วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566

อุณหภูมิน้ำชาต้องเท่าไร ความรู้สึกทางปากจะดีที่สุด?

 


        อุณหภูมิของน้ำชากับความรู้สึกทางปากจะมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างมาก อุณหภูมิน้ำชาที่แตกต่างกันกล่าวสำหรับนักชิมดื่มแล้วจะมีความรู้สึกในการชิมดื่มที่ค่อนข้างแตกต่างกัน

        ในการชิมดื่มชา ไม่เพียงแค่สามารถทำการชงชาออกมาได้ถึงสถานะที่ดีที่สุด ในขณะเดียวกันจะต้องสามารถรับรู้ได้ถึงความสุนทรียะแห่งชาในช่วงเวลาที่กลิ่นหอมและรสชาติของชาที่ดีที่สุด


        1. การสำแดงของกลิ่นหอมภายใต้อุณหภูมิที่แตกต่างกัน


        โดยทั่วๆไป เมื่ออุณหภูมิของน้ำชาสูง กลิ่นหอมจะค่อนข้างมีพลัง ดังนั้น ไม่ว่าในการชื่นชมกลิ่นของใบชาแห้ง หรือการชื่นชมกลิ่นของ“กากใบชา”หลังผ่านการแช่ชงแล้ว หรือกลิ่นที่ระเหยบนผิวน้ำชา ล้วนต้องดมในขณะที่ร้อนอยู่

        เนื่องจากสารประกอบที่รวมกันเป็นกลิ่นหอมมีเป็นจำนวนมากเกินไป มีความซับซ้อนเกินไป มีบางกลิ่นหอมจะระเหยอย่างกระฉับกระเฉงเมื่ออยู่ในสภาวะที่อุณหภูมิสูง มีบางกลิ่นหอมกลับสำแดงออกมาได้ดีที่สุดในสภาวะที่หลังอุณหภูมิได้ลดลงมา


        2. องค์ประกอบและการรวมกันของกลิ่น


        เมื่อองค์ประกอบของกลิ่นมีปริมาณมาก ความต่อเนื่องในการระเหยเป็นไปอย่างค่อนข้างนาน เมื่อการผสมรวมกันของกลิ่นเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ ดมขึ้นมาจะค่อนข้างมีมิติ

        กลิ่นหอมภายใต้ที่อุณหภูมิแตกต่างกัน ยังปรากฏชนิดของกลิ่นที่แตกต่างกัน นี่เป็นการนำเสนอข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญในการประเมินคุณภาพของชา มีคนกล่าวว่า “ชาที่เย็นตัวลงแล้วยังหอม คือชาดี


        3. กาลเทศะที่ดีที่สุดในการลิ้มกลิ่น


        เนื่องจากชาต่างชนิดกันต่างมีบุคลิกเฉพาะของตนเอง ซึ่งที่ถูกก็คือต่างมีส่วนประกอบของกลิ่นหอมที่เฉพาะของตนเอง

        มีชาบางชนิดจะมีกาลเทศะที่ดีที่สุดในการลิ้มกลิ่นในสภาวะที่อุณหภูมิร้อนปากเล็กน้อย เช่น ต้งติ่ง เถี่ยกวนยิง สุ่ยเซียน เป็นต้น มีชาบางชนิดกลับสำแดงออกมาดีที่สุดในสภาวะที่อุณหภูมิกำลังเหมาะปาก อาทิเช่น ไป๋หาววูหลง ไป๋หาวอิ๋นเจิน ไป๋หมู่ตาน เป็นต้น


        4. การลิ้มกลิ่นในช่องปาก


        กลิ่นชาในช่องปากยังต้องถูกเสพอีกพร้อมกับ“รสชา” ถ้าหากแยกกลิ่นหอมออกมาต่างหาก น้ำชาก็จะดื่มได้ไม่อร่อยทีเดียว อวัยวะสัมผัสที่รับรู้กลิ่นหอมในช่องปากจะค่อนไปทางเพดานปากบน ดังนั้นชาที่มีสารกลิ่นหอมในปริมารมาก หลังจากกลืนน้ำชาลงคอแล้ว ความรู้สึกบนเพดานปากบนยังติดค้างไว้นาน


