเล็กๆในยี่หวู่หยินหนาน ซึ่งสถานที่แห่งนี้ประจวบเหมาะเป็นพื้นที่ที่ชาผูเอ๋อร์เจริญรุ่งเรืองอย่างสุดขีดที่สุดเป็นครั้งแรกในยุคราชวงศ์ชิง จากการบันทึกประวัติศาสตร์ เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิของทุกปี ผู้คนที่ขึ้นเขาเพื่อเด็ดชาและผลิตชาได้รวมพลเป็นมวลชนที่หมู่บ้านเล็กมีจำนวนถึงหนึ่งแสนคน บรรพบุรุษของเขาอาศัยการเด็ดชาผลิตชามาประทังชีวิต ความเป็นจริงเขาก็คือชนรุ่นหลังของตระกูลใบชา

จางซุ่นเกา (张顺高)



        บุคคลสำคัญที่สองที่ดึงดูดให้พวกเราสนใจคือผู้เชี่ยวชาญด้านใบชาที่โด่งดังของหยินหนาน จางซุ่นเกา เขาไม่ใช่คนหยินหนาน แต่เป็นคนรุ่นหลังของ Wufeng Tujia Autonomous Country (五峰土家族) มณฑลหูเบ่ย ปี 1960 เขาได้สำเร็จการศึกษาวิชาใบชาเฉพาะจากสถาบันการเกษตรหูหนาน เขาไม่ต้องการที่จะอยู่ต่อในสถาบัน แต่ต้องการไปทำงานในเขตพื้นที่ชายแดนที่ยากลำบากมากที่สุด หลังจากนั้น เขาถูกกำหนดให้ไปที่หน่วยงานการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ทางใบชาของหยินหนาน และในปีที่ 2 ของการทำงานของเขา เขาได้ไปที่บาต๋าต้าไฮซาน(巴达大黑山)ในเหมิงไห่หยินหนานเพื่อทำการสำรวจ ได้ค้นพบต้นชาไม้ใหญ่พันธุ์ป่า แล้วในปี 1963 ได้เผยแพร่รายงานการสำรวจลงใน《การสื่อสารใบชา》ของหูหนาน นี่ถือเป็นรายงานที่ประกาศออกมาเป็นครั้งแรกของเมืองจีนที่ในประเทศได้ค้นพบต้นชาไม้ใหญ่พันธุ์ป่าที่มีอายุปียาวนานที่สุด(ต่อมาถูกขนานนามว่า “ราชาต้นชาแบบพันธุ์ป่า”) แต่สิ่งที่ทำให้ผู้คนต้องผิดหวังก็คือ ช่วงเวลาที่เขาค้นพบต้นชาไม้ใหญ่พันธุ์ป่านี้ ตรงกับยุคที่เมืองจีนเกิดความอดอยากมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ได้ดึงดูดวงการวิทยาศาสตร์และวงการวิชาการชามาให้ความสนใจ ในเดือนตุลาคม 1992 เขาได้เป็นสมาชิกหนึ่งในคณะผู้เชี่ยวชาญ ได้เข้าร่วมการประชุมการสำรวจกระทำการพิสูจน์ต้นชาไม้ใหญ่ปังหวายหลานชางเขตพื้นที่ซือเหมา เดือนเมษายน 1993 ในงานประชุมสัมนาวิชาการนานาชาติชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 และงานประชุมสัมนาการอนุรักษ์ต้นชาโบราณของเมืองจีน เขาและเหลียงฟุ่งหมิง(梁凤铭 : ภรรยาของจางซุ่นเกา ผู้เชี่ยวชาญด้านชา) ได้ร่วมกันเขียนบทความ《ระบบการคาดการณ์ของนิเวศวิทยาโบราณและวิวัฒนาการการแพร่ขยายการกำเนิดต้นชา》เผยแพร่ออกมา

        บทความนี้สามารถบันทึกลงในเอกสารแบบฉบับของประวัติศาสตร์การพัฒนาใบชาของโลก คุณค่าทางวิชาการของมันไม่ธรรมดา เป็นเอกสารฉบับหนึ่งตราบจนถึงทุกวันนี้ที่วงการวิชาการชานานาชาติด้านการศึกษาการกำเนิดต้นชาจะต้องอ่าน เป็นเพราะก่อนหน้านี้ แม้ว่าวงการวิชาการชาโดยผ่านกระทำการพิสูจน์ต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่านปังหวาย รับรองแล้วว่าแหล่งต้นกำเนิดต้นชาของโลกอยู่ที่เมืองจีน แต่ยังดำรงอีกปัญหาหนึ่งที่ไม่มีคำเฉลย นั่นก็คือ : ทำไมถึงอยู่ที่เมืองจีน? อยู่ที่หยินหนานของเมืองจีน? วงการทางวิชาการไม่แม้เพียงอยากรู้แหล่งต้นกำเนิดของต้นชา “อยู่ที่ไหน” ยิ่งอยากจะรู้ว่า “เพราะเหตูใด” ?

