วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การชื่นชมคุณค่าของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน (ตอนที่2)

ย้าวเบี้ยน---สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงค่าในบรรดาเจี้ยนจ่าน




        เป็นที่รู้กันไปทั่วโลกแล้วว่า ปัจจุบันเจี้ยนจ่านที่สุดยอดล้วนเก็บรักษาไว้ที่ญี่ปุ่น ซึ่งย้าวเบี้ยนที่หลงเหลืออยู่เพียงแค่3ใบเก็บไว้ตามพิพธภัณฑสถานของญี่ปุ่น ทุกใบล้วนถือเป็นโบราณวัตถุระดับสมบัติประจำชาติ

        โยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ใน Seikado Bunko Art Museum ของญี่ปุ่นโดยวงการศิลปเครื่องปั้นดินเผานานานชาติเชื่อว่าเป็น “กาแล็กซี่ในถ้วย” “ถ้วยหมายเลขหนึ่งของโลก” และยกย่องให้เป็นยอดเขาเอเวอเรสต์ของศิลปกรรมเครื่องเคลือบดินเผา ขณะเดียวกัน ก็เคยเป็นสมบัตสวัสดิมงคลของตระกูล Tokugawa ของญี่ปุ่นที่เป็นมรดกตกทอดต่อๆกันมา และเป็นสัญลักษณ์ของตระกูลที่แสดงถึงการกุมอำนาจทางทหารของประเทศในช่วงสมัยนั้น

▲ลายละเอียดของโยเฮนเทนโมกุ Seikado

        บนผืนแผ่นดินจีน ก็มีเพียง “เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน” ที่เป็นเศษครึ่งใบถูกค้นพบในปี2009ในเมืองหางโจว(เมืองหลินอาน(临安)ช่วงสมัยซ่งใต้)

▲ย้าวเบี้ยนพิการครึ่งใบยุคสมัยซ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนเล็กๆที่ขุดพบในเมืองหางโจวปี2009

        เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน ในญี่ปุ่นเรียกว่า “โยเฮนเทนโมกุ” ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เผาผลิตจากเตาเจี้ยนตำบลสุ่ยจี๋เมืองเจี้ยนหยางมณฑลฝูเจี้ยนของเมืองจีน เป็นเจี้ยนจ่านยุคสมัยซ่งที่ชุบเคลือบครั้งเดียว ในกระบวนการเผาผนึกที่อุณหภูมิสูงเชิงครั้งเดียว ก่อเกิดขึ้นมาอย่างธรรมชาติในบรรยากาศที่น้ำเคลือบและไฟเตาเกิดการเปลี่ยนแปลงมายาอย่างยิ่งยวด เป็นวัตถุแสนหายากบนโลกใบนี้ เป็นสิ่งล้ำค่าที่พิเศษสูงส่งในบรรดาเจี้ยนจ่านทั้งหลาย

▲ไฟในเตาเผาเจี้ยนอุณหภูมิสูงกว่า1300°C

        ริ้วลายเปลวสุริยะและพระอาทิตย์ทรงกลดภายใต้แสงสว่างจะเปลี่ยนแปลงอย่างมายาออกมาดั่งเนบิวลา(Nebula)ในกาแล็กซี่ที่งามลึกลับเพริศพริ้ง แต่การที่จะได้มาด้วยความยากขั้นสูงสุด ความเป็นไปได้ต่ำสุด ต้องหนึ่งในจำนวนแสนชิ้นของเจี้ยนจ่านจึงจะสามารถได้มาโดยบังเอิญ เป็นสิ่งแสนหายากยิ่งนัก

▲เศษชิ้นส่วนย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งที่ขุดพบในเมืองหางโจวปี2009

