วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563

ประวัติวิวัฒนาการของปั้นชาจีน | (ตอนที่ 1/2)



     【จาก「หู/」สู่「ปั้นชา/茶壶

      「หู/」(กาหรือปั้น) เป็นภาชนะที่ผู้คนมักคุ้นเคยมากที่สุดชนิดหนึ่ง มีกาน้ำ กาเหล้า ปั้นชา เป็นต้น ถ้าหากมีคนถามขึ้นมาว่า「หู」มีรูปลักษณะอย่างไร? คำตอบในใจของคนส่วนใหญ่คงไม่แตกต่างจากการอธิบายคำศัพท์ในพจนานุกรมว่า : “หู คือภาชนะที่ทำจากเครื่องเคลือบดินเผาหรือโลหะ ประกอบด้วยพวย หูจับหรือสายหิ้ว ใช้ในการบรรจุของเหลว รินออกมาจากพวย

▲วิวัฒนาการของตัวอักษรจีน “หู/

▲อักษรจีนโบราณ “หู/” สองตัวแรก(ซ้าย)คือ “เจี๊ยกู่เหวิน/甲骨文” สองตัวหลัง(ขวา)คือ “จวินเหวิน/金文| จะเห็นได้ว่า「หู/」เป็นภาชนะที่มีลักษณะคอยาวท้องกลมป่อง มีฝาปิดและหูร้อย ไม่มีพวยและหูจับ 

        ความเป็นจริง สิ่งที่ใกล้เคียงกับคำอธิบายในพจนานุกรมนั่น ก็คือแนวความคิดหลังยุคหมิงเป็นต้นมา「หู」ปรากฏตัวครั้งแรกในยุคหินใหม่  ซึ่งยังไม่มีพวยและหูจับ อาจมีเพียงแค่หูร้อย(เพื่อใช้ในการร้อยเชือก) มีหลากหลายรูปแบบ ที่เป็นรูปแบบคอใหญ่ใช้ในการบรรจุอาหาร ที่เป็นรูปแบบคอเล็กจะใช้ในการบรรจุของเหลว

▲หูดินเผาเขียนลวดลายรูปทรงเรขาคณิตยุคหินใหม่/新石器时代的几何纹彩陶壶


▲ผาวหู/匏壶 | เป็นหูรูปแบบหนึ่งที่นิยมในยุคจ้านกว๋อถึงยุคฮั่น ชื่อเรียกตามลักษณะที่คล้ายน้ำเต้า(匏瓜) มีรูปลักษณะปากเล็ก คอเป็นรูปแตรคว่ำ ท้องใหญ่ เป็นภาชนะใส่เหล้าหรือน้ำ หูดินเผาและหูสำริดโบราณก็มาจากวิวัฒนาการเลียนแบบทรงน้ำเต้า

▲รูปแบบของหูเครื่องเคลือบดั้งเดิมยุคจ้านกว๋อ ยุคฉิน ยุคฮั่น ที่ขุดขึ้นมาจากหลุมฝังศพ/战国秦汉墓葬出土原始瓷壶

▲หูดินเผาเคลือบเขียวยุคฮั่น/汉代绿釉陶壶 | ถือเป็นหูดินเผาที่มีรูปแบบเป็นมาตรฐาน ปรากฏปากชามอย่างเด่นชัด อาจจะเพื่อสะดวกในการกรอกน้ำ หูใบนี้ก็ถูกจักรพรรดิเฉียนหลงแกะสลักบทกวีที่ไม่สามารถเข้าใจได้อีกเช่นเคย

        ในยุคสามก๊กสองจิ้น ปรากฏการผลิตเครื่องเคลือบศิลาดลถึงระดับขีดสุด รูปแบบของ「หู」ก็มีแนวโน้มพัฒนาไปในรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน ที่พบเห็นมากที่สุดก็คือ「หูปากชาม/盘口壶」ซึ่งยังไม่มี “พวย/” และไม่มี “หูจับ/” แต่บนไหล่จะมี “หูร้อย/” ต่อมามีการตกแต่งเลียนแบบรูปสัตว์ ในนี้ที่ขึ้นชื่อมากที่สุดก็คือ「หูหัวไก่/鸡首壶

