วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนต้น-3)

ตอนที่ 3 : หลักฐานอ้างอิงทางชีววิทยาต่อการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันของชาผูเอ๋อร์
普洱茶能降低猝死风险吗 ? (上)
普洱茶降低猝死风险的生物学依据 (三)



        การดื่มชาผูเอ๋อร์รูปแบบการทำให้เข้มข้นขึ้นในตอนเช้า บังเกิดผลในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน นี่เป็นเพราะว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ(Coronary Heart Disase) โรคสมองอุดตาย(Cerebral Infraction) โรคลมชัก(Apoplexy) เป็นต้นมักจะเกิดปะทุขึ้นในตอนเช้าช่วงเวลา 7:00-9:00 น. (แต่ไม่จริงแท้เสมอไป) อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือชาผูเอ๋อร์ประกอบด้วยคาแฟอิน(咖啡碱) ซึ่งคาแฟอินนี้คือสารแอลคาลอยด์(生物碱)ชนิดพิเศษ หน้าที่ทางสรีรวิทยาที่พื้นฐานที่สุดคือก่อให้เกิดการต้านฤทธิ์กัน(Antagonism)เชิงเข้าไปแข่งขันกับตัวรับอะดีโนซีน(Adenosine Receptor) ทางเภสัชวิทยา คือส่งผลถึงการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มปริมาณเลือดที่เข้าสู่ไต(Renal Blood Flow) การขับปัสสาวะ(Diuresis)และบำรุงหัวใจ(Cardiotonic) เป็นต้น ขณะเดียวกัน มันยังสามารถเพิ่มความดันโลหิตสูง เพิ่มปริมาณสารแคธีโคลามีน(Catecholamine)ในเลือด เพิ่มฤทธิ์ของโปรตีเอสความดันโลหิตสูง(Protease Hypertension)ในเลือด เพิ่มระดับอนุมูลอิสระของกรดไขมันในซีรั่ม(Serum)ให้สูงขึ้น เพิ่มการหลั่งของกรดกระเพาะ(Gastric Acid)

        ในการดำเนินการทดลองทางชีววิทยาของชาผูเอ๋อร์ต่อการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันของพวกเรานั้น มีความตระหนักในการนำกาแฟวางไว้ในตำแหน่งของวัตถุอ้างอิง ด้านหนึ่งคือกาแฟมีเคสการทดลองและข้อมูลทางการป้องกันการตายอย่างกะทันหันอย่างมากมาย สามารถที่จะนำมาเป็นหลักฐานเทียบเคียงได้ ; อีกด้านหนึ่ง หลังจากผ่านการทดลองเชิงเปรียบเทียบแล้ว ทำให้ข้อพิสูจน์ของชาผูเอ๋อร์เป็นที่เชื่อใจได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องถึงชาผูเอ๋อร์และกาแฟในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันของร่างกายมนุษย์ต่อจากนี้ไป ซึ่งข้อมูลที่เปิดเผยออกมาของชาผูเอ๋อร์เป็นที่เหนือกว่ากาแฟ มิใช่เป็นการลดทอนและการทำให้ด้อยลงในคุณค่าการชิมดื่มของกาแฟเป็นอันขาด

        พวกเราได้พยายามทำการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบใน 4 ด้านด้วยกัน :

        1. ปริมาณคาแฟอินที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในชาผูเอ๋อร์สูงกว่ากาแฟในระดับเกือบ 1 เท่าหรือเกินกว่า 1 เท่า

        ปริมาณคาแฟอินใน 100 กรัมของชาผูเอ๋อร์คือ 3-5 กรัม ส่วนปริมาณคาแฟอินใน 100 กรัมของกาแฟ(เมล็ด ผง)มีเพียง 1.3-1.9 กรัม ภายใต้เบื้องต้นคาแฟอินที่ถูกละลายออกมา 80% ของของเหลวในปริมาณที่เท่ากันที่ทำให้เข้มข้นขึ้นจากวัตถุดิบในจำนวนเดียวกัน “ปริมาณการรับยา”(Administered) ของชาผูเอ๋อร์มีปริมาณมากกว่ากาแฟเพิ่มขึ้นเป็น 1 เท่าอย่างเด่นชัด ดังนั้น ด้านการขยายหลอดเลือด เพิ่มปริมาณเลือดเข้าสู่ไต เป็นต้น “ผลปฏิบัติการสอดแทรก”(干预作用) ของคาแฟอินในชาผูเอ๋อร์เหนือกว่าการแฟอย่างเห็นได้ชัด ผลลัพธ์ก็ดีกว่ากาแฟ



        2. ในชาผูเอ๋อร์ประกอบด้วยสารแอลคาลอยด์ที่กาแฟไม่มี สารแอลคาลอยด์นี้จะมีสารธีโอฟิลลีน ซึ่งมีสรรพคุณบำรุงหัวใจ(คล้ายคลึงกับยาบำรุงหัวใจ)

        ชาผูเอ๋อร์ไม่เพียงเฉพาะมีคาแฟอิน แต่สารแอลคาลอยด์(Alkaloid)ที่ก่อตัวขึ้นจากคาแฟอินอันเป็นสารหลัก ท่ามกลางนี้ แอลคาลอยด์บางชนิดที่ทั้งชาผูเอ๋อร์และกาแฟต่างมีร่วมกัน บางชนิดที่กาแฟไม่มี ในนี้ก็มีแอลคาลอยด์ชนิดหนึ่งที่สำคัญมาก----ธีโอฟิลลีน(茶碱) ซึ่งมีเฉพาะในใบชา ธีโอฟิลลีนถือเป็นวัตถุยากลุ่มเมทธิลพิวรีน(Methyl Purine) มีหน้าที่คล้ายคลึงกับยาบำรุงหัวใจ บังเกิดผลทางบำรุงหัวใจ การขับปัสสาวะ ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่หัวใจ การคลายหลอดลมกล้ามเนื้อเรียบและกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เป็นต้น แม้ว่าปริมาณที่เป็นองค์ประกอบของมันจะต่ำมาก มีเพียง 0.003% (พันธุ์ใบกลางเล็กมีเพียง 0.002%) แต่คุณค่าทางยาสูงมาก นี่ก็คือหลักฐานอ้างอิงหนึ่งที่สำคัญในผลสรุปของพวกเราที่ให้ปฏิบัติการบนการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันของชาผูเอ๋อร์เหนือกว่ากาแฟ อันที่จริง แอลคาลอยด์ในชาผูเอ๋อร์หลักใหญ่แบ่งออกเป็นพิวรีนเบส(Purine Base)และไพริมิดีนเบส(Pyrimidine Base)สองประเภท ประเภทพิวรีนเบสประกอบด้วยคาแฟอิน(Caffeine) ธีโอโบรมีน(Theobromine) ธีโอฟิลลีน(Theophilline) แซนทีน(Xanthine) ไฮโพแซนทีน(Hypoxanthine) เลียนแบบแซนทีน(Imitae Xanthine) อะดีนีน(Adenine) อะไซโคลเวียร์(Acyclovir) เป็นต้นรวม 8 ชนิด ทั้งหมดนี้ชนิดที่มีปริมาณองค์ประกอบมากที่สุดคือคาแฟอิน คิดเป็น 3-5% ของปริมาณชาแห้งทั้งหมด รองลงมาคือธีโอโบรมีน คิดเป็น 0.05% ของปริมาณชาแห้งทั้งหมด รองลงมาอีกคือธีโอฟิลลีน คิดเป็น 0.003% ของปริมาณชาแห้งทั้งหมด ส่วยพิวรีนชนิดอื่นๆมีปริมาณองค์ประกอบยิ่งต่ำลงมาก ดังนั้น ในวงการทางวิชาการคุ้นเคยที่เรียกขานคาแฟอินเป็นตัวแทนของแอลคาลอยด์ในใบชา ประเภทไพริมิดีนเบสประกอบด้วยยูราซิล(Uracil : 2.4 Dihydroxypyrimidine) ไทมีน(Thymine : 5-Methyl-2.4-Dioxypyrimidine) ไซโทซีน(Cytosine : 2-Hydroxyl-4-Aminopyrimidine) รวมเป็น 3 ชนิด

        สิ่งที่ต้องการกล่าวให้ชัดแจ้งก็คือ ตัวของพิวรีนไม่สามารถดำรงอยู่โดยลำพังตัวของมันเองได้ในท่ามกลางธรรมชาติ มันประกอบด้วยวงแหวนตัวแม่ 2 ตัว-----ระบบเฮเทอโรไซคลิก(Heterocyclic System)ที่เกิดจากการควบแน่นของไพริมิดีนและอิมิดาโซล(Imidazole) แต่สารอนุพันธ์กลุ่ม ไฮดรอกซิล(Hydroxyl) อะมิโน(Amino) เมทธิล(Methyl) ของมันล้วนเป็นสสารทางธรรมชาติของต้นชาและใบชา เป็นสารประกอบปฐมภูมิ(Primary Metabolites)ของพืช ซึ่งก็คือสารอาหารจากพืชชนิดหนึ่งที่พวกเรากล่าวถึงอยู่เสมอๆ สารประเภทพิวรีนเบสทั้ง 8 ชนิดในใบชาก็เป็นเพียงสารอยู่ในกลุ่มนี้