        สามารถที่จะกล่าวเช่นนี้ได้ว่า ถ้าหากปราศจาก “โยเฮนเทนโมกุ” แล้ว Fujita Art Museum, Osaka และ Seikado Bunko Art Museum, Tokyo ของญี่ปุ่นก็จะเป็นไปไม่ได้ที่ทุกวันนี้จัดอยู่ในตำแหน่งชั้นแนวหน้าในพิพิธภัณฑสถานแบบเดียวกันในโลกนี้

▲โยเฮนเทนโมกุสมบัติชาติยุคสมัยซ่ง-เก็บอยู่ที่ Fujita Art Museum ญี่ปุ่น

        ตามที่รองผู้อำนวยการสมาคมการประเมินวัตถุโบราณแห่งชาติ เกิ่ง ป่าวชาง(耿宝昌) นักวิจัยของพิพธภัณฑสถานกู้กงได้แนะนำไว้ว่า “โยเฮนเทนโมกุ” คือเครื่องเคลือบดินเผาชนิดหนึ่งที่ผิวเคลือบมีสีพิเศษเฉพาะเผาจากเตาเจี้ยนยุคสมัยซ่งของเมืองจีน ผ่านการเผาผนึกอย่างละเอียกประณีต ถือเป็นของล้ำค่าอย่างยิ่ง

▲โยเฮนเทนโมกุสมบัติชาติยุคสมัยซ่ง-เก็บอยู่ที่ Daitokuji Temple ญี่ปุ่น

        ยุคสมัยโบราณของญี่ปุ่น มีข้อเขียนบันทึกที่เกี่ยวข้องกับเจี้ยนจ่านที่สำคัญที่สุดคือ《君台観左右帳記》(ปี1511) หนังสือเล่มนี้เป็นการบันทึกของพวกเพื่อนๆของโชกุน Ashikaga ยุคสมัย Muromachi ที่ทำการประเมินวัตถุสมัยถังที่โชกุน Ashikaga ได้เก็บสะสมไว้ วัตถุสมัยถังที่ถูกประเมินในมูลค่าระดับสูงในหนังสือเล่มนี้ เป็นสิ่งของที่ดีที่สุดที่สามารถเก็บรวบรวมไว้ได้ในช่วงสมัยนั้น เนื่องจากยึดมาตรฐานทางความสวยงามเป็นเลิศและเป็นของหายาก ในหนังสือเล่มนี้ได้บันทึกว่า :

      「ย้าวเบี้ยน เป็นสุดยอดแห่งเจี้ยนจ่าน เป็นของที่หายากบนโลกนี้ มูลค่าผ้าไหมหนึ่งหมื่นพับ หยดน้ำมันคือสมบัติลำดับ2ที่รองจากย้าวเบี้ยน มูลค่าผ้าไหมห้าพันพับ จ่านขนกระต่าย มูลค่าผ้าไหมสามพันพับ

▲ 《君台観左右帳記》บันทึกประวัติศาสตร์ที่สำคัญของยุคสมัยโบราณญี่ปุ่น

        Koyama Fujio นักวิชาการเครื่องปั้นดินเผาโบราณเมืองจีนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น(ปี1900-1975) ในหนังสือ《เทียนมู่》ได้อธิบายย้าวเบี้ยนว่า : “สิ่งที่เผาจากเตาเจี้ยน ผิวจ่านที่ชุบเคลือบสีดำหนาเข้ม ผลึกขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน ลอยปรากฏขึ้นมา และรอบๆมีรัศมีสีรุ้งดั่งลักษณะพระอาทิตย์ทรงกลดจึงถือเป็นย้าวเบี้ยน........”ย้าวเบี้ยน”(曜变) ก็เขียนเป็น “ย้าวเบี้ยน”(耀变) เป็นเพราะว่ามันมีความหมายทางการแผ่รัศมีออกมา”

        ทำไมเจี้ยนจ่านก็เรียกเป็นเทียนมู่ ?

        ในญี่ปุ่น ล้วนนำเจี้ยนจ่านมาเรียกเป็น “เทียนมู่”(เทนโมกุ) ใยในญี่ปุ่นเจี้ยนจ่านถึงเรียกเป็นเทียนมู่เล่า? นี่คงต้องพูดเริ่มต้นจากการดวลชายุคสมัยซ่ง

▲ภาพเหตุการณ์การดวลชาของสุภาพชนและนักบวชในยุคสมัยซ่ง

        ยุคสมัยซ่งนิยม “การดวลชา” อย่างแพร่หลาย นี่ก็คือการละเล่นที่แข่งขันคุณภาพของชา และทั่วๆไปคนยุคสมัยซ่งจะใช้เจี้ยนจ่านเป็นอุปกรณ์ชา นับแต่นี้ไป “เจี้ยนจ่าน” ที่เผาผลิตจากเตาเจี้ยนจำนวนมากก็แพร่เข้าไปในวัดนิกายเซ็นที่กำลังรุ่งเรือง

▲วัดจาวหมิง(昭明禅寺)บนเขาเทียนมู่ในเจ้อเจียง

        ตามการบันทึกประวัติศาสตร์ ช่วงสมัยซ่งใต้ ซึ่งตรงกับยุคสมัย Kamakura(ค.ศ.1192-1333)ของญี่ปุ่น นักบวชญี่ปุ่นจำนวนมากได้เดินทางมาวัดนิกายเซ็นเพื่อบำเพ็ญตบะทางแถบเขาเทียนมู่(天目山)ในเจ้อเจียง รับการฝึกอบรมทางศีลธรรมของวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาฝ่ายเซ็นของเมืองจีน

▲วัดจาวหมิง(昭明禅寺)บนเขาเทียนมู่ในเจ้อเจียง

        เมื่อนักบวชญี่ปุ่นกลุ่มนี้เดินทางกลับประเทศ ได้นำเจี้ยนจ่านอุปกรณ์ชาของการดื่มชาการดวลชาจากเขาเทียนมู่กลับไปญี่ปุ่น ดังนั้น “เจี้ยนจ่าน” ก็มีชื่อเรียกที่ใช้กันจนถึงทุกวันนี่ในญี่ปุ่นว่า “ถ้วยชาเทียนมู่” ต่อจากนั้นเป็นต้นมา พวกเขาก็นำเจี้ยนจ่านกับเครื่องเคลือบสีดำรวมเรียกขานเป็น “เทียนมู่

▲เขาเทียนมู่(天目山)ในเจ้อเจียง

        ช่วงสมัยถัง คนญี่ปุ่นได้นำชาและวัฒนธรรมชาของเมืองจีนกลับไปญี่ปุ่น ปลายศตวรรษที่16 Sen no Rikyu ได้สืบทอดจิตวิญญาณของวิถีแห่งชายุคสมัยที่ผ่านมา ได้จัดตั้งวิถีแห่งชาอย่างแท้จริงของญี่ปุ่น เขาได้เสนอใช้ “นอบน้อมเยือกเย็น”(和敬清寂) ตัวหนังสือที่สั้นกระชับแต่มีความหมายโดยนัยอย่างลึกซึ้ง “เยือกเย็น”(清寂) คือการบ่งชี้ถึงความสงบ ความสง่างาม และสุนทรียศาสตร์แห่งความเรียบง่ายและความยากจนที่ประณีต “นอบน้อม”(和敬) เป็นการแสดงความเคารพนับถือต่อแขกผู้มาเยือน เป็นการนำจิตวิญญาณของวิถีแห่งชาญี่ปุ่นผลักดันเผยแพร่ออกไป

▲Sen no Rikyu ผู้ให้กำเนิดวิถีชาแห่งญี่ปุ่น

        ความสามารถในการสืบทอดและการปรับปรุงแก้ไขของคนญี่ปปุ่นสูงมาก พวกเขาเรียนรู้ฝึกฝนวัฒนธรรมการดื่มชาของเมืองจีน ทำการปรับปรุงแก้ไขออกมาเป็นจิตวิญญาณทางวิถีแห่งชาของญี่ปุ่น อุปกรณ์ชาที่พวกเขานำมาจากเมืองจีนก็ยังสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้