        5. รสขมฝาดกับอุณหภูมิ


        ในส่วนของรสชาติ การรับรู้ความแรงอ่อนของรสขมฝาดจะตรงข้ามกับความสูงต่ำของอุณหภูมิของน้ำชา นั่นก็คือเมื่ออุณหภูมิสูงการรับรู้รสขมฝาดจะรู้สึกค่อนข้างไม่รุนแรง ดังนั้นชาที่มีรสขมฝาดแรงจะต้องดื่มตอนร้อน 

        มีบางรสขมที่แย่และแรง หากเป็นไปตามธรรมชาติโดยสายพันธุ์หรือคุณลักณะของชานั้นๆ อวัยวะสัมผัสที่รับรู้ได้จะค่อนไปทางเพดานปากบน แต่ถ้าหากเป็นไปโดยวัตถุดิบหรือกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ดี อวัยวะสัมผัสที่รับรู้ได้คือในช่องคอ กรณีแรกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแล้วมลายหายไป กรณีหลังจะติดทนนานไม่ค่อยยอมจากไปง่ายๆ


        6. รสหวานกานกับอุณหภูมิ


        หลังรสขมอ่อนตัวลง รสหวานจะปรากฏออกมา ซึ่งก็คือ“หุยกาน”หรือ“ความดื่มด่ำทางลำคอ”ตามที่กล่าวอ้างกัน

        รสหวานในสภาวะที่หลังอุณหภูมิลดลงมากลับรู้สึกเด่นชัดขึ้น ดังนั้น เมื่อรสขมฝาดแรงรสหวานจะรับรู้ได้ไม่ง่ายนัก ต้องชงอีกหลายๆน้ำ หลังทำให้รสขมฝาดอ่อนลง ถึงแม้อุณหภูมิของน้ำชาจะลดต่ำลง รสหวานกลับปรากฏออกมาได้ง่าย


        โดยหลักการมีความหมายเป็นเพียงการนำเสนอให้พิจารณาและอ้างอิง ความเข้าใจในรายละเอียดอีกมากมายก็โดยการหมั่นฝึกฝนด้วยตนเอง ไม่หยุดที่รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่มีพลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของกลิ่นหอมและรสชาติ

        เมื่อได้ทำความเข้าใจอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่มีต่อรสชาติแล้ว ในช่วงเวลาที่คุณทำการชงชาให้ผู้อื่นหรือเป็นการชิมดื่มชาโดยตัวคุณเอง ก็จะสามารถรับรู้ความดื่มด่ำทางรสชาติของชาตัวนั้นได้อย่างเต็มเปี่ยม 



เอกสารอ้างอิง :

1. 茶汤温度与茶口感之间的秘密http://www.csyshlcy.com/a/gongsixinwen/51.html

วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ชาผูเอ่อร์ “เกรดตราห้าง”



        ชาผูเอ่อร์“เกรดตราห้าง” บ่งชี้เฉพาะชาผูเอ่อร์ที่ผลิตในช่วงเวลาระหว่างปี1993-2008 ประวัติศาสตร์ 15 ปีถือว่าสั้นมาก แต่กล่าวสำหรับชาผูเอ่อร์แล้วกลับเป็นประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ช่วงหนึ่ง เมื่อการซื้อขายระบบเก่าค่อยๆล่มสลายไป ในภาวะที่กฎระเบียบระบบใหม่ยังไม่แน่นอน ชาผูเอ่อร์ได้เข้าสู่ยุคที่ดูเหมือนมีความสับสนอลหม่านแต่ก็ดั่งนานาบุปผาบานประชันกัน


        • ทำไมเป็นช่วงปี1993-2008 แล้วทำไมถึงตั้งชื่อว่า“เกรดตราห้าง”?


        ในระบบวัฒนธรรมชาจีน การดำรงอยู่ของชาผูเอ่อร์มีลักษณะที่พิเศษเฉพาะ รูปธรรมชาผูเอ่อร์ที่พวกเราสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน สามารถทำการแยกแยะโดยการอ้างอิงตามยุคสมัยที่แตกต่างกันออกได้เป็น 3 ยุคคือ ชาเกรดห้าง ชาเกรดพิมพ์ ชามัดเจ็ดแผ่น ส่วนที่เรียกกันว่าชายุคกลาง ชาใหม่เป็นแนวความคิดของเวลาซึ่งไม่หยุดนิ่ง จึงไม่สามารถจัดออกมาเป็นยุคสมัยได้