        3. กระบวนการหมักของชาผูเอ๋อร์ปรากฏสารประกอบทุติยภูมิจำนวนมากที่เพียบพร้อมด้วยคุณค่าทางยา

        นี่คืออีกหลักฐานอ้างอิงหนึ่งที่สำคัญของชาผูเอ๋อร์ในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันที่เหนือกว่ากาแฟ อย่างการหมักกองบวกกับการหมักภายหลังหลังการอัดขึ้นรูปของชาสุก การหมักภายหลังหลังการอัดขึ้นรูปของชาดิบ ล้วนเกี่ยวข้องกับการหมัก และกระนั้น การหมักของมันมีกระบวนการการหมักโดยแบคที่เรียที่ต้องการออกซิเจน(การหมักที่ต้องใช้ออกซิเจน) การหมักที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจน การหมักกึ่งไม่ต้องใช้ออกซิเจน กระบวนการเหล่านี้จะปรากฏสารประกอบทุติยภูมิ(Secondary Metabolites)ออกมาเป็นจำนวนมาก สารประกอบทุติยภูมิเหล่านี้ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบที่มีคุณสมบัติทางยา ล้วนช่วยในการเยียวยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น พิจารณาจากอีกมุมมองหนึ่ง คือเป็นการช่วยให้บังเกิดผลในการป้องกันการตายอย่างกะทันหันอย่างใหญ่หลวงเช่นกัน สิ่งที่มีคุณค่าที่ต้องกล่าวถึงก็คือ พวกมันทุกตัวล้วนมีปริมาณส่วนประกอบน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นสารโมเลกุลเล็ก ถือเป็นระดับไมโครและปริมาณอันน้อยนิด แทบจะตรวจวัดไม่เจอในสภาวะปกติ ยิ่งไม่ถึงระดับ “ปริมาณการรับยา” ตามที่ความต้องการ ดังนั้น จึงไม่สามารถนำพวกมันจัดเป็น “ยาเจาะจงเป้าหมาย”(Targeted Drug) อย่างง่ายๆได้ แต่ทว่า การออกฤทธิ์ของพวกมันสูงมาก จึงส่งผลทางสรีรวิทยาต่อร่างกายมนุษย์อย่างเด่นชัด ในการทดลองทางชีววิทยาของชาผูเอ๋อร์ ข้อมูลมากมายก็ได้บ่งชี้ออกมา ผลลัพธ์ของชาที่ผ่านการหมักมาแล้วดีกว่าชาที่ยังไม่เกิดการหมัก

        4. สารจำพวกไขมันจำนวนมากที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในกาแฟ คิดเป็นปริมาณของไขมันสูงถึง 16%

        สารจำพวกไขมันสูงของกาแฟคือที่มาที่สำคัญของกลิ่นหอมกาแฟที่เต็มเปี่ยม แต่ไขมันในใบชาเป็นศูนย์ ไม่มีกลิ่นหอมแรงอย่างกาแฟ แต่สำหรับการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดแดงแข็ง เป็นต้น-----การดื่มกาแฟเป็นระยะเวลาอันยาวนาน มีโอกาสนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด(Cardiovascular Disease) กล่าวทางด้านความปลอกภัยทางการดื่มแล้ว ใบชาจะปลอดภัยกว่ากาแฟ และกระนั้น การศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้เปิดเผยออกมาว่า เครื่องดื่ม 3 ผู้ยิ่งใหญ่บนโลก : กาแฟ โกโก้ ใบชา ใบชาได้รับการยอมรับแล้วว่าเป็นเครื่องดื่มที่ปลอดภัยที่สุด

........ยังมีต่อ........
โปรดติดตาม《ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ)》


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนต้น)》ตอนที่ 3---เขียนโดย เฉินเจี๋ย

ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ-1)

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนต้น-2)

ตอนที่ 2 : การทดลองทางชีววิทยาของ “ชาย่าง” ที่ลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน
普洱茶能降低猝死风险吗 ? (上)
“烤茶” 降低猝死风险的生物实验 (二)



        พวกเรามักมีความเคยชินอย่างหนึ่ง คือเมื่อต้องการให้ร่างกายตื่นตัวกระปรี้กระเปร่าแล้ว งั้นต้องชงชาดื่มสักจอก ไม่งั้นก็ดื่มกาแฟสักถ้วย เหตุผลง่ายมาก พรรณพืชสองชนิดนี้ล้วนประกอบด้วยคาแฟอิน(Caffeine) คาแฟอินมีผลในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ของยุโรปและสหรัฐแนะนำให้ดื่มกาแฟในตอนเช้า สามารถลดอุบัติการณ์ของการตายอย่างกะทันหัน(Sudden Death)ได้ แต่สำหรับชาแล้ว ไม่เคยมีคำกล่าวทางด้านนี้มาก่อนเลย

        การทดลองครั้งนี้ของพวกเราเป็นการตรวจสอบปริมาณคาแฟอินที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในชาและกาแฟบนฐานในจำนวนที่เท่ากัน ตัวอย่างการทดลองของพวกเราแยกเป็นชาดิบผูเอ๋อร์(ชาใบ)เขาจิ่งม้ายจาก Yunnan Brillant PuEr Fazenda Co., Ltd. และผงกาแฟชื่อดังของประเทศหนึ่งซึ่งหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด

        พวกเราให้ผู้ทำการทดลองนำตัวอย่างชาผูเอ๋อร์และผงกาแฟอย่างละ 5 กรัม มาชงด้วยน้ำเดือด 300 มิลลิลิตร แช่นาน 20 นาที ทุกๆ 5 นาทีทำการคนหนึ่งครั้งเพื่อให้กาแฟเกิดการละลายอย่างเต็มที่ เพื่อให้ใบชาชงออกมาถึงที่สุด ผ่านการกรองหลังเย็นตัวลง แล้วนำตัวอย่างไปทำการแสดงผลโดยเครื่อง High-Performance Liquid Chromatography

        การทดลองบ่งชี้ว่า : ปริมาณคาแฟอินประกอบอยู่ใน 5 กรัมของผงกาแฟที่ละลายทันทีคือ 195 มิลลิกรัม ปริมาณคาแฟอินประกอบอยู่ใน 5 กรัมของชาดิบผูเอ๋อร์คือ 236 มิลลิกรัม ผลสรุปคือชาและกาแฟในจำนวนที่เท่ากันภายใต้เงื่อนไขการเตรียมการที่เหมือนกัน ปริมาณคาแฟอินที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในใบชาสูงกว่ากาแฟ

        อันที่จริงผลสรุปครั้งนี้ไม่ใช่เป็นผลครั้งแรกที่พวกเราสรุปออกมา องค์การวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากก่อนหน้านี้ได้เคยทำการตรวจสอบที่มีลักษณะคล้ายกันมาแล้ว นอกจากข้อมูลที่ผันแปรเพียงเล็กน้อย(อันเนื่องมาจากตัวอย่างการทดลองที่ไม่เหมือนกัน) แต่ผลสรุปออกมาเหมือนกัน การทดลองของพวกเราถือเป็นการทำซ้ำเท่านั้น



ปริมาณคาแฟอินใน 100 กรัมของกาแฟ ชาผูเอ๋อร์
ชนิด
ปริมาณคาแฟอิน (กรัม)
กาแฟ
ระหว่าง 1.3 - 1.9
       ชาผูเอ๋อร์        (ชาดิบ 5 ปี)
ระหว่าง 3 -5

        ข้อมูลเปรียบเทียบของคาแฟอินข้างต้น บ่งบอกข้อเท็จจริงหนึ่งว่า ปริมาณคาแฟอินในชาผูเอ๋อร์สูงกว่ากาแฟ

        ในนี้มีข้อสงสัยหนึ่ง ทำไมถึงมีการคิดขึ้นมาว่ากาแฟป้องกันการตายอย่างกะทันหันได้? แต่เหตุไฉนชาผูเอ๋อร์ถึงไม่มีเล่า? กระทั่งการกล่าวเฉพาะทางด้านผลของการกระตุ้นให้สดชื่นแล้ว ตราบจนถึงทุกวันนี้ทำไมยังเชื่อว่ากาแฟสูงกว่าชาที่พวกเราดื่มอยู่เป็นประจำ?

