วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 2)

普洱茶预防与降低血压的机理
สารประกอบปฐมภูมิของชาผูเอ๋อร์คือสสารพื้นฐานทาง “แหล่งยา” ของการลดความดันโลหิต
普洱茶初级代谢物是降低血压 “药源”的基础物质



        2.สารประกอบปฐมภูมิของชาผูเอ๋อร์คือสสารพื้นฐานทาง “แหล่งยา” ของการลดความดันโลหิต

        ริเริ่มตั้งแต่ต้นศตวรรษที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะพิสูจน์ใบชาเพียบพร้อมด้วยกลไกการลดความดันโลหิตว่าเป็นจริง ได้ทำการวิเคราะห์และวิจัยเป็นจำนวนมากต่อสสารเดียวที่ประกอบอยู่ใบชา การทดลองเหล่านี้แทบจะทั้งหมดล้วนดำเนินการแวดล้อมสารประกอบปฐมภูมิ(Primary Metabolites)ของใบชา วิธีการทดลองคือนำสสารเดียวในใบชามาทำการแยกแล้วทำให้บริสุทธิ์ ต่อจากนั้นจึงดำเนินการทดลองทางชีวภาพ ผลของการทดลองสสารเดียวจำนวนมากดำรงส่วนประกอบทาง “เป็นยา” กับกลไกการลดความดันโลหิต ในทั้งหมดนี้ การศึกษาวิจัยที่มีอังกฤษและอินเดียเป็นตัวแทนโดยพื้นฐานใช้ชาแดงเป็นเป้าหมาย การศึกษาวิจัยที่มีจีนและญี่ปุ่นเป็นตัวแทนโดยพื้นฐานใช้ชาเขียวเป็นเป้าหมาย

        สิ่งที่มีค่าควรแก่ความสนใจคือ การศึกษาวิจัยเหล่านี้อันเนื่องจากใช้สสารเดียวเป็นเป้าหมายของการศึกษาวิจัย ไม่ว่าสาระสำคัญของมันจะเป็นชาแดงหรือเป็นชาเขียว ซึ่งข้อสรุปเป็นการครอบคลุมถึงบรรดาใบชาทั้งหมด แน่นอนก็รวมทั้งชาผูเอ๋อร์ด้วย แวดล้อมการศึกษาวิจัยด้านนี้ ผลลัพธ์ของการศึกษาวิจัยจำนวนมากควรค่าแก่พวกเราสนใจ :

