วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564

ศิลปะการตกแต่งปั้นจื่อซา---การประดับลาย



        การประดับลาย/贴花” เป็นหนึ่งในการเสกสรรค์ปั้นแต่งปั้นจื่อซา ส่วนใหญ่จะใช้ในปั้นตลก ทั่วไปจะประดับบนลำตัวปั้น พวยปั้น ฝาปั้น หูปั้นและคอปั้น วัสดุตกแต่งทั่วไปจะใช้ดินจื่อซาชนิดสีเดียวกันกับตัวปั้นหรือชนิดสีแตกต่างกัน เป็นศิลปะการตกแต่งที่มีมาแต่โบราณกาล 

花器/ปั้นตลก” โดยเจียงหยง/蒋蓉 หนึ่งในศิลปินอาวุโสเจ็ดผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการจื่อซา


      ปั้นสายหวูจิงยุคหมิง ที่ถือเป็นปั้นจื่อซาที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการขุดพบทางโบราณคดี ตรงรอยต่อของพวยปั้นกับท้องปั้นจะแปะติดด้วยลวดลายกลีบเลี้ยงลูกพลับสี่กลีบ/四瓣柿蒂形纹叶片นี่น่าจะเป็นการประดับลายปั้นจื่อซาที่พบเห็นครั้งแรก

吴经提梁壶/ปั้นสายหิ้วหวูจิง” ปั้นจื่อซาเก่าแก่ที่สุดขุดพบทางโบราณคดีในปี 1966 ที่นครหนานจิง ถูกฝังพร้อมกับขันที หวูจิง/吴经 เมื่อรัชศกเจียจิ้งปีที่12 (ปี 1533) ราชวงศ์หมิง


        จากกรรมวิธีของ “การประดับลาย” โดยทั่วไปจัดแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ

 

        (1) การประดับโดยการพิมพ์ลาย/模印贴花” ซึ่งสามารถแยกย่อยออกเป็น ๓ วิธีการ

          ๑. การปั้มลาย/印花 เป็นการนำวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่ตกแต่งเป็นลวดลายมากดประทับบนผิวชิ้นงานที่เนื้อดินยังหมาดๆ (เหมือนการปั้มตราประทับ) ทั่วไปจะปั้มลวดลายเรขาคณิตหรือประแจจีน บนส่วนของคอปั้น วงขาปั้น ขอบฝาปั้น เป็นต้น

紫砂云肩如意壶/ปั้นจื่อซาลายเมฆหยูอี้บนไหล่” โดยจูเข่อซิน/朱可心 หนึ่งในศิลปินอาวุโสเจ็ดผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการจื่อซา---บนส่วนของคอปั้น ขอบฝาปั้น วงขาปั้น ตกแต่งโดยการตีประทับลวดลาย “回纹/ประแจจีน

          ๒. การแปะลาย/贴塑 เป็นการนำลวดลายจากแม่พิมพ์หรือปั้นด้วยมือเป็นชิ้นๆ มาแปะติดบนตัวปั้นโดยใช้น้ำดินข้นเป็นตัวประสาน หัวข้อการตกแต่งของการแปะลายส่วนใหญ่จะเป็นลวดลายสัญลักษณ์มงคล(ลายเมฆ ลายหยูอี้) ต้นไม้(ต้นไผ่ ต้นสน) ผลไม้(ลูกท้อ ทับทิม องุ่น) ดอกไม้(ดอกเหมย ดอกโบตั๋น ดอกบัว ดอกเก๊กฮวย) สัตว์ธรรมชาติ(กระรอก เต่า ปลา ค้างคาว) สัตว์ในจินตนาการ(มังกร หงส์ สิงห์)

蒋蓉•梅花印具/แม่พิมพ์ลายดอกเหมย เจียงหยง

蒋蓉 紫砂壶/ปั้นจื่อซา โดยเจียงหยง---ตกแต่งโดยนำลวดลายใบไม้จากแม่พิมพ์แล้วไปแปะติดบนฝาและไหล่ปั้น

云纹模具/แม่พิมพ์ลายเมฆ

云肩如意壶/ปั้นลายเมฆหยูอี้บนไหล่” โดยฟ่านจื้อหมิ่น/范志敏---ตกแต่งโดยนำลวดลายเมฆหยูอี้จากแม่พิมพ์ไปแปะติดบนไหล่ปั้น

如意云肩/ลายเมฆหยูอี้บนไหล่---เป็นเครื่องประดับอาภรณ์ของผู้หญิงยุคโบราณที่สวมใส่บนไหล่

清乾隆 邵玉亭 御制诗文荷塘三足/ปั้นสามขาสระดอกบัวบทกวีเพื่อราชสำนัก โดยซ้าวหยี่ถิง รัชสมัยเฉียนหลงราชวงศ์ชิง---เป็นปั้นท้องกลมป่อง คอสั้น พวยเป็นใบบัวอ่อนม้วนเป็นลอน หูจับเป็นรากบัวโค้งงอ รวบศิลปะการตกแต่งทั้ง การปั้มลาย การแปะลาย การระบายโคลน เป็นต้นรวมอยู่ในร่างเดียวกัน

松鼠葡萄壶/ปั้นกระรอกองุ่น โดยการปั้นแกะลวดลายด้วยมือเป็นชิ้นๆแล้วนำไปแปะติดบนตัวปั้น ลวดลายมีทั้งแบบนูนต่ำ นูนสูงและลอยตัว

松鼠葡萄壶/ปั้นกระรอกองุ่น เป็นการนำพืชสัตว์จากธรรมชาติหลอมอยู่ในศิลปะจื่อซา ลวดลายดูมีชีวิตชีวาและเต็มไปด้วยความเริงร่า องุ่นเป็นช่อๆ เป็นสัญลักษณ์ของผลผลิตทางเกษตรอุดมสมบูรณ์และอายุยืนยาว กระรอกในจีนถือเป็นหนูชนิดหนึ่ง ตามการนับเวลาแบบจีนโบราณที่แบ่งออกเป็น “十二时辰/สิบสองชั่วยาม” ชื่อตามปีนักษัตร หนูคือ “/ยามจื่อ” (ซึ่งมีอีกความหมายว่า“ลูก”) เมื่อนำมาประกอบกับช่อองุ่นที่มีความหมายแฝงว่า “(มาก)” จึงเกิดความหมายในทางมงคลว่า “多子多福/ลูกหลานเต็มเมือง

          ๓. การอัดลาย/模印 เป็นการนำแม่พิมพ์ที่มีลวดลายตามที่ออกแบบไว้มาอัดบนดินแผ่นตามขนาดของตัวปั้น แล้วนำดินแผ่นที่มีลวดลายมาประกอบขึ้นรูปเป็นตัวปั้นโดยเชื่อมติดด้วยน้ำดินข้น

曼生瓦当壶/ปั้นกระเบื้องเชิงชาย”  1ในม่านเซิง18แบบ---ลวดลายบนลำตัวปั้นด้านหนึ่งจากการอัดลายตัวอักษร “延年” ด้วยแม่แบบไม้

申锡制四方钟壶/ปั้นระฆังสี่เหลี่ยมโดยเซินซี รัชสมัยต้าวกวงราชวงศ์ชิง---ลวดลายอักษรบนลำตัวปั้นจากการอัดลายด้วยแม่พิมพ์


        (2) การขึ้นลายโดยการนวดปั้น/捏塑成型” เป็นการนำดินจื่อซาพอกบนตัวปั้น ใช้มือนวดปั้นดินให้เป็นโครงร่าง แล้วใช้เครื่องมือตกแต่งรายละเอียดจนเสร็จสมบูรณ์---ภาพซีรีส์(บางภาพ)ของ “กระบวนการทำปั้นจื่อซาปลาแปลงมังกรด้วยมือล้วน” 

     






กระบวนการทำปั้นจื่อซาปลาแปลงมังกร/鱼化龙ด้วยมือล้วน (สนใจชมภาพตลอดกระบวนการ คลิก https://news.taohuren.com/zishazhishi/2017-02-28/article-148124.html)


       • การประดับลายทั้ง 2 รูปแบบต่างก็มีข้อดีของตนเอง

       • รูปแบบที่1 สามารถอาศัยแม่พิมพ์ในการทำลวดลายที่สลับซับซ้อนอย่างหลากหลาย

        รูปแบบที่2 ช่างศิลปินสามารถสร้างสรรค์ คิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆได้อย่างอิสระเสรี



เอกสารอ้างอิง :

1. 紫砂装饰工艺—贴花 : https://m.sohu.com/a/137088103_554865/?pvid=000115_3w_a

2. 谈工艺 : 什么是紫砂贴塑? : https://wemp.app/posts/b0c8595a-68d5-42cc-8296-dcc155e623b3

3. 贴花,印花,模印,这三种工艺仅一字之差,有何区别? : https://m.sohu.com/a/303997414_99931727/?pvid=000115_3w_a