一次迟到的论证 (二)
ตั้งแต่โบราณกาลเป็นต้นมา ทั่วโลกยอมรับว่าการกำเนิดใบชาอยู่ที่เมืองจีน ใบชาชงดื่ม พันธุ์ชานานาชนิด เทคนิคการเพาะปลูก กรรมวิธีการผลิต วิธีการชงดื่ม ธรรมเนีนมปฏิบัติเรื่องชา เป็นต้นที่ประเทศต่างๆทั่วโลกได้เริ่มต้นขึ้น ล้วนเผยแพร่ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมมาจากเมืองจีน เมืองจีนไม่เพียงแค่คือถิ่นกำเนิดของชา ยังได้รับการยกย่องให้เป็น “มาตุภูมิแห่งชา” แน่นอน หลักฐานที่สำคัญที่สุดที่จะสนับสนุนมุมมองด้านนี้ นั่นก็คือแหล่งต้นกำเนิดของต้นชาอยู่ที่เมืองจีน
แต่ทว่า ในปี 1824 ข้อสรุปนี้ได้ถูกพิพากษาว่าผิด เป็นเพราะว่านาวาตรี R. Bruce ชาวอังกฤษประจำการอยู่ที่อินเดียได้ค้นพบต้นชาพันธุ์ป่าที่พื้นที่ Sadiya รัฐอัสสัมของอินเดีย ต่อจากนั้นในปี 1838 ได้ทำการเผยแพร่จุลสารที่เขาเป็นคนเขียนเอง โดยแจกแจงว่าเขาได้ค้นพบต้นชาพันธุ์ป่าบนหลายพื้นที่ในรัฐอัสสัมของอินเดีย บรรดาต้นชาพันธุ์ป่าเหล่านี้มีอยู่ต้นหนึ่งที่ค้นพบใน Sadiya มีความสูงของต้น 43 ฟุต เส้นรอบวง 3 ฟุต ตั้งแต่บัดนั้น Bruce ได้ทำการตัดสินว่า อินเดียจึงเป็นแหล่งต้นกำเนิดของต้นชา ในปี 1877 ชาวอังกฤษ S. Baidond ผู้เดินตามหลัง R. Bruce อย่างกระชั้นชิด ได้เผยแพร่《ใบชาแห่งอัสสัม(阿萨姆之茶叶)》ทำให้มุมมองนี้เกิดการโต้แย้งขึ้น ต่อจากนั้นผู้เชี่ยวชาญบางส่วนผู้ซึ่งพูดแล้วมีน้ำหนัก อย่างเช่นนักวิชาการชาวอังกฤษ J.H. Blake (1903), E.A. Blown (1912), A. Ibbetson, Lindley และชาวญี่ปุ่น Shigeru Katou เป็นต้นซึ่งเป็นกลุ่มที่ผลักดันมุมมองนี้อย่างสุดขั้ว พวกเขาไม่เพียงแต่ถือว่าอินเดียคือแหล่งต้นกำเนิดของต้นชา กระทั่งยังเชื่อว่าชาพันธุ์ใบเล็กและพันธุ์ใบกลางในเจ้อเจียงและฝูเจี๋ยนของจีนล้วนผ่านวิวัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาจากพันธุ์อินเดียแล้วกลายเป็นชาพันธุ์ต้นเตี้ยอย่างเช่นปัจจุบันนี้
มุมมองเช่นนี้ทำให้เกิดเสียงสะท้อนอย่างใหญ่หลวงจากสังคมนานาชาติในช่วงเวลานั้น และเป็นที่ยอมรับจากนักวิชาการด้านชาจำนวนมาก สิ่งที่ต้องบ่งบอกให้ชัดเจนคือ เหล่านักวิชาการที่เข้าร่วมการโต้เถียงทั้งหมดล้วนเป็นชาวต่างชาติ เมืองจีนในช่วงเวลานั้น แม้ว่าปริมาณการผลิตใบชาเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่ทั่วโลกยอมรับดำรงอยู่ และในวงการวิชาการนานาชาติก็ไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไร อันที่จริงการโต้แย้งครั้งนี้เกิดขึ้นภายนอกประเทศ เมืองจีนแม้ว่าเป็นจุดหนึ่งของการโต้เถียง แต่ก็ถูกแยกออกมาอยู่วงนอกของการโต้แย้ง ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงการโต้แย้งครั้งนี้
