วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

ประเมินค่าชาไร่ (2)

ประเมินค่าชาไร่อย่างไร (2)
如何评价台地茶 (二)




        เบื้องหลังและสถานภาพที่พิเศษของการปรากฏตัว “ชาไร่”

        ก่อนการปรากฏตัวของชาไร่ หยินหนานมีต้นชาโบราณและสวนชาโบราณแล้ว ประวัติศาสตร์ทางการเพาะปลูกและการผลิตชามีความเป็นมาอย่างต่อเนื่องกว่าพันปี การปรากฏตัวของชาไร่ คือ เรื่องราวเมื่อทศวรรตที่ 70-80 ศตวรรตที่แล้ว ช่วงเวลานั้นถือเป็นสิ่งเกิดใหม่ การปรากฏตัวของมัน ตามมูลเหตุก็มีส่วนเกี่ยงเนื่องกับต้นชาโบราณและสวนชาโบราณ

        ยุคทศวรรตที่ 70-80 ศตวรรตที่แล้ว ผู้คนได้ประเมินค่าของต้นชาโบราณและสวนชาโบราณซึ่งแตกต่างกับปัจจุบันราวฟ้ากับดิน ตัดสินโดยสังเขป ดังนี้ :

        1. เหตุเนื่องจากความสูงต้นของต้นชาโบราณ ประกอบกับการยืนต้นอย่างกระจัดกระจายของต้นชา ดำรงไว้ซึ่งมูลเหตุของความไม่สะดวกในการเด็ดเก็บ
        2. ผลผลิตใบชาสดต่อหน่วยพื้นที่เทียบไม่ได้กับเขตพื้นที่ผลิตชาในเจียงเจ้อ(เจียงซู และ เจ้อเจียง)
        3. ช่วงเวลานั้นโรงงานชาในเขตพื้นที่ผลิตชาหยินหนานมีจำนวนน้อยมาก โดยพื้นฐานจะผลิตชาเขียว ชาแดงเป็นหลัก ชาเขียว(เตียนลวี่:滇绿)ที่ผลิตจากใบชาสดของต้นชาโบราณจะมีรสขมฝาดหนักมาก ซึ่งคงความด้อยกว่าชาเขียวจากเจียงเจ้อ ถ้าเช่นนั้นชาผูเอ๋อร์ล่ะเป็นไง? เนื่องจากผลผลิตน้อย เหมาะที่ค้าขายทางเขตแดน(ก็เรียกเป็นชาเขตแดน(边销茶)) และปริมาณเล็กน้อยสำหรับการส่งออก ธุรกิจการผลิตที่เกี่ยวโยงกันมีน้อย และธุรกิจเหล่านี้ก็ผลิตแต่ชาเขียวและชาแดงเป็นหลัก ผลผลิตของชาผูเอ๋อร์ก็เพียงประมาณ 20% ของธุรกิจเหล่านี้ โรงงานผลิตชาส่วนใหญ่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าชาผูเอ๋อร์คืออะไรจนถึงทศวรรตที่ 90 ศตวรรตที่แล้ว

        เพียงคำเดียว ตั้งแต่ทศวรรตที่ 70-80 ศตวรรตที่แล้วเป็นต้นมา วงการชาหยินหนานปรากฏเป็นกระแสที่ไปศึกษาและลอกเลียนแบบเขตพื้นที่ผลิตชาในเจียงซู เจ้อเจียง การทดลองต้นชาโบราณให้ทรงเตี้ยลง การเพาะพันธุ์โดยการติดตาต่อกิ่งต้นอ่อน การเพาะปลูกโดยมนุษย์ เป็นต้น จากการทดลองต่างๆเหล่านี้ ทำให้ชาไร่ราวกับโผล่ออกมาจากฟากฟ้า(横空出世) แล้วเปลี่ยนเป็นแนวความคิด “ชาไร่ยุคสมัยใหม่(现代茶园)”

        มีอยู่หนึ่งเหตุการณ์ที่ดังมากเกิดขึ้นในปี 1986 มณฑลหยินหนานอาศัยเงินกู้จากธนาคารโลก ได้ทำการเพาะปลูกชาไร่ 1 ล้านหมู่(1หมู่() = 666.67 ตร.เมตร) นับจากนั้นเป็นต้นมา พื้นที่ใหม่ที่ทำการเพาะปลูกชาไร่ในหยินหนานได้เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง จนถึงจุดสูงสุดเมื่อต้นศตวรรตนี้ นี้เป็นกระแสหลักของวงการชาหยินหนานในการสร้างสวนชาไร่ภายในระยะเวลาอันสั้น 20 ปี