▲หูปากชามสี่หูร้อยเคลือบดำเตาเต๋อชิงยุคจิ้นตะวันออก/东晋德清窑黑釉四系盘口壶 | ส่วนที่เป็นปากปานออก ลักษณะเหมือนชามใบหนึ่ง ส่วนล่างเชื่อมต่อกับส่วนคอเรียวยาวและช่องท้องทรงลูกบอล[ถ้าหากตัดส่วนปากออกไป ก็จะเหมือนผิง(/คนโท)มากยิ่งขึ้น] 

     「หูหัวไก่」แรกเริ่มเป็นเพียงการปั้นหัวไก่ปากแหลมไม่มีคอทรงตันติดอยู่บนไหล่ข้างหนึ่งของ「หูปากชาม」ไหล่อีกข้างจะทำเป็นหางไก่เล็กสั้น หัวไก่และหางไก่เพื่อเป็นการตกแต่งล้วนๆ เมื่อประมาณยุคจิ้นตะวันออก ปากไก่ที่แหลมแก้เป็นปากกลม หัวไก่ตรงกลางกลวงเป็นท่อทำเป็น “พวย” ใช้เป็นส่วนที่สามารถรินน้ำออกมาได้จริง ตรงข้ามจากไหล่ถึงปากชามติดตั้งหางไก่เรียวยาว สามาถใช้เป็น “หูจับ

▲หูหัวไก่หูร้อยคู่เคลือบศิลาดลสลักลายยุคจิ้นตะวันตก/西晋青釉刻花双系鸡首壶 | หัวไก่ปากปิดดูเหมือนพวยแต่รินน้ำไม่ได้  “หูหัวไก่” มิใช่ชื่อที่เรียกขานกันในยุคโบราณ(โบราณเรียกเป็น “หยิง/”) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในยุคปัจจุบันตามรูปลักษณะภาชนะ

▲หูหัวไก่เคลือบศิลาดลยุคจิ้นตะวันออก/东晋青釉鸡头壶 | หัวไก่ปากเปิดเป็นพวยที่สามารถรินน้ำได้จริง หางไก่แปรรูปเป็นหูจับ ซึ่งเพียบพร้อมด้วยรูปลักษณะพื้นฐานของปั้นชายุคปัจจุบัน

        หลังจากยุคถัง สิ่งที่มาทดแทน「หูหัวไก่」คือ「จู่จื่อ/注子」(เครื่องริน) จาก “ปากชาม/盘口” เปลี่ยนมาเป็น “ปากแตร/撇口” คอจะใหญ่สั้น ตัวภาชนะยืดสูงขึ้นเป็นรูปทรงกระบอก หัวไก่ถูกทำให้ง่ายเป็นพวยรูปท่อน้ำขนาดเล็ก พวยและหูจับยังอยู่บนไหล่คนละข้างเหมือนเดิม มีบ้างที่ยังคงหูร้อยไว้ ก้นเรียบ(ต่อมาพัฒนาเป็นขาวงแหวน) รูปลักษณะภาชนะโดยองค์รวมดูผึ่งผายมั่นคง「หู」ในยุคถังจึงแยกตัวออกมาจาก「หู」ทางความหมายกว้าง ก็เรียกเป็น「ผิง/」และเนื่องจากใช้ในการใส่น้ำร้อน จึงเรียกว่า「ทังผิง/汤瓶」(คนโทน้ำ) นับต่อแต่นี้ไป「ทังผิง」ก็จัดอยู่ในสารบบของอุปกรณ์ชา

▲(ซ้าย) ทังผิงเคลือบขาวเตาสิงยุคถัง/唐邢窑白釉汤瓶 (ขวา) ทังผิงเคลือบดำเตาหลู่ซานยุคถัง/鲁山窑黑釉汤瓶

▲กาสายหิ้วกรอกกลับเคลือบศิลาดลเตาย้าวโจวยุคห้าวงศ์/五代耀州窑青釉提梁倒灌壶 | เป็นชิ้นงานที่ล้ำค่าและหายากจากเตาย้าวโจว เวลากรอกน้ำต้องคว่ำกาลง เมื่อกรอกจนเต็มแล้วหงายกาตั้งตรง น้ำจะไม่รั่วสักหยด 

      「ทังผิง」มีจุดเด่นคือมีพวยเล็กสั้นบนไหล่ พวยทั่วไปจะอยู่ต่ำกว่าปาก ทำให้ไม่สามารถกรอกน้ำเต็มภาชนะได้ และการรินน้ำก็ไม่ค่อยสะดวก ดังนั้นจากยุคถังถึงยุคซ่ง พวยและหูจับท้ายสุดก็พัฒนาไปทางเรียวเล็กและยาวขึ้น ปากพวยยุคซ่งโดยพื้นฐานอยู่ในระดับเดียวกับปากผิงแล้ว แล้วก็ตำแหน่งที่ตั้งค่อยๆเลื่อนลงสู่ล่าง
▲การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของทังผิงช่วงยุคถังถึงยุคซ่ง

▲การเปรียบเทียบรูปลักษณะของทังผิงที่แตกต่างกันระหว่าง (ซ้าย)ยุคถัง กับ ยุคซ่ง(ขวา)

▲ทังผิงทรงฟักเคลือบขาวเขียวเตาหูเถียนยุคซ่งเหนือ/北宋湖田窑影青釉瓜棱汤瓶 | เจี้ยนจ่าน แปรงไม้ไผ่ ทังผิง เป็นอุปกรณ์ที่กำหนดแพ้ชนะของการดวลชา น้ำที่รินจากทังผิงลงสู่จ่านชา จะต้องไหลออกคล่อง ปริมาณน้ำพอเหมาะที่ควบคุมได้ ตำแหน่งที่รินต้องแม่นยำ 

        เมื่อถึงยุคเหยียน พวยและหูจับได้เลื่อนจากไหล่ลงมาที่ช่วงท้อง พวยเปลี่ยนเป็นท่อเรียวยาวปากยื่นในลักษณะรูปตัว “S” รูปร่างจะสูงเรียวยาวมีลักษณะออกไปทางผิง(คนโท) นับจากนี้ไป「ทังผิง」ก็เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น「จื๋อหู/执壶」ณ บัดนี้「ปั้น/」ในความหมายทั่วไปก็ถูกกำหนดกรูปแบบขึ้นมา การปรากฎของ「ปั้นชา/茶壶」ที่แท้จริงยังเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุคหมิง

▲จื๋อหูเคลือบศิลาดลเตาหลงเฉียนยุคเหยียน/元代龙泉窑青釉执壶

▲องค์ประกอบของจื๋อหู | ตัวปั้น(壶身) ท้อง() คอ() ปาก() ฝา() ดุม() หูร้อย() หูจับ() พวย() ตัวยึด(连片) ขา()

        รัชศกหงอู่ปีที่ 24 (ปี 1391) จักรพรรดิหมิงไท่จู่ราชวงศ์หมิงมีพระราชโองการยกเลิกชาก้อน เปลี่ยนเป็นบรรณาการชาเส้น จากนี้ไปการชงชาก็กลายเป็นตัวหลักของวิธีการดื่มชา การใช้ใบชาทดแทนผงชาเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ชาหลายๆด้าน การดื่มชาโดยใช้「ปั้นเครื่องเคลือบ/瓷壶」หรือ「ปั้นจื่อซา/紫砂壶」ในการชงใบชาโดยตรงก็กลายเป็นกระแสนิยม

▲ปั้นหมวกพระเครื่องลายครามเซวี่ยนเต๋อยุคหมิง/明宣德青花僧帽壶

ปั้นกงชุน/供春壶 | ปั้นจื่อซาที่ถูกทำให้เชื่อว่าทำขึ้นในยุครัชสมัยเจิ้งเต๋อราชวงศ์หมิงโดย “กงชุน” ที่มีสถานะเป็นเด็กรับใช้ในขณะนั้น แต่มีข้อสงสัยมากมายว่า ปั้นจื่อซาใบนี้เป็นใบที่กงชุนทำขึ้นมาตามคำร่ำลือจริงหรือไม่? สนใจโปรดคลิกอ่าน《ปริศนาปั้นกงชุน》 : https://puerthaiblog.blogspot.com/2018/02/blog-post_9.html     

     

 
เอกสารอ้างอิง :
1. 紫砂壶的发展史https://m.xincha.com/x/968093/
2. 明代紫砂演变史https://www.taohuren.com/article-3115.html
3. 中国茶壶的演变史---“壶”至“茶壶”https://wemp.app/posts/06070bc0-438d-4127-9f40-d025db45374e?utm_source=latest-posts