วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ฝาปั้น

ฝาปั้น (壶盖)



     องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของปั้นจื่อซาก็คือฝาปั้น ไม่เพียงแค่มีผลในการปกป้องฝุ่นละอองและรักษาอุณหภูมิ แต่ยังเกี่ยวข้องอย่างแน่นแฟ้นต่อความสามารถในการปล่อยน้ำออก เป็นเพราะว่าบนฝาปั้นมีการเจาะรูระบายอากาศ ลักษณะเช่นนี้ทำให้อากาศสามารถเข้าไปในโพรงท้องปั้น ง่ายต่อการเทน้ำออกอย่างราบรื่น และยังเป็นการป้องกันน้ำพุ่งทะลุออกจากปากพวยเนื่องจากความดันอากาศในตัวปั้นในขณะที่ทำการปิดฝาปั้น

     ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจฝาปั้นสักนิด

     ๑. ฝาปั้นจากลักษณะทิศทางการวาง แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด :

     (1) ปั้นทรงกลมฝาทรงกลมหมุนได้รอบทิศทาง วางได้อย่างอิสระเสรี

▲ฝากลมหมุนซ้ายขวาได้อย่างอิสระเสรี [ภาพประกอบ : ปั้นผาวจุน(匏尊壶)]

     (2) ฝาปั้นลายซี่โครงวางแนวสันกลีบดอกให้ตรงกันโดยสามารถหมุนรอบปากปั้น วางได้อย่างถูกต้อง

▲ฝาลายซี่โครง [ภาพประกอบ : ปั้นพาน(潘壶)]

     (3) ฝาปั้นพิเศษเฉพาะที่ต้องวางให้ตรงจุดยึดทั้งแบบเปิดเผยหรืออำพราง วางได้เพียงทิศทางเดียวเท่านั้น

▲ฝาปั้นออกแบบจุดยึดแบบเปิดเผย [ภาพประกอบ : ปั้นฟักทอง(南瓜壶)]

     ๒. ฝาปั้นตามรูปลักษณะ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด :

     (1) ฝาเรียบ (平盖)

▲ฝาเรียบ [ภาพประกอบ : ปั้นจู่ฉู่(柱础壶)]

     (2) ฝานูน (盈盖)

▲ฝานูน [ภาพประกอบ : ปั้นเต๋อจง(德钟壶)]

     (3) ฝาเว้า (凹盖)

▲ฝาเว้า [ภาพประกอบ : ปั้นต้านเปา(蛋包壶)]

     ๓. ฝาปั้นตามรูปแบบการประกบกับตัวปั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท :

     (1) รูปแบบฝากด (压盖式) คือรูปแบบของการประกบขอบฝากดบนริมปากปั้น ซึ่งขอบฝากับริมปากปั้นจะต้องสอดคล้องกันทั้งบนล่าง ในนี้มีอยู่รูปแบบหนึ่งที่ผู้คนเรียกขานกันว่า “รูปแบบฝาเรียบ” (平盖式) ซึ่งโดยทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลางวงนอกของฝาปั้นจะใหญ่กว่าของปากปั้นเล็กน้อย ภาษาเฉพาะวงการปั้นเรียกว่า “ฟ้าเหยียบดิน” (天压地) เพื่อเหมาะแก่ความต้องการทางประโยชน์ใช้สอยและสุนทรียภาพ

▲รูปแบบฝากด : ขอบฝากดบนริมปากปั้น

▲ฝากด : ขอบฝากับริมปากปั้นสอดคล้องกัน [ภาพประกอบ : ปั้นฝางกู่(仿古壶)]

▲ฝากด “ฟ้าเหยียบดิน” : เส้นผ่าศูนย์กลางวงนอกของฝาปั้นจะใหญ่กว่าของปากปั้นเล็กน้อย [ภาพประกอบ : ปั้นสือเผียว(石瓢壶)]

     (2) รูปแบบฝาตัด (截盖式) เป็นรูปแบบฝาปั้นที่มีเฉพาะในปั้นจื่อซา คือการตัดส่วนบนโค้งมนของตัวปั้นออกบางส่วนเพื่อทำเป็นฝา ช่องโหว่ของตัวปั้นกลายเป็นปากปั้น เมื่อทำการตกแต่งเสร็จแล้วนำฝาประกบกับตัวปั้น ไม่เพียงแค่ขนาดใหญ่เล็กที่สมทรงกันแล้ว เส้นขอบนอกยังติดแนบสนิท กลายเป็นเส้นสายที่สมบูรณ์แบบ แต่เนื่องจากเทคนิคการผลิตมีความยากลำบากมาก ก็มีเพียงปั้นจื่อซาระดับกลางบนจึงจะออกแบบใช้ฝาตัด

▲รูปแบบฝาตัด : ริมขอบฝาปั้นกับริมปากปั้นหลงเหลือเป็นเส้นตะเข็บ ฝาปั้นประกอบตัวปั้นปรากฏเป็นรูปร่างเพรียวลม

 ▲ฝาตัด [ภาพประกอบ : ปั้นซีซือ(西施壶)]

▲ฝาตัด [ภาพประกอบ : ปั้นฉินเฉียน(秦权壶)]

     (3) รูปแบบฝาฝัง (嵌盖式) เป็นรูปแบบการประกบที่ขอบฝาฝังในริมปากปั้น ฝากับตัวปั้นกลมกลืนเป็นร่างเดียวกัน ภาษาเฉพาะวงการปั้นเรียกว่า “ดินหุ้มฟ้า” (地包天) แนวตะเข็บมีช่องห่างเท่ากระดาษหรือเส้นผม ถือเป็นชิ้นผลงานขั้นสุดยอด แยกแยะได้เป็น : ฝาฝังเรียบ (平嵌盖) ซึ่งผิวหน้าจะอยู่ในระนาบเดียวกันกับปากปั้น ซึ่งตัดออกจากเนื้อดินแผ่นเดียวกัน และ ฝาฝังนูน (虚嵌盖) ซึ่งผิวหน้ารูปโค้งมนหรือรูปลักษณะอื่นๆที่สูงกว่าปากปั้น

▲รูปแบบฝาฝัง : ฝาปั้นคว่ำลงโอบล้อมโดยปากปั้น ขอบฝาปั้นฝังในริมปากปั้น

▲ฝาฝังเรียบ [ภาพประกอบ : ปั้นจิ่งหลาน(井栏壶)]

▲ฝาฝังนูน

     ปั้นจื่อซาที่ดีเลิศใบหนึ่ง ฝาปั้นควรมีมาตรฐานอย่างไร?

     โดยทั่วไปปั้นจื่อซาหลังการเผาผนึกแล้ว การประกอบเข้าด้วยกันของฝากับปากควรตรงตามมาตรฐาน 4 ประการ

    แน่น () คือช่องว่างระหว่างฝากับปากจะต้องน้อยที่สุด ฝาปั้นกับปากปั้นต้องแนบสนิท
    ตรง () คือขาฝาตรงสอดใส่ลงคอปั้นได้ลึก ฝาปั้นไม่หล่นตกลงมาตอนเทน้ำชา
    พ้อง () คือฝาของปั้นทรงกลมต้องกลมอย่างมีแบบแผน ฝาเปิดได้ง่าย ปิดฝาแล้วหมุนได้อย่างอิสระเสรี ลื่นไหลโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ รอยต่อเชื่อมของขาฝากับฝาจะต้องตกแต่งอย่างปราณีต มันขลับ
    หมุน () คือฝาแบบสี่เหลี่ยมหรือลายซี่โครงต้องไม่ตายตัว ไม่ว่าจะปิดฝาในทิศทางไหนล้วนลงรอยกันได้

     ปั้นจื่อซาใบหนึ่งจะดีหรือเลวสามารถนำฝาปั้นมาจำแนกความแตกต่างได้ ฝาปั้นฟิตลงตัว สัญฐานทรงกลมบริบูรณ์ ถึงมิใช่ผลงานของศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แต่ก็เป็นปั้นที่ดีอย่างแน่นอน

     มีคำพังเพยในวงการจื่อซากล่าวว่า : ยินยอมจัดทำปั้น3ใบ ไม่ขอประกอบฝาใบเดียว (宁做三把壶 ,不配一只盖)

     จากคำพูดดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่า การประกอบฝาเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก การหดตัวและสีขลับของเนื้อดินในการเผาผนึกแต่ละครั้งยากต่อการควบคุมอย่างยิ่ง

-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----

เอกสารอ้างอิง :
1. 紫砂壶壶盖的样式,你知道几种?:   http://k.sina.cn/article_6369903978_17bad056a001001p76.html?kfrome=cul&local=&subch=0&vt=4
2. 紫砂壶有几种壶盖  :  https://kknews.cc/collect/ka4alqb.html
3. 紫砂壶,壶盖越严越好?:  https://zhuanlan.zhihu.com/p/33271782


หูจับปั้น

หูจับปั้น (壶把)



     หูจับปั้น : เป็นการติดตั้งสำหรับมือจับ ก่อเกิดจากหูจับรูปโค้งของจอกเหล้าสำริดจีนโบราณ กำเนิดจากที่จับรูปแท่งของคนโท