        ทีโพลิฟีนอลส์(TPPs) : ทีโพลิฟีนอลส์เป็นสารกลุ่มฟีนอลประเภทหนึ่งที่ถูกนักวิทยาศาสตร์นำมาทำการศึกษาวิจัยมากที่สุด และตราบถึงทุกวันนี้ก็ยังเป็นสาร “ร้อนแรง” ที่เหล่านักวิทยาศาสตร์จำนวนมากทำการศึกษาวิจัย สำหรับทางด้านลดความดันโลหิตแล้ว ผลการศึกษาวิจัยจำนวนมากเป็นอันเชื่อว่ามันสามารถลดหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน(Peripheral Vascular Disease) ทำการขยายหลอดเลือดโดยตรง ; สามารถเร่งการก่อตัวของสารกระตุ้นการคลายตัวของเอนโดธีเลียม(Endothelium-driver Relaxing Factor) คลายตัวกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด(Vascular Smooth Muscle) เพิ่มความแข็งแรงให้ผนังหลอดเลือดและปรับการซึมผ่านผนังหลอดเลือดฝอย(Capillary Permeability)เพื่อให้สมดุลที่ทำให้เกิดผลในการต้านความดันโลหิตสูง
        การก่อตัวขึ้นของความดันโลหิตสูงเกิดจากการปรับสมดุลของโฮร์มอนแองจิโอเท็นซิน(Angiotensin) เอนไซม์ ACE(Angiotensin Converting Enzyme) จะทำการตัดปลายที่มีคาร์บอกซิลิก(C-Terminal)ที่ไม่มีฤทธิ์ของแองจิโอเท็นซิน I ให้ขาด เปลี่ยนเป็นแองจิโอเท็นซิน II ที่เป็นโฮร์มอนออกฤทธิ์ที่หลอดเลือดโดยตรงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ดังนั้น สารประกอบเคมีที่ยับยั้งการออกฤทธิ์ของ ACE ได้จะเกิดผลต่อการลดความดันโลหิต สารประกอบเคมีกลุ่มคาเทชินและสารสีเหลืองชาในใบชา มีผลในการยับยั้งต่อการออกฤทธิ์ของ ACE อย่างเด่นชัด เกิดผลในการลดความดันอย่างเด่นชัด ทั้งหมดนี้ โดย EGCG, ECG และอนุมูลอิสระของคาเทชินจะมีผลการยับยั้งแรงที่สุด ผ่านการศึกษาวิจัยบ่งบอกว่า TPPs มีผลต่อระบบหลอดเลือดหัวใจของสัตว์ทดลอง TPPs สามารถทำให้อัตราการไหลของน้ำกำซาบขาหลัง(Hind Leg Perfusion)ของหนูทดลองเพิ่มขึ้น อันเป็นผลในการขยายหลอดเลือด ;  TPPs ยังสามารถลดความดันโลหิตของสัตว์ ผลสะท้อนของการลดและระยะเวลาจะแปรตามสัดส่วนโดยตรงกับขนาดยา
        การศึกษาวิจัยของพวกเขายังบ่งบอกว่า TPPs ยังสามารถทำให้แรงบีบตัวของหัวใจแรงขึ้น ปริมาณเลือดที่สูบฉีดออกไปและปริมาณการไหลของเลือดในหลอดเลือดหัวใจเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดผลต้านต่อความดันปกติที่ถูกปิดแน่นที่ทำให้หนูขาดออกซิเจน ขณะเดียวกัน การศึกษาวิจัยยังค้นพบว่า ส่วนประกอบชนิดต่างๆในใบชาจะมีผลในการยับยั้ง ACE อย่างเด่นชัด โดยเฉพาะ ECG และ EGCG เป็นต้นที่เป็นคาเทชินแบบไขมันและเป็นอนุมูลอิสระสารสีเหลืองชา ECG และ EGCG เมื่ออยู่ภายใต้ภาวะความเข้มข้นต่ำ(40 mmol)สามารถที่จะยับยั้งการออกฤทธิ์ของเอนไซม์ ACE ได้อย่างหมดจด ความสามารถในการยับยั้งการออกฤทธิ์ของอนุมูลอิสระสารสีเหลืองชาจะดีกว่าคาเทชิน 2 ชนิดข้างต้น ภายใต้ภาวะความเข้มข้นต่ำ 5 mmol ก็จะสามารถสำแดงเดชได้แล้ว ความสามารถในการยับยั้งการออกฤทธิ์ของคาเทชินแบบไม่ใช่ไขมันจะด้อยกว่าคาเทชินแบบไขมัน
        ยังมีอีก สารประกอบเคมีประเภทฟลาโวนอยด์(Flavoniod)ในใบชา เช่น ฟลาวานอลส์(Flavanols) ฟลาโวนอล(Flavonol) เป็นต้นสามารถกระตุ้นชีวสังเคราะห์(Biosynthesis)ของสารเอพินเนฟรีน(Epinephrine)และแคทีโคลามีน(Catcholamine) ยับยั้งการสลายตัวทางชีวภาพ(Biodegradation)ของแคทีโคลามีน
        เพาระฉะนั้นบนระดับใหญ่มากคือการเพิ่มแรงต้านและความยืดหยุ่นในผนังหลอดเลือดฝอยของสัตว์ ลดความเปราะบางของหลอดเลือด บรรลุวัตถุประสงค์ของการลดความดันโลหิต

        ทีโพลิแซคคาไรด์(TPS) : ทีโพลิแซคคาไรด์มีผลต่อการลดความดันโลหิตและลดอัตราการเต้นของหัวใจ ในกระบวนการทดลอง นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า TPS ในปริมาณ 22.5 mg/kg ป้อนเข้าไปในลำใส้ส่วนต้น(Duodenum) ภายหลัง 30 นาทีสามารถทำให้ความดันโลหิตของหนูที่อยู่ในอาการสลบลดลง 25 mmHg(1 mmHg = 133.322 Pa) อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง 15% การศึกษาวิจัยยังบ่งบอกว่า TPS มีผลในการทนต่อภาวะการขาดออกซิเจนและเพิ่มอัตราการไหลของเลือดในหลอดเลือดหัวใจ โดยการฉีด 1 mg/ml TPS 0.4 ml เข้าไปในสายยางแล้วเข้าสู่หัวใจ สามารถทำให้ปริมาณการไหลของเลือดในหลอดเลือดหัวใจของหนูทดลองเพิ่มขึ้น 37% ปริมาณ TPS 50 mg/kg และ 100 mg/kg สามารถทำให้ระยะเวลาการมีชีวิต(ภายใต้สภาวะขาดออกซิเจน)ของหนูในสภาพปกติยืดยาวออกไปอีก 59% และ 66% นำ TPS ใช้ร่วมกันกับยาไอโซโปรเทอรินอล(Isoproterenol) ระยะการมีชีวิตของหนูจะยืดยาวออกไปอีก 31% และ 29% ดังนั้น TPS จะมีผลในระดับหนึ่งต่อการป้องกันและรักษาความดันโลหิตสูง

