วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา (4)

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา
ตอน --- การขนานนามฉาเกาผูเอ๋อร์อย่างเป็นทางการในยุคสมัยชิง
普洱茶膏正式定名是在清代



        แม้ว่าราชวงศ์หมิง(明朝)ได้เลิกล้มก้อนมังกรแผ่นหงษ์(龙团风饼) แต่หยินหนานซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตชายแดน อาจเป็นเพราะว่าอยู่ห่างจากเมืองหลวงอันไกลโพ้น อาศัยการค้าของ “เส้นทางโบราณชา-ม้า” ได้ทำการผลิตชาก้อนและชาแผ่นอย่างต่อเนื่อง แม้ว้าชาก้อนและชาแผ่นของหยินหนานไม่มีความประณีตบรรจงเท่าผลิตภัณฑ์ชายุคสมัยซ่ง กล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบการลอกเลียนแบบก้อนมังกรแผ่นหงษ์ของถังซ่งอย่างเรียบง่ายระดับหนึ่ง การอนุรักษ์ไว้ครั้งนี้เป็นการสร้างรากฐานที่ดีต่อการเจริญรุ่งเรืองของชาผูเอ๋อร์ยุคราชวงศ์ชิง(清朝)ในภายหลัง

        การพัฒนาใบชาในยุคสมัยชิงก็เป็นอีกจุดสุดยอดที่ต่อเนื่องจากถังซ่งของจีน ที่แตกต่างจากช่วงสมัยถังซ่งคือ ถังซ่งเพียงมุ้งเน้นกรรมวิธีการผลิตชาแผ่นกลม แต่ยุคราชวงศ์ชิงคือ “ดอกไม้บานสะพรั่ง”(百花齐放)---ชาชนิดต่างๆและศิลปะการผลิตชาที่ไม่เหมือนกันอย่างสาวงามประชันโฉม(群芳斗艳) สีสันแพวพราว(色彩斑斓) ชาที่พวกเรามักคุ้นกันในทุกวันนี้ เช่น “ซีหูหลงจิ่ง” “ปิหลอชุน” “ไถ้ผิงเหาขุย” ฯลฯ ล้วนได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการในยุคสมัยชิงนี้ทั้งสิ้น

        ชาผูเอ๋อร์และฉาเกาผูเอ๋อร์ก็ได้รับการยืนยันชื่อเรียกของตนเองในยุคสมัยชิง

        ปี 1729 รัชสมัยยุงเจิ้น(雍正)ปีที 7 ของราชวงศ์ชิง รัฐบาลของราชวงศ์ชิงได้ก่อตั้งเมืองผูเอ๋อร์ขึ้นในเขตพื้นที่ผูเอ๋อร์หยินหนาน มีอำนาจควบคุมเช่นพื้นที่ 6 ขุนเขาชา(六大茶山) ในปีที่ก่อตั้งเมืองผูเอ๋อร์ ฮ่องเต้ยุงเจิ้นได้ตราพระบรมราชโองการแก่เอื้อเอ้อไถ้(鄂尔泰)ข้าหลวงใหญ่หยินหนาน มอบหมายให้ควบคุมดูแลโดยตัวเขาเอง ทำการคัดเลือกใบชาที่ดีที่สุด ผลิตเป็นชาก้อนผูเอ๋อร์ ชาลูกสาว(女儿茶)และฉาเกา ถวายเข้าพระราชวังเป็นชาบรรณาการ

        ฉาเกาจึงค่อยๆลอยโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำอีกครั้ง ฉาเกาที่แท้ก็คือบรรพบุรุษของฉาเกาผูเอ๋อร์ ฉาเกาผูเอ๋อร์ที่ผลิตจากวิธีการพื้นบ้านของหยินหนาน

        แรกเริ่มเดิมทีมันคือกรรมวิธีการผลิตครีมที่คิดค้นขึ้นมาครั้งแรกที่ผู้คุมงานหยินหนาน(云南土司)ใช้วิธีการเคี่ยวบนกะทะใหญ่ วิธีการเช่นนี้กับกรรมวิธีการผลิตฉาเกาของถังซ่งมีความแตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด การผลิตฉาเกาโดยการเคี่ยวบนกะทะใหญ่ของผู้คุมงานหยินหนาน เป็นการอ้างอิงกรรมวิธีการเคี่ยวผลิต “ครีมยา” ของยาจีนโบราณ เป็นวิธีการผลิตครีมที่ลอกเลียนแบบตรงๆ เนื่องจากวิธีการแบบนี้เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตฉาเกายุคสมัยซ่งแล้ว ง่ายกว่ากันเยอะ ใครๆก็สามารถทำกันได้ แล้วก็ ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือผลิตครีมอย่างที่การผลิตครีมยุคสมัยซ่งที่จำเป็นต้องมี “เครื่องคั้นใหญ่เล็ก”(大小榨床) ขอเพียงแค่มีกะทะ ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือในร้านชาล้วนสามารถทำการผลิตได้

        มีสิ่งที่ควรค่าแก่ความสนใจคือ วิธีการที่ใช้การเคี่ยวครีมบนกะทะใหญ่(大锅熬膏)ได้เผยแพร่ไปถึงทิเบตอย่างรวดเร็วผ่านเส้นทางโบราณชา-ม้า แล้วก็เป็นที่ยอมรับของชนชั้นสูงทิเบตอย่างรวดเร็ว

        การดื่มชาของเขตพื้นที่ชนเผ่าทิเบตและชนเผ่าฮั่นไม่เหมือนกัน พวกเขาจะชื่นชอบวิธีการเคี่ยวชาหรือการต้มชามากกว่า ดังนั้นการเคี่ยวครีมบนกะทะใหญ่ไม่เพียงแค่ได้รับการยอมรับในทันที และก็แพร่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการปฏิบัติการแบบง่ายๆของมัน วัดวาอารามขนาดใหญ่จำนวนมากจัดตั้งห้องเคี่ยวชาของตนเอง ฉาเกาที่ผลิตได้จากการเคี่ยวเพื่อสำหรับเฉพาะพระระดับลามะขึ้นไปใช้ในการดื่ม วิธีการแบบนี้ อันที่จริงยังคงเก็บรักษาไว้ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันในวัดใหญ่จำนวนมากของทิเบตพวกเรายังสามารถพบเห็นห้องเคี่ยวชาและฉาเกาที่ผลิตเอง เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าวิธีการผลิตฉาเกาโดยการเคี่ยวบนกะทะใหญ่ยังสืบสานต่อเนื่องตลอดมา

        การเคี่ยวครีมบนกะทะใหญ่ถือเป็นระยะเริ่มต้นของการพัฒนาฉาเกาผูเอ๋อร์ แต่กำหนดให้เป็นเพียง “การผลิตพื้นบ้าน(土制)[วิธีการแบบพื้นบ้าน(土方法)] เทียบกับฉาเการุ่นหลังจาก “การผลิตโครงการหลวง”(御制) ของพระราชวังมีข้อแตกต่างกันมาก

        รูปการณ์แบบนี้ภายหลังจากเฉียนหลง(乾隆)ได้ขึ้นครองราชย์แล้ว ได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที

        มีเรื่องราวเล็กๆเรื่องหนึ่ง และก็เป็นคดีประวัติศาสตร์ที่น่าฉงน ที่นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันยังไม่สามารถหาคำตอบได้ ซึ่งก็คือในวันที่ 3 หลังจาก “สวรรคต”(驾崩) ของฮ่องเต้ยุงเจิ้น ในขณะที่ยังไม่ได้ทำการบรรจุพระศพยุงเจิ้นลงในพระโกส ในสถานการณ์ที่มีปัญหาเร่งด่วนมากมายที่รอการจัดการ เฉียนหลงกลับมีพระบรมราชโองการให้ขับไล่นักบวชลัทธิเต๋า(道士)ที่ทำหน้าที่ “หลอมเม็ดยาอมตะ”(炼丹 : ภาพประกอบรูป#1) ถวายแก่ยุงเจิ้นออกไปจากพระราชวัง

        เป็นเพราะเหตุใด ?

