วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ-3)

普洱茶能降低猝死风险吗? (下)

5. ประเมินผลด้านความปลอดภัยในการบริโภค
五,食用安全性评介价



        เมื่อใบชาที่จัดเป็นเครื่องดื่มปรากฏความต้องการทางวิธีการเตรียมและการดื่มขึ้นมาใหม่ เมื่อวิธีการแบบนี้มีวัตถุประสงค์ทางยารักษาเจาะจงเป้าหมายเสมือนอย่างเด่นชัด เมื่อนั้นชาได้หลุดพ้นจากบริบทของการดื่มชาแบบดั้งเดิม กลายเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณลักษณะ “ใช้ในทางการแพทย์พิเศษ”(Special Medical Purpose) เครื่องดื่มชนิดใช้ใบชาเป็นวัตถุดิบ ผ่านการเตรียมที่พิเศษและการดื่มที่เฉพาะเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันได้ ซึ่งก็คือเครื่องดื่มที่บทความนี้เสนอแนะ

        ดังนั้น สำหรับเครื่องดื่มที่มีสารบางตัวที่เป็นองค์ประกอบที่ “เกินขนาด” และมีความต้องการพิเศษของวิถีการดื่ม จะมีปัญหาด้านความปลอดภัยด้านการบริโภคหรือไม่ ? เครื่องดื่มชนิดนี้เหมาะสำหรับกลุ่มคน เป็นที่ต้องห้ามสำหรับกลุ่มคน และสารที่ “เกินขนาด” อาจแปรสภาพเกิดผลความเสี่ยงทางความเป็นพิษหรือไม่ ? พวกเราล้วนต้องใช้หลักการพิษวิทยา(Toxicology Principle)เพื่อยืนยันปริมาณการบริโภคต่อครั้งที่ปลอดภัยของสารนั้นๆ เพื่อดำเนินการควบคุมความเสี่ยงโดยผ่านการประเมินความเสี่ยง มันเป็นรายละเอียดสำคัญในการบริหารจัดการคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารยุคสมัยใหม่ ซึ่งวัตถุประสงค์ก็คือการรับประกันความน่าเชื่อถือต่อความปลอดภัยของอาหาร การประเมินความปลอดภัยครั้งนี้มีเนื้อหาครอบคลุมถึงองค์ประกอบทั่วไปของอาหาร สารปนเปื้อนจากสภาพแวดล้อม ยาเคมีเกษตร สารพิษธรรมชาติ สารพิษจากเชื้อราและสารอื่นๆอันน่าสงสัยที่อาจค้นพบในอาหารเป็นต้น เนื่องจากข้อจำกัดทางตัวอักษรจะยาวเกินไป บทความนี้จึงขอบ่งชี้ออกเพียง 3 ประเด็น :

        อันดับ 1 ความต้องการทางวิธีการเตรียมและการดื่มของ “ชาเข้ม” 2 แบบดังกล่าวข้างต้น จัดอยู่ในบริบทของ “อาหารการแพทย์พิเศษ”(FSMP : Foods for Special medical Purpose) สำหรับคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคลมชักและโรคหัวใจและหลอดเลือดแล้ว แนะนำให้ไปทำการรักษาที่โรงพยาบาลที่มาตรฐาน ตรวจหาต้นกำเนิดของโรคเหล่านี้ ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค บนพื้นฐานที่รู้ซึ้งถึง พยาธิกำเนิด(Pathogeny) พยาธิวิทยา(Pathology) ตำแหน่งของโรคแล้ว ก็ทำการบำบัดรักษาให้ถูกโรค ส่วนจะใช้วิธีการ 2 แบบดังกล่าวข้างต้นในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ เป็นอำนาจการตัดสินใจของนายแพทย์โรงพยาบาล จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ มีเพียงภายใต้การอนุญาตจากนายแพทย์ผู้ทำการรักษา จึงจะสามารถใช้ได้