มีข้อเท็จจริงหนึ่งที่เป็นรูปธรรมที่พวกเราเพิ่งรับทราบในทุกวันนี้ นั่นก็คือการโต้แย้งเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน ไม่มีบุคคลใดกล่าวได้กล่าวถึงหยินหนานของเมืองจีน หยินหนานในช่วงเวลานั้นอยู่ในสถานะระบบปิด ต้นชาโบราณพันธุ์ป่าจำนวนมากที่ดำรงอยู่ในพื้นที่ต่างๆซึ่งไม่เป็นที่รับรู้ของภายนอก ในช่วงเวลานั้นเขตผลิตชาเจียงเจ้อ(เจียงซูและเจ้อเจียง) กว่างตงและฝูเจี๋ยนล้วนเป็นต้นชาเตี้ยเล็กพันธุ์ใบกลางและพันธุ์ใบเล็ก ดังนั้น การค้นพบต้นชาพันธุ์ป่าในอินเดียอย่างปัจจุบันทันด่วน ซ้ำยังเป็นต้นชาไม้ใหญ่ แน่นอนย่อมดึงดูดความสนใจจากสังคมนานาประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านชา นักพฤกษศาตร์จึงยิ่งโน้มเอียงไปทางหลักฐานทางวัตถุนี้ โน้มเอียงไปทางต้นชาพันธุ์ป่าปรากฏอยู่ที่แห่งใด แห่งนั้นก็ย่อมมีความเป็นได้คือแหล่งต้นกำเนิดของต้นชา
สงครามการโต้แย้งสนามนี้เกิดจุดเปลี่ยนในทศวรรษที่ 80 ศตวรรษที่แล้ว
คู่ขนานไปกับการเข้าสู่ยุคปฏิรูปแบบเปิดของเมืองจีน หยินหนานของเมืองจีนได้ดำรงไว้ซึ่งเป็นราชาแห่งพรรณพืช(植物王国)เริ่มเป็นที่รับรู้ของทั่วโลก ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ทำการสำรวจพรรณพืชอันหลากหลายก็ได้ค้นพบต้นชาโบราณพันธุ์ป่าดำรงอยู่
แต่ทว่า การค้นพบต้นชาไม้ใหญ่พันธุ์ป่าในหยินหนานไม่ได้นำมาซึ่งความปิติยินดีและตื่นเต้นให้แก่วงการวิชาการชาของเมืองจีน กลับกลายเป็นการนำไปสู่การอภิปราย “ทฤษฎี 2 แหล่งกำเนิด” ก็คือแหล่งต้นกำเนิดของต้นชาดำรงไว้ซึ่ง 2 เขตพื้นที่ : หนึ่งคืออัสสัมของอินเดีย อีกหนึ่งคือหยินหนานของเมืองจีน ซึ่งเหตุผลก็คือทั้งสองเขตพื้นที่นี้ค้นพบต้นชาพันธุ์ป่า
แต่ในวงการวิทยาสาตร์ โดยเฉพาะบรรดานักพฤกษศาสตร์ยุคใหม่เริ่มที่มีข้อสงสัยต่อสมมุติฐานนี้
พวกเขาเชื่อว่าถ้าเพียงการปรากฏของต้นชาพันธุ์ป่าก็ถือเป็นแหล่งต้นกำเนิด เป็นการขาดซึ่งหลักฐานทางวิทยาสาสตร์ พวกเขาเสนอว่า วิวัฒนาการของพรรณพืชที่ทานได้จำนวนมากมีรูปแบบที่ร่วมกัน : ประวัติการสืบทอดต่อเนื่องของพรรณพืชที่ทานได้เกือบทั้งหมด(รวมดอก ผล แกน เปลือกของพืชพรรณ)ล้วนต้องผ่าน 3 กระบวนการ วิวัฒนาการจากแบบพันธุ์ป่า(野生型)ไปทางแบบเปลี่ยนผ่าน(过渡型) แล้วผ่านการเปลี่ยนแปลงจากแบบเปลี่ยนผ่านไปทางแบบเพาะปลูกโดยมนุษย์(人工栽培型) เนื่องจากภายในของต้นชาแบบพันธุ์ป่าและต้นชาแบบเพาะปลูกไม่มีความเชื่อมโยงของสัณฐานทางวิวัฒนาการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และโครโมโซมของเซลล์ก็มีความแตกต่างกัน