        ทีอะนีน(TAN) : ทีอะนีนก็มีผลในการลดความดัน ซึ่งกลไกการลดความดันโดยการผ่านระบบประสาทรอบนอกหรือระบบหลอดเลือดมาพิสูจน์ยืนยัน TAN มีผลในการลดความดันต่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีมาแต่กำเนิด ฉีดกรดกลูตามิก(Glutamic Acid) 2000 mg/kg เข้าไปในหนูที่ป่วยด้วยความดันโลหิตสูงที่มีมาแต่กำเนิด ความดันโลหิตไม่มีการเปลี่ยนแปลง ; หลังการฉีด TAN ในปริมาณที่เท่ากัน ความดันโลหิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด หลังการป้อนอาหารที่มี TAN ในปริมาณสูง(1500-3000 mg/kg)ให้แก่หนูตัวใหญ่แล้ว ความดันค่าตัวบน ความดันค่าตัวล่าง และความดันโลหิตค่าเฉลี่ยของหนูตัวใหญ่ที่ป่วยด้วยความดันโลหิตสูงโดยมนุษย์สร้างขึ้นได้ลดลงอย่างเด่นชัด แต่ว่าขนาดยาที่ทำให้เกิดผลเมื่อเทียบกับขนาดยาที่ทำให้เกิดผลของคาเทชินและทริปโตเฟน(Trytophan)แล้วต้องสูงขึ้นเป็น 10-15 เท่า

        ทีซาโปนิน(TSP) : กลไกการลดความดันของทีซาโปนิน TSP สามารถยัยยั้งการบีบตัวของหัวใจที่เกิดจากโฮร์มอนแองจิโอเท็นซิน I ที่แยกตัวจากลำใส้เล็กส่วนปลายที่เปิดเข้าสู่ลำใส้ใหญ่(Ileum)ของหนูทดลอง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับขนาดยาที่ทำให้เกิดผล ผลการยับยั้งต่อการบีบตัวของหัวใจอันเนื่องมาจากแองจิโอเท็นซิน I เป็นผลที่เล็กน้อยมาก สำหรับหนูอายุ 15 ปีที่ทำการป้อน TSP ทางปาก(100 mg/kg) เมื่อ 5d ความดันโลหิตเฉลี่ยเทียบกับกลุ่มควบคุมแล้วเพียงลดต่ำลง 29.2 mmHg

        คาเฟอีน(CFI) ทีโอฟิลลีน(TOP) : คาเฟอีนและทีโอฟิลลีนในใบชาสามารถทำให้กล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือดคลายตัว ขยายหลอดเลือด ทำให้กระแสโลหิตไหลคล่องโดยไม่มีอุปสรรค มีผลทางตรงในการลดความดัน ; ขณะเดียวกัน CFI และ TOP เป็นต้นมีผลในการช่วยขับปัสสาวะและขับโซเดียม ทำให้เกิดผลทางอ้อมในการลดความดัน ประสิทธิภาพของการขับปัสสาวะและโซเดียมของชาจะดีมาก ถ้าเปรียบเทียบกับการดื่มน้ำแล้ว จะสูงกว่าถึง 2-3 เท่า

        การศึกษาทางด้านนี้ยังมีอีกมากมาย ในที่นี้ขอไม่นำมาเป็นตัวอย่างทั้งหมด

        จากการทดลองดังกล่าวข้างต้น เอาที่สบายใจพวกเราก็สามารถได้ข้อสรุปลักษณะเช่นนี้ : สารประกอบปฐมภูมิที่อยู่ในใบชา โดยส่วนใหญ่จะมีคุณประโยชน์ทางลดความดันโลหิตสูง เมื่อขณะที่พวกเราดื่มใบชา(แทบทุกชนิดของใบชา)ล้วนสามารถบรรลุถึงผลสัมฤทธิ์ของการลดความดันโลหิต