        อันดับ 2 วัตถุดิบใบชาอาจเนื่องจากยาเคมีเกษตรและธาตุโลหะหนักมีค่าเกินมาตรฐานอันนำมาซึ่งความเสี่ยง เป็นความเสี่ยงที่จัดอยู่ในอันดับแรก  เป็นเพราะว่า “ชาเข้ม” โดยตัวของมันเองก็จะมีสารประกอบเคมีต่างๆเพิ่มขึ้นเป็น 2-3 เท่าอย่างมีนัยสำคัญ ยาเคมีเกษตรและธาตุโลหะหนักก็เป็นเช่นนี้ มันไม่เพียงแต่ไม่สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน กลับกันจะเพิ่มความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันให้สูงขึ้นอันเนื่องจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นต้นมีอาการหนักขึ้น ดังนั้น การควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรก ปัจจุบัน ผู้ทำงานอยู่ในแวดวงใบชามีอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคลมชักและโรคเบาหวานไม่ได้ต่ำกว่ากลุ่มคนทั่วไป พวกเขาได้สัมผัสกับใบชาทุกๆวัน ทุกวันต้องทำการดื่มใบชาก็ไม่น้อย ซึ่งน่าจะเป็นแถบที่เกิดโรคเหล่านี้ต่ำ แต่สถานการณ์ความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม สาเหตุเนื่องจากยาเคมีเกษตรและธาตุโลหะหนักเกินค่ามาตรฐาน โดยเฉพาะสมรรถภาพทางการสะสมภายในร่างกาย กลับทำให้ผู้ทำงานใบชามีความเป็นไปได้ที่ป่วยเป็นโรคอยู่ในสถานะที่ “ความชัน” ขึ้นตลอด ในช่วงอายุ 45 ถึง 60 ปีจะแสดงอาการอย่างเห็นได้ชัดเป็นพิเศษ ปัจจุบันยิ่งมีข้อบ่งชี้ขยายไปทางกลุ่มคนอายุประมาณ 40 ปี จึงขอเสนอว่า กล่าวทางด้านการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันแล้ว จะต้องตรวจเช็คยาเคมีเกษตรตกค้างและธาตุโลหะหนักของวัตถุดิบใบชาอย่างเข้มงวด ต้องให้ได้ค่าที่ปลอดภัยจึงจะสามารถใช้ได้ หรือใช้วิธีการแบบที่ 2 ที่บทความนี้นำเสนอ(วิธีการเตรียมของศิลาชา) ที่สามารถขจัดความเสี่ยงจากยาเคมีเกษตรตกค้างและธาตุโลหะหนักเกินค่ามาตรฐาน

        อันดับ 3 ประเมินผลด้านปริมาณที่บริโภคต่อครั้ง(Dosage)ที่ปลอดภัยของคาเฟอีน ประเด็นสำคัญของการประเมินความปลอดภัยครั้งนี้ ในการดำเนินการทดลองทางชีววิทยาต่อการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันของชาผูเอ๋อร์ของพวกเรา โดยให้ร่างกายได้รับคาเฟอีนในปริมาณที่บริโภคต่อครั้ง แล้วทำการประเมินความปลอดภัยทางวิถีเมแทบอลิซึม(Metabolic Pathway) เหตุผลของการใช้คาเฟอีนเป็นเป้าหมายของการประเมิน นั่นเป็นเพราะว่ามันเป็นมวลสารปฐมภูมิ(Primordial Matter)ในใบชาที่ถูกมองเป็นสารที่เมื่อบริโภคเกินปริมาณแล้วจะนำมาซึ่งความเสี่ยงทางความปลอดภัย วงการวิทยาศาสตร์นานาชาติก็ได้ทำการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมากแวดล้อมสารตัวนี้  ซึ่งมีกลไกการกินดังนี้ : คาเฟอีนหลังจากบริโภคเข้าสู่ร่างกายแล้วภายใน 45 นาทีจะถูกกระเพาะและลำใส้เล็กดูดซึมหมด หลังการดูดซึมมันจะแผ่ซ่านเข้าไปในอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย ซึ่งกระบวนการแปรสภาพจัดเป็นจลนศาสตร์เคมี(Chemical Kinetics)ปฏิกิริยาอันดับ 1 (First-Order Reaction) ระยะครึ่งชีวิต(Half Life : คือระยะเวลาที่คาเฟอีนที่ถูกดูดซึมถูกร่างกายแปรสภาพเหลือครึ่งเดียว)จะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องเช่น อายุ ระดับการทำงานของตับ ภาวะตั้งครรภ์ และการใช้ยาชนิดอื่นร่วมกับปริมาณของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายคาเฟอีนในตับ เป็นต้น ระยะครึ่งชีวิตของคาเฟอีนในผู้ใหญ่ที่สุขภาพแข็งแรงประมาณ 3-4 ชม. ภายในร่างกายผู้หญิงที่ทานยาคุมกำเนิดจะยืดยาวออกไปเป็น 5-10 ชม. ภายในร่างกายผู้หญิงที่ตั้งครรภ์แล้วจะประมาณ 9-11 ชม. ช่วงที่ร่างกายบางคนป่วยด้วยโรคตับระยะรุนแรง คาเฟอีนจะเกิดการสะสม ระยะครึ่งชีวิตจะยืดยาวออกไปถึง 96 ชม. ระยะครึ่งชีวิตในทารกหรือเด็กอาจยาวนานกว่าผู้ใหญ่ ภายในร่างกายของทารกแรกเกิดอาจยาวนานถึง 30 ชม. ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์และเด็กทารกห้ามบริโภค

        คาเฟอีนที่ถือเป็นตัวแทนของสารอัลคาลอยด์ส่วนใหญ่จะถูกเมแทบอลิซึมที่ตับ ออกซิเดชั่นโดยเอนไซม์ไซโตโครม(Cytochrome Oxidase) แปรสภาพเป็นอนุพันธุ์ไดเมทิลแซนธีน(Dimethylxanthine) 3 ชนิดที่ไม่เหมือนกันและมีผลต่อร่างกายแตกต่างกัน ในนี้ พาราแซนธีน(Paraxanthine)มีผลเร่งในการสลายไขมัน ทำให้ปริมาณของกลีเซอรอลและอนุมูลอิสระกรดไขมันในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น ธีโอโบรมีน(Theobromine)มีผลในการขยายหลอดเลือดและเพิ่มปริมาณปัสสาวะ ธีโอฟิลลีน(Theophylline)มีผลทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่อยู่ล้อมรอบหลอดลมปอดคลายตัว จึงทำให้หลอดลมขยายตัวมากขึ้น อนุพันธุ์ทั้ง 3 ชนิดนี้จะถูกแปรสภาพต่อไป และถูกขับออกทางปัสสาวะในที่สุด

        ในการประเมินความปลอดภัย พวกเรามาให้ความสนใจมากที่สุดต่อปัญหาความปลอดภัยของปริมาณการบริโภคคาเฟอีน ในสภาวะทั่วไป ผู้คนที่ทำการดื่มชาแบบดั้งเดิม 30 กรัมอย่างต่อเนื่อง(ละลายในน้ำ 600-800 มิลลิลิตร ปริมาณคาเฟอีนเกินกว่า 500 มิลลิกรัม)อาจทำให้ระบบปราสาทส่วนกลางถูกกระตุ้นมากเกินไป การกระตุ้นมากเกินไปจากคาเฟอีนจะปรากฏอาการ : กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ เหงื่อออกมาก ปัสสาวะมาก หัวใจเต้นผิดปกติหรือเต้นแรง น้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณมากอาจนำไปสู่การตายอย่างกะทันหันได้(จากการที่มียาฉีดและยาเม็ดคาเฟอีนดำรงอยู่ รายงานทางการแพทย์นานาชาติได้เคยประกาศว่าอันสืบเนื่องจากการบริโภคยาเม็ดคาเฟอีนปริมาณมากเกินไปทำให้เกิดการตายอย่างกะทันหัน) ในการทดลองในสัตว์ โดยใช้หนูเป็นสัตว์ทดลอง ปริมาณคาเฟอีนที่ทำให้เกิดการตายคือ 192 มิลลิกรัม/นน.ตัว 1000 กรัม ปริมาณคาเฟอีนที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและระดับความอ่อนไหวของแต่ละคน จะโดยประมาณ 150-200 มิลลิกรัม/นน.ตัว 1000 กรัม ซึ่งคำนวณตามผู้ใหญ่ทั่วไป(หนัก 70 กิโลกรัม) ในการดื่มชาผูเอ๋อร์ไม่น้อยกว่า 350 กรัม(ชาแห้ง) โดยทำเป็น “ชาย่าง” 35 ถ้วย ศิลาชา 35 กรัม(น้ำชา 14000 มิลลิลิตร) จึงจะสามารถนำไปสู่ความเสี่ยงเช่นนี้ได้ แต่ในตวามเป็นจริง การดื่มในปริมาณมากเช่นนี้ในระยะเวลาอันสั้น(ภายใน 1 ชม.)เป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น ในการทดลองทางชีววิทยาของการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน ถึงแม้จะดื่ม “ชาเข้ม” ในปริมาณมากที่สุดเข้าไป เมื่อเทียบกับปริมาณคาเฟอีนที่อาจนำไปสู่การตายอย่างกะทันหันยังห่างกันอีกมาก ถึงกระนั้น ในน้ำชาไม่ใช่มีเฉพาะคาเฟอีน มันและสารอีกมากมาย เช่น คาเทชิน ทีโพลิแซคคาไรด์ เป็นต้นดำรงอยู่ในสถานะของสารประกอบเชิงซ้อน เมื่อหลังจากเข้าสู่ร่างกายแล้ว ก็เป็นการสนธิทำงานร่วมกัน ซึ่งรับประกันความปลอดภัย

        แม้เป็นประการฉะนี้ พวกเรก็ยังแนะนำทุกเช้าให้ดื่มชาแบบดั้งเดิม(“ชาย่าง” เสมือน) 10 กรัม ที่ทำให้เข้มข้นใน 1 ถ้วย ศิลาชา 1 กรัม(ละลายในน้ำ 400-500 มิลลิลิตร) ถ้าต้องเพิ่มปริมาณการดื่ม เพียงเป็นความต้องการที่สภาพร่างกายแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่ต้องกังวลด้านปลอดภัย ปริมาณการบริโภคที่พวกเราเสนอมานั้น เพียงให้เพียงพอกับ “ขนาดยา” ที่ต้องการต่อการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน

        การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันข้างต้น ไม่สามารถถือเป็นแนวความคิดเดียวกับการป้องกันการตายอย่างกะทันหันของชาผูเอ๋อร์ แวดล้อมการศึกษาวิจัยทางด้านนี้ยังมีงานอีกมากมายที่จะต้องทำให้สำเสร็จลุล่วง บทความนี้เพียงแค่เผยแพร่และแบ่งปันแนวความคิดทางการศึกษาวิจัยและกระบวนการศึกษาวิจัยหนึ่งเท่านั้น การริเริ่มตั้งแต่ปี 2009 พวกเราได้พยายามเริ่มการทดลอง “วิธีการเตรียมและการดื่มแบบพิเศษของชาผูเอ๋อร์ต่อการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน” กับกลุ่มคนบางส่วนที่แสดงอาการของโรค(ไม่ใช่เป็นการทดลองทางคลินิกตามมาตรฐาน) กลุ่มคนที่เข้าร่วมการทดลองไม่ใช่คนที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจและความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง อายุอยู่ระหว่าง 55-65 ปี พวกเขาโดยทั่วไปทุกเช้าต้องคงไว้ซึ่งการดื่มชาเข้ม 1 ถ้วย เสริมด้วยการออกกำลังกาย(รวมทั้งการลดความอ้วน) บริโภคอาหารที่มีความเค็มและไขมันต่ำ ช่วงเช้าและช่วงบ่ายคงไว้ซึ่งการดื่มชาหรือชิมชาในปริมาณที่เหมาะสม แต่ช่วงกลางคืนก่อนนอนจะต้องดื่ม “ชาจาง” 1 ถ้วย พวกเราได้ค้นพบว่า เมื่อวิธีการดื่มแบบนี้ได้กลายเป็นกฏระเบียบและนิสัยปฏิบัติแล้ว การลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันก็บังเกิดผลอย่างเด่นชัด แน่นอนวิถีการดื่มแบบนี้นำมาซึ่งผลดีไม่เฉพาะแค่การลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของการทำงานในร่างกาย(Body Function) โดยเฉพาะเกิดผลของ “การฟื้นตัวเกิดเอง”(Spontaneous Recovery)ที่คาดคิดไม่ถึงกับโรคบางชนิด(การฟื้นตัวเกิดเองคือสิ่งมีชีวิตอาศัยพลังชีวิตที่อยู่ภายในร่างกาย เป็นพลังชนิดหนึ่งของการรักษาชีวิตให้แข็งแรงที่ถ่ายทอดจากกรรมพันธุ์มาช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายและช่วยให้หลุดพ้นจากการป่วยและภาวะ Sub-Health) พวกเราจะทยอยเผยแพร่ออกมาในบทความต่อไป

........จบบริบูรณ์........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ)》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน สิงหาคม ปี 2016

ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ-2)