        ตามข้อเท็จจริง ในพระหฤทัยของเฉียนหลง พระองค์ทรงเชื่อว่าการสวรรคตของ “หวางอามา”(皇阿妈 : พระราชบิดา) มีความเป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกับ “ยาเม็ด”(丹药) ที่นักบวชนำถวายในช่วงที่ฮ่องเต้ยุงเจิ้นมีชีวิตอยู่ โดยเฉพาะในช่วงบั้นปลาย มีความสนพระหฤทัยอย่างมากต่อ “การหลอมเม็ดยาอมตะ” ที่บรรดานักบวชทำขึ้นมา แม้กระทั่งทรงเชื่อว่า “ยาเม็ด” ชนิดนี้สามารถขจัดโรคภัยไข้เจ็บทำให้ร่างกายแข็งแรงอายุมั่นขวัญยืน พระองค์ไม่เพียงส่งคนไปเสาะแสวงหาผู้ชำนาญการ “หลอมเม็ดยาอมตะ” ทั่วทุกแห่งหน แล้วนำพวกเขาเข้ามาในพระราชวัง และก่อตั้ง “ห้องหลอมเม็ดยาอมตะ” สำหรับพวกเขาโดยเฉพาะ

        การคิดค้นการหลอมเม็ดยาของเมืองจีนก่อเกิดขึ้นมาจากแนวความคิดชีวิตอมตะจากการบอกเล่าทางเทพนิยายโบราณ เนื่องจากหลักใหญ่ของ “การหลอมเม็ดยาอมตะ” คือการใช้ 5 ธาตุโลหะ(五金) 8 กรวด(八石) 3 เหลือง(三黄) เป็นวัตถุดิบ หลอมเสร็จออกมาส่วนใหญ่คือ สารหนู() ปรอท() และ ตะกั่ว() ซึ่งเมื่อทานเข้าไปแล้วก็จะเป็นพิษ อันตรายถึงชีวิต

        ฮ่องเต้ยุคสมัยที่ผ่านมาของเมืองจีนล้วนแทบจะฝักใฝ่กับการหลอมเม็ดยาอมตะ และฮ่องเต้เหล่านี้ก็ล้วนสวรรคตเพราะ “ยาเม็ดอมตะ” เฉพาะในยุคสมัยถัง ฮ่องเต้ที่สวรรคตเพราะทานยาเม็ดก็มีถังไถ้จง(唐太宗) ถังเซี่ยนจง(唐宪宗) ถังมู่จง(唐穆宗) ถังจิ้งจง(唐敬宗) และถังหวู่จง(唐武宗) ถังเสวี่ยนจง(唐宣宗) ในยุคปลายถัง เป็นต้น 6 พระองค์ ส่วนฮ่องเต้ที่ถูกวางยาพิษยังไม่นับ

        ฮ่องเต้ยุงเจิ้นยุคราชวงศ์ชิงก็เป็นเหยื่อของ “การหลอมเม็ดยาอมตะ”

        แต่เฉียนหลงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เฉียนหลงตอนเยาว์วัยทรงเป็นผู้มีความรู้กว้างขวาง ได้รับความรู้ทางวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีตะวันตกจากบาทหลวงเผยแพร่ศาสนาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเข้าใจความรู้ทางเคมีบางส่วน พระองค์รู้สึกคลุมเครือว่า “ยาเม็ด” ที่ผลิตจาก “การหลอมเม็ดยาอมตะ” ชนิดนี้ประกอบด้วยธาตุโลหะหนักของตะกั่ว สารหนู เป็นไปได้ที่ก่อให้เกิดเป็นพิษต่อร่างกายคนเรา

        เหตุการณ์กรณีนี้ก็เกิดผลกระทบต่อชาบรรณาการของหยินหนาน---ฉาเกาผูเอ๋อร์ นี้เป็นเพราะเหตุใด ?

        จากการพลิกอ่านข้อมูลทางประวัติศาสตร์ทั้งหลายของยุคราชวงศ์ชิง พวกเราค้นพบว่า ตั้งแต่เฉียนหลงขึ้นครองราชย์เป็นต้นมา ปริมาณชาผูเอ๋อร์ของหยินหนานที่นำถวายบรรณาการเข้าพระราชวังเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงรัชสมัยยุงเจิ้นแล้วไม่ใช่จำนวนลดลง แต่ขยายเพิ่มขึ้นทุกๆปี แต่มีจุดหนึ่ง คือสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึง นั่นก็คือไม่มี “ฉาเกาผูเอ๋อร์” พวกเราค้นหาจากรายงานการบันทึกรายการผลิตภัณฑ์ชาที่ถวายบรรณาการจากหยินหนาน ก็ไม่เห็นเงาของ “ฉาเกาผูเอ๋อร์” ฉาเกาผูเอ๋อร์ได้หยุดการผลิตแล้วหรือ? หรือว่าทางพระราชวังชิงได้ตัดออกไปแล้ว ไม่จัดเป็นเครื่องดื่มของเหล่าพระราชวงศ์อีกแล้ว?

        คำตอบอยู่นอกเหนือความคาดหมายของพวกเรา

        ฉาเกาผูเอ๋อร์ไม่เพียงแค่ในช่วงรัชสมัยเฉียนหลง และหลังจากนั้นก็ยังเป็นเครื่องดื่มชาตัวหลักของฮ่องเต้ตลอดมา ไม่เพียงแค่นี้ ยังใช้เป็นของขวัญประเทศมอบให้พวกทูตานุทูต(บทความช่วงหลังจะมีการกล่าวถึงอย่างละเอียด)

        ถ้าเช่นนั้น ฉาเกาผูเอ๋อร์พวกนี้มาได้อย่างไร? คำตอบก็อยู่นอกเหนือความคาดหมายของพวกเราอีกเช่นกัน

        คือ ผลิตโดยพระราชวังราชวงศ์ชิงเอง

        นี้ก็เป็นเพราะเหตุใด? เหตุผลมีอยู่ 2 ประการ :

        1. สถานการณ์ทางการเมืองในหยินหนานช่วงเวลานั้นไม่มั่นคงอย่างมาก จะปรากฏ “โค่นชิงฟื้นหมิง” เป็นประจำ ประกอบกับเป็นพื้นที่อยู่ทางเขตชายแดน เส้นทางห่างไกลจากเมืองหลวงมาก ผู้ปกครองกลัวถูกวางยาพิษเป็นอย่างมาก

        2. ฉาเกาที่ผลิตจากวิธีการแบบพื้นบ้านของหยินหนานพื้นฐานใช้การเคี่ยวเป็นหลัก การเคี่ยวแบบนี้มีส่วนที่ใกล้เคียงกับ “การหลอมเม็ดยา” จะมีตะกั่ว สารหนูประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับอุณหภูมิสูงจะไปทำลายสารอาหารหลายชนิดในใบชา ทำให้คุณค่าดั้งเดิมสูญเสียไป

        ฉะนั้น การผลิตฉาเกาในช่วงรัชสมัยเฉียนหลงและต่อจากนั้นมาได้ย้ายเข้าไปอยู่ในห้องชาหลวง(御茶房)ภายในพระราชวังราชวงศ์ชิง[สถานที่เดิมอยู่ในห้องทางทิศตะวันออกของวังเฉียนชิง(乾清宫东庑)]  แล้วกรรมวิธีการผลิตได้ทำการแก้ไขปรับปรุงอย่างมาก

        เหล่าช่างผลิตชาของห้องชาหลวงในวังเฉียนชิงได้อ้างอิงบนพื้นฐานของกรรมวิธีแบบ “คั้นเล็กแยกน้ำ คั้นใหญ่เค้นครีม”(小榨去水,大榨出膏) ของยุคสมัยซ่ง กรรมวิธีแบบนี้ วัตถุดิบที่ใช้ยังเป็นชาผูเอ๋อร์ที่ถวายบรรณาการของหยินหนาน

