ปากปั้นหรือเรียกว่า “พวยปั้น” (壶流) ออกแบบมาเพื่อการรินน้ำชา พวยของปั้นจื่อซาจากมุมมองด้านการใช้ประโยชน์คือเพื่อให้พวยน้ำพุ่งไหลคล่อง จากมุมมองด้านศิลปะคือเพื่อความสวยงาม แต่บางครั้งที่การออกแบบเพื่อความสวยงามของปั้นแล้วก็มาขัดกันกับความสามารถในการไหลของพวยน้ำ
๑. การเชื่อมต่อพวยกับตัวปั้น จำแนกออกได้ 2 รูปแบบ :
(1) การเชื่อมต่อแบบเปิด (明接) รอยต่อของพวยกับตัวปั้นเห็นได้ชัดเจน เป็นรูปแบบโครงสร้าง Intersecting Line (相贯线)
▲พวยเชื่อมต่อกับตัวปั้นแบบเปิด [《ซินจู๋》ของทังเซวียนอู่(汤宣武《歆竹》)]
(2) การเชื่อมต่อแบบลับ (暗接) รอยต่อของพวยกับตัวปั้นไม่เด่นชัด รวมตัวกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นรูปแบบโครงสร้าง Transition Line (过渡线)
▲พวยเชื่อมต่อกับตัวปั้นแบบลับ [《สือเผียว》ของเฉินหย่งเลี่ยง(陈永亮《石瓢》)]
๒. รูปลักษณ์ของริมฝีปากปั้น : ริมฝีปากเรียบ (平口嘴) ริมฝีปากงุ้ม (包口嘴) ริมฝีปากลิ้น (舌口嘴)
▲ริมฝีปากเรียบ [《เต๋อยี่》ของเฉินหลิ่วหลิ่ว(陈柳柳《德意》)]
▲ริมฝีปากงุ้ม [《เม็ดบัว》ของสวีเส้าฟง(徐少锋《莲子》)]
▲ริมฝีปากลิ้น [《หกเหลี่ยมแตกกลีบ》ของหยางจวินป่าว(杨军保《六方抽角》)]
๓. รูปแบบของพวยปั้น แยกออกได้ 5 รูปทรง :
(1) พวยตรง (直嘴) : รูปทรงเรียบง่าย พวยน้ำพุ่งไหลออกอย่างมีพลัง การเชื่อมต่อมีทั้งแบบเปิดและแบบลับ
▲พวยตรง [《ฉืนหลง》ของซ่าวซุ่นเซิน(邵顺生《螭龙》)]
(2) พวยโค้งเดียว (一弯嘴) : รูปร่างเหมือนจงอยปากนก จึงเรียกขานกันว่า “ปากจงอย” การเชื่อมต่อของพวยรูปแบบนี้เป็นแบบลับ
▲พวยโค้งเดียว [《ชิงหยิ่ง》ของเสิ่นฉ่ายเอ๋อ(沈彩娥《清影》)]
(3) พวย2โค้ง (二弯嘴) : ฐานของพวยที่ติดกับตัวปั้นจะใหญ่ น้ำออกจากพวยรูปแบบนี้จะลื่นไหล การเชื่อมต่อมีทั้งแบบเปิดและแบบลับ
▲พวย2โค้ง [《ห้านฟางฝูโซ่ว》ของพานกั๋วเซิ่น(潘国胜《汉方福寿》)]
(4) พวย3โค้ง (三弯嘴) : ส่วนใหญ่ปรากฏร่างอยู่บนเครื่องใช้ยุคต้น ได้แรงบันดาลใจจากปั้นทองแดงดีบุก การเชื่อมต่อส่วนใหญ่เป็นแบบเปิด
▲พวย3โค้ง [《วีรบุรุษ》ของสื่ออ้ายหมิน(史爱民《英雄》)]
(5) ปากเป็ด (鸭嘴) : ได้แรงบันดาลใจจากแก้วนม ส่วนใหญ่ใช้ในปั้นหมวกพระ(僧帽壶) กากาแฟ
▲ปากเป็ด [《หมวกพระ》ของซ่าวย่าฟาง(邵亚芳《僧帽》)]
จะตัดสินอย่างไรว่าพวยน้ำพุ่งไหลคล่องหรือไม่ ?
น้ำจะไหลออกจากพวยอย่างง่ายดายหรือไม่ ไม่เพียงบ่งชี้ถึงอัตราการไหลของน้ำ ยังรวมถึงความเร็วของพวยน้ำ ความเร็วของพวยน้ำสูง ระยะการพุ่งไหลของน้ำจะได้ไกลกว่า
▲พวยของปั้นจื่อซาที่ดีพวยน้ำพุ่งไหลคล่อง ไหลหมดจดไม่เกิดหยดน้ำ น้ำพุ่งออกเป็นลำเส้นโค้งอย่างมีพลัง
1. ระยะจากริมปากพวยถึงขอบปากปั้นยิ่งห่าง ความเร็วของพวยน้ำก็จะยิ่งสูง มิใช่ว่าพวย3โค้งจะมีพวยน้ำพุ่งไหลออกด้อยกว่าพวยตรง
▲ระยะห่างจากริมปากพวยถึงขอบปากปั้นยิ่งมาก ความเร็วของพวยน้ำยิ่งสูง
2. ฐานของพวยควรออกแบบอยู่บนขอบนอกสุดของทรวดทรงตัวปั้น ซึ่งก็คือตำแหน่งที่เส้นตั้งฉากสีแดงสัมผัสกับเส้นขอบนอกสุดของตัวปั้น
▲ฐานของพวยควรเชื่อมต่ออยู่บนขอบนอกสุดของทรวดทรงตัวปั้น
-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..---
เอกสารอ้างอิง :
1. 紫砂壶的“明接”和“暗接”: http://m.96hq.com/xinwen/a/20171009/20972.html
2. 你知道紫砂壶壶嘴(壶流)共有几种造型么?: https://kknews.cc/collect/x58q5aq.html
3. 紫砂小壶嘴大乾坤 : https://kknews.cc/collect/lxkmz5b.html