วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ยุทธจักรชาผูเอ่อร์ในสภาวะการณ์ที่สับสนปนเป | ตอนที่ 4/6


        ในช่วงเวลาเดียวกัน เรื่องราวแบบนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ยี่หวู่ ยังเกิดขึ้นบนเขตพื้นที่ชาอื่นๆอีกมากมายในอวิ๋นหนาน ภายในช่วงระยะเวลาอันสั้นเพียงสิบกว่าปี นำไปสู่ให้อวิ๋นหนานแหล่งผลิตชาแห่งนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ 

        สิ่งที่เห็นเด่นชัดมากที่สุดก็คือราคาชาถีบตัวสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด จากภาพรูปกราฟพวกเราจะเห็นได้ว่า บนวัตถุดิบเหมาฉาแห้งของยี่หวู่ 1 กก. ในยุคปี 90 เพียงไม่กี่หยวน มาถึงปี 2002,2003 ก็แค่สิบกว่าหยวนจนมาถึงปี 2006,2007 ปรับเปลี่ยนเป็นหนึ่งถึงสองร้อยหยวน สามถึงสี่ร้อยหยวน 

▲ราคาเหมาฉาแห้งของยี่หวู่ในหลายๆปีที่ผ่านมา (หน่วย : หยวน/กก.)

        ล่าสุดไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทุกคนคงเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่า ราคาของชาผูเอ่อร์เป็นไปในทิศทางที่สูงขึ้นเรื่อยๆ มีบางชนิดที่หายากได้ทะลุขึ้นไปถึงหลายพันหยวนแล้ว กระทั่งถึง 1 หมื่นหยวน

        โดยเฉพาะในช่วงปี 2007 ราคาของชาผูเอ่อร์เคยเกิดปรากฏการณ์พังทลายเหมือนตลาดหุ้น ราคาพุ่งขึ้นอย่างพรวดพราด แล้วราคาตกดิ่งอย่างทันท่วงที หลังจากได้กำจัดเงินทุนออกไปบางส่วนแล้ว ราคาของมันก็ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง นี่เป็นเพราะเหตุอันใด?

        นี่ก็คือสิ่งที่จะต้องกล่าวถึงต่อไป ปัจจุบันจะเป็นที่นิยมชมชอบต่อชาต้นโบราณหรือเรียกเป็นต้นชาโบราณ “ต้นชาโบราณ” ที่ปลูกโดยบรรพบุรุษของคนท้องถิ่นมานมนานแล้ว มีประวัติเกินร้อยปี กระทั่งเกินพันปี พวกมันอยู่ภายใต้การปกป้องจากป่าไม้ สภาพแวดล้อมธรรมชาติที่มีระบบนิเวศที่ดี แต่พวกมันขึ้นอย่างกระกระจายไม่เป็นที่เป็นทาง เนื่องจากเติบโตเป็นต้นที่ค่อนข้างสูงใหญ่ การเด็ดเก็บใบชาจะยากลำบากมาก เคยเกิดเหตุการณ์คนที่ขึ้นเด็ดเก็บใบชาเกิดพลาดท่าตกจากต้นสูงจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

▲ต้นชาโบราณที่ปลูกกระจัดกระจายปล่อยให้ขึ้นอยู่ในป่าไม้

        สิ่งที่เทียบเคียงกันคือชาไร่ การปรากฏตัวของชาไร่จะช้ากว่ากันมาก พึ่งเริ่มทำการเพาะปลูกในยุคปี 80 ศตวรรษที่แล้ว ระยะห่างระหว่างต้นจะชิดกันมาก ปลูกขึ้นอย่างหนาแน่นมากและเป็นขั้นบันได ดังนั้นจึงเรียกเป็น “ชาไร่” 

▲ชาไร่ที่ทำการปลูกขึ้นอย่างหนาแน่น 

        เนื่องจากชาไร่ปลูกขึ้นอย่างหนาแน่น ดังนั้นจะต้องใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ช่วงที่ชาไร่ได้รับการส่งเสริม เชื่อว่ามันเป็นรูปแบบของการเกษตรสมัยใหม่ และลักษณะทั่วไปของมันดูดีกว่าต้นชาใหญ่ ดังนั้นทุกคนจะเห็นดีเห็นงามต่อชาไร่ในช่วงเวลานั้น

        จากภาพรูปกราฟจะเห็นได้ว่า เป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร ราคาของชาต้นโบราณและชาไร่แทบจะไม่แตกต่างกัน อันที่จริงคนท้องที่จะค่อนข้างนิยมชมชอบชาไร่ แต่ว่าประมาณเริ่มจากปี 2004 ราคาของชาสองตัวนี้ปรากฏแตกต่างกันมาก ราคาชาต้นใหญ่เปลี่ยนยิ่งมายิ่งสูง ชาไร่ไล่ตามไม่ทันชาต้นใหญ่ตั้งแต่บัดนั้น ยิ่งทิ้งระยะห่างมากขึ้นเรื่อยๆ ทำไมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะแบบนี้? 

