วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ? (5)

ตอนที่ 5 : ข้อพิสูจน์ที่ 2 ใน “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ของชาผูเอ๋อร์ : อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช (ตอนจบ)
普洱茶 “功能性食品” 论据之一 : 药食同源型医用食品 (完)



        ยังมีผู้คนอีกจำนวนมาก นักวิชาการบางส่วนที่เพียงให้ความสนใจสารบางชนิดในใบชา แล้วกล่าวสรุปโดยรวม กล่าวเกินจริงอย่างไม่ลืมหูลืมตา ผู้คนจำนวนมากเมื่อเอ่ยถึงชาแล้ว จะต้องเป็นสารทีโพลิฟีนอลส์มีปริมาณที่เป็นองค์ประกอบอยู่เท่าไร เชื่อแน่ว่าชาที่มีทีโพลิฟีนอลส์เป็นองค์ประกอบในปริมาณมากจึงจะเป็นชาดี ผู้เชี่ยวชาญในวงการชาจำนวนมากก็เพราะอันเนื่องจากความรู้แบบนี้ จึงเชื่อว่าชาผูเอ๋อร์ไม่ว่าจะเป็นชาสุกจากการหมักประดิษฐ์ หรือเป็นชาเก่าผูเอ๋อร์ซึ่งมีปริมาณของทีโพลิฟีนอลส์ล้วนต่ำกว่าชาเขียวและชาอูหลง คุณภาพจึงไม่สามารถเทียบเท่ากับชาเขียวและชาอูหลง นี่ก็เป็นการบ่งชี้ถึงอีกหนึ่งความเข้าใจผิด กล่าวได้ว่า ทีโพลิฟีนอลส์เป็นสารประกอบพื้นฐานที่ชาทุกประเภทจะต้องมี แต่ไม่ใช่มาตรฐานเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของใบชา มีผู้คนจำนวนมากนำทีโพลิฟีนอลส์จัดเป็นสาร “เทวดา”(神化) กล่าวว่ามัน ไม่เพียงเฉพาะสามารถกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกายมนุษย์แล้ว ยังสามารถรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดหัวใจ ต่อต้านมะเร็ง ฯลฯ นี่ก็เป็นเพราะริเริ่มจาก “รายงานผลการวิจัย” เกี่ยวกับทีโพลิฟีนอลส์ในวงการชาเขียวตั้งแต่ทศวรรษที่ 80 ศตวรรษที่แล้ว ตราบจนถึงทศวรรษที่ 90 ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะเทิดทูนทีโพลิฟีนอลส์เป็น “ยาหม้อ”(良药) ที่สามารถรักษาสารพัดโรคได้ และโดยการใช้สิ่งนี้มาผูกมัดกับชาเขียว แล้วประโคมข่าวว่าชาเขียวมีสรรพคุณในการป้องกันและรักษาหลายสิบโรคได้

        แต่คำกล่าวเหล่านี้ภายหลังได้ถูกองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่นานาชาติ---ไม่รับรอง อย่างเช่นองค์การอาหารและยา(Food and Drug Administration : FDA)แห่งสหรัฐอเมริกาได้มีการประกาศบนเว็บเพจหน้าแรกเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2006 ว่า : "FDA ได้ข้อสรุปโดยเชื่อได้ว่าไม่มีหลักฐานอันน่าเชื่อถือเพื่อสนับสนุนว่าชาเขียวหรือสารที่สกัดจากชาเขียวสามารถลดความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหัวใจได้" และได้กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการประเมิน 105 บทความและสิ่งตีพิมพ์อื่นๆที่นำมาเสนอ ยังไม่พบหลักฐานที่สนับสนุนการดื่มชาเขียวสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้เช่นกัน สิ่งที่มีความหมายอย่างยิ่งก็คือ ซึ่งก่อนหน้านี้ FDA ได้เคยประกาศแล้วว่า ชาเขียวไม่อาจที่จะเป็นไปได้ที่จะลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งชนิดอื่นๆได้ ซึ่งก็คือเป็นการปฏิเสธโดยตรงต่อการนำเสนอต่างๆนานาทางการต่อต้านมะเร็งของชาเขียว