▲จอกเหล้าสำริดจีนโบราณ (古青铜器爵杯)

▲คนโทเคลือบขาวยุคสมัยถัง (唐白釉瓷执壶)

     หูจับปั้นโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

     1. หูข้าง (端把) หรือเรียกขานว่า “หูจับทรงกลม” (圜把) หูจับปั้นกับพวยปั้นจะสมมาตรและสมดุลกัน ตำแหน่งวางอยู่บนไหล่และใต้ช่องท้องของปั้น ความสูงอยู่ในระดับน้ำเดียวกัน(水平)กับปากพวย

▲ปั้นจื่อซาหูข้างแบบหูตั้ง (正耳式端把)

▲ปั้นจื่อซาหูข้างแบบหลบต่ำ (垂耳)

▲ปั้นจื่อซาหูข้างแบบหูโบยบิน (飞把)

     2. ด้ามข้าง (横把) เป็นด้ามจับที่วางบนตัวปั้นทำมุม90องศากับพวยปั้น เมื่อยกปั้นขึ้นเทแล้วด้ามจับจะชี้มามาที่หัวใจของคน มีความหมายในนัย “ตั้งมั่น” (执意)

▲ปั้นจื่อซาด้ามข้างแบบถังหยี่ (唐羽壶)

     3. สายหิ้ว (提梁) ติดตั้งอยู่ข้างบนตัวปั้น เป็นหูจับปั้นอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันกับพวยปั้น จุดศูนย์ถ่วงของสายหิ้วกับตัวปั้นอยู่ในแนวดิ่งเดียวกัน

▲ปั้นจื่อซาสายหิ้วแบบอ่อน (软提梁)

▲ปั้นจื่อซาสายหิ้วแบบแข็ง (硬提梁)


-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----

เอกสารอ้างอิง :
紫砂壶壶把造型大全!https://kknews.cc/collect/j868bvy.html

วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

แจกันยักษ์หลากผิวเคลือบเฉียนหลง

แจกันยักษ์หลากผิวเคลือบ




     ในพิพิธภัณฑสถานเครื่องเคลือบดินเผาพระราชวังกู้กง มีของแสดงชิ้นหนึ่งที่พิเศษเฉพาะตั้งตระหง่านตรงทางเข้า ป้ายแนะนำระบุชื่อว่า แจกันยักษ์หลากผิวเคลือบเฉียนหลงชิง(清乾隆各种釉彩大瓶) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เจ้าแม่เครื่องเคลือบ(瓷母) เป็นเพราะว่ามันเป็นเครื่องเคลือบในบรรดาเครื่องปั้นดินเผาจากเตาเผาสำนักพระราชวังเมืองจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด การเคลือบมากชนิดที่สุด กรรมวิธีการเผาผนึกสลับซับซ้อนที่สุด

▲“เจ้าแม่เครื่องเคลือบ” (瓷母) ในพิพิธภัณฑสถานเครื่องเคลือบดินเผาพระราชวังกู้กง

     “เจ้าแม่เครื่องเคลือบ” ใบนี้เผาผนึกในยุครัชศกเฉียนหลงราชวงศ์ชิง ถือเป็นชิ้นผลงานขั้นสุดยอดที่เป็นตัวแทนทางด้านเทคโนโลยีที่รวมสิ่งต่างๆเข้าด้วยกันและมีความหมายอย่างแท้จริงในประวัติศาสตร์เครื่องเคลือบดินเผาของเมืองจีน ตัวมันตั้งแต่ปากจรดก้นแจกันประดับประดาด้วยการเคลือบผิวและการระบายสีลำดับได้ถึง15ชั้น ประกอบด้วยการเคลือบชนิดต่างๆตั้งแต่ยุคสมัยซ่งถึงยุคสมัยชิงที่ดีเยี่ยมที่สุดทั้งหมด17ชนิด :

▲แจกันยักษ์ที่ประกอบด้วยการเคลือบชนิดต่างๆตั้งแต่ยุคสมัยซ่งถึงยุคสมัยชิงที่ดีเยี่ยมที่สุดทั้งหมด 17 ชนิด