        เอกสารฉบับนี้ใช้หลักการทางภูมิประเทศโบราณ ภูมิอากาศโบราณ นิเวศวิทยาโบราณ มาอธิบายอย่างเป็นระบบต่อการกำเนิด การแพร่ขยายพันธุ์ กระบวนการวิวัฒนาการของต้นชา และได้นำเสนอทฤษฎี “ระบบการคาดการณ์”(猜测系统) มันไม่แม้เพียงอธิบายภูมิประเทศก่อนหน้าของการกำเนิดต้นชาได้อย่างละเอียดหมดจด พร้อมทั้งนำเสนอเงื่อนไขพื้นฐาน 3 ข้อของการกำเนิดต้นชา

        ถ้าจะกล่าวกันว่าการประชุมกระทำการพิสูจน์ต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่านคือการผ่านวิธีการของหลักฐานทางวัตถุแล้วรับรองแหล่งต้นกำเนิดของต้นชาอยู่ที่เมืองจีนแล้วไซร้ ถ้งยังงั้นเอกสารฉบับของคุณจางซุ่นเกาคือการนำการกำเนิดต้นชาไปวางไว้ในพื้นที่ของภูมิประเทศและพฤกษศาตร์ที่ใหญ่กว่า เพื่อกระทำการพิสูจน์หลายระดับ สิ่งที่เหนือกว่าก็คือการตอบข้อสงสัยที่ว่าทำไมการกำเนิดต้นชาอยู่ที่เมืองจีน สิ่งที่ต้องการเตือนความจำก็คือ “ระบบการคาดการณ์” ชุดที่คุณจางซุ่นเกานำเสนอนั้น ต่อมาภายหลังในระหว่างการสำรวจประชาคมต้นชาโบราณธรรมชาติแบบดั้งเดิมในพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลของฮายหลาวซาน(哀牢山)และต้นชาพันธุ์ป่าในหวูเหลี่ยงซาน(无量山)ของหยินหนาน ได้รับการยืนยันจากหลักฐานที่พิสูจน์เป็นความจริง รับรองทฤษฎี “ระบบการคาดการณ์” ยึดถือได้ เมื่อเป็นประการฉะนี้ ตอนที่พวกเราแนะนำ《ระบบการคาดการณ์ของนิเวศวิทยาโบราณและวิวัฒนาการการแพร่ขยายการกำเนิดต้นชา》ไม่ได้ใช้ “Paper”(论文 : บทความ)  สองคำนี้ แต่จะใช้ “Document”(文献 : เอกสาร) เป็นชื่อเรียกครั้งแล้วครั้งเล่า ก็เป็นเพราะมันซึ่งไม่เหมือนกับบทความทั่วไป แต่เป็นเอกสารที่เพียบพร้อมด้วยคุณค่าทางวิทยาสาสตร์อย่างสูง

        ไม่เพียงแค่นี้ ยังมีอีกหนึ่งผลงานของคุณจางซุ่นเกาต่อต้นชาโบราณหยินหนาน นั่นก็คือในเดือนพฤศจิกายน 1996 เขาได้นำเสนอวิธีการคิดคำนวณอายุปีของต้นชาโบราณโดยหลักทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้นอย่างเป็นทางการ คือ “Net Photosynthesis Method”(净光合值法) ซึ่งได้ใช้วิธีการนี้ไปอนุมานอายุปีของต้นชาโบราณเชียนเจียจ้าย(千家寨古茶树)ได้อย่างแม่นยำ แล้วก็สั่นสะเทือนโลกอีกครั้ง ต้นชาโบราณเชียนเจียจ้ายอันเนื่องจากอายุปียาวนานที่สุด(2700ปี)และลำต้นแข็งแรงกำยำจึงได้ขึ้นอยู่บนแสตมป์ของเมืองจีน กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ ดึงดูดความสนใจและการเทิดทูนจากคนชาทั่วโลก