        สิ่งที่มีความหมายอย่างมากก็คือ การผลิตฉาเกาในช่วงเวลานั้นล้วนดำเนินการภายใต้อุณหภูมิห้อง ไม่มีกระบวนการไหนที่อุณหภูมิสูง ซึ่งเมื่อเทียบกับกรรมวิธีการสกัดที่อุณหภูมิต่ำ(低温萃取) และการทำให้แห้งที่อุณหภูมิต่ำที่พวกเราใช้อยู่ในยุคปัจจุบันใกล้เคียงกันมาก ทำให้ “ฉาเกาผูเอ๋อร์” ที่ผลิตได้มีคุณภาพเพิ่มสูงขึ้น ก้าวกระโดดขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์พระราชวัง[มีการเรียกเป็น ”สินค้าชาววัง”(宫廷御品)] ทำให้การผลิตฉาเกาผูเอ๋อร์เข้าสู่การพัฒนายุคที่ 2

        “ฉาเกาผูเอ๋อร์” นับแต่นี้ไปได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว

        อาจเป็นเพราะตรงจุดนี้ จึงทำให้นักเภสัชวิทยา จ้าวเสหมิ่น(赵学敏 : ค.ศ.1719-1805) ในรัชสมัยเฉียนหลงปีที่ 33 (ค.ศ.1763) ในหนังสือที่เขาเป็นคนเขียน《A Supplement of the Compendium of Materia Medica (本草纲目拾遗)》ได้นำ “ฉาเกาผูเอ๋อร์” จัดเข้าไปอยู่ในนี้อย่างเป็นทางการ นี้เป็นเอกสารทางราชการที่พวกเราได้พบเห็นการเรียกขานอย่างเป็นทางการครั้งแรก : ฉาเกาผูเอ๋อร์

        ฉาเกาผูเอ๋อร์ตั้งแต่ริเริ่มการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการและการจัดตั้งกรรมวิธีการผลิตในช่วงรัชสมัยเฉียนหลง ก็มีฐานะที่พิเศษเฉพาะจัดให้เป็นสิ่งล้ำค่าของชา เนื่องจากทางพระราชวังทำการคัดเลือกวัตถุดิบอย่างพิถีพิถันมากสำหรับฉาเกาผูเอ๋อร์ ความต้องการที่เข้มงวดมาก ทำให้ผลผลิตต่ำมากอย่างไม่ต้องสงสัย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จึงไม่มีการหมุนเวียนอยู่ในสังคมทั่วไป

        แต่ในปี 1792 (รัชสมัยเฉียนหลงปีที่ 57) ได้จัดทำเป็นของขวัญประเทศมอบให้แก่คณะทูต Macartney ของประเทศอังกฤษที่ไปเยี่ยมเยี่ยนครั้งแรก นับจากนั้นมาฉาเกาผูเอ๋อร์ก็เผยแพร่ออกสู่ต่างประเทศ หลังจากนั้น มันก็กลายเป็นของขวัญชนิดหนึ่งที่มอบให้แก่ทูตานุทูตและบุคคลสำคัญ

        ปี 1925 ราชวงศ์ชิงได้ล่มสลายไป การผลิตฉาเกาผูเอ๋อร์ก็เป็นอันต้องสิ้นสุดตาม

        หลังการก่อตั้งประเทศยุคปี 50 บริษัทจงฉา(中茶公司)ได้รับมอบภาระหน้าที่ของประเทศ โดยเรียกร้องให้เมิ่งไห่ เซี่ยกวน และหลายองค์กรธุรกิจเร่งรีบทำการผลิตฉาเการุ่นหนึ่ง เพื่อส่งมอบให้ทีมงานที่ไปหนุนช่วยเหลือทิเบต จำนวนประมาณ 3 พันช่างจีน แต่หลายองค์กรธุรกิจเหล่านี้ภายหลังผลิตได้เพียงประมาณ 1 พันกว่ากิโลกรัมแล้ว ก็หยุดทำการผลิต เป็นเพราะว่าฉาเกาที่คุณภาพแย่ชนิดนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของทีมงานที่ไปหนุนช่วยเหลือทิเบต และก็ไม่มีเรื่องราวที่ติดตามมาอีก แต่จากการวิเคราะห์เบื้องต้น เป็นเพราะว่ายังใช้วิธีการผลิตเคี่ยวบนกะทะใหญ่

        ตั้งแต่บัดนั้นฉาเกาก็เงียบหายตายจากไป(销声匿迹)อีกครั้ง

        แต่ในปี 2004 ฉาเกาผูเอ๋อร์ก็ปรากฏขึ้นมาอย่างเงียบๆ ผู้ที่จุดเชื้อไฟก็คือลูกชายนามโจวไห่ยิง(周海婴)ของนักสื่อสารมวลชนผู้เลื่องลือหลู่ซิ้น(鲁迅) ได้นำฉาเกาผูเอ๋อร์(3 กรัม)ที่หลู่ซิ้นได้เก็บไว้มาเปิดประมูลขาย เป็นที่ฮือฮาลือลั่น(轰动一时)ในปีนั้น ข่าวลือเล่าขานเกี่ยวกับฉาเกาผูเอ๋อร์ปรากฏออกมาไม่ขาดสาย(层出不穷) และจุดสนใจท้ายสุดล้วนพุ่งตรงไปที่พิพิธภัณฑสถานกรุงปักกิ่ง เนื่องจากฉาเกาผูเอ๋อร์ที่หลู่ซิ้นเก็บรักษาไว้เล่าขานกันว่ามาจากพระราชวังราชวงศ์ชิง ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานกู้กงแห่งกรุงปักกิ่งยังคงเก็บชาผูเอ๋อร์บรรณาการจำนวนเล็กน้อยที่เหลือตกทอดจากรัชสมัยกวงสวี่ราชวงศ์ชิง(清朝光绪)---ชาก้อน[ก้อนมังกรหมื่นปี(万寿龙团)] ชาแผ่นกลม(饼茶) และฉาเกา(茶膏)

        ปี 2005 เมืองซือเหมา(思茅市)มณฑลหยินหนานได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองผูเอ๋อร์(普洱市) ในพิธีฉลองที่ยิ่งใหญ่ สิ่งที่ทำให้ผู้คนสะดุดตามากที่สุดคือของขวัญจากพิพิธภัณฑสถานกู้กงแห่งกรุงปักกิ่ง จำนวนนี้ก็มีฉาเกาผูเอ๋อร์ 1 กล่อง ในปีเดียวกัน เมืองจีนก็มีฉาเกาผูเอ๋อร์รูปแบบหนึ่งปรากฏขึ้นมาอย่างเงียบๆที่ตั้งชื่อเรียกว่า “หมงตุ้น”(蒙顿 : Modern)  ฉาเกาผูเอ๋อร์ที่ผลิตเป็นไปตามเส้นทางความคิด “วิธีการผลิตครีมแบบบีบคั้น” ของพระราชวังราชวงศ์ชิง ใช้วิธีการทางชีวภาพสมัยใหม่ทำให้ปรากฏเป็นจริงขึ้นมา เป็นผลิตภัณฑ์ที่ยกระดับขึ้นมาจากฉากเกาผูเอ๋อร์แบบดั้งเดิม สิ้นสุดประวัติศาสตร์ของฉาเกาผูเอ๋อร์ที่มีชื่อเรียกทางผลิตภัณฑ์แต่ไม่มีองค์กรธุรกิจทำการผลิต ในวันที่ 1 ม.ค.2006 หมงตุ้นก็ได้นำฉาเกาผูเอ๋อร์ระดับชั้นสุดยอดจากการสกัด : แม่ชาผูเอ๋อร์(普洱茶母 : 700 กรัม) บริจาคให้พิพิธภัณฑสถานหยินหนานเพื่อเก็บรักษาสมบัติอันมีคุณค่านี้ไว้ ในวันพิธีการรับบริจาคที่จัดขึ้นในหอประชุมพิพิธภัณฑสถานหยินหนาน มีแผ่นป้ายแนวขว้างขนาดใหญ่เขียนด้วยตัวอักษร 8 ตัวว่า “มาจากหยินหนาน คืนกลับหยินหนาน”(来自云南,回馈云南)