        - ชาเกรดห้าง โดยทั่วไปบ่งชี้ถึงชาผูเอ่อร์ที่ยังหลงเหลือจากห้างร้านชายุคก่อนปี 1949 ตราบจนถึงทุกวันนี้มีอายุการเก็บเกิน 70 ปี กระทั่งมีชาเก่าที่อายุเกินร้อยปี 

▲ชาเกรดห้าง/号级茶 (ห้าวจี๋ฉา)


        - ชาเกรดพิมพ์ บ่งชี้ถึงชาผูเอ่อร์ในช่วงปี1952-1972 “ตราจงฉา/中茶牌”ได้ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างเป็นทางการ กระดาษห่อวงนอกมีการพิมพ์คำ“中茶牌圆茶/แผ่นชากลมตราจงฉา”  ตรงกลางจะพิมพ์โลโก้ “八中茶(ปาจงฉา)” กลางโลโก้เป็นตัวอักษร“” ซึ่งในวงการจะเรียกชื่อเพื่อแยกแยะชนิดตามสีของตัวอักษร“” อาทิเช่น พิมพ์แดง(红印) พิมพ์เขียว(绿印) พิมพ์น้ำเงิน(蓝印) พิมพ์เหลือง(黄印) เป็นต้น

▲ชาเกรดพิมพ์/印级茶 (อยิ้นจี๋ฉา)


        - ชามัดเจ็ดแผ่น นับตั้งแต่ปี 1972 ที่บริษัทใบชามณฑลอวิ๋นหนาน(云南省茶叶公司)ได้ก่อตั้งขึ้นมา ซึ่งได้รับสิทธิ์ผูกขาดในการส่งออกใบชา ผลิตภัณฑ์ชาที่ส่งออกล้วนมีรหัสตัวเลข(唛号)ระบุไว้ บนกระดาษห่อล้วนพิมพ์คำ“雲南七子餠茶(อวิ๋นหนานชีจื่อปิ่งฉา)” จึงถูกเรียกขานเป็น“ยุคชามัดเจ็ดแผ่น” (ใน 1 มัดมี 7 แผ่น น้ำหนักแผ่นละ 357 กรัม หรือมัดละ 2.5 กก. 1 ลังมี 12 มัด น้ำหนักรวม 30 กก.) 

▲ชามัดเจ็ดแผ่น/七子饼茶 (ชีจื่อปิ่งฉา)


        “เกรดตราห้าง” ที่พวกเราได้นิยามกันในปัจจุบัน คือการบ่งชี้ถึงชาผูเอ่อร์ที่ผลิตในช่วงระหว่างปี 1993 ที่ตลาดได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่เนื่องจากนโยบายผูกขาดการจัดซื้อและการค้าขายได้ถูกยกเลิกไป จนถึงปี 2008 ที่มาตรฐานแห่งชาติจีนของชาผูเอ่อร์ได้ประกาศเริ่มใช้อย่างเป็นทางการ

        กล่าวสำหรับชาผูเอ่อร์แล้ว แม้จะเป็นช่วงระยะ 15 ปีของการคลำหินข้ามธาร(摸着石头过河) แต่ก็เป็นยุค“ร้อยบุปฝาบานสพรั่ง ร้อยสำนักประชันกัน” ตามที่ตลาดชาผูเอ่อร์ได้เปิดการค้าเสรีทั้งหมด เข้าสู่ระบบทุนนิยม ธุรกิจภาคเอกชนทยอยกันปรากฏตัว ตราสินค้าใหม่ๆปรากฏออกมาอย่างไม่ขาดสาย 

▲เกรดตราห้าง/标号级 (เบียวห้าวจี๋)


        • จุดประกายให้ชาผูเอ่อร์ฟื้นฟูโดยถ้วนหน้า


        การเริ่มต้นของเกรดตราห้าง ถือเป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์การพัฒนาของชาผูเอ่อร์ ช่วงเวลาจากปี1993-2008 ลักษณะพิเศษเฉพาะแห่งยุคที่สดใหม่ได้ปรากฏขึ้น เมื่อมองจากยุคปัจจุบัน ก็เป็นเพราะลักษณะที่สำคัญเหล่านี้ นำมาซึ่งการฟื้นฟูโดยถ้วนหน้าของชาผูเอ่อร์