        ในระหว่างที่พวกเราทำการสืบค้นเข้าไป พวกเราค้นพบว่า เป็นเพราะเนื่องจากวิธีการชิมดื่มที่ไม่เหมือนกัน เมื่อตอนที่พวกเราชิมดื่มกาแฟ ไม่ว่าจะเป็นกาแฟชนิดละลายทันที หรือเป็นเมล็ดกาแฟบด สุดท้ายคือล้วนนำกาแฟ 5-10 กรัมทำให้เข้มข้นอยู่ในถ้วยเดียว แต่ช่วงเวลาที่พวกเราดื่มชา เป็นการนำชาแห้ง 5-10 กรัมทำการชงออกมาเป็นจอกแล้วจอกเล่า แม้ว่าจะทำการดื่มหมดโดยตัวเอง ก็ต้องลากเวลาออกไปในการดื่มแต่ละจอก เวลาที่ยืดยาวออกไป ทำให้ผลของปริมาณการสะสมลดต่ำลง ดำรง “ปริมาณการรับยา”(Administered) ไม่เพียงพอชั่วขณะนั้น

        เมื่อเป็นประการฉะนี้ แม้ว่าชาผูเอ๋อร์มีปริมาณคาแฟอินต่อหน่วยสูงกว่ากาแฟ แต่เนื่องจากวิธีการชงดื่มไม่เหมือนกัน จึงไม่เคยมีการคิดขึ้นมาว่าป้องกันการตายอย่างกะทันหันได้ ผู้คนก็ยังคงเชื่อว่าผลการออกฤทธิ์ของกาแฟสูงกว่าชาผูเอ๋อร์

        รูปแบบของ “ชาย่าง” ทำให้วิถีการมองแบบนี้ของพวกเราเปลี่ยนไป มันคล้ายคลึงกับรูปแบบการชงดื่มกาแฟ คือการนำชาหยิบมือเดียว(8-15 กรัม)ทำให้เข้มข้นขึ้นเป็นน้ำชาถ้วยเดียว(เข้มข้นกว่าน้ำชาทั่วไปมาก) ซึ่งมีปริมาณคาแฟอินสูงกว่ากาแฟมาก

        แต่ทว่า มุมมองนี้เป็นเพียงการคาดเดาจากประสบการณ์ ขาดซึ่งการพิสูจน์โดยการทดลอง เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราจึงได้ดำเนินการทดลองทางชีววิทยาขึ้นเป็นครั้งแรก


หัวข้อการทดลอง : ผลกระทบของ "ชาย่าง" และกาแฟต่อการป้องกันการตายอย่างกะทันหันของสัตว์

จุดประสงค์ของการทดลอง : ผ่านการป้อนสาร “ชาย่าง” และกาแฟปริมาณมากในตอนเช้า เฝ้าสังเกตผลของ “ชาเข้ม” และกาแฟต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ(Coronary Heart Disase)อันนำไปสู่การตายอย่างกะทันหันของหนูทดลอง เพื่อยืนยันผลทางสรีรวิทยาของคาแฟอินใน “ชาเข้ม” และกาแฟ วิเคราะห์ประสิทธิ์ภาพของ “กลไกการออกฤทธิ์ทางยา”(Medicinal Mechanism

เป้าหมายของการทดลอง : หนูทดลอง “แบบมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว(Arteriosclesis)นำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” การทดลองใช้หนูทดลองตัวผู้พันธุ์คุนหมิง 36 ตัว น้ำหนักตัว 17-20 กรัม จัดหามาโดยห้องทดลองสัตว์มหาวิทยาลัยทางการแพทย์ประเทศจีน จัดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มโดยการสุ่ม แยกออกเป็น : 
        A  ป้อนชาย่างให้กิน เป็นกลุ่มทดลอง
        B  ป้อนกาแฟให้กิน เป็นกลุ่มทดลอง
        C  ป้อนน้ำบริสุทธิ์ให้กิน เป็นกลุ่มควบคุม

ตัวอย่างการทดลอง (1) : ชาผูเอ๋อร์(เหมาฉาตากเขียวเกรด 7)เขาจิ่งม้ายจาก Yunnan Brillant PuEr Fazenda Co., Ltd.

ตัวอย่างการทดลอง (2) : ผงกาแฟยี่ห้อดังจากอิตาลี(หาซื้อจากท้องตลาด)

ขั้นตอนและวิธีการของการทดลอง :
① นำเหมาฉามาชงโดยรูปแบบของชาย่าง ได้น้ำชาที่ใกลัเคียงกับการทำให้เข้มข้น นำผงกาแฟมาชงโดยวิธีการไซฟอน(Siphon Coffee Maker)ได้กาแฟเข้มข้น
② เติมน้ำตาลเทียมลงใน “ชาเข้ม” และกาแฟ(ง่ายต่อการป้อนให้กิน)
③ ทำการป้อนให้กินเวลา 7:00 น. ในตอนเช้าของทุกวัน ช่วงเวลา 9:00 ถึง 21:00 น. แบ่งออกเป็น 4 ครั้งเพื่อป้อนอาหารสัตว์ที่มีไขมันสูง(แคลอรี่สูง) ขอบเขตของกิจกรรม กำหนดช่วงระยะเวลา 3 เดือน
④ 15 วันหลังจาก 3 เดือนผ่านไปสอดแทรกการใช้อุณหภูมิจากเครื่องปรับอากาศ ช่วงเวลากลางวันตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25ºC ช่วงเช้าและกลางคืนลดเหลือ 3ºC-5ºC (จำลองความแปรปรวนของอุณหภูมิที่แตกต่างกันของเขาชาในฤดูหนาว อุณหภูมิที่ต่ำมากเกินไปก่อให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดอันนำไปสู่อุบัติการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและสมองอุดตาย)



ผลการทดลอง : ตารางทางสถิติแสดงปริมาณการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบปะทุขึ้น อัตราการตาย อัตราการป้องกันการตายอย่างกะทันหัน
กลุ่ม
        A         (กลุ่มทดลอง)
        B          (กลุ่มทดลอง)
        C          (กลุ่มควบคุม)
หนูทดลอง (จำนวน)
12 ตัว
12 ตัว
12 ตัว
ปริมาณการตายสะสม
8 ตัว
9 ตัว
11 ตัว
อัตราการตาย
66.66%
75%
91%
อัตราการป้องกันการตายอย่างกะทันหัน
33%
25%
8%

(หมายเหตุ : ข้อมูลการทดลองข้างต้นเป็นเพียงตัวแทนของผลการทดลองครั้งนี้)

การผ่าและพิสูจน์ศพและผลสรุปเบื้องต้นของการทดลอง :
        การตายของหนูทดลองเกิดจากปัจจัยหลายๆสาเหตุด้วยกัน ผ่านจากการผ่าศพสัตว์และร่างเป็น(สัตว์ที่ยังไม่ตาย) จะได้หลักฐานทางการแพทย์ที่ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ด้านการวิเคราะห์จากการผ่าและพิสูจน์ศพหลักใหญ่ดำเนินการแวดล้อม 8 ด้านด้วยกัน :
① การกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและการหายใจ
② การขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่หัวใจ(Coronary Artery)
③ การกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiac Muscle)
④ การคลายของกล้ามเนื้อลาย(Striated Muscle)
⑤ การกระตุ้นกล้ามเนื้อยึดกระดูก(Skeletal Muscle)
⑥ การคลายของกล้ามเนื้อเรียบ(Smooth Muscle)
⑦ การขับปัสสาวะ(Diuresis)
⑧ การวิเคราะห์เปรียบเทียบความเป็นพิษ
        (เนื้อหาที่เชื่อมโยงข้างต้น ในที่นี้จะไม่ให้รายละเอียด เนื่องจากจุดสำคัญของบทความนี้เพื่อเป็นการแบ่งปัน “กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์” ที่ปรากฏออกมา ซึ่งแตกต่างจากวิทยานิพนธ์ทางวิชาการบริสุทธิ์)

ผลสรุปเบื้องต้นหลังผ่านการทดลองและการวิเคราะห์จากการผ่าศพ :

• ดื่ม “ชาเข้ม” ผูเอ๋อร์ที่ชงพิเศษหนึ่งถ้วยในตอนเช้า สามารถลดอุบัติการณ์ของความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน
• ดื่มกาแฟที่ทำให้เข้มข้นหนึ่งถ้วยในตอนเช้าสามารถลดอุบัติการณ์ของความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน
• ประสิทธิภาพการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันของชาผูเอ๋อร์สูงกว่ากาแฟ

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนต้น)》ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนต้น-1)

ตอนที่ 1 : การทดลองทางชีววิทยาเชิงอนุกรมริเริ่มจากประเพณี “ชาย่าง” ที่ดูเสมือนล้าหลัง
普洱茶能降低猝死风险吗 ? (上)
一个看似落后的 “烤茶” 习俗引发的系列生物实验 (一)



หมายเหตุบรรณาธิการ :
        มีคำกล่าวที่นิยมพูดกันในวงการกาแฟว่า ทุกเช้าดื่มกาแฟหนึ่งถ้วยสามารถป้องกันการตายอย่างกะทันหันได้
        แต่สำหรับชาผูเอ๋อร์ แม้กระทั่งรวมใบชาทุกชนิด ตั้งแต่โบราณกาลจวบจนถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยมีคำกล่าวที่ว่าป้องกันการตายอย่างกะทันหันได้