▲จ่านหยดน้ำมันเก็บอยู่ที่ Museum of Oriental Ceramics, Osaka ญี่ปุ่น

        หลังจาก “ถ้วยชาเทียนมู่” เผยแพร่เข้าไปในญี่ปุ่น รสนิยมของคนญี่ปุ่นต่อวัฒนธรรมการดื่มชาและอุปกรณ์ชาของเมืองจีนมีแต่จะเพิ่มขึ้น และในช่วงเวลานั้น Ashikaga Yoshimitsu โชกุนรุ่น3ที่แห่งตระกูล Ashikaga ยิ่งได้ทำการจัดซื้ออุปกรณ์ชาชั้นยอดที่โด่งดังจากเมืองจีนเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ยุคสมัย Edo ตราบจนถึงปัจจุบัน ในวงค์ตระกูลโด่งดังทั้งหลายของญี่ปุ่นล้วนมีการเก็บสะสมเทียนมู่ไว้ “ถ้วยชาเทียนมู่” ที่ยังคงเก็บรักษาอยู่จนถึงทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ล้วนเคยถูกครอบครอง เคยถูกใช้มาแล้วโดยวงค์ตระกูลดังในช่วงสมัยนั้น

▲จ่านขนกระต่ายเก็บอยู่ที่ Nezu Museum, Tokyo ญี่ปุ่น

        เครื่องเคลือบเทียนมู่เป็นอุปกรณ์ชาที่ล้ำค่าที่สุดในพิธีการชงชาแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น ในสายตาของคนญี่ปุ่น “เครื่องเคลือบเทียนมู่” ถือเป็นสิ่งสูงสุดในถ้วยชาทั้งหลาย มีสถานะซึ่งมีอำนาจชี้ขาด เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและฐานะ ในวันนี้ “เทียนมู่” ได้กลายเป็นชื่อเรียกทั่วไปทางสากลของเครื่องเคลือบดินเผาชนิดเคลือบสีดำไปแล้ว

▲จ่านหยดน้ำมันเก็บอยู่ที่ Kyushu National Museum, Fukuoka ญี่ปุ่น

        นี่เป็นการบ่งบอกว่า “เทียนมู่” ภายในสายตาของคนญี่ปุ่นมิใช่เป็นเพียงสมบัติแห่งชาติที่มีสีสันมหัศจรรย์ ยังเป็นการแสดงถึงการเคารพนับถือต่อเครื่องใช้อย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเวลาคุณเดินบนถนนสายเครื่องเคลือบและชาญี่ปุ่น ถ้าหากมีคนถือถ้วยแบบเผาฟื้นแล้วพูดว่านี่คือ “เทียนมู่เชิงเขาดำ” แล้วคุณไม่ต้องตกใจและไม่ต้องแปลกใจ พวกเขากระทั่งใช้รูปแบบเจี้ยนจ่านที่ใช้ทองตีออกมาก็เรียกว่า “เทียนมู่ทองคำ”

▲จ่านหยดน้ำมันเก็บอยู่ที่ Tokugawa Art Museum, Nagoya ญี่ปุ่น

        ตำนานของเจี้ยนจ่านแพร่เข้าไปญี่ปุ่น

        ช่วงสมัยซ่งใต้ การเผาผลิต “เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน” เป็นเรื่องที่โดยบังเอิญอย่างยิ่ง ลักษณะลายสีน้ำเงินม่วงและสีสันแพรวพราวแบบนี้จะถูกพวกช่างฝีมือปั้นดินเผาถือเป็น “ของปีศาจ”(妖器) เป็นการลงโทษมนุษย์จากสวรรค์ นี่ก็เกี่ยวข้องกับสุนทรียศาสตร์ทางเรียบง่ายล้ำลึก สง่าผึ่งผายที่ราชวงศ์ซ่งที่ได้ยึดถือมาตลอด

        ดังนั้น ทันทีที่พบเห็น “ของปีศาจ” ที่เผาผลิตออกมาได้แบบนี้ พวกเขาจะทำการทำลายมันหรือนำไปทิ้ง บนโลกนี้ที่ยังเหลือเจี้ยนจ่านอยู่3ใบ ก็เป็นโอกาสที่โดยบังเอิญอย่างยิ่งจึงแพร่เข้าไปญี่ปุ่น

▲เศษชิ้นส่วนย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งที่ขุดพบในเมืองหางโจวปี2009

        อีกเหตุผลหนึ่ง เป็นเพราะว่าอัตราการเผาผนึกของเจี้ยนจ่านที่มีคุณภาพดีเลิศในช่วงสมัยนั้นต่ำมาก ไม่ถึง1ในหมื่น ส่วน “ลายนกกระทา” และ “ย้าวเบี้ยน” อัตราการเผาผนึกยิ่งต่ำลงไปอีก ไม่ถึง1ในแสนและ1ในล้าน เมื่อเป็นดั่งนี้ จะเห็นได้ว่า “เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน” ในยุตสมัยซ่งก็เป็นของหายากอย่างยิ่ง การได้มาเจอะเจอก็โดยอาศัยโชคเท่านั้น ดังนั้น เมื่อถึงฤดูกาลผลิตเจี้ยนจ่านทุกๆครั้ง จักรพรรดิจะส่งขุนนางไปควบคุมดูแลจ่านที่เตาเจี้ยน

▲ภาพเหตุการณ์การผลิตเจี้ยนจ่าน(ภาพปัจจุบัน : ยุคการฟื้นฟูเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งในเมืองจีน)

        มีเรื่องเล่ากันว่า กลางศตวรรษที่13 มีอาจารย์เตาเจี้ยนคนหนึ่งได้เผาย้าวเบี้ยนออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ตกตะลึงอย่างยิ่ง ครุ่นคิดสักครู่ จึงไม่ได้รายงานขุนนางควบคุมดูแลจ่านให้รับทราบโดยทันที แต่กลับสั่งลูกศิษย์ของเขาให้นำไปทิ้งในลำคลองข้างนอก ลูกศิษย์น้อยลุกลี้ลุกลน ถามอาจารย์ว่า : จ่านอันงดงามเช่นนี้อาจเป็นสิ่งสุดยอดที่ร้อยปีจึงจะสามาถพบเห็นได้สักครั้ง ใยต้องนำไปทิ้งเล่า? แต่อาจารย์กลับจ้องเขม็ง ยืนกรานให้ลูกศิษย์นำไปทิ้ง

▲ภาพแสดงการผลิตเจี้ยนจ่าน(ภาพปัจจุบัน : ยุคการฟื้นฟูเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งในเมืองจีน)

        เมื่อไม่มีทางเลือก ลูกศิษย์จำต้องทำตามคำสั่ง สองมือประคองจ่านนี้ราวกับของมีค่ายิ่ง ทำไปโดยไม่เต็มใจ บ่นไปตลอดทางจนถึงริมคลอง ขณะที่จะโยนจ่านนี้ทิ้งลงคลอง ทันใดนั้นได้พบเห็นหลวงพี่ญี่ปุ่นที่มาปฏิบัติธรรมในเมืองจีน กำลังธุดงค์อยู่

▲พระธุดงค์ญี่ปุ่นที่มาศึกษาอยู่ในเมืองจีน

        หลวงพี่เห็นเจี้ยนจ่านในมือลูกศิษย์น้อย ตาลุกวาว จึงถามขึ้นว่า : “จ่านที่งดงามอย่างนี้ หนูทำไมต้องโยนทิ้งลงคลองด้วยเล่า?” ลูกศิษย์น้อยจึงรีบเล่าความเป็นมาของเรื่องให้หลวงพี่ทราบ หลวงพี่ญี่ปุ่นนึกในใจว่า : จ่านอันสวยงามแบบนี้ใยสามารถที่จะโยนทิ้งได้เล่า? จึงเจรจากับลูกศิษย์น้อยว่า : “ไหนๆก็จะโยนทิ้งแล้ว หนูนำมันมอบให้อาตมาจะดีกว่า! “ เดิมรู้สึกเสียดายจ่านใบนี้อยู่แล้วในใจของลูกศิษย์น้อยไม่อยากที่จะโยนทิ้งไป จึงมอบจ่านใบนี้ให้หลวงพี่ญี่ปุ่นไป

        หลังจากมอบเจี้ยนจ่านให้หลวงพี่แล้ว ลูกศิษย์น้อยที่คิดอย่างไงก็คิดไม่ออกจึงสอบถามหลวงพี่ว่า ทำไมอาจารย์ถึงให้นำจ่านใบนี้ไปทิ้ง? หลวงพี่ญี่ปุ่นที่ดีใจอย่างสุดขีดที่ได้รับรางวัลอย่างไม่คาดคิด จึงบอกเหตุผลที่แท้จริงแก่ลูกศิษย์น้อยว่า :「“อาจารย์ของหนูเป็นคนที่ฉลาดยิ่งนัก!” เนื่องจาก “จ่านย้าวเบี้ยน” มีอัตราการเผาผนึกที่ต่ำมาก กลัวว่าเมื่อจักรพรรดิได้เห็นแล้วจะมีพระราชโองการให้พวกคุณนำถวายราชบรรณาการต่อๆไปอีก แต่ถ้าหากพวกคุณไม่สามารถทำการเผาออกมาได้อีก จะมีความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต้องถูกลงโทษโดยประหารชีวิต ดังนั้น อาจารย์ยอมนำไปทำลาย ก็ไม่ยอมรายงานขึ้นไปที่พระราชวัง」

        อาจเป็นไปได้ นี่ก็คือเหตุผลที่ทำไมเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่ยังสมบูรณ์ไม่มีความเสียหายหลงเหลืออยู่เพียงแค่3ใบบนโลกนี้ล้วนอยู่ที่ญี่ปุ่น แต่เมืองจีนมีเพียงเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนพิการครึ่งใบซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนเล็กๆที่ขุดค้นพบในเมืองหางโจว


เอกสารอ้างอิง :
1. 曜变是建盏中无上神品  http://m.sohu.com/a/149108477_99892992/?pvid=000115_3w_a


[หมายเหตุ] : “เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน” หรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่า “โยเฮนเทนโมกุ” ยุคสมัยซ่งที่สมบูรณ์3ใบและพิการอีกครึ่งใบที่ยังหลงเหลืออยู่บนโลกปัจจุบันนี้ ตั้งแต่สิ้นยุคราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมาเกือบ800ปี ยังไม่มี “จ่านย้าวเบี้ยน” ปรากฏขึ้นมาอีกเลย ตราบจนถึงปี2017นี้ ผลงาน “ย้าวเบี้ยน” ที่ลู่จินสี่(陆金喜)สามารถฟื้นฟูออกมาที่ถือว่าใกล้เคียงยุคสมัยซ่งมากที่สุด ก็ปรากฏออกสู่สายตาสาธารณชน !

        “จ่านย้าวเบี้ยน” จะต้องมีลักษณะเช่นไรจึงจะสามารถถือเป็น “ย้าวเบี้ยน” อันแท้จริง(เสมือนกับย้าวเบี้ยน3ใบสมบัติชาติที่เก็บอยู่ที่ญี่ปุ่น) ? สนใจโปรดติดตามบทความ《ย้าวเบี้ยนคือความร่วมมือของธรรมชาติและนายช่างฝีมือ》ซึ่งจะนำเสนอตามลำดับต่อไป !!