        - การฟื้นคืนชีพของยี่หวู่ : 

        ในปี 1993 เติ้งสือไห่(邓时海)ได้นำเอกสาร”ยิ่งเก่ายิ่งหอม”เสนอในงานประชุมสัมนาวิชาการนานาชาติชาผูเอ่อร์ครั้งที่1 ทำให้คนชาใต้หวันได้ริเริ่มไปทำการศึกษาและสำรวจชาผูเอ่อร์ในอวิ๋นหนาน ในปี 1994 คณะชาวใต้หวันสมาชิก“สมาคมศิลปะชาจีน”ได้บุกไปค้นหา“ยี่หวู่เจิ้นซาน”ที่พบเห็นได้บ่อยๆบนฉลากในของแผ่นชาเกรดห้าง 

▲เอกสาร ”ยิ่งเก่ายิ่งหอม/越陈越香” โดย เติ้งสือไห่(邓时海) ปี 1993

▲ฉลากในของชาเกรดห้าง “ถงชิ่งห้าว(同慶號)” ที่ให้ข้อมูลว่าใช้วัตถุดิบใบชาจาก “ยี่หวู่เจิ้นซาน(易武正山)”  

        แต่ทว่ายี่หวู่ในช่วงเวลานั้น มีลักษณะที่ไม่เหมือนเดิมมาตั้งนานแล้ว ไม่เฉพาะห้างชาแต่ก่อนไม่มีร่องรอยหลงเหลืออยู่ตั้งนานแล้ว กรรมวิธีการผลิตดั้งเดิมแทบไม่มีการสืบทอด โชคดีในภายหลังที่พวกเค้าได้เจอะเจอผู้ใหญ่บ้านเก่า-จางยี่(张毅) แล้วได้นำเอกสารบันทึกข้อมูลประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของยี่หวู่กลับไป ประกอบกับหนังสือ《ชาผูเอ่อร์/普洱茶》ของเติ้งสือไห่ได้เผยแพร่ออกมา ทำให้ยี่หวู่และชาผูเอ่อร์ได้รับการตอบรับจากวงการชาใต้หวัน แฟชั่นสมัยนิยมนี้ได้แพร่เข้าไปในฮ่องกง กว่างตง 

▲คนชาใต้หวันในยี่หวู่ ปี 1994

▲จางยี่(张毅) ถ่ายคู่กับ ลวี่ลี่เจิน(吕礼臻)-ชาวใต้หวันหัวหน้าคณะ“สมาคมศิลปะชาจีน” ทั้งสองเป็นผู้บุกเบิกทำการฟื้นฟูชายี่หวู่ โดยร่วมกันทำชาตรา “96 เจินฉุนหยาห้าว” จนเป็นที่เลื่องลือและเป็นตำนาน

        ผลิตภัณฑ์ชาผูเอ่อร์“96 เจินฉุนหยาห้าว” เป็นชาสั่งผลิตโดยคนชาใต้หวัน ถือเป็นผู้บุกเบิกของยุคฟื้นฟูชายี่หวู่ เป็นชาต้นโบราณของยี่หวู่รุ่นแรกหลังปี 1949 ที่ใช้วิธีการทำชาแบบโบราณ และก็เป็นผลิตภัณฑ์ชาที่เป็นตำนานรุ่นแรกที่กระทำการซ้ำแบบกรรมวิธีการผลิตของชาเกรดห้าง หลังจากชาตัวนี้ ยิ่งมายิ่งมีคนมุ่งสู่ยี่หวู่ กรรมวิธีการผลิตชาแบบโบราณได้รับการศึกษาวิจัยและอนุรักษ์ นับจากนี้ไปก็เป็นการเริ่มต้นเส้นทางของการฟื้นฟูชายี่หวู่

▲96 เจินฉุนหยาห้าว/ 96 真淳雅號
  

        - ปรากฏการณ์ของชาสั่งผลิต : 

        ชาสั่งผลิตเป็นเหตุการณ์เล็กๆที่แทรกอยู่ในประวัติศาสตร์ชาผูเอ่อร์ แต่มันมีความหมายที่ไม่ควรมองข้ามต่อการฟื้นฟูของชาผูเอ่ออร์ยุคปัจจุบัน เนื่องจากชาสั่งผลิตจำนวนไม่น้อยมิใช่เป็นเพียงสินค้าชาลักษณะทั่วๆไป