เติ้งสือไห่ (邓时海)



        บุคคลสำคัญที่สามที่ดึงดูดความสนใจของพวกเราคือ เติ้งสือไห่ เขาเป็นอาจารย์วิชาพละศึกษาของมหาวิทยาลัย National Taiwan Normal University ก่อนที่เขาจะเข้ามาสู่วงการชาผูเอ๋อร์ ผู้คนรู้จักตัวเขาน้อยมาก เพียงรู้ว่าเขาคือผู้สืบทอดรุ่นที่ 6 ของไทเก๊กตระกูลหยางและหนังสือ《การศึกษารากเหง้าหมัดไทเก๊ก》ที่เขาเผยแพร่ในปี 1990

        เดือนเมษายน 1993 ในงานประชุมสัมนาวิชาการนานาชาติชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 มีภาพเงาที่ผอมบอบบางร่างหนึ่งปรากฏขึ้นมา เขาก็คือเติ้งสือไห่ บทความที่เขาได้นำเสนอประจวบเหมาะเกี่ยวข้องกับชาผูเอ๋อร์ มีชื่อว่า “ยิ่งเก่ายิ่งหอม”(愈陈愈香) แต่บทความฉบับนี้ไม่ได้รับการตอบสนองมากนักในช่วงเวลานั้น แม้กระทั่งผู้คนจำนวนมากอันสืบเนื่องจากตัวเขาไม่มีภูมิหลังของผู้เชี่ยวชาญด้านชามาเกี่ยวข้อง เพียงมองเขาเป็นคนชาธรรมดาคนหนึ่ง ไม่ใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ในปี 1995 สถานการณ์เช่นนี้กลับตาลปัตร เนื่องจากในปีนั้น หนังสือเรื่องเกี่ยวกับชาผูเอ๋อร์โดยเฉพาะเล่มหนึ่งได้ออกเผยแพร่ในเกาะใต้หวัน ชื่อหนังสือคือ《ชาผูเอ๋อร์(普洱茶)》ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ก็คือ เติ้งสือไห่

        การเผยแพร่ของ《ชาผูเอ๋อร์(普洱茶)》ทำให้ทั่วเกาะใต้หวันเกิดการสั่นสะเทือน และก็นำมาซึ่งความมีชื่อเสียงส่วนบุคคลอย่างใหญ่หลวงให้แก่เติ้งสือไห่ หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงนำคนชาใต้หวันจำนวนมากเข้าสู่ตลาดชาผูเอ๋อร์ ขณะเดียวกันก็เขยื้อนเกาหลี มาเลเซีย ไทย เป็นต้น การค้าใบชาในประเทศอาเซียนได้ค่อยๆเปลี่ยนมาทางชาผูเอ๋อร์ เมื่อเป็นประการฉะนี้ ผู้คนจำนวนมากได้ตั้งฉายาแบบขบขันให้เติ้งสือไห่คือ “บุคคลหมายเลข 1 ของชาผูเอ๋อร์”(普洱茶第一人) ของเมืองจีน

        แต่ทว่า ก็มีข้อสงสัยต่อเติ้งสือไห่ โดยเฉพาะหลังจากหนังสือ《ชาผูเอ๋อร์(普洱茶)》ของเขาได้เข้ามาเผยแพร่ในเมืองจีน ในขณะที่เคียงข้างกับหนังสือเล่มนี้ต้องทำการพิมพ์ครั้งแล้วครั้งเล่า เสียงข้อสงสัยก็จะยิ่งมายิ่งแรง สิ่งที่ทำให้ผู้คนประหลาดใจก็คือ เสียงข้อสงสัยเหล่านี้ไม่ใช่มาจากเขตชาพื้นที่อื่น แต่คืออยู่ในหยินหนาน คือวงการชาผูเอ๋อร์หยินหนาน ตราบจนถึงทุกวันนี้พวกเราก็ยังไม่เข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของข้อสงสัยเหล่านี้ หรือเบื้องหลังของ “การประณามของความโกรธเคือง”(愤怒的声讨) พวกเราได้ทำการอ่านหนังสือเรื่องเฉพาะเล่มนี้หลายครั้งโดยละเอียด เพียงแต่พบเห็นข้อบกพร่องของข้อมูลทางประวัติศาสตร์บางส่วนหรือวิธีการใช้คำเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเป็นการแนะนำความรู้ทั่วไป《ชาผูเอ๋อร์(普洱茶)》ถือเป็นผลงานระดับเบื้องต้นที่โดดเด่นที่สุด แม้กระทั่งจวบจนทุกวันนี้ก็ยังเป็นเช่นนี้

