วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ยุทธจักรชาผูเอ่อร์ในสภาวะการณ์ที่สับสนปนเป | ตอนที่ 3/6


        เทคโนโลยีการหมักในการผลิตชาสุก อยู่ภายใต้กรรมสิทธิ์ของโรงงานชาโดยรัฐตลอดมา หกขุนเขาชายี่หวู่เป็นห้างชาส่วนบุคคล ไม่มีกรรมสิทธิ์ในเทคโนโลยีนี้ ในขณะที่โรงงานชาโดยรัฐค่อยๆเจริญขึ้นมา หกขุนเขาชากลับประสบสภาวะสงครามและภัยพิบัติ ดังนั้นภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หกขุนเขาชาก็เพียงแต่ป้อนวัตถุดิบใบชาให้แก่โรงงานชาโดยรัฐ ตัวเองไม่ได้ทำการผลิตชิจื่อบิ้งแบบดั้งเดิมอีกเลย การหยุดการผลิตครั้งนี้เป็นไปอย่างต่อเนื่องเกือบครึ่งศตวรรษ

        ท้ายสุดสภาวะการณ์เช่นนี้ก็เกิดการเปลี่ยนแปลง ก็คือเมืองจีนได้เปิดประเทศ ปฏิรูปเศษฐกิจ แล้วค่อยๆเกิดการพัฒนาขึ้นหลายๆด้าน

        จุดพลิกผันของการพัฒนาต้องเริ่มต้นจากฮ่องกงคืนสู่จีน เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าฮ่องกงเป็นแหล่งเก็บชาเก่าไว้ในโกดังเป็นจำนวนมาก ช่วงก่อนและหลังปี 1997 ที่ฮ่องกงคืนสู่จีน คนฮ่องกงได้นำชาเก่ามาขายทิ้งเป็นจำนวนมาก ในช่วงเวลานั้น ผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดคือคนใต้หวัน แม้ว่าคนใต้หวันที่ซื้อชาเก่าเหล่านี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ในใต้หวันมีคนดื่มชาผูเอ่อร์ไม่มากนัก แต่พวกเขาจมูกไวมากที่สามารถได้กลิ่นคุณค่าที่ซ่อนเร้นอยู่ในชาเก่าเหล่านี้

        เมื่อแกะแผ่นชาชิจื่อบิ่ง พวกเขาพบเห็นมีฉลากอยู่ด้านใน อย่างเช่นฉลากในของถงชิ่งห้าวและกานลี่เจินซ่งพิ้นห้าว ข้อมูลบนฉลากทำให้รับทราบว่า แหล่งผลิตของชาเก่าเหล่านี้อยู่ที่ยี่หวู่และหกขุนเขาชาในอวิ๋นหนาน คนชาใต้หวันกลุ่มนี้ก็เกิดความทะยานอยากที่จะไปสำรวจถึงแหล่งผลิตที่ว่านี้ 

▲ฉลากในของแผ่นชาดิบเก่า (ซ้าย) ถงชิ่งห้าว/同慶號 (ขวา) กานลี่เจินซ่งพิ้นห้าว/乾利贞宋聘號 ; “ผลิตจากอวิ๋นหนาน เก็บไว้ในฮ่องกง โฆษณาชวนเชื่อโดยใต้หวัน”

        เมื่อพวกเขาได้เดินทางมาถึงยี่หวู่ ภาพที่ปรากฏบนเบื้องหน้าพวกเขาก็คือหมู่บ้านเล็กๆที่มีสภาพซากปรักหักพัง คนท้องที่มีชีวิตที่ลำบากยากแค้นมาก ไม่มีบ้านหลังไหนที่มีสภาพเหมือนโรงแรม พวกเขาได้นำชาเก่าถงชิ่งห้าว ถงซิ่งห้าวที่ติดตัวมาให้คนพื้นเมืองดู แต่คนพื้นเมืองไม่รู้ว่านี้เป็นชาอะไรกันแน่ 