        นับจากนี้ไป การผลิตฉาเกาผูเอ๋อร์ก็เข้าสู่อีกยุคสมัยใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงจากฉาเกาผูเอ๋อร์ยุคดั้งเดิมเป็นฉาเกาผูเอ๋อร์ยุคสมัยใหม่

........จบบริบูรณ์........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา》ตอนที่ 4---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


ภาพประกอบ :

                              รูป#1 : หลอมเม็ดยาอมตะ (炼丹)

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา (3)

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา
ตอน --- ยุคสมัยซ่ง : การเกิดเป็นรูปเป็นร่างของฉาเกา
茶膏历史的演变 --- 宋代 : 茶膏的形成



        การชิมชาและการชื่นชมชาในยุคสมัยซ่ง อันเนื่องจากการมีส่วนร่วมโดยตรงของจักรพรรดิและชนชั้นสูง เป็นการทำลายขอบเขตที่มีคนชาและนักบวชเป็นผู้นำในยุคสมัยถัง จากการต้มชาและวิถีการแบ่งชา(分茶法 : เป็นการแสดงศิลปะทางชา โดยใช้ฟองชาละเลงออกมาเป็นรูปศิลป์ : ภาพประกอบรูป#1)ที่ริเริ่มในยุคสมัยถังเมื่อมาถึงยุคสมัยซ่งก็เป็นที่นิยมแพร่หลายกันมากขึ้น และการปรากฏขึ้นมาของร้านชา(茶坊) ทำให้ชาเริ่มเข้าไปในชีวิตสามัญชนทั่วไป ด้านหนึ่ง บนทางพระราชวัง ล่างทางประชาชนทั่วไปมีกัมมภาวะ(情有独钟)ทางประเพณีการดื่มชาที่เป็นสมัยนิยม เช่น “ชุมนุมชา”(茶会) “งานเลี้ยงชา”(茶宴) และ “การแข่งชา”(斗茶) การแบ่งชา”(分茶) เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าชาในช่วงเวลานั้นไม่ใช่เป็นเพียงหนึ่งใน “7 สิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต” แค่นั้น แต่ยกระดับขึ้นเป็นงานศิลปะที่สละสลวยแขนงหนึ่ง เป็นวิถีการปฏิสัมพันธ์กันในการพบปะละเล่นและความบันเทิงวิถีหนึ่ง ; อีกด้านหนึ่ง เป็นเพราะว่าเป็นความสนใจต่อผลิตภัณฑ์ชาของชนทุกชั้นทั้งประเทศ(举国上下) ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตชาในยุคสมัยซ่งเฟื่องฟูอย่างไม่เคยมีมาก่อน จากการเด็ดเก็บใบชา การอบ การขึ้นรูป การบรรจุหีบห่อ การขนถ่าย การนำถวายบรรณาการ เป็นต้น ทุกๆด้านเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตชาในยุคสมัยถังแล้วยิ่งสูงขึ้นไปอีกชั้น ข้อกำหนดเงื่อนไขก็จะยิ่งพิถีพิถันมากขึ้น การตั้งชื่อก็ต้องตรวจสอบหาความจริงมากขึ้น

        “มวลชนคนชา” ขยายใหญ่ขึ้นอย่างก้าวกระโดด ข้อเขียนและบทความทางใบชา(รวมทั้งโคลนกลอนบทกวีเพลง)เปรียบเทียบกับยุคสมัยถังแล้วเพิ่มขึ้นอย่างมาก ที่พอมีชื่อเสียงอย่าง《เรื่องราวชา(大观茶论)》ของซ่งฮุยจง(宋徽宗) 《บันทึกชา(茶录)》ของใช่เซียง(蔡襄)《บันทึกการประลองชา(斗茶记)》ของถังกึง(唐庚)《บันทึก   ชา(茗   录)》ของถาวกู่(陶谷)《เบ่ยเยี่ยนเบี๋ยลู่(北苑别录)》ของจ้าวหยู่ลี่(赵汝砺) ฯลฯ

        แน่นอน ในตรงกลางนี้---ท่ามกลางมวลชนคนชายุคสมัยซ่ง ก็ได้ปรากฏ “สุดยอดคนชา”(超级茶人) ที่ความมีชื่อเสียงเกือบเทียบเท่าลู่หยี่ยุคสมัยถัง คุณอาจจะคาดคิดไม่ถึงว่า บุคคลผู้นี้ก็คือฮ่องเต้องค์ที่ 8 ของราชวงศ์ซ่ง---ซ่งฮุยจงจ้าวจี๋(宋徽宗赵佶) ซ่งฮุยจงเป็นผู้เชี่ยวชาญใบชาอีกคนหนึ่งที่โด่งดังมากที่สุดต่อจากลู่หยี่ยุคสมัยถัง พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิองค์เดียวในจักรพรรดิทั้งหมดสามร้อยกว่าพระองค์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หลายพันปีของเมืองจีนที่ทรงพระอักษรหนังสือชา

        เป็นที่ประจักษ์ว่า ซ่งฮุยจงได้ทำการศึกษา《คัมภีร์ชา》ของลู่หยี่อย่างละเอียด พระองค์ไม่เพียงแต่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อตัวอักษร “ครีม”() ที่ลู่หยี่ใช้ใน《คัมภีร์ชา》และโดยมุมมองของผู้เชี่ยวชาญได้นำความหมายของตัวอักษร “ครีม” ที่ยังมีเชิงลึกไม่พอขุดค้นออกมา ใน《เรื่องราวชา》พระองค์ได้นำเสนอวิธีการแยกแยะชาว่า :

        “บุคลิกภาพของชาไม่เหมือนกัน ดั่งเช่นใบหน้าผู้คน。สิ่งที่มีครีมจาง ผิวหนังจะเหี่ยวย่น ; สิ่งที่มีครีมข้น คงไว้ซึ่งความเต่งตึง。”(茶之范度不同, 如人之有面首也。膏稀者, 其肤蹙以文; 膏稠者, 其理敛以实。)

        ความหมายก็คือ : ลักษณะภายนอกของชาแผ่นกลมไม่เหมือนกันเหมือนใบหน้าของผู้คน ผิวหน้าชาแผ่นกลมประกอบด้วยสารที่มีลักษณะเป็นครีม ถ้าหากมีจำนวนน้อยแล้ว จะปรากฏรอยย่นมากมาย ถ้าหากผิวหน้าประกอบด้วยสารที่มีลักษณะเป็นครีมจำนวนมาก และหนาแล้ว ซึ่งก็คือสิ่งที่มีครีมข้น ลายย่นของผิวหน้าจะไม่เด่นชัด พื้นผิวเป็นปึกแผ่น

        ถ้าเช่นนั้น ในที่นี้มีคำถามอยู่หนึ่งข้อ : ครีมจางและครีมข้นที่ซ่งฮุยจงเสนอขึ้นมานั้นมาจากไหน? “สิ่งเคลือบครีมย่น”(含膏者皱) ของลู่หยี่ยุคสมัยถังคือของเหลวชาที่ล้นออกมาหลังจาก “การนึ่ง การบด การเคาะ” เมื่อผ่านออกซิเดชั่นในอากาศ ทำให้ของเหลวชาปรากฏ “ปรากฏการณ์เกิดเป็นครีม” วิธีการได้มาซึ่งครีมจางกับครีมข้นของซ่งฮุยจงและกรรมวิธีของยุคสมัยถังจะเหมือนกันอย่างกับแกะหรือไม่? เป็นแนวทางความคิดที่สืบสานต่อเนื่องจาก “สิ่งเคลือบครีมย่น” ยุคสมัยถังหรือไม่?