        บางที พวกเราไม่จำเป็นต้องไปหลงเชื่อข้อสรุปของ FDA แห่งสหรัฐอเมริกา กระทั่งก็ไม่ต้องให้ความสนใจต่อองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ของนานาชาติ แต่ทว่า ตราบจนถึงทุกวันนี้ พวกเราก็ยังไม่พบเห็นบทความเชิงหักล้างมาท้าทายกับข้อสรุปลักษณะแบบนี้ มีข้อเท็จจริงหนึ่ง ที่พวกเราจำต้องเข้าใจให้ถูกต้องก็คือ เมื่อหลังจากสารทีโพลิฟีนอลส์ได้เข้าสู่ร่างกายแล้ว โดยเฉพาะเข้าสู่ที่ลำใส้แล้ว จะมีผลกระทบต่อจุลินทรีย์ประจำพื้นที่และระบบเมตาโบลิซึมของร่างกาย แม้ว่าตราบจนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ปัจจุบันทางนานาชาติได้จัดทีโพลิฟีนอลส์เป็นเพียงสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสารปรุงแต่งอาหาร ไม่ถือเป็นสารทางโภชนาหารเข้มข้นสูง ยิ่งไม่ถือเป็นวัตถุดิบยาในสารบัญยา คุณค่าของทีโพลิฟีนอลส์นอกจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติแล้ว สิ่งที่เป็นคุณค่ามากกว่าก็คือสารประกอบทุติยภูมิที่เกิดจากหมักภายหลัง

        พูดอีกนัยหนึ่ง ทีโพลิฟีนอลส์และสารประกอบเชิงสารัตถประโยชน์อื่นๆและสารประกอบทางโภชนาการภายใต้การเตรียมการ(กรรมวิธี)ก่อนหน้านี้ ในท่ามกลางเงื่อนไขการมีส่วนร่วมของจุลินทรีย์และเอนไซม์ชนิดต่างๆ แปรสภาพเป็นสารที่เพียบพร้อมด้วยคุณค่าของคุณสมบัติทางยา จึงเป็นการบรรลุความเป็นไปได้ของ “อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช¹

        เพราะฉะนั้น การแปรเปลี่ยนทางชีวภาพของสารที่มีความเป็นฤทธิ์ในพืชจากธรรมชาติ คือแก่นแท้ของชาผูเอ๋อร์ที่เพียบพร้อมทาง “อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช” ดำรงอยู่ ถ้าหากปราศจาก "การแปรเปลี่ยนทางชีวภาพ" หรือไม่เพียบพร้อมด้วยเงื่อนไขของ "การแปรเปลี่ยนทางชีวภาพ" แล้ว ก็แค่เป็นแนวความคิดที่ปั่นขึ้นมา หรือเป็นการ "จับจันทร์ใต้น้ำ" ที่ไม่มีความหมายแท้จริงอันใด

        ปัจจัยสำคัญหลายอย่างที่ต้องการของการแปรเปลี่ยนทางชีวภาพของสารที่มีคุณสมบัติทางยาในพืชจากธรรมชาติ ชาผูเอ๋อร์ล้วนเพียบพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งใบชาไม้ต้นพันธุ์ใหญ่ของหยินหนานโดยตัวมันเองก็เป็นพรรณพืชจากธรรมชาติ และพรรณพืชจากธรรมชาติชนิดนี้ในตัวมันเองก็ประกอบด้วยสารที่มีคุณสมบัติทางยา ประกอบกับจุลินทรีย์ที่มีเฉพาะและเอนไซม์ชีวภาพกับกรรมวิธีการเตรียมการภายใต้สภาวะที่ไม่ใช่อุณหภูมิสูง ทำให้สารที่มีคุณสมบัติทางยาที่อยู่ในพรรณพืชเหล่านี้ภายใต้การหมักในสถานะของแข็งเกิดการแปรสภาพที่สุดยอด ปรากฏสารประกอบที่มีคุณสมบัติทางยาเชิงเล็งเป้า(针对性)มากยิ่งขึ้น(ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์นิยมใช้คำว่า “เป้าหมาย”(靶向)) ก่อให้เกิดกลไกทางเภสัชวิทยาที่มีสารัตถประโยชน์มากมาย

........จบบริบูรณ์........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ?》ตอนที่ 5---เขียนโดย เฉินเจี๋ย