วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เรื่องราวของถัวส่งขายฝรั่งเศส (1)

เรื่องราวของถัวส่งขายฝรั่งเศส (1)
销法沱的故事 (一)



        แฟ้มข้อมูลของถัวส่งขายฝรั่งเศส :

ชื่อเดิม : ถัวฉาหยินหนาน
เลขหมายการค้า : 7663
ชาตะ : ปี 1976
สถานที่เกิด : โรงงานชาเซี่ยกวนมณฑลหยินหนาน
สถานที่พักอาศัย : ประเทศฝรั่งเศสและทวีปยุโรป
เวลาการส่งออก : เริ่มตั้งแต่ปี 1977
ปริมาณการผลิตรวม : กว่า 4620 ต้น
มูลค่าเงินตราต่างประเทศ : 7.2 ร้อยล้านเหรียญฮ่องกง
คุณค่าทางชีวิต : บุกเบิกการรับรู้สรรพคุณทางบำรุงสุขภาพของชาผูเอ๋อร์ตามวิทยาศาสตร์ยุคสมัยใหม่

        เกี่ยวกับเรื่องราวของถัวส่งขายฝรั่งเศส นิตยสารนี้เคยพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว 2 บทความ บทความหนึ่งเขียนโดยโจวเจียจวี(邹家驹) คือ《ไอ้คนฝรั่งเศสที่มีนามว่า Kempler (那个叫甘普尔的法国人)》(ฉบับปฐมฤกษ์ปี 2006) ; อีกบทความหนึ่งเขียนโดยหลอหน่ายซิน(罗乃炘) คือ《รำลึกถึงคนฝรั่งเศสที่ชื่อว่า Kempler (怀念那个叫甘普尔的法国人)》(ฉบับเดือน ม.ค.ปี 2012) เขียนหลังจากคุณ Kempler ได้เสียชีวิตจากไปแล้ว(คุณ Kempler เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 ส.ค.2011 สิริอายุ 93 ปี) เมื่อกล่าวถึงถัวฉาหยินหนาน[ผูเอ๋อร์แบบชาสุก ชาวบ้านเรียกขาน “ถัวส่งขายฝรั่งเศส”(销法沱)]ที่มีประวิตศาสตร์อันรุ่งโรจน์มาหลายสิบปี ต้องถือเป็นความดีความชอบของคุณ Kempler 2 บทความดังกล่าวข้างต้น หลักใหญ่ใจความก็คือการนำเสนอเรื่องราวของคุณ Kempler ซึ่งมีคุณค่าที่ทุกคนจะได้หวนคิดถึง แต่ทว่า ณ วันนี้ เรื่องราวของถัวส่งขายฝรั่งเศสที่พวกเราจะกล่าวถึง หลักใหญ่ใจความคือชา

        ถัวส่งขายฝรั่งเศสกำเนิดขึ้นในยุคปี 70 ศตวรรตที่แล้วในโรงงานชาเซี่ยกวน ซึ่งเป็นยุคสมัยเศรษฐกิจการวางแผนของเมืองจีน ใบชาถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้าประเภทหนึ่ง จึงต้องดำเนินการตามนโยบายผูกขาดทั้งการจัดซื้อและการจำหน่ายโดยรัฐ รัฐเป็นผู้สั่งการแผนการผลิตของใบชา กำหนดระดับเกรด มาตรฐานของใบชา แม้แต่ช่องทางการจำหน่ายก็ควบคุมดูแลโดยรัฐ หยินหนานในช่วงเวลานั้น หน่วยงานรัฐที่ดำเนินการรับผิดชอบหน้าที่นี้ก็คือ---China National Native Produce & Animal By-Products Yunnan Tea Branch (中国土产畜产进出口公司云南茶叶分公司)---ซึ่งเป็นชื่อเรียกในยุคปี 70 หลังยุคปี 80 ยุคปี 90 ต่างมีการเปลี่ยนชื่อใหม่ ดังนั้นในข้อความต่อจากนี้ไปจะใช้ชื่อย่อว่า “บริษัทมณฑล”(省公司) หลายสิบปีที่ผ่านมา การจัดการด้านแผนการผลิต การขายส่งออกของถัวส่งขายฝรั่งเศสทั้งหมดควบคุมดูแลโดยฝ่ายการส่งออกของบริษัทมณฑล เดือน มิ.ย. ปีนี้(2015) ผู้เขียนมีโอกาสอันดีที่ได้รู้จักผู้จัดการชางจินเฉียง(昌金强)ที่เข้าทำงานในฝ่ายการส่งออกของบริษัทมณฑลในยุคปี 70 ศตวรรตที่แล้ว โดยรับผิดชอบธุรกิจถัวส่งขายฝรั่งเศสมาตลอด ผู้จัดการชางจินเฉียงปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผจก.ฝ่ายการส่งออกของบริษัทการค้าต่างประเทศของโรงงานชาเซี่ยกวนหยินหนาน เขามีความผูกพันธ์กับถัวส่งขายฝรั่งเศสอย่างมาก เมื่อเล่าเป็นเรื่องราว จึงเป็นการนำเสนอที่เป็นลำดับและต่อเนื่องอย่างแม่นยำ ผู้เขียนหลังฟังบรรทึกเสียงก็ค้นพบว่าไม่จำเป็นต้องบรรณาการมาก และนี้ก็คือเรื่องราวจากการบอกเล่าที่มีชีวิตชีวาเรื่องหนึ่ง


        (ชางจินเฉียงผู้บอกเล่าเรื่องราวถ่ายรูปร่วมกับคุณ Kempler ที่บ้านในฝรั่งเศส ปี 1998)

