4.3 เครื่องลายครามรัชศกซวนเต๋อยุคหมิง/明宣德青花瓷
รัชศกซวนเต๋อยุคหมิง (ศักราชของจักรพรรดิจูจานจี/หมิงซวนจง ปี1426-1435) สืบราชสันตติวงศ์ได้เพียง 10 ปี เป็นช่วงที่เจริญรุ่งเรืองของยุคหมิง ประจวบเหมาะจักรพรรดิจูจานจีเป็นผู้หลงใหลในศิลปกรรมเป็นอย่างมาก อย่างเช่น “กระถางธูปซวนเต๋อ/宣德炉” อันเลื่องชื่อก็ปรากฏขึ้นในรัชศกนี้ จักรพรรดิจูจานจีเป็นศิลปินที่มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ได้บรรลุเครื่องเคลือบรัชศกซวยเต๋อให้มีชื่อเสียงขจรขจาย
• สารสีคราม
เครื่องลายครามรัชศกซวนเต๋อจะใช้ “สารสีครามนำเข้า” และ “สารสีครามจากจีน” 2 ชนิด จะใช้ซูหมาหลีชิงที่นำเข้าเป็นตัวหลักในการเขียนวาดภาพ ในการเขียนระบายลวดลายตกแต่งมีทั้งใช้สารสีเพียงตัวเดียว และก็ใช้สารสีผสม โดยทั่วไปอ้างอิงตามลวดลายตกแต่งที่แตกต่างกันมาตัดสินว่าจะใช้สารโคบอลต์ตัวไหนมาเขียนลวดลายตกแต่งบนส่วนไหน ปกติจะใช้สารสีครามจากจีนในการเขียนวาดลายเส้นอ่อนๆ ใช้สารสีครามนำเข้าในการเขียนระบายรูปภาพ
• ลักษณะเฉพาะ
เครื่องลายครามที่เผาผลิตจากโรงเตาเผาราชสำนักจิ่งเต๋อเจิ้นในช่วงรัชศกซวนเต๋อ มีชื่อก้องโลกโดยรูปลักษณ์ที่เรียบง่ายประณีต สีเคลือบที่สุกใสสกาว ลวดลายตกแต่งหลากหลายรูปแบบ เมื่อเปรียบเทียบกับภาชนะลายครามของแต่ละรัชศกยุคหมิงแล้ว ถือว่ามีเทคนิคการเผาผลิตบรรลุถึงจุดสุดยอด กลายเป็นหนึ่งในเครื่องเคลือบมีชื่อของจีน ความสำเร็จนี้ได้รับการยกย่องให้เป็น “สิ่งมหัสจรรย์ที่ไม่เคยมีมาก่อนในยุคใดๆ/开一代未有之奇”
ในช่วงยุคหมิง/ชิงมีเรื่องราวที่เลื่องลือกันว่า จักรพรรดิซวนเต๋อทรงโปรดปรานกัดจิ้งหรีดเป็นอย่างมาก แต่เอกสารประวัติศาสตร์ไม่มีการบันทึกไว้ ในบรรดาเครื่องเคลือบเตาหลวงรัชศกซวนเต๋อ 1174 ชิ้นที่เคยเก็บอยู่ในพระราชวังราชวงศ์ชิง ส่วนใหญ่ตกทอดจากรัชศกซวนเต๋อ แต่ไม่พบเห็นมีขวดโหลจิ้งหรีดสักชิ้น จนเมื่อทำการขุดโบราณคดีซากเตาหลวงที่ตำบลจูซานจิ่งเต๋อเจิ้นเมื่อช่วงปี1993 พบซากกองเศษชิ้นส่วนเครื่องเคลือบรัชศกซวนเต๋อ เมื่อนำชิ้นเศษมาประกอบฟื้นฟูคืนสู่สภาพเดิมแล้ว ได้ขวดโหลจิ้งหรีดลายครามเป็นจำนวนมาก นี่เป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าจักรพรรดิซวนเต๋อทรงชื่นชอบปั่นจิ้งหรีดจริง ทำให้เราได้ทราบความจริง(ที่ไม่ยอมเปิดเผย เพราะจะทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศ)ที่เป็นด้านลบอีกด้าน
• ตราประทับ
ตำแหน่งที่เขียนตราประทับบนเครื่องเคลือบรัชศกซวนเต๋อยุคหมิงมีลักษณะพิเศษเฉพาะอย่างหนึ่ง ก็คือบนตำแหน่งต่างๆของเครื่องเคลือบล้วนมีความเป็นไปได้ที่ปรากฏตราประทับ ไม่ว่าเขียนบนขอบ/หู/คอ/กลางก้น/ใต้ก้น/พวย/ท้อง ซึ่งเป็นไปตามรูปลักษณะของวัตถุภาชนะที่แตกต่างกัน ตราประทับส่วนใหญ่เขียนอักษรข่ายซู “大明宣德年製/ผลิตปีซวนเต๋อต้าหมิง” ในหลายรูปแบบ ส่วนภาชนะจากเตาเผาเอกชนจะเขียนตราประทับอักษร “福/ฮก ; 夀/ซิ่ว ” และ “梵文/อักษรเทวนาครี”
เครื่องลายครามรัชศกซวนเต๋อเป็นหนึ่งในเครื่องเคลือบมีชื่อของจีน เริ่มต้นนับตั้งแต่รัชศกเจียจิ้งยุคหมิง ทุกรัชศกทุกยุคที่สืบต่อกันมาจะมีการทำเลียนแบบเครื่องลายครามรัชศกซวนเต๋อ ยุคปี 30 ศตวรรษที่ 20 ประเทศอังกฤษ/สหรัฐ/เยอรมัน/ฝรั่งเศส/ญี่ปุ่นต่างทำการรับซื้อเครื่องลายครามรัชศกซวนเต๋อเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยเท่า ปัจจุบันการเก็บรักษาเครื่องเคลือบรัชศกซวนเต๋อ ส่วนใหญ่รวบรวมอยู่ในพิพิธภัณฑสถานต่างๆที่มีชื่อของโลก จะพบเห็นได้น้อยมากในองค์กรอื่นๆและเอกชน
เอกสารอ้างอิง :
1. 明宣德青花瓷 : https://baike.sogou.com/m/v29649.htm
2. 耿宝昌 : 宣德青花鉴定五大特征 : http://www.360doc.cn/article/71850423_939410853.html