     ชั้นที่ 1 : ขอบปากแจกันเป็นการเคลือบ①ฝ้าหลางไฉ่(珐琅彩) ตกแต่งด้วยลาย Rouge Purple Interlocking Treasure with Flowers(胭脂紫地缠枝宝相花) เป็นการเผาผนึกแบบ OverGlaze Color(釉上彩) ที่อุณหภูมิต่ำ
     ชั้นที่ 2 : เป็นการเคลือบ②หยางไฉ่(洋彩) ลาย Turquoise Green Lotus(松石绿地缠枝莲) เป็นการเผาผนึกแบบ OverGlaze Color(釉上彩) ที่อุณหภูมิต่ำ
     ชั้นที่ 3 : เป็นการเคลือบเลียนแบบ③เกอยิ่ว(哥釉)ยุคสมัยซ่ง เป็นการเผาผนึกแบบ Monochrome Glaze(单色釉) ที่อุณหภูมิสูง
     ชั้นที่ 4 : คอแจกันเป็นการเคลือบ⑤Blue and White Lotus(青花缠枝莲) รสนิยมเฉียนหลง เป็นการเผาผนึกแบบ UnderGlaze Color(釉下彩) ที่อุณหภูมิสูง ; หูสองข้างคอแจกันเป็นมังกรเคลือบ④ทอง(金彩) เป็นการเผาผนึกแบบ OverGlaze Color(釉上彩) ที่อุณหภูมิต่ำ

▲การเคลือบชนิดต่างๆของแจกันยักษ์ชั้นที่ 1-4

     ชั้นที่ 5 : เป็นการเคลือบ⑥Turquoise Green Glaze(松石绿釉) เป็นการเผาผนึกแบบ Color Glaze(颜色釉) ที่อุณหภูมิต่ำ
     ชั้นที่ 6 : เป็นการเคลือบเลียนแบบ⑦Kiln Glaze(窑变釉) ของเตาเผาจิน(钧窑)ยุคสมัยซ่ง เป็นการเผาผนึกแบบ Color Glaze(颜色釉) ที่อุณหภูมิสูง
     ชั้นที่ 7 : เป็นการเคลือบ⑧เต้าไฉ่(斗彩) ลาย Po Interlocking with Flowers(缠枝宝相花) เป็นการเผาผนึกผสมผสานระหว่าง UnderGlaze Color(釉下彩) ที่อุณหภูมิสูง กับ OverGlaze Color(釉上彩) ที่อุณหภูมิต่ำ
     ชั้นที่ 8 : เป็นการเคลือบ⑨Lavender Grey Glaze(粉青釉) ลายนูน Plastic Coated Flower Ball Convex(贴塑凸皮球花) เป็นการเผาผนึกแบบ Monochrome Glaze(单色釉) ที่อุณหภูมิสูง

▲การเคลือบชนิดต่างๆของแจกันยักษ์ชั้นที่ 5-8

     ชั้นที่ 9 : พื้นท้องแจกันเป็นการเคลือบ⑩Plus Gold Blue Glaze(霁藍釉加金彩) เป็นการเผาผนึกแบบ Color Glaze(颜色釉) ที่อุณหภูมิสูง; มีภาพวาด12รูปโดยเคลือบ⑪เฝินไฉ่(粉彩) เป็นการเผาผนึกแบบ OverGlaze Color(釉上彩) ที่อุณหภูมิต่ำ แบ่งออกเป็นภาพวาดเหมือนจริง6รูป และภาพวาดสัญลักษณ์มงคลจีน6รูป

▲การเคลือบพื้นบนท้องแจกันยักษ์

▲ภาพวาดเหมือนจริง 6 รูป(ซ้ายไปขวา) : Auspicious Beginning(三阳开泰) ; Auspicious Happiness in over-measure(吉庆有余) ; The Scarlet Phoenix flies towards the Sun(丹凤朝阳) ; Peace and Ceremony(太平有象) ; A Jewelled Place in Elfland’s Hills(仙山琼阁) ; Nine Ancient Large Tripod(博古九鼎)

▲ภาพวาดสัญลักษณ์มงคลจีน 6 รูป(ซ้ายไปขวา) : สวัสดิกะ() ; ค้างคาว(蝙蝠) ; หรูยี่(如意) ; ผานเชอ(蟠螭) ; หลินจือ(灵芝) ; ดอกไม้(花卉)