        บทความนี้คือการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์เชิงอนุกรมซึ่งริเริ่มโดยผ่านวิถีชีวิตที่เฉพาะเจาะจงและพิเศษของผู้อาวุโสแห่งขุนเขาชาหยินหนาน

        จึงขอนำเสนอ “วิธีการผลิตและวิธีการดื่มที่พิเศษเฉพาะของชาผูเอ๋อร์สามารถป้องกันการตายอย่างกะทันหันได้

        มุมมองและการคิดขึ้นลักษณะเช่นนี้ถือเป็นครั้งแรกในวงการใบชา

        และก็สามารถกล่าวได้ว่าเป็นอีกหนึ่งการค้นพบใหม่ของชาผูเอ๋อร์

        ผู้คนจำนวนมากเมื่อได้เห็นชื่อเรื่องนี้แล้ว จะหัวเราะออกมาโดยไม่ตั้งใจ นี่คงไม่ใช่อีกหนึ่ง “หัวข้ออันเป็นเท็จ”(伪命题) หลอกนะ? การทดลองครั้งนี้ก่อเกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจต่อประเพณีการดื่ม “ชาย่าง”(烤茶) ที่สืบทอดจากประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านโบราณบางส่วนในเขตพื้นที่ผลิตชาหยินหนาน

        คนพื้นที่ โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยที่มีขนบธรรมเนียมหนึ่ง สิ่งแรกที่ปฏิบัติในตอนเช้าของทุกวันคือการนั่งรอบกองไฟดื่ม “ชาย่าง” หนึ่งถ้วย



        “ชาย่าง” ถ้ากล่าวให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นก็คือ “ชาย่างถ้วยดิน”(罐罐烤茶) และเรียกขานทั่วไปว่า “บ๋ายเต่าฉา”(百抖茶) คือการนำถ้วยดินใบหนึ่งแล้วนำใบชาแห้ง(เหมาฉาเขียวที่ใบชาค่อนข้างหยาบแก่ผ่านการนวดด้วยมือและตากแห้งมาแล้ว)หยิบมือเดียวใส่เข้าไป แล้ววางบนกองไฟเพื่อทำการปิ้งย่าง หลังผ่านไปสักครู่ไม่กี่นาที ถ้วยดินก็จะร้อน เมื่อใบชาในถ้วยดินปรากฏเสียง “PiPa” ออกมา จึงเติมน้ำร้อนลงไป ทันใดนั้นถ้วยดินจะเกิด “ฟู่ฟู่” ดั่งน้ำเดือดพุ่งออกมา ฟองอากาศก็จะล้นออกมาจากปากถ้วยดินทันที ณ ช่วงเวลานั้น คนทำการย่างชาก็จะยกถ้วยดินออกจากกองไฟ รินน้ำชาที่เดือดปุดๆลงไปในถ้วยใบหนึ่ง แล้วทำการดื่มในขณะที่กำลังร้อนอยู่

        ชาแบบนี้จะขมสุดๆ เข้มสุดๆ ฝาดสุดๆ แน่นอนก็ยัง “กระตุ้น” สุดๆ ผู้คนที่ไม่มีประสบการณ์กับชาแบบนี้ เมื่อดื่มครั้งแรก โดยทั่วไปล้วนจะปรากฏอาการของ “นอนไม่หลับ” หรือ “เมาชา” ดังนั้น ขนบธรรมเนียมการดื่ม “ชาย่าง” แบบนี้ นอกจากคนพื้นที่แล้ว คนนอกพื้นที่จำนวนน้อยมากที่สามารถรับได้

        ถ้าเช่นนั้น มันกับการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

        เขตพื้นที่ผลิตใบชาของหยินหนาน โดยเฉพาะขุนเขาชาที่มีความสูงระดับน้ำทะเลเกินกว่า 1000 เมตรขึ้นไป อุณหภูมิตอนเช้าตรู่ กลางวัน กลางคืนแตกต่างกันมาก ช่วงเช้าภายในเขาใหญ่จะเย็นยะเยือก ในฤดูหนาว อุณหภูมิจะต่ำเพียง 3ºC-5ºC ซึ่งสามารถทำให้หลอดเลือดของพวกเราเกิดการหดตัวโดยทันที อันเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย(Myocardial Infraction)และสมองอุดตาย(Cerebral Infraction)เกิดการปะทุขึ้นมาได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีอายุค่อนข้างสูง(70 ปีขึ้นไป) ฤดูหนาวเป็นฤดูกาลที่เกิดปรากฏการณ์การตายอย่างกะทันหัน(Sudden Death)โดยสม่ำเสมอ เป็นนักฆ่าหมายเลขหนึ่งที่ขัดขวางการมีอายุยืนยาว มีหลักฐานข้างเคียงที่สามารถยืนยันตรวจุดนี้ได้ ก็คือเขตพื้นที่ทางภาคอีสานของเมืองจีน ทุกฤดูหนาวที่เยื้องกรายมาถึง การปะทุขึ้นมาของกล้ามเนื้อหัวใจตายและสมองอุดตายของคนวัยกลางและคนแก่จะสูงกว่าฤดูกาลอื่น 3-5 เท่า สาเหตุหนึ่งที่สำคัญก็คือสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็นเกินไปทำให้เกิดปรากฏการณ์การตายอย่างกะทันหันอันเนื่องมาจากหลอดเลือดในร่างกายคนเราเกิดการหดตัวอย่างเฉียบพลัน



        แต่จากการสำรวจในเขตพื้นที่ชาจำนวนมากของหยินหนาน ได้ค้นพบปรากฏการณ์หนึ่งที่แปลกประหลาด ก็คืออัตราการตายอย่างกะทันหันต่ำมาก แม้ว่าการตรวจสอบหาความจริงเหล่านี้มีข้อจำกัด(เนื่องจากการตรวจสอบอย่างเป็นทางการควรมาจากข้อมูลของหน่วยงานสาธารณสุขที่มีอำนาจหน้าที่ของประเทศ)

        นี่ทำให้พวกเราเกิดข้อสงสัยว่า การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่แตกต่างกันอย่างมากในพื้นที่แต่ไม่ทำให้เกิดนักฆ่าหมายเลขหนึ่งของผู้อยู่อาศัยในเขาชา โดยเฉพาะสำหรับคนแก่ เหตุผลในนี้คืออะไรกันแน่?

        เมื่อเจาะลึกเข้าไปในวิถีชีวิตของพวกเขาอย่างละเอียดแล้ว คุณจะค้นพบว่า ภายใต้สภาพแวดล้อมอันกว้างใหญ่ที่อากาศบริสุทธิ์ พื้นที่สีเขียวเต็มทั่วไปหมด ไม่มีมลภาวะ แต่สภาพแวดล้อมเล็กๆที่พวกเขาอาศัยอยู่(สภาวะภายใน)ซึ่งล้าหลัง สภาวะสุขอนามัยค่อนข้างแย่ บ้านเรือนส่วนใหญ่ยังใช้ส้วมหลุมตราบจนถึงทุกวันนี้

        การกินการดื่มของพวกเขาก็ไม่ถูกสุขลักษณะ แม้ว่าวัตถุอาหารจะเป็นพวกพืชสีเขียวที่ไม่มีมลพิษ แต่อาหารที่ผ่านการปรุงของพวกเขาแล้วจะค่อนข้างเค็ม(เกลือสูง) ประจวบเหมาะที่เป็นผลทำให้เกิดความดันเลือดสูง ประกอบกับโดยทั่วไปพวกเขาจะสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เป็นต้นอันเป็นนิสัยที่ไม่ดี ซึ่งก็เป็นนักฆ่าที่นำไปสู่การเกิดอาการของโรคต่างๆ

        ยังมีอีกมากมาย........พวกเราไม่สามารถหาสาเหตุของอัตราการตายอย่างกะทันหันที่ต่ำได้

        หลังผ่านการตรวจสอบอย่างเป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนจบ พวกเราได้ล็อคสายตาอยู่บน “ชาย่าง” ในเวลาเช้าตรู่ของทุกวัน

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนต้น)》ตอนที่ 1---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ? (5)

ตอนที่ 5 : ข้อพิสูจน์ที่ 2 ใน “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ของชาผูเอ๋อร์ : อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช (ตอนจบ)
普洱茶 “功能性食品” 论据之一 : 药食同源型医用食品 (完)