        พวกมันได้ละทิ้งลักษณะการปล่อยปละและความซ้ำซากของยุคชามัดเจ็ดแผ่น ด้านการคัดเลือกใช้วัตถุดิบเริ่มมีแนวคิดในการแสวงหาแหล่งผลิต และชาป่า ชาปล่อยป่า ชาต้นใหญ่ แล้วทำการทดลองฟื้นฟูกรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม สุดท้ายวิวัฒนาการออกมาเป็นขุนเขา ต้นโบราณ การผลิตด้วยมือ การอัดแผ่นด้วยบล็อกหิน ที่พวกเรายกย่องกันในทุกวันนี้ 

        กล่าวอีกนัยหนึ่ง การปรากฏของชาสั่งผลิตก็เป็นไปตามแนวโน้มการพัฒนาที่สอดคล้องกับตลาดและความต้องการของตลาด

        ชาสั่งผลิตได้กำเนิดกลุ่มผลิตภัณฑ์ชาที่เป็นตำนานในปัจจุบัน อาทิเช่น “ผักกาดขาว” “นกยูง” “ต้นใหญ่เขียว” “94 แผ่นดิบซื่อแหย่ (7542 ปี 1994)” เป็นต้น 

▲ปานจางผักกาดขาวใหญ่/班章大白菜 

▲นกยูง/孔雀

▲99 ต้นใหญ่เขียว/99 绿大树

▲94 แผ่นดิบซื่อแหย่/94 事业青饼 (7542 ปี 1994)


        • นานาตราห้างประชันแข่งขันกัน


        ปี 1990 บริษัทใบชาจีนได้ประกาศแจ้งให้โรงงานชาทั้งหลายรับทราบว่า ต่อจากนี้ไปต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายการค้า“จงฉา/中茶” ต่อจากนั้นมาองค์กรธุรกิจชาต่างทยอยกันไปจดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าของตนเอง

        ภายหลังในวงการชาผูเอ่อร์ใต้หวันและฮ่องกงเกิดกระแสนิยมดื่มชาเก่าของ“ห้างเก่าแก่” ทำให้เกิดปรากฏการณ์แย่งชิงจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของห้างซ่งพิ่ง(宋聘号) ห้างเชอซุ่น(车顺号) ห้างถงชิ่ง(同庆号) ฝูเหยียนชาง(福元昌).....ห้างชาเก่าแก่ทั้งที่มีชื่อและไม่มีชื่อในประวัติศาสตร์ ต่างทยอยถูกผู้คนแย่งกันนำไปจดทะเบียน

▲ตรา “ห้างเก่าแก่/老字号

        ในขณะเดียวกัน ธุรกิจชาภาคเอกชนบางองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้เริ่มลองเดินบนเส้นทางชื่อห้างของตนเอง :

        - ปี 1998 ห้างชา“ซุ่นสือซิ่ง(顺时兴)”ได้ก่อตั้งขึ้น แล้วทำการผลิตชาผูเอ่อร์รุ่น“1998 ยี่หวู่ซุ่นสือซิ่งห้าว (ยอดใบฤดูใบไม้ผลิ)” ถือเป็นชาที่ผลิตโดยห้างชาเอกชนยี่หวู่รุ่นแรกที่ไม่สามารถหาทดแทนได้ในปัจจุบัน 

▲1998 ยี่หวู่ซุ่นสือซิ่งห้าว (ยอดใบฤดูใบไม้ผลิ)/1998 年易武顺时兴号 (春尖)

        - ปี 1999 ห้างชาชางไท่(昌泰茶行)ได้ก่อตั้งขึ้น แล้วได้นำเสนอชาผูเอ่อร์รุ่น“99 ยี่ชางห้าว” 

▲99 ยี่ชางห้าว/99 易昌号


        แต่ทว่ารูปแบบของห้างเอกชนก็ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของยุคสมัยได้ และความเป็นไปของเศรษฐกิจการตลาดเสรีมีบทบาทมากขึ้น ทำให้โรงงานชาภาครัฐเริ่มทยอยทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 