        กล่าวทางด้านการผลิตชาผูเอ๋อร์แล้ว ก่อนปี 1989 วัตถุดิบหลักของมันคือจากต้นชาโบราณเป็นหลัก แต่หลังจากปี 1990 ชาไร่เข้าสู่ระยะของผลผลิตเต็มที่ เสริมด้วยการผลักดันจากภาครัฐบาลและประชาชนให้แพร่หลาย ทั่วบริเวณในเขตพื้นที่ผลิตชาของหยินหนานไม่ว่าจะเป็นชาเขียว ชาแดง รวมทั้งชาผูเอ๋อร์ ล้วนริเริ่มการใช้ชาไร่เป็นวัตถุดิบหลัก แม้กระนั้นในตอนนั้นกลายเป็นสิ่งที่รับรู้ร่วมกันว่า คุณภาพของชาไร่ดีกว่าชาต้นโบราณ  ในช่วงระยะเวลานั้นโรงงานชาจำนวนมากรับแต่ชาไร่ ปฏิเสธชาต้นโบราณ ต้นชาโบราณช่วงเวลานั้นเหมือนเมียที่ถูกทอดทิ้ง ไม่มีใครเหลียวแล สถานการณ์หลังจากนั้นคือ เป็นไปตามการเฟืองฟูของชาผูเอ๋อร์ในใต้หวัน ประกอบกับการเพิ่มปริมาณเก็บเข้าคลังในฮ่องกง(พื้นที่หลักในการบริโภคชาผูเอ๋อร์ยุคผ่านมา) โรงงานชาจำนวนมากในหยินหนานเนื่องจากความต้องการชาผูเอ๋อร์ในตลาดค่อยๆขยายตัวมากขึ้นจึงค่อยๆลดหดตัวปริมาณการผลิตของชาเขียวและชาแดงลง เพิ่มกำลังการผลิตของชาผูเอ๋อร์ ธุรกิจที่ไม่เคยผลิตชาผูเอ๋อร์มาก่อนแต่เป็นเพราะว่าความต้องการที่ร้อนแรงของตลาดจึงต้องเริ่มย่างเท้าเข้ามาทำการผลิตชาผูเอ๋อร์ โรงงานที่ก่อตั้งใหม่บางโรงงานปรากฏเป็นธุรกิจเฉพาะที่ผลิตแต่ชาผูเอ๋อร์ ต่อจากนั้นมาชาผูเอ๋อร์ก็เริ่มกลายเป็นรูปแบบทางอุตสาหกรรม ในท่ามกลางเบื้องหลังที่ยิ่งใหญ่นี้ ความต้องการปริมาณวัตถุดิบของชาผูเอ๋อร์เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ที่ขับร้องเป็นตัวเอกยังเป็นชาไร่ ต้นชาโบราณก็ยังถูกให้โดดเดี่ยวอยู่

        การกลับมาอีกครั้งของต้นชาโบราณ คือหลังจากปี 2004 ที่ค่อยๆเกิดแนวความคิดเนื้อเดียว(纯料)ของขุนเขา มันร้องดังเข้ามาบนเวทีได้โดยอาศัยตราประทับทางประวัติศาสตร์ของเขาชาโบราณและสวนชาโบราณ สมทบด้วยการปั่นทางธุรกิจที่ทำให้ผู้คนตะลึงงัน ราคาปรับขึ้นตามลำดับ ทำให้ชาต้นโบราณได้รับการสรรเสริญในตลาด กลายเป็น “ขุนนางใหม่(新贵)” ในผลิตภัณฑ์หลากหลายของชาผูเอ๋อร์

        เมื่อเป็นประการฉะนี้ ชาไร่ก็ตกลงไปในจุดต่ำ แต่นี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ภายนอก การตกลงไปในจุดต่ำของชาไร่หลายปีมานี้จะแตกต่างจากการถูกทอดทิ้งในยุคปีที่ 90 ของชาต้นโบราณ เพียงแค่ดำรงความเป็นจุดอ่อนตามความคิดเห็นทางสาธารณะ แต่ไม่มีผลกระทบต่อตำแหน่งกระแสหลักของชาผูเอ๋อร์ อัตราส่วนการเป็นวัตถุดิบของตลาดยังสูงเกิน 90%

........ยังมีต่อ........


 แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ประเมินค่าชาไร่อย่างไร》 ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย
http://chuansong.me/n/1496962

ประเมินค่าชาไร่อย่างไร (1)
ประเมินค่าชาไร่อย่างไร (3)