        ยังมีผู้คนอีกจำนวนมาก นักวิชาการบางส่วนที่เพียงให้ความสนใจสารบางชนิดในใบชา แล้วกล่าวสรุปโดยรวม กล่าวเกินจริงอย่างไม่ลืมหูลืมตา ผู้คนจำนวนมากเมื่อเอ่ยถึงชาแล้ว จะต้องเป็นสารทีโพลิฟีนอลส์มีปริมาณที่เป็นองค์ประกอบอยู่เท่าไร เชื่อแน่ว่าชาที่มีทีโพลิฟีนอลส์เป็นองค์ประกอบในปริมาณมากจึงจะเป็นชาดี ผู้เชี่ยวชาญในวงการชาจำนวนมากก็เพราะอันเนื่องจากความรู้แบบนี้ จึงเชื่อว่าชาผูเอ๋อร์ไม่ว่าจะเป็นชาสุกจากการหมักประดิษฐ์ หรือเป็นชาเก่าผูเอ๋อร์ซึ่งมีปริมาณของทีโพลิฟีนอลส์ล้วนต่ำกว่าชาเขียวและชาอูหลง คุณภาพจึงไม่สามารถเทียบเท่ากับชาเขียวและชาอูหลง นี่ก็เป็นการบ่งชี้ถึงอีกหนึ่งความเข้าใจผิด กล่าวได้ว่า ทีโพลิฟีนอลส์เป็นสารประกอบพื้นฐานที่ชาทุกประเภทจะต้องมี แต่ไม่ใช่มาตรฐานเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของใบชา มีผู้คนจำนวนมากนำทีโพลิฟีนอลส์จัดเป็นสาร “เทวดา”(神化) กล่าวว่ามัน ไม่เพียงเฉพาะสามารถกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกายมนุษย์แล้ว ยังสามารถรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดหัวใจ ต่อต้านมะเร็ง ฯลฯ นี่ก็เป็นเพราะริเริ่มจาก “รายงานผลการวิจัย” เกี่ยวกับทีโพลิฟีนอลส์ในวงการชาเขียวตั้งแต่ทศวรรษที่ 80 ศตวรรษที่แล้ว ตราบจนถึงทศวรรษที่ 90 ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะเทิดทูนทีโพลิฟีนอลส์เป็น “ยาหม้อ”(良药) ที่สามารถรักษาสารพัดโรคได้ และโดยการใช้สิ่งนี้มาผูกมัดกับชาเขียว แล้วประโคมข่าวว่าชาเขียวมีสรรพคุณในการป้องกันและรักษาหลายสิบโรคได้

        แต่คำกล่าวเหล่านี้ภายหลังได้ถูกองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่นานาชาติ---ไม่รับรอง อย่างเช่นองค์การอาหารและยา(Food and Drug Administration : FDA)แห่งสหรัฐอเมริกาได้มีการประกาศบนเว็บเพจหน้าแรกเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2006 ว่า : "FDA ได้ข้อสรุปโดยเชื่อได้ว่าไม่มีหลักฐานอันน่าเชื่อถือเพื่อสนับสนุนว่าชาเขียวหรือสารที่สกัดจากชาเขียวสามารถลดความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหัวใจได้" และได้กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการประเมิน 105 บทความและสิ่งตีพิมพ์อื่นๆที่นำมาเสนอ ยังไม่พบหลักฐานที่สนับสนุนการดื่มชาเขียวสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้เช่นกัน สิ่งที่มีความหมายอย่างยิ่งก็คือ ซึ่งก่อนหน้านี้ FDA ได้เคยประกาศแล้วว่า ชาเขียวไม่อาจที่จะเป็นไปได้ที่จะลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งชนิดอื่นๆได้ ซึ่งก็คือเป็นการปฏิเสธโดยตรงต่อการนำเสนอต่างๆนานาทางการต่อต้านมะเร็งของชาเขียว



        บางที พวกเราไม่จำเป็นต้องไปหลงเชื่อข้อสรุปของ FDA แห่งสหรัฐอเมริกา กระทั่งก็ไม่ต้องให้ความสนใจต่อองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ของนานาชาติ แต่ทว่า ตราบจนถึงทุกวันนี้ พวกเราก็ยังไม่พบเห็นบทความเชิงหักล้างมาท้าทายกับข้อสรุปลักษณะแบบนี้ มีข้อเท็จจริงหนึ่ง ที่พวกเราจำต้องเข้าใจให้ถูกต้องก็คือ เมื่อหลังจากสารทีโพลิฟีนอลส์ได้เข้าสู่ร่างกายแล้ว โดยเฉพาะเข้าสู่ที่ลำใส้แล้ว จะมีผลกระทบต่อจุลินทรีย์ประจำพื้นที่และระบบเมตาโบลิซึมของร่างกาย แม้ว่าตราบจนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ปัจจุบันทางนานาชาติได้จัดทีโพลิฟีนอลส์เป็นเพียงสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสารปรุงแต่งอาหาร ไม่ถือเป็นสารทางโภชนาหารเข้มข้นสูง ยิ่งไม่ถือเป็นวัตถุดิบยาในสารบัญยา คุณค่าของทีโพลิฟีนอลส์นอกจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติแล้ว สิ่งที่เป็นคุณค่ามากกว่าก็คือสารประกอบทุติยภูมิที่เกิดจากหมักภายหลัง

        พูดอีกนัยหนึ่ง ทีโพลิฟีนอลส์และสารประกอบเชิงสารัตถประโยชน์อื่นๆและสารประกอบทางโภชนาการภายใต้การเตรียมการ(กรรมวิธี)ก่อนหน้านี้ ในท่ามกลางเงื่อนไขการมีส่วนร่วมของจุลินทรีย์และเอนไซม์ชนิดต่างๆ แปรสภาพเป็นสารที่เพียบพร้อมด้วยคุณค่าของคุณสมบัติทางยา จึงเป็นการบรรลุความเป็นไปได้ของ “อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช¹

        เพราะฉะนั้น การแปรเปลี่ยนทางชีวภาพของสารที่มีความเป็นฤทธิ์ในพืชจากธรรมชาติ คือแก่นแท้ของชาผูเอ๋อร์ที่เพียบพร้อมทาง “อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช” ดำรงอยู่ ถ้าหากปราศจาก "การแปรเปลี่ยนทางชีวภาพ" หรือไม่เพียบพร้อมด้วยเงื่อนไขของ "การแปรเปลี่ยนทางชีวภาพ" แล้ว ก็แค่เป็นแนวความคิดที่ปั่นขึ้นมา หรือเป็นการ "จับจันทร์ใต้น้ำ" ที่ไม่มีความหมายแท้จริงอันใด

        ปัจจัยสำคัญหลายอย่างที่ต้องการของการแปรเปลี่ยนทางชีวภาพของสารที่มีคุณสมบัติทางยาในพืชจากธรรมชาติ ชาผูเอ๋อร์ล้วนเพียบพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งใบชาไม้ต้นพันธุ์ใหญ่ของหยินหนานโดยตัวมันเองก็เป็นพรรณพืชจากธรรมชาติ และพรรณพืชจากธรรมชาติชนิดนี้ในตัวมันเองก็ประกอบด้วยสารที่มีคุณสมบัติทางยา ประกอบกับจุลินทรีย์ที่มีเฉพาะและเอนไซม์ชีวภาพกับกรรมวิธีการเตรียมการภายใต้สภาวะที่ไม่ใช่อุณหภูมิสูง ทำให้สารที่มีคุณสมบัติทางยาที่อยู่ในพรรณพืชเหล่านี้ภายใต้การหมักในสถานะของแข็งเกิดการแปรสภาพที่สุดยอด ปรากฏสารประกอบที่มีคุณสมบัติทางยาเชิงเล็งเป้า(针对性)มากยิ่งขึ้น(ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์นิยมใช้คำว่า “เป้าหมาย”(靶向)) ก่อให้เกิดกลไกทางเภสัชวิทยาที่มีสารัตถประโยชน์มากมาย

........จบบริบูรณ์........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ?》ตอนที่ 5---เขียนโดย เฉินเจี๋ย



วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ? (4)

ตอนที่ 4 : ข้อพิสูจน์ที่ 2 ใน “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ของชาผูเอ๋อร์ : อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช (ตอนต้น)
普洱茶 “功能性食品” 论据之一 : 药食同源型医用食品 (上)



        ถ้าจะกล่าวกันว่าสารอาหารในพืชที่อยู่ในใบชาหนักไปทางสารประกอบปฐมภูมิ(Primary Metabolites)แล้ว ถ้าเช่นนั่นชาผูเอ๋อร์หลังการหมักก็จะหนักไปทางสารประกอบทุติยภูมิ(Secondary Metabolites)เป็นหลัก ตัวแรกล้วนดำรงอยู่ในใบชาทั้งหลายทั้งปวง ก็เพียงแต่มีปริมาณขององค์ประกอบแตกต่างกันไม่มากก็น้อย ส่วนตัวหลังเป็นเฉพาะตัว และเป็นตัวพิเศษเฉพาะ ชาสุกผูเอ๋อร์มีกระบวนการหมักที่เร่งให้เร็วขึ้น ชาดิบผูเอ๋อร์ก็มีกระบวนการหมักภายหลัง การหมักเช่นนี้ ทำให้สารอาหารในพืชส่วนใหญ่ถูกสลาย ควบแน่น แปรสภาพ ดัชนีชี้วัดของสารอาหารในพืชที่มีอยู่เดิมลดต่ำลง ก่อเกิดสารชนิดใหม่เป็นจำนวนมาก พวกเราขนานนามมันว่าสารประกอบทุติยภูมิ พวกมันเป็นนิคมกลุ่มที่ใหญ่มหึมา มีมากมายถึงกว่า 2000 ชนิด และขนาดของโมเลกุลทุกๆตัวจะเล็กมาก แต่จะมีความเป็นฤทธิ์แรง สารโมเลกุลเล็กเหล่านี้ มีบางส่วนที่พวกเรารู้จักกันแล้ว มีบางส่วนที่พวกเรายังไม่รู้จักมาก่อน พวกมันเกือบทั้งหมดดำรงอยู่ในสภาวะโมเลกุลขนาดเล็ก พวกมันอาศัยหรือแอบซ่อนอยู่ภายนอกวงแม่ของสารประกอบทางเคมีจำนวนมาก ปริมณฑล “หน้าที่” ของมัน หรือพูดได้ว่าการมีคุณประโยขน์ต่อระบบสรีระของมนุษย์ หลักใหญ่ใจความจะปราฏกออกมาหลายด้านดังข้างล่างนี้ :

        เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค การกระตุ้นระบบน้ำเหลือง  เป็นต้น
        ป้องกันความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ อาการท้องผูกและเนื้องอก เป็นต้น
        ฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็งแรง ควบคุมคอเลสเตอรอล ป้องกันการเกาะติดของเกล็ดเลือด สรรพคุณทางปรับการสร้างเลือดให้สมดุล เป็นต้น
        ปรับสภาวะร่างกายให้สมดุล รวมทั้งระบบประสาทส่วนกลาง ปลายประสาท ความสามารถทางการรับและสั่งการ เป็นต้น 
        ชะลอความแก่ เป็นต้น



        ดังนั้น พวกเรานำชาสุก ชาแก่ของชาผูเอ๋อร์ที่ผ่านการหมักภายหลังซึ่งหนักไปทางสารประกอบทุติยภูมิจัดอยู่ในบริบทของ “อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช” คือชาผูเอ๋อร์ถือเป็นผลิตภัณฑ์ทาง “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ที่ระดับสูงที่สุด และกระนั่น มันยังมีข้อพิเศษอีกจุดหนึ่ง คือเมื่อทานเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว จะไม่เป็นการเพิ่มภาระให้กับตับไต ฉะนั่น “อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช” เป็นทิศทางการพัฒนาของอาหารเฉพาะพันธกิจ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของชีวการแพทย์สมัยใหม่ คืออาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ที่เพียบพร้อมด้วยสารัตถประโยชน์ทางโภชนาการ สารัตถประโยชน์ทางความรู้สึกและสารัตถประโยชน์ทางปรับสรีระร่างกายให้สมดุล การศึกษาวิจัยและการพัฒนาอาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์เฉพาะพันธกิจในบ้านเราถือเป็นวิทยาศาสตร์และปริมณฑลที่เพิ่งเริ่มขึ้นมาใหม่ เป็นผลิตภัณฑ์จาการนำหลักวิชาการมากมายและขอบเขตต่างๆมาบรรจบและผสมผสานกันอย่างไม่หยุดยั้ง เกี่ยวโยงถึงโภชนาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ชีววิทยา ชีววิศวกรรม วิทยาศาสตร์การอาหาร

        ในนี้ พวกเราจำต้องทำความชัดเจนถึงความรู้ที่ยังเบลอๆเรื่องหนึ่ง

        เป็นระยะเวลาอันยาวนานแล้ว ผู้คนจำนวนมากได้นำสารประกอบทางโภชนาการและสารประกอบทางเฉพาะพันธกิจที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในใบชาล้วนจัดเป็น “เครื่องดื่มวัตถุประสงค์ทางการแพทย์เฉพาะพันธกิจ” เป็นเพราะว่าในใบชาไม่พียงแค่ประกอบด้วยโปรตีน น้ำตาล ไขมัน วิตามิน เพคทินและแร่ธาตุ เป็นต้นที่เป็นสารประกอบทางโภขนาการ ขณะเดียวกันก็มีทีโพลิฟีนอลส์ ทีโพลิแซคคาไรด์ คาแฟอิน ธีอะนีน(Theanine) สารสีชา(Tea Pigments) เป็นต้นที่เป็นสารประกอบทางเฉพาะพันธกิจ แต่ทว่า สารประกอบทางโภชนาการและสารประกอบทางเฉพาะพันธกิจล้วนถือเป็นสารัตถประโยชน์ขั้นพื้นฐาน ตัวหลังถือเป็นสารอาหารในพืช คือส่วนใหญ่แล้วเป็นสารประกอบปฐมภูมิในใบชา กับ “อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช” ที่พวกเรากล่าวถึง ยังมีระยะห่างอีกไกลพอสมควร



        ผู้คนจำนวนมากค่อนไปทางการวิเคราะห์เชิงอพลวัต(Static Analysis)ของสารประกอบทางเคมีของใบชา มองข้ามการวิเคราะห์เชิงพลวัต(Dynamic Analysis) เนื่องจากใบชาประกอบด้วยสารประกอบทางเคมีที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งวิธีการดำเนินการ(กรรมวิธี)ที่ไม่เหมือนกันทำให้สารประกอบทางเคมีที่ประกอบอยู่ในใบชาเกิดการแปรสภาพอย่างรวดเร็ว รายงานผลการศึกษาวิจัยคุณภาพของใบชาจำนวนมากที่พวกเราได้พบเห็นในปัจจุบัน  ซึ่งดัชนีชี้วัดที่เปิดเผยออกมาเป็นทางเชิงอพลวัต มีน้อยมากที่นำดัชนีชี้วัดเชิงพลวัตมาเผยแพร่เส้นทางของคุณภาพใบชา  พูดอีกนัยหนึ่ง มีเพียงการปรากฏของดัชนีชี้วัดเชิงพลวัตจึงจะสามารถวาดเขียน “โรดแม็พ”(Road Map) ของวิวัฒนาการทางคุณภาพใบชาออกมาได้ และกระนั่น ใบชาของเขตพื้นที่ต่างกันอันเนื่องจากองค์ประกอบทางเคมีที่ไม่เหมือนกันและกรรมวิธีที่แตกต่างกัน รูปแบบเชิงพลวัต(คือ “โรดแม็พ”)ก็จะไม่เหมือนกัน ถ้าหากพวกเรามีรูปแบบพลวัตเชิงอนุกรมของผลิตภัณฑ์ชาแล้ว ก็จะสามารถนำชาประเภทต่างกันที่มีรูปแบบเชิงพลวัตเฉพาะมาทำการตรวจสอบทางเคมีและเปรียบเทียบ แยกแยะเชิงดีเลวและเชิงมาตรฐานของวัตถุดิบใบชาและกรรมวิธีของพื้นที่ผลิตที่ไม่เหมือนกัน จะได้ข้อสรุป “ระยะเวลาชิมดื่มที่ดีที่สุด” และ “ช่าวเวลาชิมดื่มที่ดีที่สุด” ของผลิตภัณฑ์ชา

        รูปแบบเชิงพลวัตเป็นพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเคมีแบบนี้ถูกหลักทางวิทยสศาสตร์มากกว่าการทดสอบประเมินโดยอวัยวะสัมผัส เช่นเมื่อกล่าวถึงใบชาของเมืองจีนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นชาเขียว ชาอูหลง หรือเป็นชาผูเอ่อร์ ล้วนขาดซึ่งรูปแบบเชิงพลวัตแบบนี้ ซึ่งการโต้แย้งทางคุณภาพที่ก่อเกิดจากประเภทชาที่ไม่เหมือนกัน โดยทั่วไปการถกเถียงเกิดขึ้นเนื่องจากด้าน “ประสบการณ์” ก็ยังขาดซึ่งหลักฐานของการวิเคราะห์ทางเคมีมาอ้างอิง อย่างเช่นการโต้แย้ง “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์ในหลายปีที่ผ่านมา นักวิชาการจำนวนมากอาศัยพื้นฐานทางประสบการณ์ของชาเขียวและชาอูหลง ไม่ยอมรับโดยตรงกับแนวความคิด “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์ เป็นเพราะว่าชาเขียวและชาอูหลงเป็นไปตามกาลเวลาที่ล่วงผ่าน คุณภาพก็จะค่อยๆลดต่ำลง แล้วสุดท้ายนำไปสู่ “เชื้อรา” อ้างอิงตาม “ประสบการณ์” แบบนี้แล้ว ชาผูเอ๋อร์ก็ควรจะมีแนวโน้มในการเกิด “เชื้อรา” แล้วทำไมสามารถ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ได้เล่า? การโต้แย้งของทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่ได้นำรายงานผลการตรวจวัดของการวิเคราะห์ทางเคมีมาเป็นหลักฐานอ้างอิง ซี่งยังคงดำรงอยู่บนเกมหมาหรุกแบบ “ประสบการณ์” ปะทะ “ประสบการณ์”

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ?》ตอนที่ 4---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ? (3)