        โรงงานเซี่ยกวนและเหมิงไห่ได้ทำการแปรรูปสำเร็จเป็นลำดับในปี 2004 แต่โรงงานคุนหมิงยังคงดำรงไว้ซึ่งความเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่จนแล้วจนรอดต้องปิดกิจการลงในปี 1996 ช่างเทคนิคตัวหลักๆและพนักงานในยุครัฐวิสาหกิจจำนวนมาก ได้ริเริ่มเดินในแนวทางการตลาดของตนเอง ตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชาผูเอ่อร์ก็เริ่มที่ปรากฏออกมายิ่งมายิ่งมาก :

        - ปี 1998 โรงงานชาอำเภอหลานชางได้แปรรูปเป็น บริษัทชาโบราณอำเภอหลานชาง(澜沧县古茶公司)

        - ปี 1999 โจวปิ่งเหลียง(邹炳良) และ หลูกั๋วหลิง(卢国龄) ได้ร่วมกันก่อตั้ง บริษัทชาไห่วาน(海湾茶业)

        - ปี 1999 หยงเจียเซิน(戎加升) ไปรับซื้อโรงงานชารัฐวิสาหกิจในอำเภอซวงเจียงที่ล่มละลายแล้วก่อตั้งเป็น บริษัทชาเหมิงคู่หยงซื่อจำกัด(勐库戎氏茶业有限公司)

        - ปี 2002 หย่วนเตี้ยนหยง(阮殿蓉) ได้ก่อตั้ง บริษัทมหาชนอุตสาหกรรมชาหกขุนเขาชาอวิ๋นหนาน(云南六大茶山茶业股份有限公司)

        - ปี 2004 ไท่จวิ้นลิน(太俊林) ได้รับซื้อโรงงานชาผูเอ่อร์อวิ๋นหนานแล้วก่อตั้งเป็น บริษัทชาผูเอ่อร์อวิ๋นหนานจำกัด(云南普洱茶厂有限公司)

        - ปี 2007 บริษัทชาเฉินเซินเหมิงไห่จำกัด(勐海陈升茶业有限公司) ได้ก่อตั้งขึ้นมา

        ฯลฯ


        “สตาร์ทอัพ”ขององค์กรธุรกิจชาผูเอ่อร์ยิ่งมายิ่งมาก และการโผล่ออกมาของตราสินค้า ทำให้เครื่องหมายการค้าของชาผูเอ่อร์เกิดเป็นยุคดั่งนานาบุปผาบานประชันกันอีกครั้ง ชาผูเอ่อร์ได้เข้าสู่ยุค“เกรดตราห้าง”แล้ว คุณค่าตราสินค้าค่อยๆปรากฏให้เห็นในตลาด    


        ปี1993-2008 ยุคเกรดตราห้างของชาผูเอ่อร์ ในยุคสมัยนี้ ท่ามกลางความสับสนแต่ชาผูเอ่อร์ไม่หยุดที่ยกระดับตนเอง ท่ามกลางการก่อตั้งองค์กรธุรกิจและตราสินค้าแต่ไม่หยุดหยั่งที่แสวงหาคุณค่าของตนเองใหม่ จนค้นพบตำแหน่งของตนเอง เป็นการสถาปนารากฐานที่ดีเพื่อการฟื้นฟูชาผูเอ่อร์โดยองค์รวม

        สุดท้าย เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2008 ได้ประกาศใช้มาตรฐานแห่งชาติจีน GB/T 22111-2008 อย่างเป็นทางการ ทำให้ชาผูเอ่อร์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภูมิศาสตร์ การเพาะปลูก การผลิต เป็นต้นล้วนมีมาตรฐานที่ชัดเจน ต่อจากนี้ไป ชาผูเอ่อร์ยุค“เกรดตราห้าง”ก็เริ่มพัฒนาไปทางอุตสาหกรรมการผลิตและการตลาดของชาผูเอ่อร์ยุคปัจจุบันอย่างถ้วนหน้า

▲มาตรฐานแห่งชาติของประเทศจีน GB/T 22111-2008《สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของผลิตภัณฑ์-ชาผูเอ่อร์》
 


เอกสารอ้างอิง :

1. 什么是“标号级”普洱茶?https://m.ipucha.com/show-25-12427.html

2. 标号级普洱茶 , 激荡的十五年https://m.ipucha.com/show-24-12762.html