        คำตอบคือ ไม่
        เป็นเพราะว่าคนชาในยุคสมัยซ่งได้ทำการแยกใบชาและของเหลวชาออกจากกันได้สำเร็จแล้ว แล้วก็นำของเหลวชากลับคืนเป็นสารที่มีลักษณะเข้มข้น ก็คือฉาเกา ถ้าเช่นนั้น ยุคสมัยซ่งใช่กลวิธีใดเพื่อทำการแยกเช่นนี้ให้เป็นจริงขึ้นมาได้? พวกเราค้นหาคำตอบออกมาได้จากข้อเขียนทางใบชาอีกเล่มของยุคสมัยซ่ง หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า《เบ่ยเยี่ยนเบี๋ยลู่(北苑别录)》 ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือจ้าวหยู่ลี่(赵汝砺) ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยคมนาคมของฝูเจี้ยน(福建转运主管帐司)ในยุคสมัยซ่งใต้(南宋) สวนชาบรรณาการเบ่ยเยี่ยน(北苑贡茶苑)ถือเป็นสวนชาหลวงที่ขึ้นตรงต่อพระราชวังยุคสมัยซ่ง เป็นหน่วยงานชาบรรณาการที่ทำการเด็ดชา ผลิตชาเพื่อเฉพาะพระราชวงศ์ยุคสมัยซ่ง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.976 ในช่วงระยะเวลาการครองราชย์ 25 ปีของซ่งฮุยจง สวนชาบรรณาการเบ่ยเยี่ยนโด่งดังมาก ในหนังสือเล่มนี้ จ้าวหยู่ลี่ได้เปิดเผยการผลิตฉาเกายุคสมัยซ่งเป็นครั้งแรก

        “ชาที่สุกเรียกชาเหลือง ต้องล้างน้ำหลายครั้ง ทำการคั้นเล็ก แยกน้ำออกมา แล้วทำการคั้นใหญ่เค้นครีมออกมา。ก่อนหน้านี้ห่อด้วยผ้า มัดด้วยเปลือกไผ่ หลังจากนั้นจึงทำการบีบคั้นใหญ่ ถึงเที่ยงคืนนำออกมานวด นำกลับเข้าไปคั้นเช่นเดิม เรียกเป็นการคั้นซ้ำ”(茶既熟谓茶黄,须淋洗数过,方入小榨,以去其水,又入大榨出其膏。先是包以布帛,束以竹皮,然后入大榨压之,至中夜取出揉匀,复如前入榨,谓之翻榨。)

        ความหมายของข้อความตอนนี้มีว่า : ใบชาที่นึ่งสุกแล้วเรียกว่า “ชาเหลือง” ทำการรดน้ำชาเหลืองหลายเที่ยวเพื่อให้เย็นตัวลง นำไปวางบนเครื่องคั้นเล็กเพื่อแยกน้ำออกมา แล้วจึงวางบนเครื่องคั้นใหญ่เพื่อเค้นน้ำมันครีมออกมา ก่อนการคั้นครีมใช้ผ้าห่อหุ้มขึ้นมา แล้วใช้เปลือกไม้ไผ่มาผูกมัด หลังจากนั้นนำไปวางบนเครื่องคั้นใหญ่ทำการบีบเค้น ช่วงเที่ยงคืนนำออกมานวด แล้วนำกลับไปวางบนเครื่องคั้นใหม่ นี่คือการคั้นซ้ำ

        จำเป็นที่จะต้องพูดให้กระจ่างชัดคือ ผู้เขียน《เบ่ยเยี่ยนเบี๋ยลู่》จ้าวหยู่ลี่หลังจากได้เขียนมาถึงตอนนี้ ก็ได้ยกขึ้นมาอีกหลายประโยคว่า : “รสเจี้ยนฉาหนาแรงมาแต่ไกล เจียงฉามิอาจเทียบเคียงได้ เจียงฉาไหลออกเป็นครีม เจี้ยนฉากลัวครีมไม่สิ้นสุด ครีมไม่สิ้นสุดทำให้สีชาขุ่นมัวมาก”(盖建茶味远而力厚, 非江茶之比。江茶畏流其膏, 建茶唯恐其膏之不尽, 膏不尽则色味重浊矣。) ความหมายก็คือว่า : ชาบรรณาการเบ่ยเยี่ยน(ก็เรียกว่าเจี้ยนฉา) รสชาติหนาแน่น ชาอื่นไม่สามารถเปรียบเทียบได้ เจียงฉากลัวของเหลวชาเกิดการสูญเสีย แต้เจี้ยนฉาห่วงเรื่องของเหลวชาไม่สะอาด เป็นเพราะว่าของเหลวชาไม่สะอาดทำให้สีชาขุ่นมัว รสแปลกปลอมจะหนัก

        เมื่อได้เห็นหลายประโยคนี้ครั้งแรก ไม่ทราบว่านี้คือกรรมวิธีการผลิตฉาเกา กลับคิดไปว่าชาแผ่นกลมยุคสมัยซ่งต้องเค้นของเหลวชาออกมาก่อนจึงจะสามารถผลิตเป็นชาดีได้ แต่ทว่า ถ้าหากทำความเข้าใจตามความหมายของตัวอักษรแล้ว ใบชาที่ทำการคั้นของเหลวชาออกแล้วจะต้องมีสภาพเหมือนดั่งขี้กบ(木屑: เศษไม้ที่ออกมาด้วยการใสกบ) เนื่องจากใบชาที่สูญเสียของเหลวชาก็คือสูญเสียรสชาติดั้งเดิมของชาไป ไม่อาจมีคุณค่าของเครื่องดื่มอีก แต่ทำไมผู้เขียนถึงได้กล่าวเช่นนี้ ?

        อันที่จริง หลายประโยคหลังนี้คือการอำพราง(障眼法)ของผู้เขียน ในเมื่อสวนชาบรรณาการเบ่ยเยี่ยนเป็นสวนชาหลวงของพระราชวงศ์ มีระบบการรักษาความลับที่เข้มงวดพอสมควร คงไม่สามารถอนุญาตให้ข้าราชบริพารท่านใดที่รู้เรื่องแล้วนำความลับที่นี้ไปเปิดเผยข้างนอกโดยพลการ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงในนามของหนังสือ

        ความเป็นจริง ผู้เขียนมีความตั้งใจบนความไม่เจตนา ได้ทำการบันทึกกรรมวิธีการผลิตของฉาเกาอย่างชาญฉลาด

        ยุคสมัยซ่งได้นำฉาเกาที่ได้จากวิธีการแบบนี้ ไปใช้ใน 2 ด้าน :

        1. คือ เป็นผลิตภัณฑ์ชาอิสระจัดเข้าไปอยู่ในรายการผลิตภัณฑ์ชาในยุคสมัยซ่ง เช่น ถาวกู่(陶谷)ผู้เขียนเรื่องชาคนแรกของยุคสมัยซ่งเหนือ(北宋 : ค.ศ.907-960) ช่วงที่เลือกเขียน《บันทึก   ชา(茗   录)》ได้นำฉาเกาสองชนิดจัดเข้าไปอยู่ในหนังสือเล่มนี้ : ชนิดหนึ่งคือ “ครีมจักจั่นหยก”(玉蝉膏) อีกชนิดหนึ่งคือ “น้ายจ้งเออใหมทอง”(缕金耐重儿) แม้ว่า《บันทึก   ชา》หลักใหญ่เป็นการบันทึกเรื่องราวที่น่าสนใจ 18 เรื่อง แต่พวกเราได้เห็นชื่อเรียกของฉาเกาสองชนิดนี้ในการบันทึกเหล่านี้ เป็นสัญลักษณ์ว่าการดำรงอยู่ของฉาเกาเป็นไปอย่างผลิตภัณฑ์อิสระ