     ชั้นที่ 10 : เป็นการเคลือบเลียนแบบ⑫Imperial Kiln Type Glaze(官釉) ยุคสมัยซ่ง เป็นการเผาผนึกแบบ Monochrome Glaze(单色釉) ที่อุณหภูมิสูง
     ชั้นที่ 11 : เป็นการเคลือบ⑬Blue and White Lotus(青花缠枝莲) โดยเลียนแบบลายคราม(青花)ที่เป็นเอกลักษณ์ของยุครัชศกหย่งเล่อ-ซวนเต๋อราชวงศ์หมิง เป็นการเผาผนึกแบบ UnderGlaze Color(釉下彩) ที่อุณหภูมิสูง
     ชั้นที่ 12 : เป็นการเคลือบ⑭เฝินไฉ่(粉彩) ลาย Green Banana Leaf(绿地覆变形焦叶纹) เป็นการเผาผนึกแบบ OverGlaze Color(釉上彩) ที่อุณหภูมิต่ำ
     ชั้นที่ 13 : เป็นการเคลือบ⑮Plus Gold Coral Red Glaze Color Fret(珊瑚红釉加金彩回纹) เป็นการเผาผนึกแบบ Color Glaze(颜色釉) ที่อุณหภูมิต่ำ
     ชั้นที่ 14 : เป็นการเคลือบเลียนแบบ⑯Ru Glaze(汝釉) ยุคสมัยซ่ง เป็นการเผาผนึกแบบ Monochrome Glaze(单色釉) ที่อุณหภูมิสูง
     ชั้นที่ 15 : เป็นการเคลือบ⑰Plus Gold Brown Glaze Floral Scrolled(酱釉加金彩卷草纹) เป็นการเผาผนึกแบบ Color Glaze(颜色釉) ที่อุณหภูมิสูง

▲การเคลือบชนิดต่างๆของแจกันยักษ์ชั้นที่ 10-15

     การเคลือบแต่ละชนิดในวงการเครื่องเคลือบล้วนถือเป็นหัวโจกที่มีบุคลิกเฉพาะตัว ต่างมีมิติทางอารมณ์(脾气) สุนทรียเจตคติ(秉性) กาเยนทรีย์(体质) ที่แตกต่างกัน เมื่อต้องนำพวกมันมารวมกันกลายเป็นองค์รวมหนึ่งเดียว ต้องไม่ใช่เรื่องที่ทำได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าขั้นตอนใดเกิดผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ล้วนนำไปสู่ความหายนะทั้งหมด เครื่องเคลือบที่เป็นตำนานแบบนี้ คนที่คิดประดิษฐ์มัน เป็นคนที่ชอบฝันเฟื่องไปหน่อยหรือไม่

     กรรมวิธีการเผาผนึกเหล่านี้ในยุคสมัยโบราณมีความยากลำบากมาก ถ้าหากคิดที่จะทำการเผาผนึกการเคลือบชนิดต่างๆในหนึ่งเดียวให้สมบูรณ์แบบ ล้วนต้องนำชั้นเคลือบชนิดต่างๆไปเผาผนึกอย่างสมบูรณ์ สมมุติอัตราความสำเร็จของการเผาผนึกทุกชั้นเคลือบเฉลี่ยที่70% ดังนั้นอัตราความสำเร็จของการเผาผนึกแจกันยักษ์ในหนึ่งเดียวที่มีการเคลือบชนิดแตกต่างกัน17ชนิดก็คือ 70%ยกกำลัง17 ซึ่งเท่ากับ0.2326% จากมุมมองทางวิชาการความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็นเช่นนี้ในภาคปฏิบัติก็คือแทบจะไม่สามารถทำการเผาผนึกออกมาได้เลย แต่ “เจ้าแม่เครื่องเคลือบ” ใบนี้ได้ทำการเผาผนึกออกมาอย่างสมบูรณ์แล้ว

     「ปลุกชีพสมบัติแห่งชาติ สืบสานอารยธรรมจีน
     อารยธรรม5000ปี จิตวิญญาณทางสายเลือดของชนชาติจีนได้สืบสานต่อเนื่องกันมา บ่งบอกประวัติความเป็นมาของคนจีน
     อารยธรรม5000ปี โบราณวัตถุทุกชิ้นที่สร้างสรรค์ขึ้นมาล้วนคือตราประทับแห่งยุควัฒนธรรม บ่งบอกทิศทางความเป็นไปของคนจีน




-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----

เอกสารอ้างอิง :
1. [国家宝藏各种釉彩大瓶https://youtu.be/S8SgQ74sv4o
2. 故宫瓷母--乾隆各种釉彩大瓶https://kknews.cc/culture/kxxyp9v.html

ปริศนาปั้นกงชุน

ปริศนาปั้นกงชุน



   「 ประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ที่จริงแท้ จะมีความรู้สึกที่น่าเหนียมอายมาก」เป็นคำพูดของนักเขียนกวีที่มีชื่อเสียงชาวอาร์เจนตินา ฆอร์เก ลุยส์ บอร์เกส(Jorge Luis Borges)

     ความเป็นจริงมักถูกนำเข้าไปในวังวนแห่งความสับสนเสมอ การแตกกิ่งก้านสาขาที่ทำให้ผู้คนสับสนอาจโดยตั้งใจหรือโดยไม่ตั้งใจ บ้างเป็นการทำให้หลงเชื่อ บ้างเป็นการคาดเดาที่ไม่สมเหตุผลหรือเป็นการครอบงำซึ่งเป็นความคิดส่วนตัว กระทั่งเป็นคำโกหกสีขาวด้วยความหวังดี ดังคำกล่าว “เต๋าที่อธิบายได้ มิใช่เต๋าอันอมตะ” (道可道,非常道.) เมื่อข้อเท็จจริงของวัตถุที่ไม่สอดคล้องกับหลักเหตุผลได้ปรากฏต่อหน้าต่อตาพวกเรา มิใช่พวกเราจะต้องยอมรับหรือยอมจำนนด้วยการขาดความรู้

      เนื่องจากข้อเท็จจริงอันมากมายเมื่อไม่สามารถโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำและไม่สามารถเป็นไปตามกระแส สิ่งที่พวกเราต้องการคือจิตวิญญาณที่กล้าผจญกับข้อสงสัยและเสาะหาตรวจสอบองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แม้ว่ามันจะต้องแบกรับกับประสบการณ์ที่เป็นตำนานและเกียรติยศที่สูงส่ง นี่ก็เป็นความปรารถนาอย่างแรงกล้าของมวลมนุษยชาติในการเสาะแสวงหาข้อเท็จจริงและตามล่าหาความจริง บนทางเดินที่เต็มไปด้วยขวากหนามที่ต้องเดินซัดโซเซ แต่ด้วยใจที่มุ่งมั่นและความเห็นพ้องต้องกันที่ไม่โดดเดี่ยวและไม้กลัวต่อความยากลำบาก

     ปั้นกงชุนปุ่มต้นแปะก๊วย(供春树瘿壶) ที่ถูกยกย่องให้เป็นต้นตระกูลแห่งปั้นจื่อซา เมื่อถูกซื้ออย่างบังเอิญโดย ฉวู่หนานเฉียง(储南强) บุรุษผู้รักชาติแห่งเมืองหยีซิงในปี1928 ข้อสงสัยและข้อโต้แย้งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปั้นใบนี้ก็เคียงข้างกับตำนานของมันตลอดมาอย่างไม่ขาดสาย...

▲อนุสาวรีย์ ฉวู่หนานเฉียง(储南强)

     แรกเริ่มจากในปี1928 ฉวู่หนานเฉียงได้ไปพบเห็นปั้นเก่าลายปุ่มต้นไม้ใบหนึ่งที่แผงแบกะดินเมืองซูโจว เมื่อพินิจพิเคราะห์ได้สังเกตเห็นใต้หูปั้นมีอักษรจ้วน「供春」(กงชุน) และใต้ปั้นมี「大明正德八年供春」(กงชุนรัชศกเจิ้นเต๋อปี่ที่8ราชวงศ์หมิง) แกะสลักอยู่ ฉวู่หนานเฉียงเกิดความฉงนว่านี่ใช่ปั้นกงชุนที่สาบสูญนานมาแล้วหรือไม่? จึงรีบตัดสินใจซื้อปั้นเก่าใบนี้โดยไม่ลังเล

     หลังจากได้ทำการสืบประวัติที่มาที่ไปและให้ผู้เชี่ยวชาญหลายๆท่านเพื่อพิสูจน์ยืนยันปั้นเก่าลายปุ่มต้นไม้ ทำให้ฉวู่หนานเฉียงมีความเชื่อมั่นว่าปั้นเก่าใบนี้เป็นปั้นกงชุนของแท้แน่นอน ดังตามที่ โจวเกาฉี่ว์(周高起) นักวิจารณ์ด้านวงการชาและจื่อซาในปลายยุคสมัยหมิง ซึ่งเป็นคนแรกที่บันทึกถึงกงชุนว่า : กงชุน(供春) ซึ่งเป็นคนในยุครัชศกเจิ้นเต๋อเจียจิ้งราชวงศ์หมิง(明正德嘉靖·ปี1522-1566) เป็นเด็กรับใช้ของบัณฑิต หวูหยีซาน(吴颐山) ได้เรียนรู้วิธีการปั้นจากหลวงพี่ในวัดหนึ่ง ถือเป็นบุคคลแรกที่มีความกล้าริเริ่มสร้างสรรค์ในการปั้นปั้นจื่อซาโดยผิวปั้นเลียนแบบปุ่มต้นแปะก๊วยพันปี ได้รับคำชื่นชมเป็นปั้นจื่อซาที่ทรงคุณค่าทางศิลปกรรมอย่างยิ่ง จึงได้รับเกียรติเรียกขานว่า「ปั้นกงชุน」ถือเป็นปั้นจื่อซาใบแรกในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเรียก แต่เนื่องจากปั้นที่กงชุนทำขึ้นมามีจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่จะถูกลืมเลือนไปแล้วและหาชมได้ยากยิ่ง

     เนื่องจากปั้นกงชุนใบนี้ ตัวปั้นเลียนแบบปุ่มต้นแปะก๊วย แต่ฝาปั้นเป็นรูปทรงฝักทองที่สลักอักษรจ้วน「玉麟」[เป็นเพราะว่าฝาปั้นเดิมได้หายไป ถูกทดแทนด้วยฝาปั้นรูปฝักทองเมื่อปลายยุคสมัยชิงโดยช่างปั้นผู้ยิ่งใหญ่ หวางยี่หลิน(黄玉麟)] เมื่อองค์รวมของปั้นดูแล้วรู้สึกผิดฝาผิดตัว ฉวู่หนานเฉียงจึงได้ขอ ไผสือหมิน(裴石民) ช่างปั้นที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นให้ทำฝาปั้นขึ้นมาใหม่โดยให้มีลายเลียนแบบปุ่มต้นไม้ สุดท้ายก็ได้ปั้นกงชุนใบที่ปัจจุบันได้มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีนเก็บรักษาไว้ตราบจนถึงทุกวันนี้

▲ปั้นกงชุนปุ่มต้นแปะก๊วย

▲ปั้นกงชุนเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน
 
     กู้จิ่งโจว(顾景舟) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็น “ศิลปินแห่งศิลปะปั้น” ยุคสมัยใหม่ ตั้งแต่ต้นรู้สึกกังขาและปฏิเสธอย่างแน่วแน่ต่อจุดกำเนิดของปั้นกงชุนใบนี้ เขาได้ตรวจสอบพิเคราะห์ออกมาว่า ปั้นกงชุนใบนี้ไม่ว่าทางด้านคุณภาพของเนื้อดิน วิธีการผลิต ขนาดใหญ่เล็กของปั้นและด้านการเผาผนึก ล้วนไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ได้บันทึกไว้ในบันทึกประวัติศาสตร์ และเมื่อพิจารณาอัตชีวประวัติของหวางยี่หลินประกอบกันแล้ว ก่อนตายจากไปเขาได้ยืนยันกับลูกศิษย์โดยชี้ชัดว่า “ปั้นกงชุนไม่ได้ผลิตโดยกงชุน แต่เป็นผลงานของหวางยี่หลิน

▲กู้จิ่งโจว (顾景舟)---ปรมาจารย์แห่งปั้นจื่อซา

     พานฉือผิง(潘持平) นักศิลปะเครื่องปั้นดินเผาและผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบรับรองจื่อซา โดยเป็นลูกศิษย์ของกู้จิ่งโจว ได้ข้อพิสูจน์ที่สืบเนื่องต่อจากความคิดเบื้องต้นของอาจารย์ :
     1. ปั้นใบนี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะ เด็กที่มีสถานะเป็นคนรับใช้บัณฑิตและก็เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ประดิษฐ์ปั้นจื่อซา เป็นไปไม่ได้ที่จะเพียบพร้อมด้วยมาตรฐานระดับนี้ ; 2. คุณภาพเนื้อดินของปั้นละเอียดมากเกินไป นี่ก็เพราะเทคโนโลยีการบดเนื้อดินให้ละเอียดในยุคสมัยหมิงยังไม่สามารถถึงขั้นนี้ได้ ; 3. ชื่อจารึกบนปั้นนี้เป็นตัวอักษรจ้วน(篆书) ซึ่งไม่เคยพบเห็นในปั้นจื่อซาทั้งหมดของยุคสมัยหมิง ; 4. เนื้อดินของปั้นใบนี้น่าจะเป็นต้วนหนีที่มีสีน้ำตาลเหลือง เนื้อดินชนิดนี้ไม่พบเห็นมีการใช้ในปั้นจื่อซายุคสมัยหมิง เป็นเนื้อดินที่เพิ่งปรากฏหลังยุคสมัยชิง
     ประกอบกันกับการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างหวางยี่หลินกับตระกูลหวู(吴家 : ตระกูลที่เคยเก็บรักษาปั้นใบนี้) พานฉือผิงก็เชื่อว่า “ปั้นกงชุนใบนี้ที่แท้เป็นของทำเลียนแบบของหวางยี่หลิน

     ซ่งบั๋วยิ้น(宋伯胤) รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานหนานจิน ในสถานะที่ทำงานด้านพิพิธภัณฑสถานมา60ปี ได้ทำการศึกษาวิจัยเชิงลึกด้านเครื่องเคลือบดินเผาโบราณและเครื่องปั้นจื่อซา ได้เสนอแนวคิดเชิงวิชาการโดยเป็นคนชี้ชัดครั้งแรกว่า “กงชุนไม่ใช่คนริเริ่มประดิษฐ์ปั้นจื่อซา” ซึ่งภายหลังจากทางโบราณคดีและบันทึกประวัติศาสตร์ได้ทำการขุดพบปั้นจื่อซาซึ่งเป็นหลักฐานที่พิสูจน์ยืนยันประวัติศาสตร์อันแท้จริงว่า “จุดกำเนิดของปั้นจื่อซาไม่ใช่เริ่มต้นจากกงชุน

▲ซ่งบั๋วยิ้น (宋伯胤)

▲ปั้นจื่อซาที่ขุดพบครั้งแรกทางโบราณคดี---ปี1965 พิพิธภัณฑสถานหนานจินได้ทำการขุดหลุมฝังศพของ หวูจิง(吴经) ซึ่งเป็นขันทีในยุคสมัยหมิง ถูกฝังเมื่อรัชศกเจียจิ้งปีที่12(ปี ค.ศ.1533) ได้ขุดพบปั้นจื่อซาใบนี้ นั่นแสดงว่าปั้นใบนี้อยู่ในยุคสมัยเดียวกันและอายุใกล้เคียงกันกับปั้นกงชุน(ตามตำนาน) ถือเป็นปั้นชาจื่อซาหยีซิงยุคแรกของเมืองจีนเพียงใบเดียวที่สามารถตรวจสอบจากบันทึกเหตุการณ์ในอดีตได้ เพียงแต่ไม่ทราบชื่อคนทำ

     สวีอ๋าวรุ่น(徐鳌润) นักประวัติศาสตร์วรรณคดีชาวใต้หวัน บั้นปลายชีวิตได้มุ่งเน้นศึกษาวิจัยวัฒนธรรมจื่อซา บนพื้นฐานจากการศึกษาวิจัยต้นฉบับบันทึกประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและรวบรวมความคิดเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ ได้นำเสนอข้อโต้แย้งที่สะท้านโลกว่า “เด็กรับใช้ของบัณฑิตหวูหยีซานมีนามว่า จูชาง(朱昌) มิใช่กงชุน กงชุนที่แท้เป็นรูปแบบปั้นไม่ใช่ชื่อคน” ถือเป็นอีกหนึ่งเสียงที่มีนัยการล้มล้างมากที่สุดต่อข้อสงสัยความเป็นมาของปั้นกงชุน

▲หนังสือรวบรวมวิทยานิพนธ์เรื่องเครื่องปั้นจื่อซาของ สวีอ๋าวรุ่น (徐鳌润)

     วิถีทางตามล่าหาความจริงยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ข้อโต้แย้งที่เกี่ยวข้องกับกงชุนก็ยังไม่สิ้นสุด ตามวัตถุประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน พวกเรายังไม่สามารถให้ข้อสรุปที่เด่นชัดได้ ดังนั้นตำนานที่เกี่ยวข้องกับมันก็ยังจะสืบเนื่องต่อๆกันมา สิ่งที่เคียงข้างกับมันก็ยังเป็นปริศนาที่ลี้ลับซับซ้อน ความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการที่จะไขรหัสปริศนานี้ การตามล่าหาความจริงทางประวัติศาสตร์เป็นความมุ่งมั่นของคนจื่อซายุคต่อมาที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

     แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าบุคคลที่ชื่อกงชุนจะมีตัวตนจริงหรือไม่ หรือปั้นกงชุนจะทำโดยกงชุนตามตำนานหรือไม่ สิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับมันได้กลายเป็นประวัติศาสตร์แห่งสีสันตำนานตอนหนึ่งที่ถูกไว้วางใจให้บันทึกลงในหน้าประวัติศาสตร์แล้ว กล่าวจากความหมายบางแง่ จริงเท็จของกงชุนดูเหมือนว่าไม่มีความสำคัญแล้ว เนื่องจากมันได้กลายเป็นหลักฐานชนิดหนึ่ง สัญลักษณ์วัฒนธรรมหนึ่งของจุดตั้งต้นทางวัฒนธรรมจื่อซาของเมืองจีนไปแล้ว ถูกพวกเราสืบสานต่อเนื่องกันมา ถูกพวกเรากล่าวสรรเสริญเยินยอตลอดมา

-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----

เอกสารอ้างอิง :
1. 国宝档案|悬疑百年的紫砂传奇:供春(一)https://kknews.cc/collect/krbyx68.html
2. 国宝档案|悬疑百年的紫砂传奇:供春(二)https://kknews.cc/culture/l2qjj4b.html
3. 紫砂壶之最,令人叹为观止!https://kknews.cc/collect/655ol4v.html