เนื่องจากใบของต้นชาพันธุ์ป่าไม่สามารถผลิตเป็นใบชา ไม่ถือเป็นพืชทางเศรษฐกิจได้ แต่ต้นชาแบบเพาะปลูกถือเป็นพืชทางเศรษฐกิจ ใบและผลของมันหลังผ่านกรรมวิธีการผลิตแล้วสามารถทาน(ดื่ม)ได้ ดังนั้น เพียงแค่ยึดต้นชาพันธุ์ป่าเป็นสัญลักษณ์ของแหล่งต้นกำเนิดต้นชาแล้ว ยังดำรงไว้ซึ่งหลักฐานที่ไม่ครบถ้วน หลักฐานที่สามารถรับรองว่าเขตพื้นที่ใดเป็นแหล่งต้นกำเนิดของต้นชาจะต้องเป็นสายโซ่ของหลักฐานทางวัตถุที่สมบูรณ์ ซึ่งก็คือต้นชาโบราณพันธุ์ป่า ต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่าน ต้นชาแบบเพาะปลูก ซึ่งหลักฐานทางวัตถุ 3 อย่างนี้จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
การเสนอมุมมองเช่นนี้ของวงการวิทยาศาสตร์ ไม่เฉพาะทำให้การโต้เถียงอย่างอึกทึกถึงแหล่งต้นกำเนิดของต้นชาที่ดำเนินมาเป็นเวลาร้อยปีตกเข้าไปสู่ความเงียบสงบ ขณะเดียวกัน เหล่าบรรดานักประวัติศาสตร์ใบชายังค้นพบว่า ไม่ว่าที่เมืองจีนหรือที่อินเดียล้วนมีเพียงต้นชาพันธุ์ป่าและต้นชาแบบเพาะปลูก ต่างก็ยังขาดหลักฐานทางวัตถุที่สำคัญอย่างหนึ่ง : ต้นชาแบบเปลี่ยนผ่าน
ดังนั้น เหล่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญที่อยู่แวดล้อมต้นชาไม้ใหญ่ปังหวายต้นนั้นซึ่งอยู่ในบริเวณบนทุ่งนาของคุณเว่ยจ้วงเหอ ก็เพื่อที่จะมากระทำการพิสูจน์ต้นชาไม้ใหญ่ต้นนี้คือต้นชาโบราณแบบพันธุ์ป่า หรือเป็นแบบเปลี่ยนผ่าน หรือเป็นแบบเพาะปลูก ?
การประชุมเพื่อกระทำการพิสูจน์ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ถึง 14 ตุลาคม 1992
การประชุมเรียกขานกันว่า : การประชุมการสำรวจกระทำการพิสูจน์ต้นชาไม้ใหญ่ปังหวายหลานชาง
สถานที่ประชุม : เขตปกครองตนเองของชนเผ่าลาหู้หลานชางหยินหนานของเมืองจีน
ผลสรุปของการประชุมกระทำการพิสูจน์ (ที่ถูกต้องควรถือเป็นความคิดเห็นของคณะผู้เชี่ยวชาญ) คือ :
ต้นชาไม้ใหญ่ในหมู่บ้านปังหวาย รูปลักษณะของดอกและผลมีเอกลักษณ์ของต้นชาพันธุ์ป่าที่เด่นชัด ส่วนเอกลักษณ์ทางยอด ใบ กิ่งก้าน ก็เหมือนกับต้นชาแบบเพาะปลูก ซึ่งเป็นตัวอย่างของต้นชาแบบเปลี่ยนผ่านที่อยู่ระหว่างแบบพันธุ์ป่าและแบบเพาะปลูก และมันก็เป็นต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่านต้นแรกที่ถูกค้นพบในประวัติศาสตร์ใบชาของโลก
........ยังมีต่อ........
แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า》ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย