วันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567

จอกชามีอิทธิพลต่อน้ำชาอย่างไร?

 


        จอกชาเป็นภาชนะรองรับน้ำชา โดยใช้มันนำน้ำชาเข้าสู่ปากคน มีคนกล่าวว่า : “รูปลักษณ์ของจอกชาที่แตกต่างกันมีผลกระทบต่อรสชาติและความรู้สึกทางปากของน้ำชา” การพูดแบบนี้มีความน่าเชื่อถือหรือไม่?


        ปากจอกยิ่งกว้างกลิ่นหอมยิ่งสูญหายเร็ว?


        จอกชาที่ไม่เหมือนกันจะมีผลต่อการชิมดื่มน้ำชา ในนี้มีการกล่าวกันอย่างกว้างขวาง ก็คือปากของจอกชายิ่งกว้างยิ่งใหญ่ กลิ่นหอมน้ำชาในจอกชาจะสูญหายยิ่งเร็ว

        สาเหตุที่แท้จริง ก็เนื่องจากอุณหภูมิของน้ำชาในจอกปากกว้างจะระบายได้เร็วกว่างจอกใบเล็ก จึงนำพาให้ผู้คนรู้สึกว่ากลิ่นหอมน้ำชาที่ดื่มด้วยจอกปากกว้างจะสูญหายเร็วหรือมีกลิ่นหอมอ่อน เป็นเพราะอุณหภูมิของน้ำชาที่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างชาอุ่นกับชาร้อน ทำให้ผู้คนเกิด“ความเข้าใจผิด”ได้ง่ายว่ากลิ่นหอมของชาอุ่นจะมีน้อย

        แต่กล่าวบนหลักการแล้ว กลิ่นหอมยังไม่ได้หายไปไหน น้ำชาเมื่อดื่มเข้าปากแล้ว ในน้ำชาก็ยังมีกลิ่นหอมอยู่ ต้องเข้าใจว่า กลิ่นหอมของน้ำชาได้ถูกกำหนดขึ้นมาแล้วในขั้นตอนการคั่วเขียวและการปิ้งไฟ กลิ่นหอมของชาในการชงแต่ละน้ำ ไม่ว่าจะใช้จอกลักษณะใดในการดื่ม ในน้ำชาล้วนแฝงด้วยกลิ่นหอม


        ดื่มชาด้วยจอกชาผนังหนาจะหนานุ่มกว่าดื่มชาด้วยจอกชาผนังบาง?


        ชาชงน้ำเดียวกันรินลงจอกชาผนังหนากับจอกชาผนังบาง ถ้าหากคุณมีความรู้สึกว่าน้ำชาในจอกชาผนังหนาดื่มแล้วมีความหนานุ่มกว่า นี่ก็ในทำนองเดียวกันเป็น“ความเข้าใจผิด” คือ“ความเข้าใจผิด”ที่นำพาโดยกระบวนการน้ำชาเข้าปาก ริมฝีปากกระทบกับปากจอก

        การรับรู้ชาชงน้ำเดียวกันถึงมีความหนานุ่มหรือไม่ ยังต้องคอยให้น้ำชาทั้งหมดเข้าปาก แล้วให้ลิ้นเป็นตัวบอกให้คุณทราบ ทุกคนสามารถสัมผัสเปรียบเทียบอย่างละเอียดได้ในขณะที่ดื่มชา


        จอกชาที่รูปลักษณ์ไม่เหมือนกันมีผลต่อการรับรู้น้ำชาแตกต่างกันเล็กน้อย :


▲จอกชา 4 รูปลักษณะ ความสูง(จากซ้ายไปขวา) 5.7 ; 3.9 ; 3.3 ; 2.4 หน่วย ซม.
▲จอกชาที่มีความลึกแตกต่างกัน สีของน้ำชาที่สำแดงออกมาไม่เหมือนกัน ระดับความสูงยิ่งต่ำสีน้ำชายิ่งอ่อน

        • จอกปากกว้าง มีจุดเด่นที่เมื่อดื่มน้ำชาเข้าปากแล้วจะรู้สึกมีความนุ่มนวลมากที่สุด นี่เกิดขึ้นจากหลักการทางฟิสิกส์ เนื่องจากปากกว้าง ทรงต่ำ แรงตึงผิวของน้ำชาจะสูง มิใช่เป็นความนุ่มนวลในตัวของน้ำชา

▲จอกปากกว้าง/大口杯

        • จอกรูประฆัง เป็นจอกที่ใช้บ่อยและพบเห็นมากที่สุด ระดับความนุ่มนวลเมื่อน้ำชาเข้าปากจะต่ำกว่าจอกปากกว้าง ความรู้สึกโดยรวมจะค่อนข้างธรรมชาติและแท้จริง

▲จอกรูประฆัง/钟形杯


        • จอกรูปบาตรพระ ลักษณะที่ท้องป่องปากรัดเก็บเล็กน้อย ระดับความนุ่มนวลเมื่อน้ำชาเข้าปากจะต่ำกว่าจอกรูประฆัง แต่ได้สัมผัสรสที่แท้จริงและปกติมากกว่า ความรู้สึกทางปากโดยรวมจะดีที่สุด

▲จอกรูปบาตรพระ/圆融杯


        • จอกปากตรง ใกล้เคียงกับจอกเทสชา ระดับความนุ่มนวลจะต่ำที่สุดเมื่อน้ำชาเข้าปาก แต่มีความคมสันมากที่สุด เนื่องจากปากเล็ก จะต้องเงยหน้าเวลาดื่ม นอกจากนี้เนื่องจากมีก้นลึก อุณหภูมิน้ำชาจะค่อนข้างสูงโดยเปรียบเทียบ

▲จอกปากตรง/直口杯


        จากประสบการณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงได้ข้อเสนอแนะดังนี้ :


        - จอกปากกว้างเหมาะที่ใช้ดื่มชาแดงและชาสุกผูเอ่อร์ เพราะสามารถสะท้อนความรู้สึกทางปากทางความนุ่มนวลของน้ำชาได้ดีกว่า

        - จอกรูประฆังจะแสดงออกทางสายกลาง แต่จะได้ความรู้สึกที่ค่อนข้างแท้จริงและธรรมชาติ เหมาะกับชาทุกชนิด

        - จอกรูปบาตรพระเหมาะกับการดื่มชาวูหลงและชาดิบผูเอ่อร์เป็นพิเศษ เนื่องจากมีรูปลักษณ์ที่มีลายเส้นที่ครอบคลุม จึงสามารถรวบรวมรสชาติและกลิ่นหอมไว้เป็นอย่างดี

        - จอกปากตรงเหมาะกับการเทสชามากที่สุด สามารถนำเสนอคุณลักษณะพิเศษของใบชาออกมาได้อย่างเด่นชัด

▲เกิดกระแสนิยมเจี้ยนจ่านในไม่กี่ปีมานี้ พ่อค้าจำนวนไม่น้อยมักคุยว่าใช้เจี้ยนจ่านดื่มชาแล้ว สามารถทำให้น้ำชาละมุนละไมมากขึ้น กระทั่งยังสามารถปรับเปลี่ยนรสขมฝาดของน้ำชาได้ ถ้าหากคุณได้ยินเรื่องราวทำนองนี้อีก ก็ถือซะว่าเป็นเรื่องขบขันก็แล้วกัน



เอกสารอ้างอิง :

1. 茶杯对茶汤有何影响,真还是假https://www.dadaojiayuan.com/chaqi/7796.html