ตอนที่ 3 : ข้อพิสูจน์ที่ 1 ใน “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ของชาผูเอ๋อร์ : สารอาหารในพืช
普洱茶 “功能性食品” 论据之一 : 植物营养素



        โภชนาการคือกระบวนการทั้งหมดที่ร่างกายมนุษย์ไม่หยุดที่ดูดซับอาหารจากภายนอก ผ่านระบบย่อยอาหาร ดูดซึม เผาผลาญและการนำสารในอาหาร(ธาตุอาหารหรืออาหารบำรง)ที่ร่างกานต้องการมาดำเนินกิจกรรมทางการดำรงชีวิต มันเป็นกระบวนการทางชีวภาพทั้งหมดกระบวนการหนึ่ง ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่าสารอาหาร(营养素) พวกมันเป็นสารพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต ปราศจากสารอาหารเหล่านี้แล้วไซร์ ชีวิตก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ สารอาหารพื้นฐานที่ร่างกายต้องการมีอยู่ประมาณ 50 ชนิด สรุปรวบยอดออกมาเป็น 6 ประเภทใหญ่ คือ โปรตีน, ไขมัน, คาร์โบไฮเดรต, เกลือแร่, แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย, วิตามินและน้ำ。หลายปีที่ผ่านมาได้ค้นพบว่าเส้นใยอาหารก็เป็นสารที่ขาดไม่ได้เพื่อบำรุงสุขภาพร่างกาย สามารถนับเป็นสารอาหารประเภทที่ 7

        สารอาหารในพืชคือการบ่งชี้ถึงไม่ใช่สารอาหารพื้นฐานที่มีอยู่ในพรรณพืชธรรมชาติที่มีประโยขน์ต่อร่างกาย เหตุที่เรียกขานมันว่าไม่ใช่สารอาหารพื้นฐาน คือกับสารอาหารพื้นฐานมีข้อแตกต่างกัน เพราะพรรณพืชทุกชนิดนอกจากประกอบด้วยสารอาหารพื้นฐานแล้ว ยังมีสารอาหารชนิดอื่นๆที่มีเฉพาะ สารอาหารที่พิเศษเฉพาะเหล่านี้ถูกขนานนามว่าสารอาหารในพืช(植物营养素) เช่น ทีโพลิฟีนอลส์(Tea Polyphenols) แอลคาลอยด์(Alkaloid) ธีซาโบนิน(Theasaponin) ที่มีอยู่ในใบชาจัดอยู่ในสารประเภทนี้ ยังมีสารไลโคพีน(Lycopene)ในมะเขือเทศ สารคอร์ดิซิปิน(Cordycepin)ในเห็ดถั่งเช่า สารอัลลิซิน(Allicin)ในกระเทียม ฯลฯ สารอาหารในพืชที่ประกอบอยู่ในพรรณพืชทุกชนิดล้วนไม่เหมือนกัน พวกมันล้วนมีจุดเด่นที่ร่วมกัน ล้วนเป็นสารประกอบปฐมภูมิ(Primary Metabolites)ในพืช เป็นสารที่ล้ำค่าที่สุดของพืชที่ทานได้ และก็ถูกขนานนามว่า “ทองคำแห่งพืช



        ปัจจุบัน เนื่องจากปัจจัยของข้อจำกัดของการพัฒนามาตรฐานทางวิทยสศาสตร์และเทคโนโลยี สารอาหารในพืชที่ถูกค้นพบอย่างเป็นทางการยังมีจำนวนค่อนข้างน้อย ภายใต้ลำดับแรกในการยกระดับมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สูงขึ้นในอนาคตจึงจะสามารถค้นพบสารอาหารในพืชเป็นจำนวนที่มากขึ้น

        ในตระกูลใหญ่ของใบชา ชาผูเอ๋อร์เป็นประเภทที่มีสารอาหารในพืชมากชนิดที่สุด ปริมาณที่เป็นองค์ประกอบมากที่สุด นี่เป็นเพาระว่า :

        สารกลุ่มโพลิฟีนอลส์ในชาพันธุ์ใบใหญ่มีค่อนข้างมาก เป็นส่วนประกอบประมาณ 1 ใน 3 ของใบชาแห้ง ภายใต้รายการของทีโพลิฟีนอลส์(ตามโครงสร้างทางเคมีที่แตกต่างกัน)ก็สามารถจัดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ : ① คาเทชิน(Catechin) ② ฟลาโวนและกลุ่มฟลาโวนอลส์(Flavone & Flavanols) ③ ลูโคแอนโทไซยานิดินและแอนโทไซยานิน(Leucoanthocyanidin & Anthocyanin) ④ กลุ่มกรดฟีโนลิคและกลุ่มเดพไซด์(Phenilic Acids & Depside) ทั้งหมดนี้ล้วนอยู่ในบริบทของสารอาหารในพืช พร้อมกระนั่น แผ่นใบของชาพันธุ์ใบใหญ่มีขนาดใหญ่ เนื้อเยื่อ(Erectile Tissue)หนาท้วม เป็นตัวกำหนดลักษณะพิเศษที่มีสารอาหารในพืชเป็นองค์ประกอบในมาตรฐานที่ค่อนข้างสูงแบบนี้ พวกเราเคยนำชาเขียวที่ผลิตจากพันธุ์ใบเล็กของเจียงเจ้อ(เจียงซูและเจ้อเจียง)กับชาเขียวที่ผลิตจากพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานภายใต้สภาวะกรรมวิธีการผลิตที่เหมือนกันมาดำเนินการเปรียบเทียบ ปริมาณของสารอาหารในพืชที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานสูงกว่าในชาเขียวของเจียงเจ้อมาก อันที่จริงประเด็นนี้ สถาบันการศึกษาวิจัยใบชาแห่งเมืองจีนที่ได้ทำการสำรวจทั่วไปเขตพื้นที่ชาทั่วประเทศในปี 1964 ก็ได้ข้อสรุปลักษณะเช่นนี้แล้ว ปัจจุบันวงการวิทยาศาสตร์โลกได้ยอมรับ EGCG คาเทชินในใบชาเป็นสารต่อต้านมะเร็ง EGCG นี้ก็คือสารอาหารในพืชชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในใบชา ซึ่งพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานมีปริมาณที่เป็นองค์ประกอบมากที่สุด แล้วยังมีอย่างเช่นทีโพลิแซคคาไรด์(Tea Polysaccharide) ใบใหญ่ของชาพันธุ์ใหญ่หยินหนาน กระทั่งใบแก่ ล้วนมีปริมาณที่เป็นองค์ประกอบสูงกว่าใบอ่อนหรือกระทั่งยอดตูม ยังมีกรดอะมิโน(เกือบ 30 ชนิด) แอลคาลอยด์(10 กว่าชนิด) ฯลฯ ล้วนถือเป็นสารอาหารในพืชที่มีอยู่ในใบชา และก็ล้วนมีปริมาณที่เป็นองค์ประกอบที่สูงที่สุด นี่กล่าวเฉพาะทางด้านนี้ ชาผูเอ๋อร์ที่ใช้ชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยิยหนานมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต เพียบพร้อมด้วยลักษณะเด่นของสปีชีส์ทางธรรมชาติ



        สารอาหารในพืชมีปัญหาหนึ่งที่ใหญ่ที่สุด คือสารจำนวนมากมีคุณลักษณะละลายในไขมัน ไม่ละลายในน้ำ แต่พื้นฐานการชงชาของพวกเราคือใช้น้ำ(คือรูปแบบการสกัดด้วยน้ำ)มาดำเนินการ ในกรรมวิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์มีกรรมวิธีหนึ่งที่พิเศษเฉพาะมาก ก็คือกรรมวิธีการผลิตที่ใช้การนวดและตากเขียวเป็นหัวใจสำคัญ นำสารที่มีคุณลักษณะละลายในไขมัน(ไม่ละลายในน้ำ)แปรสภาพเป็นสารที่มีคุณลักษณะละลายในน้ำ(อันที่จริงชาต้าหงผาวของแท้ฝูเจี๋ยนก็มีขั้นตอนตากเขียว) ชาเขียวจะไม่ชงทน นอกจากมีองค์ประกอบที่เป็นสารละลายในปริมาณน้อยแล้ว ยังเป็นสารที่มีคุณลักษณะละลายในไขมันเป็นส่วนใหญ่ นี่คือการกำหนดโดยกรรมวิธีการผลิตของชาเขียว ชาผูเอ๋อร์ ไม่ว่าจะเป็นชาดิบ ชาสุก ชาแก่ล้วนเพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะพิเศษการชงทน ซึ่งแก่นแท้หนึ่งของกรรมวิธีการผลิตก็คือการนำสารที่มีคุณลักษณะละลายในไขมันในพืชมาแปรสภาพเป็นสารที่มีคุณลักษณะละลายในน้ำเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก ชาดิบในชาผูเอ๋อร์ ยังมีชนิด “แย่กวงบ๋าย”(月光白) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารอาหารในพืชเป็นองค์ประกอบที่สูงที่สุด รองลงมาคือชาสุกผูเอ๋อร์ ถัดมาคือชาแก่ผูเอ๋อร์

