ก้นปั้นในองค์รวมของปั้นจื่อซาอาจไม่เป็นที่ดึงดูดตามากนัก แต่เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ เป็นส่วนที่แบกรับน้ำหนัก มันมีผลกระทบต่อรูปแบบและการวางอย่างมั่นคงของปั้นจื่อซา
ก้นปั้นโดยพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ
1. ก้นเรียบ (平底) : ก็เรียกขานกันว่า “ก้นตัวเอง” (自身底) หรือเรียกว่า “ก้นตัด” (截底) เป็นเนื้อดินแผ่นหนึ่งที่ปิดผนึกอยู่บนก้นปั้น ออกแบบอย่างเรียบง่าย กรรมวิธีไม่ยุ่งยาก โครงสร้างรวบรัดชัดแจ้ง ก้นแบบนี้ทำขึ้นมาง่ายแต่เผาผนึกยาก หลังการเผาแล้วต้องไม่เปลี่ยนรูป ไม่บิดงอ จึงสารมารถตกแต่งได้ตามต้องการ เป็นรูปแบบก้นปั้นที่ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนัก
▲ก้นเรียบ
2. ก้นเสริม (加底) : เป็นก้นปั้นที่พบเห็นบ่อยรูปแบบหนึ่ง ก็เรียกขานกันว่า “ก้นเทียม” (假底) จากกรรมวิธีการผลิต แบ่งออกเป็น
๑. ขาขุด (挖足) ในขั้นตอนการทำตัวปั้น นำแผ่นเนื้อดินไปยึดติดที่ก้นล่าง แล้วทำการขุดส่วนตรงการออกเหลือไว้เพียงบริเวณรอบนอกเพื่อเป็นขาปั้น
▲ก้นเสริมแบบขาขุด
๒. ขาวงแหวน (圈足) ในขั้นตอนการทำตัวปั้น ไม่ใช้แผ่นเนื้อดินไปยึดติดโดยตรง แต่เป็นการทำขาปั้นขึ้นเป็นรูปวงแหวนแล้วไปแปะติดที่ก้นปั้น
▲ก้นเสริมแบบขาวงแหวน
3. ก้นตอก (一捺底) : หรือเรียกขานกันว่า “ก้นอรหันต์” (罗汉底) ก็คือการตอกทำให้เป็นรอยโบ๋จมลึกลงไป บริเวณรอบข้างก็จะนูนขึ้นมาโดยปริยายกลายเป็นขาปั้น
▲ก้นตอก
4. ขาหมุด (钉足) : ก็เป็นรูปแบบก้นปั้นที่พบเห็นบ่อยชนิดหนึ่ง เหมาะสำหรับปั้นจื่อซาที่มีรูปแบบบนเล็กล่างใหญ่ มีจุดกำเนิดมาจากขาแท่นของเครื่องสำริด หรือขารูปแบบอื่นๆ ขาหมุดจะให้ความสำคัญต่อ มั่นคงแต่ไม่จมปลัก เจตวิญญาณ ยืดหยุ่นไม่ตายตัว
▲ก้นปั้นแบบขาหมุด 3 ขา
▲ก้นปั้นแบบขาหมุด 4 ขา
ก้นปั้นเรียบง่ายแต่ไม่ธรรมดา
ก้นปั้นไม่เพียงแค่มีรูปแบบที่สวยงามและประโยชน์ใช้สอย ยังเป็น Γบัตรประชาชน˩ ของปั้นใบหนึ่ง จากการเริ่มต้นที่ก้นปั้นบักโกร๋นว่างเปล่า มาถึงปั้นสือต้าปิง(时大彬)ใช้ใบมีดไผ่แกะชื่อ แล้วมาถึงปั้นเฉินม่านเซิน(陈曼生)เลิกแกะชื่อประทับตราแทน จนถึงทุกวันนี้ทั้งประทับตราและแกะข้อความ คำอธิบายหรือบทกวี
▲ก้นประทับตรา Γ啜墨看茶˩ แกะข้อความ : “เนื่องจากเสียดายที่หูของตัวปั้นนี้ได้หักไป จึงทำการซ่อมแซมกลับมาให้เหมือนเดิมเมื่อฤดูหนาวปี1990 บันทึกโดยกู้จิ่งโจว(景舟记)”
▲ก้นปั้นแกะบันทึกเรื่องราวอดีตใน ณ ขณะหนึ่งของอารมณ์
-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----
เอกสารอ้างอิง :
1. 深扒紫砂壶底的秘密,这有点意思!: https://kknews.cc/culture/kxj5qrv.html
2. 难得壶途 | 紫砂壶壶底 : https://kknews.cc/zh-cn/collect/6zj6bp.html