▲ราคาของชาต้นใหญ่(大树茶)และชาไร่(台地茶)ของยี่หวู่ในหลายๆปีที่ผ่านมา (หน่วย : หยวน/กก.)

        การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้เกิดขึ้นโดยคนใต้หวันเป็นคนนำ เนื่องจากพวกเขาค้นพบว่า รสชาติของชาต้นใหญ่ดื่มแล้วจะแตกต่างกันมากกับชาไร่ พูดให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นก็คือชาต้นใหญ่ดื่มแล้วรู้สึกค่อนข้างนุ่มละมุนกว่า หุยกานยิ่งเด่นชัดมาก ยิ่งทำให้รู้สึกรับรู้ได้ถึงฉาชี่  

        ยังมีอีกเหตุผลหนึ่ง คอชาชาวใต้หวันได้ตระหนักรับรู้ว่า ในช่วงเวลาที่ชาเก่าอย่างถงชิ่งห้าว ถงซิ่งห้าวถือกำเนิดขึ้นมานั้น ในยี่หวู่และหกขุนเขาชายังไม่มีชาไร่ นี่ก็เป็นสิ่งบอกเหตุที่คนคิดที่จะหาซื้อชาต้นใหญ่ในทุกวันนี้ อันที่จริงมีเหตุกำเนิดในความทะยานอยากที่จะคืนสู่และฟื้นฟูชาผูเอ่อร์เกรดวัตถุโบราณ

        อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลง คือการชื่นชอบใบชาจาก “แหล่งกำเนิดที่เดียว” แหล่งกำเนิดที่เดียวบ่งชี้ถึง การจัดแบ่งแหล่งที่มาของวัตถุดิบใบชาแยกแยะออกมาเป็นจุดเล็กๆของขุนเขาและหมู่บ้าน ค่อนข้างเหมือนอุตสาหกรรมไวน์ที่ใช้ไร่ไวน์ต่างๆมาจัดแบ่งคุณภาพ หรือแบ่งเกรดและราคาของไวน์

        ในอดีตที่ยังไม่มีแนวความคิดของแหล่งกำเนิดที่เดียว ทั่วทั้งอวิ๋นหนาน ชาที่ผลิตจากทุกเขตพื้นที่ชาทุกคนล้วนรู้สึกแทบจะไม่แตกต่างกัน แต่หลังจากมีการจัดแบ่งตามแนวความคิดนี้แล้ว ผู้คนจำนวนมากจึงต้องแยกแยะในรายละเอียดว่า ชาตัวนี้ของคุณที่แท้เป็นของสิบสองปันนา เป็นของผูเอ่อร์ หรือเป็นของหลินชาง รสชาติของพวกมันแตกต่างกันอย่างไร ต่อจากนั้นของสิบสองปันนา ก็แบ่งเป็นของยี่หวู่และของเหมิ่งไห่ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ของยี่หวู่ยังต้องแยกแยะละเอียดเป็นของหมู่บ้านไหน ระหว่างพวกมันมีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง

        ผลผลิตใบชาของทุกแหล่งในหมู่บ้านเล็กๆเหล่านี้ล้วนมีปริมาณน้อยมาก ใบชาเหล่านี้จึงกลายเป็นทรัพยากรหายาก ทั่วๆไปมีเงินก็หาซื้อไม่ได้ อย่างกรณีในยี่หวู่ มีบางหมู่บ้านซึ่งในอดีตไม่มีชื่อเสียงมาก่อน แต่หลายปีที่ผ่านมาราคาของเหมาฉาแห้ง 1 กก. ได้ทะลุไปถึง 1 หมื่นหยวนกระทั่งถึง 2 หมื่นหยวนแล้ว ดังนั้นราคาโดยองค์รวมของชาผูเอ่อร์ปรับสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง การแยกแยะความแตกต่างโดยละเอียดก็ยิ่งเด่นชัดขึ้น


(ติดตามต่อ...ตอนที่ 5/6)


เอกสารอ้างอิง : https://youtu.be/uTSKS6skVYU