        พวกเราภูมิใจเสนอสารอาหารในพืช หรือเสนอแนะให้ดื่มผลิตภัณฑ์ชาในปริมาณหนึ่งทุกวัน เหตุผลสำคัญคือสารอาหารในพืชเหล่านี้เป็นสารประกอบที่ไม่สามารถประกอบขึ้นมาโดยร่างกายตัวมันเองของพวกเราได้ มันทำให้สภาพร่างกายของพวกเราแข็งแรง โภชนาการที่สมดุลจะมีประโยขน์อย่างใหญ่หลวง อย่างเช่นในการดำเนินชีวิตประจำวันของพวกเราทำอย่างไรในการป้องกันปรากฏการณ์การตายอย่างกะทันหัน(Sudden Death : 猝死现象) ต่อต้านกลไกออกซิเดชั่น(氧化机理) เพื่อความงามและลดความอ้วน การตกค้างของแคลเซียม(ผลจากการเสริมแคลเซียม) ฯลฯ ล้วนเชื่อมโยงในระดับหนึ่งกับสารอาหารในพืชที่พวกเราดูดซับเข้าไป (จะทำการอธิบายละเอียดอย่างต่อเนื่องในบทความตอนหลัง)

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเชิงสารัตถประโยชน์” ?》ตอนที่ 3---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ? (2)

ตอนที่ 2 : ชาผูเอ๋อร์ --- “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ยา
普洱茶 ---  “功能性食品” 不是药品



        ณ ปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำหน้ามากที่สุดที่ทางนานาชาตินำมาทำการศึกษาวิจัย “อาหารเฉพาะพันธกิจ” แบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน : 1. คือการแปรสภาพทางชีวภาพโดยจุลินทรีย์ของวัตถุยาธรรมชาติ 2. คือการแปรสภาพทางชีวภาพโดยเอนไซม์ของวัตถุยาธรรมชาติ 3. คือการแปรสภาพทางชีวภาพโดยเซลล์พืชของวัตถุยาธรรมชาติ

        ชาผูเอ๋อร์เป็นผลิตภัณฑ์จากการหมักทางชีวภาพ แม้ว่าการผลิตและพัฒนาการจะมีองค์ประกอบที่ดั้งเดิมและล้าสมัย แต่ล้วนสามารถสืบค้นหาร่องรอยที่ดั้งเดิมของเทคโนโลยี 3 ด้านนี้ได้ เป็นเครื่องดื่มที่มีลักษณะเด่นในบรรดาใบชาประเภทต่างๆที่เพียบพร้อมเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” มากที่สุดในปัจจุบัน

        เป็นไปได้ ก็เป็นเพราะเหตุตรงจุดนี้ ผู้คนจำนวนมากยืนหยัดที่เชื่อว่าชาผูเอ๋อร์ที่มีองค์ประกอบซึ่งมีคุณสมบัติทางยาและมีกลไกทางยาสามารถที่จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บหลายชนิดได้ นี่ก็เป็นการบ่งชี้ถึงความเข้าใจผิดแบบหนึ่ง สิ่งที่ต้องพูดให้ชัดแจ้งก็คือ “อาหารเฉพาะพันธกิจ” และ “ผลิตภัณฑ์ยา” มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน “เป้าหมาย”(靶向) ของ “ผลิตภัณฑ์ยา” จะชัดเจนมาก ยาลดความดันโลหิตก็ใช้กับคนป่วยด้วยความดันโลหิตสูง ยาลดน้ำตาลในเลือดก็ใช้กับคนที่มีโรคเบาหวาน ซึ่งจะต้องใช้ให้เหมาะกับกลุ่มคนอย่างเคร่งครัด “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ไม่มี “เป้าหมาย” ของการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ หลักใหญ่ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมโภชนาหาร บำรุงสุขภาพและช่วยปรับกลไกชีวภาพให้สมดุล พวกเรายอมรับว่าในชาผูเอ๋อร์ซึ่งดำรงองค์ประกอบที่มีคุณสมบัติทางยาจำนวนมาก เฉกเช่นเดียวกับอาหารอีกจำนวนมากที่พวกเรายืนยันแล้วว่ามีองค์ประกอบที่มีคุณสมบัติทางยาในปริมาณหนึ่ง เช่น กระเทียม พริก มันเทศ มะเขือเทศ...พวกมันประกอบด้วยสารบางชนิดที่ล้วนอาจเป็น “แหล่งยา”(药源) ชนิดหนึ่ง แต่เมื่อทานพวกมันเข้าไปแล้ว ซึ่งจะไม่สามารถเทียบเท่ากับการ “ทานยา” ชาผูเอ๋อร์ก็ทำนองเดียวกัน



        แนวความคิดของชาผูเอ๋อร์ที่จัดเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” มิใช่ค้นพบโดยวิทยาศาสตร์ของทุกวันนี้ อันที่จริง ในยุคโบราณกาลของเมืองจีน เกี่ยวกับชาผูเอ๋อร์ที่มีสรรพคุณพิเศษก็ได้ถูกบันทึกเข้าไปในสารบัญยาแล้ว แม้ว่าในช่วงเวลานั้นยังไม่มีการบัญญัติศัพท์ “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ขึ้นมา แต่เนื้อหาการอธิบายเช่นเดียวกับ “อาหารเฉพาะพันธกิจ” เช่นนักเภสัชวิทยายุคสมัยชิง จ้าวเสวียหมิ่น(赵学敏) ได้นำชาผูเอ๋อร์จัดเข้าไปอยู่ในหนังสือ《A Supplement of the Compendium of Materia Medica (本草纲目拾遗)》

        สิ่งที่มีคุณค่าควรแก่ความสนใจคือ เมื่อตอนที่คุณจ้าวเสวียหมิ่นประเมินค่าของชาผูเอ๋อร์ เป็นการนำจุดความสนใจที่สำคัญรวบรวมอยู่บนผลิตภัณฑ์ที่พิเศษชนิดหนึ่งของชาผูเอ๋อร์---“ผูเอ๋อร์ฉาเกา” การอธิบายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะสรรพคุณของชาผูเอ๋อร์หลักใหญ่ใจความดำเนินการแวดล้อม “ผูเอ๋อร์ฉาเกา” เช่น “ผูเอ๋อร์ฉาเกาดำดั่งเคลือบสี สร่างเมาที่หนึ่ง ; สีออกเขียวจะเด่นกว่า ช่วยย่อยขับเสมหะ ล้างกระเพาะกระตุ้นน้ำลาย สรรพคุณเหลือล้น” ฯลฯ เมื่อเป็นประการฉะนี้ ไม่แม้เพียงผูเอ๋อร์ฉาเกาเป็นผลิตภัณฑ์พิเศษชนิดหนึ่งของชาผูเอ๋อร์ การปรากฏตัวก็อยู่ในรูปเป็นเครื่องราชบรรณาการเสมอมา ; อีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญกว่าคือผูเอ๋อร์ฉาเกาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านดำเนินการผลิตเชิงลึกของชาผูเอ๋อร์ ซึ่งมีสรรพคุณในทิศทางที่เด่นชัดมากกว่า ผลลัพธ์ของ “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ก็ปรากฏออกมายิ่งเด่นชัดมากขึ้น



        แต่มีอยู่ประเด็นหนึ่ง และเป็นประเด็นที่พวกเราควรทำให้กระจ่างชัด แม้ว่าจะมีความคิดเห็นมากมายต่อ “เชิงสรุป” ของชาผูเอ๋อร์ในประวัติศาสตร์ แต่ไม่มีการบ่งชี้ถึงหลักฐานอ้างอิงของข้อสรุป แม้กระทั่งตราบจนถึงทุกวันนี้ พวกเราสามารถรู้สึกได้ถึงสรรพคุณมากมายทางบำรุงสุขภาพของชาผูเอ๋อร์โดยตรง แต่ในด้านต่างๆมากมายยังนำหลักฐานออกมาอ้างอิงไม่ได้ ก่อให้เกิด “ปริศนาที่ยังไม่มีคำตอบ” พูดให้ตรงประเด็นมากขึ้น การศึกษาวิจัยของชาผูเอ๋อร์ทำให้พวกเราอยู่ในสภาวะการณ์ที่กระอักกระอ่วนอยู่เสมอ นั่นก็คือ “ข้อสรุปมาก่อน หลักฐานมาหลัง” กวาดไปมองที่การศึกษาวิจัยของชาผูเอ๋อร์ที่พวกเราได้ทำการในหลายปีที่ผ่านมา ไม่ใช่เป็นประเด็นข้อสรุปใหม่ที่นำเสนอจากการคิดสร้างสรรค์ใหม่ขึ้นมา ส่วนใหญ่แล้วเป็นการศึกษาวิจัยผ่านทางวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมายืนยันความถูกต้องของมุมมองคนโบราณ

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารอ้างอิง” ?》ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย