วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (8)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (8)
古茶树之谜 (八)




        ชาผูเอ๋อร์ก็ดำรงปรากฏการณ์อายุยืน

        ขอให้พวกเราย้อนกลับมาให้ความสนใจทางชาผูเอ๋อร์
        เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์ก็ดำรงปรากฏการณ์อายุยืน? ผลิตภัณฑ์ ”ชาเกรดห้าง(号级茶)” จำนวนมากมีอายุเกินร้อยปี ที่ไม่เน่าไม่เสีย ยังเลอเลิศทั้งทางสี กลิ่น รส นี้คือข้อเท็จจริง ไม่ต้องเสียเวลามาถกเถียงกันอีก

        แต่มีปัญหาหนึ่งที่จำเป็นต้องอภิปราย นั่นก็คือ ”ปรากฏการณ์อายุยืน” ของชาผูเอ๋อร์ เกิดจากสาเหตุอันใด? คือการต่อเนื่องจากกลไกอายุยืนของต้นชาโบราณ? หรือเกิดจากวิธีการผลิตชาของชาผูเอ๋อร์?

        พวกเรากล่าวได้ว่าสองปัจจัยนี้ล้วนมีส่วน
        การเป็นใบชา โดยเฉพาะใบชาที่ผ่านจากขั้นตอนการผลิต หลังจากผ่านการฆ่าเขียว การนวด การตากแห้ง การอัดขึ้นรูปแล้ว “รอยแผล” ของใบชาจะปรากฏอย่างเด่นชัดมาก ซึ่งง่ายต่อการจู่โจมของเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปทำลาย ตามหลักแล้ว ”อายุ” ควรที่จะสั้นถึงจะถูก อาหารจำนวนมากรอบตัวเรากลัวการจู่โจมของเชื้อจุลินทรีย์มากที่สุด เพราะมันจะเกิดสภาวะการทำลายอย่างใหญ่หลวง ทำให้ ”อายุ”(ระยะรับประกันคุณภาพ) ของอาหารจะหดสั้นลง แต่ชาผูเอ๋อร์ไม่เป็นเช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นการหมักแบบใช้ออกซิเจนหรือไม่ใช้ออกซิเจนล้วนต้องการความมีส่วนร่วมของจุลินทรีย์ ถ้าชาผูเอ๋อร์ไม่มีการสอดแทรกของจุลินทรีย์ การหมักก็จะไม่ดำรงอยู่ แต่เมื่อมีส่วนร่วมของจุลินทรีย์ ไม่เฉพาะไม่ทำให้อายุของมันหดสั้นลง เนื่องจากระยะเวลาอันยาวนานของกระบวนการหมักกลับไม่เพียงยืดอายุของมันให้ยืนยาวขึ้น และยังทำให้คุณภาพเพิ่มสูงขึ้นเป็นขั้นเป็นตอน ความเป็นจริงการหมักเช่นนี้เป็นกระบวนการทีละเล็กทีละน้อย จำต้องอาศัยระยะเวลายาวนาน ชาผูเอ๋อร์(หมายถึงชาดิบ)ที่ผลิตจากใบชาต้นชาโบราณ ล้วนต้องอาศัยการหมักตามธรรมชาติเป็นระยะเวลา30-50ปีขึ้นไปจึงสามารถได้คุณภาพสูงตามมาตรฐานของชาผูเอ๋อร์ (จะมาแตะเรื่องนี้โดยเฉพาะในอนาคตข้างหน้า) แต่นี้ยังไม่ใช่สาเหตุเดียว่ที่ทำให้ชาผูเอ๋อร์อายุยืน

        ปัจจัยที่สำคัญกว่าคือระบบโครงสร้างที่พิเศษเฉพาะและองค์ประกอบของชาพันธุ์ใบใหญ่ โดยเฉพาะเกิดจากกลุ่มเอนไซม์ที่มีประกอบอยู่อย่างเต็มเปี่ยมในใบชา การหมักของชาผูเอ๋อร์ก็คือกระบวนการของ ”การเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์(酶促反应)” โดยตัวมันเองของกลุ่มเอนไซม์จะมีระบบภูมิคุ้มกันโรคและระบบเมตาโบลิซึม ซึ่งจะเกี่ยวโยงกับรหัสที่เรียงลำดับอย่างพิเศษเฉพาะที่แอบซ่อนอยู่ในDNAของใบชา พวกเราได้เคยนำใบชาพันธุ์ใบใหญ่และใบชาพันธุ์ใบกลางเล็กมาทดลองลักษณะการทำลายภายใต้สภาวะอุณหภูมิและความชื้นที่เฉพาะเจาะจง เมื่อปรับอุณหภูมิถึง45ºC ระดับความชื้นที่75% รักษาสภาวะนี้คงไว้15วัน ใบชาพันธุ์ใบกลางเล็กจะเริ่มปรากฏรอยด่างของเชื้อรา และส่งกลิ่นเหม็นบูดเปรี้ยวออกมา ใบชาอยู่ในสถานะเสื่อมคุณภาพบนพื้นฐานที่คุณค่าทางเครื่องดื่มได้หายไป แต่ใบชาพันธุ์ใบใหญ่กลับแปรเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น ด้วยประการฉะนี้ พวดเรายิ่งเชื่อว่าปรากฏการณ์อายุยืนของชาผูเอ๋อร์เกิดจากกรณีเดียวกันกับปรากฏการณ์อายุยืนของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ เพียงแต่มันยังเป็นปริศนาที่คอยคำตอบอยู่

        ดังนั้น พวกเรายังสามารถที่จะกล่าวเช่นนี้ว่า ชาผูเอ๋อร์ที่ผลิตจากยอดและใบของต้นชาไม้ใหญ่ ไม่ว่าคุณจะสัมผัสมันทั้งวัน หรือได้ชิมดื่มมันทุกวัน แม้กระทั่งกำลังศึกษามัน มันก็ยังถือเป็น ”เพื่อนแปลกหน้า” ของมนุษย์เรา เหตุที่พวกเรากล่าวเช่นนี้ เป็นเพราะว่าตราบจนถึงทุกวันนี้ พวกเรายังไม่รู้ว่าองค์ประกอบภายในของมันมีจำนวนเท่าไรกันแน่? องค์ประกอบส่วนใหญ่ยังไม่ถูกพวกเราค้นพบ พวกเราใช้วิธีการตรวจสอบเช่นที่เคยปฏิบัติกันมาค้นพบองค์ประกอบบางส่วน และก็ได้เข้าใจถึงสรรพคุณของมัน แต่ว่า พวกเรายังคงไว้ปัญหาหนึ่ง : พวกเรารู้จักมัน ”คืออะไร” แต่ไม่รู้ว่า ”เพราะอะไร” ท่ามกลางหลักศิลาของชีวิตที่เป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดของมัน---โครโมโซม ยีน DNA เป็นต้น ล้วนยังคงไว้ซึ่งเป็นปริศนาที่ยังไม่มีคำตอบ

        เมื่อเป็นประการฉะนี้ มีอยู่หนึ่งประเด็นที่คุณอาจยังไม่ทราบ เมื่อตอนที่มือคุณถือจอกชาผูเอ๋อร์ขึ้นมาชิมดื่ม คุณกำลังเสพกลิ่นหอม สีน้ำชา และรสชาติที่เป็นเฉพาะของมันอย่างเหลือล้น แต่มีสารประกอบตัวหนึ่งที่ทรงคุณค่าได้ซึมผ่านเข้าไปภายในร่างกายของคุณอย่างเงียบๆ ได้นำ ”พลังงาน” ทางธรรมชาติชนิดหนึ่งฝังเข้าไปอยู่ในยีนของคุณ และปฏิสัมพันธ์ทางด้านบวกกับคุณ ต่อต้านเชื้อโรคและมลพิษทางเคมีที่มาจากอุตสาหกรรมต่างๆในโลกยุคปัจจุบันอย่างเอาเป็นเอาตาย เพิ่มภูมิคุ้มกันให้คุณ ยืดวงจรชีวิตของคุณให้ยืนยาวขึ้น แนวความคิดเช่นนี้แม้ยังไม่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ แต่ทว่าข้อเท็จจริงนี้มาจากบนพื้นฐานของ ”สมมุติฐาน” ทางวิทยาศาสตร์ หรือมาจาก ”จินตนาการ” ทางวิทยาสาสตร์ สิ่งนี้มิใช่ ”ระบบสรุปผลโดยปราศจากเหตุผลทางวิทยาศาสตร์(伪科学)” เพราะว่าการออกแบบของผลงานทางวิทยาศาสตร์มากมายล้วนเกิดมาจากสมมุติฐานและจินตนาการที่เบื้องต้นดูไม่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมาก่อน...

......จบบริบูรณ์......


หมายเหตุ : หลังจากจบชุดบทความนี้ ทางผู้เขียน เฉินเจี๋ย(陈杰) ได้เขียนบทความมินิซีรีส์《ประเมินค่าชาไร่อย่างไร》 4 ตอนจบ ซึ่งมีเนื้อหาต่อเนื่องเกี่ยวโยงกับบทความนี้ โดยได้เขียนอภิปรายถึงเบื้องหลังและสถานภาพของชาไร่ของหยินหนาน โปรดติดตามอ่านบทความแปลมินิซีรีส์นี้ที่จะโพสต์ลงในเฟซเพจนี้เร็วๆนี้...

แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ》 ตอนที่ 8---เขียนโดย เฉินเจี๋ย

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (7)

โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/