        ผมได้เข้าไปทำงานใน “บริษัทมณฑล” ปี 1977 รับผิดชอบงานขายส่งออกชาแดง ชาผูเอ๋อร์ ถัวฉา ชาเขียว เมล็ดกาแฟ ของทั้งมณฑล ตั้งแต่เริ่มต้น บริษัทมีเพียงแผนกการส่งออกหน่วยงานเดียว ภายหลังเนื่องจากปริมาณงานทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้นจึงแยกออกเป็น 2 แผนกการส่งออก แผนกการส่งออก 1 รับผิดชอบส่งออกชาแดง แผนกการส่งออก 2 รับผิดชอบการขายส่งออกชาผูเอ๋อร์ ถัวฉา ชาเขียว เมล็ดกาแฟ ผมถูกส่งไปที่แผนกการส่งออก 2 เป็นผู้รับผิดชอบงาน

        เมื่อพูดถึงเรื่องราวของถัวส่งขายฝรั่งเศสแล้ว จำเป็นที่ต้องกล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่ง ผู้อาวุโสอายุ 60 ปี คนยิวสัญชาติฝรั่งเศส ผู้มีนามว่า Fred Kempler(费瑞德 甘普尔) ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาเคยเป็นนายทหารใต้บังคับบัญชาของนายพล Charles De Gaulle ปี 1976 เขามาฮ่องกงพบคุณหลอเหลียง(罗良)ซึ่งเป็น ผจก.ทั่วไปของบริษัทการค้าเทียนเซินฮ่องกงเพื่อคุยเจรจาเกี่ยวกับธุรกิจน้ำมันการบิน Kempler กับหลอเหลียงเป็นคู่ค้าและเพื่อนที่สนิทสนมกันมาหลายปี หลังจบการพูดคุยทางธุรกิจ เพื่อนเก่าแก่สองท่านนี้ก็ออกไปเดินเล่นตามท้องถนน เมื่อเดินผ่านร้านใบชาเก่าแก่ห้างหนึ่ง ได้เดินเข้าไปในร้านเพื่อดู คุณ Kempler ได้พบเห็นถัวฉา(ชาสุก)ที่มีรูปลักษณะแบบถ้วย ถัวฉาช่วงเวลานั้นทั่วไปเพียงส่งออกไปที่พื้นที่ฮ่องกงเท่านั้น ในรอยฝังใจของคนต่างชาติ ใบชาควรที่จะเป็นเศษผง หรือเป็นถุงชงหรือเป็นลักษณะเส้น เหตุใดจึงสามารถทำออกมาเหมือนกับรังนกเล่า? เขารู้สึกอัศจรรย์ใจมาก จึงซื้อกลับไป 2 ก้อน และได้ถามเจ้าของร้านว่า ชานี้ท่านได้แต่ใดมา ทางร้านได้แนะนำว่าชานี้ได้จากโรงงานชาเซี่ยกวนหยินหนานประเทศจีน  คุณ Kempler หลังกลับไปถึงฝรั่งเศส มีความรู้สึกว่าถัวชาหยินหนานนี้ช่างมีความหมายเสียนี่กระไร จึงคิดที่จะไปหยินหนานสักครั้ง แต่ในยุคสมัยนั้น ประเทศจีนยังไม่ได้ปฏิรูปเปิดประเทศ คนต่างชาติจะเดินทางเข้ามาประเทศจีนไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องผ่านช่องทางการทูต ผ่านกระบวนการตรวจสอบและอนุมัติหลายขั้นตอน หลังพิธีการเสร็จเรียบร้อย สำนักงานมณฑลหยินหนานจึงได้กำหนดให้บริษัทพวกเราต้อนรับแขกทางการค้าชาวฝรั่งเศส ทางบริษัทได้จัดคนและรถโดยเฉพาะสำหรับพาคุณ Kempler ไปเยี่ยมชมโรงงานชาเซี่ยกวนหยินหนาน พร้อมกับหลังจากได้ไปเยี่ยมเยี่ยนสวนชาที่เขาต้าหลี่ชางซานแล้ว ผู้อาวุโสเชื้อสายยิววัย 60 ปีท่านนี้รู้สึกประทับใจมาก หลังกลับไปฝรั่งเศสก็ได้เปิดใบสั่งซื้อถัวฉาหยินหนาน 2 ตันทันที

        ตั้งแต่บัดนั้นถัวฉาหยินหนานที่ผลิตจากโรงงานชาเซี่ยกวนได้เข้าไปในตลาดประเทศฝรั่งเศสแล้ว “ถัวส่งขายฝรั่งเศส” ที่คนชาเรียกขานกันก็เป็นชื่อเรียกตั้งแต่นั้นมา กล่องบรรจุทรงกลมพิมพ์ลวดลายสีเหลืองเขียว ตัวหนังสือภาษาฝรั่งเศส “THÉ”(ชา) และตัวอักษร “Tuocha” บนกล่องล้วนเป็นเอกลักษณ์เชิงสัญลักษณ์ของถัวส่งขายฝรั่งเศส 30 กว่าปีที่ผ่านมาสัญลักษณ์ที่ปรากฏแก่สายตาอย่างเด่นชัดนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเลย ตราบจนถึงทุกวันนี้โรงงานชาเซี่ยกวนยังทำการผลิตถัวฉาหยินหนานด้วยกล่องบรรจุภัณฑ์ลักษณะแบบนี้ กระบวนการผลิตและสูตรผสมที่ยังไม่เคยมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตลอดมา

 ........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《เรื่องราวของถัวส่งขายฝรั่งเศส》ตอนที่ 1---จากการบอกเล่าโดย ชางจินเฉียง ตีพิมพ์ในนิตยสาร《ผูเอ๋อร์》