▲ย่านถนนเก่ายี่หวู่ ถ่ายเมื่อปี 1994

        เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งที่เคยทำหน้าที่เป็นผู้ต้อนรับแขกจากใต้หวันคณะนี้ ได้รำลึกถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า “พวกเราไม่เข้าใจจริงๆ คนใต้หวันกลุ่มนี้มายังสถานที่นี้เพื่ออะไร ที่นี้ทั้งไกลทั้งจน อะไรก็ไม่มี แล้วอยู่มาวันหนึ่ง คนที่เป็นหัวหน้าคณะคนใต้หวันได้นำชาชนิดหนึ่งมาชงให้พวกเราดื่ม พร้อมกล่าวขึ้นมาว่าชานี้คือ “ถงชิ่งห้าว” ที่ทำจากที่นี้ ตัวข้ารู้สึกชานี้พิเศษเฉพาะมาก ดื่มแล้วนุ่มละมุนและหวานมาก เป็นรสชาติของชาที่ตัวเองไม่เคยดื่มมาก่อน

        หัวหน้าคณะฯท่านนี้ได้ให้พวกเราทายว่า แผ่นชาแบบนี้ข้างนอกขายได้ราคาเท่าไร ตัวข้าใจกล้าๆตอบไปว่า คงจะแผ่นละสี่ห้าร้อยหยวนกระมัง แต่ในใจนึกว่า กลัวทายราคาสูงเกินไป สุดท้ายคนถามได้เฉลยให้พวกเราทราบว่า แผ่นชาแบบนี้ที่ใต้หวันขณะนี้ขายได้ 15000 หยวน ในตอนนั้นพวกเราแทบจะไม่เชื่อหูของตนเอง”

        ขอกล่าวแบบสรุปรวบยอด สุดท้ายคนท้องถิ่นและคนใต้หวันกลุ่มนี้ได้ทำข้อตกลงกัน เป็นการเริ่มต้นของความร่วมมือ พวกเขาได้เสาะหาพบอาจารย์อาวุโส 2 ท่านที่เคยทำงานในถงชิ่งห้าว ต่อจากนั้นก็ได้สั่งทำการสลักหินเป็นบล็อกใช้ในการอัดขึ้นรูปแผ่นชา คณะชาวใต้หวันได้นำแผ่นชาเก่าของพวกเขามาเป็นแม่แบบ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ทำให้ชาผูเอ่อร์ชิจื่อบิ่งในอดีตที่อัดขึ้นรูปด้วยบล็อกหินโดยแรงคนตามกรรมวิธีแบบดั้งเดิมก็ได้หวนคืนสู่สังเวียนอีกครั้ง 

▲บล็อกหินอัดขึ้นรูปแผ่นชาโดยแรงคน

        มีกรรมวิธีในการผลิตอย่างไรบ้าง? นี่เป็นขั้นตอนต่างๆในกระบวนการผลิตชา : เด็ดเก็บใบสดจากต้นชา แล้วดำเนินการคั่วใบชาบนกระทะเหล็ก หลังการคั่วนำไปนวด นี่เป็นเชิงการปั้นขึ้นรูปใบชา ต่อจากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง เมื่อจบขั้นตอนนี้ผลิตภัณฑ์ที่ได้เรียกว่า “เหมาชาแห้ง/干毛茶” (ชาเส้นแห้ง) 

▲การเด็ด → การคั่ว → การนวด → ตากแดด → เหมาชาแห้ง

        บนพื้นฐานที่เป็นเหมาฉาแห้งนำมันไปอบไอน้ำร้อน ภายใต้ความร้อนของไอน้ำ ใบชาก็จะอ่อนตัวลง ใบชาที่อ่อนตัวจึงจะสามารถใส่ลงในถุงผ้า ใช้มือตบขึ้นรูปเบื้องต้น แล้วนำไปวางใต้บล็อกหินอัดขึ้นรูป ปล่อยทิ้งไว้ในร่มให้แห้งแล้วจึงนำไปดำเนินการหีบห่อ ก็จะออกมาเป็น “ชิจื่อบิ่ง/七子饼” 

▲อบไอน้ำ → มือตบขึ้นรูป → บล็อกหินอัดขึ้นรูป → ปล่อยแห้งในร่ม → หีบห่อเป็น "ชิจื่อบิ่ง"
   


(ติดตามต่อ...ตอนที่ 4/6)


เอกสารอ้างอิง : https://youtu.be/uTSKS6skVYU