        แต่ในสภาพการณ์จริงๆกลับไม่มีสิ่งซึ่งมองโลกในแง่ดีเช่นนี้

        สภาพการณ์ความเป็นจริงก็คือ การดื่มชาในชีวิตประจำวันของพวกเรายากที่จะเกิดผลลัพธ์ของการลดความดันโลหิตที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ นี่เป็นเพราะว่าการดื่มชาของพวกเราบนพื้นฐานใช้วิธีการชงใบชา จัดอยู่ในรูปแบบ “สกัดปนเป” คือสารชนิดต่างๆจะแยกเป็นส่วนออกมาผสมกัน จะมีปัญหาของ “ปริมาณแยกเป็นส่วน” ได้ถึงระดับของ “ขนาดยา” ตามที่ต้องการหรือไม่ ; นอกจากนี้มีอีกประเด็นหนึ่งคือ ถึงแม้จะเป็นสสารเดียว กลไกการลดความดันดำรงอยู่อย่างเด่นชัดหรือไม่ การโต้แย้งยังคงมีอยู่มาโดยตลอด โดยทีโพลิฟีนอลส์เป็นตัวอย่าง จากระดับมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียุคปัจจุบันสามารถนำทีโพลิฟีนอลส์ในใบชามาทำให้บริสุทธิ์ถึงระดับ 99% ถ้าหากมันดำรงสรรพคุณที่เด่นชัดทางลดความดันโลหิตแล้ว ทั้งหมดนี้สามารถนำมาทำเป็นยาทานสสารเดียว(หรือสารเดี่ยวโดดๆ) จัดเข้าไปอยู่ในระบบ “การรักษาโดยใช้ยา” ของความดันโลหิตสูง แต่ตราบถึงทุกวันนี้ ทีโพลิฟีนอลส์ไม่เพียงแต่ไม่ได้จัดเข้าไปอยู่ในระบบ “การรักษาโดยใช้ยา” ของความดันโลหิตสูง แม้กระทั่ง “การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา” ก็ยังหาเงาของมันไม่เจอ ปัจจุบันก็ได้แค่กำหนดให้มันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อเป็นประการฉะนี้ พวกเราสามารถประเมินผลของทีโพลิฟีนอลส์เป็นลักษณะดังนี้ : มันมีส่วนประกอบทาง “เป็นยา” ต่อการลดความดันโลหิตดำรงอยู่ แต่ไม่สามารถสำแดงสมรรถภาพทางลดความดันโลหิตได้ ฉะนั้น การทดลองจำนวนมากที่เกี่ยวโยงกับสสารเดียวของใบชา เพียงแค่ยืนยันได้ว่าในใบชามีส่วนประกอบทาง “เป็นยา” ต่อการลดความดันโลหิตสูงของร่างกายเป็นจำนวนมาก แต่ห่างไกลจากการสำแดงทาง “ฤทธิ์ยา” ยังมีอีกระยะหนึ่ง อันที่จริง ปรากฏการณ์แบบนี้ที่ดำรงอยู่ในใบชา ซึ่งรวมถึงพืชพรรณจำนวนมากด้วย พวกมันล้วนมีส่วนประกอบทาง “เป็นยา”(药用) ต่อการลดความดันโลหิต แต่เกือบทั้งหมดไม่สามารถสำแดงเดชทาง “ฤทธิ์ยา”(药性) ออกมาได้ และก็ไม่มีคุณประโยชน์ทางลดความดันโลหิตสูง นี่เป็นเพราะเหตุอะไรกันแน่ ? เหตุผลหลักก็คือส่วนประกอบทาง “เป็นยา” ของมันยังอยู่ในขั้นตอนของ “แหล่งยา”(药源) คิดที่จะให้ส่วนประกอบทาง “เป็นยา” แปรสภาพที่สามารถก่อเกิดทาง “ฤทธิ์ยา” ยังต้องผ่านขั้นตอน “การดำเนินการที่ละเอียดอ่อน” อันสลับซับซ้อน นี่ก็คือทำไมที่ผู้คนจำนวนมากล้วนมีข้อสงสัยว่า : ทำไมบรรดาใบชาทั้งหลายล้วนมีสารทีโพลิฟีนอลส์ คาเฟอีน ทีซาโปนิน ทีโพลิแซคคาไรด์ เป็นต้น และมีการทดลองทางชีววิทยาของการลดความดันโลหิตเป็นตัวอย่างประกอบ แต่เครื่องดื่มใบชากลับไม่มีสรรพคุณทางลดความดันโลหิตเล่า ?

        ทั้งหมดนี้ ชาผูเอ๋อร์อาจเป็นกรณียกเว้น

        ชาผูเอ๋อร์ผ่านวิธีการอย่างไรจึงทำให้สรรพคุณทางลดความดันโลหิตปรากฏเป็นจริงขี้นมาได้ ?

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนต้น)》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน กันยายน ปี 2016