        ถ้าจะกล่าวกันว่าเทศกาลชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 เป็นการเปิดม่านของการเฟื่องฟูครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ชาผูเอ๋อร์ และกลายเป็นเชื้อปะทุจุดความบ้าคลั่งชาผูเอ๋อร์อย่างต่อเนื่อง ถ้ายังงั้นหนังสือเรื่องเฉพาะเล่มนี้คือ “เครื่องกระตุ้น”(助推器) ของมันอย่างไม่ต้องสงสัย

        พูดจากความหมายเช่นนี้ เติ้งสือไห่ไม่แม้เพียงเป็นผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการด้านชาผูเอ๋อร์ในระดับปรมาจารย์ ยิ่งเป็น “นักแสดงธรรม”(布道者) ของชาผูเอ๋อร์ที่ไม่มีใครเหนือกว่าได้ตราบเท่าทุกวันนี้

        ในบทความนี้ที่พวกเรายกตัวอย่างเพียงบุคคลสำคัญ 3 ท่านนี้เป็นตัวแทน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเป็นตัวแทนทั้งหมดของการเพิ่งเริ่มต้นของชาผูเอ๋อร์ในศตวรรษที่แล้ว และไม่คิดที่จะทำให้ท่านผู้อ่านมีความเข้าใจผิดว่า “วีรบุรุษสร้างประวัติศาสตร์” อันที่จริง ข้างกายของพวกเขาแต่ละคนล้วนมีคนกลุ่มหนึ่ง ชาผูเอ๋อร์ก็เหมาะเจาะจากพลังของคนกลุ่มนี้ ก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นดาวรุ่งแห่งวงการชาอย่างทันท่วงที

        ชาผูเอ๋อร์เป็นไฟที่จุดติดแล้ว ไม่เพียงแค่เป็นไฟ แต่เป็นไฟที่โชติช่วงชัชวาล แน่นอน จะไม่ตัดอีกมุมมองหนึ่งทิ้งไป ก็คือผู้คนจำนวนมากที่มองด้วยสายตาอันเย็นชาที่เชื่อว่าเป็นไฟแห่งความโกลาหล

        ในช่วงกลางทศวรรษที่ 90 ศตวรรษที่แล้วเกาะใต้หวันปรากฏชาผูเอ๋อร์ร้อนแรงขึ้นมาก่อน ตามมาคือฮ่องกง ต่อจากนั้นคือกว่างตง มาถึงต้นศตวรรษนี้ โดยมีกว่างตงเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้า แพร่ขยายออกไปทั่วเมืองจีนอย่างรวดเร็ว ราวกับความเร็วในการบุกโจมตียึดเมือง แทบจะบัดกวาดสิ่งกีดขว้างในพริบตาเดียว ทำให้ผู้คนถึงกับมหัศจรรย์ใจอ้าปากค้าง ได้กลายเป็นสิ่งน่าพิศวงทางเศรษฐกิจที่เป็นอัตลักษณ์ พวกเราสามารถที่เรียกขานมันว่า “ปราฏกการณ์ชาผูเอ๋อร์” กุญแจสำคัญคือปรากฏการณ์นี้เกิดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน ความร้อนไม่ลดลง ซึ่งหาได้ยากมากในธุรกิจอื่นๆ

        ผู้คนจำนวนมากภายใต้ความประหลาดใจและไม่แน่ใจ จึงหันเหจุดสนใจกลับมาที่ตัวชาผูเอ๋อร์ ได้ทำการถามซ้ำคำถามหนึ่ง : ชาผูเอ๋อร์คืออะไรกันแน่ ?

        อันที่จริง ตอนที่พวกเราเข้ามาสู่ท่ามกลางธุรกิจชาผูเอ๋อร์ คำถามแรกก็คือคำถามนี้---ชาผูเอ๋อร์คืออะไรกันแน่ ?

........จบบริบูรณ์........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า》ตอนที่ 4---เขียนโดย เฉินเจี๋ย