        2. คือ ในกระบวนการผลิตชาแผ่นกลม มีการนำครีมชามาทาบนชั้นผิวหน้าชาแผ่นกลม เพื่อเพิ่มความเงาและสีสันของของผิวหน้าชาแผ่นกลม ลักษณะเช่นนี้และ “เคลือบครีม” ในการผลิตชายุคสมัยถัง กรรมวิธีแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด หรือกล่าวได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับยุคสมัยถังแล้วมีความรุดหน้าไปอีกหนึ่งก้าวใหญ่ ใช่เซียง(蔡襄)ในยุคสมัยซ่ง(ค.ศ. 1012-1067) เคยถวายเป็นข้าหลวงของซ่งเหยินจง(宋仁宗)ที่หน่วยงานชาบรรณาการ(ข้าหลวงที่รับผิดชอบผลิตชาเป็นเครื่องบรรณาการ) ใน《บันทึกชา(茶录)》เขาได้กล่าวไว้ว่า : ชาแผ่นกลมส่วนใหญ่จะใช้ครีมชาทาลงบนผิวหน้าของแผ่นชา ดังนั้นจึงมีสีเขียว เหลือง ม่วง ดำ ที่แตกต่างกัน ความเป็นจริง ใน《เรื่องราวชา》ที่ซ่งฮุยจงได้กล่าวถึง “สิ่งที่มีครีมจาง” และ “สิ่งที่มีครีมข้น” ล้วนเกี่ยวข้องกับความหนาบางของครีมชาที่ทาบนผิวหน้าชาแผ่นกลมมากน้อย

        อันที่จริง ยุคสมัยซ่งเป็นยุคสมัยของเมืองจีนที่มีชาอันมีชื่อเสียงปรากฏออกมาไม่ขาดสาย ในนี้มีชาก้อนมังกรแผ่นหงษ์(龙团风饼)ที่ผลิตอย่างประณีตบรรจง แม่แบบของแผ่นชามี 38 รูปแบบด้วยกัน รูปแบบอันหลากหลายที่วิจิตรตระการตา ผิวหน้าตกแต่งด้วยรูปสลักของมังกรหงษ์ ราวกับมีเวทย์มนตร์ทางศิลปะ ทำให้ผู้คนหลงใหลเป็นอย่างยิ่ง ในทั้งหมดนี้ มีอยู่เส้นทางหนึ่งที่คนรุ่นหลังยากที่จะพานพบ ซึ่งก็คือครีมชาเป็นตัวเพิ่มสีสันไม่น้อย ถ้าหากไม่มี “น้ำมันฉาเกาบนผิวหน้า” แล้ว ทำให้เกิดความด้อยลงไม่น้อย

        แต่ทว่า ความโชคร้ายก็บังเกิดขึ้น กรรมวิธีการผลิตชาลักษณะนี้ต้องหยุดอย่างปัจจุบันทันด่วน(戛然而止)ในยุคสมัยหมิง(明代) ฮ่องเต้จูเหยียนจาง(朱元璋)ที่สถาปนาราชวงศ์หมิงได้ออกพระบรมราชโองการยกเลิกการผลิตก้อนมังกรแผ่นหงษ์ ทั้งหมดให้เปลี่ยนเป็น “ชาเส้น”(散形茶) ทำให้กรรมวิธีการผลิตชายุคสมัยถังซ่งที่สืบสานต่อเนื่องกันมากว่าพันปีต้องหายสาบสูญ รวมทั้งฉาเกาอยู่ในนั้นด้วย นับจากนี้ไปไม่เห็นวี่แวว

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา》ตอนที่ 3---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


ภาพประกอบ :

                              รูป#1 : การแบ่งชา(分茶法)

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา (2)

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา
ตอน --- ต้นเค้าฉาเกาที่ปรากฏครั้งแรกในยุคสมัยถังของเมืองจีน
茶膏历史的演变 --- 中国唐代初现的茶膏雏形



        เกี่ยวกับลู่หยี่(陆羽) ข้อมูลทางประวัติศาสตร์มีการบันทึกไว้มากมาย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมากล่าวซ้ำซ้อน ณ ที่นี้ แต่มีอยู่ประเด็นหนึ่ง อาจเป็นเพราะนักประวัติศาสตร์ทางใบชาได้มองข้ามไป นั่นก็คือลู่หยี่ก็เป็นบุคคลแรกของเมืองจีนที่ค้นพบฉาเกา หรือกล่าวได้ว่าเป็นผู้บุกเบิก นี้ไม่ใช่เป็นการบัญญัติขึ้นมาใหม่ แต่เป็นเรื่องจริง

        ทำไมถึงได้กล่าวเช่นนี้? เป็นเพราะว่าลู่หยี่เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ทางใบชาของเมืองจีนที่นำ “ครีม”(膏:gāo) [สารลักษณะเป็นครีม(膏化物质)ที่ปรากฏออกมาจากใบชาภายหลังดำเนินการ] ที่ปรากฏอยู่ในใบชามาบันทึกลงใน《คัมภีร์ชา(茶经)》

        ก่อนอื่นขอให้พวกเรามาชิมลิ้มรสของตัวอักษร “ครีม”() นี้อย่างพิถีพิถัน

        ระยะแรกสุด《พจนานุกรม(说文解字)》 ของเมืองจีน ได้อธิบายตัวอักษร “ครีม” นี้ว่า : “ตาม,ตัวครีม,คือไขมัน。ควบตัวเป็นก้อนแข็งเรียกไขมัน, คลายตัวเป็นของเหลวเรียกครีม”(按,膏者,脂也。凝者曰脂,释者曰膏)

        การแพทย์โบราณเรียกไขมันในกล่องดวงใจ(fat in the heart : 心尖脂肪)ว่า “ครีม” ต่อมาเป็นการบ่งชี้ถึงแก่นสารแห่งวัตถุ(essence : 物之精华) อย่างเช่น : ไขกระดูกครีม(膏髓 : คำอุปมาแก่นสารของวัตถุ)

        ต่อมาอีก พวกหมอจีนยุคโบราณนำสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นแก่นแท้ที่สกัดจากสัตว์หรือพืชโดยผ่านวิธีการเคี่ยว มาขยายทำเป็นครีมยา(药膏 : ภาพประกอบรูป#1)

        การปรากฏของครีมยา เป็นการคิดค้นที่ยิ่งใหญ่ทางยาจีนดั้งเดิมของเมืองจีน มันไม่เพียงแค่เป็นความสำเร็จที่นำสารองค์ประกอบแยกออกมาจากสัตว์และพืชที่มีรูปลักษณะเดิมเป็นของแข็ง สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือมันมีลักษณะที่เข้มข้น ไม่ว่าเป็นการทานภายในหรือใช้ภายนอกจะมีความสะดวกกว่ามาก คุณสมบัติทางยาก็สูงกว่า

        ลู่หยี่พอดีจากกรรมวิธีการผลิตชาในยุคสมัยถัง(ภาพประกอบรูป#2) ที่ได้พบเห็น “ปรากฏการณ์เกิดเป็นครีม”(膏化现象) ส่วนที่ปรากฏขึ้นตามธรรมชาติหลังจากการดำเนินการผลิตใบชา ในขณะเดียวกันก็เกิดความรู้สึกอย่างฉับพลันได้ว่า “ปรากฏการณ์เกิดเป็นครีม” ลักษณะนี้มีส่วนคล้ายคลึงกับครีมยาของยาจีนดั้งเดิมของเมืองจีน ดังนั้น เป็นสิ่งใหม่ที่พบเห็นครั้งแรกจึงเรียกขานสารวัตถุชนิดนี้ว่า “ครีม” บันทึกลงใน《คัมภีร์ชา》

        ลู่หยี่ได้ค้นพบ “ครีม” ลักษณะนี้ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกรรมวิธีการผลิตชาในยุคสมัยถังช่วงเวลานั้น

        เนื่องจากการผลิตชาในยุคสมัยถังและวิธีการผลิตชาของพวกเราในทุกวันนี้มีความแตกต่างกันมาก กรรมวิธีการผลิตชาในช่วงเวลานั้นแทบจะเป็นชาดิบแผ่นกลมนึ่ง(蒸青饼茶)เป็นหลัก 《คัมภีร์ชา》ของลู่หยี่หลักใหญ่ก็คือการพรรณนารูปแบบการผลิตชาดิบแผ่นกลมในยุคสมัยถัง ที่พวกเรากล่าวกันว่า “ชา เฟื่องฟูในยุคถัง”(茶,兴于唐) ก็คือความหมายของความชำนาญการทางกรรมวิธีการผลิตชาดิบแผ่นกลมนึ่ง

        ใน《คัมภีร์ชา》ลู่หยี่ได้กล่าวสรุปเชิงขั้นสูงของกรรมวิธีการผลิตชาแผ่นกลมออกมาเป็นตัวอักษร 14 ตัว คือ “การเด็ด(采之) การนึ่ง(蒸之) การบด(捣之) การเคาะ(拍之) การอบ(焙之) การร้อย(穿之) การปิด(封之)”

     

        พวกเราเพียงรู้ว่าวิธีการผลิตชาที่ลู่หยี่นำเสนอออกมานั้น ภายหลังทีอิทธิผลอย่างมากต่อการผลิตชา 2 ชนิดด้วยกัน

        1. คือ ชาผูเอ๋อร์ของหยินหนาน ไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธีการผลิตชาแผ่นกลมแบบดั้งเดิมหรือเป็นชาสุกจากการหมักกองในทุกวันนี้ พวกเราล้วนค้นหาเจอแนวความคิดและร่องรอยทางการผลิตชาของลู่หยี่

        2. คือ มัตจะ(蒸青酶茶)ของญี่ปุ่น มันเป็นวิธีการผลิตชาที่ถ่ายทอดเข้าสู่ญี่ปุ่นจากเมืองจีนในยุคสมัยถัง และเป็นวิธีการผลิตชาวิธีหนึ่งที่ใกล้เคียงที่สุดกับยุคสมัยถังที่ญี่ปุ่นยังคงอนุรักษ์ไว้ตราบเท่าถึงทุกวันนี้

        ขอให้พวกเรากลับมาที่ตัวอักษร 14 ตัวทางการผลิตชาของลู่หยี่อีกครั้ง

        ในนี้มีหลายขั้นตอนที่เกี่ยวโยงกับฉาเกา ในที่นี้---“การนึ่ง การบด การเคาะ” 3 ขั้นตอนที่มีความเกี่ยวข้องกับการปรากฏตัวของ “ครีม” เป็นเพราะว่าใน 3 ขั้นตอนนี้ง่ายต่อการแยกส่วนของเหลวชาในใบชาออกจากสารเส้นใย ภายใต้การออกซิเดชั่นในอากาศ ทำให้ของเหลวชาที่ล้นออกมาปรากฏเป็นปรากฏการณ์เกิดเป็นครีม

        ลู่หยี่ในยุคสมัยที่เขาดำรงชีพอยู่ก็ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้แล้ว และได้กล่าวถึงตัวอักษร “ครีม” นี้มากครั้งใน《คัมภีร์ชา》เขาเชื่อว่าในกระบวนการผลิตชาแผ่นกลมควรที่จะให้ “ไหลออกเป็นครีม”(畏流其膏) ความหมายก็คือถ้าหากทำการขับ “ครีม” ออกมา จะทำให้ผิวหน้าของชาแผ่นกลมที่ผลิตออกมาเหมือนตะแกรงสานไม้ไผ่(箩筛) รูปลักษณะเหี่ยวแห้ง เขาเชื่อว่าชาแผ่นกลมที่ดีที่สุดควรที่จะเป็น “สิ่งเคลือบครีมย่น”(含膏者皱) ซึ่งก็คือนำของเหลวชาในใบชาขับออกมาจากใบชา แต่ไม่สูญหาย ยังติดอยู่บนผิวใบชา หลังผ่านการเกิดออกซิเดชั่นในอากาศ ทำให้ของเหลวชากลายเป็นสารลักษณะเป็นครีมหลงเหลืออยู่ในระหว่างใบชา จึงทำให้ผิวหน้าของชาแผ่นกลมเกิดเป็นรอยย่นอันเนื่องมาจากการก่อเกิดของ “ครีม” เมื่อเป็นประการฉะนี้ ในยุคสมัยถัง ลู่หยี่เชื่อว่าบนผิวหน้าของชาที่ดีจะต้องเป็น “สิ่งเคลือบครีมย่น” นี้เป็นมาตรฐานข้อหนึ่งในการแยกแยะชาดีในยุคสมัยถัง

        ใน《คัมภีร์ชา》ลู่หยี่จะยกย่องชาที่ดีที่สุดคือ “รองเท้าหู”(胡靴) คือมีรูปลักษณ์ภายนอกดั่งเช่นรองเท้าบูทของคนชนเผ่าหู(胡人 : ชนเผ่าที่ทำการล่าสัตว์ร่อนเร่พเนจรอยู่ทางทิศเหนือและตะวันตกของจีนโบราณ)ที่มีรอยย่นลักษณะที่ละเอียด นี้ก็คือตัวแทนแบบอย่างของ “สิ่งเคลือบครีมย่น”

        สิ่งที่อยากจะบ่งชี้ออกมาจุดหนึ่งคือ แม้ว่าลู่หยี่ได้ค้นพบปรากฏการณ์ “ลักษณะเป็นครีม” จากของเหลวชาที่ล้นออกมาจากการผลิตชาแผ่นกลม และเชื่อว่า “ครีม” นี้เป็นของดีในใบชา แต่เขาไม่ได้นำของเหลวชาและสารเส้นใยในใบชามาทำการแยกออกจากกันโดยเด็ขาด เพียงแต่ให้ “ครีม” ยังคงดำรงอยู่บนผิวหน้าของชาแผ่นกลม ซึ่งกับความหมายที่แท้จริงของ “ฉาเกา” ที่เกิดขึ้นภายหลัง ยังมีช่องว่างระยะห่างอีกช่วงหนึ่ง

        แต่ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การค้นพบของลู่หยี่เป็นการดลใจให้แก่ชนรุ่นหลังอย่างมาก หลังจากการเสียชีวิตของเขาเป็นเวลาร้อยกว่าปี คำว่า “ฉาเกา” ก็ปรากฏขึ้นมาอย่างเงียบๆ

        ในบันทึก《ประวัติศาสตร์ของ 10 ราชอาณาจักรแห่งจีนใต้(十国春秋)》ของหวูเยิ่นเฉิน(吴任臣) ในยุคถังใต้(南唐)ราชวงศ์เหมิ่น()ปีทงเหวิน(通文)ที่ 2(ค.ศ.937) ก็มีฉาเกานำถวายเป็นเครื่องบรรณาการแล้ว คือ “ถวายบรรณาการฉาเกาเจี้ยนโจว ผลิตในรสชาติที่แตกต่าง ติดด้วยผ้าไหมทอง ชื่อเรียกน้ายจ้งเออ ล้วนขนาดแปดไหม”(贡建洲茶膏,制以异味,胶以金缕,名曰耐重儿,凡八枚) จากหนังสือท่อนนี้ พวกเราจะพบเห็นได้ไม่ยากว่า :
        1. ชื่อเรียก “ฉาเกา” ได้ปรากฏอย่างเป็นทางการแล้ว
        2. ภายนอกใช้ผ้าไหมทองห่อหุ้ม แสดงถึงเป็นของล้ำค่า
        3. จำนวนน้อยมาก มีเพียงแค่ 8 ไหม() ซึ่งไม่เหมือนใบชาอื่นที่คำนวณเป็นจำนวนตาน( : 1 ตาน = 50 กก.) บ่งบอกถึงของมีน้อยจึงเลอค่า
        4. ทันทีที่เปิดเผยตัว ก็ปรากฏเป็นเครื่องบรรณาการ---ความเป็นฐานะที่มีชื่อเสียง ก็เป็นเพราะความมีเกียรติยศที่พิเศษเฉพาะเช่นนี้ ทำให้มันถูกยกให้เป็นของชั้นสูงในบรรดาชาบรรณาการในช่วงเวลานั้น ได้รับการบันทึกลงในหนังสือประวัติสาสตร์

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา》ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


ภาพประกอบ :

                                รูป#1 : ครีมยา(药膏)

                                รูป#2 : การผลิตชาในยุคสมัยถัง

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา (1)

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา
茶膏演变史



        ในประวัติการพัฒนาใบชาของเมืองจีน มีปรากฏการณ์หนึ่งที่น่าอัศจรรย์ใจที่ถูกนักวิชาการทางชามองข้ามอยู่เสมอ นั่นก็คือการที่ “คนชา”(茶人) หรืออาจเป็นจำนวนเล็กน้อยของ “ช่างชำนาญการ”(能工巧匠) ยุคโบราณที่ไม่เคยหยุดทำการทดลองตลอดมา---นำใบชามาทำการแยกสารเส้นใยและของเหลวชา(茶汁)ออกจากกัน แล้วนำของเหลวชาที่ได้มาทำการผึ่งลมให้แห้ง กลับคืนสู่การเป็นชาที่มีระดับสูงขึ้นอีกขั้นที่สามารถดื่มได้ ถือเป็นการสร้างสรรค์ใบชาของเมืองจีนที่เป็นรูปแบบการสำแดงประเภทที่ 2 ซึ่งทางประวัติศาสตร์เรียกว่า “ฉาเกา”(茶膏 : ครีมชา) ตามการจำแนกใบชายุคสมัยใหม่จัดเป็นชาก้อนละลายทันที(固态速溶茶)หรือเครื่องดื่มของแข็ง(固体饮料)

        ถ้ากล่าวว่าการนำยอดและใบของชาแห้งเป็นเป้าหมายของการชง หลังการชงจบสิ้นลงแล้วใบชายังคงอยู่ในรูปลักษณะของใบชาเดิม(ทั่วไปเรียกว่ากากชา : 茶渣或叶底) ถือเป็นใบชารูปแบบการสำแดงประเภทที่ 1 แล้ว รูปแบบการสำแดงประเภทที่ 2 ก็คือนำสารที่สามารถละลายน้ำในใบชาออกมา ทำเป็นครีมแห้ง(干膏)ที่คล้ายยาจีน หลังเสร็จสิ้นการชง ไม่มีกากชา ทั้งหมดละลายน้ำไปหมด

        ฉาเกาคือผลิตภัณฑ์ที่ผ่านดำเนินการเชิงลึกชนิดแรกในประวัติการพัฒนาใบชาของเมืองจีนและของโลก

        ฉาเการิเริ่มการผลิตขึ้นในยุคสมัยถัง(唐代) พัฒนาการในยุคสมัยซ่ง(宋代) ชำนาญการในยุคสมัยชิง(清代) จากต้นเค้าถึงชำนาญการผ่านประวัติมากว่าพันปี เนื่องจากมันเกี่ยวโยงกับกรรมวิธีที่สลับซับซ้อน ผลผลิตออกมาต่ำมาก ต้นทุนสูงมากเป็นพิเศษ จึงต้องแอบซ่อนอยู่นอกกระแสหลักของใบชาแต่ไหนแต่ใดมา มวลชนทั่วไปจำนวนน้อยมากที่มีความเข้าใจ แต่มันก็ปรากฏอยู่ในฐานะชาชั้นสูงเป็นประจำ หรือกล่าวได้ว่าตัวมันเองก็คือชาชั้นสูงแขนงหนึ่ง

        นี่เป็นแขนงหนึ่งที่น่าทึ่งมาก สามารถที่จะกล่าวได้ว่าเป็นแขนงหนึ่งที่ “สูงศักดิ์”(高贵) เป็นเพราะว่าผลิตภัณฑ์ชาที่เดินตามเส้นทางนี้ออกมา ล้วนถูกยกให้มีฐานันดร “เครื่องบรรณาการ”(贡品) ร่อนเร่พเนจรอยู่ในพระราชวัง กลายเป็น “ของหรูหรา”(奢侈品) ของพระราชวงศ์ที่สืบต่อเนื่องกันมา ผ่านกาลเวลาเป็นพันปีอย่างจิรังยั่งยืน

        ฉาเกาผูเอ๋อร์ก็เป็นไปตามเส้นทางแขนงนี้ที่ค่อยๆลอยโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำ เมื่อมาถึงราชวงศ์ชิง(清朝) มันก็กลายเป็นกระแสหลักของเส้นทางแขนงนี้ เป็นผู้บุกเบิกประวัติศาสตร์อันสง่างามยาวนานสองร้อยปีโดยตัวมันเอง

        ใบชาเมืองจีนก่อนยุคสมัยฮั่น(汉代) ถูกใช้เป็นยา เป็นเพราะว่าในระยะเริ่มต้นของการพัฒนายาจีนของเมืองจีน ก็นำพืชบางชนิดมาชงน้ำให้ผู้คนดื่มเป็นประจำ เพื่อให้เกิดผลทางการรักษา วิธีการเช่นนี้ในความเป็นจริงยังคงอนุรักษ์ไว้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน อย่างเช่นทุกวันนี้ที่พวกเรานำเจียวกู่หลาน(绞股蓝) เมล็ดเก๋ากี้(枸杞子) แผ่นโสมจีน(人参片) ดอกสายน้ำผึ้ง(金银花) ชะเอม(甘草) เป็นต้นมาชงดื่ม เป็นการสืบสานวิธีการรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่ดั้งเดิมที่สุดของยุคโบราณ

        ใบชาหลังยุคสมัยฮั่น เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิวัติครั้งหนึ่ง มันไม่ใช่วัตถุยารสเดียว(一味药材)บนมือของหมอแมะโบราณ(古代郎中)[หมอจีน(中医师)]เพื่อใช้สำหรับคนไข้อีกต่อไป กลายมาเป็นเครื่องดื่มชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วไป ความหมายของการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็คือ ทันทีที่ใบชาได้หลุดพ้นออกจากบริบทของยารักษา หรือกล่าวได้ว่าหลุดออกมาจากพู่กันที่เปิดสูตรยาจีนของหมอแมะโบราณ(หมอจีน) เริ่มเข้าสู่โลกทัศน์ทางการบริโภคประจำวันของมวลชนทั่วไป ความนิยมและปริมาณความต้องการก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก การมีส่วนร่วมในการเพาะปลูกและการเด็ดเก็บกับการผลิตใบชาก็ไม่ใช่เป็นการเฉพาะสำหรับหมอแมะโบราณ(หมอจีน) แต่วิวัฒนาการเป็นการตระหนักรับรู้ของกลุ่มมวลชน

        เมื่อเป็นประการฉะนี้ แนวความคิด “คนชา” ของเมืองจีนได้ปรากฏขึ้นมาแล้ว มันไม่ใช่เป็นการเรียกขานเฉพาะถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นการเรียกเฉพาะถึงมวลชน(群体)กลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นมวลชนที่พิเศษเฉพาะกลุ่มหนึ่ง และก็เป็นมวลชนที่เปี่ยมล้นด้วยภูมิปัญญากลุ่มหนึ่ง

        มวลชนกลุ่มนี้ตั้งแต่หลังยุคสมัยฮั่น นำใบอ่อนแต่ละใบที่เด็ดเก็บจากต้นชามาดำเนินการเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ชาที่มีรูปลัษณะต่างๆ รสชาติที่ไม่เหมือนกัน ก่อเกิดเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่ใหญ่โต กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้คนบริโภคประจำวัน ทำนอง 7 สิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต(开门七件事) : ฟืน-ข้าวสาร-น้ำมัน-เกลือ-ซีอิ๊ว-น้ำส้มสายชู-ชา(柴米油盐酱醋茶) นี้คือการเขียนภาพที่เป็นจริงที่สุด

        มวลชนกลุ่มนี้ได้สืบสานต่อเนื่องกันมาจนถึงยุคสมัยถัง ปรากฏบุคคลผู้หนึ่งที่เป็นเชิงสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดในบรรดา “มวลชนคนชา”(茶人群体)  บุคคลผู้นี้ก็คือลู่หยี่(陆羽)---เป็นบุคคลตั้งแต่ยุคสมัยถังและหลังยุคสมัยถังตราบจนถึงทุกวันนี้ที่คนจีนยกย่องให้เป็น “นักปราชญ์แห่งชา”(茶圣)

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา》ตอนที่ 1---เขียนโดย เฉินเจี๋ย